วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 21:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 62  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แยกขอบเขตให้ชัดอีกหน่อย

อ้างคำพูด:
ใน สมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอามณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย

ส่วนใน วิปัสสนา สติตามกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเป็นไปในสภาพใดๆ ก็ได้ไม่จำกัดขอบเขต สุดแต่อะไรปรากฎขึ้นให้พิจารณา และอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)


แต่ในเราทั้งหลายหนา ยังตกลงเรื่องกายใจ เรื่องรูปนาม เรื่องกาย เวทนา จิต ธรรมกันยังไม่ได้เลย คือเถียงกันไม่่ลงตัวสักที แล้วจะปฏิบัติวิปัสสนา เจริญสมาธิหรือสมถะกันได้อย่างไร :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้าววเนี่ยะ สภาวธรรมที่ปรากฏแก่เขาเนี่ยะ มันพ้นไปจากชีวิต (ธรรม, ธรรมชาติ)นี้ไหม พ้นจากกายใจนี้ไหม พ้นจากนามรูปนี้ไหม



อ้างคำพูด:
เมื่อคืนนี้ ในระหว่างที่นั่งสมาธิ หนูนั่งสมธิแบบยุบหนอ-พองหนอค่ะ รู้สึกว่ามีอาการตัวโยกเอน (เป็นอยู่บ่อยๆค่ะ) ตัวหมุน ตัวพองออกจนรู้สึกว่ามือมันคลี่ออกจากกัน แล้วสักครู่ก้อลอยขึ้น หนูตกใจก้อเลยลืมตา

แล้วก้อตัดสินใจนั่งต่อค่ะ เกิดอาการเดิมๆ สลับกัน หมุนบ้าง คอผงกบ้าง ส่ายหน้าบ้าง ในบางช่วงเกิดอาการเหมือนหน้าหายไปแทบหนึ่ง ปากแน่น ตึงเหมือนจะพูดไม่ได้ แล้วมือที่ซ้ายทับขวาไว้ ก้อเลื่อนออกจากกัน เลื่อนออก แล้วก้อเลื่อนเข้า มีความรู้สึกว่านิ้วถูกกดให้เล็กลง ตัวแยกออก (คือมันเป็นความรู้สึกค่ะ บอกไม่ถุก แต่ไม่ได้เห็นเป็นภาพว่าตัวเองแยกถูกฉีกอ่ะค่ะ แต่จะว่าเห็นก้อไม่เชิง มันเหมือนคิดนะค่ะ ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน -*-) ต่อมาก้อมีอาการปากเหมือนดูดลม เบ้ปาก บีบปาก รู้สึกว่าฟันงอก สกปรก (ไม่รู้คิดไปเองหรือยังไง สับสนเหมือนกันค่ะ เพราะช่วงนี้อ่านอาการพวก อสุภะบ้าง ตอนที่คิดว่าเหมือนคนแก่ เลยท่องๆในใจว่า ไม่เที่ยง แต่รู้สึกว่าตัวเองทำมั่วๆอ่ะค่ะแล้วก้อหยุด อาการเหล่านี้เป็นติดต่อกันบ้าง สลับกับพองยุบบ้าง นั่งนิ่งๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จนสุดท้าย มีเวทนาเกิดขึ้นที่ขาและเอว กำหนดปวดหนอแล้วก้อยังไม่หาย (ปกติกำหนดแปปเดียวก้อหาย แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยเกิดเวทนาค่ะ) ก้อเลยออกจากสมาธิในที่สุด

ขอเพิ่มเติมนะค่ะ คืนก่อนๆหน้านี้ค่ะ จิตมีอาการดิ่งวูบ แล้วก้อสว่าง แต่ว่าแปปเดียวค่ะ ทำยังไงถึงจะทรงไว้ได้นาน หรือว่าควรทำยังไงค่ะ แล้วหนูก็ไม่เข้าใจอีกเรื่อง คือเวลานอนหลับไปแล้ว หรือระหว่างกึ่งหลับกึ่งตื่น เคยมีอาการตัวลอย หรือไม่ก้อเกิดอาการ ชาๆ วูบๆทั่วตัว บ้างก้อเหมือนจะคลื่นไส้ บางทีที่เกิดหนูก้อไม่ได้ภาวนาแบบนอนนะค่ะ ก็หลับไปเฉยนี่แหละค่ะ

หนูสับสนมาก ว่าต้องทำยังไงต่อ อาการเหล่านี้ทั้งหมดเกิดขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าค่ะ รบกวนท่านผู้รู้แนะนำด้วยนะค่ะ หนูฝึกเองอยู่บ้านค่ะ ก่อนหน้านี้ไปฝึกที่คุณแม่สิริค่ะ รบกวนด้วยค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางแบบเทียบอีก :b1:


อ้างคำพูด:
ศัตรูของสมาธิ


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิต ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง”

"...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"

นิวรณ์ ๕ อย่างนั้น คือ


๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

๒. พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ



ไม่ง่ายนักหรอกที่จะพ้นหรือกำจัดมันได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางแบบไว้เทียบอีก :b1:

อ้างคำพูด:

ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพ และสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึงภาวะจิตที่มีคุณภาพ และมีสมรรถภาพดีที่สุด

จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพนั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้


1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำ ที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทาง เดียวย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำ ที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป

2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระ หรือ บึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย



ไวพจน์ที่แสดงความหมายของสมาธิคำหนึ่ง คือ เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรก คือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ)


คำว่า อัคคะ ที่นี้ ท่านแปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้ คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยนี้ จิตเป็นสมาธิ ก็คือ จิตที่มียอด หรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง รวมมุ่งดิ่งไป หรือแทงทะลุไปได้ง่าย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จับตะแคงพลิกไปพลิกมาหมุนไปหมุนมาให้ดูหลายๆด้าน


อ้างคำพูด:
สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โปร่งโล่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา

พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ๕ ประการ กล่าวคือ กามฉันท์...พยาบาท...ถีนมิทธะ...อุทธัจจกุกกุจจะ...วิจิกิจฉา...

"ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญา อ่อนกำลังแล้ว จักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้ง ซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

"เปรียบเหมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชียว พัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชียว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้..
.

ครั้งหนึ่ง สังคารวพราหมณ์กราบทูลถามพระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสตอบ ดังนี้


พราหมณ์: ท่านพระโคตมะผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย และอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย


พระพุทธเจ้า: ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใด บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ในเวลานั้น เขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนาน ก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย


(บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ก็เช่นเดียวกัน และทรงเปรียบจิตที่ถูกนิวรณ์ข้อต่างๆ ครอบงำ ดังต่อไปนี้)


๑. (จิตที่ถูกกามราคะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าง สีแดงอ่อนบ้าง ผสมปนกันบ้าง คนตาดีมองดูเงาหน้าของคนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๒. (จิตที่ถูกพยาบาทครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพลุ่ง คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๓. (จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่ น้ำ ที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำน้ำ ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๔. (จิตที่ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะครอบงำ) เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ ที่ถูกลมพัด ไหวกระเพื่อม เป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๕. (จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่ขุ่น มัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง



ส่วนบุคคลที่ใจไม่มีนิวรณ์ ๕ ครอบงำ และรู้ทางออกของนิวรณ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย และมีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่ได้กล่าวมาแล้ว


ไม่ม่แจ่มแจ้ง หมายถึงนึกไม่ออก หรือคิดไม่ออก อีกแห่งหนึ่ง ตรัสถึงจิตที่ไม่ขุ่นมัว เหมือนห้วงน้ำใส มองเห็นก้อนหิน ก้นกรวด หอย และปลาทีแหวกว่ายในน้ำ ส่วนจิตที่ขุ่นมัว ก็เหมือนห้วงน้ำขุ่นที่ตรงกันข้าม


คงเคยได้ยินได้ฟังเขาพูดต่อๆกันมาว่า คนมีสมาธิดีเนี่ยทำให้ความจำดี จำเกง เรียนหนังสือเก่ง พุทธพจน์นั้นเป็นเครื่องยืนยัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว





เข้าใจธรรมก็เข้าใจชีวิต เพราะชีวิตคือธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมระดับสุดยอด เช่น กฎแห่งปฏิจจสมุปบาท,กฎแห่งกรรม, กฎแห่งไตรลักษณ์ รวมอยู่ที่ชีวิตนี่ทั้งหมด


อ้างคำพูด:
ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕ หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ ที่จะมาเป็นเจ้าของหรือควรคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาเอาขันธ์ ๕ เป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ


ชีวิตเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปัจจสมุปบาท คือมีอยู่ในรูปเป็นกระแสแห่งปัจจัยต่างๆ ที่

สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป

พร้อมกับที่ปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆกัน ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็น

ปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผล และคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน


ในภาวะเช่นนี้ ชีวิตหรือขันธ์ ๕ จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา

ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดดับเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีที่เป็นตัวตนแท้จริง

และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัว จะเข้ายึดครองเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความปรารถนา

ของตนจริงจังไม่ได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้น และสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะ

ก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้และยึดติดถือมั่น


กระบวนการแห่งชีวิต ซึ่งดำเนินไปพร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกขณะ โดยไม่มีส่วนที่เป็นตัวเป็นตนคงที่อยู่นี้ ย่อมเป็นไปตามกระแสเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์แก่กันล้วนๆ ตามวิถีทางแห่งธรรมชาติของมัน


แต่ในกรณีของชีวิตมนุษย์ปุถุชน ความฝืนกระแสจะเกิดขึ้น โดยที่จะมีความหลงผิดเกิดขึ้น และยึด

เอารูปปรากฎของกระแส หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของกระแส ว่าเป็นตัวตน และปรารถนาให้ตัวตนนั้นมี

อยู่ หรือเป็นไปในรูปใดรูปหนึ่ง ในเวลาเดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในกระแส

ก็ขัดแย้งต่อความปรารถนา เป็นการบีบคั้น และเร่งเร้าให้เกิดความยึดอยากรุนแรงยิ่งขึ้น ความดิ้นรน

หวังให้มีตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง และให้ตัวตนนั้นเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้คงที่เที่ยงแท้ถาวรอยู่

ในรูปที่ต้องการก็ดี ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อไม่เป็นไปตามที่ยึดอยาก ความบีบคั้นก็ยิ่งแสดงผลเป็นความ

ผิดหวัง ความทุกข์ความคับแค้นรุนแรงขึ้นตามกัน


พร้อมกันนั้น ความตระหนักรู้ในความจริงอย่างมัวๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่าง

หนึ่งแน่นอน และตัวตนที่ตนยึดอยู่ อาจไม่มี หรืออาจสูญสลายไปเสีย ก็ยิ่งความยึดอยากให้

เหนียวแน่นยิ่งขึ้น พร้อมกับความกลัว ความประหวั่นพรั่นพรึง ก็เข้าแฝงตัวร่วมอยู่ด้วยอย่างลึกซึ้ง

และสลับซับซ้อน ภาวะจิตเหล่านี้ ก็คือ อวิชชา (ความไม่รู้ตามเป็นจริงหลงผิดว่ามีตัวตน)

ตัณหา (ความอยากให้ตัวตนที่หลงว่ามีนั้นได้ เป็น หรือไม่เป็น ต่างๆ) อุปาทาน (ความยึดถือผูก

ตัวตนในความหลงผิดนั้นไว้กับสิ่งต่างๆ) กิเลสเหล่านี้ แฝงลึกซับซ้อนอยู่ในจิตใจ และเป็นตัวคอย

บังคับบัญชาพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลให้เป็นไปต่างๆ ตามอำนาจของมัน
ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้

ตัว ตลอดจนเป็นตัวหล่อหลอมบุคลิกภาพ และมีบทบาทสำคัญในการชี้ชะตากรรมของบุคคล

นั้นๆ
กล่าวในวงกว้าง มันเป็นที่มาแห่งความทุกข์ของมนุษย์ปุถุชนทุกคน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 12:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




067dsq_resize.jpg
067dsq_resize.jpg [ 28.99 KiB | เปิดดู 4030 ครั้ง ]
nongkong เขียน:
คุณน้องเกิดสภาวะบางอย่างขณะนั่งอ่านเวปพุทธศาสนา ในขณะที่เราตั้งใจอ่านอยู่ในอารมณ์สงบ อยู่ๆก็เกิดอาการรับรู้ถึงแรงเต้นตอดของหัวใจ และมันก็ดังขึ้นๆๆ ดังตึกๆๆๆ จนคุณน้องเสียสมาธิจากการอ่านมาสนใจกับแรงเต้นของหัวใจข้างใน พอเข้าไปจดจ่อกับมัน มันยิ่งเต้นหนักกว่าเดิม จนคุนน้องสังเกตุตัวเองว่าร่ายกายเหมือนมันกระตุกไปตามแรงเต้นหัวใจ คุณน้องเลยถามเพื่อนว่า เทอมองเห็นว่าเรามีอาการตัวกระตุกๆไหม เค้าก้บอกไม่นะ คุณน้องก็บอกเค้าว่า ตอนนี้เราได้ยินเสียงใจเต้นตอดแรงๆมาก เต้นตึกๆๆๆอยู่แบบนั้น และเริ่มรำคาญแล้วว่ะ อยากให้มันหายไม่ชอบแบบนี้ ไม่อยากรับรู้แรงเต้นตอดหัวใจ คุณน้องพยายามเปลี่ยนอริยาบถ แรงเต้นมันก็ลดลง แต่พออยู่นิ่งๆมาอีกแล้วกระเพื่มตึกๆๆๆๆ แต่พอลุกไปทำนั้นทำนี่มันก็หายไปเอง แต่คุณน้องก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ทำไมคุณน้องรับรู้แรงเต้นตอดของหัวใจแล้ว คุณน้องระงับนิวรณ์ไม่ได้ ยิ่งแรงเต้นตอดมากแค่ไหนคุณน้องยิ่งรำคาญ 555+ ไม่เห็นสงบเลย ทำไงดี แล้วทำไงถึงจะผ่านไปได้อ่ะ คือดูรู้ตามที่มันเป็นหรอ คือก็ดูตามที่มันเป็นแล้วนะแต่มันรำคาญอ่าอยากหลุดออกไปจากสภาวะที่เป็นอยู่ ทำไมเป็นแบบนี้นะ s002

:b27:
การรู้ชัดอาการเต้นตอดของหัวใจ แสดงว่าจิตมีความสงบถึงระดับที่ 2 สติปัญญาคมกล้ากว่าคนธรรมดา พิสูจน์จาการที่น้องคองถามเพื่อนว่า "เทอมองเห็นว่าเรามีอาการตัวกระตุกๆไหม เค้าก้บอกไม่นะ".....แต่เขาไม่เห็น ที่จริงควรจะถามว่า ขณะนี้นะ เธอสามารถสัมผัสรู้อาการเต้นตอดของหัวใจอย่างที่ฉันกำลังเป็นอยู่เดียวนี้ไหม?

สมาธิจากการอ่าน ส่งให้ได้รู้อาการธรรมชาติที่เกิดในกาย คือหัวใจเต้นชัด ถ้าระลึกได้ถึงหน้าที่สำคัญของชาวพุทธคือการเจริญสติปัฏฐาน เจริญวิปัสสนาภาวนาให้ได้ในชีวิตประจำวัน....น้องคงอวรจะวางความอยากอ่านหนังสือต่อไว้ชั่วครู่แล้วเอาสติปัญญามาตั้งรู้ตั้งสังเกตอาการเต้นตอดของหัวใจ และอารมณ์ลูกที่เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากอาการเต้นตอดของหัวใจอย่างเช่น

อ้างคำพูด:
"เต้นตึกๆๆๆอยู่แบบนั้น และเริ่มรำคาญแล้วว่ะ อยากให้มันหายไม่ชอบแบบนี้ ไม่อยากรับรู้แรงเต้นตอดหัวใจ"


นี่แหละที่ทำงานของสติปัญญา นี่แหละที่ทำงานของวิปัสสนาภาวนา.....เพราะถ้าน้องคงวิเคราะห์ดูสักนิดจะได้พบว่า

1.รำคาญ......(กุกุจจะนิวรณ์) เกิดขึ้น

2.อยากให้มันหาย....(ภวะตัณหา)

3.ไม่ชอบแบบนี้.......(วิภวตัณหา)

4.ไม่อยากรับรู้แรงเต้นตอดที่หัวใจ.....(วิภวตัณหา)

ผลรวมก็คือ ยินร้าย....(โทมนัส)...ต่อผัสสะทางใจ

งานที่จะต้องทำตามงานของสติปัฏฐาน 4 ก็คือ วิเนยะ.....เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินร้ายในผัสสะและเวทนานี้

จะเอาออกได้อย่างไร?

ไม่ใช่หลบไปยังอิริยาบถอื่น หรืองานอื่น นั่นเป็นวิถีทางสมถะภาวนา

จงหันหน้าเข้าสู้ความจริงคือยินร้าย ที่กำลังปรากฏชัดเป็นปัจจุบันอารมณ์ในจิต

นิ่งรู้ นิ่งสังเกตอารมณ์ยินร้ายนั้นอยู่ต่อไปโดยไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ....ไม่ช้าไม่นานเกินรอ ...อารมณ์ยินร้ายนั้นก็จะดับไปจากการรับรู้ ด้วยกฏของ ทุกขังและอนิจจัง.......นั่นจบแล้วงานของวิปัสสนาภาวนาสำหรับอารมณ์ยินร้าย

ทำอย่างนี้ให้ได้บ่อยๆ เสมอๆกับทุกปัจจุบันอารมณ์ ไม่ช้าอุปาทาน ที่ยึดไว้ตลอดกาลนานมาว่า อารมณ์อย่างนี้ ต้องตอบโต้อย่างนี้ จะลบเลือนและดับไปจากความยึดถือของจิต เมื่อพบเจออารมณ์อย่างนี้ในภายหลัง จิตจะหมดปฏิกิริยาโต้ตอบกับอารมณ์เช่นนี้ จนกลายเป็นรับรู้เฉยๆ รู้เฉยๆ หรือ สักแต่ว่า

พอกพูนความสักแต่ว่าในทุกผัสสะอารมณ์ได้มากขึ้นๆ ไม่ช้าจิตจะเข้าถึงสภาวะที่เรียกว่า...."อุเบกขาโดยสมบูรณ์" ....หรือบางท่านเรียกว่า ..."สังขารุเปกขาญาณ"....อันเป็นจุดเริ่มต้นการก้าวเข้าสู่อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ นิพพาน

:b8: :b8:
onion onion onion
ขอความเจริญในธรรมจงบังเกิดมีแก่ Nongkong ยิ่งๆขึ้นไปเทอญ
smiley
โพสต์ เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 12:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
สวัสดีปีใหม่นะครับ มิตรสหายในธรรมทุกๆท่าน
smiley
ปีใหม่นี้เราคงผ่านด่านโฮฮับไปสนทนาธรรมกันได้สบายๆไปตามครรลองแห่งธรรมกันแล้วนะครับ โฮฮับก็คงปรับปรุงนิสัยใหม่ ตั้งใจใหม่ ให้เป็นคนที่ดียิ่งขึ้นกว่าปีที่แล้ว ลานธรรมจะได้สงบและเป็นสุข
:b16: :b16:
กลับมาต่อกระทู้นี้ให้จบสมบูรณ์ตามธรรมกันดีกว่านะครับ


ผมโฮฮับขอบอกยากครับ เที่ยวบังคับให้คนอื่นปรับปรุงตัว อ้างว่าเป็นนักปฏิบัติ
เพียงแค่เรื่องเล็กๆยังไม่รู้......มันต้องเป็นตัวเองที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับเขา
ไม่ใช่มาบังคับเขาให้เข้ากับเรา

ผมเคยแนะนำไปแล้วว่า รับคนอื่นไม่ได้ เราต้องไปพูดในห้องน้ำห้องส้วมคนเดียว
มาพูดในที่สาธารณะ แล้วจะให้คนอื่นเชื่อฟัง โสกะจะต้องถือM16มาด้วยครับ :b32:

:b12: :b12: :b12:
ถึงแม่วันเดือนปี จะเปลี่ยนไป แต่จิตใจโฮฮับนั้นยากจะเปลี่ยนแปลงเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโอกาสพิเศษ มีเหตุปัจจัยอำนวยให้เพียงใด

เพราะฉนั้นจงพอใจในสิ่งที่ตนเองเป็น และเจริญไปในทางที่ตนเองชอบและสร้างต่อไป...ตามยถากรรม

ไม่มีใครบังคับใคร....ไม่มีใครยอมใคร....ทางหนู หนูไต่...ทางไก่ ไก่เดิน....เชิญตามสบาย....อโหสิกรรมให้ทุกอย่าง ให้ไปตามทางที่ตนเลือกได้ไม่ขัดข้อง

อโศกะมีเมตตาและกรุณาที่จะมอบให้เพื่อนมนุษย์และสัตว์ร่วมโลกอย่างเต็มเปี่ยมเหลือล้นกินใช้ไม่หมด เหน็ดเหนื่อย ทุกข์ ท้อแท้กับชีวิต จนตรอก หาทางออกไม่ได้ เชิญมารับเมตตาและอภัยทานจากอโศกะได้เสมอ

:b8: :b8: :b8:
ปล.
อ้างคำพูด:
รับคนอื่นไม่ได้ เราต้องไปพูดในห้องน้ำห้องส้วมคนเดียว
มาพูดในที่สาธารณะ แล้วจะให้คนอื่นเชื่อฟัง โสกะจะต้องถือM16มาด้วยครับ


เรื่องอย่างที่โฮฮับพูดมานี้ไม่อยู่ในวิสัยของอโศกะ....ขอคืนให้เป็นสมมบัติของโฮฮับเป็นของขวัญปีใหม่ก็แล้วกันนะครับ
:b13: :b13: :b13: :b13:


โพสต์ เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 12:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วางหลักสมถะ กับ วิปัสสนาเทียบเคียง พึงสังเกตสมถะกับวิปัสสนาอาศัยกันด้วย


อ้างคำพูด:
สติ ทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา เทียบระหว่างบทบาทของสติ ในสมถะ กับ ในวิปัสสนา

ในสมถะ สติ กุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงเท่านี้ สมถะก็สำเร็จ

ส่วนในวิปัสสนา สติ กำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งให้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัยโดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทำงาน


หมายเหตุ: โปรดสังเกตคำว่า...กำหนด....ดึง....จับ
:b8: :b8: :b8:
สาธุกับวิริยะ อุตสาหะของท่านกรัชกาย ที่กรุณาขยายความรู้เรื่องสมถะ วิปัสสนา และเรื่องของนิวรณ์ธรรมทั้ง 5 อันเป็นประเด็นสำคัญที่่จะต้องสนทนากันต่อไปในกระทู้นี้....อนุโมทนา
smiley smiley
มีแง่มุมจากข้อธรรมที่ท่านกรัชกายยกมาให้วิเคราะห์วิจารณ์ วิจัยกันอีกสักนิดเพื่อความเข้าใจวิปัสสนาภาวนาอย่างถูกต้องตามธรรม

อ้างคำพูด:
สติ กำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งให้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัย




วิปัสสนาภาวนา เป็นการทำงานของสติปัญญา กับปัจจุบันอารมณ์...นั่นคือถูกต้องที่สุด

สติปัญญาทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ธรรมชาติของปัจจุบันอารมณ์เท่านั้น โดยต้องไม่มีปฏิกิริยา สั่งการ ดูดดึง ผลักต้าน ตอบโต้ใดๆกับปัจจุบันอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นมาให้รู้ตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย

ผู้สังเกตการณ์ ในที่นี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษที่ว่า Observer....ทำหน้าที่เพียงแค่ Observing ปัจจุบันอารมณ์

หลังเสร็จงานสังเกตการณ์ จึงค่อยมารายงานผลสรุปออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือ

กระบวนการศึกษาธรรมชาติของปัจจุบันอารมณ์นั้น จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า "ปัญญา" ที่เป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมา ในจิตของผู้ทำการศึกษา (นักปฏิบัติธรรม)ผู้นั้น

สิ่งที่เป็นสามัญลักษณะ คือ ทุกขัง....ความทนตั้งอยู่ไม่ได้.....อนิจจัง ....ต้องเปลี่ยนแปลง......อนัตตา...บังคับบัญชาอะไรไม่ได้ ไร้แก่นสารตัวตน จะต้องรู้ขึ้นในจิตของผู้ศึกษาทุกคน....นี่เป็นสาระสำคัญของวิปัสสนาภาวนา

งานสำคัญที่จำเป็นต้องอาศัยความตั้งใจจริงโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)คือการที่จะ ...วิเนยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง....เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก อันเป็น หัวใจของสติปัฏฐาน 4 ผูศึกษาและปฏิบัติจะต้องสังเกตให้ดีแต่ไม่ต้องทำอะไรอื่น ไม่ใจร้อน

ตามธรรมแล้วเมื่อ สติ ปัญญา ได้รู้เห็นถึงความเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาของทุกๆปัจจุบันอารมณ์แล้ว ความเบื่อหน่ายคลายจาง ละวาง สลัดคืน สลัดทิ้ง อุปาทาน ความเห็นผิด ยึดผิด ว่ากาย ใจ นี้ เป็นอัตตา ตัวกู ของกู เขาจะเกิดขึ้นมาเองตามธรรม หาใช่ใครไปสั่งไปบอกไปทำให้เป็นได้ไม่

หากมีผู้ไปสั่งไปบอก ไปทำให้เกิดการวางความยินดียินร้ายในโลก การวางนั้นจะปลอม ไม่จริง ไม่ถาวร ไม่เป็นไปตามธรรม

ในประเด็นท้ายนี้จึงไปสัมพันธ์กับที่อโศกะยกอ้างอิงวิปัสสนาของท่านกรัชกายมาวิเคราะห์วิจารณ์...โปรดพิจารณา

เพราะที่ท่านกรัชกายบอกมามันเป็นลักษณะของนักสมถะเจริญวิปัสสนาภาวนา คือต้องมีผู้กำหนด กฏเกณฑ์ บังคับ สั่ง บอก ใช้ ทำให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งผิดธรรม...แต่ก็ถือว่าใช้ได้ เพราะท่านสนักสมถะที่มาเจริญวิปัสสนาภาวนาส่วนใหญ่ท่านจะเข้าถึงธรรมโดยเจโตวิมุติในตอนสุดท้ายเป็นส่วนมาก คือบรรลุธรรมโดยอาศัยฤทธิ์ทางใจมาเสริมสติปัญญา

ลองพิจารณาและวิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัยธรรมกันดูนะครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2014, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:



เข้าใจธรรมก็เข้าใจชีวิต เพราะชีวิตคือธรรม

ทำไมต้องจับเด็กมาฝึกทำกรรมฐานแบบนี้นะ ถ้าจะเลือกกิจกรรมให้เด็ก น้องว่าควรจะให้เด็กฝึกเล่นกีฬา น่าจะดีกว่า และเราสามารถสอนธรรมแทรกเข้าไปได้ในขณะนั้นด้วย ไม่แน่เด็กอาจจะซึมซับสิ่งที่ดีลงไป สอนให้เด็กมีความอดทน มีน้ำใจ มีความเสียสละ รู้แพ้รู้ชนะ รู้จักให้อภัยแก่กัน มีความสามัคคีต่อกัน น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสติปัญญาเด็ก มากกว่ามานั่งทำกรรมฐานแบบนี้ ฟุ้งซ่านน่าเป็นห่วง :b14:


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2014, 20:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:



เข้าใจธรรมก็เข้าใจชีวิต เพราะชีวิตคือธรรม

:b8:
น่าสรรเสริญที่ท่านกรัชกายพยายามจะสรุปเรื่องของธรรมลงใน ชีวิต รู้เรื่องของชีวิตดี ก็รู้ธรรม

ในทางกลับกัน ถ้ารู้เรื่องธรรมดี ก็รู้จัก ชีวิต


แต่ภาพจากยูทูป ที่ยกมา มีข้ดอความกำกับว่า สอนกรรมฐานผิดๆ ถูกร้องขอให้ตรวจสอบ

เป็นความต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอะไร น่าจะอธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ จะได้ไม่ตีความกันไปตามความเห็นของใครของเขา ดังที่น้องคง ได้แสดงความเห็นมานะครับ ท่านกรัชกาย

s006 s006
s004 s004


โพสต์ เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 04:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:

http://www.youtube.com/watch?v=WHWunv_8yKQ


เข้าใจธรรมก็เข้าใจชีวิต เพราะชีวิตคือธรรม


น่าสรรเสริญที่ท่านกรัชกายพยายามจะสรุปเรื่องของธรรมลงใน ชีวิต รู้เรื่องของชีวิตดี ก็รู้ธรรม

ในทางกลับกัน ถ้ารู้เรื่องธรรมดี ก็รู้จัก ชีวิต

แต่ภาพจากยูทูป ที่ยกมา มีข้ดอความกำกับว่า สอนกรรมฐานผิดๆ ถูกร้องขอให้ตรวจสอบ

เป็นความต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอะไร น่าจะอธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ จะได้ไม่ตีความกันไปตามความเห็นของใครของเขา ดังที่น้องคง ได้แสดงความเห็นมานะครับ ท่านกรัชกาย[/color]



สรุปอีกที ธรรมะก็ชีวิต ชีวิต (คน) แต่ละชีวิตๆ ก็ธรรมะ พระพุทธเจ้ารู้ (ตรัสรู้) จักชีวิต (ของพระองค์ก่อน จึงรู้จักชีวิตคนทั้งโลก) หลักใหญ่ๆของธรรมะ,ธรรมดา,ธรรมชาติ เช่น ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท...ที่พวกเราพูดๆกันอยู่ที่นี่ หรือที่อื่นๆ มันรวมอยู่่ที่ชีวิต (ที่คน) นี่ทั้งหมด

นำหลักมาให้พิจารณาก่อน

"ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริเกิดขึ้นว่า ธรรมที่เราไ้ด้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแ่ห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้"

"ก็แหละ หมู่ประชานี้ เป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยอาลัย ยืนดีอยู่ในอาลัย ระเริงอยู่ในอาลัย สำหรับหมู่ประชาผู้เริ่งรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัยเช่นนี้ ฐานะอันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท

"แม้ฐานะอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน

"ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่นไม่เข้าใจซึ่งต่อเรา ข้อนั้น ก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา"

อาลัย = ความผูกพัน ความยึดถือ สิ่งที่ติดเพลิน สภาพพัวพันอิงอาศัย ชีวิตที่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 05:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:



เข้าใจธรรมก็เข้าใจชีวิต เพราะชีวิตคือธรรม

:b8:
น่าสรรเสริญที่ท่านกรัชกายพยายามจะสรุปเรื่องของธรรมลงใน ชีวิต รู้เรื่องของชีวิตดี ก็รู้ธรรม

ในทางกลับกัน ถ้ารู้เรื่องธรรมดี ก็รู้จัก ชีวิต


แต่ภาพจากยูทูป ที่ยกมา มีข้ดอความกำกับว่า สอนกรรมฐานผิดๆ ถูกร้องขอให้ตรวจสอบ

เป็นความต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอะไร น่าจะอธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ จะได้ไม่ตีความกันไปตามความเห็นของใครของเขา ดังที่น้องคง ได้แสดงความเห็นมานะครับ ท่านกรัชกาย




อ้างคำพูด:
แต่ภาพจากยูทูป ที่ยกมา มีข้ดอความกำกับว่า สอนกรรมฐานผิดๆ ถูกร้องขอให้ตรวจสอบ

เป็นความต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอะไร น่าจะอธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ


...ทำกรรมฐานเพื่อให้รู้จักเข้าใจธรรมะหรือชีวิต (ทั้งองคาพยพเนี่ย) แต่ปัจจุบันเราๆท่านๆทำกรรมฐานเพื่ออะไร ?

คุณอโศกทำกรรมฐาน หรือจะเรียกปฏิบัติธรรมหรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่ออะไร เพื่อจุดประสงค์ใดครับ

เมื่อสรุปว่า ธรรมก็ชีวิต ชีวิตก็ธรรมแล้ว ก็มีคำถามให้คิด ว่า (เรา) ใช้ธรรมะ เพื่อค้นธรรมะ ใช่มั้ย ใช้ชีวิตค้นหาชีวิต ใช่มั้ย ใช้ภาษาสมมติว่า ใช้คนค้นหาคน ใช่มั้ย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 7.79 KiB | เปิดดู 3955 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:



เข้าใจธรรมก็เข้าใจชีวิต เพราะชีวิตคือธรรม

:b8:
น่าสรรเสริญที่ท่านกรัชกายพยายามจะสรุปเรื่องของธรรมลงใน ชีวิต รู้เรื่องของชีวิตดี ก็รู้ธรรม

ในทางกลับกัน ถ้ารู้เรื่องธรรมดี ก็รู้จัก ชีวิต


แต่ภาพจากยูทูป ที่ยกมา มีข้ดอความกำกับว่า สอนกรรมฐานผิดๆ ถูกร้องขอให้ตรวจสอบ

เป็นความต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอะไร น่าจะอธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ จะได้ไม่ตีความกันไปตามความเห็นของใครของเขา ดังที่น้องคง ได้แสดงความเห็นมานะครับ ท่านกรัชกาย




อ้างคำพูด:
แต่ภาพจากยูทูป ที่ยกมา มีข้ดอความกำกับว่า สอนกรรมฐานผิดๆ ถูกร้องขอให้ตรวจสอบ

เป็นความต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอะไร น่าจะอธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ


...ทำกรรมฐานเพื่อให้รู้จักเข้าใจธรรมะหรือชีวิต (ทั้งองคาพยพเนี่ย)แต่ปัจจุบันเราๆท่านๆทำกรรมฐานเพื่ออะไร ?

คุณอโศกทำกรรมฐาน หรือจะเรียกปฏิบัติธรรมหรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่ออะไร เพื่อจุดประสงค์ใดครับ

เมื่อสรุปว่า ธรรมก็ชีวิต ชีวิตก็ธรรมแล้ว ก็มีคำถามให้คิด ว่า (เรา) ใช้ธรรมะ เพื่อค้นธรรมะ ใช่มั้ย ใช้ชีวิตค้นหาชีวิต ใช่มั้ย ใช้ภาษาสมมติว่า ใช้คนค้นหาคน ใช่มั้ย :b1:


อโศกพิจารณาตามนะครับ คือ ถ้าให้อุปมาอุปไมยชีวิตก็เหมือนเหรียญ (อันเดียวแต่) มี ๒ ด้าน ด้านหัว กับ ด้านก้อย ฉันใด

ชีวิตก็ฉันนั้น (ชีวิตเดียวแต่) มีสองด้าน ด้านหนึ่งชีวิตสำหรับใช้ปฏิบัติต่อกัน (ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ - รวมทั้งใช้ชีวิตดำเนินอยู่ในแต่ละวันๆ ชีวิตด้านนี้พิสดารได้มากมาย ตามกุศลอกุศลที่มีในจิตใจแต่ละคนๆ ซึ่งเข้มข้นเจือจางต่างๆกัน) ด้านนี้ขอเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (โลกิยธรรม) ที่ต้องใช้ปฏิบัติเพื่อรู้มัชเฌนธรรม

ชีวิตด้านที่สอง ได้แก่ ชีวิตสำหรับรู้เท่าทัน ด้านนี้ยืนเป็นพื้นอยู่ตามธรรมดาของมัน พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่มันก็มีอยู่ทรงอยู่ของมันอย่างนั้น ด้านนี้เรียกว่า มัชเฌนธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นธรรมชาติล้วนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 62  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร