วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 02:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 50, 51, 52, 53, 54, 55, 56 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าหากว่าขณะล้างจานเราไปคิดถึงแต่ว่า เดี๋ยวจะไปดื่มน้ำชา หรือคิดถึงเรื่องอื่นที่จะมาในอนาคต เราก็จะรีบล้างจานให้เสร็จๆไป เหมือนกับว่าเป็นงานที่น่ารำคาญเหลือเกินนั่นแหละ

เราไม่ได้ "ล้างจานเพื่อที่จะล้างจาน" แล้ว

และยิ่งกว่านั้น ตอนล้างจานเราก็ไม่ได้มีชีวิตอยู่ด้วย เราไม่อาจจะเข้าถึงความอัศจรรย์ของชีวิตขณะที่เรายืนอยู่ที่อ่างล้างจานได้


และถ้าเราล้างจานไม่เป็น ตอนที่เราดื่มน้ำชา เราก็ไม่ได้ดื่มน้ำชาด้วย เพราะเราจะมัวไปนึกถึงเรื่องอื่นเสีย เกือบจะไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าเรามีถ้วยชาอยู่ในมือ

ด้วยเหตุนี้เราก็เลยหลงเข้าไปอยู่ในโลกของอนาคต และจริงแล้วมันหมายความว่า เรามีชีวิตอย่างแท้จริงไม่เป็นเลยสักนิดเดียว


เรื่องเกี่ยวกับส้มและจิม ก็เป็นเหมือนอย่างนี้ ..

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว จิมกับครูนั่งกินส้มด้วยกัน และคุยถึงสิ่งที่เราจะทำในอนาคต ในตอนนั้นถ้าเมื่อไหร่เราคิดถึงโครงการที่น่าทำหรืองดงามได้สักโครงการหนึ่ง จิมจะจมดิ่งเข้าไปในโครงการนั้นอย่างเต็มที่ จนพูดได้ว่าเขาลืมนึกว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ในขณะปัจจุบัน

จิมหยิบส้มใส่ปากชิ้นหนึ่ง และยังไม่ทันจะเริ่มเคี้ยว ส้มอีกชิ้นหนึ่งก็เตรียมจะตามเข้าไป เขาหยิบส้มใส่ปากชิ้นแล้วชิ้นเล่าแทบจะไม่มีจังหวะหยุดเลย ดูแทบจะไม่รู้ตัวเอาเลยว่าเขากำลังกินส้ม

ครูต้องปลุกจิมให้ตื่นขึ้นมารับรู้ว่า ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยบอกเขาว่า "เธอควรจะกินส้มชิ้นที่เธอใส่เข้าไปในปากเสียก่อน"

ครูพยายามชี้ให้เขาเห็นว่า เขาไม่ได้กินส้มอยู่เลย เพียงแต่ใส่กลีบส้มเข้าปากกลีบต่อกลีบอย่างรวดเร็วเท่านั้น ครูจึงดุเขา และความจริงเขาก็ไม่ได้กินส้มอยู่จริงๆ

ถ้าจะพูดให้ถูก เขากำลังกิน "โครงการในอนาคต" มากกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีใครบางคนกล่าวไว้ว่า

"ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน เวลามอง .. คุณก็จะไม่เห็น, ฟัง .. แต่จะไม่ได้ยิน, กิน .. แต่จะไม่ได้ลิ้มรส"

ส้มผลหนึ่งมีหลายกลีบ ถ้าเธอ "กินเป็น" เพียงกลีบเดียว เธอก็จะสามารถกินส้มทั้งผล

แต่ถ้า "กินไม่เป็น" แม้แต่เพียงกลีบหนึ่ง เธอก็จะกินส้มทั้งผลไม่เป็นด้วย


จิมเป็นคนหัวไว พอครูพูดทัก เขาก็ค่อยๆวางมือลง แล้วใส่ใจกับส้มชิ้นที่อยู่ในปากอย่างจริงๆ เคี้ยวอย่างสุขุม ก่อนที่จะก้มตัวลงหยิบชิ้นต่อไป

.. (ต่อมา) .. จิมได้เผาหมายเกณฑ์ทหารเพื่อเป็นการต่อต้านสงครามเวียตนาม ผลก็คือเขาต้องติดคุกปีกว่า .. ครูเกรงว่าเขาจะเผชิญกับกำแพงสี่ด้านของคุกไม่ไหว ครูเลยเขียนจดหมายสั้นๆฉบับหนึ่ง เตือนให้เขาระลึกถึงกลีบส้มที่เราเคยแบ่งกันกินว่า

"การอยู่ในคุกของเธอก็เหมือนกับกลีบส้มกลีบนั้น กินมันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมัน วันพรุ่งนี้มันก็จะไม่มีอีกแล้ว"

ครูไม่แปลกใจเลยเมื่อมารู้ภายหลังว่า จดหมายสั้นๆนั้นได้ผลจริงๆ ๓ ปีต่อมาจิมเขียนมาว่า "จดหมายของอาจารย์ช่วยผมได้มากเหลือเกิน ผมได้พบความสงบและวิธีที่จะอยู่อย่างแจ่มใสในคุก ช่วงเวลาที่อยู่ในคุกกลับเป็นเวลาที่มีประโยชน์ต่อผมมาก"

จิมได้พบอิสรภาพในคุก และได้ใช้เวลาและชีวิตในนั้นอย่างคุ้มค่า .. เขาสามารถที่จะเข้าใจสภาพของห้องขังในฐานะส้มกลีบหนึ่ง และก็สร้างความสงบจากส้มกลีบนั้นได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว ตอนที่ครูเพิ่งบวชใหม่ๆ ครูได้รับหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนโดยภิกษุ ดอก เถ แห่งวัด เบ๋า เชิน ชื่อ "หลักการที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน"

พระท่านสั่งให้ครูท่องจำให้ได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือบางๆ หนาไม่เกิน ๔๐ หน้า แต่ได้บรรจุความคิดทั้งหมดที่ท่านภิกษุ ดอก เถ ใช้ในการเจริญสติสัมปชัญญะในเวลาทำการงานต่างๆ

อย่างเช่นเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ท่านสอนให้นึกในใจก่อนอื่นใดหมดว่า

"อ้อ ฉันตื่นแล้ว ขอให้มนุษย์ทุกคนได้บรรลุความตื่นอันยิ่งและตาสว่าง ปราศจากอวิชชา มองเห็นแจ้งตลอด ๑๐ ทิศ"

หรือเมื่อตอนล้างมือ ท่านฝึกสติโดยนึกในใจว่า

"ฉันล้างมือขอให้เพื่อนมนุษย์ทุกคนจงมีมือที่บริสุทธิ์ไว้รองรับสัจธรรม"

ในหนังสือนั้นเต็มไปด้วยประโยคที่ว่านี้ เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มปฏิบัติได้ฝึกสติตลอดเวลา

ท่านอาจารย์เซ็น ดอก เถ ได้ฝึกพวกเราสามเณร ให้รู้จักเจริญสติตามพระสูตร แต่เป็นแบบง่ายๆ

ไม่ว่าเธอจะทำอะไร จะห่มจีวร ล้างจาน เข้าห้องน้ำ ม้วนเสื้อเก็บ หิ้วน้ำ แปรงฟัน อื่นๆ เธอก็สามารถจะใช้ความคิดอันใดอันหนึ่งจากหนังสือเล่มนั้นได้ เพื่อช่วยให้เธอมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเธอกำลังทำอะไร

ในมหาสติปัฏฐานสูตรกล่าวไว้ว่า

"เมื่อเดินอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเดินอยู่
เมื่อยืนอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเรายืนอยู่
เมื่อนั่งอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเรานั่งอยู่
เมื่อนอนอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเรานอนอยู่

เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการใดๆ ย่อมรู้ถึงกายนั้น
ด้วยอาการอย่างนั้นๆ ด้วยอาการนี้
ที่เธอเป็นผู้อยู่ด้วยสติมั่นคงเห็นกายในกาย"


แต่การมีสติรู้เท่าทันอาการต่างๆ ของกายนั้นยังไม่พอ ในมหาสติปัฏฐานสูตรยังกล่าวว่า เราต้องมีสติรู้พร้อมถึงลมหายใจแต่ละครั้ง การเคลื่อนไหวแต่ละหน ความคิดทุกความคิด และความรู้สึกทุกความรู้สึก

พูดง่ายๆ ว่า มีสติรู้ทั่วพร้อมถึงทุกสิ่งที่เนื่องกับตัวเรา

เป้าหมายแห่งคำสอนในพระสูตรคืออะไร? เราจะหาเวลาที่ไหนมานั่งฝึกสติที่ว่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าผู้ปฏิบัติงานของเราใช้เวลาทั้งวันฝึกสติ เราจะมีเวลาพอให้กับการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์สังคมใหม่ได้อย่างไร?

สตีฟทำอย่างไรขณะที่ช่วยโทนีทำการบ้าน เอาผ้าอ้อมของซูไปร้านซักรีด ทำไมเขาจึงสามารถฝึกสติไปด้วยได้

สตีฟกล่าวไว้ตั้งแต่เริ่มพิจารณาว่า ถ้าเวลาที่ให้กับโทนีและแอนนั้นเป็นเวลาของเขาเองแล้ว เขาก็มี "เวลาของตัวเองอย่างไม่มีขีดจำกัด"

แต่บางทีอาจจะเป็นเพียงหลักการเท่านั้นก็ได้ เพราะคงมีเวลานับครั้งไม่ถ้วนที่เขาอาจลืมไป โดยลืมคิดว่าเวลาที่เขาอยู่ทำการบ้านกับโทนีนั้นเป็นเวลาของเขาเอง

คงมีบางครั้งที่เขารู้สึกอยากให้เวลามันผ่านไปเร็วๆ เพราะดูมันเป็นการเสียเวลาสำหรับเขา ถ้าเวลานั้นไม่ใช่เวลาของเขาเอง ดังนั้น ถ้าเขาต้องการเวลาของตนเองอย่างไม่มีขีดจำกัดจริงๆ เขาต้องคิดตลอดเวลาว่า "นี่เป็นเวลาของฉัน" ในขณะที่อยู่กับโทนี

แต่ในช่วงเวลานั้นๆ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากจิตใจของเราจะวอกแวกด้วยความคิดอันอื่น

ดังนั้น หากใครต้องการจะให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลาละก็ ผู้นั้นก็ต้องเริ่มฝึกในช่วงเวลาที่จัดไว้สำหรับฝึกสมาธิ

เวลาที่ผู้ปฏิบัติงานของเราเดินเข้าหมู่บ้านไปตามถนนฝุ่นแดง เขาก็สามารถฝึกสติได้ ขณะที่กำลังเดินไปตามทางฝุ่น มีหญ้าเขียวขึ้นเป็นหย่อมๆ สองข้างทาง ถ้าจะฝึกสติเขาจะต้องรู้ตัวว่าเขากำลังเดินอยู่บนถนน ถนนนั้นมุ่งไปสู่หมู่บ้าน จะฝึกสติได้โดยการนึกอยู่ในใจตลอดเวลาว่า

"ฉันกำลังเดินไปตามทางเข้าหมู่บ้าน"

ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกทางจะเปียกหรือจะแห้ง ก็ให้นึกอย่างนั้นตลอดเวลา แต่ต้องไม่ใช่การคิดแบบเครื่องจักรซ้ำๆซากๆ การคิดแบบเครื่องจักรนั้นตรงข้ามกับการมีสติ

คนบางคนท่องบ่นชื่อของพระพุทธเจ้าดุจเครื่องจักร แต่จิตใจฟุ้งซ่านไปหลายทิศทาง ครูคิดว่าการท่องชื่อของพระพุทธเจ้าเช่นนั้น แย่ยิ่งกว่าการไม่ท่องบ่นเลยเสียอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากเราฝึกการเจริญสติจริงๆในขณะที่เดินไปตามทางเข้าหมู่บ้าน เราจะรู้สึกว่าการก้าวเท้าออกไปแต่ละก้าวนั้นเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง และจิตของเราจะเบิกบานเหมือนดอกไม้ นำเราก้าวเข้าสู่โลกของความเป็นจริง

ครูชอบเดินไปคนเดียวตามทางเท้าในชนบท มีต้นข้าวต้นหญ้าเขียวขจีสองข้างทาง ค่อยๆ วางเท้าลงไปทีละก้าว ทีละก้าว อย่างมีสติ รู้ตัวว่ากำลังก้าวไปบนแดนมหัศจรรย์ ในชั่วขณะจิตเช่นนั้น การดำรงอยู่ของชีวิตเป็นความจริงที่ลึกลับปาฏิหาริย์

คนเรามักจะคิดว่า การเดินบนน้ำหรือบนอากาศเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ แต่ครูว่าปาฏิหาริย์ที่แท้จริงมิใช่การเดินบนน้ำบนอากาศหรอก หากแต่การเดินบนพื้นโลกนี่แหละ

เราอยู่กับความอัศจรรย์ทุกๆ วันแต่เราไม่ตระหนักเอง ควง เธอลองคิดดู ท้องฟ้าสีคราม หมู่เมฆสีขาว ใบไม้สีเขียว และสีดำของดวงตาที่อยากรู้อยากเห็นคู่นั้นของไห เทรียว อัม ลูกสาวของเธอ ดวงตาของเธอเองด้วยก็เป็นสิ่งอัศจรรรย์ เช่นเดียวกันกับท้องฟ้า หมู่เมฆ ใบไม้หลากสี และดวงตาของหนูน้อยคู่นั้น

ท่านอาจารย์เซ็น ดอก เถ แนะไว้ว่า เวลาจะนั่งสมาธิให้นั่งตัวตรงและนึกขึ้นในใจว่า "นั่งตรงนี้เหมือนนั่งบนโพธิอาสน์"

โพธิอาสน์คือที่นั่งของพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้ ถ้าใครๆ ก็เป็นพุทธะได้และพุทธะนั้นไม่อาจนับได้ นั่นหมายความว่า ผู้บรรลุผู้เป็นพุทธะได้นั่งตรงที่ฉันนั่งมาแล้ว

การนั่งตรงที่เดียวกับพุทธะผู้นำมาซึ่งความสุข และการนั่งในภาวะแห่งสติในตัวเองก็แปลว่าได้กลายเป็นพุทธะแล้ว

กวี เงวียน คอง ทรู ได้สัมผัสในสิ่งเดียวกันนี้เมื่อท่านนั่งตรงที่แห่งหนึ่ง ท่านพลันเห็นคนอื่นๆ ที่เคยนั่งมาแล้วแต่อดีตกาลไกลโพ้น และจะมีคนอื่นอีกนับไม่ถ้วนที่จะมานั่งตรงนั้นในอนาคตกาลข้างหน้า

ณ ที่ฉันนั่งในวันนี้
ผู้คนเคยนั่งมาแล้วในกาลแห่งอดีต
หนึ่งพันปี ผู้คนยังจะมานั่งอีก
ใครคือผู้ขับร้อง ใครคือผู้รับฟังกันหนอ

ณ สถานที่ตรงนั้น ในขณะจิตที่ท่านกวีนั่งอยู่นั้นเป็นจุดเชื่อมสู่สัจภาวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ไม่มีผู้ปฏิบัติงานของเราคนไหน จะมีเวลาอย่างฟุ่มเฟือยที่จะเดินเล่นไปตามทางที่เขียวขจีไปด้วยหญ้า และนั่งสงบอยู่ภายใต้ร่มเงาของแมกไม้

ผู้ปฏิบัติงานต้องเตรียมโครงงาน ต้องปรึกษาหารือกับชาวบ้าน ต้องพยายามแก้ไขอุปสรรคมากมายที่เกิดขึ้น ต้องทำงานตามทุ่งนาและต้องเผชิญกับความทุกข์ยากทุกชนิด

ในช่วงเวลาเช่นนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่งาน เขาต้องตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมจะเผชิญกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างสามารถและมีไหวพริบ

เธออาจจะถามครูว่า ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ทำอย่างไรผู้ปฏิบัติงานของเราจึงจะเจริญสติได้?

คำตอบของครูก็คือ การพุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่งาน การตื่นตัวและพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างสามารถและมีไหวพริบ

นี่แหละคือความมีสติโดยแท้

ไม่มีเหตุผลใดที่การมีสติ จะต่างไปจากการพุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่งานของตน ตื่นตัวอยู่เสมอ และพร้อมจะตัดสินใจอย่างดีที่สุด

ในขณะของการปรึกษาหารือ การแก้ปัญหา และการจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราจะต้องมีหัวใจที่สงบและควบคุมตัวเองได้อย่างดี การงานนั้นๆจึงจะได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนคงตระหนักในข้อนี้

ถ้าเราอยู่ในภาวะที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ปล่อยให้ความไม่อดกลั้นและโทสะเข้าครอบงำ งานของเราก็จะหมดความหมายและไร้คุณค่าทันที

การมีสติเป็นสิ่งอัศจรรย์ตรงที่ช่วยให้เราเป็นนายของตนเอง และรักษาใจตนเองอยู่ได้ในทุกๆสถานการณ์

ลองคิดเปรียบอย่างนี้ นักมายากลผู้หนึ่งตัดส่วนต่างๆ ของร่างกายออกเป็นชิ้นๆ และวางเอาไว้คนละทิศละทาง เอามือไปไว้ทิศใต้ เอาแขนไว้ทิศตะวันออก เอาขาไปไว้ทิศเหนือ ฯลฯ

และด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ พอร้องเพี้ยงเดียว ส่วนต่างๆ ของร่างกายก็รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียว สู่สภาพปกติ

สติก็อุปมาอย่างนั้น มันมีปาฏิหาริย์ตรงที่สามารถเรียกจิตใจที่พุ่งไปร้อยแปดทิศกลับมา และถนอมรวมเข้าเป็นหนึ่ง เพื่อเราจะได้มีชีวิตอยู่ในทุกขณะจิตของชีวิต


------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------

เกรงว่าจะเยอะไปในแต่ละครั้ง .. มาต่อในคราวหน้าแล้วกันครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 21:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากการที่ญาณที่ 1 นามรูปปริจเฉทญาณ และญาณที่2 นามรูปปัจจยปริคหญาณเป็นผลจากผู้ปฏิบัติ มีความเห็นชอบ(สัมมาทิฐิ)และความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ) ซึ่งก็คือการพิจารณาได้ถูกต้องคือต้องเข้าใจก่อนว่ารู้รูปนามอย่างไรถึงจะรู้ตามความจริง ก็คือการรู้โดยไม่แทรกแซงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของรูปนาม รู้แค่ใหนก็แค่นั้น สำหรับผู้มีอุปนิสัยสมถะคือรู้แล้วละ แต่ไม่ใช่การพยายามละ เพราะนั่นคือการไม่ละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 19:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
suttiyan สำหรับกระบวนการปฏิจจสมุปบาทสายเกิดที่นำเสนอข้างต้น หากตัดดอนของความเป็นเหตุ-ผล โดยพิจารณาปรากฏการณ์ที่ผู้ปฏิบัติสัมผัส จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ(เหตุ)ละเอียดมาก (ผล)..(เหตุ)ละเอียด (ผล)..(เหตุ) หยาบ (ผล) ดังนี้

1.ระดับละเอียดมาก กิเลสสังโยชน์คือ( โลภ โกรธ หลง) และทิฏฐิ (สักกายะทิฏฐิ มานะทิฏฐิ) เกิดมีนามรูป
2. ระดับละเอียด อายตนะภายนอกและภายในกระทบกันเกิดผัสสะ. ปรุงแต่งเกิดเป็นความรู้สึกชอบชังเฉย(เวทนา)และปฏิกิริยาตอบสนอง(ตัณหา)
3.ระดับหยาบ เกิดการกระทำกรรมขึ้น เก็บสะสมเป็นประสบการณ์ ความทรงจำ ความเคยชิน

ปฏิจจสมุปบาทสายดับ คือกระบวนการรู้ความเป็นจริงหรือการคลายแรงและสารอินทรีย์เคมีที่สะสมของรูปนามจาก(ผล)หยาบ (เหตุ)..(ผล) ละเอียด(เหตุ)..(ผล)ละเอียดมาก(เหตุ) ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นการย้อนกลับของกระบวนการปฏิจจสมุปบาทสายเกิด ส่งผลให้การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารสิ้นสุดลง
:b45:

:b48: ทั้งญาณที่ 1 นามรูปปริจเฉทญาณ และญาณที่2 นามรูปปัจจยปริคหญาณ เป็นเหตุ สัมสนญาณ เป็นผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2014, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมสนญาณ (ญาณที่3)คือ ปรากฏการณ์การคลายกรรมทั้งทางกายและใจ ซึ่งจะคลายแบบขบวนการย้อนกลับจากหยาบสู่ละเอียด

การเกิดปฏิกิริยาของกายใจจากการคลายกรรม จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ส่วนคือ กรรมที่เราได้สร้างมาและองค์ประกอบของธาตุในร่างกาย
1.องค์ประกอบของธาตุในร่างกาย ซึ่งได้แก่ ธาตุดิน น้ำ ลมและไฟ
2.กรรมและวิบากที่เราได้สร้างมา ซึ่งแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
2.1ระดับละเอียดมาก กิเลสสังโยชน์คือ( โลภ โกรธ หลง) และทิฏฐิ (สักกายะทิฏฐิ มานะทิฏฐิ)
2.2 ระดับละเอียด อายตนะภายนอกและภายในกระทบกันเกิดผัสสะ. ปรุงแต่งเกิดเป็นความรู้สึกชอบชังเฉย(เวทนา)และปฏิกิริยาตอบสนอง(ตัณหา)
2.3.ระดับหยาบ เกิดการกระทำกรรมขึ้น เก็บสะสมเป็นประสบการณ์ ความทรงจำ ความเคยชิน
สำหรับกิเลสระดับละเอียดมากที่เรียกว่าสังโยชน์นี้ เป็นสิ่งที่ตัวรู้ไม่สามารถหยั่งถึง เนื่องจากนอนเนื่องอยู่ในภวังคจิต ตัวรู้จะสามารถทราบเฉพาะปรากฏการณ์ในระดับละเอียดและระดับหยาบเท่านั้น และจะทราบได้จากสติและการหยั่งลงของสัมปชัญญะ โดยจะทำเริ่มการคลายกรรมย้อนกลับจากระดับหยาบที่เก็บสะสมเป็นประสบการณ์ การคลายของสารอิทรีย์เคมีในส่วนของกาย และความทรงจำ ความเคยชิน ความนึกคิด เวทนาในส่วนของนาม ซึ่งก็คือนิวรณ์ธรรม จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่คิดจะนั่งสมาธิเพื่อให้พบความสงบ ในขณะที่ของร้อนกำลังคลายออกมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

ก่อนที่จะไปที่คำสอนของหลวงปู่ ขอเพิ่มรายละเอียดเสริมไว้นิดหน่อย :b46: :b47: :b46:

จะเห็นว่าคำสอนของท่านส่วนมาก เป็นคำสอนที่เรียบง่าย สื่อตรงจากสิ่งต่างๆที่ปรากฏขึ้นโดยทั่วไปเป็นปรกติในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่มีศัพท์แสงบาลีให้ยุ่งยาก :b38: :b37: :b39:

ดังนั้น จึงเป็นอะไรที่ "ย่อยง่าย" และถูกจริตกับหมู่ลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งส่วนมากเป็นชาวตะวันตกตามดินแดนที่ท่านต้องลี้ภัยไปอาศัยอยู่ โดยที่ลูกศิษย์ชาวตะวันตกเหล่านั้น เดิมก็ไม่ค่อยมีพื้นความรู้ทางพุทธศาสนามากมายกันนักอยู่แล้ว :b46: :b47: :b46:

ซึ่งตรงนี้ก็มีส่วนเหมือนกันกับคำสอนของหลวงปู่ชา ที่ท่านเทศน์ให้ลูกศิษย์ชาวตะวันตกฟังด้วยความเรียบง่าย แต่ตัดตรงเข้าสู่แก่นธรรมนั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:

และจะเห็นได้อีกว่า สิ่งที่ท่านเน้นนักเน้นหนา ก็คือการมีสติอยู่กับการปฏิบัติงานต่างๆในชีวิตประจำวัน .. หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้ชีวิตประจำวันนั่นหล่ะ เป็นเวลาและเวทีสำหรับการปฏิบัติธรรม ด้วยการฝึกสติ จนรู้เท่าทันกายใจ :b39: :b39: :b39:

ท่านถึงกับใช้คำประมาณว่า ถ้าเป็นอยู่อย่างไร้สติ ก็เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ "โดยไร้ซึ่งชีวิต" เลยที่เดียว :b46: :b39: :b46:

หมายความว่า ถ้าหากขาดสติ ก็จะไม่สามารถรับรู้ลงได้ใน "กายใจ" ซึ่งก็คือสิ่งที่แสดง "การมีชีวิตอยู่" :b46: :b41:

และการที่จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น สัมผัสได้ถึง "การมีอยู่ของชีวิต" ก็คือการฝึกให้มีสติในชีวิตประจำวัน รู้ลงในกายใจอยู่เนืองๆนั่นเอง :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือรับรู้ได้ถึง "การปรากฏอยู่" ของกายใจ อันได้แก่การมีสติ "ระลึกรู้" มีสัมปชัญญะ "รู้ชัด" ในกายใจส่วนวิเสสลักษณะ โดยเฉพาะ ๓ ข้อแรกอันได้แก่ ลักษณะ, กิจ, และอาการที่ปรากฏให้รู้ชัดได้ในกายใจ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งตรงนี้ จะเป็นบันไดขั้นแรกที่ก้าวเข้าไปสู่การเรียนรู้ความเป็นจริงของกายใจส่วนสามัญลักษณะในขั้นที่สอง
:b47: :b48: :b44:

นั่นคือการปรากฏเกิดขึ้นของกายใจตามเหตุใกล้ปัจจัยก่อนหน้า (วิเสสลักษณะข้อ ๔ ที่เป็นส่วนต่อเชื่อมเข้าสู่สามัญลักษณะ), การตั้งอยู่ของกายใจ, และการถูกบีบคั้นจนดับลงไปของกายใจ (ซึ่งหมายรวมถึงอาการต่างๆของกายใจ) ตามเหตุตามปัจจัยที่เสื่อมลงไป :b46: :b47: :b41:

เป็นกระบวนธรรม กระแสธรรมตามธรรมชาติธรรมดาล้วนๆ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แอบแฝงอยู่ในขบวนการ (No "Self" Existed, Just Simply Current Flow of Nature)
:b46: :b47: :b46:


นั่นก็คือ จะสามารถเห็นสามัญลักษณะของกายใจจนสลัดความเห็นผิดว่ามีเราลงได้ ก็จะต้อง "ระลึกรู้" ลงในกายใจให้เป็นก่อน :b49: :b50: :b51:

คือ "มีสติให้เป็น" ในขั้นแรกเสียก่อน จึงจะใช้การ "ระลึกรู้" นั้น ต่อยอดด้วยกำลังของสมาธิ แยกผู้รู้ออกจากสิ่งที่ถูกรู้ จนเห็นสามัญลักษณะของสิ่งที่กำลัง "ระลึกรู้" นั้นอยู่ได้ :b48: :b54: :b55:

โดยสภาวะสำคัญที่ปรากฏประการหนึ่งของการมีสติ "รู้" ในชีวิตประจำวันอยู่เนืองๆก็คือ .. อาการ "ตื่น" และ "เบิกบาน" ที่ตามมา :b46: :b39: :b46:

ซึ่งอาการที่ต่อเนื่องกันของคำว่า "รู้ - ตื่น - เบิกบาน" นี้ เป็นคำที่ครูบาอาจารย์ท่านแปลไทยขยายมาจากคำบาลีที่ว่า "พุทโธ" หรือ "พุทธะ" ได้เหมาะสมตรงสภาวะเป็นอย่างยิ่ง :b46: :b47: :b46:

นั่นคือสภาวะแห่งการเป็น "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" นั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งสำหรับนักปฏิบัติที่มีสติในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปรกติแล้ว (โดยจะเห็นได้ชัดในหมู่ผู้ที่ทำสมาธิได้ถึงฌานสมาบัติ ที่เรียกว่า ฌานลาภีบุคคล) จะรับรู้ได้ถึงการ "ปรากฏอยู่" ของกายใจ ที่ประกอบไปด้วยอาการ "รู้ ตื่น และเบิกบาน" ในภายใน อยู่เนืองๆ :b46: :b47: :b46:

แต่ยัง "ตื่น" และ "เบิกบาน" ได้ไม่เต็มที่และไม่ยั่งยืนนัก ยังเสื่อม ยังหมอง ยังมัวลงไปได้ เพราะเป็นอาการ "ตื่น" และ "เบิกบาน" ด้วยสติ จากกำลังของสมาธิหรือสมถะเพียงอย่างเดียว :b48: :b49: :b50:

ส่วนที่ก้าวขึ้นไปอีกขั้นก็คือ สำหรับฌานลาภีบุคคลที่เป็น "อริยบุคคล" ด้วยแล้ว นอกจาก "ระลึกรู้" จน "รับรู้" ถึงการ "ปรากฏอยู่" ของกายใจในขั้นแรก ก็ยังมีปัญญา "ตระหนักรู้" อยู่เกือบจะตลอดเวลาได้อีกด้วยว่า กายใจที่ปรากฏขึ้นมาให้รับรู้ได้นั้น "ไม่ใช่ของเรา" (เนตํ มม - เนตัง มะมะ), "ไม่มีเรา" ในกายใจนั้น (เนโสหมสฺมิ - เนโสหะมัสมิ), และนั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา - นะเมโส อัตตา) :b47: :b46: :b42:

(แต่อาจจะยังมีความ "ติดใจ" ในสุขภายในกายใจค้างอยู่บ้างสำหรับเสขบุคคล และจะหมดความติดใจอาลัยในสุข และระลึกรู้ได้ตามด้านบนอยู่ตลอดเวลาสำหรับอเสขบุคคล) :b49: :b55: :b50:

โดยที่อาการ "รู้" ด้วยสติของฌานลาภีบุคคลที่เป็นอริยบุคคล จะทำให้การ "ตื่น" และ "เบิกบาน" เป็นไปได้อย่างเต็มที่ ด้วยกำลังของทั้งสมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) เบิกบานขึ้นไปอีกตามขั้นตามลำดับของอริยบุคคลที่ผู้นั้นเข้าถึง ทำให้ชีวิตของอริยบุคคลนั้น มีความสุขที่ปราณีตมากขึ้นไปเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากจิตที่สงบมากขึ้นไปเรื่อยๆ, เบิกบานมากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเป็นอิสระจากกิเลสเหตุทุกข์มากขึ้นไปเรื่อยๆนั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 25 ก.ค. 2014, 23:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรียบในปุถุชนเหมือนกับจิตที่เบิกบานขณะได้ไปเที่ยว เพราะเป็นอิสระ ผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ) ไร้กังวล (Care Free) จากภาระและการงานที่เป็นเครื่องร้อยรัดทั้งปวง :b47: :b46: :b41:

แต่จิตของอริยบุคคลจะเบิกบานเป็นอิสระยิ่งกว่านั้นหลายเท่า ทั้งในแง่ความบริบูรณ์ความเต็มที่ และความถี่บวกระยะเวลาที่ปรากฏให้รับรู้ได้ เนื่องเพราะความผ่อนคลาย ความสุข ความเป็นอิสระ ความเบิกบานของอริยบุคคลนั้น ไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเช่นการได้ไปเที่ยวเป็นเครื่องปรุงแต่ง .. :b46: :b39: :b46:

ความผ่อนคลาย ความสุข ความเป็นอิสระ ความเบิกบาน จะมาจากในภายในอยู่เนืองๆ แม้จะไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหน แต่จิตใจก็เหมือนกับได้ไปเที่ยวอยู่ทุกวัน แม้กระทั่งมีภาระการงานวุ่นวายตึงเครียดบีบคั้นในภายนอกแค่ไหน จิตใจก็โปร่งโล่ง ผ่อนคลาย เป็นสุข มีอิสระ และเบิกบานอยู่ได้ในภายใน ทำงานทำการไปบนพื้นฐานของความเข้าใจในเหตุปัจจัย แต่ในภายในเหมือนกับได้ไปเที่ยวอยู่ทุกวัน :b46: :b39: :b46:

และอาการของการรู้ ตื่น และเบิกบานของอริยบุคคล ด้วยกำลังของสมถะและวิปัสสนานี้ จะเกี่ยวเนื่องกับอาการที่จิตเบิกบานอย่างเต็มที่ "ยิ้ม" และ "แย้ม" อยู่ในภายใน จนล้นออกมา "ยิ้ม" และ "แย้ม" อยู่ในภายนอก คือยิ้มแย้มที่มุมปากเหมือนพระพุทธรูป เมื่อผัสสะกับอารมณ์ที่ทำให้ระลึกลงในสภาวะสุญญตา ซึ่งทำให้จิตเป็นอิสระและเบิกบานอย่างถึงที่สุด หรือในอภิธรรมเรียกสภาวะของจิตตรงนี้ว่า หสิตุปบาท (มาจากคำว่า หสิตํ การแย้มยิ้ม + อุปาท อุบัติ การเกิดขึ้น) โดยตามตำราว่า เกิดเฉพาะในพระอรหันต์ :b46: :b47: :b46:

หรือสภาวะจิตที่ยิ้มแย้มเบิกบานคล้ายๆกัน ต่างแต่ว่าเกิดได้ในอริยบุคคลทุกระดับ และต้องอาศัยกำลังของสมถะหนุนช่วยให้เกิดสภาวะนั้นได้ นั่นก็คือสภาวะของจิตที่เขาสู่ผลสมาบัติในแต่ละขั้นของอริยบุคคล ซึ่งจะลงรายละเอียดอีกทีเมื่อถึงช่วงที่เกี่ยวข้องนะครับ :b1: :b46: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 24 ก.พ. 2014, 23:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งนี้ การฝึกสติในการงาน ในชีวิตประจำวัน ก็คือการฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ ไม่โหยหาอดีต ไม่กังวลหรือคิดฟุ้งซ่านฝันไปอนาคต ตามพุทธพจน์ที่สวดกันจนคุ้นเคยในภัทเทกรัตตสูตรนั้นเอง :b8: :b46: :b44:

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ


ภัทเทกรัตตสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7031&Z=7114&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 00:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแทรกรายละเอียดของการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ "หลงคิด" ไปในอดีตหรืออนาคตตรงนี้หน่อยนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดว่า ในการฝึกสติในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในการทำการทำงานนั้น ห้ามการคิดย้อนอดีต หรือวาดแผนการในอนาคตเสียเลย :b14: :b46: :b41:

สังเกตว่า วิสุทธิปาละเน้นคำว่า "หลงคิด" .. ซึ่งเป็นการคิดที่ขาดสติ ขาดสัมปชัญญะ :b46: :b47: :b41:

คือมีอาการ "หลงคิด" จิตล่องลอย คิดฟุ้งไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ซึ่งโดยมากจะเป็นการ "หลงคิด" ไปในอดีตหรืออนาคตนั่นเอง :b46: :b47: :b41:

ซึ่งตรงนี้ต้องการเน้นย้ำอีกครั้งตามที่เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ช่วงต้นๆแล้วนะครับว่า พระบรมครูท่านไม่ได้ห้ามคิด ท่านสนับสนุนการคิดเสียด้วย แต่การคิดนั้น จะต้องเป็นการคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นสัมมาสังกัปปะ (เนกขัมมะวิตก, อพยาบาทวิตก, อวิหิงสาวิตก) อันประกอบไปด้วยสติ และสัมปชัญญะ :b46: :b39: :b46:

คือรู้ชัดในขณะคิด ไม่ว่าจะคิดย้อนอดีต, คิดลงในสถานการณ์ต่อหน้าในปัจจุบัน, หรือคิดวางแผนในอนาคตนั้นๆว่า :b46: :b47: :b46:


๑) มีจุดหมายเพื่อประโยชน์อะไร (สาตถกสัมปชัญญะ - clear comprehension of purpose) :b46:

๒) เหมาะสม เอื้อต่อกาย กิจ จิต ชีวิต พื้นภูมิ และภาวะของตนหรือไม่ (สัปปายสัมปชัญญะ - clear comprehension of suitability) :b46:

๓) สามารถคุมการคิดให้โคจรอยู่แค่ในกิจ คืออาการตั้งใจคิด ไม่หลงไม่วอกแวกไหลเลื่อนลอยออกจากกิจที่คิดไป (โคจรสัมปชัญญะ - clear comprehension of the domain) :b46:

๔) และรู้ชัดว่า "กำลังคิด" + "ในเรื่องที่คิด" ไม่ใช่ "หลงไปคิด" (อสัมโมหสัมปชัญญะ - clear comprehension of non-delusion, or of reality) :b46:


ก็จะทำการทำงาน คิดระลึกย้อนหาข้อมูลในอดีต หรือคิดวางแผนงานในอนาคต "อย่างมีสติ" ลงเป็นปัจจุบันได้แล้วละครับ :b1: :b46: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 50, 51, 52, 53, 54, 55, 56 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron