วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 62  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 06 มี.ค. 2014, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
การจะทำให้ความยินดียินร้ายไม่เกิดก็ต้อง ลบอุปาทาน คือคำแปลหรือความผูกยึดว่าเป็นนั่นเป็นนี่เมื่อมีการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6
เช่น ตา เห็นรูป ก็ให้เห็นสักแต่ รูป ไม่แปลว่าเป็นรูปอะไร

หูได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า เสียง ไม่ปรุงต่อว่าเป็นเสียงอะไร

ทำได้อย่างนี้ปฏิกิริยาตอบโต้ของจิตก็จะไม่เกิด ตัณหาและกรรม การกระทำก็จะไม่เกิด

วิธีที่จะทำให้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์แล้วเกิดเป็นเพียงแค่รู้สักแต่ว่านั้นก็คือ
การลบความผูกยึดใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์

วิธีลบความผูกยึด ทำได้ง่ายๆโดย

นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นๆจนมันดับไปต่อหน้าต่อตา....เพียงเท่านี้เอง


ลบแบบนี้ ยังเป็นสมถะ ยังไม่ปลอดภัย

ถ้าคนแรงเยอะก็จะสู้แบบนี้ได้นาน ถ้าคุณแรงเยอะก็ขออนุโมทนา แต่คนแรงน้อยๆทำแบบนี้ โดนซัดแปปเดียวก็หมอบครับ

จะลบอุปาทานอย่างปลอดภัย ต้องศึกษาอุปาทาน ต้องย้อนอดีตค้นหาเหตุของอุปาทานแต่ละเรื่องในใจแต่ละคน อย่าไป ignore มันแบบนั้นจะเสียโอกาสครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสต์ เมื่อ: 07 มี.ค. 2014, 07:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
โค้ด:
การจะทำให้ความยินดียินร้ายไม่เกิดก็ต้อง ลบอุปาทาน คือคำแปลหรือความผูกยึดว่าเป็นนั่นเป็นนี่เมื่อมีการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6
เช่น ตา เห็นรูป ก็ให้เห็นสักแต่ รูป ไม่แปลว่าเป็นรูปอะไร

หูได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า เสียง ไม่ปรุงต่อว่าเป็นเสียงอะไร

ทำได้อย่างนี้ปฏิกิริยาตอบโต้ของจิตก็จะไม่เกิด ตัณหาและกรรม การกระทำก็จะไม่เกิด

วิธีที่จะทำให้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์แล้วเกิดเป็นเพียงแค่รู้สักแต่ว่านั้นก็คือ
การลบความผูกยึดใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์

วิธีลบความผูกยึด ทำได้ง่ายๆโดย

นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นๆจนมันดับไปต่อหน้าต่อตา....เพียงเท่านี้เอง


ลบแบบนี้ ยังเป็นสมถะ ยังไม่ปลอดภัย

ถ้าคนแรงเยอะก็จะสู้แบบนี้ได้นาน ถ้าคุณแรงเยอะก็ขออนุโมทนา แต่คนแรงน้อยๆทำแบบนี้ โดนซัดแปปเดียวก็หมอบครับ

จะลบอุปาทานอย่างปลอดภัย ต้องศึกษาอุปาทาน ต้องย้อนอดีตค้นหาเหตุของอุปาทานแต่ละเรื่องในใจแต่ละคน อย่าไป ignore มันแบบนั้นจะเสียโอกาสครับ

smiley
อนุโมทนากบคุณคนธรรมดาที่ชี้แนะ

การลบอุปาทานมี 2 วิธีครับ คือ

1.โดยสมถะ กดข่ม กลบบังไว้ ด้วยกำลังสติ สมาธิ
2.โดยวิปัสสนาภาวนา ...ขุดถอนออกทิ้ง ด้วยปัญญาอันมีสติสมาธิเป็นกองหนุน

ในที่นี้จะเน้นการลบอุปาทานด้วยวิปัสสนาภาวนา

วิธีปฏิบัติก็ง่ายๆ สั้นๆคือ

นิ่งรู้ นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนดับไปต่อหน้าต่อตาทุกอารมณ์

ทำเพียงเท่านี้ได้แล้วกระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของกายและจิตเขาจะสลายอุปาทานที่เป็นลบและบวกทิ้งโดยอัตโนมัติ
:b38:


โพสต์ เมื่อ: 07 มี.ค. 2014, 23:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นั้นแหละ..สมถะ...

ยังไม่สำเหนียงอีก

อิอิ


โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2014, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
นิ่งรู้ นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนดับไปต่อหน้าต่อตาทุกอารมณ์


อาการแบบนี้เป็นผล เกิดจากสมถะครับ ตามที่กัลยาณมิตรหลายๆท่าน รวมถึงคุณกบพยายามเตือนคุณมาตลอด

การทำแบบนี้ เป็นฐานของวิปัสนาเท่านั้น แต่ก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับคนที่ต้องการยกระดับความสุขของตัวเอง และก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมาถึงจุดนี้ได้ เป็นเรื่องน่ายินดีมากสำหรับผู้ที่ทำได้

อย่างไรก็ตาม ต้องขอโทษที่อาจจะไม่ค่อยน่าฟังเท่าไรนะครับ แต่ถ้านับอาการเพียงเท่านี้ ยังไม่ได้เริ่มก้าวแรกของวิปัสนาเลยครับ

การเดินทางทางสายวิปัสนา ไม่ใช่การ ignore ความคิด แต่อาศัยความคิดเป็นตัวนำไป ไม่ใช่ความคิดแบบทั่วไปด้วย แต่เป็นความคิดใคร่ครวญอย่างเป็นเหตุเป็นผล ปราศจากอคติ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เป็นบางครั้งบางคราวต่อเมื่อใจมีความหนักแน่นจากสมถะเป็นฐานในขณะนั้นๆ

วิปัสนาเมื่อสุกงอม ผลที่จะเกิดคือความเข้าใจ

เมื่อเข้าใจเต็มที่แล้วจึงเกิดความวางในเรื่องนั้นพร้อมกัน

สมถะ กับธัมมวิจยะ อาการทางใจมีความต่างกันอยู่นะครับ

คุณลองดูเถอะ เวลามีคนแย้งคุณ มีคนต่อต้านคุณ ใจคุณมีอาการต่อต้านไหม คุณคุมใจตัวเองไม่ให้มีอาการทางกายวาจาตอบโต้กลับได้ไหม ถ้าใจคุณยังมีอำนาจเหนือตัวคุณขนาดนี้ อาการในใจรั่วไหลออกมากำหนดการกระทำทางวาจา ทางกาย คุณจะบอกว่าพิจารณาจนวางขาดไปแล้วได้อย่างไร คุณจะยินดีในความสำเร็จเท่านี้ได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งที่คุณภูมิใจไม่สามารถให้ความปลอดภัยกับคุณได้เลยในชีวิตจริง ในโลกจริงๆ เมื่อต้องกระทบกับคนจริงๆ

โค้ด:
ทำเพียงเท่านี้ได้แล้วกระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของกายและจิตเขาจะสลายอุปาทานที่เป็นลบและบวกทิ้งโดยอัตโนมัติ


นี่เกิดกับคุณแล้ว หรือว่าคุณคาดคะเนเอา

คุณเห็นอุปาทานแล้วจริงเหรอ อาการแบบไหนในใจคุณคืออุปาทานของคุณ แล้วตอนใจคุณไม่มีอุปาทานใจคุณมีอาการแบบไหน

มันไม่อัตโนมัติหรอกครับ อุปาทานแต่ละระดับ เกิดจากเหตุต่างๆกันไปตามแต่พื้นฐานใจคนแต่ละคนสั่งสมมา

หาเหตุในใจตัวเองไม่เจอ ลบไม่ได้หรอกครับ อย่างมากก็ทำได้แค่ข่มไว้เป็นคราวๆไป หลบเป็นครั้งๆไป

เห็นแต่เงา เห็นแต่เงา ตัวไม่เคยเห็นเลยทั้งๆที่ตัวก็มาพร้อมเงา เพราะเอาแต่มองที่เงา แล้วอย่างนี้จะไปลบตัวเขาได้อย่างไร

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสต์ เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 11:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
นั้นแหละ..สมถะ...

ยังไม่สำเหนียงอีก

อิอิ

:b12: :b12: :b12: :b12:
เพราะพากันไปติดยึดในรูปแบบของวิปัสสนาภาวนาตามตำราที่นิยมกันอยู่ คือต้องเห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง สลัดคืน ....ตามลำดับขั้นของญาณ 9 ก็ ดี ญาณ 16 ก็ดี

พอมาได้ยินวิปัสสนาภาวนาโดยธรรมชาติที่ไม่มีคำบรรยายเลยเข้าใจผิดว่าเป็นสมถะภาวนา อันแสดงถึงความไม่รู้จักคุณลักษณะเฉพาะของสมถะภาวนา

ในความนิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นมันเป็นวิปัสสนาโดยแท้ เพราะไม่มีความคิดหรือบัญญัติ อัตตาเข้าไปยุ่งกับกระบวนการของธรรมชาติทำให้ธรรมชาติต่างๆเขาเกิดขึ้นและดับไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยโดยธรรม ความเป็นไตรลักษณ์ นิพพิทา เบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง สลัดคืน เขาเกิดรวมเบ็ดเสร็จอยู่ในนั้นหมดแล้วโดยไม่มีคำบรรยาย แต่จะให้ผลสุดท้ายออกมาเป็นความปล่อยวาง กลางๆ หรือสักแต่ว่า เมื่อพอกพูนให้มากเข้าๆแล้วจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เข้าสู่ มรรค ผล นิพพานเอง

ให้สังเกตคำสอนของพระบรมศาสดาในภัตเทกรัตคาถากันให้ดีๆ พระพุทธองค์ทรงสอนไว้สั้นๆแต่เพียงว่า

"ปัจจุปันนัญจะ โยธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสติ อสังหิรัง อะสังกุปปัง ตังวิทธรา มนุพรูหเย"
"ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่น คลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้"

การปฏิบัติอันใดที่เป็นสมถะภาวนานั้น ได้กล่าวไว้เสมอแล้วว่าเป็นการข่มทับ กลบบัง ผัสสะ เวทนาและอารมณ์ไว้ด้วยสติหรือกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นคำบริกรรม รูปนิมิต หรือแม้แต่ความคิดเหตุคิดผลไปตามตำรา
ทำให้ลืมผัสสะ เวทนา อารมณ์นั้นไปชั่วครู่ชั่วคราว ไม่ใช่การขุดถอนหรือลบอารมณ์ หรือลบอุปาทานนั้นๆออกไปจากใจเหมือนเช่นวิปัสสนาภาวนา

ลองสังเกตพิจารณาเปรียบเทียบกันดูนะครับ ทดสอบด้วยภาคปฏิบัติไปด้วยยิ่งดีใหญ่ จะเห็นชัดมาก พิสูจน์ได้และท้าให้พิสูจน์อยู่เสมอ
smiley


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 13 มี.ค. 2014, 06:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 12:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
อ้างคำพูด:
คนธรรมดาๆ

อโศกะ ทำเพียงเท่านี้ได้แล้วกระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของกายและจิตเขาจะสลายอุปาทานที่เป็นลบและบวกทิ้งโดยอัตโนมัติ


คนธรรมดาๆ .....นี่เกิดกับคุณแล้ว หรือว่าคุณคาดคะเนเอา

คุณเห็นอุปาทานแล้วจริงเหรอ อาการแบบไหนในใจคุณคืออุปาทานของคุณ แล้วตอนใจคุณไม่มีอุปาทานใจคุณมีอาการแบบไหน

มันไม่อัตโนมัติหรอกครับ อุปาทานแต่ละระดับ เกิดจากเหตุต่างๆกันไปตามแต่พื้นฐานใจคนแต่ละคนสั่งสมมา

หาเหตุในใจตัวเองไม่เจอ ลบไม่ได้หรอกครับ อย่างมากก็ทำได้แค่ข่มไว้เป็นคราวๆไป หลบเป็นครั้งๆไป

เห็นแต่เงา เห็นแต่เงา ตัวไม่เคยเห็นเลยทั้งๆที่ตัวก็มาพร้อมเงา เพราะเอาแต่มองที่เงา แล้วอย่างนี้จะไปลบตัวเขาได้อย่างไร

:b12: :b12: :b12: :b12:
คงต้องมีประสบการณ์จริงพอสมควรแล้วนะครับถึงกล้ามาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังเช่นนี้ ไม่ใช่การคาดคะเนเอาหรอกครับ

เรื่องของอุปาทานนี้มันละเอียดอ่อนพอสมควรทีเดียว ถ้าไม่สังเกตดีๆจะไม่ค่อยรู้ชัด

อย่างข้อความเห็นทั้งหมดที่เขียนคุยกันอยู่ขณะนี้ก็ล้วนแต่อุปาทานและอาศัยอุปาทานที่บันทึกไว้ในสัญญาเป็นบัญญัติภาษาไทย อาจผสมบาลีบ้างทั้งสิ้น

อุปาทานที่ลึกลงไปกว่านี้ที่มีผลต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของคนเรายิ่งละเอียดอ่อน อย่างเช่นอุปาทานว่ากายใจนี้เป็นอัตตา ตัวกู ของกู

อุปาทานที่นักปฏิบัติมักจะพบเจอกันแทบทุกคนเช่น ความเจ็บ......ความเจ็บเป็นทุกขเวทนา เป็นสภาวธาตุลมแสดงในกาย แล้วไปรู้ที่จิต เช่นเจ็บก้นเวลานั่งภาวนาไปนานๆ.....ถ้าจะเอาสมถะเข้าข่มก็อาจใช้คำบริกรรมว่า เจ็บหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ จนหายเจ็บเพราะจิตไปผูกยึดที่คำบริกรรมแทน อย่างนี้จะหายชั่วคราว นั่งนานอีกก็กลับมาเป็นอีก

แต่ถ้าลองเอาหลักนิ่งรู้นิ่งสังเกตมาใช้......เอาสติปัญญา มานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์....อารมณ์เริ่มต้นคือ เจ็บ สังเกตให้ดีๆ จะเกิดอารมณ์ลูกต่อเนื่องไปเป็นลูกโซ่ ให้สติปัญญารู้ทันปัจจุบันทุกอารมณ์โดยไม่ทำอะไรอื่น นอกจากรู้ทันและสังเกต ตัวอย่าง

เจ็บก้น.....จิต(กู)เป็นทุกข์.....อยากขยับ.....อยากเปลี่ยนท่า......คิด.......จิตดิ้นรน.....จิตพยายามสั่งให้เปลี่ยนท่า
สติปัญญากำกับ ไมให้เปลี่ยน.....อึดอัด.....ทรมาณ ......ทนไม่ได้....สติปัญญาไม่ยอมให้เปลี่ยนท่า....ทุกข์ทรมาณถึงที่สุด

ถ้าแพ้ ก็เปลี่ยนท่าตามคำสั่งของจิต(กู)....สบาย หายเจ็บแบบชั่วคราว เกิด เหมือนเช่นทุกครั้งในชีวิตคนธรรมดา

ถ้าสติปัญญาไม่แพ้ จิตเป็นกู จะถอย หรือดับไป ......ความเบา สบาย หายเจ็บเกิด.....สติปัญญาาต้องรู้ทันด้วย......ถ้าทำได้อย่างนี้ เจ็บนั้นอาจไม่กลับมาเกิดอีกเลย หรือกลับมาเกิดเบาๆอีกสักครั้ง 2 ครั้ง แล้วดับไปหมดไปไม่มากวนใจได้อีก
อุปาทานเรื่องเจ็บก้นตรงนี้หมดไป

เรื่องนี้พิสูจน์มาแล้ว

จะลองกันดูมั่งก็ได้นะครับ
:b36:
:b38:
ลบอุปาทานย่อยอย่างนี้ก็ดีอยู่แต่ก็จะมีงานย่อยๆให้ลบเยอะ

ชีวิตเราชาวพุทธเราควรหมายลบอุปาทานใหญ่ คือความเห็นผิด (สักกายทิฏฐิ) กับความยึดผิด(มานะทิฏฐิ)เป็นงานสำคัญของชีวิต
smiley
tongue
:b8:
:b37:
:b38:


โพสต์ เมื่อ: 13 มี.ค. 2014, 06:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
การลบอุปาทานตัวใหญ่ตัวหัวหน้าคือความเห็นผิดเป็นกูเป็นเรา เป็นตัวเป็นตนนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและทำได้เสมอในทุกอิริยาบถ เพราะทุกการกระทบสัมผัสของปุถุชนย่อมจะมีความเป็นกูเป็นเรานี้โผล่ขึ้นมามีปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะต่างๆเสมอ

ผู้ปฏิบัติเพียงแต่เพิ่มสติให้รู้ทันและปัญญาคอยสังเกตพิจารณาให้ดีก็จะพบเห็นใจเป็นกูที่กรุ่นดิ้นตอบโต้และมีปฏิกิริยาอยู่ภายใน

ไม่รู้จักหน้ากูก็ไม่เป็นไร แต่เพียงนิ่งรู้นิ่งสังเกตความรู้สึกดิ้นรนของใจเป็นกูนั้นจนกว่ามันจะดับสงบหรือเปลี่ยนใหม่ไปเป็นอารมณ์อื่น เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

เมื่อได้พบและเพียรสู้กับความรู้สึกเป็นกูเป็นเราในใจไปเรื่อยๆ จนมันดับไปถอยไปอยู่เรื่อยๆอย่างนั้นไม่ช้าผู้ปฏิบัติจะได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกายในใจของตน ที่จะเห็นง่ายและชัดก่อนเพื่อนคือความโกรธหรือความขัดข้องขุ่นมัวในจิตเขาจะบางใปจางใปจนที่สุดไม่ขุ่นไม่โกรธแม้กับคำด่าที่หยาบมากและแรงๆ

ผลเบื้องสูงจะเกิดตามมาภายหลังจากนั้นอีกไม่นาน
:b8:
:b37:


โพสต์ เมื่อ: 13 มี.ค. 2014, 10:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่า..คุณอโสกะ...เข้าใจอะไรบางอย่างเกี่ยวกับอุปาทาน...คลาดเคลื่อน...
เท่าที่อ่านดู...อโสกะเข้าใจว่าอุปาทาน..คือความหลงผิด....เช่น...หลงเข้าใจว่ามีกูตัวกู..เป็นต้น.

แต่..อโสกะลองไปดู.อุปาทาน...ในปฏิจจะสมุปบาท..

.จะเห็นว่า...อุปาทานมีเพราะ..มีตัญหา

เอาง่ายๆ...นะ

ถ้าตัญหา...คือ...ความอยากมี
อุปาทาน....จะเป็น...จะต้องมี...(คือความยึดในความอยากนั้น)
ส่วนภพภาวะ...จะเป็น...จะต้องมีให้ได้ (ยึดในความยึดนั้นเข้าไปอีก)

ส่วนความคิดว่า..มีกูมีตัวกู.เป็นความหลง...ความไม่รู้....ที่เรียกว่าอวิชชา...คือ..ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า...ธาตุ4 ขันธ์5ไม่ใช่ตัวเรา...แค่นี้เอง


โพสต์ เมื่อ: 13 มี.ค. 2014, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จริงอยู่ว่า...อุปาทานเกิดขึ้นได้เพราะมีความไม่รู้คือความหลงอยู่เบื้องหลัง

หากไม่เพราะความหลงในร่างกายตัวตน..ไหนเลย..จะมีความอยากอันเป็นตัญหาไขว่คว้าหาโลกธรรม...ไหนเลยจะมีความยึดในความอยากนั้น...อันเป็นอุปาทานต่อเนื่อง

แต่ถึงอย่างไร....อวิชชากับอุปาทาน...ก็มีอาการ..มีภาวะต่างกันอยู่ดี


โพสต์ เมื่อ: 13 มี.ค. 2014, 23:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ผมว่า..คุณอโสกะ...เข้าใจอะไรบางอย่างเกี่ยวกับอุปาทาน...คลาดเคลื่อน...
เท่าที่อ่านดู...อโสกะเข้าใจว่าอุปาทาน..คือความหลงผิด....เช่น...หลงเข้าใจว่ามีกูตัวกู..เป็นต้น.

แต่..อโสกะลองไปดู.อุปาทาน...ในปฏิจจะสมุปบาท..

.จะเห็นว่า...อุปาทานมีเพราะ..มีตัญหา

เอาง่ายๆ...นะ

ถ้าตัญหา...คือ...ความอยากมี
อุปาทาน....จะเป็น...จะต้องมี...(คือความยึดในความอยากนั้น)
ส่วนภพภาวะ...จะเป็น...จะต้องมีให้ได้ (ยึดในความยึดนั้นเข้าไปอีก)

ส่วนความคิดว่า..มีกูมีตัวกู.เป็นความหลง...ความไม่รู้....ที่เรียกว่าอวิชชา...คือ..ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า...ธาตุ4 ขันธ์5ไม่ใช่ตัวเรา...แค่นี้เอง

:b7:
คุณกบเข้าใจอุปาทานตามตัวหนังสือแล้วยังไปอิงปฏิจจส ปบาทจนมองข้ามเรื่องง่ายๆไป

ภาษาไทยที่คุณกบพูดออกมาทั้งหมดนี่ก็อุปาทาน......พอมาอยู่ในลานถูกเรียกชื่อว่ากบก็รับรู้ว่าชื่อฉัน..นี่ก็อุปาทาน

อุปาทานกับความคิดนึกปรุงแต่งนี่เขาอิงอาศัยกันตลอด

หมด อุปาทานก็หมดคิดนึกปรุงแต่งเน้อ กบ
:b48:


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2014, 15:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

ภาษาไทยที่คุณกบพูดออกมาทั้งหมดนี่ก็อุปาทาน......พอมาอยู่ในลานถูกเรียกชื่อว่ากบก็รับรู้ว่าชื่อฉัน..นี่ก็อุปาทาน

สัญญา..ความจำได้หมายรู้..อโสกะ....ชื่อ..ภาษา..นั้นมันก็สมมุติบัญญัติ....เราจำมันได้...แล้วใช้สื่อสารกัน...มันเป้นสัญญา...
หาก...ถ้าเรายึดมันว่า...มันต้องเรียกอย่างนี้อย่างนั้นเปลี่ยนไม่ได้...เช่น..ต้นไม้..จะเรียก tree ก็ว่าไม่ถูกต้อง...อันนี้จึงจะเรียกว่ายึดมั่นถื่อมั่น.ในสมมุติบัญญัติ...เป็นอุปาทานได้..

อย่ามั่วหลาย...อิอิภาษาบ้านผม

asoka เขียน:

อุปาทานกับความคิดนึกปรุงแต่งนี่เขาอิงอาศัยกันตลอด

หมด อุปาทานก็หมดคิดนึกปรุงแต่งเน้อ กบ
:b48:


นี้ก็..จิตนาการ..อีกแระ

พระอรหันต์...คิด..วิเคราะห์...อะไรไม่ได้เลยใช่มั้ย?..อิอิ

กลับไปดูปฏิจจะฯ..อีกทีซิ..อโสกะ

อุปาทานดับ...ภพ...ที่พาไปเกิดก็ดับ
อุปาทานดับ..เพราะ..ตัญหาดับ...

มีตรงไหนที่บอกว่าขันธ์5 ดับ..พระอรหันต์ท่านมีชีวิตจนหมดอายุก็มีเยอะแยะ...


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2014, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool ไปหาความหมายของ อุปาทาน 4 มา... ก็เลยเกิดความสงสัยว่า ทำไมถึงต้องมีศัพท์มากมายหลายชนิด. นึกไปนึกมา... อุปทาน 4 น่าจะเกิดมาสำหรับคนที่ชอบปริยัติ คือ ถกเถียงกันในกระบวนการอันยิบย่อย.

:b6: เท่าที่อ่านๆ ดู อุปาทาน 4 ก็เป็นการพูดในอีกแบบหนึ่งของ กิเลส หรือ สังโยชน์

กามุปาทาน ก็คือ กามราคะ
ทิฏฐุปาทาน ก็รวมกัน 3 อย่าง สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และปฎิฆะ
สีลัพพตุปาทาน อันนี้ก็ตรงตัว สีลัพพตปรามาส

:b6: :b6: จะมีที่พิเศษหน่อย ตรงอุปาทานอันที่ 4 อัตตวาทุปาทาน
อธิบายซะยืดยาว อ่านจนจบก็สรุปได้ว่า ไม่รู้เรื่อง. มันสะท้อนว่า คนแปลก็ไม่รู้ ว่ามันคืออะไร. คนอ่านพออ่านไม่รู้เรื่อง ก็เลยคิดว่า พุทธศาสตร์มันยากจริงๆ เลย เราช่างโง่เขลาแท้ๆ

พิณาอยู่พักหนึ่ง ก็พอจะกล้อมแกล้มๆ ได้บ้าง :b9:

onion อัตตวาทุปาทาน เป็นสิ่งที่เราพยายามแสดงถึงมันมานานแล้ว (เพิ่งรู้ว่ามันก็มีชื่อเรียกเหมือนกัน)
มันคือ ภาษา ที่ชี้นำความคิดของเรา. อัตตวาทะ ไม่ได้แปลว่า วาจาของเรา วาจาของผู้พูด, แต่มันคือตัวตนที่ซ่อนอยู่ในภาษานั้นๆ เช่น...

พอได้ยินคำว่า เทวดา ตัวตนของคำนี้คือ คนตัวผอมๆ สมส่วน มีชฎา มีเครื่องประดับแวววาว.
พอได้ยินคำว่า วิมาน สิ่งที่ปรากฎในความคิดเราคือ อาคารที่เหมือนวัด มียอดแหลมๆ เต็มไปด้วยลวดลาย.
พอเราพูดว่า วิมานลอยบนอากาศ ภาพที่ปรากฎจึงเป็น วัดลอยฟ้า.

พอเราใช้คำว่า สร้างวิมานบนอวกาศ. เราก็เลยรู้สึกแปลกๆ เพราะตัวตนของวิมาน (วัด) ไม่ควรจะอยู่ในอวกาศ (เราก็มีภาพความคิดอีกภาพหนึ่ง สำหรับคำว่าอวกาศ จริงไหม)

:b6: ศัพท์บัญญัติทุกคำ ล้วนมีตัวตนที่ซ่อนอยู่ทั้งสิ้น. โดยทั่วไป เราจะไม่ค่อยรู้สึกถึงตัวตนเหล่านี้ เพราะคำส่วนใหญ่มีตัวตนเดียว ภาพเดียว เช่น วัว มันก็คือวัว, ภาพที่ปรากฎในความคิดเรา มันก็ตรงกับตัวตนจริง.
แต่เราจะเข้าใจมากขึ้น เมื่อคำศัพท์นั้นเป็นศัพท์ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง เช่น เทวดา เทพเจ้า เอเลียน ยานอวกาศ ปืนเลเซอร์ ฯลฯ

นี่คือ อัตตวาทุปาทาน

onion onion onion

ทีนี้ รู้สึกยังไงกับประโยคว่า อสุรกายไม่ได้มีเทคโนโลยี พอที่จะสร้างวิมานในอวกาศได้แบบเทวดา, ส่วนมนุษย์ สามารถสร้างวิมานนานาชาติในอวกาศได้แล้ว แม้จะไม่ใหญ่โตเหมือนวิมานของเอเลียนก็ตาม :b32: :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 15 มี.ค. 2014, 06:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
พบเจอสิ่งดีๆเลยนำมาคั่นรายการนิดหนึ่งนะครับ

ร่างกายและจิตใจสองอย่างนี้ รวมกันเข้าเรียกว่า นามรูป,
หรือเรียกว่า เบญจขันธ์ เมื่อแยกให้เป็น ๕ ส่วน.

ในร่างกายและจิตใจนี้ ถ้ายังมีอุปาทาน กล่าวคือ
ความยึดถือว่า "ของฉัน" ว่า "ฉัน" อยู่เพียงใดแล้ว ความทุกข์นานัปการ
ตั้งต้นแต่ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนถึงความหม่นหมองร้ายแรงอย่างอื่น เช่น
อยากแล้วไม่ได้สมอยาก เป็นต้น ก็ยังมีอยู่ และออกฤทธิ์แผดเผาทรมานร่างกาย
และจิตใจอันนั้นเอง.

แต่เมื่อใดอุปาทานอันนี้หมดไปจากจิต ผู้นั้นไม่มีความสำคัญตนหรือรู้สึกตนว่า
"ฉันมี", "นี่เป็นของฉัน" เป็นต้นแล้ว ทุกข์ทั้งมวลดังกล่าวก็ตกไปจากจิต
อย่างไม่มีเหลือ เพราะเราอาจที่จะไม่รับเอาว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นของเรา
และสิ่งที่เกิดขึ้นแก่มันว่าเป็นของเราได้จริงๆ.

แต่พึงทราบว่า เมื่ออวิชชา (ความโง่หลง) ยังมีอยู่ในสันดานเพียงใดแล้ว
ความสำคัญว่าเรา หรือของเรา มันก็สิงอยู่ในสันดานเรา โดยเราไม่ต้องรู้สึก
เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาความทุกข์ทั้งมวลเข้ามาเป็นของเรา โดยเราไม่รู้สึกตัว;
จึงกล่าวได้ว่า ตัวตนของเรา มีอยู่ในขณะที่เรายังมีอวิชชาหรืออุปาทาน เพราะ
สิ่งที่เป็นตัวตน (ตามที่เรารู้สึกและยึดถือไว้ในสันดานนั้น) เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง
ให้เกิดขึ้นโดยอวิชชานั่นเอง. ตัวตนไม่มีในเมื่อหมดอวิชชา.

เมื่อใดหมดอวิชชา หรือความโง่หลง เมื่อนั้น "ตัวตน" ก็ทำลายไปตาม;
ความรู้สึกว่า "เรา" ก็ไม่มีในสันดานเรา;
ไม่มีใครเป็นผู้ทำ หรือรับผลของอะไร จึงไม่มีทุกข์,
ความจริงนั้นมีแต่นามรูปซึ่งเกิดขึ้น, แปรปรวน, ดับไปตามธรรมดาของมัน
เรียกว่า มันเป็นทุกข์.

เมื่ออวิชชาในสันดานเรา (หรือในนามรูปนั้นเอง) ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า
"นามรูปคือตัวเรา" แล้ว "เรา" ก็เกิดขึ้นสำหรับเป็นทุกข์,
หรือรับทุกข์ทั้งมวลของนามรูปอันเป็นอยู่ตามธรรมชาตินั้น.

เห็นได้ว่า "เราที่แท้จริง" นั้นไม่มี มีแต่เราที่สร้างขึ้นโดยอวิชชา.
ท่านจึงกล่าวว่า ความทุกข์นั้นมีจริง แต่ผู้ทุกข์หามีไม่,
หรือเบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์.

ที่เรารู้สึกว่า มีผู้ทุกข์ และได้แก่ตัวเรานี่เองนั้น เป็นเพราะความโง่ของเรา
สร้างตัวเราขึ้นมาด้วยความโง่นั้นเอง, ตัวเราจึงมีอยู่ได้แต่ในที่ๆ ความโง่มีอยู่.
ยอดปรัชญาของพุทธศาสนา จึงได้แสดงถึงความจริงในเรื่องนี้
ด้วยการคิดให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งประจักษ์ชัดว่า "ตัวเราไม่มี" จริงๆ.

อาจมีผู้ถามว่า ก็เมื่อความจริงนั้น ตัวเราไม่มีแล้ว
เราจะขวนขวายประพฤติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ทำไมเล่า?

นี่ก็ตอบได้ด้วยคำที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกนั่นเอง, คือว่าในขณะนี้
เราหาอาจมีความรู้ได้ไม่ว่า "ตัวเราไม่มี". เรายังโง่เหมือนคนบ้าที่ยังไม่หายบ้า
ก็ไม่รู้สึกเลยว่าตนบ้า.

เหตุนี้เอง "ตัวเรา" ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความโง่ นั่นแหละมันมีอยู่,
มันเป็นเจ้าทุกข์, และเป็นตัวที่เราเข้ายึดเอามาเป็นตัวเรา หรือของเราไว้โดยไม่รู้สึก.
เราจึงต้องทำตามคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อหายโง่ หายยึดถือ
หมดทุกข์ แล้วเราก็จะรู้ได้เองทีเดียวว่า อ้อ! ตัวเรานั้น ที่แท้ไม่มีจริงๆ!!
นามรูปมันพยายามดิ้นรนเพื่อตัวมันเองตลอดเวลา
มันสร้าง "เรา" ขึ้นใส่ตัวมันเองด้วยความโง่ของมัน;
เราที่มันสร้างขึ้น ก็คือเราที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่นี่แหล่ะ !

ความทุกข์ ความสุขมีจริง. แต่ตัวผู้ทุกข์ หรือผู้สุขที่เป็น "เราจริงๆ" หามีไม่,
มีแต่ "เรา" ที่สร้างขึ้นจากความไม่รู้ โดยความไม่รู้.
ดับเราเสียได้ ก็พ้นทุกข์และสุข, สภาพเช่นนี้เรียกว่า นิพพาน.

ที่กล่าวว่า พระนิพพานเป็นยอดสุขนั้น ไม่ถึงเข้าใจว่า เป็นสุขทำนองที่เราเข้าใจกัน,
ต้องเป็นสุขเกิดจากการที่ "เรา" ดับไป และการที่พ้นจากสุขและทุกข์ ชนิดที่เรา
เคยรู้จักมันดีมาแต่ก่อน. แต่พระนิพพานจะมีรสชาติเป็นอย่างไรนั้น ท่านจะทราบ
ได้เองเมื่อท่านลุถึง. มันอยู่นอกวิสัยที่จะบอกกันเข้าใจ ดังท่านเรียกกันว่าเป็น
ปัจจัตตัง หรือสันทิฏฐิโก.

ในพระนิพพาน ไม่มีผู้รู้, ไม่มีผู้เสวยรสชาติแห่งความสุข; เพราะอยู่เลยนั้น
หรือนอกนั้นออกไป; ถ้ายังมีผู้รู้ หรือผู้เสวย ยังยินดีในรสนั้นอยู่ นั่นยังหาใช่
พระนิพพานอันเป็นที่สุดทุกข์จริงๆ ไม่ แม้จะเป็นความสุขอย่างมากและน่า
ปรารถนาเพียงไรก็ตาม มันเป็นเพียง "ประตูของพระนิพพาน" เท่านั้น.
แต่เมื่อเราถึงสถานะนั่นแล้ว เราก็แน่แท้ต่อพระนิพพานอยู่เอง.

เมื่อนามรูปยังมีอยู่ และทำหน้าที่เสวยรสเยือกเย็นอันหลั่งไหลออกมาจากการ
ลุถึงพระนิพพานได้ ในเมื่อมันไม่เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งอุปาทาน หรืออวิชชาอีกต่อไป.
เราเรียกกันว่า นั่นเป็นภาวะแห่งนิพพาน.

เมื่อรูปนามนั้น ดับไปอย่างไม่มีเชื้อเหลืออยู่อีก นั่นก็คือ ปรินิพพาน

ดังนี้ ท่านตัดสินเอาตามความพอใจของท่านเองเถิดว่า

ใครเล่าเป็นผู้ทุกข์? ใครเล่าเป็นผู้สุข?

แต่พึงรู้ตัวได้ว่า ตัวเราที่กำลังจับกระดาษแผ่นนี้อ่านอยู่นั้น

ก็ยังเป็นตัวเราของอวิชชาอยู่ !

๑ สิงห์ ๗๙
พุทธทาสภิกขุ
:b27:
ขอบคุณคุณวิสุทธิปาละ ที่คัดข้อความอันมีค่ายิ่งนี้มาโพสต์ให้ชาวโลกได้อ่าน
smiley


โพสต์ เมื่อ: 15 มี.ค. 2014, 06:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:

ภาษาไทยที่คุณกบพูดออกมาทั้งหมดนี่ก็อุปาทาน......พอมาอยู่ในลานถูกเรียกชื่อว่ากบก็รับรู้ว่าชื่อฉัน..นี่ก็อุปาทาน

สัญญา..ความจำได้หมายรู้..อโสกะ....ชื่อ..ภาษา..นั้นมันก็สมมุติบัญญัติ....เราจำมันได้...แล้วใช้สื่อสารกัน...มันเป้นสัญญา...
หาก...ถ้าเรายึดมันว่า...มันต้องเรียกอย่างนี้อย่างนั้นเปลี่ยนไม่ได้...เช่น..ต้นไม้..จะเรียก tree ก็ว่าไม่ถูกต้อง...อันนี้จึงจะเรียกว่ายึดมั่นถื่อมั่น.ในสมมุติบัญญัติ...เป็นอุปาทานได้..

อย่ามั่วหลาย...อิอิภาษาบ้านผม

asoka เขียน:

อุปาทานกับความคิดนึกปรุงแต่งนี่เขาอิงอาศัยกันตลอด

หมด อุปาทานก็หมดคิดนึกปรุงแต่งเน้อ กบ
:b48:


นี้ก็..จิตนาการ..อีกแระ

พระอรหันต์...คิด..วิเคราะห์...อะไรไม่ได้เลยใช่มั้ย?..อิอิ

กลับไปดูปฏิจจะฯ..อีกทีซิ..อโสกะ

อุปาทานดับ...ภพ...ที่พาไปเกิดก็ดับ
อุปาทานดับ..เพราะ..ตัญหาดับ...

มีตรงไหนที่บอกว่าขันธ์5 ดับ..พระอรหันต์ท่านมีชีวิตจนหมดอายุก็มีเยอะแยะ...

:b12: :b12:
ทั้งหมดที่คุณกบเอามาพูดนั้นนะ อิงตำรามาพูด คิดเทียบจากตำรามาพูดทั้งนั้น แต่ขาดประสบการณ์จริง เป็นจินตนาการยิ่งกว่าจินตนาการเสียอีกนะคุณกบ

1.สิ่งที่มีอยู่ในสัญญาทั้งหมดนั่นแหละคืออุปาทาน ความผูกยึดไว้ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้

2.พระอรหันต์ที่ท่านลบความเห็นผิดยึดผิดได้หมดแล้ว หรือพระอริยเจ้าชั้นต้นที่ท่านลบความเห็นผิดได้แล้ว ยังค้างความยึดผิด อีก 75 % บ้าง 50 % บ้าง 25 % บ้าง ไม่ใช่ว่าสมองท่านจะกลวงไม่มีอะไร สัญญาหรืออุปาทานที่มีอยู่เป็นเพียงเงาร่าง ที่ยังสามารถนำเอามาใช้สื่อกับผู้คนได้อยู่ แต่ทั้งหมดเขาเป็นอุปาทานที่หมดพิษหมดภัย คล้ายกับไวรัสที่ถูกทำลายพิษร้ายแล้วเอามาทำเป็นวัคซีนป้องกันโรคทั้งหลายนั่นเอง อธิบายและอุปมาอุปมัยอย่างนี้ไม่ทราบว่าคุณกบจะพอเข้าใจไหมน้อ

อนึ่ง คิดเอาจนได้นิพพานนั้นไม่มี หรือมีได้น้อยมาก

จำคำสอนของหลวงพ่อรูปหนึ่งได้ไหมที่ท่านว่า

"หยุดคิด ถึง รู้ แต่จะรู้ ก็ต้องคิด"

เบื้องแรก ต้องหยุดความคิดปรุงแต่งทั้งหมด หรือหยุดใช้อุปาทานทั้งหมดให้ได้เสียก่อน จึงจะรู้ หรือพบความจริงอันบริสุทธิผุดผ่อง พบธรรม เสวยผล นิพพาน

เบื้องหลังจากนั้นเพื่อให้แตกฉานเข้าใจละเอียดลึกซึ้งในคำสอนของพระบรมศาสดา จึงค่อยกลับมาใช้ความคิดพิจารณาแยกแยะธรรม

:b11:
:b13: :b13: :b13:


โพสต์ เมื่อ: 15 มี.ค. 2014, 06:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b36:
murano เขียน:
cool ไปหาความหมายของ อุปาทาน 4 มา... ก็เลยเกิดความสงสัยว่า ทำไมถึงต้องมีศัพท์มากมายหลายชนิด. นึกไปนึกมา... อุปทาน 4 น่าจะเกิดมาสำหรับคนที่ชอบปริยัติ คือ ถกเถียงกันในกระบวนการอันยิบย่อย.

:b6: เท่าที่อ่านๆ ดู อุปาทาน 4 ก็เป็นการพูดในอีกแบบหนึ่งของ กิเลส หรือ สังโยชน์

กามุปาทาน ก็คือ กามราคะ
ทิฏฐุปาทาน ก็รวมกัน 3 อย่าง สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และปฎิฆะ
สีลัพพตุปาทาน อันนี้ก็ตรงตัว สีลัพพตปรามาส

:b6: :b6: จะมีที่พิเศษหน่อย ตรงอุปาทานอันที่ 4 อัตตวาทุปาทาน
อธิบายซะยืดยาว อ่านจนจบก็สรุปได้ว่า ไม่รู้เรื่อง. มันสะท้อนว่า คนแปลก็ไม่รู้ ว่ามันคืออะไร. คนอ่านพออ่านไม่รู้เรื่อง ก็เลยคิดว่า พุทธศาสตร์มันยากจริงๆ เลย เราช่างโง่เขลาแท้ๆ

พิณาอยู่พักหนึ่ง ก็พอจะกล้อมแกล้มๆ ได้บ้าง :b9:

onion อัตตวาทุปาทาน เป็นสิ่งที่เราพยายามแสดงถึงมันมานานแล้ว (เพิ่งรู้ว่ามันก็มีชื่อเรียกเหมือนกัน)
มันคือ ภาษา ที่ชี้นำความคิดของเรา. อัตตวาทะ ไม่ได้แปลว่า วาจาของเรา วาจาของผู้พูด, แต่มันคือตัวตนที่ซ่อนอยู่ในภาษานั้นๆ เช่น...

พอได้ยินคำว่า เทวดา ตัวตนของคำนี้คือ คนตัวผอมๆ สมส่วน มีชฎา มีเครื่องประดับแวววาว.
พอได้ยินคำว่า วิมาน สิ่งที่ปรากฎในความคิดเราคือ อาคารที่เหมือนวัด มียอดแหลมๆ เต็มไปด้วยลวดลาย.
พอเราพูดว่า วิมานลอยบนอากาศ ภาพที่ปรากฎจึงเป็น วัดลอยฟ้า.

พอเราใช้คำว่า สร้างวิมานบนอวกาศ. เราก็เลยรู้สึกแปลกๆ เพราะตัวตนของวิมาน (วัด) ไม่ควรจะอยู่ในอวกาศ (เราก็มีภาพความคิดอีกภาพหนึ่ง สำหรับคำว่าอวกาศ จริงไหม)

:b6: ศัพท์บัญญัติทุกคำ ล้วนมีตัวตนที่ซ่อนอยู่ทั้งสิ้น. โดยทั่วไป เราจะไม่ค่อยรู้สึกถึงตัวตนเหล่านี้ เพราะคำส่วนใหญ่มีตัวตนเดียว ภาพเดียว เช่น วัว มันก็คือวัว, ภาพที่ปรากฎในความคิดเรา มันก็ตรงกับตัวตนจริง.
แต่เราจะเข้าใจมากขึ้น เมื่อคำศัพท์นั้นเป็นศัพท์ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง เช่น เทวดา เทพเจ้า เอเลียน ยานอวกาศ ปืนเลเซอร์ ฯลฯ

นี่คือ อัตตวาทุปาทาน

onion onion onion

ทีนี้ รู้สึกยังไงกับประโยคว่า อสุรกายไม่ได้มีเทคโนโลยี พอที่จะสร้างวิมานในอวกาศได้แบบเทวดา, ส่วนมนุษย์ สามารถสร้างวิมานนานาชาติในอวกาศได้แล้ว แม้จะไม่ใหญ่โตเหมือนวิมานของเอเลียนก็ตาม

:b36:
:b38:
ทิฏฐุปาทาน ......ความเห็นผิด....สักกายทิฎฐิ.....อัตตาตัวพี่

อัตตวาทุปาทาน......ความยึดผิด.....มานะทิฎฐิ....อัตตาตัวน้อง

จำง่ายๆอย่างนี้ไปก่อน จะได้ง่ายในการทำงาน เพราะงานหลักของชาวพุทธเมื่อพูดสรุปสั้นๆมีเพียงแค่นี้ คือ

ทำลายความเห็นผิด กับความยึดผิด สองอย่างเท่านั้นเอง ราายละเอียดอื่นๆนั้นเขาหากเป็นไปเองตามธรรมถ้าตั้งประเด็นของงานไว้ถูกต้องแล้ว

:b37:
:b39:
:b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 62  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร