วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 03:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 48, 49, 50, 51, 52, 53, 54 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2014, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปูพื้นในส่วนของพุทธศาสนามหายานแบบเซ็นแล้ว เกรงว่าถ้าต่อเนื่องไปในส่วนของหลวงปู่เลย ข้อความก็อาจจะเยอะเกินไป :b23: :b23: :b23:

ไว้ขอมาต่อที่เหลือในคราวหน้าแล้วกันครับ :b1: :b46: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การแยกรูปแยกนาม เป็นการบอกถึงวัตถุประสงค์ของการเริ่มต้นปฏิบัติบนเส้นทางวิปัสสนา
ตัวรู้ รู้ออกนอกตัว = วิญญาณ
ตัวรู้ รู้เข้าไปที่กายใจ = สติ สัมปชัญญะ
สติ สัมปชัญญะเป็นเครื่องมือแยกรูปและนาม
การแยกรูป เมื่อสิ่งสะสมอิทรีย์เคมีคลายออกจากรูป รูปที่เป็นฆนะ(ก้อน)แยกออกเป็นกลาปะ(แยกย่อย)
การแยกนาม เมื่อสิ่งสะสมที่เรียกว่า นิวรณ์ เป็นเวทนา สัญญา สังขาร ที่หยาบคลายออก ส่วนของนามที่เป็นเจตสิกจะแยกออกจากจิต เจตสิกจะค่อยๆละเอีอดขึ้น
รู้กายใจ และระดับการรู้
1.กายใจที่แยกแรกๆ สิ่งที่สะสมมีมากทั้งกายใจ สิ่งที่คลายออกมามากมาย ดังนั้นสิ่งใดปรากฏก่อนจึงรู้สิ่งนั้นก่อน เป็นการปฏิบัติที่รู้ตามความเป็นจริง
2.กายใจที่แยกย่อยแล้ว สิ่งที่สะสมเหลือน้อยลง จึงเห็นถึงสิ่งละเอียดที่เป็นปรากฏการณ์ทางกาย(ละเอียดน้อยกว่า)แสดงความสัมพันธ์กับจิต(ละเอียดมากกว่า) ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นลักษณะของแรงบีบ แรงทาบที่กลางหน้าอกและถ้าละเอียดยิ่งขึ้นจะรู้ถึงแรงเชื่อมไปที่หัวใจ แรงนี้คือความปารถนา(ตัณหา) หากสังเกตแรงนี้จะบีบรัด บางครั้งเจ็บแปลบที่หัวใจ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ให้นิยามของแรงนี้ชัดเจน ว่ามีลักษณะร้อยรัด เสียดแทง ดังนั้นหากเห็นปรากฏการณ์ความสัมพันธ์กายกับจิตดังกล่าว ก็เป็นการปฏิบัติที่รู้ตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับกรณีที่ 1

การรู้(ปัญญา)ตามความเป็นจริง ทั้งกรณีที่1 และกรณีที่2 เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อปัญญาหรือการหยั่งรู้อยู่ในระดับพื้นผิวของจิต การจะไปรู้ในระดับลึกของจิตย่อมเป็นไปไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 20:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเห็นความสัมพันธ์จึงรู้ความเป็นจริงที่สัมพันธ์ หากความรู้อยู่ในระดับกรณีที่1 ก็รู้แบบกรณีที่ 1 แต่การรู้ว่ามีกรณีที่ 2 ไว้เพื่อฝึกสังเกต หากวันใดจิตเริ่มพัฒนาสู่ระดับที่ 2 ก็จะรู้แบบความสัมพันธ์ การรู้จึงมีการเคลื่อนไปรู้ ผลย้อนเหตุ หากพิจารณาถึงเจตนาการเคลื่อน จะพบว่าในระดับนี้ต้องผ่านจิตที่ฝึกฝนความเป็นกลางมามากแล้ว รวมถึงร่างกายและจิตมีสภาพโปร่งเบาเหมาะแก่การงานการเคลื่อนจึงเป็นไปโดยสะดวก เรื่องการเคลื่อนรู้นี้มีนัยยะจะขอกล่าวในโอกาสต่อไป สำหรับการรู้ว่ามีกรณีที่ 2 ไว้เพื่อฝึกสังเกต ได้ปฏิบัติต่อยอดได้เลย ไม่ใช่การรู้เพื่อความอยากมีอยากเป็น แต่รู้ไว้เพื่อประยุกต์จากฐานของตนเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 16:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
เมื่อเห็นความสัมพันธ์จึงรู้ความเป็นจริงที่สัมพันธ์ หากความรู้อยู่ในระดับกรณีที่1 ก็รู้แบบกรณีที่ 1 แต่การรู้ว่ามีกรณีที่ 2 ไว้เพื่อฝึกสังเกต หากวันใดจิตเริ่มพัฒนาสู่ระดับที่ 2 ก็จะรู้แบบความสัมพันธ์ การรู้จึงมีการเคลื่อนไปรู้ ผลย้อนเหตุ หากพิจารณาถึงเจตนาการเคลื่อน จะพบว่าในระดับนี้ต้องผ่านจิตที่ฝึกฝนความเป็นกลางมามากแล้ว รวมถึงร่างกายและจิตมีสภาพโปร่งเบาเหมาะแก่การงานการเคลื่อนจึงเป็นไปโดยสะดวก เรื่องการเคลื่อนรู้นี้มีนัยยะจะขอกล่าวในโอกาสต่อไป สำหรับการรู้ว่ามีกรณีที่ 2 ไว้เพื่อฝึกสังเกต ได้ปฏิบัติต่อยอดได้เลย ไม่ใช่การรู้เพื่อความอยากมีอยากเป็น แต่รู้ไว้เพื่อประยุกต์จากฐานของตนเอง


รบกวนคุณsuttiyan อธิบาย ระดับที่ 2 ต่อ ณโอกาสนี้ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2014, 22:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ควรทราบซึ่งเป็นองค์ประกอบของธรรมที่สำคัญต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ที่จริงสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เคยได้กล่าวมาแล้วในโพสต์ที่ผ่านๆมาแต่ยังไม่เคยแสดงในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือที่ใช้ สภาวธรรมที่คลายออก เทคนิคที่ใช้ในการปรับอินทรีย์ ลำดับของสมาธิ ภายใต้โครงสร้างวิปัสสนาญาณ 16 ซึ่งจะมีบางส่วนของเนื้อหาจะซ้ำของเดิม เนื้อหาบางส่วนอาจไม่เคยมีการกล่าวไว้ในหลักธรรม แต่อย่างไรก็ตามแนวทางและวิธีการต้องไม่ขัดแย้งกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์

โครงสร้างวิปัสสนาญาณ 16
1.นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
2.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณแสดงความเป็นเหตุผลหรือปัจจัยแห่งนามกับรูป
3.สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
4.อุทยัพพยญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
5.ภังคญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
6.ภยญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
7.อาทีนญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
8นิพพิทาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
9.มุญจิกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
10.ปฏิสังขารญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
11.สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
12.อนุโลมญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง 8 คืออุทพยญาณ-สังขารุเบกขาญาณที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง 8 ตามลำดับ )
13.โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
14.มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
15.ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
16.ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)

ขอเพิ่มเติม นามรูปปริจเฉทญาณ ในส่วนของตัวรู้และลักษณะการรู้
ความหมาย รู้การเคลื่อนไหวของกายใจ และ ตามรู้การเคลื่อนไหวของกายใจ
เมื่อเราคิดจะรู้การเคลื่อนไหวของกาย หากสังเกตให้ดีจะมีเพียงช่วงแรกของการรู้เท่านั้นที่เรียกว่า สติ ถ้ายังรู้การเคลื่อนไหวของกายต่อไป นั่นแสดงว่าเรามีเจตนาที่จะรู้อยู่กับกาย ซึ่งเจตนาที่จะรู้อยู่กับกาย นั้นคือตัณหา หากยังใช้เจตนาต่อไป ยิ่งปฏิบัติ จะพบว่าร่างกายจะหนักเกร็ง สมองมุนงง อึดอัด นี่คือความหมาย รู้การเคลื่อนไหวของกายใจ หรือเพ่งกาย
เพราะที่จริงแล้ว ตามธรรมชาติรู้ การรู้การเคลื่อนไหวของกายจะรู้เพียงชั่วขณะ ก็จะเปลี่ยนฐานรู้ เช่น ขณะรู้การเคลื่อนไหวของกายได้ไม่นาน จะมีช่วงเผลอ และจิตก็จะเคลื่อนไปคิดนึก ดังนั้นการปฏิบัติที่เป็นไปตามหลักวิปัสสนา ก็คือตามรู้ว่าจิตนึกคิด ซึ่งก็คือความหมาย ตามรู้การเคลื่อนไหวของกายใจ หรือ มีสติระลึกรู้ คือเผลอแล้วรู้นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 19:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 21:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เส้นบางๆระหว่างมัชฌิมาปฏิปทากับอัตตกิลมถานุโยค

เป็นที่เข้าใจดีว่าขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่มีสติรู้กายใจนั่นคือ กามสุขขัลลิกานุโยค และการบำเพ็ญตบะเพ่งรู้ทรมานตน คือ อัตตกิลมถานุโยค ดังนั้นในการปฏิบัติตนนอกเหนือจากมัชฌิมาปฏิปทา ส่วนที่เหลือหากไม่เป็นกามสุขขัลลิกานุโยค ก็ต้องเป็นอัตตกิลมถานุโยค ดังนั้นต้องเข้าใจนัยยะของมัชฌิมาปฏิปทา

ครั้งหนึ่งมีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ก็คือกิเลสทั้งหลายนั้นเอง พระพุทธเจ้าบอกว่า เราข้ามโอฆะได้เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาฟังแล้วงง ไม่พักอยู่เนี่ยฟังแล้วเข้าใจ แต่ไม่เพียรฟังแล้วไม่เข้าใจ ก็ถามท่านอีกว่า ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราพ้นจากโอฆะข้ามห้วงน้ำได้ด้วยวิธีนี้

ทำไมจมลงไม่ดี จมลงไปทุคติ ฟูขึ้นลอยขึ้น ไปสู่สุคติ ไม่ได้ไปนิพพาน คำว่าไม่พักก็คือไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส ไม่หลงไปตามกามสุขัลลิกานุโยค เผลอไปนั่นแหละ คำว่าไม่เพียรของท่านก็คือ ไม่ได้ไปเพ่งกายเพ่งใจ เป็นอัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นเราต้องเดินทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา)ให้เป็น
แต่มีใครฉุกคิดว่าการรู้ความรู้สึกการเคลื่อนไหวของท้องอย่างต่อเนื่อง หรือการรู้ความรู้สึกลมหายใจเข้าออกอย่างต่อเนื่อง หรือการรู้ความรู้สึกการเคลื่อนไหวของกายอย่างต่อเนื่อง คืออัตตกิลมถานุโยค ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นการพยายามกระทำผิดธรรมชาติของกายใจ เพราะที่จริงแล้ว ตามธรรมชาติรู้ การรู้การเคลื่อนไหวของกายจะรู้เพียงชั่วขณะ ก็จะเปลี่ยนฐานรู้ เช่น ขณะรู้การเคลื่อนไหวของกายได้ไม่นาน จะมีช่วงเผลอ และจิตก็จะเคลื่อนไปคิดนึก ดังนั้นการปฏิบัติที่เป็นไปตามหลักวิปัสสนาซึ่งที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ก็คือเปลี่ยนฐานรู้การเคลื่อนไหวของกาย มารู้ว่าจิตนึกคิด โดยแค่รู้ว่านึกคิดไม่ต้องรู้ว่านึกคิดเรื่องอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 22:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้กลับมาที่คำสอนและแนวทางเจริญสติของหลวงปู่นัท ฮันห์ กันครับ :b8: :b46: :b39:

ซึ่งเราสามารถสรุปแนวทางสำคัญในคำสอนของท่านได้อย่างย่นย่อก็คือ ..

การฝึกสติและสมาธิ เพื่อความสงบสุขและพิจารณาธรรม จนสัมผัสรู้ได้ถึงสภาวะของการเป็นดั่งกันและกัน (inter-dependence, inter-beings) ซึ่งก็คือสภาวะของความเชื่อมโยง เป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่งทั้งปวง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมชาติภายใต้กระแสแห่งเหตุปัจจัย เพื่อตัดตรงเข้าสู่ธรรมชาติเดิมแท้ของจิต และเป็นสภาวะเดิมแท้ของธรรมทั้งหลายทั้งปวง :b41: :b46: :b39:

.. อันได้แก่สภาวะแห่งอนัตตาหรือสุญญตา (ความว่างจากอัตตาตัวตน), อิทัปปัจจยตา (ความเป็นไปตามสัมพันธ์แห่งกระแสของเหตุปัจจัย), และตถตา (ความเป็นเช่นนั้นเอง) :b46: :b42: :b46:

จนแจ้งในธรรมอีกด้านหนึ่ง คือธรรมที่ไม่เนื่องด้วยเหตุปัจจัย (นิพพาน) :b8: :b46: :b39:

โดยเมื่อจิต เริ่มสามารถที่จะสัมผัสได้ถึงสภาวะของความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งปวงแล้ว จิตก็จะค่อยๆเต็มเปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยนของปัญญาแห่งความเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต ทุกสรรพสิ่ง เพราะเห็นแล้วว่าทุกชีวิต ทุกสรรพสิ่ง ต่างเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน :b41: :b46: :b39:

แล้วด้วยพื้นฐานอันควรค่าแก่การงานดังกล่าว ผู้ปฏิบัติก็จะเอาความรู้แจ้งที่พร้อมด้วยกรุณาปัญญาแล้วนั้น ออกมาช่วยเหลือสังคมและหมู่มวลสรรพสัตว์ รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งความงดงามแห่งธรรมชาติทั้งหลาย :b41: :b46: :b39:

เป็นการทำพุทธศาสนาให้มีชีวิต (engaged buddhism) เพื่อที่จะสร้างศานติสุขให้เกิดขึ้นในโลก :b8: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"เวลาที่เรามีสติ มีความสงบสุข เราจะได้รับปัญญารู้แจ้ง

เราจะช่วยประเทศชาติเราได้อย่างไร ก็ช่วยโดยการฝึกสติ

สมาธิและปัญญารู้แจ้งนี้ ก็เพื่อช่วยให้ประเทศชาติออกจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก

ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร ปัญญารู้แจ้งนั้นจะบอกเธอ

และเธอสามารถนำปัญญารู้แจ้งนี้กลับไปให้สาธารณชนรับทราบ

ดังนั้น การจะช่วยประเทศชาติได้ก็มาจากการฝึกสติ สมาธิ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้ง

ถ้าเธอชัดเจนกับปัญญารู้แจ้ง เธอจะเข้าใจอุเบกขาอย่างลึกซึ้ง

นั่นคือ การไม่แบ่งแยก"


ติช นัท ฮันห์ "สนทนากับความว่าง" http://goo.gl/UNSMdz


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และสำหรับแนวทางปฏิบัติของท่าน คงจะหาใครสรุปได้ไม่ดีเท่ากับหลวงพี่ไพศาล วิสาโล ตามบทความด้านล่างนะครับ :b1: :b46: :b39:

ติช นัท ฮันห์ กับ มิติใหม่ของพุทธศาสนา
พระไพศาล วิสาโล

นอกจากองค์ทะไลลามะแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่งที่นิตยสารไทม์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ยกย่องให้เป็น “hero” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก

หนังสือหลายเล่มของท่านติดอันดับหนังสือขายดีทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ท่านไปบรรยายจะมีผู้ฟังแน่นขนัดแม้ต้องเสียค่าผ่านประตูก็ตาม ยิ่งที่หมู่บ้านพลัมอันเป็นสำนักของท่านในประเทศฝรั่งเศส ทุกปีจะมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมประจำฤดูร้อนนับพันคนในคราวเดียวกัน คนเหล่านี้มาจากแทบทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่แอฟริกาและอเมริกาใต้

คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่าความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน

สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตรศิษย์หาและเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณาแม้กระทั่งกับผู้ปลิดชีวิตบุคคลที่ท่านรัก

ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกันก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่าเปรียบเสมือน “ดอกบัวกลางทะเลเพลิง” ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากอุปมาดังกล่าวเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากจีนไม่รุกรานธิเบต โลกก็คงไม่รู้จักองค์ทะไลลามะ ในทำนองเดียวกันหากรัฐบาลเวียดนามใต้ไม่ปิดประตูผลักไสให้ท่านกลายเป็นผู้ลี้ภัย โลกก็คงไม่มีโอกาสดื่มด่ำสัมผัสธรรมของท่านนัท ฮันห์อย่างแพร่หลายเช่นทุกวันนี้

เมื่อท่านไม่อาจเข้าประเทศเวียดนามได้หลังจากการไปรณรงค์เรียกร้องสันติภาพที่สหรัฐอเมริกา อเมริกาและยุโรปจึงเปรียบเสมือนบ้านของท่านตลอด ๓๙ ปีที่ผ่านมา หนังสือและคำสอนที่สำคัญของท่านส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนี้

ยิ่งท่านมาตั้งสำนักที่หมู่บ้านพลัมประเทศฝรั่งเศส สังฆะของท่านก็หยั่งรากลึกและเติบใหญ่จนกลายเป็นพลังที่สำคัญในทางศาสนธรรมและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็สร้างมิติใหม่ให้แก่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับโลกและสำหรับเวียดนามเอง

ท่านนัท ฮันห์ เป็นหนึ่งในบุคคลผู้ริเริ่มนำพุทธศาสนาออกมาสัมพันธ์กับโลกสมัยใหม่อย่างมีพลัง ในยามที่บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ท่านเห็นว่าจุดยืนของพุทธศาสนามิได้อยู่ที่การสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จับอาวุธห้ำหั่นกัน หากอยู่ที่การเสนอทางออกอย่างสันติ โดยมีความเมตตาต่อทั้งสองฝ่าย แม้นั่นจะหมายถึงการถูกเข้าใจผิดจากทุกฝ่ายก็ตาม

และในขณะที่ผู้คนกำลังเดือดร้อนจากภัยสงครามและความยากจน ชาวพุทธไม่ควรเอาแต่นั่งภาวนาหรือแผ่เมตตาอยู่ในมุ้ง หากควรออกไปช่วยเหลือคนเหล่านั้น โดยพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา

แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับปฏิบัติการทางสังคม ก็คือการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดความสงบ มีสติ เปี่ยมด้วยกรุณาและมีปัญญากระจ่างแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ท่านและประโยชน์ตนอย่างแท้จริง

นอกจากการนำพุทธศาสนามาสัมพันธ์กับสังคมแล้ว ท่านนัท ฮันห์ ยังเห็นว่าพุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้

การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการปลีกตัวออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น

พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมอย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านนัท ฮันห์ เรียกว่า Engaged Buddhism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสน่ห์แห่งคำสอนของท่านนัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา

กล่าวคือศีล สมาธิ ปัญญา

แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล ๕ ในขอบเขตแคบ ๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล ๕ ให้มีความหมายกว้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูง จนผู้คนสามารถเบียดเบียนกันได้แม้จะไม่เห็นตัวกัน

เช่น ศีลข้อที่ ๑ อันได้แก่ปาณาติบาต ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใด ๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ”

ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมทารุณสัตว์ ก็เท่ากับผิดศีลข้อที่ ๑ ด้วย

ในด้านสมาธิ ท่านเห็นว่าหัวใจสำคัญของสมาธิภาวนา คือการเจริญสติ

เพราะสตินำไปสู่ความตื่นรู้ และความตื่นรู้นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่การรู้กายและใจของตนเท่านั้น หากยังรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งรู้ถึงความทุกข์ยากของผู้คนด้วย

แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ปล่อยให้ความทุกข์ของผู้อื่นท่วมท้นจิต จนตนเองกลายเป็นผู้ทุกข์ไปด้วยอีกคน

เราจะต้องรักษาจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ โดยมีสติเข้าไปรับรู้ความเศร้าโศก ความโกรธ ความเกลียด และแปรให้เป็นความสงบและความรัก

การตื่นอยู่เสมอด้วยสตินั้นเป็นปาฏิหาริย์ในตัวเอง ดังหนังสือเรือง ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ของท่านเป็นคู่มือนำทางให้แก่เราได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องไม่ลืมว่าหนังสือเล่มนี้ท่านเขียนในขณะที่สงครามเวียดนามกำลังมาถึงจุดแตกหัก

แม้ท่านจะห่วงใยกับสถานการณ์ดังกล่าวเพียงใด แต่ท่านก็สงบนิ่งพอที่จะเขียนหนังสืออันมีคุณค่าลุ่มลึกทางจิตใจได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านนัท ฮันห์ ยังเป็นผู้ฉลาดในการนำพาให้เราเห็นโลกด้วยปัญญา กล่าวคือไปพ้นจากความหลงแห่งทวิภาวะที่มองสิ่งต่างๆ แยกออกเป็นขั้วๆ

ท่านชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่มองเห็นเป็นขั้วนั้นแท้จริงเป็นอีกด้านของเหรียญเดียวกัน ไม่ว่า ได้-เสีย มา-ไป เกิด-ตาย เรา-ผู้อื่น ขยะ-ดอกไม้ เหยื่อ-อาชญากร ทั้งหมดนี้ไม่ได้แยกจากกัน

คนที่เป็นอาชญากรนั้นก็เคยเป็นเหยื่อมาก่อน เช่นเดียวกับขยะซึ่งในอดีตเคยเป็นดอกไม้ และในอนาคตก็จะกลายเป็นดอกไม้อีก

ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กันและเป็นเหตุปัจจัยให้แก่กันและกัน (ดังท่านเรียกว่า “เป็นดั่งกันและกัน” หรือ interbeing)

เมฆกับกระดาษ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ไม่มีเมฆ ไม่มีฝน ก็ไม่มีต้นไม้ และไม่มีกระดาษ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงย้ำให้เรามองกระดาษจนเห็นก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ และคนตัดไม้

กล่าวอีกนัยหนึ่งกระดาษนั้นไม่มีตัวตนของมันเอง หากเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่ใช่กระดาษ เช่นเดียวกับร่างกายของเราล้วนเกิดขึ้นจากธาตุหรือสารต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา เช่น คาร์บอน แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ

ด้วยคำสอนง่าย ๆ ที่ฝึกให้เรามองสิ่งต่าง ๆ อย่างเพ่งพินิจ ท่านได้พาให้เราเข้าใจความจริงอันลึกซึ้งอันได้แก่อนัตตา คือความไม่มีตัวตน

คุณูปการสำคัญอีกประการหนึ่งของท่านนัท ฮันห์ ที่ควรกล่าวย้ำในที่นี้ก็คือ การตั้งสังฆะที่สมสมัย

ท่านตระหนักดีว่าพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ จำต้องมีสังฆะที่เข้มแข็ง แต่แทนที่สังฆะจะหมายถึงผู้บวชที่ถือเพศพรหมจรรย์เท่านั้น ท่านได้ขยายสังฆะให้คลุมไปถึงอุบาสกและอุบาสิกา

ขณะเดียวกันในฝ่ายผู้บวช ก็มิได้มีแต่ภิกษุเท่านั้น หากยังมีภิกษุณีอีกด้วย โดยมีสิกขาบทที่ปรับปรุงให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการทวนกระแสบริโภคนิยม ซึ่งกำลังเป็นตัวกัดกร่อนบั่นทอนชีวิตจิตใจของนักบวชและผู้ใฝ่ธรรมทั่วโลก

ขณะเดียวกันท่านยังได้คิดค้นพิธีกรรมใหม่ ๆ ที่สื่อธรรมอย่างน่าประทับใจ ควบคู่ไปกับการสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สังฆะเพื่อเป็นชุมชนกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง


http://www.visalo.org/article/person18NhatHanh.htm

แล้วจะนำรายละเอียดการปฏิบัติตามแนวทางของท่านมาสรุปลงในคราวหน้า :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 19:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ความสัมพันธ์ของธรรม
มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นการศึกษาพฤติของกายใจโดยไม่แทรกแซง ซึ่งเป็นเหตุ ทำให้รู้เห็นกายใจตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ)ผล สัมมาทิฐิเป็นเหตุทำให้สามารถแยกรูปแยกนาม(ญาณที่ 1 นามรูปปริจเฉทญาณ)เป็นผล นามรูปปริจเฉทญาณเป็นเหตุ ทำให้รู้ความเป็นเหตุเป็นผลของรูปกับนาม(ญาณที่2 นามรูปปัจจยปริคหญาณ)เป็นผล


สำหรับลักษณะของนามรูปปัจจยปริคหญาณ หรือญาณแสดงความเป็นเหตุผลหรือปัจจัยแห่งนามกับรูปยกตัวอย่าง เช่น ขณะรู้การเคลื่อนไหวของกายได้ไม่นาน จะมีช่วงเผลอ สายตาเหลือบไปเห็นบางสิ่งบางอย่างและจิตก็จะเคลื่อนไปคิดนึก ซึ่งบางครั้งเรื่องที่นึกคิด(ผล) ปรุงแต่งมาจากสิ่งที่เห็น (เหตุ) หรือบางครั้งคิดถึงเรื่องที่ไม่พอใจ(เหตุ)ร่างกายก็แสดงออกถึงความร้อน หัวใจเต้นแรง(ผล)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 48, 49, 50, 51, 52, 53, 54 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร