วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2013, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่ออยู่กับหลวงปู่มั่นในพรรษา การภาวนาก็มีความสงบร่มเย็นบ้างและเสื่อมบ้าง ครั้นพอออกจากท่านกลับปรากฏว่ามีแต่ความฟุ้งซ่าน ท่านเล่าถึงภาวะจิตใจในขณะนั้นว่า

“...จิตมันยังไม่ได้เรื่องได้ราว ต้องฝึกฝนอย่างหนัก กิเลสมันถอยใครเมื่อไร พอจากพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นไปได้ ๒-๓ วัน จิตมันดีดมันดิ้นหาเขียงสับยำ เพื่อเป็นอาหารกิเลสอย่างเห็นได้ชัด ถึงขนาดได้ตำหนิตนเองว่า

‘อ๋อ! เรานี่ มันกาจับภูเขาทอง เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์จิตสงบร่มเย็น พอออกจากท่านมาแล้วไม่ได้เรื่องได้ราว ทำความเพียรก็เดินไปเฉย ๆ ไม่มีอุบายอะไรที่จะแก้กิเลสได้สักตัวเดียว มีแต่ความฟุ้งซ่านภายในใจ นับวันรุนแรงขึ้นทุกวัน ๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ อยู่ห่างท่านไม่ได้ หนีจากครูบาอาจารย์ไม่ได้’

เมื่อเป็นแบบนี้ เรารีบกลับคืนไปหาท่านทันที แต่เดชะบุญเวลากลับคืนไป องค์ท่านไม่เคยตำหนิติเตียน ไม่เคยขับไล่ไสส่งเลย

บางคืนไม่ยอมหลับยอมนอนตลอดรุ่ง เพราะกลัวจิตจะเสื่อม ถึงอย่างนั้นก็ยังเสื่อมได้ เฉพาะอย่างยิ่งเวลาจิตเริ่มก้าวเข้าสู่ความสงบ ความเพียรก็ยิ่งรีบเร่ง เพราะกลัวจิตจะเสื่อมดังที่เคยเป็นมา แม้เช่นนั้น ก็ยังฝืนเสื่อมไม่ได้ ต่อมาก็เจริญขึ้นอีก แล้วก็เสื่อมลงอีก ความเจริญของจิตนั้นอยู่คงที่ได้เพียง ๓ วัน จากนั้นก็เสื่อมลงต่อหน้าต่อตา เจริญขึ้นไปถึงเต็มที่แล้วเสื่อมลง ๆ ...”

ท่านกล่าวถึงความพยายามในการต่อสู้กับความทุกข์ทรมาน และต้องทนอยู่ในภาวะจิตเสื่อมนี้นานถึง ๑ ปี ๕ เดือน ดังนี้

“...ถ้าว่าทางก็ไม่เคยเดิน จึงไม่รู้จักวิธีรักษาเข้มงวดกวดขัน แล้วงานที่จะทำให้จิตเสื่อมก็คือ มาทำกลดหลังหนึ่งเท่านั้นเอง การภาวนาไม่ค่อยติดค่อยต่อ ทีแรกมันก็แน่นปึ๋ง ๆ ของมัน ครั้นนานไปหลายวันไป รู้สึกมีลักษณะเปลี่ยนแปลง เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง อ้าว... แปลกแล้ว

นี่ละ..จิตเราจะเสื่อมนะนี่นะ แล้วขยับเข้าใหญ่ รีบร้อยกลดให้เสร็จเรียบร้อย ดีไม่ดีช่างหัวมัน.. ออกปฏิบัติเลย ตั้งแต่นั้นเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จนหมดเนื้อหมดตัวเลยนะ ไม่มีอะไรเหลือติดตัว นั่นแหละ.. ที่มีแต่ไฟล้วน ๆ สุมหัวใจ เสียดายก็เสียดาย ทำความพากเพียรเต็มเม็ดเต็มหน่วย บางคืนไม่นอนตลอดรุ่ง

พอจิตค่อยก้าวขึ้น ๆ ก็พยายามใหญ่เลย พอไปถึงขั้นที่มันเคยเสื่อมไป..อยู่นั้นได้เพียงสามวัน สามวันเท่านั้น แล้วก็เสื่อมมาต่อหน้าต่อตาอย่างรุนแรง หักห้ามต้านทานไม่ได้ ลงถึงขีดแห่งความหมดราค่ำราคา เหลือแต่ตัวเปล่า ๆ เอ้า.. ขยับขึ้นอีก ๑๔-๑๕ วันได้ ถึงที่นั่นแล้วลงอีก.. อยู่ได้เพียงสามวัน เป็นอย่างนี้มาเป็นเวลาปีกว่า มันเริ่มเสื่อมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ส่วน พ.ศ. เท่าไรก็จำไม่ได้ จำได้แต่ว่าเดือนพฤศจิกายนจิตเริ่มเสื่อม แล้วไปฟื้นขึ้นได้เดือนเมษายนปีหน้าโน้น พฤศจิกายนแล้วก็ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน เสื่อมถึงปีหนึ่งกับห้าเดือน นี่ละ..ได้รับความทุกข์ทรมานเอาอย่างมาก...”

ความทุกข์ทรมานในครั้งนี้ ให้ท่านระลึกเทียบเคียงเข้ากับประวัติของพระโคธิกะ ซึ่งเป็นพระสาวกในครั้งพุทธกาลในสมัยที่เคยเรียนปริยัติ ดังนี้

“...ดังที่เคยพูดถึงเรื่องจิตเสื่อมมาเป็นปีกว่านั้น เสื่อมแล้วเจริญ ๆ หาบหามกองทุกข์ แบกกองทุกข์นี้ แหม...ไม่มีกองทุกข์ใด ที่จะมากยิ่งกว่าทุกข์ของจิตที่เจริญแล้วเสื่อม ๆ ซึ่งปรากฏกับหัวใจของเรา จนกระทั่งถึงความเข็ดหลาบเลย ถึงขั้นที่ว่า จิตพอได้หลักขึ้นมาเป็นสงบแล้วต้องเอาตายเข้าว่า

‘คราวนี้จิตจะเสื่อมไปไม่ได้ ถ้าจิตเสื่อมคราวนี้เราต้องตาย จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นั่นซิ มันอาจเป็นได้นะ’ สำหรับนิสัยเรานี้มันเด็ดขาดจริง ๆ

เราก็เทียบเอาพระโคธิกะนั่นมาเป็นตัวอย่าง ท่านฆ่าตัวตายเพราะจิตท่านเสื่อมในครั้งนั้น ท่านบอกว่าฌานเสื่อม ๆ ก็คือสมาธินั่นแหละเสื่อม ฌานก็แปลว่า ความเพ่งความเล็งอยู่จุดเดียว คือจุดแห่งความสงบนั้นมันเสื่อมไป ทีนี้ไม่มีจุดไหน ที่จะจับจะข้องจะแวะจะอาศัยพึ่งพิงได้ ที่นี้ก็มีแต่ความว้าเหว่ เสียดาย ความสุขที่เกิดขึ้นจากความสงบของฌานนั้นโดยถ่ายเดียว โดยไม่มีสิ่งตอบแทนคือสมหวังว่า เป็นความสงบตามความมุ่งหวังแล้วอย่างนี้ไม่มี นั่นละ.. กองทุกข์เกิดขึ้นเวลานั้น ท่านแสดงไว้มีถึง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง พอครั้งสุดท้าย ท่านก็เอามีดโกนมาเฉือนคอเลย
อันนี้ในตำราพูดไว้ไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เราก็เข้าใจ เวลามาปฏิบัติแล้วเข้าใจ เวลาอ่านตำราไม่ค่อยเข้าใจ ลักษณะเป็นมัว ๆ อยู่ ท่านพูดถึงเรื่องพระโคธิกะ ในภาคปฏิบัติของเรามันก็จับกันได้ทันที...”

เมื่อโอกาสอันควรมาถึง ท่านจึงเข้ากราบเรียนปรึกษาถึงภาวะจิตเสื่อม ว่าควรแก้ไขอย่างไร และด้วยกุศโลบายแยบยลของครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นกลับแสดงเป็นเชิงเสียใจไปด้วยพร้อมกับให้กำลังใจศิษย์ว่า“...น่าเสียดาย..มันเสื่อมไปที่ไหนกันนา เอาเถอะ..ท่านอย่าเสียใจ จงพยายามทำความเพียรเข้ามาก ๆ เดี๋ยวมันจะกลับมาอีกแน่ ๆ มันไปเที่ยวเฉย ๆ พอเราเร่งความเพียรมันก็กลับมาเอง หนีจากเราไปไม่พ้น

เพราะจิตเป็นเหมือนสุนัขนั่นแล เจ้าของไปไหนมันต้องติดตามเจ้าของไปจนได้ นี่ถ้าเราเร่งความเพียรเข้าให้มาก จิตก็ต้องกลับมาเอง ไม่ต้องติดตามมันให้เสียเวลา มันหนีไปไหนไม่พ้นเราแน่ ๆ ...

จงปล่อยความคิดถึงมันเสีย แล้วให้คิดถึงพุทโธ ติด ๆ อย่าลดละ พอบริกรรมพุทโธถี่ยิบติด ๆ กันเข้า มันวิ่งกลับมาเอง คราวนี้แม้มันกลับมาก็อย่าปล่อยพุทโธ มันไม่มีอาหารกิน เดี๋ยวมันก็วิ่งกลับมาหาเรา

จงนึกพุทโธ เพื่อเป็นอาหารของมันไว้มาก ๆ เมื่อมันกินอิ่มแล้วต้องพักผ่อน เราสบาย.. ขณะที่มันพักสงบตัว ไม่วิ่งวุ่นขุ่นเคืองเที่ยวหาไฟมาเผาเรา ทำจนไล่มันไม่ยอมหนีไปจากเรา นั่นแลพอดีกับใจตัว หิวโหยอาหารไม่มีวันอิ่มวันพอ ถ้าอาหารพอกับมันแล้ว แม้ไล่หนีไปไหนมันก็ไม่ยอมไป ทำอย่างนั้นแล จิตเราจะไม่ยอมเสื่อมต่อไป...”

คำสอนดังกล่าวของหลวงปู่มั่น ทำให้ท่านตั้งคำมั่นสัญญาขึ้นว่า

“...อย่างไรจะต้องนำคำบริกรรมพุทโธมากำกับจิตทุกเวลา ไม่ว่าเข้าสมาธิ ออกสมาธิ ไม่ว่าจะที่ไหน อยู่ที่ไหน แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด หรือทำกิจวัตรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้สติพลั้งเผลอจากคำบริกรรมนั้นเลย...” เมื่ออยู่กับหลวงปู่มั่นได้ระยะหนึ่ง ทำให้พอทราบถึงอุปนิสัยของท่านที่ไม่ยุ่งกับใคร หลวงปู่มั่นจะไปไหนก็ด้วยความจำเป็นจริง ๆ เมื่อทราบว่าวันนี้จะเป็นวันเผาศพของหลวงปู่เสาร์ (เดือนเมษายน) ท่านก็กำหนดไว้แล้วว่าน่าจะออกเดินทางวันนี้ จึงไปเตรียมรอรับท่านดังนี้

“...พอเราไปถึงบ้านน้ำก่ำ แถวนี้สามแยกน้ำก่ำ ทางนี้ไปพระธาตุพนม ทางนี้ไปอุบลฯ อีกทางมาทางอำเภอนาแก เรามาพักอยู่วัดป่าสามแยกนี่ เราถามโยมเขา ทราบว่าท่านมาเมื่อวานนี้

คือเราไปรับท่าน ท่านไปเผาศพหลวงปู่เสาร์มา กะว่าเผาวันนี้ วันนี้ท่านจะออก ตามธรรมดาท่านไม่ยุ่งกับใคร ท่านไปด้วยความจำเป็น เป็นอาจารย์ของท่าน ท่านไปเผาศพให้ท่าน ให้เราเฝ้าวัดอยู่ที่วัดนาสีนวน พอเผาศพวันนั้น กะวันนั้น เราก็ออกเดินทางจากวัดนาสีนวนไปเลย พองานศพหลวงปู่เสาร์เสร็จวันนั้น วันหลังนั้นท่านก็ออกมาเลย ท่านไปพักวัดอ้อมแก้ว เดี๋ยวนี้ดูไม่เรียกวัดอ้อมแก้วที่ธาตุพนม พอเราไปถึงสามแยกน้ำก่ำมาถามข่าวเขา ชื่อท่านไปที่ไหนก็ดังละ ถามพอดีได้ความเลย ท่านมาถึงแล้ว...มาที่ธาตุพนมแล้ว

พอเราทราบ เราก็บึ่งเข้าไปที่วัดอ้อมแก้ว ไปก็ไปเห็นท่าน เราก็ไปนิมนต์ท่านมา เรากราบเรียนท่านว่า
‘สถานที่นี้ไม่สะดวกสบาย รู้สึกว่าวุ่นวาย สู้สถานที่ที่ผมพักอยู่ไม่ได้ ที่นั่นเป็นวัดป่า เหมาะสมดีเหลือเกิน ที่บ้านฝั่งแดงเวลานี้เป็นวัดร้าง กระผมมาพักอยู่องค์เดียว ที่นั่นดี สงัดมากทุกอย่าง’

ท่านว่า ‘ฮือ! อย่างนั้นหรือ ? ก็ไปสิ’

เพราะท่านเป็นไข้หวัดใหญ่มาจากโน้น ท่านเป็นไข้หวัดใหญ่ดูเหมือนอยู่นั่นสองคืนเท่านั้นละมั้ง ? เดินมา ๆ ท่านเป็นไข้หวัดใหญ่มาจากอุบลฯ เดินมาจากพระธาตุพนม มานี้ก็ประมาณสัก ๗-๘ กิโลเมตร เห็นจะได้นะ จากวัดอ้อมแก้วนี่ พระธาตุพนมอยู่ทางโน้น วัดอ้อมแก้วอยู่อีกทาง เป็นวัดท่านอาจารย์เสาร์เป็นผู้สร้างนะ พอตื่นเช้าวันหลัง ท่านไปเลย พอกราบเรียนท่านแล้ว.. ท่านเดินไปนะ

ออกจากนั้นมาก็มาพักบ้านฝั่งแดง ถ่ายรูปท่านั่ง-ท่ายืนที่วัดฝั่งแดงนี่ ที่มีต้นไม้อยู่ข้างหลังท่าน ท่านยืนอยู่ใต้ร่มไม้นั่น เราอยู่ที่นั่น ท่านอนุโลมให้ลูกศิษย์ของท่าน พวกธาตุพนมทั้งลูกทั้งหลานเต็มไปหมด มาขอถ่ายรูปกับท่าน ท่านไม่ให้ใครถ่ายง่าย ๆ นี่ท่านอนุโลมเต็มที่ เพราะเป็นลูกศิษย์เก่าของท่านตั้งแต่ท่านยังหนุ่มก็เลยให้ถ่าย ท่านอนุโลมให้ทั้งท่ายืน ท่านั่ง

ถ่ายท่านั่งขัดสมาธิ ท่ายืนพาดสังฆาฏิด้วย แกก็เห็น..นี่ละรูปท่านอาจารย์มั่นเรา หลวงปู่มั่นเรา เห็นยืนพาดสังฆาฏิ นั่งขัดสมาธิอยู่ที่บ้านฝั่งแดง ท่านเต็มใจให้ถ่าย เมตตาลูกศิษย์ของท่าน ธรรมดา..โหย...ใครจะไปถ่ายท่านได้ง่าย ๆ นี่เป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน ท่านจึงให้ถ่าย จึงได้เห็นรูปของท่าน เพราะฉะนั้น เราถึงรู้ว่าท่านถ่ายรูปที่วัดสุทธาวาสหนหนึ่ง ขึ้นนั่งบนธรรมมาสน์ แล้วก็ถ่ายที่นี่อีกหนหนึ่ง นอกนั้นไม่เห็นมีเลย...”



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวัจนะ

๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ
ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิต
เป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๔๗
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึง
เห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมา
ดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ
เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐.
ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น.๔๓๑
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึง
ราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน
พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๘๕
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอัตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่.
เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงใน
รอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น
นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่
เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ
เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่อง
สุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่. เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อ
จะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้น
ใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอก
แนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,เธอจักฟังด้วยดี
จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓,
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อย
กรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
ของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้
ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟัง
ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพา
กันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความ
สงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น.๓๕๒
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณ ีนี้คือ ภิกษ ุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิ
ตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ
สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟังไม่
เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ
เหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตน
ควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำ
ให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา
ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
ทั่วถึง และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต
อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มา
กล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็น
สิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกัน
ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่าปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน
อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้ ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้ง
สองพวกนั้น คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวน
กันเอาเองเป็นเครื่องนำไป :ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๕๐๕
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็น
สิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศ
ทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำ
มรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคต
เป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) ป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็น
เครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๗๒๑
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอก
สอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะ
ที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่
คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัย
สืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจน
เสื่อมสูญไป..
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๕
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระ
พักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๒ (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระ
เถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำ
สอนของพระศาสดา”...
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวน
มากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระ
เหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง
เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้น
ว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ
เหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและ
พยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัส
ของพระผู้มีระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส.. นี้ไว้
อุปริ. ม. ๑๔/๕๓/๔๑
อริยวินัย น. ๓๙๙
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสีย
แล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เรา
แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วง
ไปแห่งเรา
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตน
เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
เป็นอยู่ อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด
แล.
มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุรษคน
สุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเรา
เลย
ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุณณกมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์มีความต้องการปัญหา จึง

มาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่มีความหวั่นไหว ผู้ทรง

เห็นรากเหง้ากุศลและอกุศล สัตว์ทั้งหลายผู้

เกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์

พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชา

ยังแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีภาคเจ้า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนปุณณกะ

สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่า-

ใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมากในโลกนี้ คือ ฤาษี

กษัตริย์ พราหมณ์ ปรารถนาความเป็น

มนุษย์เป็นต้น อาศัยของมีชรา จึงบูชายัญ

แก่เทวดาทั้งหลาย.

ป. สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอันมากในโลกนี้ คือ

ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ บูชายัญแก่เทวดา

ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์

สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น เป็น

คนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชรา

ได้บ้างแลหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนปุณณกะ สัตว์ทั้งหลาย

ผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหวัง ย่อม

ชมเชย ย่อมปรารถนา ย่อมบูชา ย่อมรำพัน

ถึงกาม เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่า สัตว์

เหล่านั้นประกอบการบูชา ยังเป็นคนกำหนัด

ยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าหาก

ว่าสัตว์เหล่านั้นผู้ประกอบการบูชา ไม่ข้าม

พ้นชาติและชราไปได้ด้วยยัญวิธีทั้งหลาย

ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลก

และมนุษย์โลก ข้ามพ้นชาติและชราไปได้

ในบัดนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้า-

พระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จง

ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนปุณณกะ ผู้ใดไม่มีความ

หวั่นไหว (ดิ้นรน) ในโลกไหน ๆ เพราะ

ได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก

ผู้นั้นสงบแล้ว ไม่มีความประพฤติชั่วอันจะ

ทำให้มัวหมองดุจควันไฟ ไม่มีกิเลสอัน

กระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่า

ผู้นั้น ข้ามพ้นชาติและชราไปได้แล้ว.

ปุณณกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อเนชํ ดังนี้ แม้พระสูตรนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ทรงตรัสห้ามโมฆราชโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มูลทสฺสาวึ คือผู้เห็นรากเหง้ามีอกุศลมูล

เป็นต้น . บทว่า อิสโย ได้แก่ชฎิล มีชื่อว่า ฤาษี. บทว่า ยญฺ ได้แก่

ไทยธรรม. บทว่า อกปฺปยึสุ คือแสวงหา.

บทว่า อาสึสมานา คือปรารถนารูปเป็นต้น. บทว่า อิตฺถตฺตํ

คือปรารถนาความเป็นมนุษย์เป็นต้น. บทว่า ชรํ สิตา คืออาศัยชรา. ใน

บทนี้ท่านกล่าวถึงทุกข์ในวัฏฏะทั้งหมดด้วยหัวข้อคือชรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายอาศัยทุกข์ในวัฏฏะเมื่อไม่พ้นไปจาก

ทุกข์นั้นจึงปรารถนาอย่างนี้.

ยัญนั่นแล ชื่อว่า ยัญญปถะ ในบทนี้ว่า กจฺจิสฺสุ เต ภควา

ยญฺญปเถ อปฺปมตฺตา อตารุ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ สัตว์ทั้งหลายเป็นคนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชรา

ได้บ้างหรือ. ท่านอธิบายไว้ว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในยัญ ปรารภ

ยัญ ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะได้บ้างหรือ.

บทว่า อาสึสนฺติ คือสัตว์ทั้งหลายปรารถนาการได้รูปเป็นต้น. บทว่า

โถมยนฺติ คือ สรรเสริญยัญเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า สุจึ ทินฺน เราให้ของ

ที่สะอาดแล้ว. บทว่า อภิชปฺปนฺติ ย่อมปรารถนา คือ ย่อมเปล่งวาจาเพื่อ

ได้รูปเป็นต้น. บทว่า ชุหนฺติ ย่อมบูชา คือย่อมให้. บทว่า กามาภิชปฺปนฺติ

ปฏิจฺจ ลาภํ ย่อมรำพันถึงกามก็เพราะอาศัยลาภ คือสัตว์ทั้งหลายย่อมรำพันถึง

กามบ่อย ๆ เพราะอาศัยการได้ลาภมีรูปเป็นต้น คือย่อมกล่าวว่า ทำอย่างไร

ดีหนอ กามทั้งหลายจะพึงมีแก่เราบ้าง. ท่านอธิบายว่า กามทั้งหลายอาศัย

ตัณหาย่อมเจริญ. บทว่า ยาจโยคา ผู้ประกอบการบูชา คือน้อมไปในการ

บูชา. บทว่า ภวราครตฺตา กำหนัดยินดีในภพ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย

กำหนัดด้วยความยินดีในภพ ด้วยความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้. หรือ

เป็นผู้กำหนัดด้วยความยินดีในภพ กระทำความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า

ไม่ข้านพ้น คือไม่ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะมีชาติเป็นต้นไปได้.

บทว่า สงฺขาย คือพิจารณาแล้วด้วยญาณ. บทว่า ปโรวรานิ ยิ่ง

และหย่อน อธิบายว่า ยิ่งและหย่อน มีความเป็นของตนของผู้อื่นและความเป็น

ตนของตนเองเป็นต้น. บทว่า วิธูโม ปราศจากควัน คือเว้นควันมีกาย

ทุจริตเป็นต้น. บทว่า อนิโฆ ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต คือเว้นจากกิเลส

อันกระทบจิต คือราคะเป็นต้น. บทว่า อตาริ โส ผู้นั้นข้ามไปได้ คือผู้เห็น

ปานนั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้ามชาติและชราไปได้. บทที่เหลือในบทนี้ชัด

ดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต

ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา แม้พราหมณ์นี้ก็ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วย

อันเตวาสิก ๑,๐๐๐. ชนอื่นอีกหลายพัน ก็เกิดดวงตาเห็นเห็น. บทที่เหลือ

เช่นกับที่กล่าวแล้วนั้นแล.



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 18:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ คำสอนพระอาจารย์ใหญ่ลึกซึ้ง ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ยิ่งนัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถ้าแยกออกก็มีอยู่ ๒ แนวหลักๆ แนวที่ ๑ คือ พระองค์ทรงแสดงความจริงของธรรมชาติ ธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้นของมันเอง เป็นธรรมะ เป็นธาตุ ไม่มีใครที่เป็นผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลังเลย เป็นแต่ธรรมะล้วนๆ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีใครมีอำนาจดลบันดาลอะไร พระองค์ทรงสอนเรื่อง อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะการเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะการดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป สิ่งนี้เป็นเหตุ สิ่งนี้เป็นผล สิ่งที่เป็นผลก็เป็นเหตุให้สิ่งอื่นต่อไปเรื่อยๆ ทุกสิ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งไหนที่อยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวหรืออยู่ได้มั่นคงถาวรด้วยตัวเอง มีแต่สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยและแตกดับไปตามสมควร ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป คงอยู่ได้ไม่นาน อยู่ได้เพียงชั่วคราว จากไม่มีก็มามีขึ้น จากมีแล้วก็ไปสู่ความไม่มี

ที่สิ่งต่างๆ มันมีเหตุจึงเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงมีสิ่งนี้ และเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท สิ่งทั้งหลายอิงอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้น สิ่งไหนที่เกิดขึ้นแล้วมันก็มีลักษณะที่เป็นไตรลักษณ์ คือเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วมันต้องดับไป สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง มีปัจจัยที่ทำให้มันเกิดมากมาย ปัจจัยที่ทำให้เกิดก็เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เกิดจากปัจจัยก็เลยพลอยไม่เที่ยงไปด้วย นี้เรียกว่า สิ่งนั้นมันทนอยู่ในสภาพเดิมของมันไม่ได้ มันเป็นทุกข์ ไม่สมบูรณ์ในตัวมันเอง จะเอาเป็นที่พึ่งพึงจริงๆ ไม่ได้ และเป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาเอาตามใจชอบได้ หรือจะไปแสวงหาตัวตนถาวรแสวงหาผู้มีอำนาจบังคับนั้นไม่สามารถที่จะหาได้ มีแต่สิ่งที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยล้วนๆ เกิดขึ้นเป็นคราวๆ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีบุคคลหรือผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง อันนี้คือกฎความจริงของธรรมชาติ

เมื่อทรงแสดงความจริงอย่างนี้แล้ว พระองค์ก็สอนวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากความจริงด้วย เป็นคำสอนแนวที่ ๒ ซึ่งพระองค์ทรงเน้นมากเป็นพิเศษ เพราะว่าถึงพระองค์จะตรัสรู้ความจริงของธรรมชาติแล้ว ถ้าไม่มีพระธรรมต่างๆ มาสอนเรา ไม่มีวิธีการปฏิบัติมาแนะนำ เราก็ไม่สามารถเกิดปัญญาที่จะเห็นอย่างนั้นได้ ความจริงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือทำอย่างไรจะให้เกิดปัญญาได้เห็นความจริง ผู้ที่พ้นทุกข์แล้ว ผู้ที่ถึงวิมุตติหลุดพ้นแล้ว ท่านมาบอกความจริงให้ฟัง นี้ก็เป็นความรู้ของท่าน ที่สำคัญกว่านั้นคือทำอย่างไรเราจะหลุดพ้นได้บ้าง อันนี้แหละที่สำคัญ

จึงมีคำสอนประเภทที่ ๒ ขึ้นมา แสดงถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากความจริง คือคำสอนในแนวปฏิบัติ วางกรอบหลักการในการปฏิบัติตามแนว อริยสัจ ๔ ก็ดี เรื่องของกรรมก็ดี เรื่องการปฏิบัติตามลำดับในไตรสิกขา จนกระทั่งอริยมรรคทั้งแปดสมบูรณ์ รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่เป็นคำสอนแนวจริยธรรมทั้งหมด ก็เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้ได้รับประโยชน์จากความจริง

หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ เป็นคำสอนประเภทหลักการที่ครอบคลุมการรู้ความจริงของธรรมชาติ นำมาใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงการพ้นทุกข์ พระองค์สอนว่า ทุกขอริยสัจให้รู้ให้แจ่มแจ้ง ให้รู้ว่ามันเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นของแปรปรวน มีเหตุเกิดขึ้นเป็นคราวๆ แล้วก็ดับไป หน้าที่ของเราคือเข้าใจมันให้แจ่มแจ้ง ดูมันตามที่เป็นจริง เมื่อดูบ่อยๆ ก็เข้าใจ มีปัญญาเกิดขึ้น ตัณหาก็หมด

อริยสัจ ๔ เป็นคำสอนที่พระองค์สอนวิธีการที่เราจะได้รับประโยชน์จากความจริง ประโยชน์สูงสุดของความเป็นมนุษย์คือทำให้ตนเองพ้นทุกข์ ถ้าเราเข้าใจเรื่องอริยสัจ ๔ เพียงอย่างเดียว ก็เข้าใจทั้งกฎความจริงและเข้าใจวิธีการปฏิบัติไปด้วยในตัว แต่บางครั้งเราไปสนใจคำสอนแง่ใดแง่หนึ่งมากเกินไป ลืมศึกษาคำสอนอีกแง่หนึ่ง ก็อาจจะเข้าใจผิดพลาดได้ เช่น เราสนใจเรื่องกรรม เราก็ศึกษาในเรื่องกรรมแง่มุมเดียว เราอาจจะเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องอื่นๆ ได้ ฉะนั้น เวลาเราศึกษาคำสอน จึงควรศึกษาให้ครบแง่มุม ศึกษาเรื่องกฎความจริงว่าเป็นอย่างไร วิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากความจริงมีวิธีการอย่างไร โดยเฉพาะที่สำคัญก็คือเรื่องอริยสัจ ๔ ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วในครั้งก่อนๆ

อริยสัจ ๔ พูดถึงเรื่องทุกข์ คือ กายกับใจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้เราดูให้เข้าใจว่า แท้ที่จริงเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ตัวเรานะ ไม่ใช่สุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ใช่หนีทุกข์อย่างหนึ่งไปเอาทุกข์อีกอย่างหนึ่ง ทุกข์ให้รู้ ที่ต้องละคือตัณหา ความต้องการ ความทะยานอยากของจิต ความอยากได้ดี อยากหนีร้าย อยากจะบังคับนั่นบังคับนี่ให้ได้ดังใจ สมุทัยนี้ควรละ นิโรธคือพระนิพพานควรทำให้แจ้ง ทำให้เป็นอารมณ์ของจิต จิตได้เห็นเป็นประสบการณ์ตรง อริยมรรคมีองค์แปดควรทำให้เจริญ

หลักปฏิบัติที่ครอบคลุมที่สุดก็คือหลักอริยสัจนี่แหละ ถ้าเข้าใจอริยสัจแล้ว ต่อไปเราก็จะเข้าใจหลักอื่นๆ ที่พระองค์ทรงแสดงได้ดี เช่น เรื่องกรรม กรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจนั่นเอง แต่เป็นส่วนที่ท่านอธิบายให้เห็นว่า กระบวนการเกิดทุกข์มาได้อย่างไร และการวนเวียนของวัฏฏะเป็นไปได้อย่างไร เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจในเรื่องทุกขสมุทัย มรรคมีองค์แปดหรือไตรสิกขาก็เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้ถึงความอิสระจากทุกข์ ที่เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นการฝึกฝนให้เกิดวิชชาขึ้นมา

ถ้าพูดถึงการปฏิบัติแท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไรมาก เป็นการสร้างวิชชาให้เกิดขึ้น เมื่อมีวิชชาก็สว่าง มองเห็นความจริง ที่เราวนเวียนอยู่เพราะมีอวิชชาเหลืออยู่ ก็เลยไปสร้างอภิสังขาร มีกิเลสต่างๆ ไปทำกรรมวนเวียน ทำกรรมแล้วก็มีวิบากเป็นผล ทีนี้ ถ้าต้องการพ้นจากวงจรกรรมนี้ต้องมีวิชชา มีความรู้ความเข้าใจในชีวิต เมื่อหมดอวิชชา มีวิชชาเกิดขึ้นก็ไม่หลงปรุงแต่งสังขาร ไม่เกิดการทำกรรมอีก ที่ยากคือความเคยชินของจิตที่มีความหลง มีความเห็นผิด มีความยึดมั่นถือมั่นมาก ไม่รู้อริยสัจ จึงมีวิธีการฝึกฝนต่างๆ ที่พระองค์สอนไว้

ฉะนั้น สรุปแล้ว คำสอนแยกเป็น ๒ แนวหลักๆ คือ (๑) แสดงกฎความจริงแห่งธรรมชาติ (๒) แสดงวิธีการปฏิบัติเพื่อได้รับประโยชน์จากความจริง





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้จะอธิบายเรื่องกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติฝ่ายที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยหลักใหญ่ที่สุด คือกฎอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีความหมายว่า ทุกสิ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ มีความสัมพันธ์และเป็นปัจจัยอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่มีสิ่งใดที่เป็นของเที่ยงแท้ถาวร และไม่มีตัวการอื่นที่เป็นผู้สร้างหรือผู้มีอำนาจบันดาล นี้คือตัวกฎแท้ๆ เราจึงไม่ต้องไปหาว่า มีใครคอยบังคับอยู่เบื้องหลัง แท้ที่จริงมีแต่ธรรมะทั้งนั้นแหละ ธรรมะล้วนๆ นะ ธรรมะเป็นอย่างนั้นของมันเอง เมื่อคนเข้าถึงธรรมะแล้ว ก็ไม่มีสิ่งอื่นที่จะต้องเข้าถึงอีก การเข้าถึงธรรมะคือเข้าถึงปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า

กฎธรรมชาตินี้มีทั้งฝ่ายที่ทำให้เกิดทุกข์ และฝ่ายที่ทำให้หมดทุกข์ นี้พูดถึงกระบวนการทำงานในจิตใจเรานะ มีฝ่ายเกิดทุกข์กับฝ่ายหมดทุกข์ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้มีมาก แต่ที่พระองค์นำมาแสดงนั้นเฉพาะเรื่องทุกข์กับการพ้นไปแห่งทุกข์เท่านั้น เพราะว่า เรื่องอื่นๆ เป็นความรู้ที่เกินจำเป็นสำหรับเราทั้งหลาย เราอาจมีความรู้สร้างเครื่องมือต่างๆ มากมายมาใช้สำหรับอำนายความสะดวกให้เรามีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น อย่างนั้นก็ดีเหมือนกัน แต่ไม่ทำให้พ้นทุกข์จริง ที่พระองค์สอนจริงๆ ก็คือเรื่องทุกข์กับการพ้นไปแห่งทุกข์

คำสอนที่เกี่ยวกับกระบวนการเกิดทุกข์วนเวียน เป็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาระ และคำสอนที่เกี่ยวกับกระบวนการพ้นทุกข์ เป็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาระ ทั้งฝ่ายเกิดทุกข์และการพ้นไปแห่งทุกข์นี้ เป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติล้วนๆ มีความสัมพันธ์เป็นปัจจัยอิงอาศัยกัน กรรมก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำให้เกิดทุกข์ เป็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทุกข์ เราอยู่ในโลกก็ต้องทำกรรมวนเวียนไป แต่ต้องทำกรรมให้มันถูก ละกรรมที่ไม่ดีออกไป ทำกรรมดี และให้ดีกว่านั้นคืออยู่เหนือกรรม

กระบวนการเกิดทุกข์นี้ ถ้าพูดให้ย่อที่สุด ท่านจัดเป็นอย่างนี้ คือมี กิเลส กรรม วิบาก เป็นของวนเป็นวงกลม เรามีกิเลสในใจ มีความไม่รู้อริยสัจ อยากได้ดี อยากหนีร้าย ก็ไปทำกรรม ทำกรรมเพื่อตัวเรา เพราะรู้สึกว่าเรามันตัวดีตัววิเศษ เป็นตัวสุข ตัวที่จะทำให้ถึงการพ้นทุกข์ ตัวที่จะถึงพระนิพพาน แม้แต่นักปฏิบัติธรรมก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนั้น ทรงสอนว่าไม่มีตัวเราจริง ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรานี้เริ่มต้นผิด เริ่มต้นว่ามีตัวเรา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ อยากให้ตัวเราถึงพระนิพพาน ก็ไปหาวิธีปฏิบัติธรรมต่างๆ นานา อันนี้ก็เกิดกิเลสขึ้นมา เราก็ไปทำกรรม ได้เป็นคนดีอย่างที่เราคาดเอาไว้ ได้เป็นนักปฏิบัติธรรม ได้ใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน จนบางคนไปเป็นพรหม แต่ละคนเก่งไม่เหมือนกัน มีกิเลสไปทำกรรม เมื่อมีการทำกรรมก็ได้รับผลของกรรม ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ยังไม่รู้ความจริง มีกิเลสไปทำกรรม ได้รับผลวิบาก วนเวียนเป็นวงกลมอย่างนี้เป็นวัฏฏะ

ในการทำกรรมนั้น ก็ทำให้เราเป็นคนดีบ้าง มีความรู้สึกว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมบ้าง มีความรู้สึกว่าเราเป็นนั่นเราเป็นนี่บ้าง มีความรู้สึกว่าเราเก่งขึ้นบ้าง มีความรู้สึกว่าเราสามารถบังคับสิ่งนั้นบังคับสิ่งนี้ได้บ้าง นั่งนานๆ บังคับไม่ให้เจ็บหลังก็ได้ อะไรอย่างนี้ ที่รู้สึกว่ามีตัวเรา ที่รู้สึกว่าบังคับได้ ก็เกิดจากกิเลสของเรานั่นเอง พระพุทธเจ้าท่านสอนว่ามันบังคับไม่ได้ การที่เรารู้สึกว่า เป็นนักปฏิบัติธรรม เป็นคนดี ก็เป็นอาการของทุกข์อย่างหนึ่ง แต่เป็นทุกข์แบบคนดี คนไม่ดีก็ทุกข์แบบคนไม่ดี คนดีก็ทุกข์แบบคนดี เทวดาก็ทุกข์แบบเทวดา พรหมก็ทุกข์แบบพรหม นักปฏิบัติก็ทุกข์แบบนักปฏิบัติ เพราะยังมีความรู้สึกว่ามีเรา

ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีตัณหาอุปาทาน เกิดการทำกรรม เกิดทุกข์ ทุกข์ที่เกิดขึ้นคือความรู้สึกว่า มีเราเป็นคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้เกิดความรู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่มีเราจริง มีแต่กายกับใจมันทำงานของมันไป จิตคิดดีก็เรื่องของจิต จิตคิดไม่ดีก็เรื่องของจิต จะสุขก็เรื่องของจิต จะทุกข์ก็เรื่องของจิต จะถึงพระนิพพานก็เรื่องของจิต .. ไม่เกิดความรู้อย่างนี้ เราเกิดความรู้สึกว่า มีเราที่ทำได้ การที่เราต้องการดี ทำดี นี้ก็เกิดจากกิเลสได้เหมือนกัน

ถ้ามีกิเลสมากๆ เห็นแก่ตัวมากๆ ก็อาจไปทำผิดศีลธรรมอะไรต่างๆ ได้ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดโกหก เป็นคนไม่ดี จะได้รับวิบากที่ไม่ดี ตายไปก็ไปเกิดในอบายภูมิ กระบวนการปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทุกข์นี้ เป็นทางฝ่ายดีก็ได้ ฝ่ายไม่ดีก็ได้ เรียกว่าการสร้างอภิสังขาร ฝ่ายไม่ดีเรียก อปุญญาภิสังขาร ฝ่ายดีเรียก ปุญญาภิสังขาร กับอเนญชาภิสังขาร

เวลาละกรรมนั้น เราละกรรมที่ไม่ดีก่อน ละภพภูมิที่ไม่ดีก่อน ไม่ใช่จะละทั้งหมดเลยทีเดียว อย่างเช่น ท่านที่เป็นพระโสดาบันแล้วไม่มีทางไปเกิดอบายภูมิแล้ว ปิดอบายภูมิได้แล้ว นี้ท่านละภพภูมิที่ไม่ดีหมดแล้ว ภพภูมิที่ดียังเหลืออยู่ ถ้ายังไม่เป็นพระอรหันต์ก็ยังไปเกิดอีก จิตใจเราก็ทำนองเดียวกัน ถ้าเรารู้เท่าทันความคิดความรู้สึกของตนเอง ความรู้สึกฝ่ายลบก็จะค่อยๆ หายไป ความรู้สึกฝ่ายบวกก็จะมากขึ้นๆ ไปตามลำดับ มีความเมตตาเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากขึ้น เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งนั้น หิริโอตตัปปะเพิ่มมากขึ้น ถ้ามีสัมมาทิฏฐิก็จะไม่ติดข้องในสภาวะเหล่านี้ จิตใจก็จะมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา แต่ไม่ติดข้องในศีล ในสมาธิ ปัญญาเหล่านั้น เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นแพสำหรับข้ามไปเท่านั้นเอง







ดูความหมายของคำว่า กรรม ก่อน ตามกรรมนิยาม กฎของกรรมนั้นเป็นกฎที่ว่าด้วยการกระทำโดยมีเจตนาของมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการทำให้สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลง เป็นกฎที่เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ ซึ่งกฎของกรรมนี้เป็นกฎใหญ่ของมนุษย์นะ คนที่เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ถือว่า เป็นชุมทางที่เราจะเลือกไปทางไหนก็ได้ จะเลือกไปเป็นเทวดาก็ได้ จะเลือกไปเป็นพรหมก็ได้ แม้บางคนไม่อยากจะเลือกไปอบายภูมิ แต่เข้าใจผิด มีอวิชชามาก มีมิจฉาทิฏฐิมาก ทำความชั่ว ก็ไปอบายภูมิได้ หรือบางคนมีปัญญามาก พัฒนาตนเองจนกระทั่งพ้นทุกข์ อยู่เหนือโลก ไม่เกิดอีก อย่างนี้ก็ได้ ฉะนั้น ภพภูมิมนุษย์นี้เป็นชุมทางสำหรับเลือกไปภพภูมิต่างๆ บางคนมีอินทรีย์แก่กล้าหรือมีบารมีเต็ม ก็สามารถบรรลุธรรมได้ถึงขั้นสูงสุด เพราะในภูมิมนุษย์มีการประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม

ตัวกรรมนิยามนี้เป็นการกระทำโดยเจตนาของมนุษย์ ซึ่งสัตว์ทั้งหลายไม่ค่อยมี สัตว์ต่างๆ นั้น เกิดในอบายภูมิแล้ว ส่วนใหญ่เกิดมารับผลของกรรมอย่างเดียว ใช้สัญชาติญาณในการดำเนินชีวิต ไม่เหมือนมนุษย์ มนุษย์นี้ไม่ได้ใช้สัญชาตญาณอย่างเดียว มีกรรมเก่าด้วย และก็มีการทำกรรมใหม่ที่ประกอบด้วยเจตนาทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้มาก โดยเฉพาะอุปนิสัยใจคอ ฉะนั้นจึงอยู่ที่ว่า เราจะเลือกเป็นคนดี เลือกจะไปสบายเลือกจะไปสุคติโลกสวรรค์ หรือเลือกที่จะถึงการพ้นทุกข์ เลือกที่จะออกจากโลก มนุษย์มีความสามารถพิเศษ กฎแห่งกรรมจึงเป็นของมนุษย์แท้ๆ

ท่านได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วก็ควรภูมิใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่า มนุษย์นี้ดีกว่าเหล่าเทวดาอยู่หลายประการด้วยกัน เทวดาดีกว่ามนุษย์ในแง่ของอายุยาวกว่า ทรัพย์สมบัติเยอะกว่า แต่มนุษย์ดีกว่า ในแง่ว่ามนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์ จะทำให้มีสติปัญญาเร็วขึ้น มีความพากเพียรเข้มแข็งมากกว่า กฎแห่งกรรมนี้แหละเป็นกฎของมนุษย์โดยตรง ถ้าอยากให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลง เราก็ใช้กฎแห่งกรรมคือการกระทำโดยเจตนาเป็นหัวหน้าทำลงไป สิ่งต่างๆ ก็จะเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้น ก็มีกฎธรรมชาติอื่นๆ แวดล้อมอยู่ด้วย

กฎธรรมชาตินั้นไม่ใช่มีกฎแห่งกรรมอย่างเดียว กรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่กฎแห่งกรรมนี้เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ ฉะนั้น หากเราลงมือทำจึงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงได้มาก แม้แต่ชีวิตเราเองนะ ถ้าเราขยันฝึกฝน เราต้องการเป็นคนดี เราก็ปรับปรุงตัว ทำตัวเป็นคนดีมีศีลธรรม มีจิตใจที่ดีงาม ต่อไปเราก็ไปสุคติโลกสวรรค์ หรือการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงความสิ้นทุกข์ มนุษย์สามารถทำได้

ตัวเรานี้แหละมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม ไม่ใช่ทายาทของคนอื่น ไม่ใช่ทายาทของผู้มีอำนาจ ไม่ใช่ทายาทของใครทั้งนั้น เป็นทายาทของกรรมที่ตนได้ทำมาแล้ว

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ฐานสูตร ว่า

กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ

กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ,

ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา,

ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ

เรามีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท

มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย

เรากระทำกรรมใด ดีก็ตามชั่วก็ตาม เราจักเป็นทายาทของกรรมนั้น

เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน ที่เราเป็นเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ สมบัติอันหนึ่งที่เราได้ติดตัวมาคือกรรม กรรมเก่าที่เราได้มา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ นับจากชาติอันมีเบื้องต้นซึ่งหาที่สุดไม่ได้ ที่เราได้มาคือกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้แล้ว ได้ตา ได้หู ได้จมูก ได้ลิ้น ได้กาย และได้ใจ พร้อมทั้งคุณภาพของใจที่เป็นอย่างนี้ เป็นคนที่มีอุปนิสัยใจคออย่างนี้ คุณภาพของใจนี้สำคัญ เราอยากรู้ว่า ในอดีตเราเป็นคนอย่างไร ทำกรรมชนิดไหนมามาก เราก็มองดูที่คุณภาพของใจเราก็ได้ เมื่อเรากระทบอารมณ์ต่างๆ แล้วเกิดปฏิกิริยาของใจตามความเคยชินอย่างไรบ้าง นั้นแหละคือกรรมเก่าที่เราได้สะสมมาตั้งแต่ชาติก่อนๆ

เราอยากจะแก้ตรงไหนให้มันดีขึ้น เราก็ฝึกฝนเอา เวลามีคนด่าเรา ปกติเราก็โกรธเขา แท้ที่จริงแล้วไม่ได้อยู่ที่คนด่า แต่อยู่ที่คุณภาพของใจ หากเราไม่เข้าใจเรื่องกรรม เราก็โยนความผิดไปที่อื่น หาคนผิดว่า มีคนนั้นมาด่าเรา เราจึงโกรธ หากคนนั้นไปด่าพระอรหันต์ พระอรหันต์ก็เฉยๆ มีแต่เมตตาสงสาร ไม่เกี่ยวกับเสียงด่าเลย เกี่ยวกับคุณภาพของใจ ที่ทำให้เป็นอย่างนั้น หากคุณภาพของใจเราไม่ดี มีอวิชชามาก เมื่อมีการกระทบกับอารมณ์แล้ว เกิดเวทนา ก็จะเกิดตัณหาอุปาทาน ทำให้หลงไปทำกรรมใหม่ๆ อีก จิตใจเราที่เป็นอยู่ตอนนี้แหละ คือสิ่งที่เราได้มาจากกรรม เราเกิดตายเป็นเวลานับไม่ถ้วน ได้ปัญญามาเท่านี้แหละ




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


แท้ที่จริงแล้ว อารมณ์หรือสิ่งเร้าภายนอกไม่มีผลมากนัก ที่มีผลจริงๆ ก็คือคุณภาพของใจ ถ้ามีคนมาด่าเรา เราโกรธ ก็เพราะเราไม่มีสติปัญญา ถ้าด่าคนมีปัญญาเขาก็เกิดความสงสาร คนที่ด่าผู้อื่นนี้น่าสงสารนะ เขาโกรธแล้ว ใจโดนบีบคั้นเจ็บปวดเป็นทุกข์ ถ้ามีปัญญามากกว่านั้นขึ้นไปอีก เห็นว่า เสียงเป็นสักแต่สิ่งที่กระทบหูแล้วก็ดับไป ไร้แก่นสารสาระ ไม่มีตัวตนใดๆ วางเฉยได้ ผู้ที่วางเฉยได้ทุกอารมณ์คือพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านมีอุเบกขาในสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏทางตา ทางจมูก ทางหู ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

ฉะนั้น แท้ที่จริงแล้ว อารมณ์หรือสิ่งเร้าภายนอกไม่มีผลอะไร แต่โดยส่วนใหญ่เราไม่ได้คิดอย่างนี้ เราคิดว่า มีคนอื่นที่เบียดเบียนทำร้ายเรา คนอื่น สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ภายนอกเป็นคนผิด เราเป็นฝ่ายถูก อาการเหล่านี้แสดงว่าเราเข้าใจเรื่องกรรมยังไม่ถูก เราชอบหาว่า ใครเป็นคนทำผิด สามีว่าเราแล้วเราเลยโกรธอย่างนี้ สามีเป็นคนผิด อย่างนี้เป็นต้น

หากเข้าใจเรื่องของกรรมแล้ว เราจะย้อนกลับมาดูที่เจตนาในใจเราเอง เรามีเจตนาในใจอย่างไร เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ดีหรือไม่ดี เป็นบวกหรือเป็นลบ ค่อยๆ ละเจตนาที่ไม่ดี ที่เห็นแก่ตัว ที่ทำร้ายคนอื่นออกไป แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น ถ้าเหนือขึ้นไปกว่านั้น ก็เหนือทั้งดีและไม่ดี มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญาเห็นความจริง

แท้ที่จริง ตัวเราที่ได้มานี้ เป็นสิ่งที่ได้มาจากกรรมนั่นแหละ ดังในบาลีท่านว่า กมฺมสฺสโกมฺหิ เรามีกรรมเป็นของตน กมฺมทายาโท มีกรรมเป็นทายาท กมฺมโยนิ มีกรรมเป็นกำเนิด กมฺมพนฺธุ มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กมฺมปฏิสรโณ มีกรรมเป็นที่อาศัย

ชีวิตคือตัวเรานี้ มีทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่ กรรมเก่าคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ พร้อมทั้งคุณภาพของใจที่เราได้มาจากกระทำในอดีต ส่วนกรรมใหม่คือสิ่งที่เรากระทำลงไปในปัจจุบัน เราอาศัยทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รับรู้อารมณ์ต่างๆ แล้วเราก็ทำคืนไปทางทวาร ๓ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นการทำกรรมใหม่ กรรมที่ทำนี้เป็นของของเรานะ เราจะกระทำกรรมอันใด เป็นกรรมดีก็ตาม กรรมไม่ดีก็ตาม เราจะเป็นทายาทของกรรมนั้น

เราได้ร่างกายจิตใจมาแล้วด้วยกรรมเก่า สิ่งนี้เลือกไม่ได้ เป็นต้นทุนเดิม อยู่ที่เราจะเลือกทำกรรมใหม่อย่างไร กรรมใหม่นี้มีทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านเน้นที่กรรมทางใจคือความคิดของเรา กรรมเก่าที่เราสะสมเอาไว้ เป็นความเคยชินของจิต เป็นบุคลิกลักษณะอุปนิสัยใจคอ จะแสดงออกมาเป็นปฏิกิริยาต่ออารมณ์เวลาที่เรารับรู้

พอเรากระทบกับอารมณ์แล้วก็มีปฏิกิริยาทางใจขึ้นมา รู้สึกพอใจ ไม่พอใจ โลภ โกรธ หลง อยากได้ อิจฉา อย่างนี้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดตามความเคยชิน ตามคุณภาพของจิต ถ้าเราฝึกสติสัมปชัญญะก็ให้เรารู้ทันลงไปว่า จิตรู้สึกอย่างนี้ๆ จิตใจเป็นอย่างนี้ๆ รู้กิเลสต่างๆ ที่จิตปรุงขึ้นมาเมื่อมีการกระทบอารมณ์ ถ้ามีสติสัมปชัญญะดี กิเลสก็ไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ทำตามกิเลส กรรมเก่าในกรณีนั้นก็หมดอำนาจลงไป กรรมเก่ามีอีกเยอะ กระทบอารมณ์ใหม่ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นมาตามสมควร

ทีนี้เวลาที่กระทบอารมณ์แล้ว ถ้าเรารู้ไม่ทัน สมมติว่าได้ยินเสียงด่า เราโกรธ รู้ไม่ทันความโกรธ ความโกรธก็ครอบงำใจ ความโกรธที่ครอบงำใจเรานี้เป็นกิเลส เราก็เกิดความคิดและไปพูดไปทำอะไรบางอย่าง การคิด การพูด การกระทำนั้นเป็นกรรม ความคิดของเราเป็นมโนกรรม พูดออกไปก็เป็นวจีกรรม ทำออกไปทางกายเป็นกายกรรม เราก็จะได้รับผลของกรรมต่อไป เริ่มต้นตั้งแต่ทำกรรมก็ได้รับผลแล้ว คือจิตใจไม่ดี จิตใจสะสมความเคยชินที่จะโกรธต่อไปอีก กลายเป็นคนโกรธง่าย รุ่มร้อน คนรอบข้างก็ไม่ชอบ ส่วนผลวิบากยังไม่ต้องพูดถึงก็ได้ เอาแค่ผลที่เห็นชัดๆ นี้ก็มากมายแล้ว จิตใจเป็นทุกข์นี้นี้ก็เป็นผลในขณะที่ทำ คนอื่นไม่ชอบหน้า หรืออาจจะมีเรื่องกันจนเขาทำร้ายเอา อย่างนี้ก็เป็นผลชัดๆ ในปัจจุบัน นี้เป็นกระบวนของวงกลมกิเลส กรรม วิบาก วนเวียนไป

การที่เราทำกรรมด้วยอำนาจอวิชชา คือความไม่รู้อริยสัจ จึงก่อให้เกิดผลซับซ้อนเต็มไปหมด เรามัวแต่หลง ไม่รู้เท่าทันความคิดความรู้สึกตัวเอง จึงคิดสะเปะสะปะไปทั่ว กิเลสก็เกิดขึ้นครอบงำใจ เราไปทำตาม เกิดกรรม ในชีวิตเราดูเหมือนว่า เราเห็น ได้ยิน ดมกลิ่น เจอเรื่องนั้นเรื่องนี้เยอะแยะ สับสนไปหมด เพราะว่าเราทำกรรมสะเปะสะปะ ผลที่ออกมาจึงดูสะเปะสะปะไปด้วย อาการสะเปะสะปะมากที่สุดก็คือความคิดของเราเอง คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปทั่ว หยุดไม่ได้ รู้ไม่ทันก็เกิดกิเลสครอบงำใจ ไปทำกรรม สิ่งที่เราได้พบเห็นจึงสะเปะสะปะไปด้วย อันนี้ก็เป็นผลของกรรมต้องยอมรับไป

ถ้าจะพัฒนากรรมให้ดี หน้าที่ของเรานั้นต้องฝึกสติสัมปชัญญะ ให้รู้เท่าทันความคิดความรู้สึกของเรา เวลาเรารู้เท่าทันความคิดความรู้สึก เราก็ไม่คิดสะเปะสะปะไป กิเลสก็ไม่ครอบงำจิต ไม่หลงใหลไปตามความรู้สึกที่เกิดขึ้น เวลาจะตัดสินใจทำอะไรก็ทำด้วยความมีสติ มีความรู้ตัว อย่างนี้กรรมก็ดีขึ้น ผลที่ได้รับก็ดีขึ้นตาม

ถ้าเราเข้าใจเรื่องของกรรมโดยถูกต้องแล้ว ไม่มีคนอื่นเลยที่จะรับผิดชอบแทนเรา มีเราเท่านั้นแหละเป็นคนรับผิดชอบทั้งหมด โดยปกติเราชอบหาคนผิด ไม่ชอบรับผิด อยากให้เราเป็นฝ่ายถูก อยากได้ดีหนีร้าย เพราะจิตใจเรานั้นโดยปกติมีมูลเป็นฝ่ายอกุศล มีความหลงไปตามรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หลงไปตามเรื่องต่างๆ นี้เป็นโมหมูล รู้สึกขาดแคลน รู้สึกพร่อง ไม่เต็ม คอยแสวงหาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาถมให้เต็มส่วนที่รู้สึกขาด อยากได้นั่นอยากได้นี่ บางคนมีเยอะแล้วก็ยังรู้สึกขาดอยู่ดี ไปแสวงหามาเพิ่มอยู่เรื่อย นี้เป็นโลภมูล และอยู่บนพื้นฐานของความกลัว กลัวเขาจะว่า กลัวจะไม่มั่นคง กลัวจะไม่ปลอดภัย กลัวคนอื่นเขาจะมองอย่างนั้นอย่างนี้ กลัวนั่นกลัวนี่ไปทั่ว จนกระทั่งถึงสิ่งที่ไม่เคยเห็น เช่น กลัวผี นี้เป็นโทสมูล เมื่อมีอกุศลเป็นมูล ก็มีโอกาสไปทำกรรมไม่ดีได้มาก

ฉะนั้น ที่เราทั้งหลายได้มีโอกาสเจอพระพุทธศาสนา ที่สอนให้ฝึกสติสัมปชัญญะ ให้มารู้ทันความคิดความรู้สึกของเรา เป็นประโยชน์มหาศาลเลยนะ การมีสติจะคอยช่วยเราไม่ให้ทำสิ่งที่ผิดพลาด ถ้ายังไม่พ้นทุกข์ เราก็ได้ทำกรรมดี ได้รับผลที่ดี เป็นอยู่ก็ไม่ทุกข์มาก ตายแล้วก็ไปเกิดในภพภูมิที่ดี

เราต้องหัดรู้ทันความรู้สึก ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดขึ้นก็รู้ ความอิจฉาเกิดขึ้นก็รู้ พอใจก็รู้ ไม่พอใจก็รู้ หลงคิดไปให้ก็รู้ เมื่อรู้ทันกิเลส กิเลสก็ไม่ครอบงำจิต ไม่เกิดการทำกรรม นี้ก็เป็นประโยชน์ของการมีสติ จะทำให้มีศีล มีกายวาจาดีมากขึ้น จะทำให้มีจิตเป็นปกติ ไม่หลงไปตามอำนาจของอภิชฌาและโทมนัส ต่อไปก็จะเกิดสมาธิ เกิดปัญญาเป็นลำดับไป





เพื่อให้เข้าใจเรื่องกรรมโดยถูกต้อง ก็ต้องละความเห็นผิดที่ไม่สอดคล้องกับกรรมออกไปก่อน ในสมัยพุทธกาลนั้นมีกลุ่มที่เห็นผิดเกี่ยวกับกรรมอยู่ ๓ กลุ่ม พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ติตถายตนสูตร เวลาศึกษาทำความเข้าใจเรื่องของกรรม ก็อย่าให้ไปเข้ากับความเห็นผิดเหล่านี้ ซึ่งความเห็นที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นไปทางอกิริยา คือไม่ก่อให้เกิดการกระทำ ไม่ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการที่จะละสิ่งที่ไม่ดี เพิ่มพูนสิ่งที่ดี ไม่ก่อให้เกิดการฝึกฝนสติสัมปชัญญะ ไม่ก่อให้เกิดการสำรวมระวังอินทรีย์ ปล่อยไปตามยถากรรม อาจจะดูเหมือนปลงได้อยู่ แต่ไม่ได้ฝึกฝนตนเองอะไร สติก็ไม่มี สัมปชัญญะก็ไม่มี ไม่มีการรักษาคุ้มครองทวาร กิเลสก็ยังเกิดขึ้นครอบงำได้มากเหมือนเดิม ลักษณะนี้เรียกว่า เกิดความเห็นผิดเกี่ยวกับกรรม จึงทำให้เกิดความประมาท ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าต้องฝึกฝนตนเอง พระพุทธเจ้าแสดงลัทธิความเห็นผิดเกี่ยวกับกรรมเอาไว้ ๓ ลัทธิด้วยกัน คือ

ลัทธิที่ ๑ ปุพเพกตเหตุวาท ความเห็นผิดคิดว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นผลของกรรมเก่าทั้งนั้น อาการที่เราไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมาเลย เราโยนความผิดไปที่อื่น หาคนผิดเวลามีสุข มีทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ตัวเองดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ก็โทษกรรมเก่า การทำไม่ดีที่เกิดขึ้นก็โทษกรรมเก่า เราสะสมมาแบบนี้ เลยเป็นคนแบบนี้ เป็นคนมักโกรธเหมือนเดิม โลภมากเหมือนเดิม ขี้อิจฉาเหมือนเดิม ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเหมือนเดิม ประพฤติเบียดเบียนคนอื่นเหมือนเดิม ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงตนเอง โทษกรรมเก่าไปเสีย จะได้ไม่ต้องทำอะไร ได้รับผลอะไรต่างๆ ก็คิดว่าเป็นกรรมเก่า ไม่พยายามขวนขวายหาวิธีป้องกัน หรือผ่อนหนักให้เป็นเบา

ลัทธิที่ ๒ อิสสรนิมมานเหตุวาท ความเห็นผิดคิดว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นผลจากการบันดาลของผู้มีอำนาจ มีความเห็นว่า มีผู้มีอำนาจที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ สามารถให้คุณให้โทษกับเราได้ ลักษณะของผู้มีอำนาจก็แตกต่างกัน บางคนก็นึกไปถึงผีสางเทวดา บางคนก็นึกไปถึงใครก็ไม่รู้ที่ดูลึกลับ แต่รู้สึกว่า มีผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลังการได้รับหรือไม่ได้รับอะไร หน้าที่เราก็ต้องไหว้ วิงวอน ทำความเคารพ สวดอ้อนวอน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ย้อนกลับมาพัฒนาตนเอง ไม่พยายามพึ่งตนเอง ส่วนการนับถือพระพุทธศาสนานั้น ถือพระรัตนตรัยเป็นสำคัญ เราถอนตนเองออกมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มาทำตามคำแนะนำของท่าน ท่านสอนให้เราพึ่งตนเอง ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งได้ ทำความดีด้วยตัวเราเอง ฝึกสติสัมปชัญญะ ไม่ต้องไปหวังพึ่งผู้มีอำนาจภายนอก

ลัทธิที่ ๓ อเหตุอปัจจยวาท ความเห็นผิดคิดว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปแล้วแต่โชคชะตา เป็นความบังเอิญ หรืออยู่ดีๆ มันก็เกิดขึ้น เมื่อคิดอย่างนี้ก็คอยแต่โชควาสนา คอยว่าเมื่อไหร่จะฟลุ้ค ไม่มีการลงมือฝึกฝนพัฒนาตนเอง

ความเห็นผิดเกี่ยวกับกรรมทั้ง ๓ อย่างนี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นความเห็นที่มองออกไปที่สิ่งภายนอก ไม่ได้มองมาที่เราเอง ไม่เป็นไปเพื่อการเริ่มต้นพัฒนาปรับปรุงตนเอง

หากเราไม่เข้าใจเรื่องของกรรมอย่างถูกต้อง ก็อาจจะมีความเห็นโน้มเอียงไปทางที่ผิดนั้น เช่น เห็นว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นผลของกรรมเก่า มาจากกรรมเก่า เราจะทำไม่ดีก็มาจากกรรมเก่า บางคนก็ชอบโยนไปอย่างนี้ เวลาเห็นคนอื่นเขาเป็นคนดี ร่ำรวย มีความสามารถ ก็คิดว่ากรรมเก่าเขาทำมาดี เขาก็เลยได้ ทั้งที่โดยความจริงคนที่เขาเป็นคนดี ร่ำรวย มีความสามารถ เขาก็ต้องอาศัยความพากเพียรพยายามฝึกฝนในปัจจุบัน เมื่อมีความเห็นผิดคิดว่า เขาเป็นอย่างนั้นเพราะกรรมเก่า เราก็เป็นอย่างนี้เพราะกรรมเก่า ตัวเราเองก็ขี้เกียจต่อไป นอนเล่นต่อไป ประมาทต่อไปอีก ปลอบใจตัวเองไปวันๆ อย่างนั้นแหละ ไม่ได้ฝึกฝนตนเองอะไรเลย กรรมเก่ามีจริง เทวดา มาร พรหม ก็มีจริง แต่ที่เราได้รับสุขทุกข์นั้นไม่ใช่เป็นผลของกรรมเก่าทั้งหมด เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น มาจากความเพียรในปัจจุบันและสิ่งแวดล้อมต่างๆ หลายอย่าง

เทวดามีจริง แต่ไม่ใช่ว่าเทวดาจะมาช่วยเรา เทวดาที่ดีก็จะมาช่วยเฉพาะคนที่เห็นว่าสมควรจะช่วย ถ้าเราไปกราบไหว้อ้อนวอนขอร้องให้เทวดามาช่วย เทวดาองค์ไหนมา เทวดาองค์นั้นท่าทางจะไม่น่าไว้ใจ ต้องขอร้องจึงค่อยมา ในพระไตรปิฎกนั้นก็มีเรื่องเทวดามาช่วยมนุษย์บ้างเหมือนกัน แต่เทวดาเขามาเอง อย่างพระพุทธเจ้าหรือพระเถระที่ทรงคุณ เทวดาก็มาหาเอง เทวดาองค์ไหนที่ต้องขอร้องจึงค่อยมา เทวดานั้นไม่ค่อยน่าไว้ใจเท่าไหร่ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เราหลงงมงายไป ไม่คิดพึ่งตนเอง มัวแต่ยุ่งกับเรื่องเทวดาจะมาช่วย อวิชชาก็ยังอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้สอนให้เราฝึกสติสัมปชัญญะเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้ มุ่งแต่ว่าเราจะได้นั่นจะได้นี่ เทวดาจะบันดาลสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้เรา อย่างนี้ก็ยังหลงเหมือนเดิม




ความเข้าใจเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา ต้องเกี่ยวเนื่องกับความพากเพียร มีการลงมือทำ ปรับปรุงแก้ไข ละสิ่งที่ไม่ดี ทำสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้น คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เวลาเรียกชื่อก็เรียกได้หลายชื่อ เรียกว่า เป็นกรรมวาที กิริยาวาที วิริยวาที อย่างนี้ก็ได้

กรรมวาที หมายความว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม กรรมที่เราทำดีหรือไม่ดีนั้นมีผล และสอนละเอียดลงไปว่า กรรมคืออะไร เหตุเกิดของกรรมคืออะไร ความอิสระจากกรรมคืออะไร วิธีการปฏิบัติที่จะทำให้อิสระจากกรรม อยู่เหนือกรรมทำอย่างไรบ้าง กรรมเก่าคืออะไร กรรมใหม่คืออะไร จะแยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจน อย่างนี้เรียกว่ากรรมวาที สอนให้รู้ว่า ตัวเราทั้งหลายที่นั่งกันอยู่นี้ ก็เป็นทายาทของกรรม ได้ทำกรรมเก่ามา จึงได้เป็นบุคคลนี้ รูปร่างหน้าตาอย่างนี้ ผิวพรรณอย่างนี้ มีตระกูลนี้ และมีการทำกรรมใหม่ เป็นเหตุให้วนเวียนไปเรื่อยๆ จากบุคคลนี้เปลี่ยนแปลงตามกรรม และยังสอนวิธีการที่จะหมดกรรม ไม่ต้องมาวนเวียนต่อไปอีกด้วย

พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้พึ่งสิ่งภายนอก สอนให้เราพึ่งตนเอง แต่การจะพึ่งตนเองได้นั้น เราต้องทำให้ตนเองเป็นที่พึ่งได้ เราจึงต้องมาฝึกฝนเอาตามวิธีการที่ท่านแนะนำไว้ หากเราไม่มีความรู้เลย อย่างนี้จะพึ่งตนเองนั้นยังทำไม่ได้ คนที่จะพึ่งตนเองได้นั้น คือคนที่ฝึกฝนตนเอง มีสติสัมปชัญญะ มีคุณธรรมความดีด้านต่างๆ มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา ถ้าเป็นที่พึ่งได้แน่นอนจริงๆ ไม่ต้องตกไปวนเวียนฝ่ายอบายภูมิอีก เราก็ต้องฝึกฝนให้เกิดปัญญาเป็นพระโสดาบัน อย่างนี้เป็นที่พึ่งของตนได้จริง

คนที่จะเป็นที่พึ่งของตนเองได้นั้น ต้องเป็นคนที่ฝึกฝนพัฒนาตนเอง ฝึกฝนสติสัมปชัญญะ คนไหนยังมีความไม่ดีอยู่มาก ยังมีการทำผิดพลาดทางกายทางวาจา ยังมีการไปเบียดเบียนผู้อื่น ในตอนต้นก็ให้ฝึกโดยละสิ่งไม่ดีออกไป ทำความดีให้มาก รู้จักทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล มีจิตใจเมตตากรุณา หวังดีต่อผู้อื่น แล้วก็ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ให้เหนือดีขึ้นไปอีก โดยรู้กายรู้ใจให้เกิดปัญญาเห็นความจริง ละความเห็นผิดละความยึดมั่นถือมั่นไป

กิริยาวาที หมายความว่า เป็นคำสอนที่แสดงถึงสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ ชี้ลงไปให้แจ่มชัดทีเดียวว่า อันนี้ควรทำ อันนี้ไม่ควรทำ อันนี้ควรเว้น อันนี้ควรทำให้มาก เป็นการสอนที่มีเหตุผล ทำไมจึงไม่ควรคบคนพาล ทำไมจึงควรคบบัณฑิต อกุศลไม่ควรทำ กุศลควรทำ ทำไมอกุศลไม่ควรทำ ทำไมกุศลควรทำ ก็จะบอกเหตุผลรองรับเอาไว้ เพราะแท้ที่จริง ธรรมะตามความเป็นจริงเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็นำมาบอกให้เราละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์

วิริยวาที หมายความว่า เป็นคำสอนสรรเสริญความเพียร พอสอนเรื่องกรรมมีผล สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำเช่นนี้แล้ว ก็สรรเสริญความพากเพียรที่ถูกต้อง ไม่ใช่สรรเสริญเพียรผิด บางคนขยันมากแต่ทำผิดก็ไม่ดีนะ ท่านสอนว่า ถ้าผิดแล้วอย่าไปขยัน ถ้าผิดให้ขี้เกียจดีกว่า ถ้าถูกให้ขยัน ห้ามขี้เกียจ เราจึงต้องศึกษาให้เข้าใจว่า ท่านสอนให้เราขยันเรื่องอะไร เราก็ลงมือทำด้วยความขยันหมั่นเพียร นี้เรียกว่าวิริยวาที

ดังนั้น การเข้าใจในหลักกรรรมโดยถูกต้อง มุ่งหมายไปถึงการลงมือพัฒนากรรมใหม่ด้วยความพากเพียร ไม่หลงลืม มีการรักษาคุ้มครองทวาร มีสติ มีสัมปชัญญะ การที่จะทำกรรมนี้นะ มาจากกรรมเก่าก่อน เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว้คอยรับรู้โลก กระทบอารมณ์แล้วก็เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ความเคยชินของใจเราก็เกิดขึ้นมา เกิดความรู้สึกขึ้น หากเรารู้ไม่ทัน ความรู้สึกก็ครอบงำใจ ให้เราไปทำกรรมใหม่

หน้าที่ของเราก็คือพากเพียร รู้ทันกระบวนการทำงานเหล่านี้ ถ้ายังทำกรรมอยู่ก็ให้ทำกรรมดี ยิ่งไปกว่านั้นเราก็ฝึกที่จะไม่หลงลืม มีความรู้ตัว รู้เท่าทันความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่หลงไปทำกรรมตามกิเลส คอยรักษาคุ้มครองทวาร โดยการมีสติสัมปชัญญะเมื่อมีการรับรู้อารมณ์ ความเข้าใจเรื่องกรรมที่ถูกต้องนี้จะเกี่ยวเนื่องกับความเพียรอยู่เสมอ หากไม่เป็นไปเพื่อความเพียรก็แสดงว่า ยังมีความเข้าใจที่ผิดพลาดอยู่



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในติตถายตนสูตรว่า

ปุพฺเพกตํ โข ปน ภิกฺขเว สารโต ปจฺจาคจฺฉตํ,

น โหติ ฉนฺโท วา วายาโม วา อิทํ วา กรณียํ อิทํ วา อกรณียนฺติ,

อิติ ... มุฏฺฐสฺสตีนํ อนารกฺขานํ วิหรตํ น โหติ ปจฺจตฺตํ สหธมฺมิโก สมณวาโท

เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน โดยความเป็นแก่นสาร,

ฉันทะ หรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี,

เมื่อเป็นเช่นนั้น...สมณวาทะที่สมควร ที่เป็นของเฉพาะตัว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่รักษาคุ้มครองทวาร

ถ้าเราไปเห็นผิดว่า สุขทุกข์ทั้งหมดเป็นเรื่องของกรรมเก่าก็ดี ผู้มีอำนาจบันดาลก็ดี หรือเป็นไปตามยถากรรมก็ดี เราโทษสิ่งภายนอก ไม่ได้มองมาที่ภายในตนเอง เมื่อโทษสิ่งเหล่านั้นแล้ว ฉันทะคือความพอใจหรือความเพียรพยายามว่าสิ่งนี้ควรทำหรือสิ่งนี้ไม่ควรทำก็ย่อมไม่เกิดขึ้น มีแต่ปล่อยปละละเลยไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอะไรให้ดีขึ้น ไม่ได้ฝึกฝนศึกษาหาความรู้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดอีก มีแต่ความหลงลืม

แต่ถ้าเรารู้เรื่องกรรมโดยถูกต้อง เวลาเราหลงไปทำไม่ดี พลาดพลั้งไป เราจะเกิดความรู้สึกบางอย่างว่า อันนี้ไม่ควรทำ ต้องเอาสิ่งนี้เป็นเครื่องเตือนใจ ไม่ประมาท ฝึกฝนตนเองให้มีสติมากขึ้น ระวังมากขึ้น คราวต่อไปจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดอีก เมื่อมีสติ รู้สึกตัวได้บ่อยๆ อย่างนี้ หิริโอตตัปปะก็เกิดขึ้น การงดเว้นสิ่งที่ไม่ดีก็จะเกิดขึ้น ศีลก็จะมีเกิดขึ้น สมาธิและปัญญาก็จะค่อยๆ ตามมา

นี้เป็นการเข้าใจเรื่องกรรมที่ถูกต้อง ทำให้เราเห็นว่า สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ เราฝึกฝนจิตใจตนเองเป็นสำคัญ ถ้าไปถือเรื่องอื่นเป็นสำคัญ ก็เข้าใจเรื่องของกรรมไม่ถูกต้อง ไม่เกิดการพัฒนาตนเอง การปฏิบัติก็ไม่มี ความเป็นผู้สงบก็ไม่มี กลายเป็นผู้มีแต่ความหลงลืม มัวเมา ประมาท ไม่รักษาคุ้มครองอินทรีย์เมื่อมีการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ไม่มีสติ ไม่รู้ทันความยินดียินร้ายเมื่อรับรู้อารมณ์





พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมหมวดต่างๆ นั้น ทรงแสดงจากการรู้จริง มองเห็นความจริงทั้งหมดแล้วหยิบมาแสดง อุปมาเหมือนกับคนอยู่บนยอดภูเขาแล้วก็มองลงมา เห็นทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว รู้ว่าการที่จะขึ้นไปถึงบนภูเขานั้นทำอย่างไร มีจุดพักเหนื่อยอยู่กี่ที่ มีรายละเอียดในแต่ละทางอย่างไรบ้าง จึงนำทางนั้นมาบอกโดยละเอียด ฉะนั้น คำสอนจึงครอบคลุมและเข้าใจง่าย แสดงโดยมุมมองของคนที่อยู่ข้างบนมองลงมาข้างล่าง

แต่เราโดยส่วนใหญ่ที่อธิบายธรรมะกันนั้น อธิบายจากข้างล่างขึ้นไปหาข้างบน คำอธิบายของเราทั้งหลายจึงได้แต่รายละเอียด เนื้อหามากมายและเต็มไปด้วยความสับสน คือ เราเป็นแบบ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พระพุทธเจ้าไม่ได้เรียนปริยัติ ไปปฏิบัติ แล้วเกิดปฏิเวธ พระองค์ปฏิเวธก่อน รู้แจ้งทุกอย่างแล้วจึงนำมาสอน คำสอนของพระองค์จึงครอบคลุม เข้าใจง่าย ขอให้เราค่อยๆ ศึกษาไปก็จะเข้าใจได้

ถ้าเราศึกษาคำสอนของพระองค์ก่อนแล้วค่อยไปฟังคนอื่นจะเข้าใจง่าย แต่ถ้าเราฟังคนอื่นก่อนแล้วมาฟังพระพุทธเจ้า เราจะงง เพราะเราเรียนแต่ของคนอื่นมา อย่างเรื่องของกรรมก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เราไปเรียนตามที่ต่างๆ เขาจะสอนแง่ใดแง่หนึ่ง เราก็จำแต่แง่นั้นมา เข้าใจเหมือนกัน แต่เข้าใจแง่เดียว บางทีก็มีแต่รายละเอียดปลีกย่อยเยอะแยะเหลือเกิน มองไม่เห็นภาพรวม

การสอนธรรมะของพระพุทธเจ้ากับที่เราเรียนรู้นี้ไม่เหมือนกันนะ พระพุทธเจ้าปฏิเวธคือตรัสรู้ก่อนแล้ว นำความจริงมาสอน เราทั้งหลายนี้เป็นสาวก เราเรียนปริยัติแล้วนำไปปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมะที่ท่านแสดงไว้ แล้วจึงปฏิเวธคือบรรลุธรรม รู้แจ้งเห็นจริงดังที่ทรงแสดงเอาไว้ ตอนที่เรายังไม่รู้แจ้งเห็นจริง เราเชื่อพระองค์ไว้ก่อน ค่อยๆ ประพฤติปฏิบัติไปก็จะเข้าใจธรรมะได้

ผมได้พูดถึงเรื่องกรรมเป็นแนวคิดแบบกว้างๆ ไปแล้ว ต่อไปจะพูดสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรม

ในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต นิพเพธิกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรมไว้ ๖ อย่างด้วยกัน ในพระสูตรอื่นๆ พระองค์ก็แสดงเรื่องของกรรมไว้หลากหลาย แต่โดยเนื้อหานั้นก็คล้ายๆ กันนั่นเอง พระองค์ตรัสว่า

กมฺมํ ภิกฺขเว เวทิตพฺพํ, กมฺมานํ นิทานสมฺภโว เวทิตพฺโพ,

กมฺมานํ เวมตฺตตา เวทิตพฺพา, กมฺมานํ วิปาโก เวทิตพฺโพ,

กมฺมนิโรโธ เวทิตพฺโพ, กมฺมนิโรธคามินี ปฏิปทา เวทิตพฺพา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบ

(๑) กรรม

(๒) เหตุเกิดแห่งกรรม

(๓) ความต่างกันแห่งกรรม

(๔) วิบากแห่งกรรม

(๕) ความอิสระจากกรรม

(๖) ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม

ในพระสูตรนี้ ทรงแสดงสิ่งควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรมไว้ ๖ อย่าง ครอบคลุมเพียงพอที่จะทำให้เราเข้าใจเรื่องกรรมได้เป็นอย่างดี ข้อ ๕ กับ ข้อ ๖ ความอิสระ แปลมาจากคำว่า นิโรธ นิโรธ ในภาษาไทยเรานิยมแปลว่าความดับ ความจริงไม่ใช่แปลว่าความดับ นิ แปลว่า ไม่มี โรธ แปลว่าเครื่องคุมขังจิต หรือ สังสารวัฏที่วนเวียนไปไม่สิ้นสุด การไม่มีเครื่องคุมขังจิต ไม่มีการวนเวียน ไม่มีการเกิดขึ้น การหมดเหตุที่จะทำให้เกิด เรียกว่านิโรธ จะแปลว่า ความพ้นไป ความไม่มี อย่างนี้ก็ได้ การถึงนิโรธก็คือความอิสระจากทุกข์ กายกับใจ ขันธ์ ๕ ทำงานไป แต่อยู่เหนือมัน อิสระจากมัน จิตปล่อยวางไป ไม่ข้องเกี่ยวกันอีก นี้เรียกว่า ถึงนิโรธ

นิโรธนั้นท่านมีใช้มาก ในปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาระ ฝ่ายที่ไม่มีทุกข์ ฝ่ายพ้นทุกข์ เช่น เวทนานิโรธ หมายถึง อิสระจากเวทนา อยู่เหนือเวทนา เวทนาไม่มีอิทธิพลต่อใจอีก ไม่ใช่ไปดับเวทนา บางท่านพอได้ยินเรื่องดับเวทนา จะได้ดับตัณหา ก็ตั้งท่าจะดับเวทนาอย่างโน้นอย่างนี้ไป บางท่านนั่งไปนานๆ ปวดหลังก็กำหนดเพื่อจะดับเวทนา พอทุกขเวทนาหายไป กลายเป็นเฉยๆ ก็นึกว่าดับได้ ความจริง เฉยๆ ก็เป็นเวทนาชนิดหนึ่งเหมือนกัน เราไม่ได้ฝึกหัดดับเวทนา เรารู้เวทนา เราศึกษาเพื่อให้ไม่เข้าใจผิด ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นในเวทนา อยู่เหนือเวทนา เวทนาทำอะไรใจไม่ได้อีกต่อไป ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ใจไม่เกิดความหวั่นไหว ไม่ดิ้นรนหนีเวทนาที่เป็นทุกข์ ไปดิ้นรนแสวงหาเวทนาที่เป็นสุข หรือไม่ไปนิ่งอยู่กับเวทนาที่มันเฉยๆ การอยู่เหนือเวทนา พ้นจากอำนาจของเวทนาอย่างนี้เรียกว่า เวทนานิโรธ จิตอยู่เหนือเวทนา ไม่หลงปรุงแต่ง ไม่หลงขวนขวาย ไม่หลงดิ้นรนไปตามเวทนา

ผัสสะก็โดยทำนองเดียวกัน ผัสสนิโรธ คือ จิตที่เหนือผัสสะ อิสระจากผัสสะ ไม่หลงปรุงแต่ง ไม่หลงยินดียินร้าย ไม่แสวงหา ไม่ดิ้นรนขวนขวายไปหาอารมณ์มากระทบ ถึงแม้จะมีการกระทบ ใจก็ไม่เกิดความดิ้นรน อย่างนี้เรียกว่า อยู่เหนือผัสสะ

กรรมก็โดยทำนองเดียวกัน เรามีกิเลสจึงเกิดการทำกรรมแล้วเกิดวิบาก กัมมนิโรธ คือ อิสระจากกรรม ไม่มีการทำกรรม ไม่เกิดกระบวนการอันก่อทุกข์ขึ้นมา ด้วยการมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทัน ถ้าผู้ที่มีปัญญา มีวิชชาอย่างสูงสุด อวิชชาไม่มีเลย ไม่หลงเลย ก็ไม่ก่อกรรมอะไรขึ้นมาอีกเลย ท่านนี้คือพระอรหันต์นั่นเอง แต่ถ้าเป็นผู้ที่ยังมีอวิชชาเหลืออยู่ ก็มีการทำกรรมบ้างบางส่วน ตามลำดับนะ อย่างเราทั่วไปก็ทำกรรมมากมาย ส่วนพระอริยบุคคลก็น้อยลงตามลำดับ

ในตอนต้นๆ เรายังทำกรรมเยอะ ก็ให้ทำกรรมดีเข้าไว้ให้มากๆ จริงอยู่ว่า เราปฏิบัตินี้เพื่ออยู่เหนือกรรม แต่การจะอยู่เหนือกรรมได้ ต้องอาศัยกรรมดีเป็นพื้นฐานเท่านั้น ไม่ใช่ว่า ดีก็ไม่เอา ชั่วก็ไม่เอา ฉันก็เลยเฉยๆ ไม่ทำอะไร ไม่ใช่อย่างนั้น อยู่เหนือกรรมนะจึงจะพ้นทุกข์ได้ แต่การที่จะอยู่เหนือกรรมได้อาศัยฝ่ายดีมาก่อน





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2013, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการศึกษาธรรมะตอนต้นก็ต้องอาศัยเจตนาหรืออาศัยตัณหานำมา เช่น อยากฟังธรรมให้รู้เรื่อง อยากเป็นคนดี อยากมีความสุข นี้ก็เป็นตัณหา แต่ไม่เป็นไร ก็ศึกษาไป เมื่อเข้าใจแล้วก็ค่อยๆ ละความอยาก การให้ทานก็ดี การสมาทานศีลก็ดี การฝืนใจตนเองในการไม่พูดคำที่ไม่ดี ฝืนใจไม่กระทำสิ่งที่ไม่ดี หรือฝืนใจทำบางอย่างที่ทำให้จิตใจเราดีขึ้น ให้มีความสำคัญตัวน้อยลง อย่างนี้ เราก็ควรฝึกฝน หากเราปล่อยไป ไม่ฝืนทำบ้างเลย จิตใจก็ยังแข็งกระด้างอยู่เหมือนเดิม ตอนแรกละไม่ดี ไปทำดี แต่ท้ายที่สุดก็ต้องอยู่เหนือทั้งดีและไม่ดี







๑. เจตนาเป็นตัวกรรม

ข้อที่ ๑ กรรมคืออะไร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ,

เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม

บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ

ตัวกรรม คือ ตัวเจตนา ตัวความจงใจที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการที่จิตมีเจตนา คือคิดแล้วจึงกระทำกรรมทางกายก็มี ทางวาจาก็มี ทางใจก็มี เหล่านี้เป็นกรรมใหม่ เวลาเราคิดด้วยใจนั้นเป็นมโนกรรม คิดแล้วพูดออกมาทางวาจาเป็นวจีกรรม คิดแล้วกระทำทางกายเป็นกายกรรม ตัวเจตนานี่แหละเป็นตัวกรรม เป็นตัวก่อให้เกิดการกระทำที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน เมื่อมีการกระทำกรรมที่แตกต่างกัน ผลก็ย่อมแตกต่างกัน

จุดเริ่มต้นก่อนที่จะเกิดทำกรรม เกิดกิเลสขึ้นมาก่อน กิเลสที่เกิดขึ้นมานี้เกิดจากความเคยชินในใจเรา เรียกว่า กรรมเก่า ตัวกรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจที่เราได้มา เราได้กายใจมาเป็นตัวเราที่เห็นอยู่นี้ ได้ใจก็รวมถึงคุณภาพของใจด้วย คุณภาพของใจนี้ก็เป็นอุปนิสัยใจคอของเรานั่นเอง สิ่งเหล่านี้อยู่ลึก เราเลยไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ เห็นตอนมันเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว เกิดเป็นความรู้สึกในใจเรา ตัวกรรมไม่ใช่จิต แต่เป็นตัวพาจิตไปตามที่ต่างๆ ไปเกิดที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง ภาษาอภิธรรม เรียกว่า เจตสิก เจตสิกปรุงทำให้เกิดจิตชนิดนั้นๆ ขึ้นมา ใครทำกรรมชนิดไหนบ่อยๆ เคยชินแบบไหนมามาก มันก็ปรุงเจตสิกประเภทนั้นๆ ขึ้นมา พอปรุงเจตสิกเกิดขึ้นก็เป็นจิตชนิดหนึ่ง เช่น โลภมูลจิต จิตที่มีความต้องการเป็นพื้นฐาน โทสมูลจิต จิตที่มีความไม่พอใจเป็นพื้นฐาน โมหมูลจิต จิตที่มีความหลงเป็นพื้นฐาน เป็นต้น

ตัวกรรมใหม่ เป็นตัวเจตนา เป็นตัวปรุงแต่ง ทำให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทางพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับมโนกรรม ความเห็นอื่นๆ เขามีความเห็นว่า กายกรรมนั้นหนักที่สุด แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า กรรมที่หนักที่สุดคือมโนกรรม เพราะกรรมทุกอย่างเกิดทางใจก่อน คนไหนเกิดความคิดความรู้สึกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ทำกรรมผิดพลาดได้มากมาย จนกระทั่งถึงทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์ก็ได้ หนักกว่ากายกรรมเยอะ ในทางตรงข้าม ถ้าเป็นฝ่ายดีก็เหมือนกัน หากทางใจเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็จะทำความดีได้อย่างมากมาย จนกระทั่งถึงความพ้นทุกข์ก็ได้



๒. ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

ข้อที่ ๒ เหตุเกิดแห่งกรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า

กตโม จ ภิกฺขเว กมฺมานํ นิทานสมฺภโว

ผสฺโส ภิกฺขเว กมฺมานํ นิทานสมฺภโว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกรรม คืออะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

นิทานสมฺภโว แปลว่า เหตุเกิด, ต้นตอ, สิ่งที่ทำให้เกิด นี้แสดงถึงว่ากรรมนั้นก็ไม่ได้เป็นตัวเป็นตนเที่ยงแท้ถาวรอะไร เป็นแต่เพียงสิ่งที่เกิดจากเหตุเท่านั้น เป็นสิ่งที่อิงอาศัยปัจจัยเกิด เกิดแล้วก็แปรปรวนไปเหมือนสภาวะอื่นๆ

คำว่า ผัสสะเป็นเหตุเกิดของกรรม นั้นหมายความว่า เมื่อกระทบสัมผัสแล้ว จึงเกิดการทำกรรมขึ้นภายหลัง ตากระทบรูป เกิดการมองเห็นเรียกว่าจักขุวิญญาณ กระบวนการนี้เรียก จักขุสัมผัส เมื่อมีการรับรู้ทางตาแล้วก็จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่สัมผัส ปฏิกิริยาตอบสนองนี้เกิดตามความเคยชินอันเป็นกรรมเก่า เราก็คิดและเจตนาที่จะทำทางใจบ้าง ทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง นี้เป็นการทำกรรมใหม่


การที่จะเข้าใจเหตุเกิดของกรรม ต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องชีวิตสัมพันธ์กับโลก ชีวิตเรามีความสัมพันธ์กับโลก ๒ ภาคด้วยกัน

ภาคที่ ๑ รับรู้ ส่วนนี้เป็นผลของกรรมเก่าที่เราได้ทำมา ไม่มีคนอื่นเป็นคนทำให้ เรารับรู้โลกโดยอาศัยทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของกรรมเก่า เป็นอายตนะภายใน ไปกระทบกับอารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เกิดการมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางกาย รู้สึกทางใจ เป็นผลของกรรม โดยปกติเราชอบหาว่า คนอื่นทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แท้จริงแล้วเราเป็นคนทำเองล้วนๆ เลย เวทีนี้เป็นเวทีที่เราสร้างขึ้นมาเอง เราได้เกิดมาเป็นคนนี้ ได้รับรู้สิ่งต่างๆ ตามกรรมที่ทำมาก่อนและขึ้นอยู่กับกรรมปัจจุบันด้วย

บางทีเราเข้าใจไปแง่เดียว คือ เวลาเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ไปมองแต่แง่เดียวว่า การเห็น เรียกว่าจักขุวิญญาณ เป็นวิบาก เป็นผลของกรรมเก่า จริงอยู่มันเป็นผลของกรรมเก่า แต่ว่าที่มันเกิดขึ้นได้นั้น ไม่ใช่เพราะกรรมเก่าอย่างเดียว อาศัยเหตุอื่นๆ อีกมากมาย กรรมเก่าเป็นเพียงเหตุหนึ่งเท่านั้น การที่เรามีแนวคิดมุมมองเหตุเดียวผลเดียว ไม่มองแง่มุมอื่นๆ เกิดความยึดขึ้น เรียกว่าจิตเกิดมิจฉาทิฏฐิ ความจริงนั้นมีเหตุมากมายที่ทำให้เกิดการมองเห็นครั้งหนึ่งๆ เรายังตาดีอยู่ด้วย มีอารมณ์อันเป็นสิ่งภายนอกด้วย มีถนนด้วย มีเรายืนอยู่ตรงนั้นด้วย มีรถคันนั้นด้วย มีอากาศอย่างนั้นด้วย มีแสงสว่างด้วย มีเหตุอื่นๆ อีกมากมายที่ก่อให้เกิดจักขุวิญญาณนี้ ผลของกรรมนี้ เราห้ามไม่ได้ ที่จะมีประโยชน์แท้จริงคือการพัฒนากรรมใหม่ ท่านจึงสอนให้มีสติ คุ้มครองทวาร มองให้เห็นว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ สิ่งนี้ควรเว้น สิ่งนี้ไม่ควรเว้น เป็นแบบกรรมวาที กิริยาวาที วิริยวาที





ภาคที่ ๒ แสดงออกหรือกระทำ โดยอาศัยทวาร ๓ คือ กาย วาจา ใจ เวลาเราสัมพันธ์กับโลก หากรู้ไม่ทัน ไม่เกิดสติปัญญา ก็เกิดกิเลส ไปทำกรรมแล้วเกิดวิบาก พระพุทธเจ้าท่านสอนให้รู้ทันตรงการรับรู้ ถ้ารู้ไม่ทันตรงการรับรู้ ก็ให้รู้เจตนาที่ก่อให้เกิดการกระทำ เพื่อควบคุมการกระทำไม่ให้เกิดความผิดพลาด ถ้าดีที่สุดเลยนะ รู้ทันผัสสะ รู้ทันเวทนา ก็ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดความทะยานอยากของจิต ไม่เกิดการดิ้นรนของจิต รู้เท่าทันเวทนาอยู่เหนือเวทนา สุขก็ไม่ดิ้นรน ทุกข์ก็ไม่ดิ้นรน เป็นการรู้เท่าทันกระบวนการทำงานของขันธ์ ก็จะไม่เกิดตัณหาใดๆ ขึ้นมา ไม่เกิดวงจรของกรรมเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่เราจะรู้ไม่เท่าทัน ขาดสติปัญญา เพราะหลงอยู่กับโลกมานาน

โลกที่เราได้มาก็เพราะกรรมที่เราทำนั่นเอง เราทำเองกับมือเลย ไม่ใช่คนอื่นทำให้ ถ้าเราอยากไปโลกอื่นที่ดี ที่สว่างไสว ที่เปิดกว้าง ดีกว่าที่เป็นอยู่นี้ เราก็สร้างกรรมใหม่ให้ดีกว่าเดิม สิ่งที่ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ นี้คือจิต ตัวบ่งภพภูมิที่อยู่ในจิตคือความรู้สึกในจิต เราสามารถรู้ได้ตั้งแต่ตอนนี้นะ หลังจากจบชาตินี้แล้วเราจะไปภพภูมิไหน ถ้าเราไม่มีกรรมแรงๆ ที่เป็นครุกรรม ฝ่ายไม่ดี คือ ไม่ได้ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ไม่ได้ฆ่าพระอรหันต์ หรือฝ่ายดี เราไม่ได้ทำฌาน กรรมที่จะนำเราไปเกิดก็คืออาจิณณกรรม กรรมที่มันเคยชินอยู่ในใจ จิตของเราเคยชินแบบไหน เคยชินที่จะเปิดกว้าง เคยชินที่จะเห็นอกเห็นใจคนอื่น เห็นคนอื่นเป็นเพื่อนเป็นมิตร หน้าตาเบิกบานยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ถ้าจิตเราเป็นอย่างนี้ ก็แน่นอนว่า ชาติต่อไปเราก็ไปเกิดในภพภูมิอย่างนั้น คุณภาพของใจคือตัวกรรมเก่าเหมือนที่เราได้มาในชาตินี้นั่นแหละ

หน้าที่ของเราในชาตินี้ คือ ถ้ายังไม่หมดทุกข์ ยังไม่ได้เป็นพระอริยะเจ้าก็พยายามรักษาศีลให้ดี หมั่นทำความดีเอาไว้ ให้จิตมีเมตตา มีความเปิดกว้าง เห็นอกเห็นใจคนอื่น ไม่เห็นแก่ตัว อย่างนี้เราก็จะไปเกิดในภพภูมิที่มันเปิดกว้าง เบาสบาย ร่มเย็น ไม่เร่าร้อน แต่ในทางตรงข้าม ถ้าจิตใจของเราคับแคบ บีบตัวเข้ามา เห็นแก่ตัว มีแต่ความรู้สึกขาดแคลน อยากจะเอานั่นเอานี่อยู่เรื่อย อาการที่จิตรู้สึกขาดแคลนมันเป็นพวกเปรต เปรตหากินยากลำบาก ไม่อิ่มท้องสักที ปากนิดเดียวแต่ท้องโต มันก็รู้สึกขาดอยู่ตลอด อาการที่จิตเรารู้สึกขาดอยู่เรื่อย เห็นสิ่งนั้นก็อยากได้ เห็นสิ่งนี้ก็อยากได้ พวกนี้เป็นอาการของเปรต ถ้าเราสะสมความรู้สึกอย่างนี้ไปมากๆ สักหน่อยก็จะไปเกิดเป็นเปรต เพราะคุณภาพของจิตเราเป็นอย่างนั้น หรือหากมีจิตเร่าร้อนมีความกลัวอยู่เสมอ มีความเคียดแค้นชิงชัง มักโกรธพยาบาท ก็เป็นลักษณะของสัตว์นรก หากมีความหลงงมงายมาก หลงไปตามรูป เสียง หลงไปตามของมึนเมาต่างๆ อย่างนี้ก็เป็นลักษณะสัตว์เดรัจฉาน

ดังนั้น หากเรายังอยู่ในโลก ยังไม่ได้ออกจากโลก ก็ให้หมั่นทำกรรมดี ฝึกฝนสติสัมปชัญญะให้มากๆ หมั่นสังเกตจิตใจของตนเอง ให้มีสติรู้จิตใจตนเอง เราไม่ได้รังเกียจชิงชังสิ่งที่ไม่ดี เพราะการรังเกียจสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นความไม่ดีอย่างหนึ่ง ให้เรารู้เห็นโทษภัย ให้เกิดความละอาย ความเกรงกลัว ไม่ทำไปตามความหลงหรือความยินดียินร้าย

ให้คอยสังเกตจิตใจตนเอง จะรู้ได้ว่าจิตใดเป็นกุศลจริงๆ จิตใดเป็นอกุศล บางครั้งภายนอกดูเหมือนดีนะ พูดก็ดี ทำก็ดี แต่ทำเพราะอยากให้ตัวเองมีความสำคัญ อยากให้คนอื่นรู้ว่าเราเป็นคนดี นี้ก็เป็นความโลภอย่างหนึ่ง เป็นความรู้สึกขาด

เมื่อมีการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแล้ว ก็เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ เวลาจะกระทำก็เกิดความคิดทางใจเป็นมโนกรรมก่อน ทีนี้ ถ้ายังรู้ไม่ทันตอนที่คิด เราก็มีเกราะกันเอาไว้ ไม่ให้กระทำอะไรรุนแรงจนไปเบียดเบียนผู้อื่น มีศีลสิกขาบทคอยกันเอาไว้ แท้ที่จริงแล้ว เรื่องสิกขาบทนี้เป็นการกันปลายทาง แต่เป็นการปฏิบัติต้นทาง ผู้ที่ยังมีอินทรีย์อ่อน ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร ให้สมาทานสิกขาบท ปฏิบัติตามและระวังอย่าไปล่วงสิกขาบท ฝึกสติสัมปชัญญะให้มากขึ้น เมื่อสามารถรู้ทันจิตก็จะรักษาที่จิต โอกาสที่จะทำผิดพลาดก็จะลดลง

ในภาครับรู้ มีตาไปกระทบกับรูป เกิดจักขุวิญญาณ เป็นจักขุสัมผัส ตัวสัมผัสนี้เป็นเหตุเกิดของกรรม เหตุต้นตอของการทำกรรมคือผัสสะ ถ้าอยากจะรู้จักกรรมก็ดูตรงที่กระทบอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจเป็นกรรมเก่า เป็นผลจากการสั่งสมความเคยชินของจิต เมื่อมีความรู้สึกบางอย่างครอบงำใจ เราเจตนาว่าจะทำอะไรต่อมา นี้เป็นกรรมใหม่ ช่วงแรกๆ สิ่งที่เราจะช่วยได้ดีก็คือ ทำอะไรให้ช้าลงกว่าเดิมหน่อย แต่ไม่ใช่ไปพูดช้าๆ เนิบๆ ผิดปกติอะไรนะ เช่นว่า แต่เดิมเราคิดอะไรได้ก็พูดเลย พูดมากเหลือเกิน ต่อไปเราต้องเตือนตนเองว่า อย่าไปพูดมาก ให้หยุด ไม่จำเป็นไม่ต้องพูด ถ้าแสดงความเห็นแล้วไม่เกิดผลประโยชน์อะไร ก็ไม่ต้องแสดงความเห็น ให้สังเกตจิตใจ เราก็จะเห็นเจตนาในใจได้มากขึ้น

ทางกายเราก็ทำนองเดียวกัน คำว่า ช้าลง ในที่นี้ไม่ใช่หมายความว่า ให้ไปเดินช้าๆ หรือไปทำอะไรช้าๆ อืดอาด หมายถึงว่า แต่เดิม เราเคยทำด้วยความรีบร้อน ไม่คิดหน้าคิดหลัง ต่อมาก็ให้หยุดดูความรู้สึก ดูความคิดตัวเองบ้าง จะช่วยให้มีสติระดับหนึ่ง ช่วยทำให้เราไม่กระทำผิดพลาดออกไป

ผัสสะทางทวารทั้ง ๖ เป็นดังนี้

ตากระทบกับรูป เกิดจักขุวิญญาณ คือการเห็น เป็นจักขุสัมผัส

หูกระทบเสียง เกิดโสตวิญญาณ คือได้ยิน เป็นโสตสัมผัส

จมูกกระทบกับกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ คือดมกลิ่น เป็นฆานสัมผัส

ลิ้นกระทบกับรส เกิดชิวหาวิญญาณ คือลิ้มรส เป็นชิวหาสัมผัส

กายกระทบกับสัมผัสทางกาย เกิดกายวิญญาณ คือรู้สัมผัสทางกาย เป็นกายสัมผัส

ใจกระทบกับเรื่องที่คิดหรือความรู้สึกต่างๆ เกิดมโนวิญญาณ คือการรู้ทางใจ เป็นมโนสัมผัส

สิ่งเหล่านี้เป็นต้นตอของกรรม ซึ่งก็คือการรับรู้โลกทาง ๖ ทวาร เมื่อเกิดผัสสะแล้วก็เกิดเวทนา คือ ความรู้สึก สุขบ้าง ทุกข์บ้าง สบายใจบ้าง ไม่สบายใจบ้าง เฉยๆ บ้าง เมื่อเกิดความรู้สึกแล้ว ก็จะเกิดสังขารปรุงแต่งขึ้นมา ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง สังขารนี้มีเจตนาเป็นหัวหน้า เป็นความจงใจกระทำเพื่อตัวเรา เพราะหลงเข้าใจผิดคิดว่ามีเราแล้วก็ยึดขึ้น เจตนาจะทำเพื่อตัวเราเรียกว่า สัญเจตนา เริ่มจากคิดทางใจเรียกว่า มโนสัญเจตนา เรารู้สึกว่ามีเรา ก็ทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ อย่างนี้เป็นกรรม ส่วนพระอรหันต์นั้นไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ท่านทำทุกอย่างทางกาย ทางวาจา ทางใจ สอนหนังสือ บรรยายธรรม แต่ไม่มีการทำกรรมเลย เป็นแต่กิริยา สักแต่ว่ากระทำ เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ไม่ได้ทำเพื่อตัวเรา

ความรู้สึกว่า มีตัวเรา เกิดความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ทำเพื่อตัวเรานี้ เป็นการก่อภพ ก่อการกระทำขึ้น เป็นกรรม เนื่องจากเกิดผัสสะแล้วเกิดความรู้สึกขึ้น เราไม่มีสติสัมปชัญญะ รู้ไม่ทัน ก็เลยปรุงแต่ง กระบวนการนี้ตามปฏิจจสมุปบาทบอกว่า เกิดตัณหา อุปาทาน แล้วเกิดกรรมภพ ไปทำกรรมวนเวียนเป็นวงจรของทุกข์ สังขารดีบ้าง ไม่ดีบ้าง มีเจตนาเป็นหัวหน้าจัดแจงปรุงแต่งการกระทำทั้ง ๓ ทวาร






เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าเป็นเพียงการกระทบเท่านั้น รู้ว่าเป็นความรู้สึกเท่านั้น รู้ว่าเป็นความคิดนึกเท่านั้น รู้ว่าเป็นเพียงสภาวะต่างๆ เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทำหน้าที่ของมันเป็นคราวๆ ไป สิ่งเหล่านั้นไม่ครอบงำใจ จะไม่รู้สึกว่ามีตัวเราจริง การกระทำที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอย่างเต็มเปี่ยม ไม่เป็นกรรม แต่ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้จะครอบงำใจ รู้สึกว่าเราเป็นคนนั้น เราเป็นคนนี้ เวลามีความรู้สึกว่ามีเรา ก็จะเกิดการกระทำอะไรบางอย่างเพื่อเรา อย่างนี้เป็นกรรม เกิดการทำดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เราทั้งหลายทั่วไปที่เป็นปุถุชนนี้ ถ้าไม่ได้ฝึกสติสัมปชัญญะให้มากพอ ก็ไม่สามารถจะรู้ทันกระบวนการทำงานนี้ได้

ดังนั้น ก็ต้องมีกรอบกันตัวเองไม่ให้ทำผิดพลาดเอาไว้ก่อน ต่อไป ถ้าเราได้ฝึกสติสัมปชัญญะไปพอสมควร ได้เห็นจิตใจตนเอง เห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ มันทำงานได้เองของมัน เราจะสามารถมองเห็นว่า ตอนไหนที่เกิดกระทำกรรมขึ้น ตอนไหนที่มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันแล้วไม่เกิดการปรุงแต่งทำกรรม อย่างนี้จะเห็นอริยสัจในจิต เห็นว่า ทุกข์ในจิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และทุกข์ไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุไร ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีความหลง จนเกิดความรู้สึกว่ามีเรา มีของเรา ก็ไปทำอะไรเพื่อเรา ตะครุบนั่น ตะครุบนี่ โดยคิดว่าจะทำให้เรามีความสุข เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วก็ตะครุบ เอาเป็นจริงเป็นจัง เห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ก็เข้าไปรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง เข้าไปมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็จะเกิดทุกข์ขึ้น แล้วเกิดการทำกรรมตามมา อย่างนี้เข้าสู่วงจรของทุกข์แล้ว

การปรุงแต่งการกระทำทางกาย เรียกว่ากายสังขาร เริ่มจากกายสัญเจตนา เจตนากระทำทางกายเพื่อเรา มีทางออกของการกระทำเรียกว่ากายทวาร เป็นกายกรรม ตัวกรรมแท้ๆ ก็ดูที่ตัวสัญเจตนา ไม่ได้ดูที่การกระทำที่ออกมาทางกาย การกระทำที่ออกมาทางกายยังบอกไม่ได้ ต้องดูที่ตัวเจตนาในใจ เช่น การฆ่าสัตว์ก็ดูที่เจตนาว่าเรามีเจตนาฆ่าหรือไม่ บางทีเราขับรถไปเหยียบแมวตาย เราไม่ได้มีเจตนาจะฆ่าเลย อย่างนี้ ก็ไม่ได้เป็นการฆ่าสัตว์ เราดูเจตนาที่อยู่ในจิต ในการที่เราฝึกให้ตนเองมีศีล ไม่ล่วงสิกขาบท แท้ที่จริงเป็นการเฝ้าดูเจตนาในใจ เวลาที่จะทำทางกาย ทางวาจา จะทำให้จิตมีศีล ที่เราฝึกสติสัมปชัญญะ เป็นการพัฒนาความสามารถในการเฝ้าดู เพื่อให้รู้ทันจิตตนเองในตอนที่จะทำ จะพูด ทำให้จิตมีศีล เป็นปกติ ไม่ถูกอภิชฌาและโทมนัสครอบงำ จนไปทำผิดพลาดทางกาย ทางวาจา

กรรมแท้ๆ อยู่ที่จิตนะ ที่เราฝึกฝนก็ฝึกที่จิต ที่ตัวกายสัญเจตนา ไม่ได้ดูที่อาการทางกาย เช่น เรารักษาสิกขาบทข้อที่ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช่ว่านอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็ถือว่ามีศีลแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นนะ เราไม่ไปฆ่าสัตว์ ไม่ไปทำล่วงละเมิดสิกขาบทก็ดีแล้ว แต่เรื่องมีศีลนี้ต้องดูให้ละเอียดอีกที จิตยังเต็มไปด้วยอกุศลนั้นไม่ใช่จิตที่มีศีล ศีลนั้นเป็นสภาวะจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลประเภทงดเว้นจากการกระทำที่ไม่ดี การที่เรามีศีลก็คือเรารู้ทันเจตนาเวลาจะทำ จะพูด แล้วงดเว้นการกระทำที่เกิดจากจิตอกุศล เว้นการกระทำด้วยเจตนาที่ไม่ดีออกไป

ในการฝึกให้จิตมีศีลนั้น ก็เป็นการที่เราเฝ้าดูเจตนาทางใจให้เห็นว่า ที่พูดนี้พูดด้วยเจตนาอะไร ถ้าพูดด้วยเจตนาที่ไม่ดี เบียดเบียนคนอื่น โกหก เพ้อเจ้อเกินความจำเป็น พูดเพื่อเอาหน้าเอาตาให้คนอื่นรักเรา อย่างนี้เป็นต้น ก็ให้เลิกการพูดเหล่านั้น เราละเว้นการพูดด้วยเจตนาไม่ดี พูดแต่คำที่ดี มีเจตนาบริสุทธิ์ พูดตามความเหมาะสม นี้เป็นวจีสุจริต เราจึงต้องเตือนตนเองบ่อยๆ ให้ระลึกได้บ่อยๆ จนมีสติรู้เท่าทันวจีสัญเจตนา ตัวสัญเจตนา เกิดเพราะมีความรู้สึกว่า มีตัวเรา มีของเรา จึงเกิดการกระทำที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้างเพื่อตัวเรา เรียกว่าการทำอภิสังขาร เป็นฝ่ายบุญก็ได้ ฝ่ายบาปก็ได้ เป็นวงกลมของกองทุกข์ที่วนเวียนไป แต่พระพุทธศาสนานั้นสอนเหนือกรรม คือย้อนกลับมาศึกษาเรียนรู้ที่กายที่ใจ ให้เกิดปัญญาเห็นว่า ไม่มีตัวเราจริง ไม่มีตัวสุข ตัวดี ตัววิเศษอะไร มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ไม่มีการทำกรรมอีก

พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือวิธีการปฏิบัติอันประเสริฐสุดทำให้หมดทุกข์ได้จริง สอนให้มีปัญญารู้ความจริงว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพียงขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นคราวๆ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้ถาวรอะไร เวทนา คือ ความรู้สึก เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป กายรู้สึกไม่ได้ กายมันเจ็บปวดไม่ได้ ความเจ็บปวดเป็นเวทนา สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ผุดขึ้นมาตามผัสสะ พอกระทบสิ่งนี้ก็ผุดเรื่องนี้ขึ้นมา กระทบอีกสิ่งหนึ่งก็ผุดเรื่องอื่นๆ ขึ้นมา บางครั้งจำได้ บางครั้งจำไม่ได้ สังขาร ก็นำเวทนาและสัญญามาปรุงต่อ หากเราไม่มีสติสัมปชัญญะ รู้ไม่ทันก็ถูกมันครอบงำให้ไปทำกรรมเพื่อตัวเรา ถ้าเรารู้เท่าทันกระบวนการทำงานก็จะไม่ถูกครอบงำ ไม่เกิดการยึดว่าเป็นเรา เป็นของเราขึ้นมา

ส่วนมโนสังขาร เริ่มจาก มโนสัญเจตนา คิดจะทำอะไรเพื่อเรา อาศัยทางใจเป็นทางออกของการกระทำ ทำกรรมทางมโนทวาร เป็นมโนกรรม ซึ่งมโนกรรมนี้สำคัญที่สุด การฝึกฝนก็คือฝึกให้รู้ทันเจตนาทั้ง ๓ คือ กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา มโนสัญเจตนา ไม่ให้มีเจตนาไปทำผิดพลาด ไม่ไปทำอะไรที่รุนแรง เบียดเบียนตนเองและเบียดเบียนคนอื่น ที่แยกเป็นประเภท คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ให้ทำกรรมที่เป็นกุศลอยู่เสมอ เรียกว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เมื่อประพฤติถูกต้องอยู่เสมอ ตัวกุศลกรรมบถ ๑๐ นี้จะช่วยรักษาเรา อย่างน้อยที่สุดก็เป็นเหตุให้ได้เกิดเป็นมนุษย์อีก เบาใจได้ระดับหนึ่งว่า ไม่ไปเกิดในอบาย

สำหรับทางใจ ก็อย่าไปมีอภิชฌา คือความเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น ฝึกให้เป็นคนคิดเสียสละ รู้จักแบ่งปัน ไม่พยาบาท ไม่ไปคิดปองร้าย ไม่คิดผูกเวรกับใครๆ มีแต่ความหวังดี ปรารถนาดี อยากให้คนอื่นมีความสุข ไม่มีมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเห็นที่ผิดพลาด เป็นผู้มีความเห็นที่ถูกต้อง เช่น เห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชามีผล พ่อแม่มีคุณ กรรมที่ทำแล้วมีผล เป็นต้น

เมื่อเรายังอยู่ในโลก ก็ได้รับสุขบ้างทุกข์บ้าง ยังต้องทำกรรมอยู่ ก็พยายามทำกรรมที่ดี จะได้ไม่ทุกข์กับโลกมากนัก เพราะกรรมดีทำให้ได้รับผลดี เป็นความสุข กรรมชั่วทำให้ได้รับผลไม่ดี เป็นความทุกข์ เราเรียนรู้เรื่องกรรมเอาไว้จะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง จะได้ไม่เจ็บปวดกับโลกมากนัก ถ้าจะให้ดียิ่งกว่านั้น ก็คือฝึกสติสัมปชัญญะให้เกิดปัญญารู้เท่าทันกระบวนการทำงานของการปรุงแต่ง ตั้งแต่ผัสสะ เวทนา รู้ทันสังขาร รู้ทันการปรุงแต่งของจิต ไม่หลงเข้าใจผิด ไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่น

ที่เราฝึกสติสัมปชัญญะ เจริญสมถะวิปัสสนา ก็เพื่อให้มีปัญญารู้ทันอย่างนี้ ถึงแม้จะยังรู้ไม่ทัน สติสัมปชัญญะก็เป็นตัวช่วยให้เราละกรรมที่ไม่ดี ทำกรรมที่ถูกต้องดีงาม จิตเกิดความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอกุศล ก็จะเกิดศีล ไม่ถูกอภิชฌาโทมนัสครอบงำใจ จิตมีศีลเป็นปกติ เป็นการฝึกอธิศีลสิกขา ต่อมาก็ฝึกรู้จิตใจให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป เป็นการฝึกอธิจิตตสิกขา เมื่อรู้เท่าทันจิตใจของตนเอง จิตเป็นกุศลก็รู้ เป็นอกุศลก็รู้ ดีก็รู้ ไม่ดีก็รู้ รู้เท่าทันไปหมด จิตก็จะไม่หลงยินดียินร้าย เมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆ จะละกิเลสนิวรณ์ต่างๆ ได้ จิตจะมีความเบิกบาน อ่อนเบา ผ่องใส เอิบอิ่ม เป็นสมาธิ เป็นจิตที่มีความตั้งมั่น ตามดูกายดูใจตามที่เป็นจริง ก็จะเกิดปัญญา เป็นการฝึกอธิปัญญาสิกขา





เรื่องกรรมนั้นก็เป็นคำสอนที่สำคัญเพราะเป็นคำสอนในแง่ทำให้เราอยู่กับโลกได้อย่างถูกต้อง การทำกรรมนี้เกิดจากการดิ้นรนทางใจ อยากให้ตัวเองดี อยากให้ตัวเองมีความสุข ในเมื่อยังต้องดิ้นรนอย่างนี้ ก็ไปฝ่ายดีซะก่อน แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ก็คือปล่อยวางทั้งดีทั้งไม่ดี มีปัญญาเห็นแจ้งความจริง จิตใจหมดความดิ้นรน แบบนี้เป็นวิปัสสนา เป็นแบบเหนือโลก จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

ทีนี้ในระหว่างยังเกิดวนเวียนอยู่ก็ต้องทำกรรมให้ถูกต้อง อย่างน้อยยังอยู่ในโลกก็ไม่บาดเจ็บมากนัก คือมีความสุขตามสมควร แล้วก็มีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม ฝึกฝนตนเองไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปทนทุกข์ทรมาน ไม่ต้องไปตกอบายภูมิ อะไรพวกนี้

ในตอนที่ ๑ ผมได้พูดมาถึงสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรม ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเอาไว้ใน อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต นิพเพธิกสูตร ซึ่งมีอยู่ ๖ ประการ โดยปกติเวลาเราพูดถึงเรื่องกรรม เราก็จะพูดด้วนๆ เช่นว่า กรรมคือการกระทำด้วยเจตนา ทำแล้วได้รับผลอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ยังเข้าใจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ บางทีก็เข้าใจกรรมเป็นผู้มีอำนาจใหญ่เหมือนกับพระเจ้าองค์หนึ่ง อย่างนี้ก็มี


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรมไว้ ๖ อย่างด้วยกัน พระองค์ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบ

(๑) กรรม

(๒) เหตุเกิดแห่งกรรม

(๓) ความต่างกันแห่งกรรม

(๔) วิบากแห่งกรรม

(๕) ความอิสระจากกรรม

(๖) ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม


กรรม คือการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ตัวเจตนานั่นแหละเป็นกรรม ตัวการกระทำออกมาทางกาย ทางวาจา ทางใจ นี้เป็นทวารออกของกรรม ตัวกรรมแท้ๆ ก็คือตัวเจตนาในใจ ถ้าใครอยากเห็นกรรมก็ให้ดูเจตนาในใจ เวลาจะทำ จะพูด มันจะมีความคิดและมีเจตนามาก่อน อันนั้นแหละคือตัวกรรม เรียกว่าสัญเจตนา

ด้วยความที่เรายังมีความเข้าใจผิด มีความยึดมั่นถือมั่นในกายในใจอยู่ ก็คิดว่ากายใจนี้เป็นตัวเรา เป็นตัวดี ตัววิเศษ เรารักตัวเอง เราก็อยากจะให้ตัวเรานี้ได้ดีมีความสุข ก็เกิดเจตนาจะทำเพื่อเราอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวเจตนานี้เวลาจะทำอะไรออกมาทางกาย เรียกว่ากายสัญเจตนา ออกมาเป็นกายกรรม เจตนาพูดทางวาจา เรียกว่าวจีสัญเจตนา ออกมาเป็น วจีกรรม เจตนาจะทำทางใจ เรียกว่ามโนสัญเจตนา ออกมาเป็นมโนกรรม

ส่วนใหญ่เราจะพูดถึงกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปลายทางนะ ตัวกรรมแท้ๆ นี่เป็นตัวเจตนา เจตนาจะทำเพื่อตัวเรา มันเข้าใจผิด มันยึด นึกว่ามีตัวเรา พอยึดว่ามีเราอยู่ก็ต้องทำเพื่อเรา

เราทั้งหลายคิดอะไรก็เพื่อตัวเราทั้งนั้นเลย นี้เรียกว่ามโนกรรม มโนกรรมจึงเยอะที่สุด พระพุทธเจ้าจึงเน้นเรื่องมโนกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้ามโนกรรมยังมีอยู่ ก็ให้คิดพิจารณาฝ่ายดีเข้าไว้ ให้ทาน รักษาศีล ให้เป็นคนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้อภัยทาน มีจิตคิดเมตตา เป็นต้น นี้ก็เป็นการปรับมโนกรรมให้มันดีขึ้น เพราะไหนๆ ก็ต้องคิด ก็คิดให้ดี ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

ถ้าเราไม่ฝึกหัด จิตก็พร้อมที่จะลงต่ำอยู่เสมอ จิตเราโดยทั่วไป ถ้าเราไม่ได้ฝึกฝน ไม่มีสติปัญญา จะมีลักษณะอย่างหนึ่งคือโน้มเอียงลงต่ำ เราลองสังเกตดูนะ ถ้าไม่ฝึกตนเอง หรือไม่เตือนตนเองเอาไว้ มันจะชอบคิดเรื่องไม่ดีอยู่เรื่อย ชอบคิดให้เกิดความทุกข์ เกิดความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น บางทีไม่มีเรื่องอะไร เรื่องที่ทำให้เกิดความสุขนึกไม่ได้ ส่วนเรื่องที่ทำให้ทุกข์ชอบจำได้ ชอบคิด จิตเรามันเป็นอย่างนี้

อาการที่จิตเราชอบไหลลงต่ำนี้ จะเป็นความเคยชิน เวลาความเคยชินนานๆ ไปแล้ว ก็จะถูกผู้คนถูกสังคมชักจูงให้ทำกรรมชั่วได้ง่าย พระพุทธเจ้าท่านจึงบอกว่า กรรมชั่วคนชั่วทำง่าย แต่กรรมชั่วคนดีทำยากนะ กรรมดีนั้นคนดีทำง่าย คนชั่วบอกว่าทำดีแต่ละทียากจริงๆ การทำยากหรือง่ายอยู่ที่คุณภาพจิต

เหตุเกิดของกรรมคือผัสสะ การกระทบอารมณ์ เกิดการรับรู้ขึ้น ได้เห็นรูปทางตาแล้ว ได้ยินเสียงทางหูแล้ว ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ถูกต้องสัมผัสทางกายแล้ว คิดนึกรู้สึกทางใจแล้ว ก็เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่าเวทนา ทีนี้นอกจากเวทนาแล้ว ยังมีสัญญาผุดขึ้นมาด้วย สัญญาคือความจำได้หมายรู้ เวทนาและสัญญานี้เป็นตัวปรุงแต่งจิต ภาษาบาลีเรียกว่าจิตตสังขาร

จิตเราที่ปรุงดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เกิดจากความรู้สึกคือเวทนากับสัญญาที่มาพร้อมกับผัสสะ เราเห็นหน้าคนนี้แล้ว เป็นคนรู้จัก รู้สึกชอบหน้า จิตก็ปรุงแต่งไปอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดความคิด เกิดคำพูด เกิดการกระทำทางกาย เห็นหน้าอีกคนแล้วไม่ชอบ จิตก็ปรุงแต่งไปอีกแบบหนึ่ง ทำให้เกิดความคิด เกิดคำพูด เกิดการกระทำทางกายเปลี่ยนแปลงไปตามความไม่ชอบนั้น อย่างนี้เรียกว่า เห็นแล้วเกิดความรู้สึกขึ้น รู้สึกชอบ รู้สึกไม่ชอบ รู้สึกว่าคนนี้ดี คนนี้ไม่ดี คนนี้น่าเข้าใกล้ คนนี้น่าออกห่างๆ ยิ่งถ้าเป็นญาติเรา หรือคนที่เคยทำไม่ดีกับเรา ก็จะรู้สึกแตกต่างออกไปมากขึ้น

นอกจากเวทนาแล้วก็มีสัญญาด้วย เราเห็นหน้าคนนี้แล้วจำได้ว่าเขาคือใคร จำได้ว่าคนนี้เคยยืมเงินเราแล้วไม่ได้ใช้คืน ตอนนี้เขารวยแล้ว เขาโกงเราไปแต่รวย เราจะเกิดความคิดจะทำอย่างหนึ่งขึ้นมา กายวาจาก็เปลี่ยนแปลงไป ตัวความคิดที่เกิดขึ้นมาอย่างนี้ เป็นมโนกรรม กระทำออกไปทางกายเป็นกายกรรม พูดทางวาจาเป็นวจีกรรม เกิดผัสสะ มีการรับรู้อารมณ์ จึงเกิดเวทนา เกิดสัญญา และเกิดการกระทำที่แตกต่างกันติดตามมา ฉะนั้น ตัวต้นตอของกรรม คือผัสสะ

สัญญาเก่าๆ โดยส่วนใหญ่ที่เราเก็บเอาไว้คือสัญญาที่ประกอบไปด้วยอคติ เจือด้วยความเห็นผิด อันไหนที่เป็นฝ่ายเรา ของเรา จะให้ค่าเป็นบวก ฝ่ายคนอื่น ให้ค่าเป็นลบ เวลาเรากระทำอะไรลงไปจึงเกิดความผิดพลาดได้มาก ถ้าลูกเราไปทะเลาะกับลูกคนอื่น ลูกเราก็จะเป็นฝ่ายถูกไว้ก่อน คนที่เป็นฝ่ายเราทำอะไรก็ดูเข้าท่าไปหมด คนที่เป็นฝ่ายคนอื่นทำอะไรก็ดูไม่เข้าท่าเลย มันตรงข้ามกันอย่างนี้ เราจึงต้องระวังความรู้สึกตัวเองดีๆ เพราะถ้าไม่ระวังจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

ผัสสะนั้นเป็นตัวรับผลของกรรมเก่า และเป็นต้นตอทำให้เกิดกรรมใหม่ ถ้าอยากดูผลของกรรมเก่าก็ดูตรงผัสสะ โดยเฉพาะคุณภาพใจเรา ถ้าอยากจะรู้ว่าเราสะสมอะไรมาบ้าง ก็ดูตอนกระทบอารมณ์แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบนี้ เรียกว่าผลของกรรมเก่า คุณภาพใจเรานี้ก็เป็นผลของกรรมเก่าที่เราสะสมมาจนเป็นบุคคลนี้ในปัจจุบัน
ตอนที่กระทบผัสสะเป็นการแสดงถึงผลของกรรมด้วย และเป็นเหตุให้เกิดการทำกรรมใหม่ด้วย พอทำกรรมใหม่ก็มีผลเป็นวิบากต่อไปอีก เราได้รับสิ่งที่น่าพอใจบ้างไม่น่าพอใจบ้าง ด้วยความไม่รู้ก็เกิดกิเลสไปทำกรรมแล้วได้รับผล วนเวียนกันเป็นวงกลม อย่างนี้แหละเรียกว่าการวนเวียนเป็นวัฏฏะ


เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมและเหตุเกิดแห่งกรรมได้บรรยายไปในคราวที่แล้ว วันนี้จะบรรยายเกี่ยวกับความต่างกันแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความอิสระจากกรรม และข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม




๑. ความต่างกันแห่งกรรม


สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรมข้อที่ ๓ คือ ความแตกต่างกันแห่งกรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า

กตมา จ ภิกฺขเว กมฺมานํ เวมตฺตตา

อตฺถิ ภิกฺขเว กมฺมํ นิรยเวทนียํ, อตฺถิ กมฺมํ ติรจฺฉานโยนิเวทนียํ,

อตฺถิ กมฺมํ เปตฺติวิสยเวทนียํ, อตฺถิ กมฺมํ มนุสฺสโลกเวทนียํ,

อตฺถิ กมฺมํ เทวโลกเวทนียํ, อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กมฺมานํ เวมตฺตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างกันแห่งกรรมคืออะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมที่พึงเสวยผลในนรกก็มี

กรรมที่พึงเสวยผลในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี

กรรมที่พึงเสวยผลในแดนเปรตก็มี

กรรมที่พึงเสวยผลในมนุษยโลกก็มี

กรรมที่พึงเสวยผลในเทวโลกก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งกรรม

ตัวกรรมแท้ๆ คือคุณภาพใจเรานี่เอง ใจนี่มันไม่รู้สึกอะไร เป็นธาตุรู้เฉยๆ แต่ตัวที่ปรุงแต่งใจมีเจตนาเป็นหัวหน้าเป็นตัวกรรม ถ้ามีเจตนาเป็นหัวหน้าไปทำฝ่ายดี คุณภาพของใจก็เป็นอย่างหนึ่ง คุณภาพของใจนั้นภาษาอภิธรรมเรียกว่าเจตสิก เจตสิกฝ่ายดีเกิดประกอบกับจิต มีเจตนาเป็นหัวหน้าไปทำกรรมดีเรียกว่ากุศลกรรม มีเจตนาเป็นหัวหน้าพาไปทำไม่ดี อกุศลเจตสิกก็เกิดประกอบกับจิต จิตนั้นก็เลยกลายเป็นอกุศล การกระทำก็เป็นอกุศลกรรม

คุณภาพของใจเก่าๆ จะออกมาในรูปความรู้สึก เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์ เวลาเรากระทบอารมณ์ เห็นแล้ว ได้ยินเสียงแล้ว ดมกลิ่นแล้ว ลิ้มรสแล้ว สัมผัสทางกายแล้ว คิดนึกรู้สึกทางใจแล้ว ใจเรามีปฏิกิริยายังไง นั้นแหละตัวกรรมเก่าที่สะสมอยู่ จะมีคุณภาพ ๒ อย่าง คือ ดี กับ ไม่ดี แล้วแต่การสะสมของแต่ละคน มากน้อยแตกต่างกันไป กลายเป็นจริต อุปนิสัยของแต่ละคน

ดูก่อนภิกษุทั้ง กรรมที่พึงเสวยผลในนรกก็มี การเสวยผลเป็นความรู้สึกในใจ เราก็รู้สึกได้ เวลาใจรุ่มร้อน โกรธเคือง ขุ่นแค้น ใจจะมีความร้อนแผดเผา จนกระทั่งออกมาทางรูป ทำให้หน้าตาเปลี่ยนไป กรรมประเภทอย่างนี้เรียกว่า นิรยเวทนียํ ใครสะสมอย่างนี้มากๆ กรรมนี้ก็จะสร้างรูปใหม่ขึ้นมาให้ได้รับผลเป็นความเร่าร้อนในนรก

กรรมนี้จะสะสมปัจจัยไว้ จิตจะสร้างนามรูปชนิดใหม่ๆ ขึ้นมาตามความยึดถือนั้น ใครสะสมกรรมชนิดไหนเอาไว้มาก พอกายนี้แตกทำลายไป ก็จะสร้างรูปชนิดใหม่ตามกรรมที่เราทำเอาไว้ เรียกตามสมมติว่าไปเกิดในภพภูมิต่างๆ เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นเทวดา เป็นต้น

กรรมที่ทำบ่อยๆ เรียกว่าอาจิณณกรรม ในการให้ผลนำเกิดนั้น ถ้าไม่มีกรรมอื่นมาแทรก อาจิณณกรรมนั่นเองจะให้ผล กรรมที่สามารถให้ผลก่อนอาจิณณกรรม คือครุกรรม กรรมหนัก เช่น คนที่ได้ฌาน ฌานไม่เสื่อมก็ไปเกิดในพรหมโลก นี้ฝ่ายดี ส่วนฝ่ายไม่ดี เช่น คนฆ่าพ่อฆ่าแม่เป็นการทำอนันตริยกรรม อย่างนี้ก็ไปอบายแน่นอนเลย และกรรมที่ใจหน่วงเอาไว้ตอนใกล้จะตาย เรียกว่าอาสันนกรรม ถ้าไม่มีครุกรรมและอาสันนกรรม กรรมที่เราทำเป็นประจำจะให้ผล

กรรมที่พึงเสวยผลในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี จิตที่มันชอบหลงงมงาย ฟุ้งซ่านไปเรื่องนั้นทีเรื่องนี้ที ฟุ้งไปทั่ว หลงว่ามีตัวเราของเรา วันๆ มีแต่ความหลง หลงคิดแต่เรื่องโน้นเรื่องนี้ บวก ลบ คูณ หาร ตัวเลขเท่านั้นเท่านี้ คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ ประเทศนั้น ประเทศนี้ มีเรื่องราวอย่างนั้นอย่างนี้ วนเวียนไปนะ นี้เป็นลักษณะของจิตที่หลง มีโมหะมาก

กรรมที่พึงเสวยผลในแดนเปรตก็มี จิตที่เสวยผลในแดนเปรตก็คือจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว มีเท่าไรก็ไม่พอ ไม่รู้จักคิดจะให้คนอื่น คิดจะเอามาเป็นของตนอย่างเดียว เป็นลักษณะจิตแบบเปรต เรามีสิ่งของเยอะแยะแต่รู้สึกว่าเหมือนไม่มี ไม่สามารถจะสละให้คนอื่นได้ มีเงินเป็นร้อยล้าน แต่ไม่สามารถจะสละให้คนอื่นได้ เราไม่ได้ดูว่าชาตินี้มีเงินเยอะหรือน้อยนะ ดูว่าจิตเป็นยังไง เงินเยอะนั้นอาจจะไม่ได้ใช้ก็ได้ เราอาจจะตายไปก่อน ลูกเอาไปใช้แล้ว เราดูที่คุณภาพของจิต ถ้าจิตมีแต่ความเห็นแก่ตัว การให้ออกไปลำบาก ถ้าไปเกิดเป็นเปรต ก็จะเป็นอย่างนั้น คือหากินลำบาก หาได้ไม่พออิ่ม ไม่พอยาไส้ อาหารหาได้ยาก เช่น ปากเล็กนิดเดียว พุงโต ดูดอาหารเข้ามาไม่เต็มสักที อย่างนี้เป็นต้น ที่พูดนี้ไม่ได้ขู่นะ พูดเรื่องจริงให้ฟัง เป็นการเตือนกันว่า เรายังอยู่ในโลก ต้องทำกรรมให้ดี

กรรมที่พึงเสยผลในมนุษยโลกก็มี มนุษย์ก็แบบเราทั่วไปนะ มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง สบายบ้าง ลำบากบ้าง ปนเปกันไป มีทุกข์มีความเดือดร้อนก็ไม่ถึงกับรุนแรงมากนัก เกิดจากความเป็นผู้มีศีล ไม่ไปเบียดเบียนใครๆ ให้ล่วงศีล หรือล่วงกรรมบถ การรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ ท่านก็จะวางกรอบอย่างน้อยก็ให้มีศีล ๕ เป็นพื้น แล้วก็ให้เพิ่มด้วยการรักษากุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ให้ครบถ้วน กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ มีศีล กายวาจาถูกต้อง ไม่อยากได้ของคนอื่น ไม่ผูกอาฆาตพยาบาทและมีสัมมาทิฏฐิ ก็จะรักษาภพภูมิมนุษย์เอาไว้ได้ เลยเรียกกุศลกรรมบถว่ามนุษยธรรม ธรรมะที่ทำให้เป็นมนุษย์ รักษาความเป็นมนุษย์เอาไว้ได้ ถ้าไม่มีธรรมะเหล่านี้ ถึงกายจะมีรูปร่างเป็นมนุษย์ จิตใจก็เป็นอย่างอื่นไปแล้ว เมื่อกายแตกดับ ก็จะได้รูปร่างตามสมควรแก่กรรม

กรรมที่พึงเสวยผลในเทวโลกก็มี เทวโลกก็เหนือกว่ามนุษย์ขึ้นไปอีก จิตละเอียดกว่ามนุษย์ จิตที่ละเอียดกว่ามนุษย์ จิตเป็นกุศล รู้จักปล่อยวางสมบัติมนุษย์ ไม่หลงยินดีสมบัติเหล่านั้น มีการแบ่งปันเสียสละออกไป ไม่ติดข้อง หรือบางคนชอบความสงบ ไม่ชอบรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อย่างมนุษย์เราทั่วไป

มนุษย์เราทั่วไปก็ทำหน้าที่หาเงินหาทองมาเลี้ยงชีพด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบียดเบียน ไม่คดโกงใคร ไม่ผิดศีลธรรม ได้มาแล้วก็ใช้สอยโดยธรรม แต่บางคนนี้นอกจากจะเลี้ยงชีพอย่างที่กล่าวมาแล้ว เขายังสละออกได้ ลดละความเห็นแก่ตัว เห็นอกเห็นใจคนอื่นอยู่เสมอ จิตมีเมตตากรุณา ใจเบาสบายกว่ามนุษย์ทั่วไป นี้เหนือกว่ามนุษย์ทั่วไป คนอย่างนี้ตายไปก็ไปสุคติที่สูงกว่ามนุษย์อีก ไปเป็นเทวดา หรือบางพวกทำความสงบของจิตได้ ใจยินดีอยู่กับความสงบที่เป็นฌานนั้น ตายก็ไปเกิดที่พรหมโลก

นี่คือความต่างของกรรม ซึ่งก็อยู่ที่จิตใจ แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะกรรมที่อยู่ในใจนั้นไม่เหมือนกัน เราอยู่ในโลก ทำกรรม ก็วนเวียนไปในนรกบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง ภูมิของเปรตบ้าง มนุษย์บ้าง เทวโลกบ้าง วนเวียนไปอย่างนี้ ไม่มีสิ้นสุดนะ เป็นการหมุนเวียนเปลี่ยนไปของกองทุกข์ เรียกว่าวัฏฏทุกข์ ถ้าเรายังอยู่ในวัฏฏะทุกข์ก็ให้อยู่แถวๆ มนุษย์หรือเทวโลกก็แล้วกัน อย่าไปอยู่ล่างๆ นะ อยู่ล่างๆ จะลำบาก

ภพมนุษย์เรานี้ สามารถเรียนรู้และทำกรรมใหม่ได้ดีที่สุด ดีกว่าพวกเทวดาอีก เทวดานั้นได้รับผลดีเยอะ ก็มีความสุขสบาย พวกพรหมก็มีแต่ใจสงบ แต่การศึกษาและการทำกรรมใหม่นั้นมีโอกาสน้อยกว่า ส่วนพวกสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน และเปรต ส่วนใหญ่ก็จะรับผลฝ่ายไม่ดีทั้งนั้น ไม่มีเวลามาคิดทำกรรมดี เรียกว่าคอยรับผลอย่างเดียว เราก็ดูสัตว์ทั้งหลายนะ เห็นไหม วันๆ ไม่ได้ทำอะไรหรอก ถึงเวลาก็กิน นอน สืบพันธุ์ วนเวียนไปอย่างนั้น อยู่กันตามสัญชาตญาณไปวันๆ เท่านั้น

ฉะนั้น เป็นมนุษย์แบบเรานี่ดีที่สุดแล้ว ถ้ารู้คำสอนก็จะได้ฝึกฝนตนเองให้ยิ่งขึ้นไป ทำกรรมที่ดี หรือดีกว่านั้นก็คือเหนือกรรมขึ้นไปอีก






๒. วิบากแห่งกรรม


อันที่ ๔ วิบากแห่งกรรม คือ ผลของกรรมที่จะได้รับ กรรมจะให้ผลตอนไหนบ้าง พระพุทธเจ้าตรัสว่า

กตโม จ ภิกฺขเว กมฺมานํ วิปาโก

ติวิธาหํ ภิกฺขเว กมฺมานํ วิปากํ วทามิ ทิฏฺเฐว ธมฺเม,

อุปปชฺเช วา, อปเร วา ปริยาเย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบากแห่งกรรม คืออย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ

๑. กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน

๒. กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพถัดไป

๓. กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพต่อๆ ไป

ผลของกรรมนั้นมีหลายอย่าง ในที่นี้พูดเรื่องวิบาก วิบากคือผลที่สุกงอมเป็นนามธรรม ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส ได้รู้สึกทางใจ เป็นจิตเกิดขึ้นรับผลเหมาะแก่กรรมที่ทำไว้ แยกเป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ นี้เป็นวิบาก อุปมาเหมือนเราปลูกข้าว เมล็ดข้าวเปลือกเป็นเหมือนตัวกรรม เราปลูกลงไป จนข้าวเติบโต เป็นต้นข้าว ออกใบ ออกดอก ออกรวง ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่สุกงอม เมล็ดข้าวเปลือกเก่าที่เราปลูกตอนแรกเหมือนกรรม เมล็ดข้าวเปลือกใหม่ที่ได้มาเหมือนกับวิบาก แต่นอกจากวิบากแล้ว ยังมีผลอื่นๆ ด้วย ต้นข้าว ใบข้าว ฟาง อันนี้เป็นผลแต่ไม่ได้เป็นวิบาก และก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในกระบวนการ เช่น ดินบริเวณนั้น ฝน แดด น้ำ แมลง ฯลฯ มีสิ่งเกี่ยวข้องกันมากมายเหลือเกิน

ในการทำกรรมนั้น มีผลเกิดขึ้นและมีสิ่งที่เกี่ยวข้องมากมาย ปกติเราจะรู้เพียงแคบๆ มองไม่เห็นภาพรวม ดังนั้น จึงต้องระวัง ให้มีเจตนาที่ดีในการกระทำ นอกจากมีเจตนาที่ดีแล้วยังต้องมีปัญญาด้วย ส่วนวิบากของกรรมนั้นท่านไม่ให้คิดมาก เพราะคิดแล้วจะเป็นบ้า เป็นเรื่องอจินไตย คือสิ่งที่ไม่ควรคิด ซึ่งมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ วิสัยของพระพุทธเจ้า วิสัยของผู้ได้ฌาน วิบากของกรรม และการคิดเรื่องโลก

พระพุทธเจ้าเน้นให้เราทำกรรมใหม่ให้ดี ไม่ต้องไปคิดเรื่องวิบากว่าจะได้เมื่อไหร่ ผลของการทำดีก็มีผลต่อเราโดยตรง ทำความดีบ่อยๆ จิตใจก็เคยชิน ทำความดีได้ง่ายขึ้น ผู้คนก็รักใคร่ ได้รับเสียงสรรเสริญ ได้ลาภ ได้ยศ ตามสมควร อยู่ด้วยความสบายใจ ไม่เดือดร้อนใจ ไม่ต้องกลัวตกอบาย อย่างนี้เป็นต้น




๓. ความอิสระจากกรรม


อันที่ ๕ ความอิสระจากกรรม จะไม่เกิดการทำกรรมอีก ทำได้อย่างไร ไม่เกิดวงกลมของกิเลส กรรม วิบาก ก็ต้องอิสระจากกรรม พระองค์ตรัสว่า

กตโม จ ภิกฺขเว กมฺมนิโรโธ

ผสฺสนิโรโธ ภิกฺขเว กมฺมนิโรโธ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิสระจากกรรม คืออย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิสระจากผัสสะ คือ ความอิสระจากกรรม

ถ้าผัสสะครอบงำไม่ได้ อยู่เหนือผัสสะ ก็ไม่มีการทำกรรม คำว่าอยู่เหนือผัสสะ ไม่ใช่ไม่มีผัสสะนะ แต่คือการรู้เท่าทันผัสสะ เมื่อรับผัสสะแล้วใจก็ไม่หวั่นไหวหรือไม่ดิ้นรนไปตาม ได้ยินเสียงเพราะๆ ใจก็ไม่หวั่นไหวไปตาม ได้ยินเสียงที่ไม่เพราะ ใจก็ไม่หวั่นไหวไปตาม ความสุขเกิดขึ้นก็ไม่หวั่นไหวไปตาม ความทุกข์เกิดขึ้นก็ไม่หวั่นไหวไปตาม เป็นผู้วางเฉยได้ อย่างนี้ไม่เกิดกรรมเลย ซึ่งการจะอยู่เหนือผัสสะก็ต้องมีวิธีการฝึกฝน อย่างเราธรรมดาคงทำไม่ได้ เราได้ยินเสียงเพราะๆ ก็ชอบแล้ว เข้าไปมีอารมณ์ร่วม นี้เรียกว่าเสวยเวทนาแล้ว หากรู้ไม่ทันก็จะเกิดการทำกรรมต่อไป ได้ยินเสียงที่ไม่เพราะหรือเสียงด่าเราก็ไม่ชอบแล้ว นี้ก็เสวยเวทนา ความโกรธก็เกิดขึ้นครอบงำใจ หลงไปทำกรรมแล้ว ฉะนั้น ต้องมีการฝึกฝนจึงจะถึงความอิสระจากกรรมได้ แต่ให้ทราบไว้ก่อนว่าความอิสระจากผัสสะ นั่นแหละคือการอิสระจากกรรม ให้หัดรู้ทันสภาวะต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เกิดจากผัสสะทั้งนั้น เมื่อไม่หลงไปตามมัน จึงจะอิสระจากกรรมได้

หากสภาวะที่ไม่ดีเกิดขึ้น ท่านก็คิดว่าจะทำยังไงจะดี อย่างนี้ใจเกิดการดิ้นรนขึ้นมาแล้ว เกิดการทำกรรมวนเวียน แต่ถ้าสภาวะที่ไม่ดีเกิดขึ้น รู้ทันมันว่า เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ใจไม่ไหวไปตามเลย อย่างนี้ไม่เกิดการทำกรรม โดยปกติ นักปฏิบัติทั้งหลายก็ไปสร้างกรรมวนเวียน ส่วนใหญ่สร้างกรรมฝ่ายดี รักษาดีให้อยู่นานๆ ทำใจให้นิ่งๆ แล้วก็พยายามรักษาให้มันนิ่งอยู่นานๆ อย่างนี้ก็ดีอยู่ แต่ก็เป็นการทำกรรม ไม่พ้นกรรม ไม่อิสระจากกรรม

ให้หัดรู้ว่า ตอนไหนเป็นกรรม เกิดการกระทำทางใจขึ้น ตอนไหนอิสระจากกรรม ไม่เกิดการกระทำ ที่จะอิสระจากกรรมคืออิสระจากผัสสะ ไม่ว่าความเสื่อมเกิดขึ้น ก็ไม่หวั่นไหวไปตาม ความเจริญก้าวหน้าเกิดขึ้น ก็ไม่หวั่นไหวไปตาม บางคนปฏิบัติธรรมไป ความเศร้าหมองเกิดขึ้นทั้งวัน เกิดการดิ้นรนว่า จะทำยังไงดีนะจึงจะหาย หาวิธีปฏิบัติอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนี้ก็เกิดกรรมขึ้นมาแล้ว บางคนจิตใจดีงามผ่องใสก็ขยันมาก นี้ก็เกิดกรรมเหมือนกัน แต่ถ้ารู้เท่าทัน ตอนนี้จิตเศร้าหมองเกิดขึ้น ดูลงไปแล้วไม่เกิดการดิ้นรนขวนขวาย รู้ไปอย่างที่มันเป็น เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็ไม่เกิดกรรมขึ้นมา

ทีนี้ บางทีจิตใจดีงาม ใจก็ไม่หวั่นไหวเลย ก็เห็นเป็นเพียงสภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนแปลงไป เสมอกันทั้งฝ่ายเสื่อมทั้งฝ่ายดี อย่างนี้ไม่เกิดกรรมขึ้นมา อันนี้เรียกว่า วิปัสสนา ซึ่งดูเหมือนยากมาก แต่โดยความจริงแล้วเรียบง่าย เพราะไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม ที่มันยาก เพราะเรามัวแต่จะทำ กลัวจะไม่ดี กลัวจะเสื่อม กลัวจะไม่ได้บรรลุ เราอยากเป็นคนดี ตอนไม่ปฏิบัติเป็นคนไม่ดี พอเป็นนักปฏิบัติก็เลยจะเป็นคนดี การจะเป็นคนดีก็เป็นยากอย่างนี้แหละ เพราะว่ามัวแต่ทำอยู่ เลยเกิดการทำกรรม เพียรพยายามทำให้มันดี และรักษาดีเอาไว้นานๆ

ใจที่ดิ้นรนหลงไปทำกรรม เนื่องจากมันไม่ยอมรับความจริง ใจเกิดการดิ้นรนไปทางใดทางหนึ่ง ถ้าสภาวะที่ดีเกิดขึ้น ใจก็เกิดการดิ้นรนไปทางหนึ่ง ดิ้นรนในทางจะรักษา แสวงหาให้มันถาวร เที่ยงอยู่อย่างนั้น น่าจะอยู่อย่างนี้นานๆ หน่อย ถ้าสภาวะฝ่ายไม่ดีเกิดขึ้น ก็หาทางให้มันหาย หาวิธีปฏิบัติ หารูปแบบต่างๆ มากันมันเอาไว้ ไม่ให้มันเกิด มันมาแล้วก็พยายามหาวิธีการทำลายมัน

โดยความจริง ผัสสะก็มีทั้งดีและไม่ดี เราฝึกเพื่อรู้เท่าทัน ไม่หลงไปตามมัน จึงจะอิสระจากมันได้ ดีก็รู้ ไม่ดีก็รู้ เสื่อมก็รู้ เจริญก็รู้ สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ เป็นสิ่งเท่ากัน อย่างนี้เกิดปัญญา ปัญญารู้ก็รู้ทั้งสองอย่างนะ ทั้งดีทั้งไม่ดี เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เท่ากัน เวลาปล่อยวางก็ปล่อยวางทั้งสองอย่าง ปล่อยวางทั้งดี ปล่อยวางทั้งไม่ดี ไม่ใช่ปล่อยวางไม่ดีจะไปเอาดี ไม่ใช่อย่างนั้น





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ

สำนักสงฆ์ โป่งพนาคิรี ตำบลบ้านดู่ อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงราย พระแสงร้า ขันติโก
กำลังสร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่ กำลังสร้างวิหาร เริ่มสร้างโครงสร้างของวิหารและเสนาสนะ
สนใจร่วมบุญติดต่อ โทร 083-5679231


ร่วมสร้างพระพุทธรูป
โทร 087-6320232


ข่าวฝากประชาสัมพันธ์การก่อสร้างโบสถ์ ศาลาวัดครบุรีจ.นครราชสีมา
เบอร์089-571-4488


หาเจ้าภาพถวายธรรมาสน์
082-1000472


เชิญสร้างพระไตรปิฎก เพื่อถวาย วัดในเขตพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้
โทร 081 834 1338


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ หรือ ร่วมบุญตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไปได้ทุกกองบุญ
1. เจ้าภาพปิดทองคำแท้ 100 แผ่น กองละ 600 บาท หรือแผ่นละ 6 บาท

2. เจ้าภาพเททองหล่อทองเหลือง ก้อนเล็ก 100 บาท ก้อนใหญ่ 500 บาท

3. เจ้าภาพบวชสามเณรพระอุปคุต (20 รูป) รูปละ 1,500 บาท

4. เจ้าภาพโรงทานและเครื่องดื่ม หรือ ต้องการนำอาหารมาเลี้ยงเอง

แจ้งที่ คุณมยุรพัชร์(บี) โทร. 086-352-1438


ทำบุญทอดผ้าป่าวันที่ 20-21 กค 56 วัดเทพโสตถิการาม จ.นครพนม สร้างพระพุทธรูป
เบอร์ติดต่อ 087-954-2313


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ณ วัดถ้ำผาจม
http://www.jaisawang.net/index.php/7-ne ... ptumpajoom


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างพระหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ 29 นิ้ว
โทร 089-5649399


ร่วมบุญปิดทองพระ พระเจ้าดับภัย พระเจ้าหลีกเคราะห์ ณ.วิหารวัดยางทอง จเชียงใหม่
081 1667062

ขอเชิญผู้มีจิตศัทธา ร่วมบูรณะ กุฎิหลวงปู่เทสก์ (เทสก์ เทสรังสี)
โทร 088-7178188

งานบุญหล่อพระประธาน หน้าตัก 159 นิ้ว เททองหล่อพระ หลวงพ่อสำเร็จ วัดกู้ จ.นนทบุรี เวลา19.19 น. วันที่ 22 กค 2556

ร่วมบุญทอดผ้าป่าสมทบทุนสร้างเครื่องทรงพระพุทธรูป วัดเขตอุดมศักดิ์วนาราม จ. ชุมพร

ร่วมบุญสร้างพระพุทธรูปทองคำแบบประเทศอินเดียไทย
ติดต่อ คุณบุ๊คคุง กิฟฟารีน 090-5715087


โครงการสร้างพระใหญ่ไชยมงคลวิสุทธิธาดา ณ วัดหัวโพธิ์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
โทร.089-024-9941


เชิญร่วมสร้างอุโบสถ วัดบ้านดอนไชย น่าน

ร่วมสร้างพระประธาน ปางลีลา
https://www.facebook.com/wmaeil


ทำบุญสร้่างพระพุทธรูป (วัดกุญชรชาติการาม วัดช้าง)
http://www.facebook.com/profile.php?id=100006300694419

พิธีเททองหล่อ หลวงพ่อสด จันทสโร วันที่ 18 สค 56เวลา13.00 น วัดตาลเจ็ดยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
โทร. ๐๘๖-๘๔๓๑๓๒๘

วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น สร้างลานธรรม และสร้างพระพุทธรูป หน้าตัก 9.99 เมตร
http://www.facebook.com/WatPaWivekdham


ขอเชิญร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์จำนวน 40 ห้อง ณ วัดทุ่งครุ
0863481640

กำลังสร้างฐานหลวงพ่อทันใจหน้าตัก39นิ้วคับ ร่วมเป็นเจ้าภาพหัวใจพระคับ
080-4701318


พิธีเททองหล่อพระประธาน วัดจำปา กทม. วาระที่ 4 ส่วนพระกรขวา วันจันทร์ ที่ 12 สิงหาคม 56
https://www.facebook.com/nui.wadcumpa

ทำบุญสร้างพระใหญ่ วัดท่าข้ามเจริญศรัทธาฯ จ.ฉะเชิงเทรา พระพุทธรูปยืนปางพุทธลีลา
โทร. 081-650-1231


หล่อพระพุทธเจ้าองค์ปฐมเนื้อทองคำ เลี้ยงพระเพล ๑๐๐๐ รูป วัดสระพัง อาทิตย์ ๒๕ สค ๒๕๕๖
0899196514

เชิญร่วมบุญหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา


ตารางหล่อพระพุทธรูป

วันที่ ๓๐ ก.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๖ ส.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๑๔ ส.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๒๑ ส.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๒๙ ส.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๔ ก.ย.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๑๒ ก.ย๑๙ ก.ย.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๑๙ ก.ย.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๒๗ ก.ย.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๔ ต.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๑๒ ต.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๑๙ ต.ค.๕๖เทปูนพระ๔ศอก สนส.เจโตวิมุติ(วัดป่าเขาดิน)ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี


วันที่ ๑๑-๑๒ ส.ค.๕๖เททองพระวัดทุ่งสีหลง อ.ดอนตูม จ.นครปฐม

วันที่ ๑๒ ส.ค.๕๖ เทปูนพระใหญ่หน้าตัก๖.๕เมตรวัดหนองพงนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

วันที่ ๑ ก.ย.๕๖ - ๑๔๓๙น.เททองพระวัดหนองศาลา ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

วันที่ ๘ ก.ย.๕๖เททองพระวัดตะเคียนงาม ต.ห้วยน้ำขาว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๑๐พ.ย.๕๖ ทอดกฐินสร้างพระใหญ่ วัดถ้ำพุหว้า ต.หนองหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๕ ธ.ค.๕๖ ๕๖ เทปูนพระใหญ่หน้าตัก๖.๕เมตรวัดหนองพงนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม


ร่วมสร้างพระล้านองค์เพื่อถวายพระอริยสงฆ์ กับกองบุญธารบุญธารธรรม
087-6320232

หาเจ้าภาพสร้างพระสีวลี (เนื้ออัลลอยส์) สูง 2.00 เมตร ถวายวัดศรีบุญเรือง จ.บึงกาฬ
085-361-4989

ทำบุญสร้าง "พระพุทธเจ้าทันใจ" หลวงพ่อบุญมา สุภัทโท วัดสามัคคีธรรม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
08-9127-5512

ร่วมทำบุญหล่อพระ 9 องค์
080-561-9898

บุญประดับบุษบกทิพยวิมานให้สำเร็จ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ(พระทันตธาตุแก้ว)
โทร.0871851964

ร่วมทำบุญปิดทองประดับเพชร และวิหารแก้ว สมเด็จองค์ปฐม วัดดอยเปา จ.เชียงใหม่
ร่วมทำบุญได้ที่

ธ.ธนชาติ สาขาหางดง

ชื่อบัญชี วัดดอยเปา 577-204-6439



ร่วมสร้างพระล้านองค์
087-6320232


ร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะบันไดทางขึ้นวัด จำนวน 284 ขั้น
โทร. ๐๓๕-๘๓๗๕๙๐


ขอเชิญร่วมสร้างบานประตู-หน้าต่าง พระอุโบสถ วัดเขานางบวช
082-2501560


เชิญทำบุญร่วมเป็นเจ้าภาพ อาสนะที่นั่งพระสงฆ์ ถวายวัดปางค่า ต.ไชยสถาน อ.เมือง จ.น่าน
0861858116


ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างวิหารประดิษฐาน "พระพุทธสิงหไกรศร" (พระชำระหนี้สงฆ์)
081-675-3120


บอกบุญ!ซ่อมแซมหลังคาศาลาการเปรียญ
โทร 089-2183130


สร้างบุญ พิธีเททองหล่อระฆัง เททองในวันเสาร์ของงานประจำปี เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
โทร 089-658-9939


ซื้อที่ดินถวายสร้างสถานปฏิบัติธรรมหนองกะโตวา จ.ชัยภูมิ

บอกบุญมายังผู้มีจิตศรัทธาร่วมจัดสร้างแม่พิมพ์พระเครื่องเนื้อผงพิมพ์สมเด็จนางพญา
โทร. 085-195-9625


ร่วมบุญสร้างพระธาตุเจดีย์ฐานสโม (พระอรหันตธาตุหลวงปู่ชอบ ฐานสโม) จ.เลย
โทร 081-8349911


เชิญเป็นเจ้าภาพ คิ้วบัวขอบหน้าต่าง/ประตู "วิหารพระพุทธเจ้าสามกาล"รวม 18000บ.
โทร 0868032001


ปิดรับ 15 ส.ค.) สร้างฉัตรยอดพระพุทธชยันตีมหามงคล วัดวังขอน
086-371-6914

ขอเชิญร่วมสร้างหอพระ"พุทธนวหารคุณ
โทร 085-4629656


บริจาคเงินติดหน้าต่างถวายกุฏิสงฆ์ จ.น่าน
0841768765


(ปิดรับ 15 ส.ค.)ถวายแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าแสงสว่าง ณ.สำนักสงฆ์ดงฟ้าห่วน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
085-361-4989

ร่วมถวายสมเด็จองค์ปฐม สร้างศาลาปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์กับองค์ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า
089 -109 -4455


ขอเชิญทำบุญร่วมสร้างพระพุทธรูป(สำริด)
โทร.๐๕๔-๕๔๕-๓๑๙


เชิญร่วมบุญใหญ่สร้างวิหารจักพรรดิที่วัดถ้ำเมืองนะ
http://www.watthummuangna.com/home/comm ... 414.0.html


ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ด้วยปูน ปิดทองคำเปลวแท้
0871221519



งานสืบชะตาอายุวัฒนะมงคล ๙๙ ปี ๗๙ พรรษา ย่าง ๑๐๐ ปี ของหลวงปู่ครูบาหม่อนตั๋น ปญฺโญ
086-183-2456


ผ้าป่า ๑๐๐๐ กองๆละ ๕๙๙บาท เพื่อก่อตั้งกองทุน เพื่อพระสงฆ์ สามเณรในถิ่นทุรกันดาร
โทร 084-7020194

ร่วมบุญใหญ่สร้างอุโบสถ วัดศรีมงคล ต.นาเกาะ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
083 0450 424

ขอเชิญร่วมงานทำบุญวันคล้ายวันมรณะภาพ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4-5 สค.

ทอดผ้าป่าเพื่อบำรุงพระมหามณฑป วัดไตรมิตร และบำรุงอาคาร มหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร
ท่านสามารถร่วมทำบุญได้ที่

ชื่อบัญชีคณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิริราช เลขที่ 016-432628-3
ธนาคารทหารไทย สาขาศิริราช เลขที่ 085-2-20335-5
ธนาคาร กสิกรไทย สาขาศิริราช เลขที่ 638-2-09117-3
ธนาคารกรุงเทพ สาขา รพ.ศิริราช ปิยราชการุณย์ เลขที่ 901-7-00004-4

ขอเชิญร่วมทำบุญทอดผ้าป่าบูรณะพระวิหารวัดไม้ยาใหม่ เชียงราย
085-4369094


โครงการทอดผ้าป่า 8 เดือน 10000 กอง กองละ 10 บาท เพื่อสร้างอุโบสถวัดป่าคา จ.พะเยา (คุณขนุนธรรม)
086-6722817


งานทอดกฐินสามัคคี ที่พักสงฆ์พรหมรังศรีปี 3
089-1724662

ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมทำบุญถวายผ้ากฐิน ๙วัด
081-8052466

วันเสาร์ที่ 26ตุลาคม2556 ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีสร้างพระประธาน
โทร 0868431282


ขอเชิญร่วมสร้าง DVD ธรรมประวัติ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
dhamma@dhamma.or.th

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพตัดจีวรและบริขารถวายพระภิกษุเป็นโรคอ้วนหนัก175ก.ก.
0855412559


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพถวายน้ำปานะพระภิกษุตลอดพรรษา
โทร. 088-1562310

ร่วมงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน ครบรอบ ๒๑ ปี มรณภาพ ๑๐๔ ปีชาตกาล หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
วันที่ ๑๓ - ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖

ขอเชิญศิษยานุศิษย์ร่วมงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน
ครบรอบ ๒๑ ปี มรณภาพ ๑๐๔ ปีชาตกาล พระญาณสิทธาจารย์
(หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)

ที่ สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

วัดแพรกบางบัวทองขอเชิญหล่อหลวงปู่ทวดสูง 29 ม. ใน จ.นนทบุรี

วัดโบสถ์ดอนพรหม ร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือท้องเนื่องในวันแม่แห่งชาติ วันที่ 1 - 12 สิงหาคม 2556
ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นวันครบรอบ วันคล้ายวันเกิด พระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ครบ๘๕ ปี ขอเรียนเชิญศิษย์ยานุศิษย์ และผู้ที่มีศรัทธาในองค์พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ร่วมทำบุญพร้อมเพรียงกัน ซึ่งในวันงาน โรงทานของเรา มีแจกเสื้อ 200 ตัว


ขอเชิญถวายปัจจัยซื้อต้นยางนา เพื่อปลูกที่วัดศรีบุญเรือง จ.บึงกาฬ

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสังฆทาน 100 วัด 100 ปี สมเด็จพระสังฆราช
https://www.facebook.com/photo.php?fbid ... =1&theater

ขอเชิญร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษา ๙ วัดถวายในอำเภอปาย ๔ ส.ค.นี้
โทร ๐๘๓-๑๑๔๓๖๘๑

ขอเชิญร่วม สร้างกุฏฏิถวาย ที่พักสงฆ์โนนโพธิ์

ขอเชิญร่วมงานมุฑิตาสักการะอายุวัฒนมงคลครบรอบ 84 ปี หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน
โทร. 086-4017809

วัดโบสถ์ดอนพรหม ร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือท้องเนื่องในวันแม่แห่งชาติ วันที่ 1 - 12 สิงหาคม 2556
สอบถาม 092-456-2021


ขอเชิญร่วมไถ่ชีวิตโคจากโรงฆ่าสัตว์ที่ จ.สกลนคร
081-8465404

ขอเชิญไถ่ชีวิตโค-กระบือ ถวายเป็นพระราชกุศล พระสังฆราช พระชันษา 100 ปี ‏วันที่ 3 ตค. 2556
โทร 081-2097801


ขอเชิญมาร่วมสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลภูเพ็ก....กับหลวงตาสุริยา
สามารถอ่านรายละเอียดตามลิ้งค์เพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้

[url=http://www.watsomphanas.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=watsomphanascom&thispage=&No=1402394&WBntype=1]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ความสำเร็จในชีวิต ที่แท้จริงนั้น
ไม่ใช่เงิน...ไม่ใช่อำนาจ
แต่เป็นความสำเร็จที่เกิดจาก
ความพอดี...ของชีวิต

นิพพาน...เปรียบเสมือนข้าวสาร
ข้าวเปลือกที่ผ่านการกลัดสีออกหมดแล้ว
กลายเป็นข้าวสาร ไม่สามารถงอกใหม่ได้อีกเลย
...บุคคลที่สามารถขัดเกลาจิตใจของตนไห้สะอาด
หมดจดปราศจากกิเลสตัณหา ขันธ์ 5 ได้ จนบรรลุมรรคผลนิพพาน
บุคคลนั้นก็พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎฎสงสาร
อันเป็นทุกข์ตลอดกาลชั่วนิรันดร์....


โกรธเขา เราได้อะไร
เกลียดเขา เราสุขหรือไม่
โมโหเขา เราทำร้ายใคร
เกลียด...โมโห ทำไม ???
สุดท้ายก็กลับมาทำร้าย
"ใจตัวเอง"


รักได้ชอบได้...อย่าไปหวังอะไรไปมากมายกว่านี้
มีหวังได้...แต่อย่าไปหวังมากมายจนเกินไป
เพราะว่า...สุดท้ายแล้วมนุษย์ก็ย่อมเป็นมนุษย์อยู่วันยังค่ำ
ยังมีความเห็นแก่ตัวอยู่ดี เพราะมันคือความจริง
สุดท้ายความจริงย่อมปรากฎเสมอ....ไม่วันใดก็วันนึง

ความไม่แน่นอน สอนไห้เรา เติบโต
ความโง่ สอนไห้เรา เรียนรู้เท่าทัน
ความไหวหวั่น สอนไห้เรา มั่นคง
ความไม่ซื่อตรง สอนไห้เรา ซื่อสัตย์


"ตั้งสติในความไม่ประมาท"
ชีวิตเราไม่ใช่กระดาษ
เขียนผิดพลาดแล้วก็ฉีกทิ้ง
ชีวิตเราไม่ใช่ดินสอ
เขียนอะไรก็ได้ทุกสิ่ง
ชีวิตเราไม่ใช่ยางลบ
เขียนผิดหมดแล้วก็ลบทิ้ง
ชีวิตเราคือชีวิตจริง
"อย่าประมาทในชีวิตถ้ามันผิดจะเสียใจ"





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 10:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาาธุ....

ไม่ทราบว่าหลวงพ่อองค์ไหนเทศน์...นะครับ??? ช่วยบอกนามได้มั้ยครับ?

ประทับใจที่ท่านอธิบายเรื่องคุณภาพของจิต..แบบง่ายๆเข้าใจได้ดี..ไม่ว่าเรื่องภพภูมิที่เกิดจากการสร้างของจิต...เป็นต้น


หากจะช่วยบอก...ว่ามีเป็นหนังสือเล่มไหน...มีลิงค์มั้ย....จะขอบคุณมากครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม

อันที่ ๖ ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม ก็คือ อริยมรรค ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น จนกระทั่งถึงสัมมาสมาธิ ถ้าอยากจะอิสระจากกรรม ไม่ต้องมาดิ้นรนทำกรรมวนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่ต้องมาเวียนเกิดเวียนตายไปตามกรรมอย่างที่เป็นอยู่นี้ เราก็ต้องมาฝึกฝนตนเอง ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ ให้เกิดศีล เกิดสมาธิ ปัญญา เมื่อสมบูรณ์ อริยมรรค ๘ ก็เกิดขึ้น ได้เห็นพระนิพพาน ทำลายกิเลสได้ อิสระจากผัสสะ อิสระจากกรรม มีทางนี้ทางเดียวนี่แหละ ในบาลีท่านว่า

อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค กมฺมนิโรธคามินี ปฏิปทา,

เสยฺยถิหํ : สมฺมาทิฏฺฐิ...สมฺมาสมาธิ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม

ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ...สัมมาสมาธิ

คำสอนของพระพุทธเจ้าสอนไว้ครบถ้วนนะ ถ้าเรายังทำกรรมอยู่ท่านก็บอกไว้ว่า กรรมจะพาวนเวียนไปไหนได้บ้าง พาไปนรกก็มี สัตว์เดรัจฉานก็มี เปรตก็มี มนุษย์ก็มี เทวดาก็มี ให้ผลเมื่อไหร่บ้าง ให้ผลในชาติปัจจุบันก็มี ให้ผลชาติหน้าก็มี ให้ผลในชาติถัดจากนั้นไปอีกก็มี ความอิสระจากกรรมอย่างไร คืออิสระจากผัสสะ ผัสสะไม่มีอิทธิพลมาทำให้ใจหวั่นไหวได้ และบอกข้อปฏิบัติที่ทำให้อิสระจากกรรม คืออริยมรรค ๘

อริยมรรค ๘ นี้เกิดพร้อมกับมรรคจิต ในคนหนึ่งๆ ที่เกิดตายสืบต่อกันอย่างยาวนานนี้ อริยมรรคเกิดเพียง ๔ ครั้งเท่านั้น ก็ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว

ครั้งแรกเกิดโสดาปัตติมรรค ก็ได้เป็นพระโสดาบัน

ครั้งที่สองเกิดสกทาคามิมรรค ได้เป็นพระสกทาคามี

ครั้งที่สามเกิดอนาคามิมรรค ได้เป็นพระอนาคามี

ครั้งที่สี่เกิดอรหัตตมรรค ได้เป็นพระอรหันต์

เท่านี้ก็หมดเรื่องแล้ว อิสระจากกรรมโดยสิ้นเชิงแล้ว

ที่เราปฏิบัติธรรม ฝึกสติสัมปชัญญะ นี้ยังไม่ใช่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นขั้นการฝึก เป็นการทำเหตุเพื่อให้อริยมรรคเกิดขึ้น เราฝึกไปตามไตรสิกขา ให้เกิดศีล สมาธิ ปัญญา ไปตามลำดับ พอสมบูรณ์ระดับหนึ่ง อริยมรรคเกิดขึ้นครั้งที่หนึ่ง ทำลายกิเลสคือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้เด็ดขาด ได้เป็นพระโสดาบันมีศีลสมบูรณ์ อริยมรรคเกิดขึ้นครั้งที่สอง ทำลายราคะ โทสะ โมหะ ที่หยาบๆ ได้ ได้เป็นพระสกทาคามี อริยมรรคเกิดขึ้นครั้งที่สาม ทำลายกามราคะและปฏิฆะได้ ได้เป็นพระอนาคามี มีสมาธิสมบูรณ์ อริยมรรคเกิดขึ้นครั้งที่สี่ ทำลายรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้เป็นพระอรหันต์ มีปัญญาสมบูรณ์

ฉะนั้น เวลาเราศึกษาเรื่องกรรมก็ควรศึกษาให้ครบ ๖ เรื่องอย่างนี้นะ กรรมคืออะไร เหตุเกิดแห่งกรรมคืออะไร ความต่างแห่งกรรมคืออะไร วิบากแห่งกรรมคืออะไร ความอิสระจากกรรมคืออะไร ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรมคืออะไร รู้ให้ครบอย่างนี้ จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง






ในสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรมนี้ พระพุทธเจ้าท่านเน้นเรื่องกรรมนิโรธ กับ กรรมนิโรธคามินีปฏิปทา ให้เราทั้งหลายพากเพียรประพฤติพรหมจรรย์คือไตรสิกขา เพื่อให้อริยมรรคเกิดขึ้น การรู้เรื่องกรรมก็เพื่อรู้จักพรหมจรรย์ จะได้ฝึกฝนตนเองให้อิสระจากกรรม ไม่ต้องมาเกิดอีก ไม่ใช่รู้เรื่องกรรมเพื่อไปทำกรรมเยอะๆ นะ ไม่ใช่สอนเรื่องกรรม เพื่อให้ไปทำกรรม จะได้ไปเกิดที่นั่นที่นี่ แต่สอนเรื่องกรรมเพื่อให้ทราบว่า เพราะมีการทำกรรม เราทั้งหลายจึงเวียนเกิดเวียนตาย ไปทุคติบ้าง ไปสุคติบ้าง เคยเป็นมาหมดแล้ว ทั้งสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต เทวดา พรหม หรือมนุษย์ในลักษณะต่างๆ คนรวยก็เคยเป็นมาแล้ว คนจนก็เคยเป็นมาแล้ว พระราชาก็เคยเป็นมาแล้ว ยาจกก็เคยเป็นมาแล้ว ควรแล้วที่จะเบื่อหน่ายในการเกิด มาประพฤติพรหมจรรย์ให้เกิดปัญญา ไม่หลงไปกับโลกซึ่งเกิดจากผัสสะเท่านั้นเอง

การทำความดีนั้นเป็นทางผ่าน เพื่อให้เกิดปัญญาเข้าใจความจริง ละความเห็นผิดและความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวเราจริง ไม่ได้ต้องการดี แต่เพื่อให้จิตพร้อมสำหรับการศึกษา ให้ทานก็เพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อการประพฤติพรหมจรรย์ รักษาสิกขาบทต่างๆ เพื่อเกื้อกูลต่อการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อละความเห็นผิดว่ามีตัวเราจริง และละความยึดมั่นถือมั่นในโลก

ท่านสรุปประโยชน์ของความรู้เรื่องกรรมไว้ในตอนท้ายว่า

ยโต โข ภิกฺขเว อริยสาวโก เอวํ กมฺมํ ปชานาติ,

เอวํ กมฺมานํ นิทานสมฺภวํ ปชานาติ,

...เอวํ กมฺมนิโรธคามินี ปฏิปทํ ปชานาติ,

โส อิมํ นิพฺเพธิกํ พฺรหฺมจริยํ ปชานาติ กมฺมานิโรธํ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยะสาวกรู้กรรมอย่างนี้

รู้เหตุเกิดแห่งกรรมอย่างนี้

...รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรมอย่างนี้

อริยสาวกนั้นย่อมรู้จักพรหมจรรย์

อันเป็นเหตุชำแรกกิเลส อันเป็นความอิสระจากกรรม

ที่สอนเรื่องกรรมโดยแยกแยะเป็น ๖ อย่างนี้ ก็มีวัตถุประสงค์ว่า อริยสาวกนั้นย่อมรู้จักพรหมจรรย์ อันเป็นเหตุชำแรกกิเลส อันเป็นความอิสระจากกรรม ท่านสอนเรื่องกรรมก็เพื่อให้รู้จักพรหมจรรย์ คือ ไตรสิกขา เพราะไตรสิกขานี่แหละเป็นเหตุให้อริยมรรคเกิดขึ้น ทำลายกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ได้เห็นพระนิพพาน

อริยมรรค ๘ ประการเป็นกรรมนิโรธคามินีปฏิปทา ซึ่งกรรมนิโรธคามินีปฏิปทานี้จะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีพรหมจรรย์ และถ้าไม่มีกรรมนิโรธคามินีปฏิปทา กรรมนิโรธคือพระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่อิสระจากกรรมก็ไม่ปรากฏ

พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกรรมมาทั้งหมดนี่นะ ก็ต้องการให้เรารู้จักพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องชำแรกกิเลส เป็นความอิสระจากกรรม เพื่อให้เราประพฤติปฏิบัติตามพรหมจรรย์ได้โดยถูกต้อง ใครจะปฏิบัติแนวไหนก็ตามสมควรนะ แต่ให้อยู่ในหลักพรหมจรรย์ ในหลักของไตรสิกขา อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพื่อให้เกิดศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าอยู่ในหลักนี้โดยถูกต้อง มีเหตุสมควร อริยมรรค ๘ ก็เกิดได้ เห็นพระนิพพาน ทำลายกิเลสไปได้โดยสิ้นเชิง ถึงกรรมนิโรธ คือความอิสระจากกรรม ไม่ต้องมาวนเวียนในวัฏฏะทุกข์อีกต่อไป

เราเรียนเรื่องกรรมก็เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ถ้ายังทำอะไรไม่เป็นเลย เราก็หัดพรหมจรรย์ด้านศีลก่อน สมาทานสิกขาบทแล้วก็ฝึกฝนตนเองให้อยู่ในกรอบ ฝึกฝนสติสัมปชัญญะให้มากขึ้น หัดรู้ตัวให้บ่อยๆ เพื่อให้รู้ทันเจตนาในใจ คอยสังเกตเจตนาในใจเอาไว้ เวลาจะทำทางกาย เวลาจะพูด ดูให้เห็นว่า พูดด้วยจิตอะไร คิดยังไงถึงพูดอย่างนี้






เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 04:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สาาธุ....

ไม่ทราบว่าหลวงพ่อองค์ไหนเทศน์...นะครับ??? ช่วยบอกนามได้มั้ยครับ?

ประทับใจที่ท่านอธิบายเรื่องคุณภาพของจิต..แบบง่ายๆเข้าใจได้ดี..ไม่ว่าเรื่องภพภูมิที่เกิดจากการสร้างของจิต...เป็นต้น


หากจะช่วยบอก...ว่ามีเป็นหนังสือเล่มไหน...มีลิงค์มั้ย....จะขอบคุณมากครับ

:b8: :b8: :b8:

สามารถดูได้ตามลิงค์ดังนี้
http://www.ajsupee.com/

http://www.ajsupee.com/document/pdf/boo ... enkamm.pdf

เป็นบทความของกฎเกณฑ์กรรม (หนังสือ) ...จากคำบรรยายโดย อ.สุภีร์ ทุมทอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร