วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 03:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อาณาปาณสติ สิ่งจำเป็นของชีวิต



เราไม่เข้าใจในการทำอาณาปาณสติอยู่นิดหนึ่งค่ะ
คือถ้าเราทำอาณาปาณสติ ทำในขณะที่เราทำงานบ้าน
ถ้าเรากำหนดจิตให้นิ่งตลอด อย่างนี้เรียกว่าเราทำอาณาปาณสติหรือปล่าวค่ะ
แล้วถ้าทำอยู่ตลอด แล้วปัญญาจะเกิดยังไงค่ะ ในเมื่อจิตเรานิ่งอยู่ตลอด
หรือว่าสิ่งที่เราเห็นทุกข์จากการยึดติด ใช่เรียกว่าเกิดปัญญาหรือปล่าวค่ะ
ขอคำแนะนำด้วยค่ะ :b8:

:b41: :b55: :b49:


โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจตรงนี้ให้ชัดก่อนนะครับ

เราอยู่ว่างๆ ไม่ได้ทำงานบ้าน เป็นต้น ก็ให้อยู่กับลมเข้าลมออก (อานาปาณะ)

เมื่อเราทำงานบ้าน ล้างถ้วย ล้างจาน กิน ดื่ม ทำ ฯลฯ ก็ใช้สติรู้สึกตัวอยู่กับงานซึ่งกำลังทำในขณะนั้นๆ ไม่ใช่นึกคิดอยู่กับลมเข้า-ออก ทิ้งลมเข้าออกก่อน

พอเข้าใจไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อเราทำงานบ้าน ล้างถ้วย ล้างจาน กิน ดื่ม ทำ ฯลฯ ก็ใช้สติรู้สึกตัวอยู่กับงานซึ่งกำลังทำในขณะนั้นๆ ไม่ใช่นึกคิดอยู่กับลมเข้า-ออก ทิ้งลมเข้าออกก่อน

พอเข้าใจไหมครับ


หมายถึงว่าถ้าล้างจานอยู่ ก็ให้จิตนิ่งอยู่ที่ล้างจาน
คือไม่ใช่จิตไปจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เหมือนการทำสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ
เพียงแต่ไม่ปรุงแต่งอะไรเข้าไป มากกว่า ให้จิตรับรู้แค่ล้างจานอย่างเดียวใช่หรือไม่ค่ะ

แล้วถ้าเริ่มต้นทำแล้วมีอาการ คือเหมือนฝืนตัวเอง คือบังคับจิตให้อยู่ที่ล้างจาน
จะมีวิธียังไงที่จะไม่ต้องบังคับจิตล่ะค่ะ
คือเวลาที่เราทำนะคะ จะเหมือนมีอาการแน่นหายใจไม่ค่อยออก
คือรู้สึกอึดอัดตลอดนะคะ แล้วทีนี้จะแก้เหตุตรงนี้อย่างไงค่ะ :b41: :b55: :b49:


โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เมื่อเราทำงานบ้าน ล้างถ้วย ล้างจาน กิน ดื่ม ทำ ฯลฯ ก็ใช้สติรู้สึกตัวอยู่กับงานซึ่งกำลังทำในขณะนั้นๆ ไม่ใช่นึกคิดอยู่กับลมเข้า-ออก ทิ้งลมเข้าออกก่อน

พอเข้าใจไหมครับ


หมายถึงว่าถ้าล้างจานอยู่ ก็ให้จิตนิ่งอยู่ที่ล้างจาน
คือไม่ใช่จิตไปจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เหมือนการทำสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ
เพียงแต่ไม่ปรุงแต่งอะไรเข้าไป มากกว่า ให้จิตรับรู้แค่ล้างจานอย่างเดียวใช่หรือไม่ค่ะ

แล้วถ้าเริ่มต้นทำแล้วมีอาการ คือเหมือนฝืนตัวเอง คือบังคับจิตให้อยู่ที่ล้างจาน
จะมีวิธียังไงที่จะไม่ต้องบังคับจิตล่ะค่ะ
คือเวลาที่เราทำนะคะ จะเหมือนมีอาการแน่นหายใจไม่ค่อยออก
คือรู้สึกอึดอัดตลอดนะคะ แล้วทีนี้จะแก้เหตุตรงนี้อย่างไงค่ะ


อ้างคำพูด:
หมายถึงว่าถ้าล้างจานอยู่ ก็ให้จิตนิ่งอยู่ที่ล้างจาน


มิใช่ให้มันนิ่งอยู่ แต่อยู่กับเคลื่อนไหวมือซึ่งขัดๆถูๆล้างๆ เช็ดๆไปมาครับ


อ้างคำพูด:
คือไม่ใช่จิตไปจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เหมือนการทำสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ


ครับ วางลมเข้า-ออกก่อน

อ้างคำพูด:
เพียงแต่ไม่ปรุงแต่งอะไรเข้าไป มากกว่า ให้จิตรับรู้แค่ล้างจานอย่างเดียวใช่หรือไม่ค่ะ


อย่างนี้ครับ (เราอยู่ในขั้นฝึกจิต) เมื่อเรากำลังล้างจานอยู่ จิตมันแว้บคิดเรื่องอื่นๆ รู้สึกตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานซึ่งกำลังนั้นเเสีย คิดออกนอกงานอีก รู้ตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานนั้นอีก ฯลฯ

อ้างคำพูด:
แล้วถ้าเริ่มต้นทำแล้วมีอาการ คือเหมือนฝืนตัวเอง คือบังคับจิตให้อยู่ที่ล้างจาน
จะมีวิธียังไงที่จะไม่ต้องบังคับจิตล่ะค่ะ
คือเวลาที่เราทำนะคะ จะเหมือนมีอาการแน่นหายใจไม่ค่อยออก
คือรู้สึกอึดอัดตลอดนะคะ แล้วทีนี้จะแก้เหตุตรงนี้อย่างไงค่ะ


อ้างคำพูด:
แล้วถ้าเริ่มต้นทำแล้วมีอาการ คือเหมือนฝืนตัวเอง คือบังคับจิตให้อยู่ที่ล้างจาน
จะมีวิธียังไงที่จะไม่ต้องบังคับจิตล่ะค่ะ


ตามที่คุณเต้เล่า คุณเต้บังคับให้จิตมันอยู่นิ่งๆ กำลังบีบบังคับมัน ลองฝึกตามวิธีที่แนะนำดูก่อน

แม้แต่เรากำลังพิมพ์หนังสืออยู่ก็พึงทำความรู้สึกตัวรู้่ถึงนิ้วนั้นนิ้วนี้ซึ่งกระทบแป้นคีย์บอร์ด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรายังแค่ขั้นฝึก คือฝึกจิต จิตซึ่งเปรียบเสมือนลิง :b1: ฝึกให้มันเชื่องก่อน อย่าเพ่ิ่งไปนึกถึงสิ่งอื่น



ใจเย็นๆอย่าใจร้อน อย่าทำไปก็คิดจะเอานั่นเอานี่ อยากพ้นทุกข์ อยากบินไปนิพพาน อยากได้ฌาน อยากได้อภิญญา อยากมีปัญญา อยากได้ญาณ ฯลฯ เหมือนอโศก คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 14:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรายังแค่ขั้นฝึก คือฝึกจิต จิตซึ่งเปรียบเสมือนลิง :b1: ฝึกให้มันเชื่องก่อน อย่าเพ่ิ่งไปนึกถึงสิ่งอื่น



ใจเย็นๆอย่าใจร้อน อย่าทำไปก็คิดจะเอานั่นเอานี่ อยากพ้นทุกข์ อยากบินไปนิพพาน อยากได้ฌาน อยากได้อภิญญา อยากมีปัญญา อยากได้ญาณ ฯลฯ เหมือนอโศก คิกๆๆ

:b12:
ไปอยูไหนก็ยังอดแขวะไม่ได้นะ

ตั้งใจให้ความรู้ดีๆ ชี้ผิดแล้วจะเป็นบาปกรรม
:b16:


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เรายังแค่ขั้นฝึก คือฝึกจิต จิตซึ่งเปรียบเสมือนลิง :b1: ฝึกให้มันเชื่องก่อน อย่าเพ่ิ่งไปนึกถึงสิ่งอื่น


ใจเย็นๆอย่าใจร้อน อย่าทำไปก็คิดจะเอานั่นเอานี่ อยากพ้นทุกข์ อยากบินไปนิพพาน อยากได้ฌาน อยากได้อภิญญา อยากมีปัญญา อยากได้ญาณ ฯลฯ เหมือนอโศก คิกๆๆ



ไปอยูไหนก็ยังอดแขวะไม่ได้นะ

ตั้งใจให้ความรู้ดีๆ ชี้ผิดแล้วจะเป็นบาปกรรม


พูดเรื่องจริงหาว่าแขวะ :b32:

อโศกนักปฏิบัติใหญ่ไม่ออกความเห็นหน่อยรึ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกายเขียน

อ้างคำพูด:
อย่างนี้ครับ (เราอยู่ในขั้นฝึกจิต) เมื่อเรากำลังล้างจานอยู่ จิตมันแว้บคิดเรื่องอื่นๆ รู้สึกตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานซึ่งกำลังนั้นเเสีย คิดออกนอกงานอีก รู้ตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานนั้นอีก ฯลฯ


:b8:

พอที่จะเข้าใจมากขึ้นแล้วค่ะ ใช่ค่ะเวลาจิตจะออกก็ดึงจิตกลับมา ใช่ค่ะ
พอทำอย่างนี้แล้ว ความอึดอัดก็น้อยลงไปจริงๆค่ะ
แล้วทีนี้ ในขณะที่ไม่ได้ทำอะไร ก็ให้จิตอยู่นิ่งเหมือนนั่งสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ
เพียงแต่ไม่ภาวนา ให้จิตจับอยู่ที่กายใช่หรือปล่าวค่ะ :b8:


เราทำตอนแรกผิดหมดเลย คือเราไปทำจิตให้นิ่ง แล้วเวลาที่กำลังทำอะไรอยู่
ก็บังคับจิตให้นิ่ง ก็เลยรู้สึกอึดอัด เวลาทำนานๆก็หายใจยาวๆทีหนึ่ง
พอทำอย่างที่คุณกรัชกายบอกดีขึ้นเยอะค่ะ ไม่รู้สึกเกร็งอะไร :b8:

:b41: :b55: :b49:


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 19:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
อาณาปาณสติ สิ่งจำเป็นของชีวิต


เราไม่เข้าใจในการทำอาณาปาณสติอยู่นิดหนึ่งค่ะ
คือถ้าเราทำอาณาปาณสติ ทำในขณะที่เราทำงานบ้าน
ถ้าเรากำหนดจิตให้นิ่งตลอด อย่างนี้เรียกว่าเราทำอาณาปาณสติหรือปล่าวค่ะ
แล้วถ้าทำอยู่ตลอด แล้วปัญญาจะเกิดยังไงค่ะ ในเมื่อจิตเรานิ่งอยู่ตลอด
หรือว่าสิ่งที่เราเห็นทุกข์จากการยึดติด ใช่เรียกว่าเกิดปัญญาหรือปล่าวค่ะ
ขอคำแนะนำด้วยค่ะ :b8:

:b41: :b55: :b49:

:b8:
การทำอานาปานสติถ้าจะเอาตามสติปัฏฐานสูตร 16 ขั้นตอน เราไม่สามารถจะทำร่วมไปกับการทำงานในชีวิตประจำวันได้ ต้องไปตั้งใจนั่งทำจริงๆอย่างเอาจริงเอาจังตาม 16 ขั้นตอนในอาปานสติสูตร

ถ้าทำตามอานาปานสติแบบประยุกต์ คือกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นกรรมฐานหรือเอาลมหายใจเข้าออกเป็นกสิณ อาจทำร่วมกับการทำงานในชีวิตประจำวันได้

วิธีการก็คือ เอาสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ จนมีอารมณ์ปัจจุบันอื่นเกิดขึ้นมาแทรกเช่นเสียง เจ็บ คัน คิด ก็ให้เอาสติไปรู้อารมณ์ที่เกิดนั้นให้ทันปัจจุบันแล้วก็กลับมารู้ลมหายใจเข้าออกสลับไปสลับมาจนอารมณ์แทรกทั้งหลายเงียบไปเหลือแต่ลมหายใจเข้าออกเป็นปัจจุบัน

ถ้ากำลังทำงาน เช่นกำลังสับหมูอยู่บนเขียง ให้เอาสติไปรู้อาการของมือที่ยกมีดสับหมู แล้วกลับมารู้ลมหายใจ ....รู้การสับหมู .....กลับมารู้ลมหายใจ.....รู้การสับหมู กลับมารู้ลมหายใจ สลับกันไปมาจนเสร็จงานสับหมู
ทำอย่างนี้ไปกับทุกการกระทำจนชำนาญในการกลับมารู้ลมหายใจ ไม่ช้าไม่นานสติจะมีกำลังมากขึ้นๆ จนตัดอารมณ์อื่นขาดได้เร็ว กลับมาที่องค์กรรมฐานหรือองค์กสิณลมหายใจได้ว่องไว อารมณ์จรทั้งหลายจะเบาบางจางไปหายไป อารมณ์หลักประจำคือลมหายใจจะเด่นชัดขึ้นเป็นเอกจนเป็นหนึ่ง สมาธิและฌาณก็จะเจริญขึ้นตามลำดับ จนเป็นสัมมาสมาธิ คือฌาณ 4

หลังจากนั้นแล้ว ถ้าจะเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนาต่อก็จึงค่อยถอนสมาธิออกมาอยู่ที่ฌาณ 1 วิตกวิจารณ์ พิจารณาปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์
:b44:
smiley


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณกรัชกายเขียน

อ้างคำพูด:
อย่างนี้ครับ (เราอยู่ในขั้นฝึกจิต) เมื่อเรากำลังล้างจานอยู่ จิตมันแว้บคิดเรื่องอื่นๆ รู้สึกตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานซึ่งกำลังนั้นเเสีย คิดออกนอกงานอีก รู้ตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานนั้นอีก ฯลฯ


:b8:

พอที่จะเข้าใจมากขึ้นแล้วค่ะ ใช่ค่ะเวลาจิตจะออกก็ดึงจิตกลับมา ใช่ค่ะ
พอทำอย่างนี้แล้ว ความอึดอัดก็น้อยลงไปจริงๆค่ะ
แล้วทีนี้ ในขณะที่ไม่ได้ทำอะไร ก็ให้จิตอยู่นิ่งเหมือนนั่งสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ
เพียงแต่ไม่ภาวนา ให้จิตจับอยู่ที่กายใช่หรือปล่าวค่ะ :b8:


เราทำตอนแรกผิดหมดเลย คือเราไปทำจิตให้นิ่ง แล้วเวลาที่กำลังทำอะไรอยู่
ก็บังคับจิตให้นิ่ง ก็เลยรู้สึกอึดอัด เวลาทำนานๆก็หายใจยาวๆทีหนึ่ง
พอทำอย่างที่คุณกรัชกายบอกดีขึ้นเยอะค่ะ ไม่รู้สึกเกร็งอะไร :b8:

:b41: :b55: :b49:


bbby เขียน:
คุณกรัชกายเขียน

อ้างคำพูด:
อย่างนี้ครับ (เราอยู่ในขั้นฝึกจิต) เมื่อเรากำลังล้างจานอยู่ จิตมันแว้บคิดเรื่องอื่นๆ รู้สึกตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานซึ่งกำลังนั้นเเสีย คิดออกนอกงานอีก รู้ตัวก็ดึงกลับมาอยู่กับงานนั้นอีก ฯลฯ


:b8:

พอที่จะเข้าใจมากขึ้นแล้วค่ะ ใช่ค่ะเวลาจิตจะออกก็ดึงจิตกลับมา ใช่ค่ะ
พอทำอย่างนี้แล้ว ความอึดอัดก็น้อยลงไปจริงๆค่ะ
แล้วทีนี้ ในขณะที่ไม่ได้ทำอะไร ก็ให้จิตอยู่นิ่งเหมือนนั่งสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ
เพียงแต่ไม่ภาวนา ให้จิตจับอยู่ที่กายใช่หรือปล่าวค่ะ :b8:


เราทำตอนแรกผิดหมดเลย คือเราไปทำจิตให้นิ่ง แล้วเวลาที่กำลังทำอะไรอยู่
ก็บังคับจิตให้นิ่ง ก็เลยรู้สึกอึดอัด เวลาทำนานๆก็หายใจยาวๆทีหนึ่ง
พอทำอย่างที่คุณกรัชกายบอกดีขึ้นเยอะค่ะ ไม่รู้สึกเกร็งอะไร :b8:


อ้างคำพูด:
ในขณะที่ไม่ได้ทำอะไร ก็ให้จิตอยู่นิ่งเหมือนนั่งสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ
เพียงแต่ไม่ภาวนา ให้จิตจับอยู่ที่กายใช่หรือปล่าวค่ะ


อย่างนี้ครับ หากไม่ได้ทำอะไร อยู่ว่างๆ อยู่เฉยๆ ทีนี้เอาจิตจับลมเข้า-ออกได้ เข้ารู้ ออกรู้ แต่ละขณะๆ เข้า-ออกๆๆๆๆ จะลุกยึ้นไปทำอะไรก็ทิ้งลมเข้า-ออก ตามรู้การเคลื่อนไหวกายไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้ากำลังทำงาน เช่นกำลังสับหมูอยู่บนเขียง ให้เอาสติไปรู้อาการของมือที่ยกมีดสับหมู แล้วกลับมารู้ลมหายใจ ....รู้การสับหมู .....กลับมารู้ลมหายใจ.....รู้การสับหมู กลับมารู้ลมหายใจ สลับกันไปมาจนเสร็จงานสับหมู


อธิบายเหตุผล ที่ทำอย่างนั้นหน่อยสิครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 20:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้ากำลังทำงาน เช่นกำลังสับหมูอยู่บนเขียง ให้เอาสติไปรู้อาการของมือที่ยกมีดสับหมู แล้วกลับมารู้ลมหายใจ ....รู้การสับหมู .....กลับมารู้ลมหายใจ.....รู้การสับหมู กลับมารู้ลมหายใจ สลับกันไปมาจนเสร็จงานสับหมู


อธิบายเหตุผล ที่ทำอย่างนั้นหน่อยสิครับ :b1:

:b16:
สอนใจให้มีสติยึดลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก อารมณ์อื่นเป็นรอง แต่ต้องรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ที่เปลี่ยนกลับไปกลับมาสลับกับลมหายใจ
wink


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้ากำลังทำงาน เช่นกำลังสับหมูอยู่บนเขียง ให้เอาสติไปรู้อาการของมือที่ยกมีดสับหมู แล้วกลับมารู้ลมหายใจ ....รู้การสับหมู .....กลับมารู้ลมหายใจ.....รู้การสับหมู กลับมารู้ลมหายใจ สลับกันไปมาจนเสร็จงานสับหมู


อธิบายเหตุผล ที่ทำอย่างนั้นหน่อยสิครับ :b1:

:b16:
สอนใจให้มีสติยึดลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก อารมณ์อื่นเป็นรอง แต่ต้องรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ที่เปลี่ยนกลับไปกลับมาสลับกับลมหายใจ
wink


เข้าใจไม่ผิดว่า อโศกยึดตัวอักษรเป็นหลัก ยกนั่นนี่มายก สติบ้าง ปัจจุบันอารมณ์บ้าง ... คือไปจำๆเพราะคิดว่าดี แต่ไม่รู้หลักการเจริญสติเป็นต้น ไม่เข้าใจนามธรรม อโศกขอรับ เขากำลังสับหมูอยู่ รู้ตัวขณะสับๆๆๆอยู่กับงานในขณะนั้นๆ นั่นเขารู้ปัจจุบันอารมณ์แล้ว สติเป็นต้นเกิดแล้ว

พูดให้เลยไปกว่านั้นก็ได้ ขณะยืน ขณะเดิน ขณะวิ่ง ขณะกิน ขณะดื่ม ...รู้ทันมันแต่ละขณะๆ นั่นเรียกว่าเขารู้ปัจจุบันอารมณ์หรือปัจจุบันขณะแล้ว สติสัมปชัญญะ เป็นต้น เกิดแล้ว

อย่างที่อโศกพูดอโศกทำ เรียกว่า ทำแบบกลัวๆกล้าๆ กลัวไม่เป็นสติตามตัวหนังสือบอก คิกๆๆ จึงต้องพูดต้องทำแบบสลับไปสลับมาสับไปสับมาอย่างนั้น

อโศก อย่างนี้กำลังอาบน้ำอยู่ เอาน้ำรดหัวขันหนึ่ง รู้ลมหายใจเข้าออกทีหนึ่ง สลับไปสลับมา เดี๊ยะๆน้ำเข้าจมูกเข้าปอด คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้ากำลังทำงาน เช่นกำลังสับหมูอยู่บนเขียง ให้เอาสติไปรู้อาการของมือที่ยกมีดสับหมู แล้วกลับมารู้ลมหายใจ ....รู้การสับหมู .....กลับมารู้ลมหายใจ.....รู้การสับหมู กลับมารู้ลมหายใจ สลับกันไปมาจนเสร็จงานสับหมู


อธิบายเหตุผล ที่ทำอย่างนั้นหน่อยสิครับ :b1:

ยิ่งเข้ามาศึกษาแนวทางปฏิบัติ นับวันยิ่งเห็นว่า นักปฏิบัติธรรมแต่ละคนทำอะไรที่มันเพี้ยนไม่เหมือนคนธรรมดา ขนาดแค่สับหมู ยังต้องรู้ลมหายใจเข้าออก สลับกับการสัลหมู555+ คุนน้องจะบอกให้นะ คนมีสติตั้งมั่นอยู่ตรงธรรมข้างหน้าไม่แส่ส่าย เค้าไม่มาสลับทำนั้นทำนี่ไปมาหรอก สมมติยกเรื่องทำหมูสับ เค้าก็จะมีสติอยู่ที่มือที่กำลังสับหมูอยู่ และตาเค้าก็จะเพ่งอยู่ที่หมูสับ และเค้าก็จะมีสติอีกตัวนึงคอยให้ระลึกขณะกำลังสับหมูคือ ต้องคอยระวังนิ้วมืออีกข้างนึงอย่าได้ยื่นสะเออะมาขณะกำลังสับหมู สติจะทำหน้าที่ตรงนี้จนงานสับหมูเสร็จสิ้น ไม่เห็นจะต้องมาทำอะไรประหลาดพิลึกแบบนั้น แค่เรื่องสับหมู :b32:
ปล.ระวังนะ เด่วสับหมูเด่วรู้ลมหายใจเข้ารู้ลมหายใจออก สลับกับสับหมู ระวังนิ้วมือขาดขึ้นมาจะหาว่าคุนน้องไม่เตือนนะ555


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
เฮ้อ...พากันวิพากษ์วิจารณ์ไปใหญ่โดยไม่ดูตาม้าตาเรือ

อโศกะบอกว่าการเจริญอานาปานสติแบบประยุกต์ คือเอาลมหายใจเป็นกรรมฐานหรือเป็นกสิณ ซึ่งจะต้องกลับมากำหนดรู้หรือยึดลมหายใจเป็นที่เกาะที่มั่นแห่งจิตเป็นอารมณ์หลัก เป็นเรื่องสมาธิหรือสมถะล้วนๆ ก่อน จะไปเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนา...ลองกลับขึ้นไปอ่านทบทวนกันดีๆอีกครั้งนะครับ
:b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร