วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 03:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 14:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
"รู้มาก ยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ รู้พอดีๆ คือรู้ที่แก่นสาร พระนิพพานไม่ไกล ใช้เวลาไม่นาน ขอเชิญทุกท่าน ชวนกันพิจารณา"
:b8:
เข้าพรรษาปีนี้มีโอกาสได้ปลีกภาวนา ประเมินผลการปฏิบัติธรรมของตนเอง ทำให้ได้ข้อสังเกตว่า
:b14:

"รู้มาก นี่ทำให้ยากนาน" จริงๆ
:b16: :b2:

การศึกษาปริยัติในพระพุทธศาสนา ต้องถือว่าเป็น กรรม อย่างหนึ่งที่มีผลเป็น วิบากให้ต้องเสวย....วิบากของปริยัติมากก็คือ ความฟุ้งซ่านในธรรม.....เวลาเข้านั่งภาวนา สติ ปัญญา จะไปวุ่นอยู่กับการ วิตก วิจารณ์ธรรม ไปตามปริยัติที่ได้ศึกษา จนทำให้เนิ่นช้ากว่าที่จิตจะสงบ วางอุทธัจจะนิวรณ์...คือความฟุ้งในธรรมนี้ลงได้ กลายเป็นต้องเจริญธรรมานุปัสสนาภาวนาโดยใช้เวลาค่อนข้างจะยาวนาน....จึงทำให้เกิดความคิดความเห็นขึ้นมาว่า ปริยัตินี่ถ้าเราเอามากเกินพอดี มีผลให้สงบช้า ทำสัมมาสมาธิได้ช้า
:b11: :b41:
คิดถึงผู้ใหม่ทั้งหลาย....ที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ไปด้วยกันว่าจะมีปัญหาเช่นนี้ด้วยหรือไม่ อย่างไร และได้ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้นอย่างไร ซึ่งน่าจะได้นำมาแลกเปลี่ยนสนทนากัน ให้เป็นข้อคิดสะกิดใจ ให้ได้พบอุบายการปฏิบัติที่เหมาะสมเฉพาะตัวของใครของมันที่ดียิ่งๆขึ้นไปอันอาจทำให้งานชำระจิตใจให้ขาวรอบ หมดขยะ เป็นงานที่ง่ายและไม่เนิ่นช้าจนชวดเชยเวลาชีวิตของชาตินี้ที่ได้โอกาสมาเกิดเป็นคน
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2799


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะท่าน asoka
ติดตามผลงานมาตลอดคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยกับกระทู้นี้ของคุณ Asoka

ผมมีความเห็นอย่างนี้

ความรู้ จริงๆไม่น่ากลัวหรอก แต่สิ่งที่น่ากลัว คือความยึดติด ความยินดีในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง

ความยึดติด ความยินดีในความรู้นี้เอง ที่ไปพากิเลสตัวเล็กตัวน้อยออกมาเต็มไปหมด ทำให้ชีวิตเรายุ่งยาก เกิดความหงุดหงิดบ้าง ความหยิ่งลำพองใจบ้าง สุดท้ายก็จะทุกข์เพราะเราไม่กลมกลืนกับความจริง ใจเราพยายามต่อต้านโลก

ก็เหมือนความเห่อของใหม่นั่นแหละ ปฎิบัติธรรมไปแล้วมันเกิดเข้าใจขึ้นมา มันแก้ทุกข์บางส่วนได้ขึ้นมามันเลยเห่อ มันก็ต้องมีดีใจเป็นธรรมดา มันก็เป็นวิปัสนูปกิเลสแบบหนึ่ง แต่มันอยู่ได้ไม่นานหรอก เวลาผ่านไปความเห่อนี้ก็จะค่อยๆจืดไป

คนจะเห็นจุดนี้ ปมบางปมอาจจะถูกแก้ไปแล้ว แต่อย่าลืมว่ายังมีอีกหลายปมที่ยังติดค้างอยู่ ปมที่อยู่ลึกๆเข้าไปกว่าปมก่อนๆ

ปมอาจจะเป็นปมใหม่ แต่ระเบียบวิธีการแก้ไขยังคงเดิม คืออริยสัจ 4 เป็นระบบขั้นตอนที่สามารถใช้แก้ปมได้ทุกปม ผมเชื่ออย่างนั้น

ตามความทุกข์ไป สิ่งใดทำให้ใจเป็นทุกข์ สิ่งนั้นยังไม่ตรงกับความจริง

เมื่อใดพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นเหตุของทุกข์ เห็นว่าความคิดเราผิดความจริงไปในจุดไหน ใคร่ครวญหาวิธีปรับแก้ ลองแก้แล้วหมั่นตรวจเช็คใจตัวเองอยู่แบบนี้เสมอๆ ก็มั่นใจได้ว่าสักวันปมที่เพิ่งพบเจอจะถูกแก้ได้อย่างแน่นอน

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 03:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
"รู้มาก ยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ รู้พอดีๆ คือรู้ที่แก่นสาร พระนิพพานไม่ไกล ใช้เวลาไม่นาน ขอเชิญทุกท่าน ชวนกันพิจารณา"
:b8:
เข้าพรรษาปีนี้มีโอกาสได้ปลีกภาวนา ประเมินผลการปฏิบัติธรรมของตนเอง ทำให้ได้ข้อสังเกตว่า
:b14:
"รู้มาก นี่ทำให้ยากนาน" จริงๆ
:b16: :b2:

พูดเรื่อยเปื่อย เอาสุภาษิตที่ใช้กับทางโลกมาโยงกับพระธรรม เอาจนเละ
นี่แสดงถึงความไม่รู้ไร้ปัญญา แถมยังเต็มไปด้วยอัสมิฯ

ตั้งกระทู้แสดงความเห็นด้วยการมั่วสุุม ปรามาสหลักการของพระธรรมที่ว่าด้วย ....
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

มันเป็นเพราะขาดความเข้าใจแต่เริ่ม เลยทำให้แสดงความเห็นผิดๆเพี้ยนๆ
ไม่รู้หลักธรรมเลยหยิบเอาบัญญัติแห่งหลักธรรมมาวิจารณ์จนเสียหาย

คุณโสกะครับผมเห็นคุณเอาคำพูดของท่านพุทธทาส มากล่าวในเว็บนี่บ่อยๆ
เช่นคำว่า"ตัวกู ของกู"
นี่แสดงให้เห็นว่า คุณคงให้ความเชื่อถือท่านพุทธทาสอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย
เหตุนี้จึงอยากให้คุณไปอ่านสิ่งที่ท่านพุทธทาส แสดงความเห็นกับคำว่าปริยัติไว้ว่าอย่างไร


http://www.buddhadasa.com/freethinkbook/theory.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
การศึกษาปริยัติในพระพุทธศาสนา ต้องถือว่าเป็น กรรม อย่างหนึ่งที่มีผลเป็น วิบากให้ต้องเสวย....วิบากของปริยัติมากก็คือ ความฟุ้งซ่านในธรรม.....เวลาเข้านั่งภาวนา สติ ปัญญา จะไปวุ่นอยู่กับการ วิตก วิจารณ์ธรรม ไปตามปริยัติที่ได้ศึกษา จนทำให้เนิ่นช้ากว่าที่จิตจะสงบ วางอุทธัจจะนิวรณ์...คือความฟุ้งในธรรมนี้ลงได้ กลายเป็นต้องเจริญธรรมานุปัสสนาภาวนาโดยใช้เวลาค่อนข้างจะยาวนาน....จึงทำให้เกิดความคิดความเห็นขึ้นมาว่า ปริยัตินี่ถ้าเราเอามากเกินพอดี มีผลให้สงบช้า ทำสัมมาสมาธิได้ช้า :b11: :b41:

บุคคลใดมองเห็นปริยัติเป็น วิบากเป็นความฟุ้งซ่าน แบบนี่ก็ต้องถือว่า เป็นความเขลาของบุคคลนั้น
สำหรับสาวกของพุทธเจ้า ปริยัติมีคุณค่ามหาศาล ชาวพุทธเราถ้าไม่มีปริยัติ
ย่อมต้องไม่มีปฏิบัติ นั้นก็หมายความว่าผลสำเร็จหรือปฏิเวธย่อมไม่เกิดขึ้น

เนื้อหาอรรถกถาแบ่งปริยัติเป็น๓นัยได้แก่...................
ปริยัติมี ๓ นัย คือ
(๑) อลคัททูปริยัตติ การเล่าเรียนเปรียบด้วยงูพิษ
ได้แก่การเล่าเรียนมุ่งลาภสักการะด้วยคิดว่า เราเล่าเรียนแล้วจะได้จีวร หรือคนอื่น
จะรู้จักเราในท่ามกลางบริษัท ๔ - ปริยัติของปุถุชน
(๒) นิตถรณปริยัตติ การเล่าเรียนมุ่งประโยชน์คือการออกจากวัฏฏะ
ได้แก่ การเล่าเรียนด้วยตั้งใจว่า เราเล่าเรียนพุทธพจน์แล้วจะบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์
ให้ได้สมาธิ เริ่มเจริญวิปัสสนาแล้ว จะอบรมมรรค จะทำผลให้แจ้ง - ปริยัติของปุถุชน,
ปริยัติของพระเสขะทั้ง ๗
(๓) ภัณฑาคาริกปริยัตติ การเล่าเรียนประดุจขุนคลัง ได้แก่
การเล่าเรียนของพระขีณาสพ เพราะท่านกำหนดรู้ขันธ์แล้วละกิเลสได้แล้ว อบรมมรรค
ทำให้แจ้งผลแล้ว เมื่อเล่าเรียนพุทธพจน์ เป็นผู้ทรงแบบแผน รักษาประเพณี
ตามรักษาอริยวงศ์ - ปริยัติของพระขีณาสพ

อยากให้โสกะทำความเข้าใจกับปริยัติ๓นี่ให้ดีก่อน แล้วจึงค่อยแสดงความเห็น
ไม่ใช่เอะอะก็วิจารณ์ในสิ่งที่ตัวเองยังขาดความเข้าใจ
หรือวิจารณ์ด้วยความริษยาในคุณสมบัติของบุคคลอื่น
พูดง่ายๆตามสุภาษิตทางโลกก็คือ........องุ่นเปรี้ยว
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 04:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คิดถึงผู้ใหม่ทั้งหลาย....ที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ไปด้วยกันว่าจะมีปัญหาเช่นนี้ด้วยหรือไม่ อย่างไร และได้ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้นอย่างไร ซึ่งน่าจะได้นำมาแลกเปลี่ยนสนทนากัน ให้เป็นข้อคิดสะกิดใจ ให้ได้พบอุบายการปฏิบัติที่เหมาะสมเฉพาะตัวของใครของมันที่ดียิ่งๆขึ้นไปอันอาจทำให้งานชำระจิตใจให้ขาวรอบ หมดขยะ เป็นงานที่ง่ายและไม่เนิ่นช้าจนชวดเชยเวลาชีวิตของชาตินี้ที่ได้โอกาสมาเกิดเป็นคน
:b38:

ถ้าคิดว่า ปริยัติทำให้เนิ่นช้า แสดงว่าวิธีของโสกะได้ผลโดยไม่ต้องอาศัยปริยัติ
เป็นแบบนี้ทำไมจึงแสดงความเห็นนอกลู่นอกทางพระธรรมวินัยเล่า นี่แสดงให้เห็นว่า
โสกะกำลังหลง เดินออกนอกเส้นทางที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ

ปัญหาทั้งหมดทั้งมวล มันไม่อยู่ที่ปริยัติ มันอยู่ที่ตัวบุคคล
ปริยัติแท้ๆต้องอาศัยปัญญาเพื่อพิจารณาปริยัตินั้นๆ หมายความว่า ปัญญาเพื่อปัญญา
แต่โสกะขาดในสิ่งนี้ เลยทำให้ไม่เข้าใจในปริยัติไม่รู้คุณค่าของหลักธรรม
ปรามาสหลักธรรมเป็นเพราะไม่มีปัญญาเข้าใจในสิ่งนั้น เลยโมเมเข้าข้างตัวเองงผิดๆว่า.....
ปริยัติไม่สำคัญ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 15:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนากับคุณโฮฮับที่....หลงพร่ำพรรณาไปมากมาย.........แต่สรุปว่าไม่ตรงประเด็นแห่งธรรมกระทู้ข้อนี้ครับ
โปรดพิจารณาใหม่
Onion_L
และภาษาที่ใช้ก็ต้องพิจารณาด้วยนะครับ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้เกิดความสงบและศานติสุขใการสนทนาธรรม

โฮฮับ เขียน:
พูดเรื่อยเปื่อย เอาสุภาษิตที่ใช้กับทางโลกมาโยงกับพระธรร เอาจนเละ
นี่แสดงถึงความไม่รู้ไร้ปัญญา แถมยังเต็มไปด้วยอัสมิฯ


บัณฑิตและกัลยาณมิตรเขาพูดคุยกันตั้งแต่แรกด้วยคำพูดอย่างที่คาดสีและอ้างอิงมาให้ดูนี้หรือครับ ?

s005
ตรงประเด็นและเอื้อธรรมต้องอย่างที่คุณ "คนธรรมดาๆ" แสดงจึงจะก่อประโยชน์งอกเงยในธรรมครับ

คนธรรมดาๆ เขียน:
สิ่งที่น่ากลัว คือความยึดติด ความยินดีในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง

คำพูดอย่างนี้ซิครับจึงใกล้และตรงประเด็นของกระทู้ครับ
:b8:
หัวข้อกระทู้บอกทางพอดีไว้แล้วนะครับ
:b36:

"รู้มาก ยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ รู้พอดีๆ คือรู้ที่แก่นสาร พระนิพพานไม่ไกล ใช้เวลาไม่นาน ขอเชิญทุกท่าน ชวนกันพิจารณา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องทำควบคู่กันไปครับ เมือ่ปฎิบัติจนถึงความสงสัยระดับหนึ่ง หรือ เรามีความเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติธรรมของเราเอง หรือมีความเห็นว่าธรรมที่ปรากฏออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง พิจารณาธรรมว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่ทำให้เดือดเนื้อร้อนใจ แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ก็จำเป็นจะต้องศึกษาปริยัติ เจาะลึกเข้าไปให้ละเอียด

ผมเองนั้นล่าสุดก็มีคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเวลาปฎิบัติธรรมว่ามีหทัย หรือหัวใจ มีบทบาทสำคัญอย่างไร อันนี้ก็ต้องเข้าศึกษาปริยัติ ท่านกล่าวว่าอย่างไร

สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจ คำถามแรกๆก็คงจะเป็น ทุกข์นั้นคืออะไร ทำไมถึงทุกข์จัง คำตอบก็จะออกมาเป็น อวิชชาเป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมด ก็ต้องมีการศึกษาปริยัติ แล้วลองปฏิบัติดู

อย่างStudent เองตั้งขอบเขตของตนเองเอาไว้ ปกติเพื่อนๆก็โพตปริยัติทุกวันอยู่แล้ว ก็สนใจอ่านตลอด แต่ไม่เข้าไปอ่านวินัยของสงฆ์ เพราะว่าพ้นจากหน้าที่ของเรา ไม่ใช่ธุระของเรา student มีความเห็นอย่างนี้ คือศึกษาในกรอบที่ตัวเองสงสัยในเรื่องธรรมไว้ก่อนนั่นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 03:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
อนุโมทนากับคุณโฮฮับที่....หลงพร่ำพรรณาไปมากมาย.........แต่สรุปว่าไม่ตรงประเด็นแห่งธรรมกระทู้ข้อนี้ครับ
โปรดพิจารณาใหม่
Onion_L
และภาษาที่ใช้ก็ต้องพิจารณาด้วยนะครับ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้เกิดความสงบและศานติสุขใการสนทนาธรร

มันไม่ตรงอย่างไรครับ ความเห็นผมมันถูกต้องตรงประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อในกระทู้ที่คุณตั้ง
หรือแม้แต่จุดประสงค์ในการตั้งกระทู้นี้ พูดง่ายๆสั้นๆว่า......กระทู้ที่คุณตั้งมันไม่ถูกต้อง
ทั้งทางโลกและทางธรรม
ทางโลกก็คือ คนเราต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ ดังคำที่ว่า"เรียนจนตายก็ไม่หมด"
แต่คุณดันมาบอกว่า "รู้มากยากนาน"

ส่วนในทางธรรมยิ่งแล้วใหญ่ เหิมเกริมปรามาสปริยัติหลักธรรมของพระพุทธเจ้าว่าเป็น"วิบาก
เป็นความฟุ้งซ่านในธรรม" ทั้งที่ความเป็นจริง มันเป็นแก่นมันเป็นแนวทางเพื่อการปฏิบัติ

สรุปในกรณีให้ผมพิจารณาใหม่มันไม่ใช่ครับ เป็นคุณเองนั้นแหล่ะต้องพิจารณาตัวเองว่า
ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา มันมีสาเหตุอะไร มันมีกิเลสในใจหรือไม่
ถ้ายังไม่รู้ผมชี้ให้ดูว่าอะไรเป็นสาเหตุในใจคุณ....นั้นก็คือทิฐิมานะครับ
คุณไม่รู้ในสิ่งที่คนอื่นรู้ พูดให้ตรงก็คือคนอื่นรู้หรือมีปัญญามากกว่า
แต่ด้วยทิฐิมานะทำให้คุณไม่ยอมรับ ไม่เพียงแค่นี้ คุณยังเกิดอกุศลจิตก่อกรรม
ตั้งกระทู้ขึ้นโดยเอาภาษิตสำนวนในเชิงเสียดสี กลับขาวเป็นดำ กลับดำเป็นขาว


เรื่องที่ว่าให้ผมปรับปรุงภาษาที่ใช้ ผมว่าไม่ถูกต้องครับ
ภาษาที่ผมใช่มันเหมาะสำหรับการสนทนาธรรมครับ
มันไม่ใช่คำหยาบไม่ใช่คำเสียดสี แต่เป็นคำที่ตรงจิตตรงใจคู่สนทนาที่สุดแล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 03:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พูดเรื่อยเปื่อย เอาสุภาษิตที่ใช้กับทางโลกมาโยงกับพระธรร เอาจนเละ
นี่แสดงถึงความไม่รู้ไร้ปัญญา แถมยังเต็มไปด้วยอัสมิฯ


บัณฑิตและกัลยาณมิตรเขาพูดคุยกันตั้งแต่แรกด้วยคำพูดอย่างที่คาดสีและอ้างอิงมาให้ดูนี้หรือครับ ?

ก็นี่แหล่ะครับ เขาเรียกภาษาของบัณฑิต กิริยาของกัลยาณมิตร
การที่คุณมองเป็นอื่น เป็นเพราะคุณเอากิเลสในใจของคุณเป็นตัวตั้งครับ

อกุศลจิตพาให้คุณหลง แทนที่จะมองเนื้อหาความเป็นจริงในธรรม
กลับกลายเป็นไปเพ่งมองแต่กิเลสตัวเอง
การมองกิเลสในใจเป็นการปฏิบัติอย่างหนึ่ง แต่คุณโสกะครับคุณมองผิดครับ
แทนที่คุณจะมองที่ใจตนเอง กลับมามองการกระทำของคนอื่น แล้วก็พร่ำพรรณาว่า
คนอื่นเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ คนอื่นไม่ดีตัวเองเพียบพร้อม
จะบอกให้ครับ
ความไม่ดีต่างๆที่คุณกำลังคิดว่าคนอื่นเป็น ในความเป็นจริง มันก็กิเลสในใจตัวเองทั้งนั้นครับ
คุณทำมาเป็นตัวตั้งตัวตี เชิญคนไปทำวิปัสสนา แต่ทำไมการดูจิตซึ่งเป็นการปฏิบัติเบื้องต้น
คุณยังทำไม่ได้ แบบนี้คำพูดคุณมันก็แค่การโฆษณาชวนเชื่อเท่านั้นเอง

asoka เขียน:
ตรงประเด็นและเอื้อธรรมต้องอย่างที่คุณ "คนธรรมดาๆ" แสดงจึงจะก่อประโยชน์งอกเงยในธรรมครับ
คนธรรมดาๆ เขียน:
สิ่งที่น่ากลัว คือความยึดติด ความยินดีในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง

คำพูดอย่างนี้ซิครับจึงใกล้และตรงประเด็นของกระทู้ครับ

มันเกิดประโยชน์ตรงไหนครับ คำพูดแบบนี้แหล่ะ เขาเรียกว่า.."ไม่มีสาระ"
มันเป็นคำพูดที่เป็นลักษณะพูดไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดมุ่งหมายในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว
ไม่คำนึงถึงความสลัดออกของกิเลส ขอแค่ให้คนอื่นมองภาษาที่ตัวใช่ เป็นภาษาที่สละสลวย
ภาษาแบบนี้แหล่ะ มันตรงกับสิ่งที่คุณโสกะกำลังเสียดสีอยู่
มันพาให้ผู้ที่ขาดปัญญา หลงพากันไปหาอวิชากันหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ตรงประเด็นและเอื้อธรรมต้องอย่างที่คุณ "คนธรรมดาๆ" แสดงจึงจะก่อประโยชน์งอกเงยในธรรมครับ

คนธรรมดาๆ เขียน:
สิ่งที่น่ากลัว คือความยึดติด ความยินดีในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง

คำพูดอย่างนี้ซิครับจึงใกล้และตรงประเด็นของกระทู้ครับ

ผมจะบอกให้ครับ ประโยคที่คุณยกมา มันไม่มีเนื้อในธรรมแม้แต่น้อย
มันก็แค่เป็นเรื่องของคนที่ขาดความรู้ในธรรม แต่อยากจะพูดแสดงความเห็น
ความเห็นนั้นจึงมีลักษณะ เป็นการเอาคำศัพท์โน้นมาผสมกับพยางค์นี้
ผลที่ออกมา จึงไม่ได้มีความหมายไม่ว่าจะเป็นหลักของภาษาหรือหลักธรรม

หลักของภาษามันก็เป็นเพียงการเอาพยางค์ต่างๆมาผสมกัน แต่มันไม่ได้ใจความ
เรียกอีกอย่างว่าวลี คำพูดแบบนี้ขาดหลักภาษา การพูดโดยไม่คำนึงถึงหลักภาษา
ในสำนวนไทยเรียกว่า เพ้อเจ้อครับ (นี่ไม่ได้เสียดสีน่ะครับ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ)

ที่นี้มาประเด็นสำคัญเลยที่ว่าด้วยหลักธรรม คำพูดที่คุณยกมามันทำให้
หลักธรรมของพุทธศาสนา ไม่น่าเชื่อถือครับ คนที่ไม่เข้าใจอาจคิดไปได้ว่า
พุทธศาสนาเลื่อนลอยไร้แก่นสาร นี่ก็เป็นเพราะการใช้คำพูดที่ขาดซึ่งความรู้
ในทางธรรมของผู้พูด...

จากคำพูดนี่...สิ่งที่น่ากลัว คือความยึดติด ความยินดีในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
"สิ่งที่น่ากลัวคือความยึดติด" อะไรครับน่ากลัว อะไรยึดติด" แบบนี้เรียกพูดไปเรื่อย พูดทั้งๆที่
ไม่เข้าใจว่า น่ากลัวคืออะไร ยึดติดคืออะไร ใครที่เป็นผู้รู้เห็นคำพูดนี่เข้า มันก็ต้องเข้ามาวิจารณ์
ว่า....พูดเรื่อยเปื่อยครับ หยิบมาผสมโยงกันซะเละ

นี่ก็อีก "ความยินดีในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตน" เอามาพูดซะเสียทำให้คนเข้าใจไปว่า มันไม่ดี
ไม่รู้ก็ไม่ต้องพูดก็ได้ครับ

พระพุทธองค์ก็ทรงบอกว่า " เมื่อเกิดวิชชา ปิติความยินดีก็จะเกิดตามมา"
ก็เพราะมันเป็นวิชชาเป็นความรู้ ปิติหรือความยินดีย่อมต้องเกิด
ถ้าไม่ใช่ความรู้หรือเป็นอวิชา ปิติหรือความยินดีย่อมไม่เกิด

กรุณาทำความเข้าใจและควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสียใหม่นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 11:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




GEDC1775_resize.JPG
GEDC1775_resize.JPG [ 78.03 KiB | เปิดดู 5868 ครั้ง ]
onion
โฮฮับ เขียน:
กรุณาทำความเข้าใจและควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสียใหม่นะครับ

cool
คืนคำที่อ้างอิงนี้มาให้คุณโฮฮับพิจารณานะครับ........ที่คุณบ่นมาทั้งหมดนั้นไม่ใช่ธรรมทั้งสิ้น แถมยังเต็มไปด้วย ปิสุณาวาจา ไม่น่าฟัง
grin
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 12:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ความว่า"รู้มาก ยากนาน" นี้ มีทั้งตัวอย่างในพระสูตรและตัวอย่างในชีวิตจริงทุกยุคทุกสมัย

รู้มาก ที่ทำให้ยากนาน คือ ไปศึกษาหาความรู้ รับฟังมาหลายแบบหลายประการ จนทำให้เกิดความสงสัยลังเลใจว่า วิธีนั้นก็ดี วิธีนี้ก็ใช่...แล้วฉันจะเอาวิธีใดดี...เลยทดลองมันไปเสียทุกวิธี..ทดลองไป ๆ พอไปเจอกับอุปสรรค และทุกขเวทนา สู้ไม่ได้ ถอย..แล้วก็ยังไปเห็นว่า เอ วิธีนี้ไม่ถูกจริตฉัน วิธีนี้ยังไม่ใช่ ต้องไปลองวิธีโน้นดูมั่งดีกว่า แล้วก็เลยละความเพียรที่จะพิสูจน์ธรรม พิสูจน์วิธีการปฏิบัติไปจนถึงที่สุด

ตัวอย่างจากพระสูตรก็ดังเช่น

1.การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ของท่านพระสารีบุตร ที่เนิ่นช้ากว่าพระโมคคัลลานะไปถึง 7 วัน ก็เพราะพระสารีบุตรท่านเป็นผู้ยิ่งในปัญญา มีความจำแนกแจกธรรม วิตกวิจารณ์ธรรมมากกว่า จึงใช้เวลามาก ส่วนพระโมมคคัลลานะเจ้า ท่านเป็นผู้ยิ่งด้วยสมถะและสมาธิ พูดง่ายๆว่าไม่คิดมาก ไม่วิตกวิจารณ์มาก อยู่กับปัจจุบันธรรมสภาวธรรมที่พ้นบัญญัติปรุงแต่งล้วนๆจึงถึงธรรม ถึงอรหัตผลเร็วกว่า

2.ท่านโพธิละเถระ กับพระอรหันต์อายุ 7 ขวบ

ท่านโพธิละเถระเป็นผู้รอบรู้ในพระไตรปิฏก จนพระบรมศาสดาต้องมาสะกิดเตือนว่า "ภิกษุคัมภีร์เปล่า"จึงเกิดธรรมสังเวช หลีกเร้นไปทำความเพียร

ตรงกันข้ามกับสามเณรน้อยอรหันต์....ธรรมะของท่านสั้นและเรียบง่าย...ธรรมะอุปมาของท่านกล่าวถึงเรื่องจอมปลวกมีรูเข้า 5 รู มีรูเข้าออก 1 รู ให้ไปอุดรูเข้า 5 รู แล้วไปคอยเฝ้าที่ รู เข้า-ออก รูเดียวนั้น คอยจับเอาตัวเหี้ยที่วิ่งเข้าวิ่งออกมาฆ่าเสียให้ได้.......ฆ่าตัวเหี้ยนั้นได้ ก็จักถึงอมตะสุข..ดังนี้

onion
ยังมีเรื่องเล่าต่ออีกครับ
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 14:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีที่ 1
จะบอกว่าพระสารีบุตรรู้มากกว่าพระโมคคัลลา ก็ไม่ได้
การเดินจิตสู่การบรรลุธรรมของท่านทั้งสอง ต่างกัน
ธรรมที่เป็นบาทฐานไปสู่การบรรลุของท่านทั้งสองต่างกัน

ส่วนท่านโพธิละ ... นั่นคือ ... ท่านไม่รู้
ส่วนพระอรหันต์ 7 ขวบ นั่นคือ ... ท่านรู้ ...
ว่าแต่ ... ไม่รู้อะไร และ รู้อะไร นี่สิ่ ... น่านำมาพิจารณา

ดังนั้น รู้มาก ยากนาน ไม่น่าจะใช่

แต่ รู้อะไร และ ไม่รู้อะไร
รู้อย่างไร และ ไม่รู้อย่างไร

หรือ เห็นอะไร และ ไม่เห็นอะไร
เห็นอย่างไร และไม่เห็นอย่างไร น่าใกล้เคียงกว่า ... นะ

:b1: :b1: :b1:

พระโมคคัลลาบรรลุธรรม
ในการปฏิบัติของท่าน ท่านเป็นเอกในเรื่องฤทธิ์...ท่านไปเมืองเทวดา เมืองสวรรค์ ได้
ซึ่งท่านก็น่าจะ ระลึกชาติได้ ด้วย...
ซึ่งจะบอกว่าท่านจะรู้น้อยกว่า พระสารีบุตร ... ไม่น่าจะใช่ ...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 14:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
1.การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ของท่านพระสารีบุตร ที่เนิ่นช้ากว่าพระโมคคัลลานะไปถึง 7 วัน ก็เพราะพระสารีบุตรท่านเป็นผู้ยิ่งในปัญญา มีความจำแนกแจกธรรม วิตกวิจารณ์ธรรมมากกว่า จึงใช้เวลามาก ส่วนพระโมมคคัลลานะเจ้า ท่านเป็นผู้ยิ่งด้วยสมถะและสมาธิ พูดง่ายๆว่าไม่คิดมาก ไม่วิตกวิจารณ์มาก อยู่กับปัจจุบันธรรมสภาวธรรมที่พ้นบัญญัติปรุงแต่งล้วนๆจึงถึงธรรม ถึงอรหัตผลเร็วกว่า




พระสารีบุตร สำเร็จ ขณะฟังธรรมอันว่าด้วยเรื่อง เวทนา
ส่วน
พระโมคคัลลา สำเร็จ ขณะปฏิบัติธรรมอันว่าด้วยการ พิจารณา ธาตุ

:b1:

ท่านคิดว่า กรณีไหนกันแน่ ที่อาศัยปัญญายิ่งกว่า ...

:b12: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร