วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 02:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น
อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์
เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจ
ด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุง
กระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ดูกรอานนท์
เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า
ชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า
ชาติมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ภพมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอ
พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็น
ปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขา
ถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย เมื่อเธอ
ถูกถามว่า ตัณหามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ตัณหามี
อะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามี
สิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เธอ
พึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอ
พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูป
เป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้า
เขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อ
เธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า
วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิด
นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด
เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็น
ปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 455&Z=1887


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 03:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอ
พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูป
เป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้า
เขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อ
เธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า
วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิด
นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 455&Z=1887

นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้า
เขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย


ในปฏิจจฯสายเกิด เราต้องใช้รูปนาม เป็นหลักในการพิจารณาปฏิจจฯ
เรามาดูก่อนว่า รูปนามหรือนามรูปคืออะไร....

[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการนี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและ
รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ฯ

....สังเกตุและจำตรง ผัสสะ

สฬารยตนคืออะไร
[๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ


ทีนี้มาดูว่า ผัสสะคือไร
[๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ


การจะรู้ว่าธรรมตัวไหนคืออะไรจะต้องดูที่เหตุปัจจัย หรือกล่าวได้ว่าต้องดูที่เหตุปัจจัย
ที่ต้องพูดแบบนี้เป็นเพราะ สภาวะปัจจุบันและอดีตแตกต่างกัน


ปัญหาที่กำลังพิจารณานั้นก็คือ .....วิญญาน

เช่นนั้นเข้าใจว่า วิญญานในปฏิจจฯ คือวิญญานหก .....ซึ่งผมบอกไม่ใช่

ถ้าเราพิจารณา ปฏิจจสมุบาทสายเกิดให้ดี จะเห็นว่า ในขณะที่เป็นวิญญานนั้น
ยังไม่เกิด.....นามรูป ดังนั้นวิญญานในปฏิจสมุบาท ไม่ใช่วิญญานหก
วิญญานหก มีสฬารยตนะเป็นที่เกิด

ส่วนวิญญานในปฏิจสมุบาท มีเหตุปัจจัยมาจากสังขาร ดังนั้นวิญญานอาศัยสังขารเป็นที่เกิด


ความต่างของ...วิญญานและวิญญานหก
วิญญานเป็นธรรมฐิติ วิญญานหกเป็นธรรมนิยาม

วิญญานธรรมฐิติเป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ
วิญญานหกแห่งธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร

วิญญานในธรรมฐิติ มันตั้งอยู่เพราะมันเป็นของมันเอง
วิญานหกในธรรมนิยาม เกิดแล้วมันตั้งอยู่ไม่ได้ มันเกิดจากการปรุงแต่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 04:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออธิบาย เรื่องของวิญญาน ในลักษณะของบุคคลาธิษฐาน(สมมุติบัญญัติ)
ยกเอาพระสูตรมาประกอบ.......

เหตุแห่งการเกิดในครรภ์
[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิด
แห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิด
ยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี
ระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดา
ย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน
มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนัก
นั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 359&Z=8393

ก่อนที่จะเป็นทารกในครรภ์มารดา สภาวะปรมัตถ์นั้นเขาเรียกวิญญาน
นั้นหมายความว่า ยังไม่เกิดนามรูป เมื่อยังไม่เกิดนามรูป ย่อมไม่สฬารยตนะ
ไม่มีสฬารยตน ย่อมไม่มีผัสสะและวิญญานหก

ความหมายวิญญานที่เป็นปรมัตถ์ ในปฏิจจสมุบาท ก็คือ
วิญญานที่ยังไม่ปรากฎการเกิดแห่งทารก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 08:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ความหมายวิญญานที่เป็นปรมัตถ์ ในปฏิจจสมุบาท ก็คือ
วิญญานที่ยังไม่ปรากฎการเกิดแห่งทารก



แล้วเมื่อยังไม่เกิดเป็นทารก จะพิจารณาเป็นวิปัสสนายังไงครับ s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:

แล้วใครที่พอจะมีความรู้ว่าอันไหนแต่งใหม่ อันไหนแต่งเก่า
เอาอะไรมายืนยันได้อย่างชัดเจน


แต่งใหม่

การแต่งขึ้นมาใหม่ มักจะนำข้อคิดเห็นของตนเอง ที่คิดว่าใช่ ใส่ลงไปในข้อความนั้นๆ เช่น

http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php ... 272&Z=2366

ดูคำนี้ @๑. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูความเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์
@ตั้งแต่ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป

นี่คือ ทิฏฐิของผู้เขียน ที่สอดแทรกลงไป เพื่อกำกับว่า ความหมายของสภาวะนี้ ให้อ่านตรงนี้ ซึ่ง อาจจะตรงกับสภาวะหรือไม่ตรงกับสภาวะ(สิ่ง) ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ก็ได้


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0

ดูคำนี้ [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด
จำเพาะ ๓-
@๑. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ ๒. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ ๓. คือเป็น
@อุปปาติกปฏิสนธิ ฯ



แม้กระทั่ง พุทธวจนะ ที่นำมาอธิบาย แล้วสอดแทรกทิฏฐิของตนลงไปใน พุทธวจนะนั้นๆ ล้วนแต่งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น เหมือนกรณีนี้

มีคำอธิบาย สำหรับผู้ที่มีทิฏฐิว่า การกระทำทุกอย่าง ล้วนเกิดจากการปรุงแต่งของจิต ไม่มีผู้กระทำ เป็นเรื่องของจิต

หมวด ใครทำ ใครรับ มีคำอธิบายของผู้นำพุทธวจนะ มาถอดใจความ ตามทิฏฐิของตน

(พุทธศาสนามิได้ถือว่าจิตเป็นบุคคล กระแสการปรุงแต่งทางจิตเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ
ผลที่เกิดขึ้นเป็นความทุกข์จึงมิใช่การกระทำของบุคคลใด ;


ดังนั้น จึงมิใช่การกระทำของบุคคลผู้รู้สึกเป็นทุกข์ หรือการกระทำของบุคคลอื่นใด ที่ทำให้บุคคลอื่นเป็นทุกข์.

นี้เป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนาที่สอนเรื่องอนัตตา ไม่มีสัตว์บุคคลที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตา ซึ่งจิตรู้สึกได้เท่านั้น


เพราะถือมั่น จึงมีความคิดเห็นเช่นนี้

พ. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร ถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้ จึงเกิดขึ้นว่า
สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต

ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบ ไม่กระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์ แก่กันและกัน

สภาวะจิต กองอะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน

๒. กองแห่งธาตุน้ำ

๓. กองแห่งธาตุไฟ

๔. กองแห่งธาตุลม

๕. กองสุข

๖. กองทุกข์

๗. กองชีวะ

สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต
ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบ ไม่กระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์ แก่กันและกัน

ใครก็ตาม แม้จะเอาศาสตราคม ตัดศรีษะใคร ก็ไม่ชื่อว่า ใครปลงชีวิตใครได้
เพราะเป็นเพียงศาสตรา แทรกผ่านไประหว่างสภาวะ จิตกองเท่านั้นเอง

อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน ๑ ล้าน ๔ แสน ๖ หมื่น ๖ ร้อยกรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง

ปฏิปทา ๖๒ อันตรกรรม ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภู ๘ อาชีวกะ ๔๙๐๐ ปริพาชก ๔๙๐๐ นาควาส ๔๙๐๐ อินทรีย์ ๒๐๐๐ นรก ๓๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิครรภ์ทีครรภ์ ๘

เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สละ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗๐๐ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุวิม ๗ สุวิม ๗๐๐ มหากัปป์

๘๔๐๐๐ เหล่านี้ ที่คนพาลและบัณฑิต พากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จะทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังใความปรารถนาว่า

เราจักอบรมกรรม ที่ยังไม่ให้ผล ให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรม ที่ให้ผลแล้ว
จะเป็นให้ผลสิ้นไปด้วย ศิลพรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ ไม่มีสุขทุกข์ ทำให้สิ้นสุดลงได้

เหมือนตวงด้วยทะนาน สงสารที่จะทำให้สิ้นสุด ไม่มีเลย
ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูง หรือเลื่อนลงต่ำ
พวกคนพาลและบัณฑิต พากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุขและทุกข์เอง
เหมือนกลุ่มด้าย ที่ถูกขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉันนั้น

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค เป็นหลัก

พ. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป
ทิฏฐินี้จึงเกิดขึ้นว่า สภาวะจิต กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

เมื่อมีเวทนา เมื่อมีสัญญา เมื่อมีสังขาร เมื่อมีวิญญาณ
เพราะถือมั่นวิญญาณ ทิฏฐินี้จึงเกิดขึ้นว่า สภาวะจิต กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง


ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะเข้าใจความข้อนั้น ว่าอย่างไร?
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภ.ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ มีความแปรผันป็นธรรมดา เพราะถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้ พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

ภ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้ พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

ภ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึงแสวงหา มาใคร่ครวญด้วยใจเที่ยง หรือไม่เที่ยง

ภ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้ พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

ภ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุอริยะสาวก ละความสงสัย ในฐานะ ๖ ประการนี้ได้ ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัย แม้ในปฏิปทา ที่ให้ถึง ความดับแห่งทุกข์ได้

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยะสาวก ผู้เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน ที่จะสำเร็จ สัมโพธิ ในวันข้างหน้า

มาหทิฏฐิ โสตะที่ ๘




อันนี้แสดงความความคิดเห็น ส่วนใครเชื่อใคร ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ที่สร้างมาร่วมกัน ทำให้มาเชื่อกัน
ถ้าไม่สร้างเหตุมาร่วมกัน ย่อมไม่เชื่อกัน

ดูสมัยพุทธกาล ขนาดเกิดทันพระพุทธเจ้า ยังไม่เชื่อพระพุทธเจ้าก็ยังมี ทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ที่ทำกันขึ้นมาเองทั้งนั้น

แต่ เมื่อถึงวันหนึ่งวันใด เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม ผู้ที่ไม่รู้ ย่อมรู้ได้ ในวันหนึ่ง จงดูพระเทวทัติเป็นตัวอย่าง เพราะสามารถนำมาแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม ได้ชัดที่สุด




ลุงหมาน เขียน:
แล้วแต่งใหม่มันผิดอะไร ตรงไหน?


ไม่ผิดค่ะ ทุกสรรพสิ่ง ล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิด เกิดจากเหตุปัจจัยของแต่ละคนที่ทำมา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ความหมายวิญญานที่เป็นปรมัตถ์ ในปฏิจจสมุบาท ก็คือ
วิญญานที่ยังไม่ปรากฎการเกิดแห่งทารก



แล้วเมื่อยังไม่เกิดเป็นทารก จะพิจารณาเป็นวิปัสสนายังไงครับ s002

ที่รู้ว่า วิญญานเป็นเหตุแห่งทารกของครรภ์มารดา
นี่เป็นผลจากการทำวิปัสสนา เพื่อแทงตลอดปฏิจสมุบาท

การถามของคุณ เหมือนกับว่ายังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้
เลยทำให้ผู้ฟังจับประเด็นคำถามไม่ถูกว่าจะสื่ออะไร

พูดเหมือนกับว่า ทารกเป็นผู้ทำวิปัสสนาอย่างนั้นแหล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: เอาวิญญาณไปใส่รูป ^ ^
A2041597.jpg
A2041597.jpg [ 50 KiB | เปิดดู 3494 ครั้ง ]
โฮฮับ เขียน:
ปัญหาที่กำลังพิจารณานั้นก็คือ .....วิญญาน

เช่นนั้นเข้าใจว่า วิญญานในปฏิจจฯ คือวิญญานหก .....ซึ่งผมบอกไม่ใช่

ถ้าเราพิจารณา ปฏิจจสมุบาทสายเกิดให้ดี จะเห็นว่า ในขณะที่เป็นวิญญานนั้น
ยังไม่เกิด.....นามรูป ดังนั้นวิญญานในปฏิจสมุบาท ไม่ใช่วิญญานหก
วิญญานหก มีสฬารยตนะเป็นที่เกิด

ส่วนวิญญานในปฏิจสมุบาท มีเหตุปัจจัยมาจากสังขาร ดังนั้นวิญญานอาศัยสังขารเป็นที่เกิด


ความต่างของ...วิญญานและวิญญานหก
วิญญานเป็นธรรมฐิติ วิญญานหกเป็นธรรมนิยาม

วิญญานธรรมฐิติเป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ
วิญญานหกแห่งธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร

วิญญานในธรรมฐิติ มันตั้งอยู่เพราะมันเป็นของมันเอง
วิญานหกในธรรมนิยาม เกิดแล้วมันตั้งอยู่ไม่ได้ มันเกิดจากการปรุงแต่ง

อ่านไปอ่านมา
ถึงรู้อีกอย่างหนึ่งว่า
แม้แต่พระสูตรที่ โฮฮับอ้างมา ตัวโฮฮับเอง ก็ไม่รู้เรื่อง
ธัมมฺฐิติ ธัมมนิยาม โฮฮับก็ไม่รู้เรื่องอีกเช่นกัน

โฮฮับ เปิดพระสูตรที่โฮฮับอ้าง นะ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
แล้วอ่านให้จบพระสูตร ทำความเข้าใจให้มากๆ ที่ [๖๐]

จะได้รู้ว่า นามรูป ไม่ใช่หุ่นรูปปั้น ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ปัญหาที่กำลังพิจารณานั้นก็คือ .....วิญญาน

เช่นนั้นเข้าใจว่า วิญญานในปฏิจจฯ คือวิญญานหก .....ซึ่งผมบอกไม่ใช่

ถ้าเราพิจารณา ปฏิจจสมุบาทสายเกิดให้ดี จะเห็นว่า ในขณะที่เป็นวิญญานนั้น
ยังไม่เกิด.....นามรูป ดังนั้นวิญญานในปฏิจสมุบาท ไม่ใช่วิญญานหก
วิญญานหก มีสฬารยตนะเป็นที่เกิด

ส่วนวิญญานในปฏิจสมุบาท มีเหตุปัจจัยมาจากสังขาร ดังนั้นวิญญานอาศัยสังขารเป็นที่เกิด


ความต่างของ...วิญญานและวิญญานหก
วิญญานเป็นธรรมฐิติ วิญญานหกเป็นธรรมนิยาม

วิญญานธรรมฐิติเป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ
วิญญานหกแห่งธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร

วิญญานในธรรมฐิติ มันตั้งอยู่เพราะมันเป็นของมันเอง
วิญานหกในธรรมนิยาม เกิดแล้วมันตั้งอยู่ไม่ได้ มันเกิดจากการปรุงแต่ง

อ่านไปอ่านมา
ถึงรู้อีกอย่างหนึ่งว่า
แม้แต่พระสูตรที่ โฮฮับอ้างมา ตัวโฮฮับเอง ก็ไม่รู้เรื่อง
ธัมมฺฐิติ ธัมมนิยาม โฮฮับก็ไม่รู้เรื่องอีกเช่นกัน

โฮฮับ เปิดพระสูตรที่โฮฮับอ้าง นะ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
แล้วอ่านให้จบพระสูตร ทำความเข้าใจให้มากๆ ที่ [๖๐]

จะได้รู้ว่า นามรูป ไม่ใช่หุ่นรูปปั้น ^ ^

พุทโธ่เอ๋ย! อุตสาห์แยะธรรมให้ดูแล้ว ยังไม่พยายามเข้าใจ
ยังพยายามดันทุรัง เอาอะไรที่มันไม่ใช่เรื่องมาแย้งอีกแน่ะ
กลับไปอ่านอีกหลายๆรอบนะเช่นนั้น......................

วิญญานในธรรมฐิติ เป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ(ปฏิจสมุบาท)

วิญญานหกในธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ไตรลักษณ์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

วิญญานในธรรมฐิติ เป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ(ปฏิจสมุบาท)

วิญญานหกในธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ไตรลักษณ์)


grin โฮฮับ มืดถาวร :b17: :b32:

さようなら

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ดับขันธ์ในฌาณ.jpg
ดับขันธ์ในฌาณ.jpg [ 51.46 KiB | เปิดดู 3467 ครั้ง ]
Kiss
ได้ประสบพบเห็นคนคัดตำรามาเถียงกันแล้ว ซึ้งจริงๆ ว่าปริยัตินี้ยิ่งใหญ่ในหัวใจคน

จนต้องสงสัยว่าเออ.....ที่เราคุยๆปริยัติลึกล้ำพิสดารกันไปเนี่ยะ....เรายังยืนอยู่บนแผ่นดินหรือเปล่าน้อ?
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:

วิญญานในธรรมฐิติ เป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ(ปฏิจสมุบาท)

วิญญานหกในธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ไตรลักษณ์)


grin โฮฮับ มืดถาวร :b17: :b32:

さようなら

รู้มั้ยว่า ภวังคจิต บอกให้อะไรที่เกี่ยวกับธรรมสองธรรมนี่ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:

วิญญานในธรรมฐิติ เป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ(ปฏิจสมุบาท)

วิญญานหกในธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ไตรลักษณ์)


grin โฮฮับ มืดถาวร :b17: :b32:

さようなら

รู้มั้ยว่า ภวังคจิต บอกให้อะไรที่เกี่ยวกับธรรมสองธรรมนี่ :b32:

จงมั่วต่อไป โฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2013, 03:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:

วิญญานในธรรมฐิติ เป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ(ปฏิจสมุบาท)

วิญญานหกในธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ไตรลักษณ์)


grin โฮฮับ มืดถาวร :b17: :b32:

さようなら

รู้มั้ยว่า ภวังคจิต บอกให้อะไรที่เกี่ยวกับธรรมสองธรรมนี่ :b32:

จงมั่วต่อไป โฮฮับ

แค่นี้แหล่ะ รู้ขืนพูดต่อไปก็คง จะเป็นสภาพที่เห็นคือ ไม่รู้แต่อายที่จะถาม
พยายามกลบเกลื้อน ด้วยคำพูดที่น่าชวนหัว จะน่าสงสารก็ไม่ใช่ จะสมเพทก็ไม่เชิง

เอาไว้เป็นความเห็นที่เช่นนั้นพอเข้าใจได้ ค่อยเข้าไปแนะนำ มันจะได้ไม่เสียเวลา :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2013, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:

วิญญานในธรรมฐิติ เป็นความเที่ยงแห่งวัฏฏะ(ปฏิจสมุบาท)

วิญญานหกในธรรมนิยาม เป็นความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ไตรลักษณ์)


grin โฮฮับ มืดถาวร :b17: :b32:

さようなら

รู้มั้ยว่า ภวังคจิต บอกให้อะไรที่เกี่ยวกับธรรมสองธรรมนี่ :b32:

จงมั่วต่อไป โฮฮับ

แค่นี้แหล่ะ รู้ขืนพูดต่อไปก็คง จะเป็นสภาพที่เห็นคือ ไม่รู้แต่อายที่จะถาม
พยายามกลบเกลื้อน ด้วยคำพูดที่น่าชวนหัว จะน่าสงสารก็ไม่ใช่ จะสมเพทก็ไม่เชิง

เอาไว้เป็นความเห็นที่เช่นนั้นพอเข้าใจได้ ค่อยเข้าไปแนะนำ มันจะได้ไม่เสียเวลา :b13:

ดีแล้ว โฮฮับ ที่รู้จักหยุดความมั่วๆ ของโฮฮับได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
แค่นี้แหล่ะ รู้ขืนพูดต่อไปก็คง จะเป็นสภาพที่เห็นคือ ไม่รู้แต่อายที่จะถาม
พยายามกลบเกลื้อน ด้วยคำพูดที่น่าชวนหัว จะน่าสงสารก็ไม่ใช่ จะสมเพทก็ไม่เชิง
เอาไว้เป็นความเห็นที่เช่นนั้นพอเข้าใจได้ ค่อยเข้าไปแนะนำ มันจะได้ไม่เสียเวลา :b13:
ดีแล้ว โฮฮับ ที่รู้จักหยุดความมั่วๆ ของโฮฮับได้

แน่ะ! เถียงคำไม่ตกฟาก เถียงข้างๆคูๆ เหมือนเด็กเกรียน

ปัญหาเรื่องนี้มันแค่หญ้าปากคอก ถ้าเช่นนั้นไม่ทำตัวเป็นไม้แก่ดัดยาก
ความไม่รู้ของคน มันง่ายมากแค่เอาความรู้มาบอก
ความไม่รู้ก็จะเป็นวิชชาเป็นปัญญา
แต่ถ้าตัวเองไม่รู้แต่ชอบดื้อดันทุรัง ทำตัวเป็นบัวใต้ตม
มันก็จนปัญญา แม้สัตตบุรุษก็ไม่อาจช่วยได้

อันที่จริงเรื่องนี้บรรดาครูบาอาจารย์ท่าน ได้อธิบายไว้ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายๆ
เพียงแต่เป็นตัวเช่นนั้นที่ปฏิเสธที่จะรับฟัง
หลงไปยึดมั่นกับตัวบัญญัติ ที่เจ้าสำนักบางคนใช้เป็นโวหาร สร้างความชอบธรรมผิดๆ

เคยเอาพระอภิธรรมมัตถสังคหะมาพูด แต่เช่นนั้นดันทุรังบอกว่า ไม่รับฟัง
แต่พอเขาอธิบายตามปัญญาที่เป็นปัจจัตตัง เอาอีกบอกว่า เขามั่ว นั่งเทียนเขียน
:b6:

ขอเอาพระอภิธรรมที่เช่นนั้นไม่ฟัง มาพูดให้คนอื่นฟังหน่อยเถอะ....
เอาสั้นๆ ในพระอภิธรรมมัตสังคหะ ท่านอธิบายจำแนกแจกแจงไว้ว่า
ปรมัตถ์ธรรม แบ่งเป็นจิต เจตสิก รูปและนิพพาน

ปัญหาของเช่นนั้น คือเข้าใจว่า วิญญานกับวิญญานหกที่เกิดในผัสสะเป็นตัวเดียวกัน

ผมแย้งว่ามันผิด แล้วมันผิดอย่างไรตรงไหน ในพระอภิธรรมมัตสังคหะท่านอธิบายไว้ว่า

จิตปรมัตถ์คือวิญญาน
เจตสิกปรมัตถ์คือ อาการของจิตหรือสังขารขันธ์
วิญญานหกเป็นสัมปยุตปัจจัยของผัสสะ พูดง่ายๆก็คือ ผัสสะประกอบด้วย
วิญญานหกตัวใดตัวหนึ่ง...อายตนะภายใน...อายตนะภายนอก ทั้งสามทำสัมปยุตกันเรียกว่าผัสสะ

ที่นี่มาดูว่าผัสสะคืออะไรในปรมัตถ์ธรรม ผัสสะเป็นเจตสิกเป็นสังขารขันธ์
แต่วิญญานเป็นจิต
วิญญานหกในผัสสะจึงเป็นเจตสิกไม่ใช่จิตหรือวิญญาน


การจะพิจารณาวิญญานหก จะพิจารณาแต่วิญญานไม่ได้ จะต้องพิจารณาในลักษณะของผัสสะ
เพราะถ้าไม่มีผัสสะย่อมไม่มีวิญญานหก


สภาวะที่ไม่มีผัสสะเขาเรียกว่า จิตตกภวังค์หรือภวังคจิต
การที่จิตเป็นภวังคจิตนานๆ อย่างเช่นการนอนหลับสนิท จะมีวิญญานคอยรักษาภพไว้
นี้เป็นความแตกอีกอย่างของวิญญานกับวิญญานหก
:b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร