วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 03:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำความเข้าใจหรือการตั้งธงไว้ตรงตามหลักการเป็นกรอบที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือผลที่ถูกต้องได้...
คุณจขกท พึงศึกษาความอยาก ที่เป็น "ตัณหา" และ "ฉันทะ" ได้ที่นี่ค่ะ

viewtopic.php?f=2&t=20241

การปฏิบัติธรรม เป็นการฝึกฝนพัฒนาร่างกายและจิตใจ หรือเรียกย่อๆว่ารูปและนาม
ซึ่งองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้วางหลักเกณฑ์ตั้งแต่ขั้นต้นไปถึงขั้นสูงสุด
ที่เรียกกันว่าหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ซึ่งเริ่มต้นด้วยเรื่องของศีลห้า ศีลแปด เป็นการพัฒนาด้านกายและวาจาโดยละเว้นการละเมิดในอกุศลธรรม เมื่อร่างกายมีความพร้อมก็พัฒนาด้านจิตใจโดยการฝึกให้มีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็สามารถพัฒนาไปสู่ปัญญา..จะสังเกตุเห็นว่าธรรมย่อมอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นหรือหมดไปอยู่ตลอดเวลา...


ตัวทุกข์ไม่ใช่เหตุของทุกข์...รูปและนามมีลักษณะเป็นทุกข์เพราะอยู่ภายใต้กฏของไตรลักษณ์เป็นทุกข์ที่มีในธรรมชาติธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง...แต่อะไรล่ะที่เป็นเหตุของทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจเรา? :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสต์ เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อานนท์ ! คราวหนึ่งเราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแตใกล้กรุงราชคฤห์นี่แหละ,

ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ถ้าไฉน เราเข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นเถิด.

เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น กระทำสัมโมทนียกถาแก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

อานนท์ ! ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะเรา ผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า

“ท่านโคตมะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง,

มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติ ความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,

มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้.

ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา กล่าวสอนอยู่อย่างไร ?
และพวกเรากล่าวอยู่อย่างไร ?

จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำ ที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว,
ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง
และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม จะไม่พลอยกลายเป็น ผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย ?”
ดังนี้.

อานนท์ ! เราได้กล่าวกะปริพาชกทั้งหลาย เหล่านั้นว่า

ปริพาชกทั้งหลาย !
เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัย (ของมันเอง เป็นลำดับๆ) เกิดขึ้น.

มันอาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ?

อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ.

ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว.
นิทาน. สํ. ๑๖/๔๑/๗๖.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภูมิชสูตร


พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระภูมิชะออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า

" ท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง
อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย
อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้

ท่านสารีบุตร ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร พวกเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ฯ


ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น

บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชน
จะติเตียนได้

ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ


ท่านพระอานนท์ ได้ยิน ท่านพระสารีบุตร สนทนาปราศรัย กับท่านพระภูมิชะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถ้อยคำสนทนา ของท่าน พระสารีบุตร กับท่าน พระภูมิชะ เท่าที่มีมาแล้ว ทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้

ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ


อ้างคำพูด:
" ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ

เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า

เมื่อใจมีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี
ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
เขต [ความจงใจเป็นเหตุงอกงาม] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี
วัตถุ [ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
อายตนะ [ความจงใจอันเป็นปัจจัย] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรือ
อธิกรณ์ [ความจงใจอันเป็นเหตุ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี ฯ

จบสูตรที่ ๕


อรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕

ในภูมิชสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า ภูมิชะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น.

คำที่เหลือแม้ในสูตรนี้ ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรต้นๆ.

ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น.

บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโนสัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา ๒๐ ด้วยอำนาจกุศลและอกุศลส่วนกามาพจร. ในวจีทวารก็เหมือนกัน. ในมโนทวารเจตนา ๒๐ กับรูปเจตนาและอรูปเจตนา ๙ ได้เจตนา ๒๙. ในทวารทั้ง ๓ จึงมีเจตนา ๖๙. ทรงแสดงสุขทุกข์ส่วนวิบาก ที่มีเจตนานั้นเป็นปัจจัย.

คำว่า อวิชฺชาปจฺจยาว นี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงว่าเจตนาแม้เหล่านั้นก็ย่อมมีวิชชาเป็นปัจจัย. แต่เพราะเหตุที่บุคคลอันผู้อื่นมิได้ชักจูง ย่อมกระทำกรรมนั้นที่เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ต้องด้วยเจตนาตามที่กล่าวแล้ว ด้วยทั้งจิตที่เป็นอสังขาริกเองก็มี. ถูกผู้อื่นใช้ให้กระทำ ก็กระทำด้วยทั้งจิตที่เป็นสสังขาริกก็มี. ย่อมกระทำกรรมชื่อนี้ วิบากของกรรมนั้น จักมีชื่อเห็นปานนี้ บุคคลรู้กรรมและวิบากดังที่กล่าวมานี้ จึงกระทำก็มี. รู้กรรมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนทารกเมื่อบิดามารดากระทำการไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ก็กระทำตาม แต่เขาไม่รู้วิบากว่า นี้เป็นวิบากของกรรมนี้ กระทำไปก็มี ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงกรรมนั้น จึงตรัสว่า สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ อภิสงฺขโรติ เป็นต้น.

บทว่า อิเมสุ อานนฺท ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เจตนาธรรม ๒๗๖ ที่เรากล่าวในฐานะ ๔ มี สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ เป็นต้น

บรรดาธรรมเหล่านี้ อวิชชาตกไปตามโกฏิอุปนิสัย ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์ลงในข้อนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อวิชฺชาย เตฺวว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า โส กาโย น โหติ ความว่า เมื่อกายใดมีอยู่ สุขทุกข์ภายใน ที่มีกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น. กายนั้นไม่มี. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้นี่แหละ. อนึ่ง เจตนากาย ชื่อว่ากาย เจตนาวาจา แม้ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกายชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพย่อมไหว้พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน.

ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของพระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร.
ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก.

จริงอยู่ กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่ เพียงเป็นกิริยา.
ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้นของพระขีณาสพนั้นไม่มี.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้นดังนี้.

กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่างอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย. ไม่เป็นอธิกรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนาใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็นอายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น.

ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.


จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕


โพสต์ เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ภูมิชสูตร


พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระภูมิชะออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า

" ท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง
อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย
อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้

ท่านสารีบุตร ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร พวกเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ฯ


ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น

บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชน
จะติเตียนได้

ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ


ท่านพระอานนท์ ได้ยิน ท่านพระสารีบุตร สนทนาปราศรัย กับท่านพระภูมิชะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถ้อยคำสนทนา ของท่าน พระสารีบุตร กับท่าน พระภูมิชะ เท่าที่มีมาแล้ว ทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้

ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ


อ้างคำพูด:
" ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ

เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า

เมื่อใจมีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี
ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
เขต [ความจงใจเป็นเหตุงอกงาม] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี
วัตถุ [ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
อายตนะ [ความจงใจอันเป็นปัจจัย] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรือ
อธิกรณ์ [ความจงใจอันเป็นเหตุ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี ฯ

จบสูตรที่ ๕


อรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕

ในภูมิชสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า ภูมิชะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น.

คำที่เหลือแม้ในสูตรนี้ ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรต้นๆ.

ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น.

บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโนสัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา ๒๐ ด้วยอำนาจกุศลและอกุศลส่วนกามาพจร. ในวจีทวารก็เหมือนกัน. ในมโนทวารเจตนา ๒๐ กับรูปเจตนาและอรูปเจตนา ๙ ได้เจตนา ๒๙. ในทวารทั้ง ๓ จึงมีเจตนา ๖๙. ทรงแสดงสุขทุกข์ส่วนวิบาก ที่มีเจตนานั้นเป็นปัจจัย.

คำว่า อวิชฺชาปจฺจยาว นี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงว่าเจตนาแม้เหล่านั้นก็ย่อมมีวิชชาเป็นปัจจัย. แต่เพราะเหตุที่บุคคลอันผู้อื่นมิได้ชักจูง ย่อมกระทำกรรมนั้นที่เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ต้องด้วยเจตนาตามที่กล่าวแล้ว ด้วยทั้งจิตที่เป็นอสังขาริกเองก็มี. ถูกผู้อื่นใช้ให้กระทำ ก็กระทำด้วยทั้งจิตที่เป็นสสังขาริกก็มี. ย่อมกระทำกรรมชื่อนี้ วิบากของกรรมนั้น จักมีชื่อเห็นปานนี้ บุคคลรู้กรรมและวิบากดังที่กล่าวมานี้ จึงกระทำก็มี. รู้กรรมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนทารกเมื่อบิดามารดากระทำการไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ก็กระทำตาม แต่เขาไม่รู้วิบากว่า นี้เป็นวิบากของกรรมนี้ กระทำไปก็มี ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงกรรมนั้น จึงตรัสว่า สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ อภิสงฺขโรติ เป็นต้น.

บทว่า อิเมสุ อานนฺท ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เจตนาธรรม ๒๗๖ ที่เรากล่าวในฐานะ ๔ มี สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ เป็นต้น

บรรดาธรรมเหล่านี้ อวิชชาตกไปตามโกฏิอุปนิสัย ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์ลงในข้อนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อวิชฺชาย เตฺวว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า โส กาโย น โหติ ความว่า เมื่อกายใดมีอยู่ สุขทุกข์ภายใน ที่มีกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น. กายนั้นไม่มี. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้นี่แหละ. อนึ่ง เจตนากาย ชื่อว่ากาย เจตนาวาจา แม้ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกายชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพย่อมไหว้พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน.

ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของพระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร.
ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก.

จริงอยู่ กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่ เพียงเป็นกิริยา.
ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้นของพระขีณาสพนั้นไม่มี.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้นดังนี้.

กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่างอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย. ไม่เป็นอธิกรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนาใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็นอายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น.

ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.


จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕


:b8: :b8: อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:

ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น.

บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโนสัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา ๒๐ ด้วยอำนาจกุศลและอกุศลส่วนกามาพจร. ในวจีทวารก็เหมือนกัน. ในมโนทวารเจตนา ๒๐ กับรูปเจตนาและอรูปเจตนา ๙ ได้เจตนา ๒๙. ในทวารทั้ง ๓ จึงมีเจตนา ๖๙. ทรงแสดงสุขทุกข์ส่วนวิบาก ที่มีเจตนานั้นเป็นปัจจัย.

คำว่า อวิชฺชาปจฺจยาว นี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงว่าเจตนาแม้เหล่านั้นก็ย่อมมีวิชชาเป็นปัจจัย. แต่เพราะเหตุที่บุคคลอันผู้อื่นมิได้ชักจูง ย่อมกระทำกรรมนั้นที่เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ต้องด้วยเจตนาตามที่กล่าวแล้ว ด้วยทั้งจิตที่เป็นอสังขาริกเองก็มี. ถูกผู้อื่นใช้ให้กระทำ ก็กระทำด้วยทั้งจิตที่เป็นสสังขาริกก็มี. ย่อมกระทำกรรมชื่อนี้ วิบากของกรรมนั้น จักมีชื่อเห็นปานนี้ บุคคลรู้กรรมและวิบากดังที่กล่าวมานี้ จึงกระทำก็มี. รู้กรรมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนทารกเมื่อบิดามารดากระทำการไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ก็กระทำตาม แต่เขาไม่รู้วิบากว่า นี้เป็นวิบากของกรรมนี้ กระทำไปก็มี ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงกรรมนั้น จึงตรัสว่า สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ อภิสงฺขโรติ เป็นต้น.

บทว่า อิเมสุ อานนฺท ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เจตนาธรรม ๒๗๖ ที่เรากล่าวในฐานะ ๔ มี สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ เป็นต้น

บรรดาธรรมเหล่านี้ อวิชชาตกไปตามโกฏิอุปนิสัย ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์ลงในข้อนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อวิชฺชาย เตฺวว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า โส กาโย น โหติ ความว่า เมื่อกายใดมีอยู่ สุขทุกข์ภายใน ที่มีกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น. กายนั้นไม่มี. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้นี่แหละ. อนึ่ง เจตนากาย ชื่อว่ากาย เจตนาวาจา แม้ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกายชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพย่อมไหว้พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน.

ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของพระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร.
ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก.

จริงอยู่ กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่ เพียงเป็นกิริยา.
ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้นของพระขีณาสพนั้นไม่มี.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้นดังนี้.

กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่างอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย. ไม่เป็นอธิกรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนาใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็นอายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น.

ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.


จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕






อ้างคำพูด:

"ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น."





สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้น เพราะ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)

สิ่งที่เคยกระทำไว้(กรรมในอดีต)
ส่งมาให้รับผล ในรูปของผัสสะ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน ขณะ)

ให้ดูพระสูตร ในเรื่อง กรรมเก่าและกรรมใหม่(ผัสสะ)


เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่(อวิชชา)
ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น)
ทำให้ เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้นว่า
ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของอวิชชาที่มีอยู่(ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น)

จึงหลงสร้างเหตุนอกตัว ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

โดยการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม (กรรมใหม่)

สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ละขณะ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้



แม้มีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางวจีกรรม กายกรรม
กรรมที่เกิดจากความนึกคิดที่เกิดขึ้น(มโนกรรม) ยังมีอยู่

เหตุมี ผลย่อมมี แค่รู้ และยอมรับ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
ผัสสะนั้นๆ(สิ่งที่เกิดขึ้น) ย่อมดับลงไปตามเหตุปัจจัย หากไม่ไปสานต่อ

ถ้าถามว่า ถ้าไม่สานต่อ คือ ไม่สร้างเหตุออกไป สุขทุกข์ ยังมีอยู่ไหม

คำตอบ สุขทุกข์ ยังมีอยู่
ส่วนจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่น ที่มีอยู่
แต่อย่างน้อย การกระทำแบบนี้ คือ ไม่สานต่อ ภพชาติ ของการเกิด ย่อมสั้นลง

ไม่เหมือนกับการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
เป็นการสร้างเหตุของการเกิดภพชาติ ให้เกิดขึ้นใหม่

การเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร จึงมีบังเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้
เหตุของ อวิชชา ที่มีอยู่




อ้างคำพูด:
"ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล."



ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้า ทรงหมายความสำคัญในเรื่องผัสสะ
ที่เป็นเหตุของสุขทุกข์(ความรู้สึก) ที่เกิดขึ้น จากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

จึงไม่เป็นวิบาก อย่างเดียว
แต่เกี่ยวเนื่องกับเหตุ ที่กระทำขึ้นมาใหม่ด้วย
คือ สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ทุกขณะๆ จนกว่าจะตาย



เหตุของ อวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น นั้นๆว่า
ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีอยู่(ที่เคยกระทำไว้/กรรมเก่า)

เมื่อไม่รู้ชัดในผัสสะ จึงหลงสร้างเหตุให้เกิดขึ้นใหม่
โดยการก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
เป็นการก่อให้เกิด ภพชาติใหม่ ให้เกิดขึ้นทันที

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส จึงมีเกิดขึ้นในชีวิต เพราะเหตุนี้






อ้างคำพูด:
"พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ

ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์
เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น

สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น

สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น

บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้"




อ้างคำพูด:
ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ

เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า

เมื่อใจมีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ ฯ



เราเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร นานเท่าไหร่ ก็ไม่รู้

สิ่งที่เคยกระทำไว้(กรรม) ในแต่ละชาติ ก็ไม่รู้

กรรมที่เคยกระทำไว้ ส่งผลมาให้รับ ในรูปของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้

เมื่อมีผัสสะ สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เมื่อไม่รู้ว่า ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) ทำไมจึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จึงปล่อยให้ ก้าวล่วงออกไปทางวจีกรรม กายกรรม ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เป็นการสร้างเหตุใหม่ ให้เกิดขึ้นทันที(กรรมใหม่)

เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เหตุจาก อวิชชาที่มีอยู่


โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส จึงมีเกิดขึ้นในชีวิต เพราะเหตุนี้



หากรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น แม้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ยังมีอยู่(กิเลส)

หากแค่รู้ แค่ยอมรับ ต่อผัสสะ ที่เกิดขึ้น
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
ภพชาติของการเกิด ย่อมสั้นลง

ความเกิดขึ้นของ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส ย่อมสั้นลง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 22 ก.พ. 2014, 10:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
FLAME เขียน:

ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น.

บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโนสัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา ๒๐ ด้วยอำนาจกุศลและอกุศลส่วนกามาพจร. ในวจีทวารก็เหมือนกัน. ในมโนทวารเจตนา ๒๐ กับรูปเจตนาและอรูปเจตนา ๙ ได้เจตนา ๒๙. ในทวารทั้ง ๓ จึงมีเจตนา ๖๙. ทรงแสดงสุขทุกข์ส่วนวิบาก ที่มีเจตนานั้นเป็นปัจจัย.

คำว่า อวิชฺชาปจฺจยาว นี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงว่าเจตนาแม้เหล่านั้นก็ย่อมมีวิชชาเป็นปัจจัย. แต่เพราะเหตุที่บุคคลอันผู้อื่นมิได้ชักจูง ย่อมกระทำกรรมนั้นที่เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ต้องด้วยเจตนาตามที่กล่าวแล้ว ด้วยทั้งจิตที่เป็นอสังขาริกเองก็มี. ถูกผู้อื่นใช้ให้กระทำ ก็กระทำด้วยทั้งจิตที่เป็นสสังขาริกก็มี. ย่อมกระทำกรรมชื่อนี้ วิบากของกรรมนั้น จักมีชื่อเห็นปานนี้ บุคคลรู้กรรมและวิบากดังที่กล่าวมานี้ จึงกระทำก็มี. รู้กรรมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนทารกเมื่อบิดามารดากระทำการไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ก็กระทำตาม แต่เขาไม่รู้วิบากว่า นี้เป็นวิบากของกรรมนี้ กระทำไปก็มี ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงกรรมนั้น จึงตรัสว่า สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ อภิสงฺขโรติ เป็นต้น.

บทว่า อิเมสุ อานนฺท ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เจตนาธรรม ๒๗๖ ที่เรากล่าวในฐานะ ๔ มี สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ เป็นต้น

บรรดาธรรมเหล่านี้ อวิชชาตกไปตามโกฏิอุปนิสัย ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์ลงในข้อนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อวิชฺชาย เตฺวว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า โส กาโย น โหติ ความว่า เมื่อกายใดมีอยู่ สุขทุกข์ภายใน ที่มีกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น. กายนั้นไม่มี. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้นี่แหละ. อนึ่ง เจตนากาย ชื่อว่ากาย เจตนาวาจา แม้ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกายชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพย่อมไหว้พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน.

ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของพระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร.
ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก.

จริงอยู่ กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่ เพียงเป็นกิริยา.
ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้นของพระขีณาสพนั้นไม่มี.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้นดังนี้.

กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่างอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย. ไม่เป็นอธิกรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนาใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็นอายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น.

ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.


จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕






อ้างคำพูด:

"ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น."





สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้น เพราะ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)

สิ่งที่เคยกระทำไว้(กรรมในอดีต)
ส่งมาให้รับผล ในรูปของผัสสะ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน ขณะ)

ให้ดูพระสูตร ในเรื่อง กรรมเก่าและกรรมใหม่(ผัสสะ)


เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่(อวิชชา)
ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น)
ทำให้ เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้นว่า
ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของอวิชชาที่มีอยู่(ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น)

จึงหลงสร้างเหตุนอกตัว ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

โดยการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม (กรรมใหม่)

สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ละขณะ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้



แม้มีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางวจีกรรม กายกรรม
กรรมที่เกิดจากความนึกคิดที่เกิดขึ้น(มโนกรรม) ยังมีอยู่

เหตุมี ผลย่อมมี แค่รู้ และยอมรับ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
ผัสสะนั้นๆ(สิ่งที่เกิดขึ้น) ย่อมดับลงไปตามเหตุปัจจัย หากไม่ไปสานต่อ

ถ้าถามว่า ถ้าไม่สานต่อ คือ ไม่สร้างเหตุออกไป สุขทุกข์ ยังมีอยู่ไหม

คำตอบ สุขทุกข์ ยังมีอยู่
ส่วนจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่น ที่มีอยู่
แต่อย่างน้อย การกระทำแบบนี้ คือ ไม่สานต่อ ภพชาติ ของการเกิด ย่อมสั้นลง

ไม่เหมือนกับการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
เป็นการสร้างเหตุของการเกิดภพชาติ ให้เกิดขึ้นใหม่

การเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร จึงมีบังเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้
เหตุของ อวิชชา ที่มีอยู่




อ้างคำพูด:
"ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล."



ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้า ทรงหมายความสำคัญในเรื่องผัสสะ
ที่เป็นเหตุของสุขทุกข์(ความรู้สึก) ที่เกิดขึ้น จากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

จึงไม่เป็นวิบาก อย่างเดียว
แต่เกี่ยวเนื่องกับเหตุ ที่กระทำขึ้นมาใหม่ด้วย
คือ สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ทุกขณะๆ จนกว่าจะตาย



เหตุของ อวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น นั้นๆว่า
ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีอยู่(ที่เคยกระทำไว้/กรรมเก่า)

เมื่อไม่รู้ชัดในผัสสะ จึงหลงสร้างเหตุให้เกิดขึ้นใหม่
โดยการก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
เป็นการก่อให้เกิด ภพชาติใหม่ ให้เกิดขึ้นทันที

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส จึงมีเกิดขึ้นในชีวิต เพราะเหตุนี้






อ้างคำพูด:
"พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ

ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์
เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น

สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น

สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น

บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้"




เราเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร นานเท่าไหร่ ก็ไม่รู้

สิ่งที่เคยกระทำไว้(กรรม) ในแต่ละชาติ ก็ไม่รู้

กรรมที่เคยกระทำไว้ ส่งผลมาให้รับ ในรูปของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้

เมื่อมีผัสสะ สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เมื่อไม่รู้ว่า ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) ทำไมจึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จึงปล่อยให้ ก้าวล่วงออกไปทางวจีกรรม กายกรรม ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เป็นการสร้างเหตุใหม่ ให้เกิดขึ้นทันที(กรรมใหม่)

เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เหตุจาก อวิชชาที่มีอยู่


โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส จึงมีเกิดขึ้นในชีวิต เพราะเหตุนี้



หากรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น แม้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ยังมีอยู่(กิเลส)

หากแค่รู้ แค่ยอมรับ ต่อผัสสะ ที่เกิดขึ้น
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
ภพชาติของการเกิด ย่อมสั้นลง

ความเกิดขึ้นของ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส ย่อมสั้นลง



ชาวพุทธนี่บางครั้งดูๆเหมือนคนขี้บ่น ไม่รู้ว่าบ่นอะไรนัก ยกนั่นมานี่มาแล้วก็มาบ่นๆๆ เมื่อไรจะลงมือทำกันสักที คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหลงในสังสารวัฏ สัตว์ผู้มีความหนาแน่นด้วยอวิชชา

ผู้คนเหล่านี้ มักปกปิดฐานะตนเอง

เป็นหญิง ทำตัวเป็นชาย

เป็นชาย ทำตัวเป็นหญิง

เป็นทั้งหญิงและชาย ในคนเดียวกัน ก็มี

เที่ยวเข้าเล่นตามเวปบอร์ด

ใช้หลายยูสเซอร์ เพื่อสนองตัณหา ที่เกิดขึ้น

บางครั้ง มีผู้อื่น จับได้ และ รู้ทัน

ก็ทำเป็นนำยูสเซอร์ ที่ตนเองใช้อยู่ มาทะเลาะกัน
เพื่อสร้างภาพให้เห็นว่า เป็นคนละยูสเซอร์กัน

บางครั้ง สร้างยูสเซอร์อื่น ขึ้นมาใหม่
มาสนับสนุน ในสิ่งที่ตนเองนำมาโพส ก็มีอยู่

บางคน นำภาพที่อื่น มาแสดง เพื่อยืนยัน ในฐานะ ที่ตนใช้อยู่ ก็มี


นี่แหละ ความหลงในวัฏฏะ



จริงๆแล้ว เป็นเรื่องของ อวิชชาที่มีอยู่

หากรู้แล้ว จะไม่ทำ

เพราะ การกระทำเหล่านี้ ล้วนเป็นการสร้างเหตุ ของการเกิดภพชาติ ให้เกิดขึ้นใหม่
รู้แล้ว มีแต่หยุด และเป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้ไม่ปกปิดตัวเอง จะไม่กระทำ พฤติกรรมแบบนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 22 ก.พ. 2014, 11:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ความหลงในสังสารวัฏ สัตว์ผู้มีความหนาแน่นด้วยอวิชชา

ผู้คนเหล่านี้ มักปกปิดฐานะตนเอง

เป็นหญิง ทำตัวเป็นชาย

เป็นชาย ทำตัวเป็นหญิง

เป็นทั้งหญิงและชาย ในคนเดียวกัน ก็มี

เที่ยวเข้าเล่นตามเวปบอร์ด

ใช้หลายยูสเซอร์ เพื่อสนองตัณหา ที่เกิดขึ้น

บางครั้ง มีผู้อื่น จับได้ และ รู้ทัน

ก็ทำเป็นนำยูสเซอร์ ที่ตนเองใช้อยู่ มาทะเลาะกัน
เพื่อสร้างภาพให้เห็นว่า เป็นคนละยูสเซอร์กัน

บางครั้ง สร้างยูสเซอร์อื่น ขึ้นมาใหม่
มาสนับสนุน ในสิ่งที่ตนเองนำมาโพส ก็มีอยู่


นี่แหละ ความหลงในวัฏฏะ



นี่ๆคร่ำครวญ :b13: จู้จี้ขี้บ่น คนแก่ยังงี้แหละลูกหลานถึงไม่อยากเข้าใกล้ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 11:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12:
:b27: :b27: :b27:
ยาวดี ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

จากข้อความในพระสูตรที่ยกมาอ้างอิงแสดงที่เกิดแห่งทุกข์สรุปเป็นประเด็นใหญ่ได้ 2 ประเด็นคือ

ผัสสะ และ อวิชชา เป็นปัจจัย

ทีนี้เมื่อนำลงสู่การปฏิบัติจริง เราจะต้องทำอย่างไร?

1.ระวังผัสสะ

2. ชำระอวิชชา

3.หรือทำวิธีการอื่นใด

ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายได้กรุณา ทำให้ง่าย เป็นคำพูดสมัยปัจจุบัน นำไปสู่ปฏิบัติการ

ให้ "ความยากในการภาวนา".......กลับกลายเป็น

"ความง่ายในการภาวนา".......แก่ผู้ไม่ชำนาญการอ่านคัมภีร์ทั้งหลายด้วยเถิดครับ จักขอบพระคุณ


:b8:


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 14:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชำระอวิชชา...


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 22:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ชำระอวิชชา...

s006
ทำยังไงครับ เอาที่ง่ายๆ ลัดสั้น เป็นภาษาชาวบ้านธรรมดาๆนะครับ
s004


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 22:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อโสกะ..นี้ชอบลัดสั้น..จริง

ว่าแต่...สั้นๆแล้วจะเข้าใจมั้ยนะ?

งั้นลองสั้นๆดู...

ละสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง....เลิกเห้นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงว่าจะดีมีความสุข...

สั้นๆภาษาง่ายๆ...อย่างที่อโสกะชอบ...แล้วนะ..อิอิ


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อโสกะ..นี้ชอบลัดสั้น..จริง

ว่าแต่...สั้นๆแล้วจะเข้าใจมั้ยนะ?

งั้นลองสั้นๆดู...

ละสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง....เลิกเห้นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงว่าจะดีมีความสุข...

สั้นๆภาษาง่ายๆ...อย่างที่อโสกะชอบ...แล้วนะ..อิอิ

:b13:
ก็สั้นดีอยู่นะแต่ยังไม่ได้ใจความเชิงปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ

มันต้องให้ได้ด้วยว่า

ละ ยังไง

เลิก ยังไง

วิธีละ กับวิธีเลิกน่ะ
s006
แล้วสิ่งที่มีอยู่จริงกับไม่จริงเอาอะไรมาเป็นเครื่องชี้วัดด้วยครับ
s006
ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่มันยังไม่ได้เทคนิคปฏิบัติจริงครับ
:b38:


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 23:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ละ...ไม่ต้องทำ....เพียงเห็นว่า..อะไรคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

อโสกะ....พอจะบอกได้มั้ย...อะไรที่ไม่มีอยู่จริง

หากรู้แล้ว....แต่ยังรู้เพียงรู้...ยังไม่เป็นอิสระ...ก็ต้องไม้ต่อไปคือ...ดูซิมีอะไรไม่เสื่อมสลาย...
หากรู้แล้วว่าไม่มีอะไรที่ไม่สลาย...แต่ก็รู้เพียงรู้..ยังไม่เป็นอิสระ....ก็ต้องใช้ไม่ต่อไปคือ..อริยะสัจจสี่..
รู้ทุกข์..รู้เหตุให้เกิดทุกข์..ยัง.....หากรู้แล้ว...ก็เพียงรู้เฉยๆ...ยังไม่เกิดนิโรธตามมา...ทีนี้งานหนัก...ต้องใช้โพธิปักขิยธรรม37...จะมาเริ่มที่โพชฌงค์7ก่อนก็ได้....สุดท้ายใช้มรรค์8 ตรวจสอบตนในทุกขั้นตอนอีกที


โพสต์ เมื่อ: 23 ก.พ. 2014, 12:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ละ...ไม่ต้องทำ....เพียงเห็นว่า..อะไรคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

อโสกะ....พอจะบอกได้มั้ย...อะไรที่ไม่มีอยู่จริง

หากรู้แล้ว....แต่ยังรู้เพียงรู้...ยังไม่เป็นอิสระ...ก็ต้องไม้ต่อไปคือ...ดูซิมีอะไรไม่เสื่อมสลาย...
หากรู้แล้วว่าไม่มีอะไรที่ไม่สลาย...แต่ก็รู้เพียงรู้..ยังไม่เป็นอิสระ....ก็ต้องใช้ไม่ต่อไปคือ..อริยะสัจจสี่..
รู้ทุกข์..รู้เหตุให้เกิดทุกข์..ยัง.....หากรู้แล้ว...ก็เพียงรู้เฉยๆ...ยังไม่เกิดนิโรธตามมา...ทีนี้งานหนัก...ต้องใช้โพธิปักขิยธรรม37...จะมาเริ่มที่โพชฌงค์7ก่อนก็ได้....สุดท้ายใช้มรรค์8 ตรวจสอบตนในทุกขั้นตอนอีกที

:b12:
ยาวเลยทีนี้ ลุงมาป้ามี ตาสี ยายคำ วัยรุ่นสนใจธรรมจะเข้าใจไหมเนี้ยะ
grin


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร