วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปการนอนดูธาตุขันธ์ทำงานภายใต้สภาวะบีบคั้นกดดันของเขาเองดังนี้ว่า :b46: :b47: :b46:

นอกจากเป็นการฝึกเพื่อให้สติสัมปชัญญะและสมาธิมีความเข้มแข็งแล้ว ก็จะเป็นการฝึกเพื่อให้จิตเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงจนเกิดปัญญาว่า รูปนี้กายนี้ (หรือเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนี้) ก็แปรปรวนไม่เที่ยง ถูกบีบคั้นคงตัวอยู่ไม่ได้ :b41: :b41: :b41:

และที่แปรปรวนก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย สั่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราได้ในขณะเดียวกันนั้น เช่นเดียวกับการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้รูปเดิน ยืน และนั่ง นั่นเอง :b1: :b46: :b39:

(ซึ่งการฝึกสติพิจารณารูป หรือกาย (กายคตาสติ) จนจิตเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดลงในกาย หรือเวทนาอันเนื่องด้วยกายนี้ ก็จะเป็นวิธีการหลัก หรือ key practice หนึ่งสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความจางคลายในราคะและปฏิฆะในระดับสกทาคามี จนถึงกระทั่งถึงซึ่งการหมดไปในราคะและปฏิฆะอย่างถาวรสิ้นเชื้อในระดับอนาคามีนะครับ ซึ่งจะลงรายละเอียดอีกครั้งตามสติปัญญาที่พอจะมีในโอกาสต่อไป)

อีกทั้งการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยอาการนอนนี้ ยังเอาไว้ฝึกเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันคราวป่วยไข้ไม่สบายได้ด้วย เพื่อให้อาการป่วยนั้นอยู่แค่กาย แต่ใจไม่ป่วยไปด้วย :b4: :b46: :b39:

และด้วยใจที่ไม่ป่วยไปด้วย ก็จะสนับสนุนให้อาการผิดปรกติทางกาย มีโอกาสหายได้โดยไวนะครับ :b1: :b46: :b39:


แล้วมาต่อที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายในอิริยาบถย่อยและในชีวิตประจำวัน จนถึงการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้ใจในสมาธิภาวนา (ซึ่งอันที่จริงได้กล่าวไว้บ้างแล้วบางส่วนตามด้านบน) กันในคราวหน้า :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.ค. 2013, 21:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การหยั่งรู้รูปนามโดยกำหนดรู้ความเป็นเหตุผลของรูปกับนามของผู้ข้ามพ้นโคตรปุถุชนแล้ว จะสะดวกกว่าเดิม สภาวธรรมทางกายจะเป็นสั่นไหวภายใน ความอบอุ่น ส่วนทางนามจะพบแรงที่กระทำต่อหัวใจหรือที่หน้าอก และทุกครั้งที่ปรากฎการณ์ทางกายเปลี่ยนไป ก็จะพบว่า แรงครอบงำทางนามเปลี่ยนไป(อนิจจัง)ด้วย และทุกครั้งจะมีการคลายเป็นความร้อน ความอึดอัดออกมา(ทุกขัง) ทั้งยังพบว่าภายหลังการคลาย จะเกิดความเย็น สุข สบาย เบา ชั่วขณะ(อนัตตา) อาการเหล่านี้(ไตรลักษณ์)จะหมุนวนเป็นรอบๆและละเอียดยิ่งขึ้นเป็นเสมือนการลอกคราบ ทั้งรูปและนาม (แยกรูปปรมณู)เมื่อรูปนามมีการเกิดดับจิตจะเคลื่อนตัวลงสู่เบื้องต่ำ(วูบจากศีรษะลงสู่ท้อง) ที่เรียกว่าจิตรวม(ฌาน) พร้อมอารมณ์ของจิต (อารมณ์ฌาน)และการเคลื่อนตัวของจิตลงสู่เบื้องต่ำตามจักกระ (วูบจากศีรษะลงสู่ท้อง) เกิด(ตำแหน่งของฌาน)ซึ่งไม่มีการกล่าวไว้ ในพระไตรปิฏก ซึ่งพระไตรปิฏก จะกล่าวไว้เพียงอารมณ์ของจิต (องค์ณ์ฌาน) สำหรับความรู้เรื่องจักระจะกล่าวไว้ต่อไป


โพสต์ เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 08:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การเคลื่อนของจิตจากสภาวธรรมหยาบสู่ละเอียด หากเป็นการรู้ลมหายใจเข้าออกนั้น จะมีช่วงหนึ่งที่จิตวูบลงสู่เบื้องต่ำ ซึ่งเร็วมาก ซึ่งมักเรียกว่าจิตตกภวังค์ ส่วนใหญ่จะกลับไปดูลมอีก ซักพักก็จะวูบลงไปอีก แต่หากดูลมเมื่อจิตเคลื่อน เช่น ไปคิด นึก ก็รู้ตาม และรู้ไปสู่สภาวธรรมอื่น จะเป็นการรู้นาม(เหตุดับ)สัมพันธ์กับกาย(ผลดับ) หมุนเวียนเป็นลูกโซ่ของความสัมพันธ์ กล่าวคือ เมื่อนามดับจะส่งผลต่อสภาวธรรมในเรือนกายเปลี่ยนไปโดยละเอียดยิ่งขึ้น และที่สำคัญเมื่อเหตุดับ ผู้ปฏิบัติบัติที่พบสภาวะจิตดิ่งลงสู่เบื้องต่ำ เหมือนกัน แต่จะเคลื่อนที่ฃ้ากว่ากรณีแรก ซึ่งผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะขาดความเข้าใจว่าต้องดำเนินการอย่างไร ส่วนใหญ่จะกลับไปดูลมอีก การทำดังกล่าวจะเป็นการลดระดับสมาธิหรือถอนจิต ที่จริงแล้วแนวทางปฏิบัติ เช่น เมื่อจิตเคลื่อนที่ต่ำกว่าระดับท้อง หรือไม่รู้ตำแหน่ง แต่รู้ว่าจิตเคลื่อนลงข้างล่าง ควรรู้ไปที่ตำแหน่งจิตเคลื่อนลงไป(ร้รูปหรือรู้กาย) 2-3 วินาที และไปสังเกตความรู้สึกว่าที่ตำแหน่งนั้นจะพบความเหนื่อยหรืออยากพัก ก็ให้รู้ว่าอยากพัก 2-3 วินาที หรือมากกว่านั้นก็ได้ แล้วกลับไปรู้เฉพาะที่ตำแหน่งนั้นอีก 2-3 วินาที จะพบว่าจิตเกิดดับ จิตจะลอยสู่ระดับที่สูงขึ้น และจะสังเกตได้ว่าตำแหน่งที่จิตอยู่จะขยายกว้างขึ้น สำหรับการรู้นามนั้น ณ ตำแหน่งดังกล่าว จะพบว่า มีแรงตรึงและรู้สึกอยากพัก ซึ่งแรงนี้เองคือ เหตุที่ทำให้จิตดิ่งอยู่ในสมาธิระดับนี้ และเมื่อรู้ถึงแรงตรึงดังกล่าวจิต เกิดดับ จิตก็จะเคลื่อนต่อไป การปฏิบัติวิธีนี้เป็นการละเหตุ ของสมาธิ เมื่อเหตุของสมาธิระดับหยาบดับไป สมาธิระดับละเอียดก็ปรากฏขึ้น

จะเห็นได้ว่าในขั้นตอนนี้เราไม่ได้ดูลมเข้าออกแต่ไปรู้ถึงความสัมพันธ์ของนามและกายแทน และที่ต้องระวังคือทุกการรู้ต้องปล่อยรู้ด้วย ความหมายของปล่อยรู้หรือละ เทียบเท่าการเปลี่ยนตำแหน่งรู้ กล่าวคือเมื่อรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อจิตเปลี่ยนไปรู้สิ่งใหม่ จึงเป็นการปล่อยรู้สิ่งเก่า(กระบวนการที่กล่าวมาเป็นการพูดถึงแนวทางปฏิบัติชองผู้ปฏิบัติวิปัสสนาแต่มีอารมณ์สมถะนำหน้า หากเป็นผู้มีอุปนิสัยวิปัสสนาอยู่ล้วก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยรู้)


โพสต์ เมื่อ: 16 ก.ค. 2013, 13:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่กล่าวมาพุทธศาสนาทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ จึงเป็นเรื่องของเหตุและผล ที่สัมพันธ์กัน สมดังคำที่พระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมบทหนึ่ง แก่พระสารีบุตร “ ธรรมทุกอย่างเกิดแต่เหตุ” เพียงแค่นึ้พระสารีบุตร ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ดังนั้นแนวคิดในการพิจารณาและการปฏิบัติธรรม จึงเป็นการรู้ลงไปในสภาวะธรรมของรูปและนามที่สัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกันตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ภูมิ ทั้ง 31 ภูมิในกายและใจนึ้ โดยในเบื้องต้นเป็นการรู้ในลักษณะของความรู้สึก(ใจ) และอาจขยายขอบเขตไปสู่อายตนะอื่น


โพสต์ เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

จากการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายผ่านอิริยาบถใหญ่ ตามรูปแบบและเวลาที่กำหนด :b48: :b47: :b48:

คราวนี้มาที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายผ่านอิริยาบถย่อย และการฝึกสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวันกันนะครับ :b1: :b47: :b46: :b47:

ซึ่งจากที่เคยกล่าวจากประสบการณ์ไว้ว่า การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายผ่านอิริยาบถใหญ่ตามรูปแบบและเวลาที่กำหนดนี้ จะสนับสนุนให้เกิดสติสัมปชัญญะที่มีความเข้มแข็ง พอที่จะทำให้เกิดอาการรู้เนื้อรู้ตัวขึ้นเวลาลงสนามจริง คือในการใช้ชีวิตประจำวันได้รวดเร็ว ชัด บ่อยครั้ง และต่อเนื่องยาวนานขึ้น :b42: :b47: :b46:

แต่การที่จะทำให้เกิดการรู้เนื้อรู้ตัวในชีวิตประจำวันด้วยการรู้กาย ซึ่งประกอบไปด้วย การขยับ การเคลื่อนไหว การพูด และการหยุดนิ่งของกายในอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย ทั้งในอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อยต่างๆได้รวดเร็ว ชัด บ่อยครั้ง และต่อเนื่องยาวนานขึ้นได้อย่างแข็งแรงนั้น ก็ต้องอาศัยการฝึกร่วมในขณะที่ลงสนาม คือในการใช้ชีวิตประจำวันตามปรกติ เป็น on the job training ด้วยเช่นกัน :b1: :b42: :b41:

ซึ่งการฝึก "รู้กาย" ตรงนี้ (รวมถึงการฝึก "รู้ใจ" ในชีวิตประจำวัน) ก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญ เป็นอาหารปัจจัย (nutriment condition หมวดนามอาหาร) ให้อธิศีลสิกขาในหัวข้ออินทรียสังวรศีล จนกระทั่งสุจริต ๓ ได้เจริญงอกงาม ตามคำสอนของพระบรมครูนะครับ :b54: :b55: :b54:

เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราโดยทั่วไปนั้น ในภาคส่วนของการรับรู้โลก จะมีการกระทบแห่งอายตนะภายใน หรืออินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ กับอารมณ์ภายนอกอยู่บ่อยครั้งมากๆ :b46: :b47: :b46:

และการกระทบอารมณ์โดยที่ไม่มีสติสัมปชัญญะกำกับนั้น จะทำให้จิตถูกปรุงในภาคประมวลผล แล้วไหลไปตามความเคยชิน คือไหลไปตามกระแสแห่งอำนาจของกิเลสคือตัณหา ซึ่งตามหลังผัสสะและเวทนามาติดๆในวงจรปฏิจจสมุปบาทได้อยู่เรื่อยๆ :b23: :b48: :b47:

ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะมาคอยกั้นกระแส มาคอยกำกับผัสสะ มาคอยสังวรคุ้มครองอินทรีย์นั้นไว้ ไม่ให้จิตถูกปรุงแต่งจนไหลไปในช่องทางของทุกข์บาปอกุศลจนเกิดทุจริต ๓ ทางกาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นอาหารของนิวรณ์ ที่หล่อเลี้ยงอวิชชาให้เจริญงอกงามอยู่ได้ :b46: :b44: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕
แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓
แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์
แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ"


อวิชชาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2712&Z=2781


ซึ่งการฝึกสติสัมปชัญญะจนสามารถเข้ามาคุ้มครองอินทรีย์ได้อยู่เนื่องๆจนเกิดสุจริตทางกาย วาจา ใจ ได้เป็นปรกติในชีวิตประจำวัน ก็จะเป็นหนทางในการตัดช่องทางอาหารของนิวรณ์ ไม่ให้เข้าไปหล่อเลี้ยงนิวรณ์ ซึ่งเป็นอาหารของอวิชชาอีกต่อหนึ่งได้ :b47: :b44: :b47:

และเมื่ออวิชชาไม่มีอาหารคือนิวรณ์เข้าไปหล่อเลี้ยง อวิชชาก็จะเหี่ยวแห้ง จนกระทั่งจางคลายหายสูญออกไปจากจิตได้เอง ด้วยการฝึกสติคุ้มครองทวารและฝึกสติเพื่อเห็นโลกตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน) นะครับ :b1: :b46: :b39:


ขอยกพุทธพจน์ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายผ่านอิริยาบถย่อย และการฝึกสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวันขึ้นมาให้อ่านกันก่อน :b49: :b46: :b44:

"พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสสติข้อที่ ๖ แม้นี้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสติ
นั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูกรอานนท์ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ"


อุทายีสูตร http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7595&Z=7659&pagebreak=0


"[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ."


สามัญญผลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0 และที่อื่นๆอีกมาก


โพสต์ เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเห็นได้ว่า การฝึกให้มีสติสัมปชัญญะผ่านการรู้กายตามคำของพระบรมครูนั้น เราสามารถหาโอกาสฝึกจากกิจกรรมต่างๆได้ตลอดทั้งวันนะครับ ซึ่งครูบาอาจารย์ท่านได้ขยายความต่อไว้ประมาณว่า ให้เพียรทำความรู้สึกตัวให้เกิดการรับรู้ ประมวลผล และสั่งการกระทำต่อ โดยรู้ลงที่ใจ :b46: :b47: :b46:

เพราะกิจต่างๆจะสำเร็จได้ ก็ต้องเริ่มด้วยการรับรู้ ประมวลผล และสั่งการจาก ใจ ที่ประกอบไปด้วย เจตนา (มโนสัญญเจตนา --> กายสัญญเจตนา & วจีสัญญเจตนา) ซึ่งเป็นองค์ธรรมหลักที่ประกอบร่วมอยู่ในวงจรส่วนของการกระทำกรรม (กัมมวัฏฏ์) ได้แก่ สังขาร และ ภพ (กรรมภพ) ในวงจรปฏิจจสมุปบาท :b46: :b42: :b39:

ซึ่งสำหรับผู้ที่ฝึกปฏิบัติมาดีแล้ว ในขณะเดียวกันนั้นเอง ใจนั้นก็ทำหน้าที่เป็นผู้รู้ ผู้ดู ที่ใช้สติสัมปชัญญะ เฝ้าสั่งการ และสังเกต ดูกายทำงานอยู่ห่างๆ :b50: :b49: :b50:

โดยสติสัมปชัญญะที่ใช้เพื่อเฝ้าสังเกต สั่งการกาย เพื่อทำกิจต่างๆให้สำเร็จลงได้ด้วยดีในชีวิตประจำวันนั้น จะต้องครอบคลุมกว้างขวาง ถึงความสามารถที่จะ :b46: :b39: :b46:

(๑) ตระหนักรู้ในประโยชน์ และจุดหมายของการกระทำนั้น รวมทั้งสามารถที่จะกลั่นกรอง เลือกทำในสิ่งที่ตรงกับประโยชน์ และจุดหมายของการกระทำที่ว่า (สาตถกสัมปชัญญะ - clear comprehension of purpose) :b47: :b48: :b47:

(๒) ตระหนักรู้ที่จะกลั่นกรอง เลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบาย เอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน (สัปปายสัมปชัญญะ - clear comprehension of suitability) :b46: :b47: :b46:

(๓) ตระหนักรู้ที่จะคุมกายและจิต ไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือในแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย (โคจรสัมปชัญญะ - clear comprehension of the domain) :b44: :b45:

(๔) ตระหนักรู้ในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริง รู้ทันทั้งสมมติและปรมัตถ์ ไม่หลงสภาวะเช่นยึดเห็นเป็นตัวตน มิใช่พรวดพราดทำไป หรือสักว่าทำ มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิดไปเสียด้วยความพร่ามัว หรือด้วยลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ หรือเย้ายวนเป็นต้น (อสัมโมหสัมปชัญญะ - clear comprehension of non-delusion, or of reality) :b46: :b44: :b46:


http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D1%C1%BB%AA%D1%AD%AD%D0


โพสต์ เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ผู้ปฏิบัติมือใหม่อาจจะบ่นว่า การฝึกสติสัมปชัญญะเนี่ยะ ทำไมมีหลายอย่างที่ต้องให้ระลึก ให้ตระหนักรู้ในขณะเดียวกันเยอะแยะไปหมด มันจะไม่ยากไปหน่อยเหรอ :b6: :b5: :b41:

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นเป้าหมายที่ต้องครอบคลุมให้ถึงทั้งหมดนะครับ แต่เวลาปฏิบัติจริง แรกๆจะหลงจะหลุดไปบ้างก็ไม่ว่ากัน ให้ปฏิบัติไปแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียดไปกับมัน แต่ต้องหมั่นเพียร อย่าหยุด อย่าท้อถอย :b4: :b46: :b39:

เพราะสิ่งเหล่านี้จะต้องค่อยๆฝึกค่อยๆเพียรสะสม จนเกิดความคุ้นชิน เกิดปัญญาญาณที่จะสามารถ "ตระหนักรู้" และ "รู้ได้ชัด" ในหัวข้อเหล่านี้ได้อย่างครอบคลุม ครบถ้วน เป็นอัตโนมัติได้เองตามเหตุปัจจัยที่บ่มให้ถึงพร้อมแล้ว :b46: :b47: :b39:

เหมือนที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านว่า ต้องเพียรฝึกกันจนเป็นสติอัตโนมัติ ปัญญา (สัมปชัญญะ) อัตโนมัตินั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


เปรียบเทียบง่ายๆได้อย่างเช่น เวลาเราเริ่มหัดขับรถใหม่ๆ ผู้ฝึกสอนก็จะบอกให้ทำกิจต่างๆ รวมถึงสิ่งที่พึงระลึกพึงระวังระไวอะไรๆอีกตั้งเยอะแยะหลายอย่าง ที่ต้องระลึก ตระหนักรู้ และกระทำรวมๆกันไปในขณะเดียวกันที่ขับรถอยู่บนท้องถนน :b46: :b47: :b41:

ซึ่งแรกๆเมื่อยังไม่ชำนาญ สิ่งที่ต้องพึงตระหนักพึงระวังระไวอะไรๆก็เยอะแยะไปหมด การควบคุมจังหวะอุปกรณ์ต่างๆก็ยังไม่คล่อง จึงต้องมีการหลุดการพลาด หรือขับกระตุกๆ เงอะๆงะๆ ในบางจุดบางขั้นตอนบ้างเป็นธรรมดา แต่ผู้ปฏิบัติก็ต้องปล่อยผ่านไปแล้วค่อยๆเพียรฝึกใหม่ไปเรื่อยๆให้คล่องให้ชำนาญ :b54: :b55: :b54:

ต่อเมื่อขับรถได้คล่องได้ชำนาญแล้ว สิ่งที่พึงตระหนักพึงระวังระไว รวมถึงกิจที่ต้องกระทำในการควบคุมอุปกรณ์ทุกอย่างในรถ ก็จะเป็นไปในขณะเดียวกันได้ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ อย่างเป็นธรรมชาติธรรมดาเช่นนั้นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอลงรายละเอียดการฝึกสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวันมาพอให้เห็นภาพกันสักช่วงใหญ่ๆ :b47: :b46: :b48:

เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้ามืด .. :b46: :b39:

(๑) เมื่อแรกเริ่มรู้สึกตัวขึ้นมา (ขยายความแบบ slow motion จากจิตที่เริ่มไหวจากภวังควิถี ขึ้นมารับวิถีทางมโนทวาร เกิดมโนทวารวิถี จนกระทั่งขึ้นมารับวิถีทางปัญจทวาร เกิดปัญจทวารวิถี) ก็รู้กายในท่านอนแบบสบายๆตามที่เคยฝึกมาในรูปแบบ โดยรู้ลงที่ใจ .. คือเป็นการตื่นแบบทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ก่อนจะขยับเปลือกตาหรืออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด :b46: :b47: :b46:

ซึ่งถ้าปฏิบัติไปจนชำนาญแล้ว เมื่อจิตเริ่มไหวจากภวังค์ (อตีตภวังค ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ) จิตจะเห็นจิตที่ดำเนินไปในอาการ "ไหว" เพื่อเปลี่ยนเฟส หรือเปลี่ยนสถานะของจิต :b46: :b47: :b46:

จากการไม่รับรู้เรื่องราวใดๆผ่านทวารทั้ง ๖ ในภวังค์ เข้าสู่อาการ "รู้" ซึ่งเริ่มแรกหลังจากตื่น จะเป็นการรู้ผ่านทวารใจ คือมโนทวาร ได้แก่การ "รู้ลงในรู้" หรือ "รู้ลงในจิต" ที่มีลักษณะสงบ นิ่ง ว่าง โดยค่อยๆมีความชัดขึ้นมาภายในชั่วนาโนวินาที :b47: :b48: :b49:


เหมือนกับการเปิดหลอดไฟที่มีระบบหรี่ (dim light) ด้วยการหมุนให้สว่างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว คือค่อยๆมีสติสัมปชัญญะเกิดร่วมกับการรู้ลงในจิต ที่ค่อยๆจ้าขึ้นมา จากชัดน้อยไปสู่ชัดมากภายในชั่วไม่กี่ขณะจิตที่จิตเริ่มไหวขึ้นจากภวังค์ :b49: :b51: :b50:

จากนั้นจึงเป็นการเปลี่ยนเฟสการรู้อีกครั้ง จากการรู้ลงในจิต หรือมโนทวาร (มโนทวารวิถี) ที่สงบว่างนั้น ค่อยๆขึ้นมารับรู้ทางทวารอื่นๆที่เหลืออีก ๕ ทวาร (ปัญจทวารวิถี) ซึ่งขึ้นอยู่กับผัสสะของทวารใดในขณะที่ตื่นนั้น เด่นขึ้นมา (ซึ่งโดยมากจะเป็นทาง ตา หู และกาย) :b48: :b49: :b48:

เช่น อาจจะมองเห็นความมืดหรือความสว่างผ่านเปลือกตาที่ปิดอยู่ (จักขุทวาร), ได้ยินเสียงหรีดหริ่งเรไร เสียงไก่ขันเสียงนกร้อง เสียงพัดลมเสียงเครื่องปรับอากาศ (โสตทวาร), หรือรับรู้ในสัมผัสของหมอนของผ้าห่มของเตียงนอน (กายทวาร) ฯลฯ :b50: :b49: :b50:

แต่ถ้าจิตที่โยนิโสมนสิการจนเกิดสติสัมปชัญญะ คุ้นชินรู้ชัดในสภาวะลักษณะของอิริยาบถ "นอน" แล้วละก็ ช่วงที่จิตเปลี่ยนเฟสเข้ามารับรู้ในปัญจทวารวิถี จิตก็จะขึ้นมารับรู้กายในท่านอนตามสภาวะที่เคยลงรายละเอียดไป แบบรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ได้โดยอัตโนมัตินะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) จากนั้น ในท่านอนที่รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ค่อยๆลืมตาแล้วลุกขึ้นมานั่ง ก็ให้รู้สึกแบบสบายๆถึงการมองเห็น การเคลื่อนไหว การเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเพื่อสลัดผ้าห่มออก แล้วเหวี่ยงขาลงข้างเตียงพร้อมดึงกายท่อนบนขึ้นมาอยู่ในท่านั่งที่ขอบเตียง โดยรู้ลงที่ใจ ที่เป็นผู้สั่งการและเห็นกายเคลื่อนไหวอยู่ :b49: :b50: :b51:

ซึ่งการรู้ทั้งหมด ให้รู้แบบสบายๆ เคลื่อนไหวด้วยความเร็วต่อเนื่องกันไปตามธรรมชาติแบบสบายๆนะครับ รู้ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกช๊อตทุกตอน เดี๋ยวจะเป็นการเพ่งจ้องทรมานให้อึดอัดไปเสีย :b47: :b48: :b49:

(สำหรับผู้ที่เคยฝึกรำมวยจีนมา จะใช้ความรู้สึกอันเดียวกันนั่นหล่ะครับสำหรับรู้ลงที่กาย คือ ใช้ใจที่สงบ เข้ามารับรู้การเคลื่อนไหวที่ไหลไปต่อเนื่องของกาย ด้วยความเร็วใช้งานตามปรกติ) :b46: :b39: :b46:


(๓) ลุกจากท่านั่ง จัดเตียง ล้างหน้าล้างตา กลับมาเดินจงกรม นั่งสมาธิ ทำความเพียรต่อจนพระอาทิตย์เริ่มโผล่พ้นขอบฟ้า ฯลฯ ก็ให้รู้สึกกายที่กำลังลุกจากเตียง รู้สึกกายที่กำลังจัดเตียง รู้สึกกายที่กำลังล้างหน้าล้างตา รู้สึกกายที่กำลังเดินจงกรม นั่งสมาธิ ไม่ว่าจะรู้การเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ใช้งานอยู่ หรือรู้กายแบบรวมๆ ฯลฯ โดยรู้แบบสบายๆ ลงที่ใจ อยู่กับกายลงในปัจจุบันโดยไม่คิดนึกปรุงแต่งวุ่นวายไปในอะไร :b49: :b50: :b51:

(๔) เมื่อถึงเวลาเข้าห้องน้ำ หยิบผ้าเช็ดตัว หยิบเสื้อผ้า ปิดประตูห้องน้ำ หยิบแปรงฟัน บีบยาสีฟันใส่แปรง ฯลฯ ก็ให้ทำความรู้สึกตัว รู้สึกกายที่กำลังแล กำลังเหลียว กำลังคู้เข้า กำลังเหยียดออก ฯลฯ โดยรู้แบบสบายๆ ดูการทำงานของกายที่ลื่นไหลไปอย่างต่อเนื่อง ลงที่ใจ :b49: :b48: :b49:

(๕) สำหรับอิริยาบถย่อยที่กระทำจนคุ้นชินแล้วและไม่มีการเคลื่อนที่ไปของกายส่วนใหญ่ เช่น การแปรงฟัน การขับถ่าย การอาบน้ำ การเช็ดตัว การใส่เสื้อ ฯลฯ ให้ลองทำกิจกรรมต่างๆเหล่านั้นด้วยการหลับตา แล้วรู้การเคลื่อนไหวลงที่ใจดูนะครับ :b49: :b50: :b44:

เช่น ในขณะที่แปรงฟัน ลองหลับตาแปรงแล้วรับรู้สัมผัสทั้งหมดลงที่ใจ โดยเฉพาะอาการโดยรวมตรงที่แปรงกระทบฟัน จะรู้สึกขณะที่กำลังแปรงฟันอยู่อย่างเป็นปัจจุบันได้เลยนะครับว่า มือกำลังออกแรงจับแปรงเพื่อถูวัตถุ "อะไรบางอย่าง" ที่แข้นแข็ง "ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา" :b46: :b47: :b46:


(ลองนึกถึงตอนที่ฟันน้ำนมหัก แยกออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของกายสมัยยังเป็นเด็กก็ได้ครับ จะได้ความลึกซึ้งถึงสภาวะที่ฟัน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มาประกอบเป็นกาย เหมือนอวัยวะทั่งไปทั้งหลาย) ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ได้ดียิ่งขึ้น) :b48: :b47: :b48:


โพสต์ เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือในขณะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ลองหลับตาถ่ายแล้วรับรู้สัมผัสทั้งหมดลงที่ใจ :b46: :b39: :b46:

จะรู้สึกขณะที่กำลังถ่ายอยู่สดๆร้อนๆ ต่อหน้าต่อตาเลยนะครับว่า มีธาตุบางส่วนในกาย กำลังไหลผ่านกายออกไป :b49: :b48: :b49:

ซึ่งธาตุที่ว่าที่อยู่ในกาย หิ้วไปหิ้วมา ไปไหนไปด้วยกันอยู่เมื่อตะกี้นี้ กำลังจะ "ไม่เป็นส่วนหนึ่ง" ของกายอีกต่อไปแล้ว เพราะกำลังไหลลงไปสู่โถส้วมด้านล่างให้รู้สึกได้อย่าง "สดๆ" และ "ร้อนๆ" สามารถก้มลงมามองให้เห็นได้จะๆ ต่อหน้าต่อตา รับรู้ได้ในความหมายของคำว่า กาย หรือส่วนที่มาประกอบกันขึ้นเป็นกายนี้ "ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา" ได้อย่าง "ซาบซึ้งถึงใจ" ในทุกๆเช้า :b50: :b49: :b50:


(ขอโทษด้วยนะครับที่ต้องบรรยายให้เห็นภาพอสุภะตรงนี้ เนื่อจากเห็นว่าเป็นประโยชน์กับการภาวนา เพราะเป็นขณะที่ทำให้เห็นกายในอีกแง่มุมหนึ่งได้ชัด ตามความเป็นจริงแห่งกาย (คือประกอบด้วยสัมปชัญญะ เห็น "ชัด" ตามความเป็นจริง) สามารถตอกย้ำให้เห็น ให้รู้สึกได้ต่อหน้าต่อตาในทุกๆเช้า :b47: :b48: :b47:

ไม่ว่าจะมองให้เห็นถึงความไม่สวยงามของกายที่เป็นเสมือนถุงหนังใส่ของบูดเน่ามีรูเข้ารูออก ๙ ทาง :b48: :b49: :b48:

หรือมองให้เห็นตามเป็นจริงของกายที่ประกอบกันขึ้นมาด้วยธาตุ ๔ และมีการไหลเข้าไหลออกของธาตุเหล่านี้อยู่เป็นประจำ :b46: :b39: :b46:


ซึ่งถ้าฝึกไปเรื่อยๆจนเห็นธรรมตามความเป็นจริงด้วยใจที่เป็นกลาง ก็จะเห็นปรากฏการณ์ทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้ เป็นเรื่องปรกติของกระแสแห่งกระบวนธรรม กระบวนเหตุปัจจัย ที่ "ไหล" ผ่านไปได้ในทุกๆเช้า โดยไม่มีอาการรังเกียจนะครับ) :b49: :b48: :b50:

หรือในขณะอาบน้ำ ลองหลับตาบ้างในบางขณะ แล้วรับรู้สัมผัสและอาการทั้งหมดของการอาบน้ำลงที่ใจ ไม่ว่าจะยืน ก้าว ถอย หมุน เอี้ยว คู้เข้า เหยียดออก ฟอกสบู่ ถูตัว ฯลฯ ใจจะรับรู้ได้ในสภาวะของ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ไหล เกาะกุม ของการเคลื่อนไหวและการกระทบทั้งหมดได้อย่างเป็นปัจจุบัน :b50: :b49: :b50:

แล้วเวลาถูตัวจนมีผิวหนังชั้นนอกที่หมดอายุแล้วหลุดออกมา (ภาษาบ้านๆก็ว่า ถูขี้ไคลนั่นหล่ะครับ) ถ้ารู้ลงที่ใจแบบจริงๆแล้วละก็ จะเห็นสภาวะที่ส่วนหนึ่งของกาย หลุดออกจากกายไปด้วยการถูไถ "ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา" :b48: :b47: :b48:

เวลาฟอกสบู่ถูเนื้อถูตัว หรือในขณะเช็ดตัว ถ้าหลับตาแล้วรู้ลงที่ใจ จะรู้สึกได้ถึงอาการนิ่มนอกแข็งใน มีตึงมีหยุ่นไหว ของสิ่งที่สัมผัสลงไปได้ตลอดทั้งกาย :b50: :b49: :b44:

แล้วสัมผัสที่เข้ามารับรู้ลงที่ใจนั้น ก็จะรู้ได้ในอาการ "ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา" เพราะตอนที่สัมผัสนั้น สำหรับปุถุชนที่แยกกายใจได้แล้ว อาการของการเป็น "เรา" จะอยู่แค่ที่ใจ ที่เป็นผู้รู้ผู้ดู แยกต่างหากออกจากกาย ที่เป็นผู้ถูกรู้ถูกดู :b46: :b39: :b46:


จบกิจวัตรที่การอาบน้ำในตอนเช้าแล้ว คราวหน้ามาต่อกันในรายละเอียดของการฝึกสติสัมปชัญญะในอิริยาบถย่อย และในชีวิตประจำวัน ผ่านกิจกรรมต่างๆของกายอื่นๆอีกนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 07:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้เข้าถึงวิปัสสนาแล้ว ปรากฏการณ์ไตรลักษณ์ คือกระบวนการคลายธาตุหยาบของขันธ์ 5 ตั้งแต่หยาบที่สุด(นิวรณ์) จนถึงระดับละเอียด(การละองค์ฌานของลักขณูนิชฌาน) และทุกขณะ ธาตุดิน น้ำ ลมและไฟ จะทำการปรับตัว บางท่านสังเกตได้เพียงบางธาตุ บ้างพบความสัมพันธ์ของทุกธาตุ

เนื่องจากเรือนกายนี้มีกระแสประสาทกระจายเป็นโครงข่ายร่างแห และมีจุดศูนย์รวมของกระแสประสาทหรือศูนย์รวมความรู้สึก ที่เรียกว่า ”จักรกระ” เป็นตำแหน่งคู่ขนานกับแกนกลางร่างกายในแนวตั้ง และแนวลึก เช่น ซ้ายขวาจากสะดือประมาณ 2.5 นิ้ว และราวนมซ้ายขวา เป็นต้น ซึ่งมีบางครั้งผู้ปฏิบัติจะเกิดความรู้สึกปวด ลึกที่ตำแหน่งดังกล่าว นั่นคือการคลายธาตุหยาบ ในระดับปานกลาง ก่อนการพบธาตุละเอียด(ฌาน)


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ในสภาวธรรม นอกจากการรู้ความสัมพันธ์ของกายและใจแล้ว สำหรับกายนี้คือการรู้ในกาย อันได้แก่ ความร้อน อุ่น อึดอัด ปวดเจ็บ ซึ่งในเบื้องต้น จะรู้เป็นจุดๆ โดยไม่เลือกสภาวะ แต่ในการรู้กายในระดับลึกจะเปลี่ยนเป็นการเคลื่อนไหวภายใน ซึ่งจะกระจายหลายตำแหน่ง การรู้เป็นการรู้แบบรวมๆ และในส่วนของใจ คือการรู้ว่าเกิดความนึกคิด ความกระวนกระวาย หงุดหงิด แต่ในระดับลึก ความนึกคิดจะเบาลง แต่จะพบแรงที่กดทับเบา ๆ ที่หัวใจ หากรู้ภาวะทางกาย 7-10 วินาที แล้วสังเกตผลสืบเนื่องต่อความรู้สึกของใจ ซึ่งในเบื้องต้นจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับกาย ระยะเวลาการกำหนดรู้ทางใจ 7-10 วินาที่ เท่ากัน ซึ่งเมื่อกำหนดรู้ทางใจแล้วก็กลับไปรู้ความรู้สึกที่กายอีก จะพบความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เมื่อจิตเริ่มละเอียด ในภายหลังเมื่อรู้ความรู้สึกทางกายแล้ว การรู้ความรู้สึกทางใจ สามารถค่อยๆเคลื่อนความรู้สึกจากกาย ไปที่หัวใจได้เลยบางท่านเคลื่อนไปที่ตำแหน่งหัวใจแล้ว อาจไม่รู้สึกอะไรที่ตำแหน่งหัวใจก็ไม่เป็นไรให้เคลื่อนความรู้สึกกลับมาที่กายแล้วกลับไปที่ใจอีก จะพบการแปลี่ยนแปลง

หมายเหตุ การรู้กลับไปกลับมานี้ จะเกิดจากภายหลังจากการรู้โดยไม่เลือกสภาวะมาก่อน เพื่อให้จิตคุ้นเคยกับความเป็นกลางที่เป็นธรรมชาติ จนเมื่อจิตเคยชินกับความเป็นกลางแล้วจึงใช้ความเป็นกลางนี้ไปรู้ความสัมพันธ์ของกายใจ ซึ่งจะสอดคล้องกับ หลักธรรมที่ว่าทุกอย่างเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ผลจึงดับตาม


โพสต์ เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 02:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับการรู้ในรูปนาม หากดำเนินการตามวิธีที่กล่าวมา จิตจะเคลื่อนไปตามจักระและพบสภาวะของฌานอย่างเป็นระบบ แต่สำหรับวิปัสสนายานิกคือผู้ปฏิบัติที่มีอารมณ์วิปัสสนา จะใช้วิธีการรู้สภาวธรรมที่เผชิญเฉพาะหน้า ไม่ได้รู้รูปนามในลักษณะของความสัมพันธ์(การรู้ภาวะทางกาย 7-10 วินาที แล้วสังเกตผลสืบเนื่องต่อความรู้สึกของใจ ซึ่งในเบื้องต้นจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับกาย ระยะเวลาการกำหนดรู้ทางใจ 7-10 วินาที่ เท่ากัน ซึ่งเมื่อกำหนดรู้ทางใจแล้วก็กลับไปรู้ความรู้สึกที่กายอีก) ก็จะพบการเคลื่อนที่ของจิตตามจักระเช่นเดียวกัน แต่ค่อนข้างยากกว่า จะง่ายกรณีเข้าถึงมรรคผลแล้ว หากยังไม่ถึงความเป็นอริยะการตามรู้ต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดอุปทานในการรู้ จิตจึงเกิดอาการทื่อ และเผลอหลับในที่สุด ดังนั้นจึงต้องรู้จักการละการรู้เป็นช่วงๆ 7-10 วินาที ซึ่งจะมีประโยชน์ 2 ประการคือ
1.เป็นการให้มีช่องว่าง เพื่อปล่อยให้พลังลบที่สะสมในร่างกายและจิตได้คลายออก
2.ป้องกันการก่อเกิดของอุปทาน(การยึดถือการรู้) จากการตามรู้ที่ต่อเนื่อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร