วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 06:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2013, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาไตรลักษณ์ - ปัญญาวิมุตติ


ปัญญาไตรลักษณ์

เป็นปัญญาที่เกิดจากการเห็นสภาวะไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้รู้ ตามความเป็นจริงว่า ทุกสรรพสิ่งล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

เกิด-ดับๆๆๆๆๆ อยู่อย่างนั้น เป็นปกติ ถึงแม้จะมีเรา หรือไม่มีเรา เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ก็ตาม


เมื่อตาเห็นรูป … ตากระทบรูป ..เมื่อเกิดผัสสะ หรือการกระทบ การทำงานของอายตนะภายนอกกับภายในจะทำงานร่วมกัน

เช่น เมื่อตามองเห็นสิ่งต่างๆ ย่อมมองเห็นเพียงสภาวะภายนอกที่เกิดขึ้น แต่สภาวะภายในที่ซ้อนอยู่ย่อมมองไม่เห็น บัญญัติซ้อนปรมัตถ์

เมื่อเห็นสันตติขาด ฆนะบัญญัติแตกเมื่อไหร่ ย่อมมองเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น


เมื่อมีเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ เห็นสภาวะไตรลักษณ์ แบบหยาบๆว่า

ความทนอยู่ไม่ได้ ความบีบคั้น เรียกว่า ทุกข์

ความแปรปรวน ไม่แน่นอน เรียกว่า อนิจจัง

ไม่สามารถบังคับให้เป็นตามที่ต้องการได้ เรียกว่า อนัตตา


เมื่อยังมีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ละเอียดมากขึ้นอีก

เมื่อไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ประกอบด้วยการทำความเพียรต่อเนื่อง

เมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม สภาวะไตรลักษ์ จะเกิดขึ้นตามความเป็นจริง จะไม่มีคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เป็นสภาวะไตรลักษณ์ สักแต่ว่า ไตรลักษณ์ เมื่อนั้น จิตจะเกิดการปล่อยวาง โดยไม่ต้องคิดปล่อยวาง

เป็นการดับเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน


ปัญญาวิมุตติ

เกิดจาก การทำความเพียรต่อเนื่อง แล้วมีสัมมาสมาธิเกิดขึ้น ไม่ว่าสิ่งใดเกิดขึ้นภายในกายและจิต ใช้หลักโยนิโสมนสิการ

เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม จะเกิดสภาวะสุมจเฉทประหาน(เจโมวิมุตติ) ที่เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

เป็นเหตุให้แจ้ง สภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้แจ้ง สภาวะปฏิจจสมุปปบบาท ตามความเป็นจริง

เป็นการดับเหตุของการเกิด เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร จึงมีชื่อเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ




พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. อานิสังสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑

มีศีล ๑

เป็นพหูสูต ๑

เป็นธรรมกถึก ๑

เข้าไปสู่บริษัท ๑

แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ๑

ทรงวินัย ๑

ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไป

และชีวประวัติอย่างนี้ ๑

เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ๑

ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ๑

เมื่อนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล
จึงชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง

วิชชาสูตรที่ ๑๐ จบ
อานิสังสวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนากรณียสูตร
๓. ปฐมอุปนิสสูตร ๔. ทุติยอุปนิสสูตร
๕. ตติยอุปนิสสูตร ๖. สมาธิสูตร
๗. สารีปุตตสูตร ๘. ฌานสูตร
๙. สันตวิโมกขสูตร ๑๐. วิชชาสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖ }

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 29 ส.ค. 2013, 17:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2013, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติของปุถุชนแตกต่างจากสติของอริยชนอย่างไร?

ความแตกต่างอยู่ที่สภาวะสัมปชัญญะ

สติของปถุชน ยังไม่มีสัมปชัญญะ เกิดขึ้นร่วมเนืองๆ

สติของอริยชน มักจะมีสัมปชัญญะเกิดขึ้นร่วมด้วยเนืองๆ
เหตุนี้ จิตจึงตั้งมั่นเนืองๆ ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ หรืออยู่ในอิริยาบทใดๆก็ตาม


เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ ปถุชน จึงไม่รู้คุณประโยชน์ของสัมปชัญญะ และไม่รู้วิธีการสร้าง สภาวะสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น



สติในชีวิตประจำวัน แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร?

สติในชีวิตประจำวัน

เป็นสติที่ มีสัมปชัญญะ เกิดร่วมบ้าง ไม่เกิดร่วมบ้าง คือ เกิด-ดับ เพราะเหตุนี้ แม้จะทำงานหรือไม่ทำงานอยู่ก็ตาม มักจะไประลึกถึงราวในอดีตบ้าง ในอนาคต ที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง มักจะไม่ค่อยรู้อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ ได้ตลอด


สติในสติปัฏฐาน

เป็นสติ ที่มีสัมปชัญญะเเกิดร่วม เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ เป็นเหตุให้อยู่กับปัจจุบัน ได้แก่ รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ไประลึกถึงอดีตและอนาคต

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2013, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สติของปุถุชนแตกต่างจากสติของอริยชนอย่างไร?

ความแตกต่างอยู่ที่สภาวะสัมปชัญญะ

สติของปถุชน ยังไม่มีสัมปชัญญะ เกิดขึ้นร่วมเนืองๆ

สติของอริยชน มักจะมีสัมปชัญญะเกิดขึ้นร่วมด้วยเนืองๆ
เหตุนี้ จิตจึงตั้งมั่นเนืองๆ ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ หรืออยู่ในอิริยาบทใดๆก็ตาม


เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ ปถุชน จึงไม่รู้คุณประโยชน์ของสัมปชัญญะ และไม่รู้วิธีการสร้าง สภาวะสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น



สติในชีวิตประจำวัน แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร?

สติในชีวิตประจำวัน

เป็นสติที่ มีสัมปชัญญะ เกิดร่วมบ้าง ไม่เกิดร่วมบ้าง คือ เกิด-ดับ เพราะเหตุนี้ แม้จะทำงานหรือไม่ทำงานอยู่ก็ตาม มักจะไประลึกถึงราวในอดีตบ้าง ในอนาคต ที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง มักจะไม่ค่อยรู้อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ ได้ตลอด


สติในสติปัฏฐาน

เป็นสติ ที่มีสัมปชัญญะเเกิดร่วม เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ เป็นเหตุให้อยู่กับปัจจุบัน ได้แก่ รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ไประลึกถึงอดีตและอนาคต

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 00:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนาบุญกับคุณวลัยพรและลุงหมานครับ
:b27:
................
อันความรู้ รู้ให้จริง แม้สิ่งเดียว
แต่ให้เชี่ยวชาญเถิด จักเกิดผล
จะได้ชัก เชิดชู ฟูสกนธ์
แม้ยากจน พงไพร่ คงได้ดี
...................
จงคิดตามไปเอา ไม้เท้าถิด
จะประเสริฐสมรัก เป็นศักดิ์ศรี
พอเสร็จคำ สำแดง แจ้งคดี
.....................

กลอนนี้จากไหนใครจำได้บ้างเอ่ย ครับ

เมื่อนำความหมายในบทกลอนนี้มาใช้ทางธรรม

ความรู้จริงแม้สูตรเดียว จาก 21,000 สูตร ก็อาจพาเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ได้เร็วพลั้น นะครับ

:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 04:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
อ้างคำพูด:
สติในชีวิตประจำวัน แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร

:b50:
สติในชีวิตประจำวัน....ก็ดังอธิบายไว้ข้างต้นว่า
:b47:
สติของปุถุชน.....เป็นสติตามธรรมชาติธรรมดาของสัตว์โลกทั้งหลาย ที่มีสัญชาตญาณ และประสบการณ์ชีวิตเป็นตัวอบรม...เป็นเครื่องช่วยรักษาชีวิตให้รอดปลอดภัย และไม่ไปกระทบกระทั่งชีวิตอื่น

สติเกิดได้แต่สัตว์โลกที่เป็นมนุษย์ เดรัจฉานไม่สามารถทำให้เกิดสติได้
และสติจะเกิดได้ จะต้องมีเหตุมาจากสภาพธรรมที่เป็นกุศลเท่านั้น

asoka เขียน:


แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร?
:b10:
สติปัฏฐาน ต้องพูดให้ครบว่า..."สติปัฏฐาน 4"
:b11:
สติปัฏฐาน 4 เป็นสติที่ถูกอบรมมาดีแล้วด้วยคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า นี่คือวิธีอันประเสริฐที่อาจทำให้ปุถุชนยกระดับตนเองขึ้นสู่ความเป็นอริยชนได้ในเวลาไม่เกิน....7 วัน.....7 สัปดาห์....7เดือน...หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกิน 7 ปี
:b18:
หลังจากสติถูกอบรมมาอย่างนี้แล้ว กลายเป็นสัมมาสติ ๆ อันนี้ก็จะคอยกำกับ กาาย ใจ ให้เดินอยู่บนเส้นทางแห่งสติปัฏฐาน 4 อยู่ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา

:b16:
สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 คือ "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"....คือไม่ว่าจะเกิดอารมณ์จากฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม ก็ล้วนแล้วแต่จะไปลงตัวที่ ยินดี (อภิชฌา) ยินร้าย (โทมนัสสัง) เมื่อ วิเนยยะ เอาออกได้
(ด้วยความเห็นไตรลักษณ์ของอารมณ์นั้นๆ จนเกิดนิพพิทา เบื่อหน่าย จึงจะคลายจาง ละวางและสลัดคืน ความยินดียินร้ายนั้นเสียได้)


สติธรรมดาคือการระลึกความไม่ประมาทในอกุศลธรรม(ความดี ความชั่ว)
สติปัฏฐาน คือการระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ดี ไม่ชั่ว)
หรือการระลึกปัญญาเพื่อปล่อยวางธรรม ทั้งกุศลและอกุศล

เอาแค่สั้นๆ พูดยาวแล้วโสกะชอบเอาธรรมไปปรุงแต่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติคน-สติสัตว์

ทั้งคนและสัตว์ ต่างก็มีสติ หากไม่มีสติ สัตว์คงอดตาย เพราะไม่มีปัญญาจับสัตว์อื่น เพื่อยังชีพตนเอง

การที่จิตจดจ่อ อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ณ ขณะนั้นๆ ทั้งสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ประชุมลงที่เดียวกัน

ทั้งคนและสัตว์ ไม่แตกต่างกัน ในเรื่อง สติ การทำมาหากิน เพื่อเลี้ยงชีพตนเอง



ความแตกต่าง

คนสามารถฝึกสติ ให้เจริญมากขึ้นได้ เรียกว่า มหาสติ (สัมมาสติ) คือ มีสัมปชัญญะเกิดขึ้นร่วมด้วย เนืองๆ เป็นเหตุให้ สมาธิเกิดขึ้นร่วมด้วย เนืองๆ

สัตว์ไม่สามารถฝึกสติ ให้เป็นมหาสติได้(สัมมาสมติ) เหตุเพราะ สัตว์ ไม่สามารถแยกกาย(รูป) และใจ(นาม) ให้ออกจากกันได้

สติ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกุศลและอกุศล ขณะที่สร้างเหตุ เป็นสติทางโลก

สติ ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ เพราะเป็นเหตุของการดับเหตุของการเกิด จึงเป็นกุศลฝ่ายเดียว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สติคน-สติสัตว์

ทั้งคนและสัตว์ ต่างก็มีสติ หากไม่มีสติ สัตว์คงอดตาย เพราะไม่มีปัญญาจับสัตว์อื่น เพื่อยังชีพตนเอง

การที่จิตจดจ่อ อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ณ ขณะนั้นๆ ทั้งสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ประชุมลงที่เดียวกัน

ทั้งคนและสัตว์ ไม่แตกต่างกัน ในเรื่อง สติ การทำมาหากิน เพื่อเลี้ยงชีพตนเอง

สติเป็นสภาวธรรมที่ระลึกรู้ธรรมที่เป็นกุศล

สัตว์ไม่สามารถแยกแยะกุศลและอกุศลได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 16:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
สติคน-สติสัตว์

ทั้งคนและสัตว์ ต่างก็มีสติ หากไม่มีสติ สัตว์คงอดตาย เพราะไม่มีปัญญาจับสัตว์อื่น เพื่อยังชีพตนเอง

การที่จิตจดจ่อ อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ณ ขณะนั้นๆ ทั้งสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ประชุมลงที่เดียวกัน

ทั้งคนและสัตว์ ไม่แตกต่างกัน ในเรื่อง สติ การทำมาหากิน เพื่อเลี้ยงชีพตนเอง

สติเป็นสภาวธรรมที่ระลึกรู้ธรรมที่เป็นกุศล

สัตว์ไม่สามารถแยกแยะกุศลและอกุศลได้ครับ

:b12: :b12: :b12:
คุณโฮฮับครับ....คุณวลัยพรเธอชี้แจงมาถูกต้องแล้วนะครับ คุณโฮฮับไปติดใจหรือติดยึดว่า
"สติเป็นสภาวธรรมที่ระลึกรู้ธรรมที่เป็นกุศล"......ทำให้ธรรมไม่เป็นธรรมนะครับ

:b13:
ถ้าเก้งกวาง สัตว์ในป่า หรือหมาแมวสัตว์ในเมือง ไม่มีสติ ก็คงวิ่งชนกัน ชนต้นไม้ ตกหลุมตกเหว หรือถูกรถทับตายกันไปหมดแล้วนะครับ.....อย่าได้ไปดูถูกสัตว์ทั้งหลายเลยนะครับ....บางที่คนยังขาดสติมากกว่าเสียอีก

"เคยเห็นหมาที่เขาฝึกมาให้จูงคนตาบอดข้ามถนนไหมครับ"

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 18:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
สติคน-สติสัตว์

ทั้งคนและสัตว์ ต่างก็มีสติ หากไม่มีสติ สัตว์คงอดตาย เพราะไม่มีปัญญาจับสัตว์อื่น เพื่อยังชีพตนเอง

การที่จิตจดจ่อ อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ณ ขณะนั้นๆ ทั้งสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ประชุมลงที่เดียวกัน

ทั้งคนและสัตว์ ไม่แตกต่างกัน ในเรื่อง สติ การทำมาหากิน เพื่อเลี้ยงชีพตนเอง

สติเป็นสภาวธรรมที่ระลึกรู้ธรรมที่เป็นกุศล

สัตว์ไม่สามารถแยกแยะกุศลและอกุศลได้ครับ

:b12: :b12: :b12:
คุณโฮฮับครับ....คุณวลัยพรเธอชี้แจงมาถูกต้องแล้วนะครับ คุณโฮฮับไปติดใจหรือติดยึดว่า
"สติเป็นสภาวธรรมที่ระลึกรู้ธรรมที่เป็นกุศล"......ทำให้ธรรมไม่เป็นธรรมนะครับ

:b13:
ถ้าเก้งกวาง สัตว์ในป่า หรือหมาแมวสัตว์ในเมือง ไม่มีสติ ก็คงวิ่งชนกัน ชนต้นไม้ ตกหลุมตกเหว หรือถูกรถทับตายกันไปหมดแล้วนะครับ.....อย่าได้ไปดูถูกสัตว์ทั้งหลายเลยนะครับ....บางที่คนยังขาดสติมากกว่าเสียอีก

"เคยเห็นหมาที่เขาฝึกมาให้จูงคนตาบอดข้ามถนนไหมครับ"

onion onion onion


เอกอนว่า รอดูก่อนก็ดี...นะ
เพราะถึงไม่มีสติ ไม่มีปัญญา สัตว์ก็จะไม่ถึงกับอดตายน่ะ
ตราบเท่าที่ สมองส่วนสัญชาตญาณมีความสมบูรณ์
เพราะตรงจุดนี้ ที่ยกตัวอย่างมาเทียบเคียงนั้น ก็ยังไม่ตรงประเด็นนัก

เอกอนยังไม่กล้าฟันธง
ว่าการกระทำที่ตอบสนองต่อสัญชาตญาณ
มันต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่าสติ ปัญญา หรือไม่ อย่างไร

ส่วนที่ท่านอโศกะหยิบยกมากล่าวนั้น...จึงพอจะสะท้อน...สติที่ปรากฎในสัตว์
ตรงที่เอกอนขีดเส้นใต้
ตรงส่วนนี้ เป็นการแสดงทักษะที่ไม่ใช่มาจากสัญชาติญาณ
แต่เป็นทักษะที่ถูกพัฒนาขึ้นในสมองอีกส่วน
ซึ่งเป็น ส่วนที่แสดงให้เห็นว่า สัตว์มีทักษะในการเลือกกระทำได้
ซึ่งตรงส่วนนี้ล่ะ ที่เอกอนเห็นแววว่า สติ ปัญญา น่าจะเริ่มเข้ามามีบทบาท
แต่ก็ยังเป็นส่วนที่ฟันธงไม่ได้ ทักษะการเลือกกระทำนี้
สัตว์แยกแยะ กุศล อกุศล ออกหรือไม่ อย่างไร

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ความรู้ตัว กับสิ่งที่กำลังจะกระทำ(มีความรู้ตัว ก่อนทำ)

สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว ขณะที่ กำลังทำสิ่งๆนั้นอยู่(มีความรู้สึกตัว ขณะที่กำลังทำ)

สติ+สัมปชัญญะ = สมาธิ

ขณะที่ จิตจดจ่อ(สติ) รู้อยู่(สัมปชัญญะ) กับสิ่งที่กำลังทำอยู่
เป็นเหตุให้ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังทำอยู่(สมาธิ)


สติทางโลก

ถึงแม้จะมีสติรู้อยู่ ขณะที่สร้างเหตุ สามารถสร้างเหตุที่เกิดขึ้น เป็นได้ทั้งได้ทั้งกุศลและอกุศล
ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่(ผัสสะ) และที่สร้างให้เกิดขึ้นใหม่ ณ ปัจจุบัน ขณะ

เหตุจากอวิชชาที่มีอยู่ ขณะผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความถูกใจ-ไม่ถูกใจ จึงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ถูกใจ ก็คิดเอาเองว่า เป็น กุศล

ไม่ถูกใจ ก็คิดเอาเองว่า เป็น อกุศล



สติปัฏฐาน ๔


สติ ที่เกิดขึ้นใน สติปัฏฐาน ๔ เพราะเป็นเหตุของการดับเหตุของการเกิด จึงเป็นสภาวะกุศล ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง (สัมมาทิฏฐิ)


ไม่ว่าจะเป็นสติทางโลก หรือ สติที่มุ่งดับเหตุของการเกิด(สติปัฏฐาน ๔) ล้วนเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ ของสิ่งๆนั้น

สติในมนุษย์ สามารถพัฒนา จากสติ ให้เป็น มหาสติได้

สติในสัตว์ ไม่สามารถพัฒนา ให้เป็นมหาสติได้



สัตว์แยกแยะ กุศล อกุศล ออกหรือไม่ อย่างไร

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=11&p=5

เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน และเหตุปัจจัยที่สร้างให้เกิดขึ้นใหม่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง
ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษานะ

งานวิจัยบางเรื่องก็ยิ่งทำให้เรามองเห็นตัวเรามากขึ้น

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ว่าจะรู้แบบไหน ล้วนเป็นเรื่องของ เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

สิ่งที่คิดว่า รู้ ไม่ว่าจะรู้จากเหตุใดก็ตาม

หากรู้นั้นๆ สามารถดับเหตุแห่งทุกข์(การเกิด) ได้

รู้นั้นๆ ใช้ได้หมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ไม่ว่าจะรู้แบบไหน ล้วนเป็นเรื่องของ เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

สิ่งที่คิดว่า รู้ ไม่ว่าจะรู้จากเหตุใดก็ตาม

หากรู้นั้นๆ สามารถดับเหตุแห่งทุกข์(การเกิด) ได้

รู้นั้นๆ ใช้ได้หมด

อยากคุยด้วย แต่....

ไม่รู้ผู้ดูแลคนไหน แกล้งผมความเห็นผมครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
ไม่ว่าจะรู้แบบไหน ล้วนเป็นเรื่องของ เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

สิ่งที่คิดว่า รู้ ไม่ว่าจะรู้จากเหตุใดก็ตาม

หากรู้นั้นๆ สามารถดับเหตุแห่งทุกข์(การเกิด) ได้

รู้นั้นๆ ใช้ได้หมด

อยากคุยด้วย แต่....

ไม่รู้ผู้ดูแลคนไหน แกล้งผมความเห็นผมครับ :b13:



การโพสของผู้อื่น ในคำกล่าวนั้น ก็มีคำว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด ตามทิฏฐิของผู้ที่มาสนทนาด้วย
พอคุณกล่าวว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิดบ้าง เพียงแต่ ไม่ถูกใจเขา

อาจจะเป็นอย่างที่คุณชอบกล่าวเนืองๆว่า
เพราะ ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เลยไม่มีสมาธิ ในการอ่าน

ผลที่เกิดขึ้น ทั้งคุณและคู่สนทนา คือ ฟุ้งซ่าน จึงมีเหตุ เราว่าเขา(ถูก/ผิด) เขาว่าเรา(ถูก/ผิด)
เป็นเหตุปัจจัยต่อมา เป็นการสานเหตุเก่าที่ดับไปแล้ว ให้เกิดขึ้นใหม่

เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีต่อกันค่ะ



เมื่เราเดินเข้าบ้านเขา มาเยี่ยมบ้านเขา ก็ต้องทำตามกฏกติกา ที่บ้านเขามีไว้

เป็นเรื่องปกติ เขาย่อมใช้สิทธิ์ ในการดูแลบ้านเขา ตามที่เห็นว่า สมควรทำ(ถูกใจเขา)
และเราคิดว่า ไม่สมควร(ไม่ถูกใจเรา) อย่าลืมว่า นั่นก็สิทธิของเขา


แก้ ต้องแก้ที่ตัวเอง นอกตัวแก้ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเหตุปัจจัย ที่มีต่อกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2013, 23:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
ไม่รู้ผู้ดูแลคนไหน แกล้งผมความเห็นผมครับ
:b13:
งง ตรงนี้ครับคุณโฮฮับ
grin


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร