วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 20:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันที่คำสอนในการเจริญสติของหลวงปู่ ซึ่งตัดต่อมาในส่วนที่น่าสนใจกันครับ :b1: :b46: :b39:

---------- :b46: :b39: :b46: ---------- :b46: :b39: :b46: ---------- :b46: :b39: :b46: ---------- :b46: :b39: :b46: ----------

เราควรฝึกสติทุกๆ วันและทุกๆ ชั่วโมง

ประโยคนี้ดูจะพูดง่าย แต่ตอนปฏิบัติจริงไม่ใช่ของง่ายเลย

ด้วยเหตุนี้ครูจึงเสนอแนะผู้ที่มาเรียนฝึกสมาธิกับครูว่าให้หาวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เพื่ออุทิศให้กับการฝึกสติทั้งวันโดยเฉพาะ แม้ว่าในทางทฤษฎี ทุกวันทุกชั่วโมง ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นเวลาของเรา แต่ในทางที่เป็นจริง มีพวกเราเพียงไม่กี่คนที่ปฏิบัติได้ถึงขั้นนั้น เรามักรู้สึกว่า ครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม ขโมยเวลาของเราไปเสียหมด

ดังนั้น ครูจึงขอร้องให้ทุกคน หาวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เป็นวันของตนเอง อาจจะเป็นวันเสาร์ ถ้าเป็นวันเสาร์ วันเสาร์ก็ต้องเป็นวันของเธอเต็มที่ เธอจะต้องเป็นนายของวันนั้นอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น วันเสาร์จะเป็นวันที่สำคัญในการสร้างนิสัยของการฝึกสติ .. ไม่ว่าจะเลือกวันไหนก็ตาม เราจะเรียกวันนั้นว่า วันแห่งสติของเรา

ถ้าเธอต้องการกำหนดวันแห่งสติละก็ เธอควรหาวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อเตือนเธอตั้งแต่นาทีแรกที่ลืมตาตื่นขึ้นมาว่า วันนี้เป็นวันแห่งสติของเธอ .. จำไว้ว่าเธอควรจะยิ้ม ยิ้มที่สร้างความมั่นใจว่าเธอมีสติสมบูรณ์ ยิ้มซึ่งหล่อเลี้ยงความสมบูรณ์แห่งสติ

ขณะที่ยังนอนอยู่บนที่นอน ก็เริ่มตามลมหายใจได้เลย หายใจช้าๆ ยาวๆ และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ จากนั้นค่อยๆลุกขึ้นจากเตียงช้าๆ (แทนที่จะลุกขึ้นทันทีอย่างปกติ) และพยายามประคองสติไว้ในทุกอิริยาบถ


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 02 มี.ค. 2014, 22:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอลุกขึ้นแปรงฟัน ล้างหน้า และทำกิจวัตรในตอนเช้าด้วยความสำรวมและผ่อนคลาย ทำอย่างมีสติทุกอิริยาบถ ตามลมหายใจอย่างให้คลาดไปและอย่างปล่อยให้ความคิดฟุ้งกระจัดกระจาย แต่ละอิริยาบถควรทำอย่างตามสบาย ผ่อนคลาย ขณะเดินแต่ละก้าวก็ตามลมหายใจไปด้วย หายใจลึกๆ ช้าๆ อย่างสงบ และยิ้มเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา

อย่างน้อยที่สุด เธอควรใช้เวลาอาบน้ำสักครึ่งชั่วโมง อาบน้ำอย่างผ่อนคลายและมีสติ เพื่อว่าพอเธออาบน้ำเสร็จ เธอจะรู้สึกเบาและสดชื่น จากนั้นเธออาจทำงานบ้านต่างๆ เช่น ซักผ้า ปัดกวาดโต๊ะ ถูพื้นครัว จัดหนังสือ

ไม่ว่างานอะไร จะต้องทำอย่างช้าๆ สบายๆ ด้วยสติ ตั้งใจทำอย่างผ่อนคลาย รวมความสนใจทั้งหมดไปที่งาน ทำอย่างมีความสุขและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงานแต่ละอย่าง มิฉะนั้นวันแห่งสติของเธอก็จะไม่มีคุณค่าใดๆเลย ความรู้สึกว่างานเหล่านี้เป็นเรื่องน่ารำคาญใจจะหายไป ถ้าเธอทำด้วยสติอย่างอาจารย์เซนทั้งหลายซิ ไม่ว่างานอะไร หรืออิริยาบถไหน ท่านจะทำซ้ำๆ และสม่ำเสมอด้วยความเต็มอกเต็มใจ

เป็นการดีที่สุดสำหรับผู้ฝึกใหม่ ที่จะอยู่เงียบๆตลอดวัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า วันแห่งสตินั้นเธอจะพูดไม่ได้เลย เธอจะพูดก็ได้ หรืออาจจะร้องเพลงก็ยังได้ แต่เธอจะต้องมีสติรู้ตัวตลอดเวลาว่า กำลังพูดอะไร หรือร้องอะไรอยู่ และพยายามพูดหรือร้องเพลงให้น้อยที่สุด

ตามธรรมชาติแล้ว เป็นไปได้ที่เราจะร้องเพลงไปด้วยและฝึกสติไปด้วย โดยที่ต้องสำนึกตัวว่าตนกำลังร้องเพลงและมีสติ รู้ว่ากำลังร้องเพลงที่มีความหมายอย่างไร แต่ครูขอเตือนไว้ก่อนว่า เวลาเธอพูดหรือร้องเพลงนั้น เผลอสติได้ง่ายที่สุด ถ้าหากว่าสมาธิของเธอยังอ่อนอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอเที่ยง เธอก็ทำอาหารกลางวันกินเอง หุงต้มอาหารและล้างถ้วยชามอย่างมีสติในตอนเช้า หลังจากจัดบ้านเรือนเสร็จ และในตอนบ่ายหลังจากงานในสวน เช่นเด็ดดอกไม้หรือนั่งชมหมู่เมฆแล้ว เธอก็เตรียมน้ำชาสักกาหนึ่ง แล้วนั่งดื่มอย่างมีสติโดยใช้เวลาให้นาน

อย่าดื่มน้ำชาเหมือนที่เขาซดกาแฟตอนพักงาน ดื่มชาของเธอย่างช้าๆ ด้วยความเคารพ ราวกับว่านั่นเป็นแกนกลางของการหมุนของโลก ช้า สม่ำเสมอ โดยไม่พะวงถึงอนาคต มีชีวิตอยู่ในขณะแห่งความจริงนั้น เพราะขณะแห่งความจริงนี้เท่านั้นที่เป็นชีวิตจริง อย่าพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และอย่ากังวลถึงสิ่งที่เธอทำผ่านไปแล้ว อย่าคิดที่จะลุกขึ้นไปทำโน่นทำนี่

ในตอนค่ำเธอจะอ่านพระสูตร และคัดลอกตอนที่ชอบออกมา หรือเขียนจดหมายถึงเพื่อน หรือทำอะไรก็ได้ที่เธอชอบนอกเหนือไปจากงานปกติที่เธอทำมาตลอดอาทิตย์ แต่ไม่ว่าจะทำอะไรต้องทำด้วยสติ มื้อเย็นกินอาหารแต่น้อย เพื่อว่าพอ ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม ตอนเธอนั่งสมาธิจะได้นั่งสบายกว่าหากท้องว่าง

จากนั้นเธออาจออกไปเดินสูดอากาศสดชื่นตอนกลางคืน เดินช้าๆ ตามลมหายใจตลอดเวลา กำหนดความยาวของลมหายใจด้วยการนับก้าวเท้าของเธอ ท้ายสุดกลับมาที่ห้องของเธอ และนอนหลับอย่างมีสติ

.. โดยวิธีใดวิธีหนึ่งเราจะต้องหาทางจัด "วันแห่งสติ" สำหรับผู้ปฏิบัติงานเพื่อสังคมของเราทุกคนให้ได้ วันนี้มีความสำคัญมาก อิทธิพลของวันนี้มีผลต่อวันอื่นๆภายในสัปดาห์นั้นมหาศาล .. เธอจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิต เพียงหลังจากเธอฝึกสติเช่นนี้สัปดาห์ละวัน ในเวลา ๓ เดือนเท่านั้น วันแห่งสติจะเริ่มแผ่ไปสู่วันอื่นๆที่เหลือ

และในที่สุดก็จะทำให้เธอมีชีวิตอยู่ด้วยสติทั้ง ๗ วันของสัปดาห์


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 24 ก.พ. 2014, 23:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ

ทำไมผู้ปฏิบัติงานของเราจึงต้องบำเพ็ญสมาธิ ข้อแรกที่สุดก็เพื่อจะได้รู้จักพักผ่อนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง แม้แต่เวลานอนเธอก็อาจไม่ได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แท้จริง เวลาเธอฝันจะพลิกไปพลิกมา กล้ามเนื้อที่ใบหน้าจะตึงเครียด อย่างนี้จะเรียกว่าพักผ่อนได้อย่างไร ..

.. ถ้าเธอยังรู้สึกไม่ได้พัก ถ้ายังมีความห่วงกังวลอยู่ละก็ ลองนอนราบลงกับพื้น แขนและขาเหยียดตรง แต่ไม่ต้องเกร็ง ศีรษะไม่ต้องหนุนหมอน ท่านี้จะเป็นท่าที่ดีที่สุดสำหรับจะฝึกหายใจและผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน แต่ก็ทำให้เผลอหลับได้ง่ายเหมือนกัน

การฝึกสมาธิในท่านอนนั้น ทนสู้ท่านั่งไม่ได้ การนั่งสมาธิก็ทำให้เราก้าวเข้าสู่สมาธิอันเป็นความสงบสงัดที่ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้น และจะส่งผลให้ความยุ่งยากวิตกกังวลต่างๆที่อยู่ในจิตสำนึกของเธอละลายหายไปหมด ..

.. (เวลานั่งสมาธิ) ตั้งกายให้ตรง อันนี้สำคัญมาก คอและศีรษะควรจะอยู่ในแนวเดียวกับกระดูกสันหลังซึ่งควรจะตรงตลอด แต่มิใช้เกร็งจนทื่อเหมือนท่อนไม้ ทอดสายตาไปบนพื้น ห่างออกไป ๒ เมตร และยิ้มเล็กน้อยเสมอ

ตอนนี้ก็เริ่มตามลมหายใจและคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน มุ่งใจไว้ที่การตั้งตัวให้ตรง และตามลมหายใจเท่านั้น อย่างอื่นนอกนั้นปล่อยวางให้หมด ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเธออยากให้กล้ามเนื้อบนใบหน้าคลายความตึงเครียดอันเกิดจากความวิตกกังวล ความกลัว หรือความเศร้าโศกละก็ ปล่อยให้รอยยิ้มปรากฏบนใบหน้า กล้ามเนื้อทุกส่วนจะคลายตัว

ให้รอยยิ้มน้อยๆนี้ปรากฏอยู่นานเท่าไหร่ได้ก็ยิ่งดี นี้นับได้ว่า เป็นรอยยิ้มอันเดียวกับที่เธอเห็นบนพระพักตร์ของพระพุทธรูปนั่นแหละ .. ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนพืชน้ำที่ไหลไปตามกระแสน้ำ ขณะที่ใต้ผิวน้ำนั้นท้องธารสงบนิ่งไม่ไหวติง ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากลมหายใจและรอยยิ้ม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้เริ่มต้นหัดใหม่ ควรจะนั่งไม่เกิน ๒๐ - ๓๐ นาที ในช่วงนั้นเธอจะต้องได้รับการพักผ่อนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง วิธีที่จะได้รับการพักผ่อนเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับ ๒ สิ่งคือ การเฝ้าตามและปล่อยวาง เฝ้าตามลมหายใจของเธอและปล่อยวางอย่างอื่นทั้งหมด คลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ..

.. ครูมักจะแนะนำให้บำเพ็ญสมาธิโดยจินตนาการว่า ตนเป็นก้อนกรวดที่ถูกโยนลงไปในลำธารที่ใสเย็น เพื่อให้เขาได้พบกับความสุขและสงบจากการนั่ง

เราจะใช้จินตนาการว่าตนเป็นก้อนกรวดได้อย่างไร ให้เธอนั่งลงในท่าที่เธอสบายที่สุด .. ตั้งกายตรง ยิ้มน้อยๆ หายใจช้าๆ และลึกๆ ตามลมหายใจแต่ละครั้ง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ จากนั้นปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเธอจงจินตนาการว่า เธอเป็นก้อนกรวดก้อนหนึ่งซึ่งถูกโยนลงในลำธาร

ก้อนกรวดก้อนนั้นดิ่งลงสู่เบื้องล่างอย่างว่าง่าย ไม่ยึดเหนี่ยวสิ่งใดเลย ค่อยๆดิ่งลงโดยระยะทางที่สั้นที่สุด และแล้วในที่สุดก็ถึงซึ่งท้องลำธาร อันเป็นจุดแห่งการพักผ่อนที่สมบูรณ์ ..

.. เธอไม่จำเป็นต้องรู้ระยะเวลาที่ใช้ไปก่อนที่จะจมดิ่งไปสู้จุดการพักผ่อนที่สมบูรณ์บนเตียงทรายสะอาดสะอ้านใต้ท้องธารนั้น เมื่อเธอรู้สึกตัวว่าอยู่ในภาวะที่พักผ่อนเหมือนกับก้อนกรวดในท้องธารนั้น นั่นแสดงว่าเธอได้พบการพักผ่อนของเธอเองแล้ว จะไม่มีอะไรมาผลักหรือฉุดเธอให้เขยื้อนได้อีก ..

.. ความสุขและความสงบในโลกนี้ก็คือความสุขและความสงบจากขณะแห่งการนั่งนี้ อย่าไปวิ่งตามหาที่ไหนอีก เพราะจะไม่มีวันพบ .. จงพบกับความสุขและสงบในขณะจิตนี้เถิด


---------- :b46: :b39: :b46: ---------- :b46: :b39: :b46: ---------- :b46: :b39: :b46: ---------- :b46: :b39: :b46: ----------

มาต่อกันคราวหน้าในส่วนของการใช้สติและสมาธิ เพื่อรู้เท่าทันธรรมชาติของกายใจตามข้อเขียนของหลวงปู่ครับ

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2014, 20:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่ทำให้การคลายกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่าอะไรที่ทำให้เกิดการสร้างกรรม เป็นที่สังเกตได้ว่าเราได้สร้างเงื่อนไขต่อการรับผัสสะตลอดเวลา คืออยากหรือไม่อยากให้เป็นดังต้องการ หรือถึงแม้แต่การไมใส่ใจ จากการไม่รับรู้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดทั้งปวงล้วนเป็นการสร้างกรรมทั้งสิ้นเกิดจากหลงสร้างเงื่อนไขต่อการรับผัสสะตลอดเวลา

เคยสังเกตบ้างไหมว่าเราได้สร้างเงื่อนไขกับการรู้ลมหายใจ หรือไม่

การเจตนารู้อยู่กับลม เป็นการสร้างเงื่อนไข หรือไม่ ทำไมทำไปสักระยะเหมือนตัวโยก

หากรู้ลมอย่างธรรมชาติ ทำไมเกิดความฟุ้งซ่านเกิดความคิดมากมาย

ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่เราได้สร้างด้วยตัวเองทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2014, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมนั่งสมาธิแล้ว ไ้ดัยินเสียงของจิต เห๊นภาพหรือแสง
บ้างหาว นำ้ตาไหล คันเหมือนมดกัด
ทุกปรากฏการณ์มีเหตุ อธิบายได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2014, 22:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


มีความจำเป็นอย่างไร ที่ต้องรู้เหตุผลของการเกิดสภาวะธรรม
บางครั้งการรู้มากอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติเพราะอาจคิดคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งก็เป็นธรรมดาของการเริ่มต้น แต่ต่อไปเมื่อชินกับสภาวะก็จะวางไปเอง ที่จริงแล้วผู้ปฏิบัติเพียงรู้สภาวะธรรมตามจริงแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว แต่อีกมุมหนึ่งการรู้ถึเหตุผลก็ถือเป็นโอกาส

เปรียบได้กับนักยิงธนูที่ยิงเป็น ก่ับที่ยิงแบบมีศิลป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2014, 19:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ร่างกายและจิตใจ เปรียบเสมือนถังขยะ โดยสารอินทรีย์เคมีที่หลั่งเอิบอาบในร่างกาย คือขยะกาย และอารมณ์ที่สะสมจากการปรุงแต่ง คือขยะใจ ซึ่งทั้งขยะกายและใจ เป็นของร้อน เสียดแทง เมื่อเริ่มมีสติรู้กายใจ ถือเป็นการเปิดฝาที่ปิดถังขยะไว้ ของร้อนจึงคลายออก นามคลายออกก่อนรูป หยาบคายออกก่อนละเอียด

ดังนั้นเริ่มต้นการมีสติรู้ จึงพบความรู้สึก นึกคิด เรื่องราวต่างๆคลายออกมาอย่างมากรวดเร็ว พร้อมอารมณ์อึดอัดที่คลายออกมาพร้อมกัน ซึ่งเราก็มักจะไม่พอใจไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้น ต่อต้านโดยเร่งไปยึดกับองค์กรรมฐาน นั่นคือการปิดฝาถังขยะทันที ทำให้ของร้อนพยายามดันออก ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้มึนศีรษะท้ายทอยหนัก คือความไม่เข้าใจในเบื้องต้น เป็นส่วนของอัตตกิลมถานุโยค การไม่ไปยึดกับองค์กรรมฐาน ตรงนี้คือนัยยะที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เพียร

สำหรับการคลายของอารมณ์ และความคิด หากปล่อยให้คิดไปเรื่อยๆ ควรหรือไม่ การปล่อยให้คิดอาจถูกต้องในเบื้องต้นที่ความคิดที่สะสมคลายออก แต่หากปล่อยต่อไปขาดการรู้เท่าทัน จิตก็จะหลงปรุงแต่งต่อจากเรื่องราวของความคิดนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างเหตุแห่งทุกข์ขึ้นใหม่ การไม่ปล่อยให้ความคิดไหลไปเรื่อยๆ ตรงนี้คือนัยยะที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่พัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2014, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การตั้งคำถามว่า

อ้างคำพูด:
ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร


ยังตั้งปัญหาไม่ถูก ที่ถูกควรตั้งว่า "ปฏิบัติอย่างไร จึงจะรู้เห็นปฏิจจสมุปบาท" (ปฏิบัติอย่างไร จึงจะรู้เห็นกฎธรรมชาติ) ลองทำความเข้าใจบทความนี้ดู


หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริงของธรรมชาติให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เรียกว่าไตรลักษณ์ เป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่มีปัญหาในเรื่องที่ว่า สิ่งทั้งหลายมีหรือไม่มีจริง ยั่งยืนหรือขาดสูญ เป็นต้น แต่ผู้ไม่รู้ความหมายของหลักปฏิจจสมุปบาท มักเข้าใจไตรลักษณ์ผิดพลาด โดยเฉพาะหลักอนัตตานั้น มักได้ยินได้ฟังกันอย่างผิวเผิน แล้วตีความเอาว่า อนัตตาหมายถึงไม่มีอะไร กลายเป็นนัตถิกวาท อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างร้ายแรงไปเสีย


ผู้เข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ย่อมพ้นจากความเข้าใจผิดแบบต่างงๆ ที่แตกแขนงออกมาจากทฤษฎีทั้งหลายข้างต้นนั้น เช่น ความเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายมีมูลการณ์หรือเหตุต้นเค้าเดิมสุด (First Cause) และความเข้าใจว่ามีสิ่งวิเศษนอกเหนือธรรมชาติ (The Supernatural) เป็นต้น ตัวอย่างพุทธพจน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยกัน

เกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท) เหล่านี้ ชัดเจนตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาแล้ว เมื่อ

นั้น การที่อริยสาวกนั้น จะแล่นเข้าหาที่สุดข้างต้นว่า ในอดีต เราได้เคยมีหรือไม่หนอ ? ใน

อดีต เราได้เป็นอะไรหนอ ? ในอดีต เราได้เป็นอย่างไรหนอ ? ในอดีต เราเป็นอะไรแล้วจึง

ได้มาเป็นอะไรหนอ? หรือจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างปลายว่า ในอนาคต เราจักมีหรือไม่

หนอ? ในอนาคต เราจักเป็นอะไรหนอ ? ในอนาคต เราจักเป็นอย่างไร? ในอนาคต

เราเป็นอะไรแล้ว จักได้เป็นอะไรหนอ ? เราคืออะไรหนอ? เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากที่

ไหน แล้วจักไป ณ ที่ไหนอีก ? ดังนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร ? ก็เพราะว่า

อริยสาวกได้เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรมเหล่านี้ ชัดเจนแล้วตามที่มันเป็น ด้วย

สัมมาปัญญา”


โดยนัยนี้ ผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท จึงไม่สงสัยในปัญหาอภิปรัชญาต่างๆ ที่เรยีกว่า อันตคาหิกทิฏฐิ และจึงเป็นเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงนิ่งเสีย ไม่ตรัสตอบปัญหาเหล่านี้ ในเมื่อใครก็ตามมาทูลถาม โดยตรัสว่า เป็นอัพยากตปัญหา หรือปัญหาที่ไม่ทรงพยากรณ์ เพราะเมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาท เข้าใจการที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยแล้ว ปัญหาเหล่านี้ย่อมกลายเป็นเรื่องเหลวไหลไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับมิตรทางธรรมในลานฯ ที่นำบทความในหนังสือพุทธธรรมของท่านเจ้าคุณอาจารย์ฯ พระพรหมคุณาภรณ์ หลวงพ่อประยุทธ์ ปยุตฺโต มาแชร์ให้ทุกท่านได้ศึกษากันอยู่บ่อยๆด้วยครับ :b8: :b1:

ขออนุญาตมาต่อกันในส่วนของการใช้สติและสมาธิ เพื่อรู้เท่าทันธรรมชาติของกายใจตามข้อเขียนของหลวงปู่นัท ฮันห์ ด้านล่างครับ :b1: :b46: :b39:

อาจจะออกนอกจากหัวข้อที่เขียนอยู่ คือการฝึกสติด้วยการรู้กาย เข้าไปสู่การฝึกสติด้วยการรู้ใจบ้าง แต่เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของบทความ เลยเอามาลงไว้ให้ศึกษากันก่อนนะครับ :b1: :b46: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนอาจจะถามว่า การบำเพ็ญสมาธินั้น มีเป้าหมายที่ความผ่อนคลายเท่านั้นหรือ ?

ความจริงเป้าหมายของการบำเพ็ญสมาธินั้น ไปไกลและลึกซึ้งกว่านั้นมาก

แต่ความผ่อนคลายเป็นช่วงผ่านที่จำเป็น ถ้าเราเข้าถึงความผ่อนคลายได้แล้ว ก็เป็นไปได้ที่เราจะเข้าถึงใจที่สงบและจิตที่แจ่มใส

การเข้าถึงใจที่สงบและจิตที่แจ่มใสนั้น นับว่าการบำเพ็ญสมาธิของเราไปไกลโขแล้วทีเดียว

.. แน่นอนว่า การที่เราจะบังคับบัญชาจิตใจและทำความคิดให้สงบได้นั้น เราจะต้องเจริญสติที่จิตใจด้วย ไม่ใช่ที่ลมหายใจอย่างเดียว นั่นคือ ต้องฝึกมีสติให้รู้พร้อมถึงความรู้สึกต่างๆ (เวทนานุปัสสนา) และรู้พร้อมถึงความคิดต่างๆ (จิตตานุปัสสนา) ด้วย เราต้องรู้วิธีสังเกตและรู้เท่าทันความรู้สึกและความคิดทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา

.. มีหนทางเดียวเท่านั้นที่เธอจะรู้จักจิตใจของเธอเองได้ นั่นคือการสังเกตและรู้เท่าทันทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับจิตใจ และต้องปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาทั้งในชีวิตประจำวัน และในเวลาของการฝึกสมาธิ

.. ลมหายใจนั้นเป็นพาหนะของการรวมกายและจิต ให้เป็นเอกภาพและเปิดประตูแห่งปัญญา เมื่อมีความรู้สึกหรือความคิดนึกใดเกิดขึ้น เราไม่ควรตั้งใจที่จะไล่มันออกไป แม้ว่าการมุ่งตามลมหายใจของเราจะทำให้ความรู้สึกหรือความคิดนั้น มันผ่านหายออกจากใจเราไปเองตามธรรมชาติก็ตาม

อย่าไปมีความตั้งใจที่จะไล่มันออกไป เกลียดมัน วิตกกังวลหรือตกใจไปกับมัน .. ถ้าความคิดยังมีอยู่ก็ให้รู้ทันมัน ถ้ามีความคิดและความรู้สึกอื่นเกิดขึ้นก็ต้องรู้เท่าทันมันในลักษณะเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสำคัญก็คือ ต้องไม่ปล่อยให้ความรู้สึกหรือความคิดใดๆเกิดขึ้น โดยไม่รู้เท่าทันอย่างมีสติ ต้องเป็นเสมือนกับที่ยามประตูวังจะต้องมองเห็นใบหน้าทั้งหมดที่ผ่านประตูวังเข้ามา

ถ้าไม่มีความรู้สึกหรือความคิดใดๆเกิดขึ้น ก็รู้เท่าทันว่าไม่มีความรู้สึกหรือความคิดใดๆเกิดขึ้น การฝึกอย่างนี้ก็เพื่อจะได้รู้เท่าทันความรู้สึกและความคิดของเรา

และในไม่ช้า เราก็จะบังคับบัญชาจิตใจของเราได้ เราสามารถที่จะรวมเอาการมีสติ รู้ลมหายใจมาร่วมไปกับการฝึกสติรู้เท่าทันความรู้สึกและความคิดได้

.. เมื่อไรก็ตามที่ความคิดฝ่ายกุศลเกิดขึ้น ก็ให้รับรู้ว่า "ความคิดที่เป็นกุศลเกิดขึ้นแล้ว" และถ้าหากความคิดฝ่ายอกุศลเกิดขึ้น ก็ให้รับรู้ว่า "ความคิดฝ่ายอกุศลเกิดขึ้นแล้ว"

อย่าไปเกาะติดหรือพยายามกำจัดมัน ถึงแม้ว่าเธอจะไม่ชอบมันก็ตาม รับรู้มันเฉยๆก็พอ แล้วถ้าหากมันจากไป เธอก็ต้องรู้ว่า มันจากไปแล้ว หากมันยังอยู่ เธอก็ต้องรู้ว่ามันยังอยู่ เมื่อใดเธอมีสติถึงขนาดนี้ เมื่อนั้นเธอไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวอีกต่อไป

.. ผู้ฝึกสมาธิมักจะหวัง "เห็นแจ้งในธรรมชาติของตนเอง" เพื่อเข้าสู่พุทธภาวะ แต่ถ้าเธอเพิ่งเริมหัดละก็ อย่าเพิ่งเฝ้าคอยการ "เห็นแจ้งในธรรมชาติของตนเอง" ทางที่ดี อย่าเฝ้าคอยอะไรทั้งหมดแหละดี โดยเฉพาะตอนที่นั่งอยู่ อย่าตั้งความหวังว่าจะได้เห็นพุทธธรรมหรืออมฤตธรรม

หกเดือนแรกพยายามเสริมสร้างพลังสมาธิให้ดี สร้างสรรค์ความสุขภายในอันเกิดจากจิตที่สงบและแจ่มใส ผู้ปฏิบัติงานเพื่อรับใช้สังคมของเราทุกคนต้องฝึกแบบนี้ เพื่อลบล้างความกังวลทั้งหลาย และได้รับการพักผ่อนที่สมบูรณ์จากความสงบของจิตใจ ซึ่งจะทำให้เธอสดชื่นแจ่มใส ทำให้โลกทัศน์และชีวทัศน์กว้างและชัดขึ้น และเพิ่มความรักในตนเองให้มากขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การนั่งสมาธินั้นเป็นการบำรุงรักษาจิตใจและร่างกายพร้อมกันไป สมาธิทำให้เราสุขกาย เบาใจ และสงบรำงับ วิถีทางระหว่างช่วงแห่งการสังเกตจิต จนถึงการเห็นแจ้งในธรรมชาติของตนเองนั้น ไม่ยากจนเกินไป

เมื่อเธอสามารถทำให้จิตสงบรำงับ เวทนาและความคิดไม่อาจจะรบกวนเธอได้ ณ จุดนั้น จิตเธอก็รวมเป็นหนึ่งแล้ว จิตของเธอก็จะบังคับบัญชาจิตของเธอโดยตรงด้วยวิธีที่มหัศจรรย์นี้ทีเดียว

"ฉัน" และ "ไม่ใช่ฉัน" จะหมดไป การแยกระหว่างผู้ดื่มชาและชาที่ถูกดื่มจะไม่มีอีกต่อไป การดื่มชาสักถ้วยจะเป็นประสบการณ์อันอัศจรรย์ที่ไม่มีการแยกระหว่าง "ฉันผู้ดื่มชา" และ "น้ำชาที่ไม่ใช่ฉัน"

โมหจิตก็เป็นจิตด้วย เช่นเดียวกับคลื่นที่กระเพื่อมในน้ำก็เป็นน้ำด้วย เมื่อเธอบังคับบัญชาจิตได้ โมหจิตก็จะเป็นจิตที่แท้ตามธรรมชาติ จิตที่แท้ตามธรรมชาติก็คือตัวเราที่แท้ตามธรรมชาติ คือพุทธะ คือสภาวะหนึ่งเดียวที่อยู่เหนือมายาทั้งปวงที่เกิดขึ้นด้วยความคิดและภาษา แต่ครูไม่อยากพูดเรื่องนี้มากนักหรอก

.. ในขณะที่เธอนั่งสมาธิอยู่นั้น เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว เธอสามารถหันมาพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกันของสรรพสิ่ง (ตรงนี้คือการปฏิบัติในแนวทางสมาธินำปัญญา หรือวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า - วิสุทธิปาละ)

การพิจารณานั้นไม่ใช่เป็นการขบคิดถึงความรู้ทางปรัชญาอย่างเอาเป็นเอาตาย หากเป็นการชำแรกจิตลงไปสู่จิตอีกทีหนึ่ง ใช้กำลังสมาธิของตนทำให้วัตถุที่เราเพิ่งพิจารณา เปิดเผยธรรมชาติแท้จริงออกมา

.. การพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกัน เป็นการมองลึกเข้าไปในธรรมทั้งปวง เพื่อที่จะเข้าถึงธรรมชาติจริงของมัน เป็นการมองให้เห็นสิ่งๆหนึ่ง ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ และมองให้เห็นว่า ความจริงอันยิ่งใหญ่นั้น ไม่สามารถจะแบ่งแยกออกไปได้ ไม่สามารถตัดออกมาเป็นชิ้นๆ แล้วให้แต่ละชิ้นมีความเป็นอยู่ของมันเองต่างหากได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมเห็นกายของตนว่าเป็นปรากฏของรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยสังเกตพิจารณาองค์ประกอบของชีวิตเหล่านี้ จนกระทั่งเห็นว่า สิ่งนี้ มีความเกี่ยวเนื่องอยู่อย่างใกล้ชิดกับโลกภายนอกตัวเรา ถ้าโลกไม่มี การประกอบกันขึ้นของขันธ์ ๕ ก็ไม่มี

ดูโต๊ะเป็นตัวอย่าง .. เราจะเห็นว่า โต๊ะตัวนี้ด้วยตัวของมันเองมีสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ไม่ใช่โต๊ะปรากฏอยู่ ถ้าหากเรานำสิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะทั้งหลายกลับคืนไปสู่แหล่งเดิม เช่น ตะปูกลับไปสู่แหล่งแร่เหล็ก ไม้กลับไปสู่ป่า ช่างไม้กลับไปสู่พ่อแม่ .. โต๊ะก็ไม่สามารถมีอยู่ได้อีกต่อไป

บุคคลใดเห็นโต๊ะแล้วสามารถเห็นจักรวาล บุคคลนั้นคือผู้เห็นมรรควิถี

ผู้ปฏิบัติธรรมมองดู "การกุมกันเข้า" ของขันธ์ทั้ง ๕ ในตัวเองในลักษณะเช่นเดียวกัน เขามองดูจนกระทั่งเขาแลเห็นธรรมแห่งความเป็นหนึ่งในตัวเขา และสามารถแลเห็นว่าชีวิตของเขา และชีวิตของจักรวาลนั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ถ้าหากขันธ์ ๕ กลับคืนไปสู่แหล่งที่มา ตัวเราก็ไม่มีอยู่อีกต่อไป

(ตรงนี้คือความเชื่อมโยงกันของปฏิจจสมุปบาทและปฏินิสสัคคธรรม คือการเห็นแจ้งในอาการเชื่อมโยงด้วยเหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ "ทั้งภายในภายนอก" จนสิ้นเชื้อ สลัดคืนความเข้าใจผิดว่ามีตน สลัดคืนตนกลับสู่ธรรมชาติ หมดสิ้นอาการแบ่งแยกเป็น "ภายในและภายนอก" เพราะทั้งภายในและภายนอกนั้นเชื่อมโยงกัน คือสิ่งเดียวกัน หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวรวด - วิสุทธิปาละ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร