วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งในเบื้องต้น การเห็นแค่ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้น อยู่ในระนาบเดียวกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน มีเกิดดับเหมือนๆกัน เพราะตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้นเดียวกัน :b46: :b39: :b41:

แค่นี้ก็ทำให้ในแง่ของปัจเจก มีจิตใจที่สงบ อ่อนโยน ควรค่าแก่การงาน คือการปฏิบัติธรรมมากขึ้น :b46: :b47: :b46:

และในแง่ของสังคมโดยรวม ก็จะทำให้ให้โลกนี้วุ่นวายกันน้อยลงไปเยอะแล้วละครับ :b1: :b46: :b39:

แต่หลังจากนั้น จะต้องตามไปเห็นตามจริงให้ลึกซึ้งถึงใจขึ้นอีกว่า อาการที่เห็นว่า ยังมีบัญญัติว่าสัตว์ (สัตตานัง) ปรากฏอยู่ ก็ยังอยู่ในระดับสมมติ ยังปนเปื้อนด้วยอวิชชา ถูกอวิชชาปิดกั้นให้เข้าใจผิดว่ายังมีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาปรากฏอยู่ ซึ่งทำให้ยังต้องมีเกิดแก่เจ็บตายเหมือนๆกัน ยังเวียนว่ายตายเกิดทนทุกข์อยู่ในวัฏฏะเหมือนๆกันอยู่อีกได้ :b46: :b47: :b41:

จนกว่าจะหมดไปเสียซึ่งม่านบังตาคืออวิชชา ถึงจะไม่เห็นในความเป็นสัตว์ (สัตตานัง) ที่ยังเวียนว่ายตายเกิด :b46: :b40: :b39:

แต่จะเห็นในอาการที่เป็นเพียงรูปนามขันธ์ ๕ เท่านั้น ที่เกิดดับสืบต่อกันไป โดยไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แฝงอยู่ในรูปนามขันธ์ ๕ นั้น :b48: :b42: :b41:

กระทั่งพิจารณาเห็นตามจริงต่อไป จนหมดเสียสิ้นซึ่งความยึดติดถือมั่น ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปนามขันธ์ ๕ นั้นนั่นหล่ะ จึงจะพ้นจากบัญญัติในความเป็นสัตว์ (สัตตานัง) ถึงที่สุดแห่งทุกข์ลงได้อย่างแท้จริง : วิสุทธิปาละ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: --------

.. การฝึกมองสรรพชีวิตด้วยสายตาของความรักและความเมตตานี้ คือการฝึกสมาธิที่เรียกว่า เมตตานุสสติ

การเจริญเมตตานุสสตินั้น จะต้องทำทั้งในขณะชั่วโมงของการนั่งสมาธิ และในทุกขณะที่เธอทำงานรับใช้ผู้อื่น

.. เวลาที่เราอยู่ในสมาธินั้น ทั้งร่างกายและจิตใจของเราสามารถที่จะอยู่ในสภาวะสงบและผ่อนคลายเต็มที่

แต่สภาวะแบบนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิงจากสภาวะจิตที่อยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่นขณะเราเคลิ้มๆ เพราะนั่นเป็นเหมือนว่าเรานั่งอยู่ในถ้ำมืดมากกว่า

การนั่งสมาธิซึ่งทำให้เรามีสติสมบูรณ์นั้น เราไม่เพียงแต่ได้พักผ่อนและมีความสุขเท่านั้น หากยังทำให้จิตใจของเราว่องไวและเบิกบาน ตื่นอยู่เสมอ

การภาวนาไม่ใช่การหนีโลก หากแต่เป็นการเผชิญกับความเป็นจริงของโลกด้วยจิตที่แจ่มใสเยือกเย็นต่างหาก

.. สำหรับผู้หัดใหม่ ควรใช้วิธีสังเกตตามรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกต่างๆโดยไม่ต้องให้คุณค่า ดังที่ครูได้กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าเราจะมีความรู้สึกเมตตากรุณา หรือพยาบาทโกรธเคือง เราต้องรับความรู้สึกนั้นๆอย่างเสมอภาคเท่ากัน

เพราะความรู้สึกนั้น ต่างเป็นส่วนหนึ่งของเราด้วยกัน ส้มที่ครูกินคือตัวครูเอง กระหล่ำปลีที่ครูกำลังปลูกก็คือตัวครู ครูปลูกด้วยจิตและใจทั้งหมดของครู ครูล้างกาน้ำชาใบนี้ด้วยความเอาใจใส่ดุจว่าครูกำลังอาบน้ำให้ยุวพุทธะ ทุกๆสิ่งควรได้รับการปฏิบัติจากเราด้วยความระมัดระวังเท่าๆกัน ไม่มากไม่น้อยกว่ากัน

ในสภาวะที่สติสมบูรณ์ ความเมตตา ความโกรธเกลียด ต้นกระหล่ำปลีและกาน้ำชา ล้วนเป็นธรรมะเหมือนกันหมด ล้วนเป็นพุทธะเหมือนกันหมด

วิธีสังเกตและตามรู้เท่าทันเฉยๆอาจจะยาก ถ้าหากเรากำลังถูกครอบงำด้วยความโศกเศร้า ความวิตกกังวล ความเกลียด และความลุ่มหลง ฯลฯ ในกรณีนี้ให้หันกลับมาใช้วิธีภาวนา โดยใช้วัตถุเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง

และดีที่สุดก็คือ ใช้อารมณ์ของจิตที่เป็นจริงในขณะนั้นแหละ เป็นวัตถุของการภาวนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.. เราควรปฏิบัติต่อความโศก ความกังวล ความเกลียด ความหลง อย่างสุภาพอ่อนน้อม ด้วยความเคารพ อย่าไปต่อต้านเขา แต่จงอยู่กับเขาอย่างสันติ เจาะลงไปให้เห็นธรรมชาติของเขา โดยการภาวนาเรื่องความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน

.. แต่อย่างไรก็ตาม การภาวนาโดยอาศัย "วัตถุ" เหล่านี้ จะได้ผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า เรามีพลังทางสมาธิมากน้อยเพียงใด และเราจะได้ "พลังทางสมาธิ" นี้มาจากการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ด้วยการเฝ้าสังเกตและรู้เท่าทันสิ่งต่างๆทั้งหลายที่กำลังดำเนินไป

"วัตถุ" สำหรับภาวนา จะต้องมีรากที่แท้จริงหยั่งลึกอยู่ในตัวเอง ต้องมิใช่สิ่งที่เกิดจากการคิดคำนึงหรือการตั้งคำถามทางปรัชญา

.. อีกเรื่องหนึ่งซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ในอีกพระสูตรหนึ่ง


(หมายเหตุ : เสทกสูตร ผู้รักษาผู้อื่นชื่อว่ารักษาตน .. ท่านจงรักษาตน ผมก็จักรักษาตน เราทั้งสองต่างคุ้มครองตน ต่างรักษาตนอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจากไม้ไผ่ได้โดยสวัสดี .. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=4454&Z=4479&pagebreak=0)

ซึ่งทำให้ครูแลเห็นทันทีถึงความสำคัญสูงสุดของการเจริญสติเพื่อความรู้ตัว เพื่อปกป้องและคุ้มครองตนเอง โดยละนิสัยที่คอยกังวลว่าคนอื่นเขาจะมองเราอย่างโน้นอย่างนี้

ภายในครอบครัวหนึ่ง หากมีคนใดคนหนึ่งในครอบครัวนั้นฝึกการเจริญสติ คนอื่นๆในครอบครัวก็จะสามารถเจริญสติได้ด้วย การกระทำที่มีสติของคนๆนั้น จะเตือนทุกคนในครอบครัวให้ระลึกถึงความมีสติได้ ในห้องเรียนก็เช่นกัน

.. ถ้าเธอทำตัวดีที่สุด นั่นก็จะเป็นวิธีที่แน่ใจได้มากที่สุด ที่จะช่วยเตือนเพื่อนๆรอบข้างเธอให้ทำดีที่สุดด้วย .. ด้วยการฝึกสติเท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถมองคนอื่นได้ด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง และด้วยสายตาแห่งความรัก

.. ครูนึกถึงสวนแห่งหนึ่งซึ่งได้รับการดูแลจากพระซึ่งดำรงสติมั่นอยู่ตลอดเวลา ปรากฏว่าต้นไม้ดอกไม้ในสวนของท่านเขียวขจีสดชื่น เพราะได้รับการทำนุบำรุงจากความสงบและความสุขสดชื่นที่แผ่ออกไปจากสติสัมปชัญญะของท่านนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.. ในตอนท้ายของจดหมายนี้ ครูอยากจะเล่าเรื่องสั้นของตอลสตอยเรื่องหนึ่งให้เธอฟัง .. มันเป็นเรื่องคำถาม ๓ ประการของพระจักรพรรดิ .. หากพระองค์รู้คำตอบของปัญหา ๓ ประการดังต่อไปนี้แล้ว จะทำให้พระองค์ทรงทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย

คำถาม ๓ ประการนี้คือ

๑) เวลาไหนเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทำกิจแต่ละอย่าง

๒) ใครคือคนสำคัญที่สุดที่ควรทำงานด้วย

๓) อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำตลอดเวลา


.. จงจำไว้ว่า มีเวลาที่สำคัญที่สุดเวลาเดียวคือ "ปัจจุบัน" ช่วงขณะปัจจุบันเท่านั้นที่เป็นเวลาที่เราเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

บุคคลที่สำคัญที่สุดคือคนที่เรากำลังติดต่ออยู่ คนที่อยู่ต่อหน้าเรา เพราะเราไม่รู้ว่าในอนาคต เราจะมีโอกาสได้ติดต่อกับใครอีกหรือไม่

และภารกิจที่สำคัญที่สุด ก็คือการทำให้คนที่อยู่กับเราขณะนั้นๆมีความสุข เพราะนั่นเป็นภารกิจอย่างเดียวของชีวิต

แต่เรามักจะลืมไปว่า คนรอบๆตัวเรานั่นแหละคือบุคคลแรกที่เราจะต้องรับใช้ ถ้าเธอไม่อาจรับใช้ภรรยาของเธอ ลูกของเธอ เธอจะไปรับใช้สังคมได้อย่างไร ถ้าเธอไม่สามารถที่จะทำให้ลูกของเธอมีความสุข เธอจะไปหวังความสุขแก่คนอื่นได้อย่างไร ถ้าหากเพื่อนๆของเราที่ปฏิบัติงานเพื่อสังคมไม่มีความรักต่อกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว เราจะไปรักใครและช่วยเหลือใครได้

.. รับใช้สังคม คำว่า "รับใช้" นี้ยิ่งใหญ่นัก คำว่าสังคมก็เป็นคำใหญ่เช่นเดียวกัน ขอเราจงหันกลับมาถึงเรื่องเล็กๆที่ใกล้ตัวสักหน่อยเถอะ ครอบครัวของเรา ห้องเรียนของเรา เพื่อนๆของเรา ชุมชนของเรา เราจะต้องมีชีวิตอยู่เพื่อเขาเหล่านั้น มิฉะนั้นเราก็ไม่อาจจะมีชีวิตอยู่เพื่อสังคมได้ ..

กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘

ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ The Miracle of Being Awake, Thich Nhat Hanh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แบบฝึกหัดสำหรับเจริญสติ ๓๒ วิธี

๑) ยิ้มน้อยๆเมื่อเธอตื่นนอนในตอนเช้า

๒) ยิ้มน้อยๆเมื่อเธอมีเวลาว่าง

๓) ยิ้มน้อยๆยามที่เธอฟังดนตรี

๔) ยิ้มน้อยๆเมื่ออารมณ์ขุ่นมัว

๕) ปล่อยวาง

ผ่อนคลายในท่านอนราบ นอนหงายราบกับพื้นเรียบ โดยไม่ต้องมีฟูกหรือหมอนใดๆ วางแขนทั้งสองข้างตัวอย่างสบาย ขาทั้งสองแยกกันนิดหน่อย ยิ้มเล็กน้อย หายใจเข้าออกอย่างนุ่มนวล

เอาใจจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจของเธอ ปล่อยคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย ปล่อยคลายกล้ามเนื้อแต่ละส่วนเหมือนจะปล่อยให้มันจมดิ่งทะลุผ่านพื้นลงไป .. จดจ่ออยู่แต่ลมหายใจและรอยยิ้ม .. กล้ามเนื้อทุกส่วนอ่อนนุ่ม ไม่มีการเกร็งต่อต้านการแตะต้องของใครๆ

๖) ผ่อนคลายในท่านั่ง

.. ยิ้มน้อยๆ หายใจเข้าและหายใจออกขณะที่ยิ้มอยู่ ปล่อยวางและผ่อนคลายเหมือนในท่านอน

๗) การหายใจลึก

นอนราบกับพื้นเหมือนในข้อ ๒ หายใจอย่างสม่ำเสมอและนุ่มนวล เพ่งความสนใจอยู่ที่การเคลื่อนไหวของท้อง

๘) ก้าวเท้า วัดความยาวของลมหายใจ

เดินอย่างช้าๆและผ่อนคลายในสวน เลียบริมฝั่งแม่น้ำ หรือตามทางในหมู่บ้าน หายใจธรรมดา วัดความยาวของลมหายใจเข้าและออกด้วยจำนวนก้าวเท้า

.. ปล่อยมันตามธรรมชาติ สังเกตลมหายใจเข้าอย่างระมัดระวัง ดูซิว่า มันต้องการให้หายใจยาวออกไปอีกหรือไม่ หายใจติดต่อกันสัก ๑๐ ครั้ง จากนั้นก็เพิ่มความยาวของลมหายใจออกไปอีก ๑ ก้าว สังเกตลมหายใจเข้าว่ามันต้องการขยายออกไปอีกสักก้าวหนึ่งหรือไม่ ต่อเมื่อเธอรู้สึกว่า นั่นจะทำให้เธอเกิดความปีติเท่านั้นค่อยขยายลมหายใจเข้าให้ยาวขึ้นอีก ๑ ก้าว

หลังจากหายใจเช่นนี้ติดต่อกัน ๑๐ ครั้งแล้ว ก็กลับมาหายใจตามปกติอีกสัก ๕ นาที ค่อยเริ่มหายใจยาวแบบเดิมใหม่ ถ้ารู้สึกเหนือยแม้แต่น้อย ต้องกลับมาหายใจอย่างธรรมดาทันที

หลังจากฝึกหายใจแบบยาวนี้หลายๆครั้งเข้า ลมหายใจเข้าและออกของเธอจะเท่ากัน อย่าฝึกหายใจยาวและหายใจเข้าออกเท่ากันเกินกว่า ๑๐ ถึง ๒๐ ครั้ง จากนั้นต้องกลับมาหายใจตามปกติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๙) นับลมหายใจ

.. เมื่อหายใจเข้าก็ให้มีสติรู้ตัวว่า "ฉันหายใจเข้าหนึ่ง" เมื่อหายใจออกก็ให้มีสติรู้ตัวว่า "ฉันหายใจออกหนึ่ง" .. ทำต่อไปจนครบ ๑๐ พอครบ ๑๐ หรือนับหลง ก็กลับมาเริ่มนับ ๑ ใหม่

๑๐) ตามลมหายใจขณะฟังดนตรี

หายใจยาว เบา และสม่ำเสมอ ตามลมหายใจให้ตลอด ขณะที่มีสติรู้ท่วงทำนองและจังหวะของดนตรีด้วย อย่าปล่อยใจไปที่ดนตรีทั้งหมด แต่พยายามบังคับบัญชาลมหายใจและตัวเธอเองไปด้วย

๑๑) ตามลมหายใจขณะสนทนา

หายใจยาว เบา สม่ำเสมอ ตามลมหายใจไปขณะที่ฟังคำพูดของเพื่อนเธอและคำของเธอเอง ทำติดต่อกันไปเหมือนในข้อ ๑๐

๑๒) ตามลมหายใจ

เริ่มหายใจเข้าช้าๆอย่างปกติ (เริ่มจากท้อง) มีสติรู้ตัวว่า "ฉันกำลังหายใจเข้าปกติ" หายใจออก มีสติรู้ตัวว่า "ฉันกำลังหายใจออกปกติ"

หายใจติดต่อกันอย่างนี้ ๓ ครั้ง พอครั้งที่ ๔ ขยายการหายใจให้ยาวขึ้น มีสติรู้ตัวว่า "ฉันกำลังหายใจเข้ายาว" หายใจออกยาวขึ้น มีสติรู้ตัวว่า "ฉันกำลังหายใจออกยาว"

หายใจอย่างนี้ติดต่อกัน ๓ ครั้ง จากนั้นตามลมหายใจอย่างระมัดระวัง ให้มีสติรู้เท่าทันการเคลื่อนไหวทุกๆระยะของท้องและปอด ตามลมเข้าและตามลมออกตั้งแต่ต้นจนสุด มีสติรู้ตัวตลอดเวลาว่า "ฉันกำลังหายใจเข้าและกำลังตามลมหายใจออกตั้งแต่ต้นจนสุด"

หายใจต่อเนื่องกัน ๒๐ ครั้งแล้วกลับมาหายใจปกติ จากนั้นสัก ๕ นาที ทำแบบฝึกหัดนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง อย่าลืมยิ้มเล็กน้อยตลอดเวลาที่หายใจด้วย ถ้าเธอทำแบบฝึกหัดนี้ได้คล่อง ก็เลื่อนไปแบบฝึกหัดข้อ ๑๓ ได้ทันที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓) ทำจิตใจและร่างกายให้รำงับเพื่อเข้าถึงปีติสุข

ตามลมหายใจเข้าออกในข้อ ๑๒ เมื่อร่างกายและจิตใจสงบแล้ว หายใจเข้าและออกอย่างเบาๆ และมีสติรู้ตัวว่า "ฉันกำลังหายใจเข้าและทำให้กาย - ลมหายใจเบาและสงบ"

หายใจอย่างนี้ติดต่อกัน ๓ ครั้ง แล้วนึกในใจอย่างมีสติว่า "ฉันกำลังหายใจเข้าและทำให้ร่างกายทั้งหมดเบา สงบ และเป็นสุข" หายใจเช่นนี้ต่อเนื่องกัน ๓ ครั้งและนึกในใจอย่างมีสติว่า "ฉันกำลังหายใจเข้า ขณะที่ร่างกายและจิตใจของฉันสงบและมีความสุข ฉันกำลังหายใจออกขณะที่ร่างกายและจิตใจของฉันสงบและมีความสุข"

.. การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการฝึกควรเป็นไปอย่างผ่อนคลายและนุ่มนวล เมื่อเธอจะหยุดเอามือทั้งสองลูบหน้าลูบตาอย่างนุ่มนวล จากนั้นก็ลูบตามกล้ามเนื้อขาก่อนที่จะนั่งในท่าปกติ คอยสักเดี๋ยวหนึ่งก่อนที่จะลุกขึ้น

๑๔) มีสติรู้พร้อมถึงอิริยาบถต่างๆของร่างกาย

ไม่ว่าเธอกำลังเดิน ยืน นอน หรือนั่ง มีสติรู้ถึงจุดประสงค์ของอิริยาบถนั้นๆด้วย ถ้าหากไม่มีจุดประสงค์อะไร ก็ให้มีสติรู้ว่า ไม่มีจุดประสงค์อะไร

๑๕) มีสติตอนเตรียมชา

เตรียมชงชาสักกาหนึ่งเพื่อรับแขก หรือเพื่อเธอจะดื่มเองก็ได้ จะเคลื่อนไหวแต่ละครั้งให้มีสติอยู่ทุกครั้ง อย่าปล่อยให้รายละเอียดของการเคลื่อนไหวแม้แต่อย่างเดียวผ่านไปโดยไม่มีสติรู้ทันมัน .. หากจิตเผลอวิ่งไปที่อื่นให้กลับมาที่ลมหายใจ

๑๖) มีสติขณะล้างถ้วยชาม

ล้างถ้วยชามอย่างสบาย ผ่อนคลายเต็มที่ ..อย่าพยายามรีบทำให้มันเสร็จๆไป รำลึกเสมอว่า การล้างถ้วยชามนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของเธอในขณะนั้น การล้างถ้วยชามก็คือการฝึกสมาธินั่นเอง ถ้าเธอไม่อาจจะล้างถ้วยชามด้วยสติได้ เธอก็ไม่อาจจะฝึกสมาธิตอนนั่งเงียบๆได้เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗) มีสติในขณะซักผ้า

อย่าซักเสื้อผ้าที่ละมากๆ แต่ละครั้งเลือกซักสัก ๓ - ๔ ชิ้น ยืนหรือนั่งในท่าที่สบายที่สุดเพื่อไม่ให้ปวดหลัง แปรงหรือขยี้ผ้าอย่างช้าๆ สบายๆ ให้จิตจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของแขนและมือของเธอในแต่ละครั้ง

.. เมื่อขยี้และบิดผ้าเสร็จแล้ว เธอควรจะรู้สึกว่า จิตใจและร่างกายของเธอนั้น สะอาดและสดชื่นเหมือนผ้าที่ซักเสร็จแล้วนั้นด้วย อย่าลืมกลับมาจดจ่อที่ลมหายใจ และยิ้มเล็กน้อยทุกครั้งที่จิตวอกแวกออกไป

๑๘) มีสติขณะทำความสะอาดบ้าน

แบ่งงานของเธอออกเป็นขั้นๆ เช่น จัดของให้เข้าที่ ล้างห้องน้ำ กวาดพื้น ถูพื้น ฯลฯ ทำงานให้ช้ากว่าปกติสัก ๓ เท่า จดจ่อจิตอยู่ที่งานแต่ละอย่างอย่างเต็มที่

เช่น เวลาจะเอาหนังสือเข้าวางบนหิ้ง ก็ให้มองที่หนังสือ รู้ว่ามันเป็นหนังสืออะไร รู้ว่าเธอกำลังวางมันลงบนหิ้งตรงนั้นๆ รู้ว่ามือของเธอกำลังยื่นไปจับหนังสือ หยิบขึ้นมา หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่เร็วและรีบทุกอย่าง ตั้งสติ รู้ลมหายใจเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ความคิดวอกแวกไปที่อื่น

๑๙) มีสติขณะอาบน้ำ

.. การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ตั้งแต่เริ่มเตรียมอาบน้ำจนกระทั่งสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ ให้เป็นไปอย่างช้าๆ สบายๆ เบาๆ จดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหวทุกอย่าง

.. มีสติรับรู้ถึงน้ำที่รดลงมาถูกตัวทุกครั้ง ตอนเธออาบน้ำเสร็จ ใจของเธอควรจะรู้สึกสงบและเบาเหมือนร่างกาย ตามลมหายใจอยู่ตลอดเวลา นึกสมมติให้ตัวเองอยู่ในสระบัวใสสะอาดที่ส่งกลิ่นหอมในฤดูร้อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐) ภาวนาก้อนกรวด

นั่งขัดสมาธิ ตามลมหายใจเหมือนในข้อ ๙ เมื่อลมหายใจช้าลงและสม่ำเสมอ เริ่มคลายกล้ามเนื้อทั้งหมดโดยคงรอยยิ้มเล็กน้อยเอาไว้ ให้นึกถึงว่าตัวเธอเองเป็นก้อนกรวดก้อนหนึ่งที่ตกลงไปในธารน้ำใสสะอาด

ขณะกำลังจมดิ่งลงไปนั้น การเคลื่อนไหวเป็นไปเองโดยปราศจากเจตนาใดๆ จมดิ่งลงไป วางสงบนิ่งอยู่บนพื้นทรายเรียบละเอียดของท้องน้ำ ใช้ก้อนกรวดนั้นเป็นวัตถุสำหรับภาวนาไปจนกระทั่งร่างกายและจิตใจอยู่ในภาวะพักผ่อนสมบูรณ์เต็มที่ เหมือนก้อนกรวดพับบนพื้นทราย

คงความสงบและความสุขนี้สักครึ่งชั่วโมงขณะที่ตามลมหายใจไปด้วย ไม่มีความคิดถึงอดีตและอนาคตใดๆจะมาดึงเธอออกไปจากความสงบและความสุขในปัจจุบันได้ จักรวาลทั้งหมดมีอยู่ในขณะปัจจุบันกาลนี้ ไม่มีความปรารถนาใดๆจะดึงเธอออกจากความสงบในปัจจุบันได้

๒๑) กำหนดวันแห่งสติ

เลือกวันหนึ่งวันใดของสัปดาห์ตามความเหมาะสมและสะดวกของเธอเอง ลืมงานทั้งหมดที่เคยทำในวันอื่นๆ อย่านัดประชุมหรือนัดพบเพื่อน ทำแต่งานธรรมดาๆ เช่น ทำอาหาร ซักผ้า (ข้อ ๑๕ - ๑๙)

.. จากนั้นก็ออกไปเดินเล่นเพื่อฝึกการหายใจ (ข้อ ๘, ๙, ๑๑) .. ปฏิบัติแบบเดียวกับการฟังดนตรีและการคุยกับเพื่อน (ข้อ ๑๐, ๑๑) ตอนเย็นเข้าครัวทำอาหารง่ายๆกินเอง .. นั่งสมาธิสัก ๑ ชั่วโมงก่อนเข้านอน

๒๒) เพ่งพิจารณาขันธ์ ๕

หารูปภาพของตนเองสมัยเธอยังเป็นเด็กมาภาพหนึ่ง .. เพ่งความสนใจที่รูปภาพ .. รำลึกถึงตัวเองในสมัยที่ถ่ายรูปนั้น .. ทั้งร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด ตลอดจนความสำนึกในวัยนั้น ขณะนึกกลับไปถึงความหลังนั้นตามลมหายใจไปด้วย อย่าให้ความหลังนำออกจากสติ เพ่งพิจารณาสัก ๑๕ นาที คงรอยยิ้มเล็กน้อยเอาไว้ด้วย

จากนั้นก็กลับมาเพ่งพิจารณาตัวเธอในปัจจุบัน นึกถึงร่างกาย ความรู้สึกต่างๆ การรับรู้โลก ความคิด ตลอดจนความสำนึกของเธอในขณะปัจจุบัน มองให้เห็นองค์ประกอบทั้ง ๕ ที่รวมกันเข้าเป็นชีวิตของเธอ .. หายใจเบาๆและลึกไปด้วย เพื่อป้องกันมิให้หลงเข้าไปสู่การคิดค้นทางปรัชญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๓) เพ่งพิจารณาตนเอง

.. เพ่งมองให้เห็นร่างกายของเธอปรากฏอยู่นอกตัวเธอ ตรงหน้าเธอ .. ตั้งสติรำลึกว่า เธออยู่ในจักรวาล และจักรวาลอยู่ในตัวเธอ จักรวาลคือเธอ และเธอคือจักรวาล ถ้าจักรวาลดำรงอยู่ เธอก็ดำรงอยู่ ถ้าเธอดำรงอยู่ จักรวาลก็ดำรงอยู่ ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย ไม่มีการมา และไม่มีการจากไป ยิ้มเล็กน้อยอยู่เสมอ มีสติรู้ลมหายใจอยู่ด้วย

๒๔) เพ่งพิจารณาโครงกระดูกของตนเอง

นอนบนเตียง บนเสื่อ หรือบนสนามหญ้า ในท่าที่เธอรู้สึกสบายๆ อย่าหนุนหมอน เริ่มควบคุมลมหายใจของเธอ เพ่งพิจารณาให้เห็นว่า สิ่งที่กำลังนอนอยู่นั้น เป็นโครงกระดูกขาวโพลน วางอยู่บนพื้นโลก

ยิ้มเล็กน้อยและตามลมหายใจไปด้วย จินตนาการให้ห็นว่า เนื้อหนังของเธอนั้นเน่าเปื่อยและหายไปหมดแล้ว เหลือแต่โครงกระดูก .. พิจารณาให้เห็นว่า โครงกระดูนี้ไม่ใช่ตัวเธอ ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่เธอ

จงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิต มีชีวิตอย่างไร้ขอบเขตในทุกหนทุกแห่ง ในต้นไม้และในกอหญ้า คนอื่นๆ นกนานาชนิดและสัตว์นานาประเภท ในท้องฟ้า ในคลื่นของมหาสมุทร .. เธอดำรงอยู่ในทุกสถานและทุกกาล เธอมิได้จำกัดอยู่เพียงร่างกาย หรือแม้แต่ความรู้สึกต่างๆ ความคิดต่างๆ การกระทำและความรู้

๒๕) เพ่งพิจารณาในหน้าที่ที่แท้จริงของเธอก่อนที่เธอจะเกิด

.. พิจารณาจุดที่ชีวิตของเธอเริ่มต้นเกิดขึ้น กำหนดรู้ไว้ด้วยว่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความตายด้วย มองให้เห็นว่าความมีชีวิตและความตายเป็นสิ่งปรากฏขึ้นพร้อมกัน สิ่งนี้ มีอยู่ เพราะ สิ่งนั้น มีอยู่ ถ้าสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนั้น ก็ไม่มี

มองให้เห็นว่า การดำรงอยู่ของชีวิต และความตายนั้น อาศัยแอบอิงซึ่งกันและกัน สิ่งหนึ่งเป็นพื้นฐานของอีกสิ่งหนึ่ง มองให้เห็นว่า ในตัวเธอเองนั้นมีทั้งชีวิตและความตายอยู่ด้วยกัน ให้เห็นว่า ทั้งสองมิได้เป็นศัตรูต่อกัน หากแต่เป็นคนละด้านของความเป็นจริงอันเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๖) เพ่งพิจารณาคนรักที่ตายจากไป

.. มองดูให้รู้ชัดว่า เนื้อหนังของบุคคลนั้นได้เปื่อยเน่าไปแล้ว เหลืออยู่แต่โครงกระดูกนอนนิ่งอยู่ใต้ดิน รู้ชัดด้วยว่า เนื้อหนังมังสาของตัวเธอยังอยู่ เธอยังเป็นที่รวมของขันธ์ทั้ง ๕ .. คงรอยยิ้มเอาไว้และตามลมหายใจอยู่เสมอ

๒๗) เพ่งพิจารณาความว่าง

.. พิจารณาถึงธรรมชาติของความว่างในกองขันธ์ทั้ง ๕ .. จากขันธ์หนึ่งไปอีกขันธ์หนึ่ง มองให้เห็นว่าทั้งหมดนั้น เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่คงตัว และปราศจากตัวของตน การประกอบกันขึ้นของขันธ์ทั้ง ๕ ก็เป็นเช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ต่างๆ ทุกอย่างเป็นไปตามกฏแห่งความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน (อิทัปปัจยตา)

การมารวมกัน เกิดขึ้นเป็นปรากกฏการณ์หนึ่งๆ แล้วก็แยกส่วนสลายดับไป เป็นไปเช่นเดียวกับการรวมตัวกันของก้อนเมฆบนยอดเขา แล้วก็กระจายสลายตัวไป อย่าไปยึดติดหรือปฏิเสธขันธ์ทั้ง ๕ พิจารณาให้รู้ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบก็เป็นเพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของกองขันธ์ทั้ง ๕ มองให้เห็นชัดว่าขันธ์ทั้ง ๕ นั้นปราศจากความหมายแห่งตัวตนและว่างเปล่า

แต่ขณะเดียวกัน มันก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์เช่นเดียวกับปรากฏการณ์แต่ละอย่างของจักรวาล มหัศจรรย์เช่นเดียวกับชีวิตที่มีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง พยายามมองให้เห็นว่าขันธ์ทั้ง ๕ นั้นไม่ได้เกิดและไม่ได้ดับ เพราะมันเป็นของมันอย่างนั้น ตัวมันเป็นความจริงสุดท้ายในตัวของมันเอง เพ่งให้เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงก็เป็นเพียงความคิดอันหนึ่ง ความปราศจากตัวตน ความว่างก็เช่นกัน

เพื่อป้องกันมิให้เธอไปติดอยู่กับความเปลี่ยนแปลง ความไม่มีตัวตนและความว่างเปล่า เธอจะเห็นว่า แม้แต่ความว่างเองก็ว่างเปล่า ความจริงสูงสุดของความว่างก็ไม่ต่างไปจากความจริงสูงสุดของขันธ์ทั้ง ๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๘) แผ่ความรักความเมตตาให้กับบุคคลที่เธอเกลียดและชิงชังที่สุด

นั่งขัดสมาธิ .. หายใจและยิ้มเล็กน้อยตามแบบฝึกหัดข้อ ๖ เพ่งพิจารณาภาพจินตนาการของคนที่เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์และความเจ็บปวดของเธอ .. เพ่งไปยังรูปร่างกาย ความรู้สึกต่างๆ ความรับรู้ต่อโลก ความคิด และความสำนึกของบุคคลคนนี้ทีละอย่างๆ

.. ลองพยายามสำรวจดูว่า อะไรที่ทำให้บุคคลคนนี้รู้สึกสุขและทุกข์ในชีวิตประจำวัน .. ดูซิว่าเขามีแบบอย่างความคิดและการให้เหตุผลอย่างไร .. ดูซิว่าอะไรเป็นแรงจูงใจให้เขาเกิดความหวังและกำลังใจ อะไรเป็นแรงจูงใจให้เขากระทำการต่างๆ

และในท้ายที่สุดพิจารณาถึงจิตของเขา มองดูซิว่า ทัศนะ (ทิฐิ) และปัญญาของเขานั้นเปิดกว้างและเป็นอิสระหรือไม่ หรือว่าถูกครอบงำไว้ด้วยอคติและจิตใจที่คับแคบอันใด มีความเกลียดหรือความโกรธอย่างไร

.. เพ่งพิจารณาเช่นนี้จนกระทั่งหัวใจของเธอเอ่อล้นด้วยความรักความเมตตา .. จนกระทั่งความโกรธความขุ่นเคืองปลาสนาการไปสิ้น ฝึกเพ่งเช่นนี้หลายๆครั้งต่อบุคคลคนนั้น

๒๙) เพ่งพิจารณาความทุกข์ยากที่เกิดจากความโง่เขลา (อวิชชา)

.. เลือกสถานการณ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งของครอบครัว หรือของสังคมที่เธอรู้ว่ากำลังทุกข์ยากอย่างที่สุด และเอาสถานการณ์นั้นเป็นวัตถุสำหรับภาวนา (เพ่งพิจารณา) ในกรณีของบุคคล พยายามมองให้เห็นความทุกข์ยากทุกอย่างที่บุคคลนั้นประสบอยู่ เริ่มจากความทุกข์ทางกาย

.. จากนั้นเลื่อนไปพิจารณาความทุกข์ที่เกิดจากความรู้สึกต่างๆ (ความขัดแย้งภายใน ความกลัว ความเกลียด ความอิจฉา ความสำนึกผิด) จากนั้นก็พิจารณาต่อไปถึงความทุกข์ที่เกิดจากการรับรู้โลกของเขา (การมองโลกในแง่ร้าย การวนเวียนอยู่ในปัญหาของตนด้วยทัศนะที่คับแคบและมืดมน)

มองพิจารณาถึงความนึกคิดของเขานั้นว่าได้รับการปรุงแต่งโดยอะไร ความกลัว ความท้อแท้ ขาดกำลังใจ ความผิดหวังหรือความเกลียดชัง มองดูให้เห็นว่าจิตของเขานั้นปิดตายลงเพราะอะไร

.. เพ่งพิจารณาภาวนาถึงความทุกข์ยากเหล่านี้ จนดวงจิตของเธอเอ่อล้นด้วยความรักและความเมตตาเหมือนน้ำใสสะอาดที่เปี่ยมบ่อฉันนั้น

และเธอจะสามารถเห็นแจ้งว่า บุคคลนั้นทุกข์เพราะสิ่งแวดล้อมและอวิชชา (ขาดความรู้จริง) กำหนดความตั้งใจที่จะช่วยบุคคลนั้นด้วยวิธีการที่เงียบที่สุดและปราศจากความเสแสร้งใดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.. ในกรณีของสังคมนั้น อาจจะใช้สถานการณ์สงครามหรือความอยุติธรรมอื่นใดเป็นกรณีสำหรับพิจารณา พยายามมองให้เห็นว่า ทุกๆคนมีส่วนร่วมในความขัดแย้งนั้น ต่างก็เป็นเหยื่อของความขัดแย้ง มองให้เห็นว่า ไม่มีใครที่ต้องการให้ความทุกข์ยากนั้นดำเนินต่อไป

.. มองให้เห็นว่าสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นได้ ก็เพราะการยึดติดในกรอบของความคิด (อุดมการณ์) และมีเหตุมาจากระบบเศรษฐกิจที่ไม่ยุติธรรมของโลก ซึ่งทุกๆคนมีส่วนสนับสนุนอุ้มชูอยู่ด้วยความไม่เอาใจใส่และขาดความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง

มองให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายของความขัดแย้งนั้นมิได้ตรงข้ามกันจริงๆ หากแต่มันเป็นคนละด้านของความเป็นจริงอันเดียวกัน มองให้เห็นว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือชีวิตของมนุษย์ และให้เห็นว่า การฆ่าหรือการกดขี่อีกฝ่ายหนึ่ง ไม่อาจแก้ปัญหาได้

.. ภาวนาจนกระทั่งความตำหนิติเตียนและความเกลียดชังทั้งมวลปลาสนาการไป ความรักและความเมตตาเอ่อท้นขึ้นแทนที่ เฉกเช่นน้ำใสสะอาดเปี่ยมหัวใจ ตั้งสัตย์ปฏิญาณที่จะทำงานเพื่อกำจัดความไม่รู้ ความเข้าใจผิด และเพื่อการประสานรอยร้าว โดยวิธีการที่นิ่งที่สุด และปราศจากความเสแสร้งใดๆ

๓๐) เพ่งพิจารณาการทำงานด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น

.. นึกถึงโครงงานที่เธอเห็นว่าสำคัญ เพื่อใช้เป็นวัตถุสำหรับภาวนา (เพ่งพิจารณา) ตรวจสอบทบทวนถึงจุดประสงค์ของงาน วิธีการทำงาน และคนที่เข้ามามีส่วนร่วมในงานนั้น

.. มองให้เห็นว่างานที่ทำนั้น เป็นไปเพื่อรับใช้ผู้อื่น เพื่อแบ่งเบาความทุกข์ เป็นการตอบสนองต่อความรักที่มีต่อมนุษย์ชาติ มิใช่เป็นการตอบสนองต่อความอยากได้รับการยกย่องหรือมีชื่อเสียง

.. จากนั้นพิจารณาถึงบุคคลต่างๆที่มีส่วนร่วมในโครงงานนั้น เธอยังมองเห็นงานในรูปของการให้ความช่วยเหลือและการรับความช่วยเหลืออีกหรือไม่

ถ้าเธอยังคงเห็นผู้ให้และผู้รับ แสดงว่างานของเธอเป็นไปเพื่อตัวเธอเอง

.. จงตั้งปณิธานที่จะทำงานด้วยหัวใจของพระโพธิสัตว์ น้ำใจแห่งการทำงานด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓๑) เพ่งพิจารณาเรื่องความปล่อยวาง (ความไม่ยึดมั่นถือมั่น)

.. รำลึกถึงความสำเร็จที่สำคัญๆในชีวิตเธอ .. ตรวจสอบตั้งแต่ความสามารถของเธอ ความยอดเยี่ยมของเธอ ความเก่งกาจของเธอ และเงื่อนไขต่างๆที่เป็นปัจจัยให้เกิดความสำเร็จนั้น ตรวจสอบความพึงพอใจและความหยิ่ง ความภูมิใจที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกว่าตัวเราเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้สิ่งนั้นๆสำเร็จได้

ฉายแสงแห่งความเป็นเหตุเป็นปัจจัยไปยังเหตุการณ์ทั้งหมดนั้น เพื่อเธอจะเห็นได้ว่า ความสำเร็จนั้นมิได้เป็นของเธอจริงๆหรอก หากแต่เป็นการประจวบเหมาะของเหตุปัจจัยมากมาย เกินกว่าที่เธอจะหยั่งรู้ได้

มองเพื่อเธอจะได้ไม่หลงติดยึดความสำเร็จนั้นๆ เมื่อเธอปล่อยวางมันเสียได้นั่นแหละ เธอจึงจะพบอิสรภาพที่แท้จริง และไม่ต้องถูกความสำเร็จนั้นครอบงำรุกรานอีกต่อไป

จากนั้นรำลึกถึงความล้มเหลวต่างๆที่ขมขื่นที่สุดในชีวิตของเธอและตรวจสอบทีละกรณี .. ตั้งแต่ความสามารถของเธอ ความยอดเยี่ยมของเธอ ความเก่งกาจของเธอ และการที่ไม่มีเงื่อนไขพอที่จะอำนวยให้สิ่งนั้นๆสำเร็จ จึงนำมาซึ่งความล้มเหลว ตรวจสอบถึงความผิดหวัง น้อยใจ เสียใจต่างๆ ที่เกิดจากความรู้สึกว่าตัวเธอไม่สามารถเข้าถึงความสำเร็จนั้นๆ

จากนั้นก็ฉายแสงแห่งความเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่งไปยังเรื่องราวทั้งหมด เพื่อมองให้เห็นว่า ความล้มเหลวนั้น ไม่อาจจะโทษความไร้สมรรถภาพของเธอได้ หากแต่เกิดจากการขาดเงื่อนไขที่จะเอื้ออำนวย

เพ่งพิจารณาให้เห็นว่า ตัวเธอนั้น ไม่มีกำลังมากพอที่จะ "แบก" ความล้มเหลวเหล่านี้เอาไว้ ความล้มเหลวนั้นๆไม่ใช่ของเธอ มองให้เห็นเพื่อเธอจะได้เป็นอิสระจากความผิดหวังทั้งหลาย

เมื่อเธอสามารถปล่อยวางเสียได้นั่นแหละ เธอจึงจะพบอิสรภาพที่แท้จริง และไม่ต้องถูกความล้มเหลวนั้นครอบงำรุกรานอีกต่อไป

๓๒) เพ่งพิจารณาความไม่ปล่อยปละละเลย

.. มองให้ห็นถึงความไม่เที่ยง อนิจจัง และไม่มีเอกลักษณ์ที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ในสิ่งต่างๆทุกๆสิ่ง มองให้เห็นแม้ว่าสิ่งต่างๆจะมีอนิจจลักษณะและไม่มีเอกลักษณ์ที่คงอยู่ได้

แต่สรรพสิ่งก็มีความอัศจรรย์ เมื่อเธอไม่ติดยึดในสิ่งที่เป็นเงื่อนไขทั้งหลาย เธอจะต้องไม่ติดยึดในสิ่งที่ไม่เป็นเงื่อนไขอีกด้วย พิจารณาดูพระโพธิสัตว์ แม้ท่านจะมิได้ติดอยู่ในกรงขังของขันธ์ ๕ และโลกียธรรมแล้ว แต่ท่านก็มิได้หนีออกจากขันธ์ ๕ และโลกียธรรม

แม้ท่านจะสามารถละทิ้งขันธ์ ๕ และโลกียธรรมดั่งหนึ่งทิ้งกองขี้เถ้าเย็นชืด ท่านก็ยังสามารถเวียนวนอยู่กับขันธ์ ๕ และโลกียธรรมโดยไม่ต้องจมลงตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้ ท่านเหมือนเรือที่ลอยอยู่เหนือน้ำ

เพ่งพิจารณาให้เห็นว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนั้น รับใช้เพื่อนมนุษย์โดยที่มิได้เป็นทาสของงาน แต่ก็มิเคยละเลยงานรับใช้มนุษย์ชาติเลย


-------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: --------

จบบทความของหลวงปู่นัท ฮันห์แล้ว คราวหน้ามาต่อที่การเจริญสติด้วยการรู้กายผ่านการเคลื่อนไหวของมือ จนเข้าไปสู่การรู้ใจตามแนวทางของหลวงพ่อเทียนกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2014, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่กล่าวถึงรายละเอียดของการคลายออกของขยะกายขยะใจ ตั้งแต่หยาบถึงละเอียดตามลำดับคือ 1).การรับผัสสะของอายตนะภายในกับภายนอก 2).ปฏิกิริยาลูกโซ่ของกายใจ(ขยะกาย ขยะใจ) 3).แรงเจตนาในการสร้างกรรม(แรงทาบที่กลางหน้าอก หรือหัวใจ) นั้น สมดุลของร่างกายจะเปลี่ยนไป และเมื่อสมดุลเปลี่ยน จะทำให้มีการปรับธาตุ คือปรากฏการณ์ลำดับที่ 4

4.การปรับธาตุทั้ง 4
สำหรับร่างกายซึ่งประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงและคลายออกของสภาวธรรม องค์ประกอบของธาตุทั้ง 4 ก็จะปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ จะสังเกตได้เมื่อนั่งสมาธิไปได้ระยะหนึ่ง จะมีการหาว(ธาตุลม) ขณะหาวก็จะรู้สึกร้อนที่หน้าผาก(ธาตุไฟ) ต่อมาจะมีน้ำตาไหล (ธาตุน้ำ) สำหรับการเกาะกุมรวมเป็นร่างกาย จัดเป็น(ธาตุดิน) ธาตุทั้ง 4 จะปรับตัวให้เกิดสมดุลใหม่อยู่ทุกขณะ ตามอาสวะที่คลายออกมา สำหรับท่านที่มีความสมดุลของสติ สัมปชัญญะ กับสมาธิ เมื่อหยั่งตัวรู้ลงในกาย จะมีการหาวอย่างต่อเนื่องนับครั้งไม่ถ้วน บ้างขากรรไกรแข็ง นั่นเป็นความสมดุลอย่างยิ่ง ธาตุทั้ง 4 ปรับมากเท่าใดชี้วัดได้ว่า ปัญญามีความคมกล้า บางท่านตกใจเพราะหาวจนรู้สึกรำคาญ จึงพยายามไม่ให้หาว นั่นคือการปิดกั้นไม่ให้ขยะกายขยะใจเบื้องลึกคลายออก เนื่องจากความไม่เข้าใจในกลไกการทำงานของร่างกาย ที่จริงผู้ปฏิบัติควรตามรู้อาการที่เกิดขึ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร