วันเวลาปัจจุบัน 15 พ.ค. 2025, 22:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 22:08
โพสต์: 92

แนวปฏิบัติ: สมถะกรรมฐาน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: การทำสังฆทาน
ชื่อเล่น: ไผ่
อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าวันพระว่างๆจะลองไปถือศีลอุโบสถบ้าง มีอะไรบ้างนะขอรับ แล้วต้องไปขออารธนาศีลที่วัดใช่ไหม ยังไง รบกวนทีครับ ผมไม่รู้เรื่องจริงๆ มีแต่ใจ ขอบคุณนะครับ onion

.....................................................
อย่าได้เห็นแก่ความสุข สนุกสนานชั่วครู่คราว
เพราะผลกรรมที่ตามมามันสุดแสนจะ
ทุกข์ทรมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 07:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาด้วยครับ :b8: :b27: :b1:

ศึกษาจากกระทู้นี้นะครับ

วันโกน-วันพระ หรือวันอุโบสถ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45496


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


การจะรักษาศีลอุโบสถ ก็เหมือนรักษาศีล ๘
แต่ต่างกับรักษาศีล ๘ ตรงที่ อาราธนาขอศีล เท่านั้น
การจะรักษาอุโบสถศีลจะต้องนอนที่วัด โดยไม่กลับมาบ้าน จนถึงรุ่งขึ้นของวันใหม่
การรักษาศีลอุโบสถนั้นจะต้องรักษาวันหนึ่งและคืนหนึ่ง ก็หมายความว่า น่าจะให้ครบ ๒๔ ชั่วโมง
และก็น่าจะนับตั้งแต่รับศีลอุโบสถเป็นต้นไป เช่นว่ารับศีลตอน ๔ โมงเช้าก็น่าจะกลับบ้าน
ในเวลา ๔ โมงเช้าของวันใหม่อีกวันหนึ่ง ซึ่งเห็นบางวัดสวดมนต์ตอนเช้ามืดเสร็จก็กลับมาบ้านแล้ว
อันนี้ก็ไม่น่าจะครบวันหนึ่งและคืนหนึ่ง

แต่สมัยก่อนๆตอนที่ผมเป็นเด็กๆ เขาจะอยู่วัดรักษาศีลอุโบสถกันตั้งแต่วันโกนเป็นต้นไป
จนครบ ๓ วันเลย ก็เพื่อจะให้ครบวันหนึ่งและคืนหนึ่ง หมายความว่าอยู่รักษาให้เกินๆ ไปบ้างก็ได้
ดังที่ประกาศตนเอาไว้ ยังไงๆ ผู้รู้ก็มาแนะนำต่อก็แล้วกันนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 22:08
โพสต์: 92

แนวปฏิบัติ: สมถะกรรมฐาน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: การทำสังฆทาน
ชื่อเล่น: ไผ่
อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ

ขอถามต่ออีกหน่อยนะครับ

แล้วศีล 8 ผมถือกับบ้าน ถือเองไม่ต้องอาราธนากับพระได้ไหมครับ

.....................................................
อย่าได้เห็นแก่ความสุข สนุกสนานชั่วครู่คราว
เพราะผลกรรมที่ตามมามันสุดแสนจะ
ทุกข์ทรมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


PaiKung26 เขียน:
ขอบคุณครับ

ขอถามต่ออีกหน่อยนะครับ

แล้วศีล 8 ผมถือกับบ้าน ถือเองไม่ต้องอาราธนากับพระได้ไหมครับ


ถ้าจะถือศีล ๘ ที่บ้านก็ควรจะกล่าวต่อหน้าพระพุทธรูปได้เช่นกัน ว่าจะถือกี่วัน
จะวันหนึ่งและคืนหนึ่งก็ได้ ๓ วัน ๗ วัน แล้วแต่เรา แต่ก็อย่าลืมทำทานเป็นเบื้องต้นเสียก่อน
เช่น ว่าหลังการใส่บาตรตอนเช้าเป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2013, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html

ในนี้เขียนไว้ อุโบสถศีลจะอยู่ในตอนท้ายๆ ลองอ่านแล้วก็พิจารณาดูนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 06:28 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2901


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ความมหัศจรรย์แห่ง "อุโบสถศีล"

อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับ

1. ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต

2. ผู้สะสมบารมี เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพาน

..........นางเอกุโปสติกาภิกษุณี ออกบวชเมื่ออายุได้ 7 ปี บวชแล้วไม่ทันถึงครึ่งเดือน นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

หลายคนสงสัยว่า เหตุใดนางจึงได้บรรลุธรรมรวดเร็วอย่างนั้น

นางจึงเล่าประวัติ การเวียนว่ายตายเกิดของนางว่า เมื่อ 91 กัปป์ที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมาแล้ว 7 พระองค์ คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมะพุทธเจ้า ของเราในสมัยนี้

ในสมัยพระเจ้าวิปัสสีพุทธเจ้า นางเอกุโปสติกาภิกษุณี เกิดเป็นหญิงรับใช้ของพระเจ้าพันธุมมะ ผู้ครองนครพันธุมดี นางได้เห็นพระเจ้าพันธุมมะ พร้อมด้วยอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทรงสละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ นางคิดว่า อุโบสถศีลนี้น่าจะเป็นของดีวิเศษ เจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงสนใจสมาทานรักษาเป็นประจำ นางคิดได้ดังนี้ จึงศึกษา และทำใจร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ

ผลของการรักษาอุโบสถศีล ทำให้นางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานอันสวยงาม มีนางฟ้าแสนนางเป็นบริวาร มีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทองคำ มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าอื่นๆ ระหว่างที่นางยังท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่ว่าจะเกิดในภพใดชาติใด นางจะเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกภพทุกชาติ ได้ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนยอดปราสาทมณฑป ได้ดอกไม้ เครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ของกินของใช้ไม่เคยอดอยาก ภาชนะเครื่องใช้ทำด้วยเงินทอง แก้วผลึก แก้วปทุมราช ผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าเปลือกไม้ล้วนแต่งามวิจิตรมีราคาสูง พาหนะช้าง ม้า รถ มีครบบริบูรณ์ ทุกอย่างเป็นผลบุญที่เกิดขึ้นจากการรักษาอุโบสถศีลในวันพระของนาง ตลอดเวลา 91 กัปป์นางมิได้ไปเกิดในทุคติภูมิเลย

พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์แปดที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก มีผลอานิสงส์แผ่ไพศาลมาก"


อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์

บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก มหาเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ความร่ำรวยเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แล้ว ย่อมเป็นของเล็กน้อย ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทุกคนในโลกรวมกัน ก็ไม่เท่าทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์...ทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการรักษาอุโบสถศีล ย่อมเป็นของเล็กน้อย คือ ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของผลบุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพราะสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นสมบัติมนุษย์ เป็นสมบัติหยาบ เป็นความสุขหยาบ ใช้เวลาเสวยอย่างมากไม่เกินร้อยปี แต่ผลของอุโบสถศีล เป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย การเสวยสมบัติทิพย์ กินเวลายาวนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ บางทีเป็นนิรันดร์ (นิพพานสมบัติ)

ดังนั้น ชายหญิงทั้งหลาย ผู้ได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่า ทำความดีอันมีความสุข เป็นกำไร ไม่มีคนดีที่ไหนจะติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์หกชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง


:b39: วิธีการรักษาอุโบสถศีล :b39:

เมื่อวันพระเวียนมาถึง ให้ทำความตั้งใจว่า วันนี้เราจะรักษาอุโบสถศีล เป็นเวลาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือตั้งแต่เช้าวันพระจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เจตนาละเว้นจากความชั่วทางกายวาจานั้นแลคือตัวศีล

โดยปกติวันพระ อุบาสก อุบาสิกา จะพากันไปสมาทานอุโบสถศีลที่วัด พักอาศัยอยู่ที่วัดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปวัดก็ให้ทำสมาทานวิรัติ หรือเจตนาวิรัติอุโบสถศีลเอาเอง

สมาทานวิรัติ คือ ตั้งใจสมาทานศีลด้วยตนเอง จะรักษากี่วันกำหนดเอง เว้นจากข้อห้ามของศีลเสียเอง

เจตนาวิรัติ คือ เพียงแต่มีเจตนาเว้นจากข้อห้ามที่ใจเท่านั้น ก็เป็นศีลแล้ว ไม่ต้องใช้เสียงก็ได้



สมาทานวิรัติ ดังนี้

เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวันทามิ สาธุ สาธุ สาธุ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์ ตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึง... ข้าฯ จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือ

1. ปานาติปาตา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ ไมทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นการลดการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

2. อทินนาทานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เป็นการลดการเบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่น

3. อพรหมจริยา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการประพฤติอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ คือ ไม่เสพเมถุนล่วงมรรคใดมรรคหนึ่ง (ถ้าไม่แตะต้องกายเพศตรงข้าม และไม่จับของต่อมือกัน จะช่วยให้การฝึกสติสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น)

4. มุสาวาทา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการพูดปด คือ พูดไม่ตรงกับความจริง

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มสุราเมรัยของมึนเมาเสียสติ อันเป็นเหตุของความประมาทมัวเมา

6. วิกาลโภชนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มกินอาหารในเวลาหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นการลดราคะกำหนัด และลดความง่วงเหงาหาวนอน

7. นัจจคีตวา ทิตตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธวิเลปานะ ธารณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดูละครฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อันปลุกเร้าราคะกำหนัดให้กำเริบ

8. อุจจา สะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการนั่งนอนเครื่องปูลาดอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี และวิจิตรงดงามต่างๆ เป็นการลดการสัมผัสอันอ่อนนุ่มน่าหลงไหล อดความติดอกติดใจสิ่งสวยงาม มีกิริยาอันสำรวมระวังอยู่เสมอ

ข้าฯ สมาทานวิรัติ ซึ่งอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ

เมื่อวิรัติศีลแล้ว พึงรักษากาย วาจา เว้นการกระทำตามที่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้จนสิ้นกำหนดเวลา พยายามรักษากาย วาจา มั่นอยู่ในศีล อย่าให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด หรือทะลุด่างพร้อยมัวหมอง ถ้ากระทำบ่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ศีลจะอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิจะอบรมปัญญาให้แก่กล้า สามารถรู้ธรรมเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้


ปัญหาในการรักษาศีล 8

คือ กลัวไม่ได้กินอาหารเย็น กลัวหิว กลัวเป็นโรคกระเพาะ กลัวรักษาศีลไม่ได้แล้วจะยิ่งบาป

ที่จริงแล้วผู้รักษาศีล 8 สามารถรับประทาน น้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือคั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง ผสมเกลือและน้ำตาลพอได้รส หรือรับประทาน เภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (น้ำตาล)

นอกจากนี้ ยังรับประทานสิ่งที่เป็นยาวชีวิกได้โดยไม่จำกัดกาล คือ รับประทานเป็นยา ได้แก่ รากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมู น้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลม ผลไม้ เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์ และเกลือต่างๆ


ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6964


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sirinpho เขียน:
ความมหัศจรรย์แห่ง "อุโบสถศีล"

อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับ

1. ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต

2. ผู้สะสมบารมี เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพาน

อุโบสถศีล........ไม่ใช่ศีลผู้ครองเรือน
อุโบสถศีลเป็นศีลของนักบวชที่ต้องการถือเพศพรหมจรรย์

ศีลผู้ครองเรือนคือ.....ศีลห้า

อุโบสถศีล ไม่ใช่เพื่อการสะสมบารมี แต่อุโบสถศีลเป็นหนึ่งในไตรสิกขา
เป็นส่วนของอธิศีล เป็นการปฏิบัติเพื่อมรรคผล :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 18:53 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2901


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อุโบสถศีล........ไม่ใช่ศีลผู้ครองเรือน
อุโบสถศีลเป็นศีลของนักบวชที่ต้องการถือเพศพรหมจรรย์

ศีลผู้ครองเรือนคือ.....ศีลห้า

อุโบสถศีล ไม่ใช่เพื่อการสะสมบารมี แต่อุโบสถศีลเป็นหนึ่งในไตรสิกขา
เป็นส่วนของอธิศีล เป็นการปฏิบัติเพื่อมรรคผล :b13:


อย่าว่าแต่เพียง อุโบสถศีล เลย แม้ ศีล 10 ข้อ 227 ข้อ 331 ข้อ
ฆารวาสก็สามารถรักษาได้
ศีลเหล่านี้ไม่ใช่จำกัดว่าเป็นศีลของเพศนักบวช เป็นการเฉพาะ
เพราะการรักษาศีลเค้ารักษากันที่ "จิต"
ดังนั้น เพศ ฐานะ หรือผ้าพันกาย ดูจะเป็นเรื่องรองไปเลยค่ะ

ส่วนการสะสมบารมีนั้น ก็ไปตามลำดับของศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 03:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sirinpho เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อุโบสถศีล........ไม่ใช่ศีลผู้ครองเรือน
อุโบสถศีลเป็นศีลของนักบวชที่ต้องการถือเพศพรหมจรรย์

ศีลผู้ครองเรือนคือ.....ศีลห้า

อุโบสถศีล ไม่ใช่เพื่อการสะสมบารมี แต่อุโบสถศีลเป็นหนึ่งในไตรสิกขา
เป็นส่วนของอธิศีล เป็นการปฏิบัติเพื่อมรรคผล :b13:


อย่าว่าแต่เพียง อุโบสถศีล เลย แม้ ศีล 10 ข้อ 227 ข้อ 331 ข้อ
ฆารวาสก็สามารถรักษาได้
ศีลเหล่านี้ไม่ใช่จำกัดว่าเป็นศีลของเพศนักบวช เป็นการเฉพาะ
เพราะการรักษาศีลเค้ารักษากันที่ "จิต"
ดังนั้น เพศ ฐานะ หรือผ้าพันกาย ดูจะเป็นเรื่องรองไปเลยค่ะ

ส่วนการสะสมบารมีนั้น ก็ไปตามลำดับของศีล สมาธิ ปัญญา

นั้นมันเป็นความเข้าใจของคุณ มันเป็นสิทธิของคุณ ความคิดเป็นเรื่องส่วนตัว
แต่การปฏิบัติไม่ใช่ การปฏิบัติที่ว่า คือการกระทำตามพระพุทธองค์ที่ทรงสั่งสอนไว้

ความหมายของศีลในพุทธศาสนา ก็คือความเป็นปกติของกายใจ
คนมีศีล จึงหมายถึง การเป็นอยู่อย่างปกติ ไม่ทำเรื่องที่ทำให้เกิดความ
เดือดเนื้อร้อนใจ ศีลเป็นเพียงส่วนประกอบ ความสำคัญมันอยู่ที่สถานะของบุคคล

บุคคลใดอยู่ในสถานะใด จะต้องมีข้อห้ามไม่กระทำในสิ่งที่จะทำให้กระทบต่อ
ความเป็นปกติของสถานะนั้น อย่างเป็นนักเรียนก็ต้องอยู่ในกฎของโรงเรียน
ไม่ทำอะไรที่ผิดกฎของโรงเรียน เมื่อฝ่าฝืนก็ต้องถูกทำโทษหรือไล่ออก
แบบนี้เรียกว่า ทำให้เกิดความผิดปกติต่อสถานะที่เป็นอยู่ เกิดความเดือดร้อนต่อความเป็นนักเรียน

กฎของนักเรียนกับกฎของครูผู้สอนก็แตกต่างกัน เพราะสถานะแตกต่างกัน
อย่างเมื่อก่อนนักเรียนห้ามไว้ผมยาว ครูสามารถไว้ผมยาวได้
หรือตรงกันข้ามครูห้ามสนิทสนมกับนักเรียนในทางชู้สาว แต่นักเรียนกับนักเรียนสามารถทำได้

ดังนั้นพิจารณาให้ดีแล้ว สถานะของบุคคลต้องมาก่อน กฎเกณท์ศีลข้อห้ามต้องตามหลัง

ในกรณีของคุณก็เช่นกัน คุณไม่มีความเข้าใจเรื่องของศีล
มันต้องเอาตัวหรือสถานะมากำหนดศีล ไม่ใช่เอาศีลมากำหนดตัวบุคคล

ความหมายของอุโบสถศีล คืออุโบสถกำหนดศีล อุโบสถหมายถึง วัดหรือที่อยู่ของนักบวช
ศีลหรือข้อห้ามหรือข้อกำหนด ดังนั้นความสำคัญของอุโบสถศีลก็คือสถานะ และสถานะที่ว่า
ก็คือนักบวช ฉะนั้นถ้าคุณต้องการถืออุโบสถศีล ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ศีล ศีลเป็นเพียงส่วน
ประกอบของอุโบสถหรือนักบวช ความเป็นอุโบสถศีลนั้นคือ....
คุณต้องมาอยู่ที่วัดเป็นอันดับแรก ส่วนจะถือศีลกี่ข้อ มันก็ต้องดูอีกว่า
คุณเป็นนักบวชในสถานะใด พระ เณรชี อุบาสก อุบาสิกา


ที่เขาต้องกำหนดบัญญัติเอาไว้ว่า อุโบสถศีลและศีลผู้ครองเรือน
เพื่อให้รู้ถึงศีลของผู้มีสถานะแตกต่างกัน ถ้าจะเป็นนักบวชต้องถือศีลเท่านี้
ถ้าจะยังเป็นผู้ครองเรือนก็มีศีลเท่านี้ เป็นอย่างนี้ก็เพื่อ
ไม่ให้เกิดความเดือดร้อนใจในสถานะที่เป็นอยู่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร