วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2013, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องไตรลักษณ์นี้เห็นถกเถียงกันมาตั้งนานนม ถ้าเปรียบเป็นนวนิยาย
ก็คงประมาณสี่แผ่นดิน ที่ได้ชื่อแบบนี้เป็นเพราะ มันเถียงกันชนิดข้ามภพข้ามชาติหลายสมัย
และผมเองก็เป็นตัวลครตัวหนึ่งในนั้น และที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ...เช่นนั้น

ผมและเช่นนั้นได้สวมบทแม่ค้าปากตลาด เชือดเชือนคารมจนเลือดออกหูซิบๆ
ก็ยังไม่มีใครได้รางวัลตุ๊กตาทอง

นี่ไม่ทันไรมาอีกแล้วครับ ชายหนุ่มผู้มีผมบนศีรษะขาวโพน มาท้าให้ผมไปประลองฝีปาก
ท้าไม่ท้าเปล่ายังตะโกนเหมือนคนสติแตกว่า.....ไตรลักษณ์ๆๆๆๆคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


เมื่อก่อนเท่าที่จำได้ มีคนบอกว่า ไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(รู้สึกจะเป็นคุณวิริยะ)
แต่มีคุณเช่นนั้นออกมาแย้งว่า......ไตรลักษณ์ ไม่ใช่พุทธพจน์ ดังนั้นไตรลักษณ์ จึงไม่ใช่
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตอนนั้นผมมีความเห็นว่า คุณเช่นนั้นพูดถูก แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว
ผมก็เลยออกมาแก้ต่างแทนคุณวิริยะว่า......

ไตรลักษณ์เป็นบัญญัติ ที่ครูบาอาจารย์รุ่นหลังบัญญัติขึ้นใหม่ เมื่อเป็นอย่างนี้
เราก็ต้องไปดูว่า ครูบาอาจารย์ท่านให้นิยาม ไตรลักษณ์ไว้ว่าอย่างไร
เมื่อเรารู้ในคำนิยามแล้ว ก็เอาคำนิยามนั้นไปเทียบกับพุทธพจน์หรือพุทธวจนดู
ถ้ามันมีความหมายตรงกันก็ใช่ได้

นี่เป็นการเกริ่นนำครับ ประเด็นที่เป็นปัญหาแท้ๆ มันอยู่ตรงที่
มีคนเข้าใจผิดครับว่า พระพุทธองค์ทรงบัญญัติว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือไตรลักษณ์
ผมแย้งว่าไม่ใช่ ถ้าเป็นพุทธพจน์แท้ๆ คำว่าไตรลักษณ์ก็คือ...การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ต้องไม่ลืมนะครับว่า ไตรลักษณ์ไม่ใช่พุทธพจน์ เมื่อจะเอามาเทียบเคียงกับพุทธพจน์
สามารถมาเทียบเคียงได้ แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับพุทธพจน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2013, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไตรลักษณ์...ใครหนอใครลิขิต





ถามว่า ใครหนอใครลิขิต? พรหมลิขิตขีตเขียนให้เซียนเดิน :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2013, 12:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณ์ ทักษินไปยิ่งลักษณ์มาไงล่ะโฮฮับและกำลังจะไป:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2013, 12:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ก็คงประมาณสี่แผ่นดิน




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2013, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรามาดูไตรลักษณ์ตามความหมายของครูบาอาจารย์รุ่นหลัง...

ไตรลักษณ์ถ้าจะแปลความให้ตรงตัวก็คือ ลักษณะ๓ประการ
๓ประการที่ว่าก็คือ....

อนิจลักษณะ..........ไม่ใช่อนิจจัง

ทุกขลักษณะ.............ไม่ใช่ทุกข์

อนัตตลักษณะ..........ไม่ใช่อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.........เป็นขันธ์๕หรือสังขาร

ส่วนไตรลักษณ์......เป็นลักษณะของสังขารหรือขันธ์๕



มีคำกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก บอกถึงลักษณะของสังขารหรือสังขตธรรม...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ประการ
๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
*ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

พิจารณาจากพระไตรปิฎกบทนี้ จะเห็นว่ามีกล่าวถึง.....สังขตลักษณะและสังขตธรรม
นั้นก็คือ สังขตลักษณะเป็นอย่างหนึ่ง สังขตธรรมก็อย่างหนึ่ง

สังขตธรรมก็คือ สังขารหรือขันธ์๕
สังขตลักษณะก็คือ ลักษณะของสังขาร

ความหมายในพระไตรปิฎก ความเกิด ความเสื่อม แปรป่วนน่าจะหมายถึง....
การเกิด ตั้งอยู่ ดับไป

รวมความคำนิยามของไตรลักษณ์ เป็น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ใกล้เคียงกับพุทธวจนที่สุด
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2013, 14:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนิจจาทิงเจอร์



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เรามาดูไตรลักษณ์ตามความหมายของครูบาอาจารย์รุ่นหลัง...

ไตรลักษณ์ถ้าจะแปลความให้ตรงตัวก็คือ ลักษณะ๓ประการ
๓ประการที่ว่าก็คือ....

อนิจลักษณะ..........ไม่ใช่อนิจจัง

ทุกขลักษณะ.............ไม่ใช่ทุกข์

อนัตตลักษณะ..........ไม่ใช่อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.........เป็นขันธ์๕หรือสังขาร

ส่วนไตรลักษณ์......เป็นลักษณะของสังขารหรือขันธ์๕



มีคำกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก บอกถึงลักษณะของสังขารหรือสังขตธรรม...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ประการ
๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
*ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

พิจารณาจากพระไตรปิฎกบทนี้ จะเห็นว่ามีกล่าวถึง.....สังขตลักษณะและสังขตธรรม
นั้นก็คือ สังขตลักษณะเป็นอย่างหนึ่ง สังขตธรรมก็อย่างหนึ่ง

สังขตธรรมก็คือ สังขารหรือขันธ์๕
สังขตลักษณะก็คือ ลักษณะของสังขาร

ความหมายในพระไตรปิฎก ความเกิด ความเสื่อม แปรป่วนน่าจะหมายถึง....
การเกิด ตั้งอยู่ ดับไป

[b]รวมความคำนิยามของไตรลักษณ์ เป็น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ใกล้เคียงกับพุทธวจนที่สุด


ก็ เกิดขึ้น (อุปาทะ) ฐีติ (ตั้งอยู่) ดับไป (ภังคะ) นั่นแหละเรียกว่า ลักษณะสามอย่าง ที่่พูดกันว่าไตรลักษณ์ หรืออนิจจลักษณะ ทุำกขลักษณะ อนัตตลักษณะ (ถ้าไปเห็นที่เขียนอนิจจลักขณะ ทุำกขลักขณะ อนัตตลักขณะ ก็ไม่ต้องงง ความหมายเดียวกัน)

ถ้ารู้รอบคอบกว้างสักนิดหนุง ก็ไม่ขัดกันเลย แล้วก็จะไม่ขัดแย้งในตัวเอง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังก้าวไปไม่ถึงจุดนั้น พูดไปก็เท่านั้น จึงสนันสนุนเรืื่องทำนองที่คุณ รสมน นำมาเหมือนพอไปกันได้ กับมนุษย์ยุคปัจจุบัน พื้นๆพอเห็นได้ด้วยตา ได้ยินด้วยหู ฯลฯ พอรู้ได้ด้วยใจ เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ถวายสังฆทาน ทำบุญเลี้ยงพระ ตักบาตรพระเณรตอนเช้าๆ สร้างกำแพงวัด กำแพงโบสถ์ ฯลฯ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลายคนยังเข้าใจผิดว่า ไตรลักษณ์หมายถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แต่แท้ที่จริงแล้ว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.....เป็นเพียงบัญญัติ ที่พระพุทธองค์ทรงนิยามขึ้น
เพื่อใช้แทน....สังขารและลักษณะของสังขารนั้นเอง

ที่กล่าวมาเป็นเพื่อให้รู้ว่า....อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป็นเพียงนิยามหรือบัญญัติหาใช่สภาวธรรมไม่

สภาวธรรมที่แท้จริงคือ สังขารและลักษณะของสังขาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ยังก้าวไปไม่ถึงจุดนั้น พูดไปก็เท่านั้น จึงสนันสนุนเรืื่องทำนองที่คุณ รสมน นำมาเหมือนพอไปกันได้ กับมนุษย์ยุคปัจจุบัน พื้นๆพอเห็นได้ด้วยตา ได้ยินด้วยหู ฯลฯ พอรู้ได้ด้วยใจ เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ถวายสังฆทาน ทำบุญเลี้ยงพระ ตักบาตรพระเณรตอนเช้าๆ สร้างกำแพงวัด กำแพงโบสถ์ ฯลฯ :b1:



เสริมอีกหน่อย :b1: มีศีล 5 (ปัญจศีล) ที่เข้าใจถูกต้องตรงตามของเดิมของเขา แล้วก็ทำมาหากินกันไป เท่านี้ก็พอที่จะให้สังคมมนุษย์อยู่สงบสุขได้ :b14: :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ไตรลักษณ์ ที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
เป็นการใช้คำสื่อสาร ในคำสอนเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้

ที่มาของคำว่า ไตรลักษณ์ จึงมีเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้


ส่วนคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งแนวทางไว้ให้ เกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป็นการฝึก ไม่นำความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น (ดับผัสสะ)

คำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงมีหลากหลายวิธีการ ที่เป็นอุบายในการดับผัสสะที่เกิดขึ้น


เมื่อผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ให้พิจรณาว่า



ฉันทสูตรที่ ๔

[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในรูปนั้นเสีย
เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง
เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐


ราคสูตรที่ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่ง
นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลายรูปไม่เที่ยง เธอ
ทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่
เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่
ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความ
รักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๑



ฉันทราคสูตรที่ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ
ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย
เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์
ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่ง
นั้นเสีย ฯ


พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป
เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี




เมื่อไม่สร้างเหตุออกไป ตามรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เหตุจาก ผัสสะเป็นเหตุปัจจัย

สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย




ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕
อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม
รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.





เมื่อหยุดสร้างเหตุนอกตัวเนืองๆ ความเบื่อหน่าย ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย



ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ;

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ;

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว,
ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.



เมื่อความเบื่อหน่าย เกิดขึ้นเนืองๆ
สภาวะเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง



ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.


ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.


ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,

เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;


ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.


ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,

ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๒/๘๖.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 13:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ดับขันธ์ในฌาณ.jpg
ดับขันธ์ในฌาณ.jpg [ 51.46 KiB | เปิดดู 5696 ครั้ง ]
โฮฮับ เขียน:
เรื่องไตรลักษณ์นี้เห็นถกเถียงกันมาตั้งนานนม ถ้าเปรียบเป็นนวนิยาย
ก็คงประมาณสี่แผ่นดิน ที่ได้ชื่อแบบนี้เป็นเพราะ มันเถียงกันชนิดข้ามภพข้ามชาติหลายสมัย
และผมเองก็เป็นตัวลครตัวหนึ่งในนั้น และที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ...เช่นนั้น

ผมและเช่นนั้นได้สวมบทแม่ค้าปากตลาด เชือดเชือนคารมจนเลือดออกหูซิบๆ
ก็ยังไม่มีใครได้รางวัลตุ๊กตาทอง

นี่ไม่ทันไรมาอีกแล้วครับ ชายหนุ่มผู้มีผมบนศีรษะขาวโพน มาท้าให้ผมไปประลองฝีปาก
ท้าไม่ท้าเปล่ายังตะโกนเหมือนคนสติแตกว่า.....ไตรลักษณ์ๆๆๆๆคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


เมื่อก่อนเท่าที่จำได้ มีคนบอกว่า ไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(รู้สึกจะเป็นคุณวิริยะ)
แต่มีคุณเช่นนั้นออกมาแย้งว่า......ไตรลักษณ์ ไม่ใช่พุทธพจน์ ดังนั้นไตรลักษณ์ จึงไม่ใช่
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตอนนั้นผมมีความเห็นว่า คุณเช่นนั้นพูดถูก แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว
ผมก็เลยออกมาแก้ต่างแทนคุณวิริยะว่า......

ไตรลักษณ์เป็นบัญญัติ ที่ครูบาอาจารย์รุ่นหลังบัญญัติขึ้นใหม่ เมื่อเป็นอย่างนี้
เราก็ต้องไปดูว่า ครูบาอาจารย์ท่านให้นิยาม ไตรลักษณ์ไว้ว่าอย่างไร
เมื่อเรารู้ในคำนิยามแล้ว ก็เอาคำนิยามนั้นไปเทียบกับพุทธพจน์หรือพุทธวจนดู
ถ้ามันมีความหมายตรงกันก็ใช่ได้

นี่เป็นการเกริ่นนำครับ ประเด็นที่เป็นปัญหาแท้ๆ มันอยู่ตรงที่
มีคนเข้าใจผิดครับว่า พระพุทธองค์ทรงบัญญัติว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือไตรลักษณ์
ผมแย้งว่าไม่ใช่ ถ้าเป็นพุทธพจน์แท้ๆ คำว่าไตรลักษณ์ก็คือ...การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ต้องไม่ลืมนะครับว่า ไตรลักษณ์ไม่ใช่พุทธพจน์ เมื่อจะเอามาเทียบเคียงกับพุทธพจน์
สามารถมาเทียบเคียงได้ แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับพุทธพจน์

Onion_L
โฮฮับกำลังจะทำบาปหนัก เอาบัญญัติมามั่ว ทำให้คนสับสนแล้ว ด้วยความสำคัญผิด รู้ผิด เห็นผิด

เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่เป็นพุทธบัญญัติแน่ๆ ไปดูหลักฐานได้ง่ายๆจาก ติลักขณคาถา

ติลักขณาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ติลักขะณาคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงพระไตรลักษณ์เป็นเบื้องต้นเถิด

สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
:b8:
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

อัปปะกา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย, ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก
อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ
หมู่มนุษย์นอกนั้นย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง
เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน
ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่ตรัสรู้ไว้ชอบแล้ว
เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง
ชนเหล่าใดจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน, ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราชที่ข้ามได้ยากนัก

กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต
จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย, แล้วเจริญธรรมขาว
โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง,
ตัต๎ราภิระติมิจเฉยยะ หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ, จากที่มีน้ำ, จงละกามเสีย, เป็นผู้ไม่มีความกังวล,
จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพาน, อันเป็นที่สงัดซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก

:b27:

แต่ คำว่า "ไตรลักษณ์" นี้เป็นบัญญัติที่เกิดขึ้นทีหลังนั้นถูกต้องแล้ว เพราะท่านพระพุทธโกศาจารย์มีเมตตาแจกแจงธรรมให้ง่ายขึ้นต่อการเข้าใจ มีราายละเอียดมากขึ้น ขยายความจากที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
เพราะความสำคัญผิดคิดว่า สามัญลักษณะ คือลักษณะ 3 นี้ไม่มีกล่าวไว้ในพุทธพจน์เนื่องจากติดใจในคำว่า "ไตรลักษณ์" ที่มีครูบาอาจารย์รุ่นใหม่หลายท่านที่ยึดพระไตรปิฏกกล่าวว่า "ไตรลักษณ์ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า"....โดยท่านอาจจะลืมพิจารณาไปว่า เนื้อหาของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเป็นสาระคำสอนของพระพุทธองค์"

โฮฮับเลยมามั่วนิ่มบิดเบือนธรรมด้วยความเข้าใจเอาเองโดยอัตตาโนมัย ว่า ไตรลักษณ์ หรือลักษณะ 3 คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่แหละมั่วและบิดเบือนธรรมตัวจริง


บัณฑิต ย่อมทำยากให้เป็นง่าย ทำมากให้เป็นน้อย ทำอ้อมโค้งให้ลัดสั้น
ของมันเข้าใจได้ง่ายๆอยู่แล้วแต่ไปทำให้มันยืดยาว ยุ่งยาก สับสน เรียกว่าพาลชน


ทำให้อริยมรรคมีองค์ 8 ยากแล้วยังไม่พอ ยังจะมาทำให้ "ไตรลักษณ์" ซึ่งเป็นบัญญัติที่เข้าใจง่าย ใช้กันอยู่แล้วโดยสากลในหมู่ชาวพุทธมาเป็นของยากสับสน ด้วยความรู้ผิด เห็นผิด บาปหนักนะโฮฮับ ระวังให้ดี
Onion_L
onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
แต่ คำว่า "ไตรลักษณ์" นี้เป็นบัญญัติที่เกิดขึ้นทีหลังนั้นถูกต้องแล้ว เพราะท่านพระพุทธโกศาจารย์มีเมตตาแจกแจงธรรมให้ง่ายขึ้นต่อการเข้าใจ มีราายละเอียดมากขึ้น ขยายความจากที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
เพราะความสำคัญผิดคิดว่า สามัญลักษณะ คือลักษณะ 3 นี้ไม่มีกล่าวไว้ในพุทธพจน์เนื่องจากติดใจในคำว่า "ไตรลักษณ์" ที่มีครูบาอาจารย์รุ่นใหม่หลายท่านที่ยึดพระไตรปิฏกกล่าวว่า "ไตรลักษณ์ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า"....โดยท่านอาจจะลืมพิจารณาไปว่า เนื้อหาของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเป็นสาระคำสอนของพระพุทธองค์"


สงสัยนั่งงีบในถ้ำมากไป จึงไม่มีสมาธิที่จะอ่านความเห็นชาวบ้าน
อีกทั้งยังขาดปัญญา จึงไม่สามารถพิจารณาธรรม ในหลักของ ธัมมวิจยะได้

วันๆก็นั่งฝันกลางวันว่า....ตนกำลังปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘
กะอีแค่วิปัสสนาญานยังไม่รู้เรื่อง เอาเรื่อง สังขารุเปกขาญานมาโม้ซะเนิ่นนาน
ที่ไหนได้หลงหัวทิ่มหัวต่ำ.....ดันคิดไปได้ว่า...สังขารุเปกขาคือ อริยมรรคมีองค์๘ :b32:

โสกะแค่ภาษาธรรมดาทางโลก โสกะยังไม่เข้าใจ นี่ดันเชิดหน้าชูคอบอก...
เนื้อหาไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เนื้อหาของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีกล่าวไว้ตามพุทธพจน์แท้ๆก็คือ....ธรรมฐิติ
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมฐิติ คือทรงตรัสรู้ธรรมชาติ นั้นก็คือการตั้งอยู่ของธรรม
สังขารก็เป็นธรรมหนึ่งในธรรมฐิติ.......เป็นแบบนี้พระพุทธองค์จึงให้คำนิยามหรือเรียกว่า..
ธรรมนิยามของธรรมฐิตินั้น.........
สัพเพสังขารา อนิจจัง
สัพเพสังขารา ทุกขัง
สัพเพธัมมา อนัตตา


จากพุทธพจน์....ธรรมฐิติ คือ สังขาร
นิยามคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

นิยามเป็นคำจำกัดความ เป็นบัญญัติเฉพาะ เหตุนี้เราจึงไปหาที่มาของคำนิยามหรือคำจำกัดความ
นั้นก็คือ ไปหาสิ่งที่เป็นสภาวธรรมของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สภาวธรรมของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยความเป็นอริยชนของครูบาอาจารย์
ท่านเข้าใจถึงสภาวะดังกล่าว จึงได้บัญญัติ คำที่เป็นสภาวะของธรรมเหล่านั้นขึ้นว่า..ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ก็คือสภาวธรรมที่ทำให้เกิด...สภาพธรรม๓อย่าง
สภาพธรรมที่ว่าไม่ใช่สภาวธรรม แต่เป็นความจำได้หมายรู้ในสิ่งที่เป็นบัญญัติ

สภาวธรรมเป็นปัจจัตตังเราต้องไปดูไปรู้เอง แต่สภาพธรรมหรือบัญญัติ
เราอาศัยจากสุตตะความจำ นั้นก็คือคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

แล้วอะไรเป็นสภาวธรรมแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สภาวธรรมที่ว่าก็คือ .. เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

โฮฮับเลยมามั่วนิ่มบิดเบือนธรรมด้วยความเข้าใจเอาเองโดยอัตตาโนมัย ว่า ไตรลักษณ์ หรือลักษณะ 3 คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่แหละมั่วและบิดเบือนธรรมตัวจริง [/b][/color]


ถึงว่าคนไม่ฉลาด อ่านหนังสือได้ไม่เกิน๓บรรทัด ผมบอกที่ไหนว่า
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือไตรลักษณ์ กลับไปอ่านใหม่

ผมบอกว่า ไตรลักษณ์คือลักษณะ๓อย่าง นั้นคือ...
อนิจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ...เป็นสังขตลักษณะของสังขตธรรม

โสกะนี่มันยังไงน่ะ ชอบด่าชาวบ้านลอยๆ
พอขอหลักฐาน.....ก็ลื่นไถลเป็นปลาไหลเลื้อยลงรู :b32:


asoka เขียน:
บัณฑิต ย่อมทำยากให้เป็นง่าย ทำมากให้เป็นน้อย ทำอ้อมโค้งให้ลัดสั้น
ของมันเข้าใจได้ง่ายๆอยู่แล้วแต่ไปทำให้มันยืดยาว ยุ่งยาก สับสน เรียกว่าพาลชน


ผิดแล้วครับ การทำยากให้เป็นง่าย ไม่มีในหลักของปฏิสัมปทา
การทำเรื่องยากให้ง่าย มันเป็นพวกมักง่ายครับ ทางธรรมเข้าเรียกพวกเดียรถีย์
บัณฑิตในพุทธศานา ไม่มียากไม่มีง่าย มีแต่ปฏิบัติไปตามความเป็นจริง
และคนที่อ้างบัณฑิตโดยที่ตัวเป็นแค่โมฆะบุรุษ ท่านเรียกพวกนี้ว่า พวกอันธพาลครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ทำให้อริยมรรคมีองค์ 8 ยากแล้วยังไม่พอ ยังจะมาทำให้ "ไตรลักษณ์" ซึ่งเป็นบัญญัติที่เข้าใจง่าย ใช้กันอยู่แล้วโดยสากลในหมู่ชาวพุทธมาเป็นของยากสับสน ด้วยความรู้ผิด เห็นผิด บาปหนักนะโฮฮับ ระวังให้ดี


เข้าใจง่ายกับมักง่าย มันไม่เหมือนกันน่ะโสกะ

กัลยาณมิตรมาเตือนว่า จะได้มาซึ่งอริยมรรคมีองค์๘ บุคคลนั้นจะต้องมีปัญญา
และปฏิบัติให้ได้มาซึ่งความเป็นอริยชนเสียก่อน คนมักง่ายมักจะไม่ฟัง
ชอบที่จะตะบี้บันเถียงด้วยวจีทุจริต ไร้ซึ่งวุฒิภาวะ

โสกะถามหน่อย วิปัสสนาญานกับอริยมรรคมีองค์๘
เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ไหนลองบอกมาหน่อยซิ :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร