วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2013, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

......"ความกลัว" มันเป็นกิเลส พระพุทธองค์สอนให้ละมันเสีย ไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยว
ดังนั้นถ้าใครมาทำให้ผู้อื่นเกิด "ความกลัวหรือมีกิเลสตัวนี้" เท่ากับว่าผู้กระทำเป็นมาร
ทำในสิ่งตรงข้ามกับพระพุทธเจ้าครับ



ในเมื่อเป็นดังโฮฮับว่าแล้ว ก็บอกวิธีกำจัดกิเลส กำจัดความกลัวเขาด้วยสิขอรับ พูดอยู่นั่นแล้วววว "ดีแต่พูดจินๆ" :b1: :b32:

มันไม่ใช่ธุระกงการอะไรของพี่โฮฮับที่จะต้องไปบอกวิธีกำจัดความกลัวของผู้อื่น ก็ในเมื่อไม่มีเหตุปัจจัย
คุณน้องก็ยังไม่เห็นว่าจะมีใครมาขอร้องพี่โฮฮับมาสอนวิธีำกจัดความกลัวออกไปจากจิตตนให้หน่อย ยังไม่เห็นใครซักคนที่จะข้อร้องหรือขอความกรุณาจากพี่โฮฮับให้บอกวิธี พี่กรัชกายชอบเหน็บแนมพี่โฮฮับว่า ดีแต่พุด แล้วพี่ละระวังจะเป็นเหมือนอิเหนานะ :b32: :b32: รู้ไหมทำไมถึงมีสำนวนว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง เพราะอิเหนานิสัยไม่ดี ชอบว่าคนโน้นโง่คนนี้โง่ ที่ไปหลงรักษุษบา คือหนุ่มๆคนไหนเห็นบุษบาก็ต่างมีจิตปฏิพันธ์ต่อบุษบา อิเหนายังไม่เคยพบหน้าบุษบาแต่ก็อคติกับบุษบามาตั้งแต่เล็กๆ แต่พอเอาเข้าจริงไปเจอตัวจริงบุษบากลับหลงรักบุษบาถึงขนาดบุกเข้าไปแย่งชิงบุษบามาจากคนอื่น555 :b32: :b32:
เคยฟังเพลงนี้ป่าว

http://www.youtube.com/watch?v=oajKX93S7sw :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2013, 15:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อถึงจุดๆนึงผมว่า เราจะรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำเองนะครับ

เราจะรู้ว่าทำอะไรแล้วมันจะพ้นทุกข์จริงๆ
อะไรทำแล้วยิ่งงมงาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2013, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำเนื้อหาสาระของสติปัฏฐานวางไว้ให้พิจารณา คือว่า เมื่อโยคีบุคคลปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานถูกต้องแล้วกิเลสาสวะจะค่อยๆลดโดยอัตโนมัติ ทำให้อยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่การปฏิบัติในปัจจุบันชาตินี้ นำมาแต่พอเห็นเค้า


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า


“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง นี่คือสติปัฏฐาน 4”


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในกาลเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 บอกให้รู้ว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1 เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ 1 ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ 1 ความคิดไตร่ตรอง 1 ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทานำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม


ในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือสมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วยเป็นประจำ ได้แก่

1. อาตาปี มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือสัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวังและเพียรละความชั่ว กับ เพียรสร้างและเพียรรักษาเสริมทวีความดี)

2. สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ (คือปัญญา)

3. สติมา มีสติ (หมายถึง สตินั่นเอง)


สัมปชัญญะ คือปัญญานี้ เป็นธรรมที่มักปรากฏคู่กับสติ สำหรับที่นี้ คือ บอกว่า การฝึกในเรื่องสตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ความเข้าใจตระหนักชัดในในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือ ต่อการกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายอย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร พึงปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ


บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือ การกำจัดอาสวกิเลส

อัปปมาท คือความไม่ประมาทนั้น หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือการมีสติอยู่เสมอ ในการครองชีวิต อัปปมาทเป็นตัวการทำให้ระมัดระวังตัว ป้องกันไม่ให้พลาดไปในทางชั่วหรือทางเสื่อม คอยยับยั้งเตือนไม่ให้เพลิดเพลินมัวเมาลุ่มหลงสยบอยู่ คอยกระตุ้น ไม่ให้หยุดอยู่กับที่ และคอยเร่งเร้าให้ขะมักเขม้นที่จะเดินรุดหน้าอยู่เรื่อยไป ทำให้สำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ โดยตระหนักถึงสิ่งควรทำและไม่ควรทำ ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ และช่วยให้ทำการต่างๆ ด้วยความรอบคอบ จึงเป็นองค์ธรรมสำคัญในระบบจริยธรรม


ในกรณีเช่นนี้ พอจะสรุปการปฏิบัติหน้าที่ของสติ ได้ดังนี้

ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของสตินั้น คือ การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป หรือไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่คอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดู อารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง มุ่งหน้าเข้าหาอารมณ์นั้นๆ เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใด ก็เข้าจับดูติดๆไป ไม่ยอมให้คลาดหาย คือ นึกคิด หรือระลึกไว้เสมอ ไม่ยอมให้หลงลืม
มีคำเปรียบเทียบสติว่า เหมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ หรือเหมือนนายประตู เพราะเฝ้าอายตนะต่างๆ ที่เป็นทางรับอารมณ์ ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาๆ ปทัฏฐานหรือเหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือ สัญญา (การกำหนดหมาย) ที่มั่นคง หรือสติปัฏฐานชนิดต่างๆ

- สติเป็นตัวป้องกัน ยับยั้งจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้ก้าวพลาด ไม่ให้ถลำลงในธรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ยอมให้ความชั่วได้โอกาสเกิดขึ้นในจิต และไม่ยอมให้ใช้คิดผิดทาง

- สติเป็นตัวควบคุมตรวจตรากระแสการรับรู้ ความนึกคิด และพฤติกรรมทุกอย่าง ให้อยู่ในแนวทางที่ต้องการ คอยกำกับจิตไว้กับอารมณ์ที่ต้องการ และจึงเป็นเครื่องมือสำหรับยึดหรือเกาะกุมอารมณ์อย่างใดๆ ดุจเอาวางไว้ข้าหน้าจิต เพื่อพิจารณาจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป


เมื่อนำลักษณะการทำหน้าที่ของสติที่กล่าวแล้วนั้นมาพิจารณาประกอบ จะมองเห็นประโยชน์ที่มุ่งหมายของการปฏิบัติฝึกฝน ในเรื่องของ สติ ดังนี้

1. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ หรือกระแสความคิดให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

2. ทำให้ร่างกายและจิตใจ อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าเป็นตัวของตัวเอง เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อนคลายเป็นสุขโดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างได้ผลดี

3. ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิ อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไปโดยมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆได้

4. โดยการยึด หรือจับเอาอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณา วางไว้ต่อหน้า จึงทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญา ดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่ เท่ากับเป็นฐานในการสร้างเสริมปัญญาให้เจริญบริบูรณ์

5. ชำระพฤติกรรมต่างๆ ทุกอย่าง (ทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ให้บริสุทธิ์ อิสระ ไม่เกลือกกลั้ว หรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน และร่วม กับ สัมปชัญญะ ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือเหตุผลบริสุทธิ์ล้วนๆ

ประโยชน์ข้อ 4 และ ข้อ 5 นั้น นับว่าเป็นจุดหมายขั้นสูง จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ ซึงคำจำกัดความในข้อสัมมาสติ ก็ได้แก่ สติปัฏฐาน 4

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2013, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
แต่ให้มาดูจิตตนเอง แบบนี้บาปไหมละจ๊ะ

ให้ยกเลิก กิจกรรมทุกอย่าง ตั้งแต่ ใส่บาตร ทำบุญ ทอดกฐิน นั่งสมาธิ

มาเน้นดูจิตตัวเอง เพียงอย่างเดียว แบบนี้ เดินถูกทางไหมครับ


ไอ้ที่คุณบอกให้เขายกเลิกไม่ต้องทำน่ะ ถ้าทำให้ถูกวิธี มันก็เป็น ทาน เป็นศีล เป็นการฝึกสติ ฝึกต้านกระแสความเคยชิน เป็นการสะสมบารมี ซึ่งสุดท้ายล้วนส่งเสริมการดูจิตได้ครับ

พระท่าน โดยเฉพาะพระอรหันต์ ท่านยังมีศีลมีข้อวัตรเลย

ประเด็นจึงไม่น่าใช่ว่าทำแล้วจะดี หรือไม่ทำเลยแล้วจะดี

แต่เป็น ถ้าทำ ทำอย่างไรจึงจะดี

ถ้าไม่ทำ ไม่ทำเพราะเหตุอะไรบ้าง จึงจะดี

ใช่หรือเปล่าครับ ?

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2013, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
แต่ให้มาดูจิตตนเอง แบบนี้บาปไหมละจ๊ะ

ให้ยกเลิก กิจกรรมทุกอย่าง ตั้งแต่ ใส่บาตร ทำบุญ ทอดกฐิน นั่งสมาธิ

มาเน้นดูจิตตัวเอง เพียงอย่างเดียว แบบนี้ เดินถูกทางไหมครับ

สมัยหนึ่ง มีความเห็นว่า ทาน ศีล สู้ภาวนาไม่ได้ จึงสนใจแต่ภาวนา
ใครจะให้ทาน สวดมนต์ไหว้พระเช้าเย็น ก็ไม่สนใจ มุ่งแต่ภาวนานั่งยืนเดิน

เห็นคนให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ไหว้พระ สู้เราไม่ได้ เรียกว่า "อัตตาสูงขึ้น"
จิตที่หยาบ ก็เลยหยาบกว่าเดิม ภาวนาก็ไม่เป็นผล ไม่เป็นสมาธิ

จึงเห็นโทษของทิฏฐิที่ผิด บุญกุศลทั้งหลายเกิดจากการเก็บเล็ก ผสมน้อย
ค่อย ๆ สะสมขึ้น ไม่ว่า ทาน ศีล ภาวนา ล้วนไปด้วยกัน อาศัยกัน
จิตที่แข็ง ที่หยาบก็ค่อย ๆ อ่อนลงเป็นลำดับ

ท่านเรียก "ไตรสิกขา" บันไดสามขั้นสู่ สุคติภูมิ ..

:b1:


.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ปลีกวิเวก เขียน:
เหตุ 1 ผล 1 เป็นการมองเพียงด้านเดียว
การจะเกิดเป็นผลได้ไม่ใช่อาศัยเพียงแค่เหตุอย่างเดียว..แต่ต้องอาศัยปัจจัยที่สมบูรณ์ด้วย...

เสมือนดอกบัวที่โผล่พ้นผืนน้ำขึ้นมารับแสงแดด..วันนึงก็มาปฏิเสธว่าไม่ได้เติบโตมาจากโคลนตม
โดยลืมมองย้อนกลับไปว่าตัวเองก็อาศัยโคลนตมหล่อเลี้ยงชีวิตมาเช่นกัน...

สติปัญญาของสัตว์มีความแตกต่างกันดังที่พระศาสดาท่านจำแนกไว้เปรียบดั่งบัวสี่เหล่า.. :b41:

คุณปลีกวิเวกครับ เป็นเพราะคุณชอบศึกษาธรรมในลักษณะของ คำคม คำกลอน
มันเลยทำให้คุณมีความหลง ชอบปรุงแต่งธรรมครับ

พระพุทธองค์ทรงเข้าใจถึงเรื่องนี้ จึงทรงสอนไม่ให้สาวก....................

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว
กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะเรียกว่าอานกะมีอยู่
เมื่อกลองอานกะนี้มีแผลแตก หรือลิพวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่น
ทำาเป็นลิ่มเสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้ง หลายคราวเช่นนั้น
นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่งซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทําเสริมเข้าใหม่เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคตจักมีภิกษุทั้งหลาย
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคําของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา
เมื่อมีผู้นำาสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดีจักไม่เงี่ยหูฟังจักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำาคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคําร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคํากล่าวของสาวก
เมื่อมีผู้นำาสุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักฟังด้วยดีจักเงี่ยหูฟังจักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักสำาคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคําของตถาคต
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓

เพราะคุณขาดธรรมบทนี้ เลยหลงไป ชอบฟังธรรมจากบุคคล
ที่ชอบสอนธรรมะ ในลักษณะของการพูด คำคม คำกลอนฯลฯ
คำพูดของคุณ ทำให้ธรรมที่เป็นโลกุตระผิดเพี้ยนไปครับ อาทิเช่น.......
พูดว่า "เหตุ๑ ผล๑ เป็นการมองธรรมเพียงด้านเดียว" นี่เป็นการไปปรุงแต่งธรรม
ที่เป็นโลกุตตระให้ผิดเพี้ยนครับ

และอีกครับ......เอาเรื่อง"บัว"มาเปรียบ เพียงเพราะเรื่อง บัวฟังแล้วมันเสาะโสตลื่นหู
แต่มันเป็นคนล่ะเรื่อง ที่จขกทเอามากล่าว



ขอบคุณที่แนะนำค่ะ :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
แต่ให้มาดูจิตตนเอง แบบนี้บาปไหมละจ๊ะ

ให้ยกเลิก กิจกรรมทุกอย่าง ตั้งแต่ ใส่บาตร ทำบุญ ทอดกฐิน นั่งสมาธิ

มาเน้นดูจิตตัวเอง เพียงอย่างเดียว แบบนี้ เดินถูกทางไหมครับ



ถ้าคนเค้ากำลังสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยอยู่ แล้วคุณก็ไปบอกว่า อย่าสวดนะ ดูจิตอย่างเดียว
บาปเต็มๆครับ ไม่เคารพในพระรัตนตรัย หรือเค้าสวดธรรมจักรอยู่ อย่างนี้แล้วคุณก็บอกว่าหยุดนะ อันนี้ไม่เคารพพระธรรม บาปอีก ถ้าเค้าทำตามคุณก็เท่ากับขัดขวางบุญผู้อื่น

ถ้าเค้ากำลังให้ทานอยู่เช่นกำลังตักบาตรให้ข้าวและน้ำแก่ภิกษุอยู่ แล้วไปบอกว่าหยุด หยุดให้ทานเดี๋ยวนี้ บาปแน่นอน ขัดขวางบุญผู้อื่น และขัดขวางไม่ให้พระสงฆ์ได้รับข้าวและน้ำด้วย


จะถูกทางไหมก็ต้องดูว่า ตรงตาม อริยมรรคมั้ย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

และถ้าจะให้ตรงตามทางที่เป็นอริยมรรคที่เป็นทางสู่นิพพาน ก็ต้องเป็นโลกกุตรมรรคเท่านั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร