วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39 ... 62  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 15 เม.ย. 2014, 23:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่คำว่า...ผมใบ้ให้....นี้ก็มีมานะแฝงอยู่...อิอิ...เห็นแล้วก็ขำขำตัวเอง....

ในกรณี...หากสังวรไม่ทัน....ก็ปหานปทานตามหลังเอา..อิอิ


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2014, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42:
เครื่องช่วยสังเกตว่า ความนิ่งสงบเงียบไปไร้ปฏิกิริยาตอบโต้กัปัจจุบันอารมณ์นั้นเป็นไปด้วยอำนาจสมถะ หรือวิปัสสนา

ถ้าเป็นสมถะ จะมีอารมณ์อื่นเป็นที่ยึดจนกลบบังความยินดียินร้ายที่ตอบโต้กับอารมณ์นั้นๆ เช่น จิตผูกแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับรูปนิมิตหรือคำบริกรรม หลังจากนั้นเมื่อมีผัสสะอารมณ์ที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นอีก ปฏิกิริยาการตอบโต้ของจิตก็จะรุนแรงเท่าเดิม ถ้าสติดึงไปหานิมิต คำบริกรรม หรือกรรมฐานที่เจริญอยู่ไม่ทัน เวทนา ตัณหา อุปาทาน ตา วงปฏิจจสมุปบาทก็จะหมุนต่ออย่างแรงทันที

ถ้าเป็นวิปัสสนาภาวนา สติ ปัญญา จะรู้ทัน รู้ทั่วถึงปัจจุบันอารมณ์และลูกหลานของอารมณ์นั้นจนตลอดสาย จนดับไปหมดทุกอารมณ์ หลังจากนั้นแล้วเมื่อมีผ้ัสสะอารมณ์ที่คล้ายกันเกิดขึ้น อีกปฏิกิริยาของจิตที่จะตอบโต้ต่ออารมณ์นั้นจะลดน้อย เบาบาง จางลง หรือหมดปฏิกิริยาไป
:b37:


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2014, 22:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึกว่า...จะเป็นคำตอบที่มาจาก....ความเห็นของอโสกะ...อย่างจริงใจ....ไม่ใช่จริงโจ้

และ.....จะเป็น...หลักฐานอันดี....ในโอกาสต่อไป


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2014, 22:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อดู....การแยกแยะว่าอันไหน..สงบลงแบบสมถะ..อันไหนสงบลงแบบปัญญา...ของอโสกะแล้ว
ก็เลยมีตัวอย่างอันหนึ่งให้อโสกะช่วยบอกหน่อยว่า....มันเป็นสมถะหรือวิปัสสนา??

ผมตั้งใจใว้ว่า....หากอารมณ์ของกามราคะเกิด...หรือ...อารมณ์ปฏิฆะเกิด....ผมจะไม่เอามัน..ไม่คิดปรุงต่อ...ตั้งใจใว้อย่างนี้...พอเกิดอารมณ์กามะราคะ..หรือ...อ
ารมณ์เคืองๆ....ผมก็จักถึงสิ่งที่ตั้งใจเอาใว้..ว่า..ไม่ปรุงแต่งมันต่อ...ไม่เอามันมาเป็นอารมณ์ต่อ....แล้ว...อารมณ์กามะราคะ...หรือ..อารมณ์ปฏิฆะ...มันก็ดับไปเลย....ต่อหน้าต่อตา....ผมก็สบาย..ๆ

อันนี้...สงบลงไปแบบสมถะหรือวิปัสสนา..???

นี้คั้นราบการหน่อย..นะ..อิอิ
:b13:


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2014, 13:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อดู....การแยกแยะว่าอันไหน..สงบลงแบบสมถะ..อันไหนสงบลงแบบปัญญา...ของอโสกะแล้ว
ก็เลยมีตัวอย่างอันหนึ่งให้อโสกะช่วยบอกหน่อยว่า....มันเป็นสมถะหรือวิปัสสนา??

ผมตั้งใจใว้ว่า....หากอารมณ์ของกามราคะเกิด...หรือ...อารมณ์ปฏิฆะเกิด....ผมจะไม่เอามัน..ไม่คิดปรุงต่อ...ตั้งใจใว้อย่างนี้...พอเกิดอารมณ์กามะราคะ..หรือ...อ
ารมณ์เคืองๆ....ผมก็จักถึงสิ่งที่ตั้งใจเอาใว้..ว่า..ไม่ปรุงแต่งมันต่อ...ไม่เอามันมาเป็นอารมณ์ต่อ....แล้ว...อารมณ์กามะราคะ...หรือ..อารมณ์ปฏิฆะ...มันก็ดับไปเลย....ต่อหน้าต่อตา....ผมก็สบาย..ๆ

อันนี้...สงบลงไปแบบสมถะหรือวิปัสสนา..???

นี้คั้นราบการหน่อย..นะ..อิอิ
:b13:

:b8:
สาธุ ที่ยกตัวอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นจริงๆกับตนเองมาถาม ถามอย่างนี้ซิจึงอยากตอบ ไม่ใช่ยกอารมณ์คนอื่นมาถามอย่างที่กรัชกายทำ ถามอย่างนั้นไม่ค่อยอยากจะตอบ
:b27:
"ผมตั้งใจใว้ว่า....หากอารมณ์ของกามราคะเกิด...หรือ...อารมณ์ปฏิฆะเกิด....ผมจะไม่เอามัน..ไม่คิดปรุงต่อ...ตั้งใจใว้อย่างนี้.."
:b43:
คำพูดที่ตัดยกมานี้แหละที่เป็นตัวชี้ว่า ที่กบจะทำต่อไปนั้น เป็น สมถะภาวนา เพราะมีการไปกำหนดไว้เสียแต่แรกว่า ฉัน (กู) จะทำอย่างนั้นอย่างนี้

เมื่อ กู มานำหน้าสั่งเสียอย่างนี้แล้ว ทั้งหมดที่ทำต่อไปจะเป็นเรื่องของสมถะภาวนาจริงๆ เป็นบัญญัติ หาบัญญัติจริงๆ กบก็จะได้บัญญัติ คือปีติปัสสัทธิ นิมิต ฌาณ เป็นผล เพราะเอาสติไปตัด กลบ ข่ม อารมณ์ทั้งหลาย


ถ้ากบมีมนสิการ แล้วโยนิโสว่า ฉันจะเจริญวิปัสสนาภาวนา ตามนัยแห่ง สติปัฏฐาน 4 หรือฉันจะเจริญสติปัญญา มานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้ธรรมทั้งหลายเขาเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรม เปิดทวารทั้ง 6 ไว้ตามธรรมชาติ ให้มันกระทบปัจจัยไปเต็มที่ ใดเป็นปัจจุบัน สังเกตให้ดี ใหม่ๆ จิตต้องแลบไปพิจารณาแน่ เพราะเรียนรู้ปริยัติมาเยอะ จึงอาจเกิดความฟุ้งซ่านนิวรณ์ หรืออาจเกิดเวทนานิวรณ์ หรือนิวรณ์อื่นแทรกขึ้นมาเป็นงาน จะเกิดอะไรขึ้นก็อย่าใจร้อน นิ่งรู้นิ่งสังเกตมันไปจนดับไปทุกอารมณ์ เมื่อหมดกำลังแห่งเหตุและปัจจัย ทุกสิ่งก็จะสงบ สติปัญญาจะคมกล้าละเอียดอ่อนมากขึ้นๆ ลมหายใจจะสงบและเหลือน้อยลงๆ ผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ (รูป - นาม) จะแยกห่างออกจากกันมากขึ้นๆ จนเห็นกันชัดเจน เหมือนถอนขนตาออกมาเส้นหนึ่งแล้วจับยื่นห่างออกจากตาจนได้ระยะชัดพอสมควร เขาย่อมจะสังเกต พิจารณาวิเคราะห์วิจัย พลิกดูขนตาเส้นนั้นได้โดยรอบและรู้ละเอียด อารมณืทั้งหลาย ทั้งที่เป็นรูปและเป็นนามก็เช่นกัน หลังจากนั้นวิปัสสนาปัญญาเขาจะเกิดขึ้นและลึกละเอียดอ่อนไปตามธรรมตามลำดับ จากอนิจจัง ไปหาทุกขัง และสุดท้ายที่อนัตตวิปัสสนา

เมื่อเห็นชัดและทราบซึ้งอนัตตาเต็มตัวเต็มใจ ก็จะเกิดแรงส่งให้เกิด อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ นิพพาน ปัจจเวกขณญาณขึ้นมารองรับตามลำดับแห่งกำลังของเหตุและผล

:b8:
วิปัสสนาภาวนาจะเกิดได้ต้องไร้คำสั่งไร้เจตนาต่อปฏิกิริยาทางธรรมชาติในกายและจิต คงให้มีแต่ การสังเกตการณ์ธรรมชาติไปตามหน้าที่ของสติ ปัญญา สมาธิ ศีล แล้ว ผล อันเป็นธรรมชาติเขาจะเกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรม
:b36:


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2014, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


ผมตั้งใจใว้ว่า....หากอารมณ์ของกามราคะเกิด...หรือ...อารมณ์ปฏิฆะเกิด....ผมจะไม่เอามัน..ไม่คิดปรุงต่อ...ตั้งใจใว้อย่างนี้..

วิปัสสนาภาวนาจะเกิดได้ต้องไร้คำสั่งไร้เจตนาต่อปฏิกิริยาทางธรรมชาติในกายและจิต คงให้มีแต่ การสังเกตการณ์ธรรมชาติไปตามหน้าที่ของสติ ปัญญา สมาธิ ศีล แล้ว ผล อันเป็นธรรมชาติเขาจะเกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรม


อโศกนี่ฟุ้งซ่านธรรมของแท้เลยนะขอรับ คิกๆ

อ้างคำพูด:
ผมตั้งใจใว้ว่า....หากอารมณ์ของกามราคะเกิด...หรือ...อารมณ์ปฏิฆะเกิด....ผมจะไม่เอามัน..ไม่คิดปรุงต่อ...ตั้งใจไว้อย่างนี้.
.


อโศก "ตั้งใจ" นั่นแหละ เจตนา, เจตจำนง :b32:

ไปขัดคำพูดนี้

อ้างคำพูด:
วิปัสสนาภาวนาจะเกิดได้ต้องไร้คำสั่ง ไร้เจตนา



ท่านอโศกขาดพื้นฐานภาคปฏิบัติโดยแท้ คิดเอาทั้งนั้น คิดจะเอานั่นเอานี่ อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ :b1: ไม่อยากเป็นนั่นไม่อยากเป็นนี่


ลงมือทำลงมือภาวนาเถอะขอรับ อยากจะเป็นโสดาบันต้องลงมือปฏิบัติลงมือภาวนา แล้วก็ทำให้ถูกต้อง :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2014, 23:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าสนใจนะ...อโสกะ...
ลองอ่านและพิจารณาดู...
viewtopic.php?f=1&t=47124&start=255

กรัชกาย เขียน:
สังเกตข้อธรรมที่พระสารีบุตรตอบปัญหาพระโกฏฐิตะ จนถึงพระอรหันต์


ตัวอย่างธรรมที่พิจารณาได้ทุกระดับ

พระมหาโกฏฐิตะ : ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีล ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน ?

ท่านสารีบุตร: โกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นของที่ปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์) เป็นดังโรค (ซึ่งต้องคอยดูแล) เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ข้องขัดไม่สบาย เป็นดังคนพวกฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่จะต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า ไม่มีสาระจริง ไม่เป็นอัตตา...มีฐานะเป็นไปได้ที่่เมื่อภิกษุผู้มีศีล โยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จะพึงประจักษ์แจ้งโสดาปัตติผล


พระมหาโกฏฐิตะ : ภิกษุผู้โสดาบันล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน ?


ท่านสารีบุตร: ภิกษุผู้โสดาบัน ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะที่เป็นไปได้ที่เมื่อภิกษุโสดาบันโยนิโสมนสิการ....(อย่างนี้) จะพึงประจักษ์แจ้งสกทาคามิผล


พระมหาโกฏฐิตะ : ภิกษุสกทาคามีล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน ?

ท่านสารีบุตร: แม้ภิกษุที่เป็นสกทาคามี ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะที่เป็นไปได้ที่ เมื่อภิกษุสกทาคามีโยนิโสมนสิการ....(อย่างนี้) จะพึงประจักษ์แจ้งอนาคามิผล


พระมหาโกฏฐิตะ : ภิกษุอนาคามีล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน ?


ท่านสารีบุตร: แม้ภิกษุที่เป็นอนาคามี ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะที่เป็นไปได้ที่ เมื่อภิกษุอนาคามีโยนิโสมนสิการ....(อย่างนี้) จะพึงประจักษ์แจ้งอรหัตผล


พระมหาโกฏฐิตะ : พระอรหันต์ล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน ?

ท่านสารีบุตร: แม้พระอรหันต์ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ พระอรหันต์ไม่มีกิจซึ่งจะต้องทำยิ่งขึ้นไปอีก หรือจะต้องสั่งสมกิจที่กระทำไว้แล้ว (ก็จริง) ก็แต่ว่าธรรมเหล่านี้ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร (การมีที่พักใจอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) และเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ" *

............

สํ.ข.17/310-314/203-205 สูตรถัดไปคือ สํ.ข.17/315-317/205-206 ก็มีเนื้อความเหมือนกัน แต่เปลี่ยนคำว่า "ผู้มีศีล" ในท่อนแรก เป็น "ผู้มีสุตะ" ใน สํ.ม.19/1272-5/382 ว่าทั้งพระเสขะ และพระอเสขะ ควรใช้สติปัฏฐาน ๔ เป็นวิหารธรรม ธรรมที่ตามปกติเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระเสขะ (และแม้ต่ำกว่าเสขะ) แต่ใช้เพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร และสติสัมปชัญญะ สำหรับพระอรหันต์ ก็คือฌาน ๔ ฯลฯ กายคตาสติก็ตรัสไว้ทำนองนี้


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2014, 23:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


ผมตั้งใจใว้ว่า....หากอารมณ์ของกามราคะเกิด...หรือ...อารมณ์ปฏิฆะเกิด....ผมจะไม่เอามัน..ไม่คิดปรุงต่อ...ตั้งใจใว้อย่างนี้..

วิปัสสนาภาวนาจะเกิดได้ต้องไร้คำสั่งไร้เจตนาต่อปฏิกิริยาทางธรรมชาติในกายและจิต คงให้มีแต่ การสังเกตการณ์ธรรมชาติไปตามหน้าที่ของสติ ปัญญา สมาธิ ศีล แล้ว ผล อันเป็นธรรมชาติเขาจะเกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรม


อโศกนี่ฟุ้งซ่านธรรมของแท้เลยนะขอรับ คิกๆ

อ้างคำพูด:
ผมตั้งใจใว้ว่า....หากอารมณ์ของกามราคะเกิด...หรือ...อารมณ์ปฏิฆะเกิด....ผมจะไม่เอามัน..ไม่คิดปรุงต่อ...ตั้งใจไว้อย่างนี้.
.


อโศก "ตั้งใจ" นั่นแหละ เจตนา, เจตจำนง :b32:

ไปขัดคำพูดนี้

อ้างคำพูด:
วิปัสสนาภาวนาจะเกิดได้ต้องไร้คำสั่ง ไร้เจตนา



ท่านอโศกขาดพื้นฐานภาคปฏิบัติโดยแท้ คิดเอาทั้งนั้น คิดจะเอานั่นเอานี่ อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ :b1: ไม่อยากเป็นนั่นไม่อยากเป็นนี่


ลงมือทำลงมือภาวนาเถอะขอรับ อยากจะเป็นโสดาบันต้องลงมือปฏิบัติลงมือภาวนา แล้วก็ทำให้ถูกต้อง :b9:

:b12:
กรัชกายดูผิดแล้วครับ ผมยกคำพูดของกบมาอ้างและชี้ให้เห็นเหตุที่จะเป็นสมถะครับ กรุณาสังเกตให้ดีๆครับ
:b3:


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2014, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b42:
เครื่องช่วยสังเกตว่า ความนิ่งสงบเงียบไปไร้ปฏิกิริยาตอบโต้กัปัจจุบันอารมณ์นั้นเป็นไปด้วยอำนาจสมถะ หรือวิปัสสนา

ถ้าเป็นสมถะ จะมีอารมณ์อื่นเป็นที่ยึดจนกลบบังความยินดียินร้ายที่ตอบโต้กับอารมณ์นั้นๆ เช่น จิตผูกแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับรูปนิมิตหรือคำบริกรรม หลังจากนั้นเมื่อมีผัสสะอารมณ์ที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นอีก ปฏิกิริยาการตอบโต้ของจิตก็จะรุนแรงเท่าเดิม ถ้าสติดึงไปหานิมิต คำบริกรรม หรือกรรมฐานที่เจริญอยู่ไม่ทัน เวทนา ตัณหา อุปาทาน ตา วงปฏิจจสมุปบาทก็จะหมุนต่ออย่างแรงทันที

ถ้าเป็นวิปัสสนาภาวนา สติ ปัญญา จะรู้ทัน รู้ทั่วถึงปัจจุบันอารมณ์และลูกหลานของอารมณ์นั้นจนตลอดสาย จนดับไปหมดทุกอารมณ์ หลังจากนั้นแล้วเมื่อมีผ้ัสสะอารมณ์ที่คล้ายกันเกิดขึ้น อีกปฏิกิริยาของจิตที่จะตอบโต้ต่ออารมณ์นั้นจะลดน้อย เบาบาง จางลง หรือหมดปฏิกิริยาไป
:b37:


ครับ ผมเห็นด้วยกัยคำกล่าวนี้ อนุโมทนา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2014, 13:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คงเห็นตัวอย่าง...ที่พระสารีบุตรแนะนำภิกษุ...แล้วนะครับ

มีที่คล้ายๆกันนี้อีก...ซึ่งก็ทำนองเดียวกัน....คือ...พิจารณาร่างกาย..นี้แหละ

คำต่างๆที่เป็นภาษา..ที่ใช้พิจารณา...นั้นยังไม่ใช่ปัญญาที่ต้องการนะครับ...ปัญญาที่ต้องการจริงๆ..นั้นเป็นความรู้สึกว่า..ความจริงเป็นอย่างคำที่ใช้พิจารณา..จริงๆ..จะซึ่งหรืออิน..มาก....จนห้ามปีติไม่อยู่..(ในกรณีที่เป็นความรู้สึกครั้งแรก....จะประทับใจไม่รู้ลืม...บางคนยังอยากให้เกิดปีติอย่างนี้อีก...มันไม่เกิดหรอก..)

หากมีคนมาถามว่า...ทำไมร่างกายไม่ใช่เรา.....เขาจะตอบคำถามนั้นจากความรู้สึกของตัวเองได้น้ำไหลไฟดับ...หรือจัะตอบแบบสั้นๆ..เพียงคำเดียวก็ได้....ซึ่งคนที่จำปัญญาปริยัติก็ทำได้อย่างเดียวกันนี้....ดังนั้น....ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ถามว่าใครตอบจากปัญญาที่ตัวรู้แจ้ง....แต่เป็นหน้าที่ของผู้ตอบมากกว่า...ว่า...เราตอบออกไปนั้น..ออกไปด้วยอะไร...ซึ่งจะเป็นประโยชน์ของผู้ตอบเอง..มากกว่า

ไม่ว่า...จะใช้สมถะนำ...หรือ.วิปัสสนานำ....เมื่อถึงคราวที่รู้แจ้งแล้ว...ก็มีอาการเดียวกัน...คือ...รู้แจ้งใจในเหตุผลกลไกการทำงานของกิเลสตัญหาและอุปาทาน...บอกได้หมดในเหตุของการเกิดหรือ..ปฏิจจสมุปบาท..นั้นเอง...

หาก...ยังอ่ำอึ่ง...ยังต้องนึกอยู่...หรือรู้แต่ตื้น...รู้แต่สั้น...ไม่ลึกไม่กว้าง....ก็ให้สังวรตนใว้ว่า...ตนยังห่างไกลกับคำว่ารู้ตามความเป็นจริงอยู่มาก

ตรวจสอบตัวเอง...ในหลักนี้อย่างเที่ยงธรรมต่อตัวเอง...ก็จะทราบด้วยตัวเองว่า..เราขาดตกบกพร่องอยู่หรือไม่...ปัญญาที่ต้องการเกิดกับเราแล้วรึยัง...จะได้ไม่หลงคืดว่าตัวเองดีแล้ว...เดินทางผิดถูกอย่างไร..ก็จะได้รู้...เตือนตนได้ถูกต้อง


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2014, 14:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า...เราไม่เอามัน

เป็นได้..ทั้งสมถะ...และ..วิปัสสนา...ขึ้นอยู่กับว่า..มันมีที่มาที่ไปอย่างไร

หาก..คำว่า...เราไม่เอามัน ....เป็นเหตุให้เรามีสติไม่ปรุงแต่งสังขารใดใดต่อ...แต่หากถามว่า..ไม่เอามันเพราะอะไร?...อาจจะบอกได้แค่ว่า..มันทุกข์..มันไม่ดี....เป็นต้น...อย่างนี้...การใช้คำว่า...ไม่เอามัน....ก็เป็นแบบสมถะ....ปัดจิตไม่ให้ปรุงแต่งไปตามกิเลส...

แต่หากว่า...คำว่า.. ไม่เอามัน ....เป็นผล...เป็นความปลงใจ...จากความเห็นอย่างลึกซึ่งกินใจ...เห็นทุกข์โทษภัยของวัฏสงสาร...
เห็นความไม่มีสาระแก่นสาร...ในร่างกายตน..ในร่างกายผู้อื่น..เห็นความอยากเกิด...ฯลฯ....จากการพิจารณาจนช่ำในใจ...จนตกผลึกขึ้นในใจว่าเราจะไม่เอามันอีกแล้ว....คำว่า..ไม่เอามัน...จึงเป็นผล..เป็นตัวแทนของการพิจารณาทั้งหมดที่ผ่านมาของตน...

คำที่เป็นตัวแทนหรือ...คีย์เวอร์ด..นี้...ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล...จะไม่เหมือนกัน...การจะเอาคีย์เวอร์ดของคนอื่นไปใช้...หากขาดการพิจารณาเห็นจริงตาม.....ก็ใช้อะไรไม่ได้

รู้สึกว่า...สงฆ์องค์แรก...ก็มีคำอุทานบางอย่างออกมาเหมือนกัน...


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2014, 15:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

วิปัสสนาภาวนาจะเกิดได้ต้องไร้คำสั่งไร้เจตนาต่อปฏิกิริยาทางธรรมชาติในกายและจิต คงให้มีแต่ การสังเกตการณ์ธรรมชาติไปตามหน้าที่ของสติ ปัญญา สมาธิ ศีล แล้ว ผล อันเป็นธรรมชาติเขาจะเกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรม
:b36:


วิปัสสนา..เมื่อยังอยู่ในขั้นตอนปฏิบัติ...เป็นมรรค์...เป้นเหตุอยู่....ยังต้องมีเจตนาเป็นธรรมดาอยู่แล้ว...การตั้งจิตว่าจะนิ่งสังเกตุพิจารณาในผัสสะทั้งหลาย...ไม่ปรุงแต่งใดใดต่อ...นี้แล..เจตนา....และจะเป็นสมถะทันทีหากไม่เกิดความรู้ใดใดจากผัสสะนั้น..

ส่วนปัญญาที่เป็นผล....ไม่ต้องใช้เจตนาอะไร..อะไร..อยู่แล้ว...


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2014, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

วิปัสสนาภาวนาจะเกิดได้ต้องไร้คำสั่ง ไร้เจตนา ต่อปฏิกิริยาทางธรรมชาติในกาย และจิต คงให้มีแต่ การสังเกตการณ์ธรรมชาติไปตามหน้าที่ของ สติ ปัญญา สมาธิ ศีล แล้ว ผล อันเป็นธรรมชาติเขาจะเกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรม




เท่าที่สังเกตดูอโศกพูดๆมา เป็นเพียงคำพูด คิดเอา (เอานั่นเอานี่ ไม่เอานั่นไม่เอานี่) เช่นยกศัพท์ทางธรรมมาคิด เช่นคำว่า วิปัสสนาบ้าง คำว่า สมถะเป็นต้นบ้าง


อโศกครับ สมถะ = สมาธิ

วิปัสสนา = ปัญญา

ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา ...นี่เป็นเจตสิก (เป็นนามธรรม) ซึ่งเกิดร่วมกันทำงานร่วมกันกับจิตแต่ละขณะๆ และมิใช่มีเพียงเท่านี้นะ ยังมีอีกตามสมควร เช่น เจตนา มนสิการ ผัสสะ ชีวิตินทรีย์ เป็นต้น

หากไร้เจตนา ไม่ตั้งใจทำ (งานทุกๆอย่าง) ทำไปยังงั้นๆแหละ จงกรม ก็ไม่ตั้งใจเดิน ภาวนา ก็ไม่ตั้งใจภาวนา ทำไปงั้นแหละ คิกๆ :b9: ฯลฯ แล้วผลสำเร็จ ผลที่หวังจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ควรพิจารณาการประดิษฐ์พูดทำนองนี้ขึ้นมาคิดเถอะครับ :b1: ล้างออกจากความทรงจำให้หมด แล้วหันมาตั้งใจทำ (มีเจตนา) ทำอะไรก็ทำจริงๆ อย่าทำเล่นๆเป็นเด็กเล่นขายของ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2014, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ความนิ่งสงบเงียบไปไร้ปฏิกิริยาตอบโต้กัปัจจุบันอารมณ์"

> เช่น ก้อนหิน ซากศพ ผู้สิ้นสติสมปฤดี

หรือ
การก้มหน้า การกระพริบตา การหายใจ อันเป็นอัพยากตกิริยา ของคน สัตว์ โดยทั่วไป

สมถะ วิปัสสนา .... เกิดขึ้นเฉพาะในเหตุจิต ตอบโต้กับปัจจุบันอารมณ์เสมอ

อัพยากตธรรม ธรรมอันเป็นผล หรือธรรมอันเป็นวิบาก จะนิ่งสงบไปไร้ปฏิกิริยาตอบโต้กับปัจจุบันอารมณ์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ จิตเหตุที่ได้กระทำไว้แล้ว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2014, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
สนุกกันใหญ่แล้วกับคำว่า "ไร้เจตนา"

พากันวิพากษ์วิจารณ์ไปตามพื้นฐานสัญญา ความรู้ความเห็นของตน

คำว่า "ไร้เจตนา"ที่อโศกะบอกไปนั้นหมายถึงไม่มีการกำหนด การสั่งหรือความคาดหวังใดๆกับการภาวนา ที่ตนกระทำ

ถ้าจะมีก็มีนิดหนึ่งสำหรับตอนเริ่มต้น ที่ว่า "สำรวมกาย ใจ มา ""เหมือนการยกลูกตุ้มนาฬิกาขึ้นแกว่งครั้งแรกให้กลจักรของลานและเฟืองนาฬิกาทำงาน

เราคงไม่เรียกว่าเจตนา แต่เป็นมนสิการ ความใส่ใจ ส่วนคำพูดต่อไปที่ว่า "นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์" นั้นถือเป็นความแยบคายในการภาวนาหรือที่เรียกว่า "โยนิโส"

เมื่อกลไกธรรมชาติในกายใจได้เริ่ มต้นอย่างถูกต้องแล้วที่เหลือเขาจะดำเนินไปเองตามธรรม ตามหน้าที่ สติก็จะทำหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม ปัญญาสัมมาสังกัปปะก็จะทำหน้าที่ สังเกต พิจารณาอารมณ์ ปัญญาสัมมาทิฏฐิ ก็จะทำหน้าที่ ดู เห็น รู้ อารมณ์ไป ถ้าไม่มีอัตตา ตัณหา อุปาทานเกิดขึ้นตอบโต้อารมณ์ ปัจจุบันอารมณ์นั้นไม่มีการสืบต่อก็จะดับไป ๆ ๆ ๆ มุกอารมณ์

การเรียนรู้ของจิตโดยธรรมจะเกิดขึ้นรู้ว่า ไม่มีอะไรอื่นเลย นอกจากความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดีับไปของอารมณ์เท่านั้นเอง
ทีนี้ความเข้าใจ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาเขาจะปิ้๊งขึ้นมาเองในจิตใจ บางคนอาจเผลอไปคิดวิตกวิจารณ์บ้าง บางท่านก็ถึงบางอ้อเสียก่อนจะคิดนึกวิตกวิจารณ์ตามตำราที่เรียนรู้มา

ความตอนนี้จะไปตรงกับคำสอนของหลวงปู่ครูบาที่ว่า

"หยุดคิด ถึงรู้ แต่จะรู้ก็ต้องใช้ความคิด"

เอ้าพยายามจับประเด็นค้นให้พบควา มลับในเรื่องนี้กันให้เจอนะครับ
onion

บ่างถ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39 ... 62  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร