วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 02:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12:
ยกกระทู้เก่า......เก๋ามาคุยกันใหม่
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 10:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ความหายไปแห่งตัวกู ของกู กระจ่างแจ้งที่ ความคิดคำนึง
หรือ ที่ภาวะรู้ชัดที่ สุญญตา

การเข้าถึงความไม่มีตัวกู ของกู ที่ทั้งสองสภาวะ เป็นไปอย่างไร
ผลที่ปรากฎหลังจากที่เข้าไปรู้ ต่างกันอย่างไร

:b1:

:b20:
ความหายไปแห่งตัวกู ของกู ชัดแจ้งตรงที่ ใจรู้ ...เหมือนความรู้รสเค็มเกลือ อันไม่สามารถบรรยายให้รู้ได้ด้วยภาสาของมนุษย์

ความเข้าถึงสภาหมดกูที่รู้สึกได้เด่นชัดคือ กลวง โล่ง เปล่า เบา เป็นสูญ หากูที่คอยตอบโต้ไม่เจอ

ผลปรากฎตามหลังคือ เบา สุข เย็น ภาระหรือนำ้หนักทีแบกมานานแสนนาน ลดลงไสัก 25 %
:b11: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 11:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
eragon_joe เขียน:
ความหายไปแห่งตัวกู ของกู กระจ่างแจ้งที่ ความคิดคำนึง
หรือ ที่ภาวะรู้ชัดที่ สุญญตา

การเข้าถึงความไม่มีตัวกู ของกู ที่ทั้งสองสภาวะ เป็นไปอย่างไร
ผลที่ปรากฎหลังจากที่เข้าไปรู้ ต่างกันอย่างไร

:b1:

:b20:
ความหายไปแห่งตัวกู ของกู ชัดแจ้งตรงที่ ใจรู้ ...เหมือนความรู้รสเค็มเกลือ อันไม่สามารถบรรยายให้รู้ได้ด้วยภาสาของมนุษย์

ความเข้าถึงสภาหมดกูที่รู้สึกได้เด่นชัดคือ กลวง โล่ง เปล่า เบา เป็นสูญ หากูที่คอยตอบโต้ไม่เจอ

ผลปรากฎตามหลังคือ เบา สุข เย็น ภาระหรือนำ้หนักทีแบกมานานแสนนาน ลดลงไสัก 25 %
:b11: :b27:


:b1:

มีสภาวะหนึ่ง ... ที่เอกอนเคยเล่า
แต่เอกอนใช้ชื่ออื่น ... เข้ามาเล่า ... :b32: :b32: :b32:

การที่ใครสักคนจะดำรงจิตที่ สุญญตา ได้
เขาต้องเห็น สภาวะหนึ่ง ... ที่แม้ ประภัสสร ก็ว่างเปล่า ...

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 17:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:
eragon_joe เขียน:
ความหายไปแห่งตัวกู ของกู กระจ่างแจ้งที่ ความคิดคำนึง
หรือ ที่ภาวะรู้ชัดที่ สุญญตา

การเข้าถึงความไม่มีตัวกู ของกู ที่ทั้งสองสภาวะ เป็นไปอย่างไร
ผลที่ปรากฎหลังจากที่เข้าไปรู้ ต่างกันอย่างไร

:b1:

:b20:
ความหายไปแห่งตัวกู ของกู ชัดแจ้งตรงที่ ใจรู้ ...เหมือนความรู้รสเค็มเกลือ อันไม่สามารถบรรยายให้รู้ได้ด้วยภาสาของมนุษย์

ความเข้าถึงสภาหมดกูที่รู้สึกได้เด่นชัดคือ กลวง โล่ง เปล่า เบา เป็นสูญ หากูที่คอยตอบโต้ไม่เจอ

ผลปรากฎตามหลังคือ เบา สุข เย็น ภาระหรือนำ้หนักทีแบกมานานแสนนาน ลดลงไสัก 25 %
:b11: :b27:


:b1:

มีสภาวะหนึ่ง ... ที่เอกอนเคยเล่า
แต่เอกอนใช้ชื่ออื่น ... เข้ามาเล่า ... :b32: :b32: :b32:

การที่ใครสักคนจะดำรงจิตที่ สุญญตา ได้
เขาต้องเห็น สภาวะหนึ่ง ... ที่แม้ ประภัสสร ก็ว่างเปล่า ...

:b1: :b1: :b1:

:b27:
สภาวที่ว่านั้นเราควรจะใช้ีว่า..."เห็น"......หรือ....."ถึง"...ดีครับ คุณเอก้อน

เห็น นี่อาจจะอยู่ไกลๆเห็นได้

แต่ ถึงนี่ มันเข้าไป จับ อุ้ม ลูบ คลำ สัมผัสได้ ด้วยตนเองจริงๆ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 20:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็น ... ธรรมเครื่องตระหนักรู้ ...
อันว่าด้วย ... สิ่งหนึ่ง ที่อาศัยสิ่งหนึ่งปรากฎ และ สิ่งอื่น ๆ ที่อาศัย ๆ กันปรากฎเรื่อยมา
เมื่อเข้าไปเห็น ... โครงสร้างการอิงอาศัยก็ถูกทำลายลง
เมื่อเห็นโครงสร้างที่ถูกทำลายลง มันก็เห็น ธรรมที่มีสภาวะที่เป็นอิสระจากกัน
เพียงแต่อาศัยกันเกิดเพียงชั่วครั้ง ...

ส่วน ถึง ... ถ้ามันเป็นอิสระจากกัน ...
มันก็ไม่มีอะไร จะถึงอะไร
แต่เมื่ออิงอาศัยกัน มันถึงไปหมดเรย จะขึ้นเขาลงห้วย มันก็พากันไปมาแล้วทั้งนั้นล่ะ
แม้กระทั่งพากันกลับมาบ้าน พักผ่อน และออกเดินทางต่อ ...

ดังนั้น จะเห็น หรือ จะถึง ล่ะ

Quote Tipitaka:
[๖๑] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพากันมา
จับกลุ่ม ครั้นแล้วต่างก็มาปรับทุกข์กันว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ เกิดมีธรรม
ทั้งหลายอันเลวทรามปรากฏขึ้นในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่า เมื่อก่อนพวกเราได้
เป็นผู้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้
ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในวิมานนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน บาง
ครั้งบางคราวโดยระยะยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยขึ้นบนน้ำ ทั่วไปแก่เราทุกคน
ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามปั้นง้วนดินกระทำให้เป็น
คำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภค เมื่อพวกเราทุกคน พยายามปั้นง้วนดินกระ
ทำให้เป็นคำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภคอยู่ รัศมีกายก็หายไป
เมื่อรัศมีกาย
หายไปแล้ว ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น
แล้ว ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้ว
กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏขึ้น เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏขึ้นแล้ว เดือน
หนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและ
ปีก็ปรากฏ พวกเราทุกคนบริโภคง้วนดินอยู่ รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็น
อาหารดำรงชีพอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏ
ขึ้นแก่พวกเรา ง้วนดินจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว จึงมีกระบิดินปรากฏขึ้น


ความหายไปแห่งตัวกู ของกู
หายไปตรงไหน...
ดับสนิท ตรงไหน อย่างไร

พระพุทธองค์สอนถึงขนาดนี้
ท่านวางความยึดมั่นในอะไรต่อมิอะไรไปถึงไหน...

...แม้นิพพาน ก็ไม่ให้ยึด...

:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 21:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เห็น ... ธรรมเครื่องตระหนักรู้ ...
อันว่าด้วย ... สิ่งหนึ่ง ที่อาศัยสิ่งหนึ่งปรากฎ และ สิ่งอื่น ๆ ที่อาศัย ๆ กันปรากฎเรื่อยมา
เมื่อเข้าไปเห็น ... โครงสร้างการอิงอาศัยก็ถูกทำลายลง
เมื่อเห็นโครงสร้างที่ถูกทำลายลง มันก็เห็น ธรรมที่มีสภาวะที่เป็นอิสระจากกัน
เพียงแต่อาศัยกันเกิดเพียงชั่วครั้ง ...

ส่วน ถึง ... ถ้ามันเป็นอิสระจากกัน ...
มันก็ไม่มีอะไร จะถึงอะไร
แต่เมื่ออิงอาศัยกัน มันถึงไปหมดเรย จะขึ้นเขาลงห้วย มันก็พากันไปมาแล้วทั้งนั้นล่ะ
แม้กระทั่งพากันกลับมาบ้าน พักผ่อน และออกเดินทางต่อ ...

ดังนั้น จะเห็น หรือ จะถึง ล่ะ

Quote Tipitaka:
[๖๑] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพากันมา
จับกลุ่ม ครั้นแล้วต่างก็มาปรับทุกข์กันว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ เกิดมีธรรม
ทั้งหลายอันเลวทรามปรากฏขึ้นในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่า เมื่อก่อนพวกเราได้
เป็นผู้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้
ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในวิมานนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน บาง
ครั้งบางคราวโดยระยะยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยขึ้นบนน้ำ ทั่วไปแก่เราทุกคน
ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามปั้นง้วนดินกระทำให้เป็น
คำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภค เมื่อพวกเราทุกคน พยายามปั้นง้วนดินกระ
ทำให้เป็นคำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภคอยู่ รัศมีกายก็หายไป
เมื่อรัศมีกาย
หายไปแล้ว ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น
แล้ว ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้ว
กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏขึ้น เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏขึ้นแล้ว เดือน
หนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและ
ปีก็ปรากฏ พวกเราทุกคนบริโภคง้วนดินอยู่ รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็น
อาหารดำรงชีพอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏ
ขึ้นแก่พวกเรา ง้วนดินจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว จึงมีกระบิดินปรากฏขึ้น


ความหายไปแห่งตัวกู ของกู
หายไปตรงไหน...
ดับสนิท ตรงไหน อย่างไร

พระพุทธองค์สอนถึงขนาดนี้
ท่านวางความยึดมั่นในอะไรต่อมิอะไรไปถึงไหน...

...แม้นิพพาน ก็ไม่ให้ยึด...

:b55: :b55: :b55:

:b12:
คิดกันคนละแง่ มองกันคนละมุม

คนไปเที่ยวเชียงใหม่ มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพแต่ไกล แล้วตะโกนออกมาด้วยความภูมิใจว่า "โอ้!....ฉันเห็นแล้ว ฉันหมดสงสัยแล้วในเรื่องพระธาตุดอยสุเทพ"

กับอีกท่านหนึ่งที่ต่อรถสี่ล้อแดงขึ้นไปถึงเชิงพระธาตุดอยสุเทพ ขึ้นบันไดนาค ไปจนถึงและได้กราบองค์พระธาตุดอยสุเทพอย่างใกล้ชิด ได้เดินเที่ยวชมทั้งลานภายนอกภายในจนทั่วแล้วก็จึงตะโกนออกมาด้วยความภาคภูมิใจว่า

"โอ้!.....ฉันได้ถึงแล้ว หมดสงสัยแล้วในพระธาตุดอยสุเทพ จะกลับไปเล่าให้ใครต่อใครฟังได้อย่างเต็มคำ ชี้บอกทางไปพระธาตุดอยสุเทพได้อย่างไม่มีอะไรตะขิดตะขวางใจแล้ว

ลองพิจารณาและเปรียบเทียบคนสองคนนี้ดูซิว่าจะต่างกันอย่างไร
:b11: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เห็น ... ธรรมเครื่องตระหนักรู้ ...
อันว่าด้วย ... สิ่งหนึ่ง ที่อาศัยสิ่งหนึ่งปรากฎ และ สิ่งอื่น ๆ ที่อาศัย ๆ กันปรากฎเรื่อยมา
เมื่อเข้าไปเห็น ... โครงสร้างการอิงอาศัยก็ถูกทำลายลง
เมื่อเห็นโครงสร้างที่ถูกทำลายลง มันก็เห็น ธรรมที่มีสภาวะที่เป็นอิสระจากกัน
เพียงแต่อาศัยกันเกิดเพียงชั่วครั้ง ...

ส่วน ถึง ... ถ้ามันเป็นอิสระจากกัน ...
มันก็ไม่มีอะไร จะถึงอะไร
แต่เมื่ออิงอาศัยกัน มันถึงไปหมดเรย จะขึ้นเขาลงห้วย มันก็พากันไปมาแล้วทั้งนั้นล่ะ
แม้กระทั่งพากันกลับมาบ้าน พักผ่อน และออกเดินทางต่อ ...

ดังนั้น จะเห็น หรือ จะถึง ล่ะ

Quote Tipitaka:
[๖๑] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพากันมา
จับกลุ่ม ครั้นแล้วต่างก็มาปรับทุกข์กันว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ เกิดมีธรรม
ทั้งหลายอันเลวทรามปรากฏขึ้นในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่า เมื่อก่อนพวกเราได้
เป็นผู้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้
ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในวิมานนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน บาง
ครั้งบางคราวโดยระยะยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยขึ้นบนน้ำ ทั่วไปแก่เราทุกคน
ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามปั้นง้วนดินกระทำให้เป็น
คำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภค เมื่อพวกเราทุกคน พยายามปั้นง้วนดินกระ
ทำให้เป็นคำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภคอยู่ รัศมีกายก็หายไป
เมื่อรัศมีกาย
หายไปแล้ว ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น
แล้ว ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้ว
กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏขึ้น เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏขึ้นแล้ว เดือน
หนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและ
ปีก็ปรากฏ พวกเราทุกคนบริโภคง้วนดินอยู่ รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็น
อาหารดำรงชีพอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏ
ขึ้นแก่พวกเรา ง้วนดินจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว จึงมีกระบิดินปรากฏขึ้น


ความหายไปแห่งตัวกู ของกู
หายไปตรงไหน...
ดับสนิท ตรงไหน อย่างไร

พระพุทธองค์สอนถึงขนาดนี้
ท่านวางความยึดมั่นในอะไรต่อมิอะไรไปถึงไหน...

...แม้นิพพาน ก็ไม่ให้ยึด...

:b55: :b55: :b55:

:b12:
คิดกันคนละแง่ มองกันคนละมุม

คนไปเที่ยวเชียงใหม่ มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพแต่ไกล แล้วตะโกนออกมาด้วยความภูมิใจว่า "โอ้!....ฉันเห็นแล้ว ฉันหมดสงสัยแล้วในเรื่องพระธาตุดอยสุเทพ"

กับอีกท่านหนึ่งที่ต่อรถสี่ล้อแดงขึ้นไปถึงเชิงพระธาตุดอยสุเทพ ขึ้นบันไดนาค ไปจนถึงและได้กราบองค์พระธาตุดอยสุเทพอย่างใกล้ชิด ได้เดินเที่ยวชมทั้งลานภายนอกภายในจนทั่วแล้วก็จึงตะโกนออกมาด้วยความภาคภูมิใจว่า

"โอ้!.....ฉันได้ถึงแล้ว หมดสงสัยแล้วในพระธาตุดอยสุเทพ จะกลับไปเล่าให้ใครต่อใครฟังได้อย่างเต็มคำ ชี้บอกทางไปพระธาตุดอยสุเทพได้อย่างไม่มีอะไรตะขิดตะขวางใจแล้ว

ลองพิจารณาและเปรียบเทียบคนสองคนนี้ดูซิว่าจะต่างกันอย่างไร
:b11: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 01:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

:b12:
คิดกันคนละแง่ มองกันคนละมุม
คนไปเที่ยวเชียงใหม่ มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพแต่ไกล แล้วตะโกนออกมาด้วยความภูมิใจว่า "โอ้!....ฉันเห็นแล้ว ฉันหมดสงสัยแล้วในเรื่องพระธาตุดอยสุเทพ"

กับอีกท่านหนึ่งที่ต่อรถสี่ล้อแดงขึ้นไปถึงเชิงพระธาตุดอยสุเทพ ขึ้นบันไดนาค ไปจนถึงและได้กราบองค์พระธาตุดอยสุเทพอย่างใกล้ชิด ได้เดินเที่ยวชมทั้งลานภายนอกภายในจนทั่วแล้วก็จึงตะโกนออกมาด้วยความภาคภูมิใจว่า

"โอ้!.....ฉันได้ถึงแล้ว หมดสงสัยแล้วในพระธาตุดอยสุเทพ จะกลับไปเล่าให้ใครต่อใครฟังได้อย่างเต็มคำ ชี้บอกทางไปพระธาตุดอยสุเทพได้อย่างไม่มีอะไรตะขิดตะขวางใจแล้ว

ลองพิจารณาและเปรียบเทียบคนสองคนนี้ดูซิว่าจะต่างกันอย่างไร
:b11: :b8:


ก็เห็นไปกันหลายคน ก็กลับมาเล่าอย่างที่ท่านอโศกะเล่านั่นล่ะ
ก็ไม่เห็นมีใครพูดถึงลักษณะของหลังคาพระธาตุ...ยอดเจดีย์พระธาตุเรยสักคน
ว่ามันมีสภาพเป็นไง ก่อสร้างลักษณะไหน ใช้วัสดุอะไร มีรางน้ำฝนมั๊ย ลักษณะอย่างไร
มีการชำรุดแตกหักไปอย่างไรหรือไม่ มีนกมาเกาะ มีรังนก มีขี้นกหรือไม่
มีฝุ่นจับหนามั๊ย มีรอยเท้าแมวมั๊ย ... :b32:

:b1:

บอกตรง ๆ ว่าคำตอบนี้เป็นสิ่งที่เอกอนพิจารณาตอนที่ไปพระธาตุดอยสุเทพ
เมื่อสิบกว่าปีก่อน...
ตอนที่นั่งอยู่ตรงระเบียงแล้วมองขึ้นไปบนยอดเจดีย์...
และ...สุดท้ายก็นั่งรถลงมา...
เอกอนจำอะไรเกี่ยวกับพระธาตุดอยสุเทพไม่ได้...เพราะไม่ได้สนใจ
แต่เอกอนจำสิ่งที่พิจารณานี้อยู่ในใจได้...
มันคือความจริงที่สะท้อนอยู่ในใจ...
กับการศึกษาปฏิบัติธรรม ในการแสวงหาความสุข เอกอนไม่เคยไปถึงจุดที่สูงที่สุด
ปฏิบัติไปมันก็เจอแต่สุงยิ่งขึ้น สุขยิ่งขึ้น เหมือนเดินทางขึ้นเขา มันก็จะเจอท้องฟ้าที่สูงขึ้นไปอีก
แม้แต่เหนือขึ้นไปบนฟ้า มันก็ยังมีฟ้าที่เหนือกว่า
ก็เหมือนกับที่เอกอนไปถึงพระธาตุดอยสุเทพ...ก็ปีนไปสำรวจยอดเจดีย์ไม่ได้
สุดท้ายก็ต้องนั่งรถกลับลงมา...ไม่ได้อาศัยอยู่บนนั้น
...

คนเรามันต้องเที่ยวไปในที่สูง ๆ เพื่อให้เราไกลจากอะไรกัน...
ถ้าเราเพียงต้องการจะให้ห่างจากอกุศล ก็แค่ยกจิตให้พ้นจากอกุศลขึ้นมา...
มันก็พ้นแล้ว
ถ้าเรารู้พิกัด วางจิตตัวเองดี ๆ
เราก็จะรู้ตำแหน่งที่มันจะไม่ฝักใฝ่ที่สูง และไม่โคจรลงต่ำ
ที่ ๆ อะไร ๆ มันสมดุล คือที่ ๆ สูงที่สุด เพราะเราอยู่เหนือธรรมทั้งสองฝ่าย

นี่เป็นธรรมที่เอกอนพิจารณาตอนที่ไปเยือนพระธาตุดอยสุเทพ

ไปถึงพระธาตุดอยสุเทพเหมือนกัน...แต่มุมมองก็ต่างกันไป...จริง ๆ
...

:b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 ก.ย. 2013, 12:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:

:b12:
คิดกันคนละแง่ มองกันคนละมุม
คนไปเที่ยวเชียงใหม่ มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพแต่ไกล แล้วตะโกนออกมาด้วยความภูมิใจว่า "โอ้!....ฉันเห็นแล้ว ฉันหมดสงสัยแล้วในเรื่องพระธาตุดอยสุเทพ"

กับอีกท่านหนึ่งที่ต่อรถสี่ล้อแดงขึ้นไปถึงเชิงพระธาตุดอยสุเทพ ขึ้นบันไดนาค ไปจนถึงและได้กราบองค์พระธาตุดอยสุเทพอย่างใกล้ชิด ได้เดินเที่ยวชมทั้งลานภายนอกภายในจนทั่วแล้วก็จึงตะโกนออกมาด้วยความภาคภูมิใจว่า

"โอ้!.....ฉันได้ถึงแล้ว หมดสงสัยแล้วในพระธาตุดอยสุเทพ จะกลับไปเล่าให้ใครต่อใครฟังได้อย่างเต็มคำ ชี้บอกทางไปพระธาตุดอยสุเทพได้อย่างไม่มีอะไรตะขิดตะขวางใจแล้ว

ลองพิจารณาและเปรียบเทียบคนสองคนนี้ดูซิว่าจะต่างกันอย่างไร
:b11: :b8:


ก็เห็นไปกันหลายคน ก็กลับมาเล่าอย่างที่ท่านอโศกะเล่านั่นล่ะ
ก็ไม่เห็นมีใครพูดถึงลักษณะของหลังคาพระธาตุ...ยอดเจดีย์พระธาตุเรยสักคน
ว่ามันมีสภาพเป็นไง ก่องสร้างลักษณะไหน ใช้วัสดุอะไร มีรางน้ำฝนมั๊ย ลักษณะอย่างไร
มีการชำรุดแตกหักไปอย่างไรหรือไม่ มีนกมาเกาะ มีรังนก มีขี้นกหรือไม่
มีฝุ่นจับหนามั๊ย มีรอยเท้าแมวมั๊ย ... :b32:

:b1:

บอกตรง ๆ ว่าคำตอบนี้เป็นสิ่งที่เอกอนพิจารณาตอนที่ไปพระธาตุดอยสุเทพ
เมื่อสิบกว่าปีก่อน...
ตอนที่นั่งอยู่ตรงระเบียงแล้วมองขึ้นไปบนยอดเจดีย์...
และ...สุดท้ายก็นั่งรถลงมา...
เอกอนจำอะไรเกี่ยวกับพระธาตุดอยสุเทพไม่ได้...เพราะไม่ได้สนใจ
แต่เอกอนจำสิ่งที่พิจารณานี้อยู่ในใจได้...
มันคือความจริงที่สะท้อนอยู่ในใจ...
กับการศึกษาปฏิบัติธรรม ในการแสวงหาความสุข เอกอนไม่เคยไปถึงจุดที่สูงที่สุด
ปฏิบัติไปมันก็เจอแต่สุงยิ่งขึ้น สุขยิ่งขึ้น เหมือนเดินทางขึ้นเขา มันก็จะเจอท้องฟ้าที่สูงขึ้นไปอีก
แม้แต่เหนือขึ้นไปบนฟ้า มันก็ยังมีฟ้าที่เหนือกว่า
ก็เหมือนกับที่เอกอนไปถึงพระธาตุดอยสุเทพ...ก็ปีนไปสำรวจยอดเจดีย์ไม่ได้
สุดท้ายก็ต้องนั่งรถกลับลงมา...ไม่ได้อาศัยอยู่บนนั้น
...

คนเรามันต้องเที่ยวไปในที่สูง ๆ เพื่อให้เราไกลจากอะไรกัน...
ถ้าเราเพียงต้องการจะให้ห่างจากอกุศล ก็แค่ยกจิตให้พ้นจากอกุศลขึ้นมา...
มันก็พ้นแล้ว
ถ้าเรารู้พิกัด วางจิตตัวเองดี ๆ
เราก็จะรู้ตำแหน่งที่มันจะไม่ฝักใฝ่ที่สูง และไม่โคจรลงต่ำ
ที่ ๆ อะไร ๆ มันสมดุล คือที่ ๆ สูงที่สุด เพราะเราอยู่เหนือธรรมทั้งสองฝ่าย

นี่เป็นธรรมที่เอกอนพิจารณาตอนที่ไปเยือนพระธาตุดอยสุเทพ

ไปถึงพระธาตุดอยสุเทพเหมือนกัน...แต่มุมมองก็ต่างกันไป...จริง ๆ
...

:b1: :b1: :b1:

:b38:
เพราะฉนั้น การเห็นแลถึงภายนอกมันจึงทำให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกันไปตามระดับสติปัญญา นิสัย วาสนา บารมีและสิ่งที่อบรมบ่มสร้างมาของแต่ละคน
:b27:
แต่ถาเป็นการ เห็นและถึงเข้าในกายและจิต ถ้าใช่และถูกต้อง ความเห็นและถึงนั้นจะถูกต้อง พ้องตรงกัน เพราะสัจจธรรมนั้นเป็นหนึ่งเดียวไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปได้อีก แต่การนำมาบอกเล่านั้นอาจแตกต่างกันไปตามบัญญัติ ภาษา ตัวหนังสือทีแต่ละคนใช้เท่านั้นเอง

ดังเช่นการเข้าถึงรสเค็ม การเข้าถึงนิพพานซึ่งจะมีความรู้สึกหรือความเห็นตรงกันแต่พูดบอกเขียนบรรยายความรู้สึกนั้นออกมาเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้
ที่ท่าเรียกว่าปัจจัตตังนั่นเอง
:b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 14:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้คุณ โสมอุษา นำ youtube link พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี) มาให้ชม
พอดีก็ได้ไปเจอบทความนี้ ของพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี)

:b41: :b41: :b41: :b41:

"ฉะนั้นองค์มรรค ๘ ก็ต้องให้สมดุลเป็นกลางทุกอย่างต้องอยู่ในความพอดี เพียรเกินไปก็ไม่ดี หมายถึงว่าสติสัมปชัญญะไม่เพียงพอ แล้วก็ทำ ความเพียร แต่สติไม่ทันก็ย่อมจะทำให้เกิดเบลอ หลงเผลออารมณ์ เห็นนิมิตก็หลงนิมิตสติไม่ทัน เพียรไม่หลับไม่นอน ส่วนประกอบอื่นๆ นั้นยังตาม ไม่ทัน ก็ทำให้หลงเผลอเลอะเลือนได้ ฉะนั้นทุกอย่างต้องพอดี ความเพียรเป็นของดีแต่ก็ต้องดูความเหมาะสม ความเป็นกลาง โดยสรุปแล้ว ก็ดูในจิต ดูการประพฤติปฏิบัติ การเจริญสติสัมปชัญญะว่ามันเพ่งเล็งเกินไปไหม ถ้าเพ่งเล็งเกินไปแสดงว่ามันตึงแล้ว แล้วมันก็ตึงจริงๆ ร่างกายก็ตึง จิตใจก็หนักแน่นไม่เบา ก็ปรับผ่อนเสีย ปรับผ่อนให้มันผ่อนคลายในการเพ่งเล็งเพราะว่าบางครั้งมันตกไปในการเผลอเรอ เลอะเลือน หลับผลอย นี่มันก็หย่อนไป ก็เพิ่มการใส่ใจขึ้น คอยใส่ใจ คอยสังเกตมากขึ้น แต่อย่าให้เลยไปเป็นการเพ่งเล็งบังคับกดข่ม การที่จะให้มันอยู่ เป็นกลาง พอดีๆ นี่มันไม่ได้อยู่ได้คงที่ มันต้องประคับประคองทันไปทุกขณะๆ เดี๋ยวมันก็ตกไปข้างตึง เดี๋ยวก็ตกไปข้างหย่อนไป นี่คือการรู้จักปรับอินทรีย์ ปรับผ่อน ปรับให้มันสมดุลให้พอดี ให้เป็นกลาง ไม่ตึง ไม่หย่อน สรุปง่ายๆ ว่าให้มันมีการรู้ ละวาง ปล่อยวาง มีการปล่อยวาง มีตัวรู้ มีตัวละ ให้เป็นไปด้วยกัน ไม่ตึงไม่หย่อน ฉะนั้นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติการเจริญวิปัสสนานี้ก็ให้มีความเข้าใจว่า (หนึ่ง) ต้องระลึกให้ตรงต่อรูปนาม (สอง) ระลึกให้เป็นปัจจุบัน ให้ได้ปัจจุบัน และ (สาม) ระลึกให้พอดี ให้เป็นกลาง เอาแค่นี้ ตามหลัก ๓ อย่างนี่"

:b41: :b41: :b41: :b41:

พอดีเอกอนกำลังนำเสนออะไรแบบ กลาง ๆ ก็เลย
หยิบเอากลาง ๆ มาเสริมต่อ

จริง ๆ เท่าที่อ่านบท วิปัสสนาโดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี) link นี้ น่าอ่านมาก

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... _07_01.htm


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 ต.ค. 2013, 20:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้ว อดไม่ได้ที่จะหยิบเอามาอีกท่อน...

ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา (1)
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี)
สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

......
ลักษณะของจิตจริงๆ หรือลักษณะของวิญญาณ เป็นเพียงสภาพที่น้อมรับรู้อารมณ์ ไม่เข้าใจอะไรไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ความหมาย แค่รับแค่น้อมรับรู้อารมณ์ คือลักษณะโดยตรงของจิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตมีลักษณะอย่างเดียวคือ รู้อารมณ์ ลักษณะการรู้อารมณ์คือ แค่น้อมไปสู่อารมณ์ ไม่รู้เรื่อง ธรรมชาติตรงนี้ฝากให้ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้ความสังเกต ไปจับรู้ลักษณะอันนี้ให้ได้ เพราะเป็นส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติ ถ้าการปฏิบัติ สังเกตลักษณะของจิตโดยเฉพาะไม่ได้ การปฏิบัติก็จะไม่แยบคาย ไม่ก้าวหน้า เพราะการรู้ตรงนี้จะทำให้เห็นความเกิดดับของสภาวธรรมได้อย่างละเอียดขึ้น มากขึ้นยิ่งขึ้นไป
สิ่งที่เกิดทางใจที่เป็นความรู้แบบเข้าใจ หรือจะเป็นความรู้ความหมาย จะเป็นความเข้าใจแบบสมมุติ คือรู้ความหมาย รู้เป็นเรื่องเป็นราว หรือจะเป็นความรู้แบบของจริงก็ตาม หรือรู้แจ้ง ตามความเป็นจริงก็ตาม เป็นเรื่องเครื่องปรุงของจิต มันเป็นตัวเครื่องปรุงในจิตที่ทำหน้าที่ต่างๆ เฉพาะจิตจริงๆ เพียงแค่น้อมรับรู้อารมณ์ บอกค่าสิ่งที่รู้ไม่ได้ การที่จะบอกค่าของสิ่งที่รู้นั้นคือเครื่องปรุงที่อยู่ในจิต หรือสิ่งที่ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในจิต ซึ่งก็เป็นธรรมชาติคนละชนิดกับจิต แต่เป็นนามธรรมด้วยกัน ที่จัดเป็นนามธรรมเพราะว่ารับรู้อารมณ์ได้ น้อมไปสู่อารมณ์ได้ แต่ว่ามันมีความพิเศษกว่าตรงที่มันรู้เข้าใจได้ ตีความหมายได้ แล้วแต่บางชนิด บางชนิดมันก็แค่ตรึก บางชนิดก็วิจารณ์ บางชนิดมันก็เข้าใจ บางชนิดมันก็ตัดสิน บางชนิดมันก็เป็นความพอใจ ไม่พอใจ เป็นความสงสัยแล้วแต่ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรียกเป็นชื่อของธรรมชาติที่อยู่ทั่วไปต่างๆ โดยเฉพาะ เช่นที่เรียกว่าวิตกเจตสิก วิจารณ์เจตสิก ปิติเจตสิก ฉันทะเจตสิก อะไรต่างๆ เหล่านี้ คำว่า "เจตสิก" ก็คือ สิ่งที่ประกอบในจิตร่วมกันไป.....

ฉะนั้น เมื่อสิ่งที่ประกอบอยู่ในจิตทำงานร่วมกับจิตๆ ก็เลยกลายเป็นรู้เรื่องรู้ราวไป แต่ว่าตัวมันเองจริงๆ ไม่รู้หรอกอาศัยสิ่งต่างๆ ฉะนั้น เวลาปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ทำจิตหยั่งรู้อาการในจิตประเภทต่างๆ หยั่งรู้ว่าขณะที่น้อมรับรู้อารมณ์มันเป็นไปในความรู้สึกไปต่างๆ น้อมรับรู้อารมณ์ ด้วยความรู้สึกพอใจบ้าง น้อมรับรู้อารมณ์ด้วยความรู้สึกไม่พอใจบ้าง รับรู้อารมณ์ด้วยความรู้สึกเฉยๆ บ้าง รับรู้อารมณ์ด้วยความสงบบ้าง ไม่สงบบ้าง ขุ่นมัวเศร้าหมองบ้าง เบิกบานบ้าง ผ่องใส เอิบอิ่มบ้าง เป็นไปต่างๆ อาการรู้สึกในจิตเครื่องปรุงในจิตมันเป็นไปต่างๆ นี่คือหน้าตาของนามธรรม แต่ละชนิด ฉะนั้นเมื่อแยกให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว นามธรรมส่วนหนึ่งก็คือ ลักษณะของจิตโดยตรงคือสภาพที่น้อมรับรู้อารมณ์ สองก็คืออาการในจิต หรือ ความรู้สึกในจิต ซึ่งมีเป็นประเภทต่างๆ ผู้ปฏิบัติก็จดจำว่าทำสติเข้าไประลึกรู้ ส่วนหนึ่งรู้ลักษณะของจิต คือสภาพน้อมรับรู้อารมณ์ ในจิตส่วนที่สอง คือรู้อาการในจิตซึ่งมีต่างๆ

..........

:b41: :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 21:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุ กับธรรมะจากท่านอาจารย์สุรศักดิ์ครับ

อนุโมทนากับท่านผู้นำมาเล่าต่อสู่กันฟังครับ
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 22:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 04:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

"ฉะนั้นองค์มรรค ๘ ก็ต้องให้สมดุลเป็นกลางทุกอย่างต้องอยู่ในความพอดี เพียรเกินไปก็ไม่ดี หมายถึงว่าสติสัมปชัญญะไม่เพียงพอ แล้วก็ทำ ความเพียร แต่สติไม่ทันก็ย่อมจะทำให้เกิดเบลอ หลงเผลออารมณ์ เห็นนิมิตก็หลงนิมิตสติไม่ทัน เพียรไม่หลับไม่นอน ส่วนประกอบอื่นๆ นั้นยังตาม ไม่ทัน ก็ทำให้หลงเผลอเลอะเลือนได้ ฉะนั้นทุกอย่างต้องพอดี ความเพียรเป็นของดีแต่ก็ต้องดูความเหมาะสม ความเป็นกลาง โดยสรุปแล้ว ก็ดูในจิต ดูการประพฤติปฏิบัติ การเจริญสติสัมปชัญญะว่ามันเพ่งเล็งเกินไปไหม ถ้าเพ่งเล็งเกินไปแสดงว่ามันตึงแล้ว แล้วมันก็ตึงจริงๆ ร่างกายก็ตึง จิตใจก็หนักแน่นไม่เบา ก็ปรับผ่อนเสีย ปรับผ่อนให้มันผ่อนคลายในการเพ่งเล็งเพราะว่าบางครั้งมันตกไปในการเผลอเรอ เลอะเลือน หลับผลอย นี่มันก็หย่อนไป ก็เพิ่มการใส่ใจขึ้น คอยใส่ใจ คอยสังเกตมากขึ้น แต่อย่าให้เลยไปเป็นการเพ่งเล็งบังคับกดข่ม การที่จะให้มันอยู่ เป็นกลาง พอดีๆ นี่มันไม่ได้อยู่ได้คงที่ มันต้องประคับประคองทันไปทุกขณะๆ เดี๋ยวมันก็ตกไปข้างตึง เดี๋ยวก็ตกไปข้างหย่อนไป นี่คือการรู้จักปรับอินทรีย์ ปรับผ่อน ปรับให้มันสมดุลให้พอดี ให้เป็นกลาง ไม่ตึง ไม่หย่อน สรุปง่ายๆ ว่าให้มันมีการรู้ ละวาง ปล่อยวาง มีการปล่อยวาง มีตัวรู้ มีตัวละ ให้เป็นไปด้วยกัน ไม่ตึงไม่หย่อน ฉะนั้นแนวทางประพฤติปฏิบัติการเจริญวิปัสสนานี้ก็ให้มีความเข้าใจว่า (หนึ่ง) ต้องระลึกให้ตรงต่อรูปนาม (สอง) ระลึกให้เป็นปัจจุบัน ให้ได้ปัจจุบัน และ (สาม) ระลึกให้พอดี ให้เป็นกลาง เอาแค่นี้ ตามหลัก ๓ อย่างนี่"

:b41: :b41: :b41: :b41:

พอดีเอกอนกำลังนำเสนออะไรแบบ กลาง ๆ ก็เลย
หยิบเอากลาง ๆ มาเสริมต่อ


อ่านแล้วต้องบอกว่า กล่าวคลาดเคลื่อนหลายจุดครับ
พูดแบบขาดหลักของโพธิปักขิยธรรม ความเพียรที่ท่านยกมาพูด
ในความเป็นจริงแล้วใช้กับ....อินทรีย์๕

การใช้ความเพียรให้พอดี คืออะไร
นั้นก็คือ ใช้ความเพียรให้พอดีกับ...ศรัทธา..สติ...ปัญญา.....และสมาธิ
สิ่งที่ท่านกล่าวมันเป็นเรื่องของ...สภาพธรรม ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย
ความตึงความหย่อนหรือขาดสมดุลย์ที่ท่านกล่าว มันไม่ใช่เป็นเพราะความเพียรเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นเพราะ...อินทรีย์๕ มันขาดกำลัง(พละ๕)


ลักษณะของการขาดสมดุลย์ หมายถึง ในพละ๕ มีอินทรีย์ตัวใดตัวหนึ่งขาดกำลังลงไป
จึงทำให้พละ๕ขาดสมดุลย์

.................................................................................

และที่บอกว่า....."ฉะนั้นแนวทางประพฤติปฏิบัติการเจริญวิปัสสนานี้ก็ให้มีความเข้าใจว่า
(หนึ่ง) ต้องระลึกให้ตรงต่อรูปนาม
(สอง) ระลึกให้เป็นปัจจุบัน ให้ได้ปัจจุบัน และ
(สาม) ระลึกให้พอดี ให้เป็นกลาง เอาแค่นี้ ตามหลัก ๓ อย่างนี่"
คลาดเคลื่อนครับ.....

๑.การระลึก....ไม่ใช่ระลึกให้ตรงต่อรูปนาม รูปนามต้องตามรู้ ไม่ใช่ระลึกรู้

๒.การระลึก...ไม่ได้ให้เป็นปัจจุบัน การเป็นปัจจุบันต้องอาศัยจิตผู้รู้(วิญญาน)
แต่การระลึกเป็นเจตสิก การระลึกคือการทำให้จิตอยู่กับงานที่ทำ งานนั้นก็คือวิปัสสนา

๓.การระลึก...ถ้ากล่าวโดยนัยแห่งความพอดี ไม่ใช่จะกล่าวแต่การระลึกเพียงอย่างเดียว
แต่จะต้องกล่าวโดยมีอินทรีย์๕เป็นหลัก นั้นก็คือ.....
การระลึกจะต้องมีความพอดีในอินทรีย์๕ เมื่ออินทรีย์๕มีความพอดี ก็จะเกิดเป็นพละ๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ลักษณะของจิตจริงๆ หรือลักษณะของวิญญาณ เป็นเพียงสภาพที่น้อมรับรู้อารมณ์ ไม่เข้าใจอะไรไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ความหมาย แค่รับแค่น้อมรับรู้อารมณ์ คือลักษณะโดยตรงของจิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตมีลักษณะอย่างเดียวคือ รู้อารมณ์ ลักษณะการรู้อารมณ์คือ แค่น้อมไปสู่อารมณ์ ไม่รู้เรื่อง ธรรมชาติตรงนี้ฝากให้ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้ความสังเกต ไปจับรู้ลักษณะอันนี้ให้ได้ เพราะเป็นส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติ ถ้าการปฏิบัติ สังเกตลักษณะของจิตโดยเฉพาะไม่ได้ การปฏิบัติก็จะไม่แยบคาย ไม่ก้าวหน้า เพราะการรู้ตรงนี้จะทำให้เห็นความเกิดดับของสภาวธรรมได้อย่างละเอียดขึ้น มากขึ้นยิ่งขึ้นไป


จิตเป็นผู้รู้อารมณ์น่ะใช่ครับ แต่ที่บอกว่าให้นักปฏิบัติไปจับลักษณะการรู้อารมณ์
แบบนี้มันไม่สามารถทำได้ เป็นเพราะว่า...จิตผู้รู้เป็นสังขาร เกิดแล้วก็ดับทันที
อารมณ์กับจิตผู้รู้เป็นคนล่ะตัวกัน มันไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้
การรู้อารมณ์เป็นการรู้ตามหลังอารมณ์

ดังนั้นการสังเกตุที่ท่านบอกว่า "ต้องไปจับลักษณะการรู้อารมณ์"
อันนี้คลาดเคลื่อน จิตและอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นการจับลักษณะ จึงไม่ใช่การจับที่จิตหรืออารมณ์

แต่เราต้องสังเกตุความเป็นสังขารของจิตหรืออารมณ์


อนึ่งไม่มีบุคคลใดสามารถ เห็นสภาวะการเกิดดับของจิตหรือเจตสิกได้ทัน
ที่ว่าเกิดการเกิดดับ ในความเป็นจริง เป็นการเห็นด้วยการเอาญานไตรลักษณ์
มาอนุมานด้วยหลักเหตุผล ก็จะเกิดผลมาเป็นจิตและเจตสิกเกิดดับ
ดังนั้นการปฏิบัติ ไม่ใช่เพื่อมองเห็นจิตเกิดดับ แต่ในความเป็นจริงคือ
เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ญานรู้ลักษณะที่เป็นสังขาร


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron