วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 19:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ความหมายของอัตถะ๒ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรมัตถ์และสมมุติบัญญัติ

๑.เนยยัตถะ.... พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง
เช่นที่ตรัสเรื่องเกี่ยวกับบุคคล ตัวตนฯลฯ

๒. นีตัตถะ......มีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์
ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ เช่นที่ตรัสเรื่องสภาวะขันธ์ห้าฯลฯ

อัตถะเกี่ยวข้องกับคำสอนของพระพุทธองค์อย่างไร นั้นก็คือในธรรมวินัยนั้น

แบ่งลักษณะคำพูดหรือพุทธพจน์ออกเป็นสองลักษณะ นั้นคือ

สมมุติบัญญัติ อันมีความหมายตรงกับ เนยยัตถะ

และปรมัตถ์บัญญัติ มีความหมายตรงกับ นีตัตถะ

พิจารณาโดยความหมายแล้ว พุทธพจน์ที่ทรงใช้ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่อง
สภาวะที่แสดงโดยชัดแจ้ง นั้นก็คือ สภาวะภายในกายใจ....นีตัตถะ

และอีกหนึ่งก็คือ พุทธพจน์ที่กล่าวถึงบัญญัติทั่วไป อันเกี่ยวกับบุคคลหรือเรื่องราวต่างๆ
นั้นคือเป็นเรื่องอันเป็นธรรมนอกกายใจ.......เนยยัตถะ

สรุป ปรมัตถ์บัญญัติ เป็นพุทธพจน์ที่กล่าวถึง สภาวะภายในกายใจของบุคคล
สมมุติบัญญัติ เป็นพุทธพจน์ที่กล่าวถึง เรื่องราวต่างๆของบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องนอกกายใจ

ถ้าเราจะเปรียบเทียบพระไตรปิฎกในลักษระของพุทธพจน์
พระวินัยเป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ
พระสูตรเป็นเรื่องของ สมมุติบัญญัติและปรมัตถ์บัญญัติ
พระอภิธรรมเป็นเรื่องปรมัตถ์บัญญัติ


มั่วไปเรื่อยๆ ไปบุคคลบัญญฺติ ไปธรรมมาธิษฐาน บุคคลาทิษฐาน นู่นนนนน

อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
ปรมัตถ์ เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว เพื่อให้รู้ถึงธรรมะว่า แบ่งเป็นสอง
นั้นก็คือ ปรมัตถ์กับสมมุติ ปรมัตถ์คือสิ่งที่เกิดภายในกายใจ สมมุติคือสิ่งนอกกายใจ


หาพระสูตร แสดงสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสถึง ส่วนนี้ ก็พอ อย่าแถ ไปนู่นๆ นี่ๆ นะโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 03:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างพระสูตรที่แสดงโดย สมมุติและปรมัตถ์.....

ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความ
กำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้น
ไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้.
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว
ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.


ข้อ(๒๘๙)และข้อ(๒๙๒)........เป็นสมมุติ
ข้อ(๒๙๐)และข้อ(๒๙๑).........เป็นปรมัตถ์

พิจารณาดูที่..... กำหนดรู้
พระพุทธองค์ทรงกล่าวพุทธพจน์ให้กำหนดรู้ .......ธรรมนี้คือพระพุทธองค์ทรงกล่าว
เป็นธรรมนอกกายใจ เป็นสมมุติบัญญัติ

สิ่งที่ถูกกำหนดรู้พระพุทธองคให้เราเป็นผู้กำหนดรู้....นี้คือธรรมที่เกิดภายในกายใจเรา
และธรรมที่เกิดภายในกายใจเราก็คือ....ปรมัตถ์นั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ตัวอย่างพระสูตรที่แสดงโดย สมมุติและปรมัตถ์.....

ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความ
กำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้น
ไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้.
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว
ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.


ข้อ(๒๘๙)และข้อ(๒๙๒)........เป็นสมมุติ
ข้อ(๒๙๐)และข้อ(๒๙๑).........เป็นปรมัตถ์

พิจารณาดูที่..... กำหนดรู้
พระพุทธองค์ทรงกล่าวพุทธพจน์ให้กำหนดรู้ .......ธรรมนี้คือพระพุทธองค์ทรงกล่าว
เป็นธรรมนอกกายใจ เป็นสมมุติบัญญัติ

สิ่งที่ถูกกำหนดรู้พระพุทธองคให้เราเป็นผู้กำหนดรู้....นี้คือธรรมที่เกิดภายในกายใจเรา
และธรรมที่เกิดภายในกายใจเราก็คือ....ปรมัตถ์นั้นเอง

โฮฮับ เขียน:
ปรมัตถ์ เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว เพื่อให้รู้ถึงธรรมะว่า แบ่งเป็นสอง
นั้นก็คือ ปรมัตถ์กับสมมุติ ปรมัตถ์คือสิ่งที่เกิดภายในกายใจ สมมุติคือสิ่งนอกกายใจ


โฮฮับ คงเมาๆ เบลอ กับสิ่งตัวเองบอกกกล่าวออกมา
แล้วยกของดี ออกมาทำให้กลายเป็นของเสีย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีตัวอย่างของคนที่กำลังสับสนในพุทธพจน์มาให้ดูครับ :b55:

เช่นนั้น เขียน:
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียก ของธรรมชาติที่รู้แจ้ง


มีคนกล่าวถึงบัญญัติที่ผมเอามาอ้างอิง แล้วบอกว่า.....เป็นชื่อเรียกของธรรมชาติที่รู้แจ้ง
แบบนี้เป็นการเข้าใจผิดของผู้พูด แสดงให้เห็นว่า พูดด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม
ไม่รู้ว่า สิ่งใดเป็นบัญญัติ สิ่งใดเป็นปรมัตถ์

บัญญัติที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ใช่ธรรมชาติที่รู้แจ้ง แต่เป็นบัญญัติที่ต้องทำให้รู้แจ้ง

ซึ่งบัญญัติต่างๆเหล่านี้ ตรงกับสิ่งที่ผมกล่าวมาก่อนหน้า นั้นก็คือเป็น..."นีถัตตะ"
นีถัตตะ เป็นพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับปรมัตถ์ ความหมายตรงๆก็คือเป็น ปรมัตถ์บัญญัตินั้นเอง

บัญญัติที่เอามาอ้างอิง ถ้าเป็นพระพุทธองค์ ย่อมเป็นสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว
แต่ถ้าเป็นบุคคลที่เรียกว่า...เสขะบุคคล บัญญัติเหล่านั้นจะต้องเรียกว่า...ธรรมที่ต้องทำให้แจ้ง


ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพุทธพจน์นั้นส่วนของ.........สัจฉิกัตถปรมัตถ์
หมายความว่า ธรรมที่ต้องทำให้รู้แจ้งในความเป็นปรมัตถ์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
มีตัวอย่างของคนที่กำลังสับสนในพุทธพจน์มาให้ดูครับ :b55:

เช่นนั้น เขียน:
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียก ของธรรมชาติที่รู้แจ้ง


มีคนกล่าวถึงบัญญัติที่ผมเอามาอ้างอิง แล้วบอกว่า.....เป็นชื่อเรียกของธรรมชาติที่รู้แจ้ง
แบบนี้เป็นการเข้าใจผิดของผู้พูด แสดงให้เห็นว่า พูดด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม
ไม่รู้ว่า สิ่งใดเป็นบัญญัติ สิ่งใดเป็นปรมัตถ์

บัญญัติที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ใช่ธรรมชาติที่รู้แจ้ง แต่เป็นบัญญัติที่ต้องทำให้รู้แจ้ง

ซึ่งบัญญัติต่างๆเหล่านี้ ตรงกับสิ่งที่ผมกล่าวมาก่อนหน้า นั้นก็คือเป็น..."นีถัตตะ"
นีถัตตะ เป็นพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับปรมัตถ์ ความหมายตรงๆก็คือเป็น ปรมัตถ์บัญญัตินั้นเอง

บัญญัติที่เอามาอ้างอิง ถ้าเป็นพระพุทธองค์ ย่อมเป็นสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว
แต่ถ้าเป็นบุคคลที่เรียกว่า...เสขะบุคคล บัญญัติเหล่านั้นจะต้องเรียกว่า...ธรรมที่ต้องทำให้แจ้ง


ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพุทธพจน์นั้นส่วนของ.........สัจฉิกัตถปรมัตถ์
หมายความว่า ธรรมที่ต้องทำให้รู้แจ้งในความเป็นปรมัตถ์ :b13:


โฮฮับ มั่นใจ หรือ ว่าผู้ที่แสดงว่า วิญญาณ เป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นการพูด การแสดงด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม???

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
มีตัวอย่างของคนที่กำลังสับสนในพุทธพจน์มาให้ดูครับ :b55:

เช่นนั้น เขียน:
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียก ของธรรมชาติที่รู้แจ้ง


มีคนกล่าวถึงบัญญัติที่ผมเอามาอ้างอิง แล้วบอกว่า.....เป็นชื่อเรียกของธรรมชาติที่รู้แจ้ง
แบบนี้เป็นการเข้าใจผิดของผู้พูด แสดงให้เห็นว่า พูดด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม
ไม่รู้ว่า สิ่งใดเป็นบัญญัติ สิ่งใดเป็นปรมัตถ์

บัญญัติที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ใช่ธรรมชาติที่รู้แจ้ง แต่เป็นบัญญัติที่ต้องทำให้รู้แจ้ง

ซึ่งบัญญัติต่างๆเหล่านี้ ตรงกับสิ่งที่ผมกล่าวมาก่อนหน้า นั้นก็คือเป็น..."นีถัตตะ"
นีถัตตะ เป็นพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับปรมัตถ์ ความหมายตรงๆก็คือเป็น ปรมัตถ์บัญญัตินั้นเอง

บัญญัติที่เอามาอ้างอิง ถ้าเป็นพระพุทธองค์ ย่อมเป็นสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว
แต่ถ้าเป็นบุคคลที่เรียกว่า...เสขะบุคคล บัญญัติเหล่านั้นจะต้องเรียกว่า...ธรรมที่ต้องทำให้แจ้ง


ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพุทธพจน์นั้นส่วนของ.........สัจฉิกัตถปรมัตถ์
หมายความว่า ธรรมที่ต้องทำให้รู้แจ้งในความเป็นปรมัตถ์ :b13:


โฮฮับ มั่นใจ หรือ ว่าผู้ที่แสดงว่า วิญญาณ เป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นการพูด การแสดงด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม???

ใช่มันเป็นความหลง แต่พูดไปเช่นนั้นก็คงไม่เข้าใจ เพราะเรื่องนี้มันยากเกินกว่าเช่นนั้นจะเข้าใจ

เอาแค่ยกตัวอย่างง่ายๆให้ฟัง สมมุติมีร้านขายอาหาร โฆษณาว่า
อาหารร้านเขาอร่อย ทั้งผมและเช่นนั้นย่อมเข้าใจกับบัญญัติ "อร่อย"หมายถึงอะไร
แต่ถ้าเรายังไม่กินอาหารนั้น เราจะรู้รสชาติของความอร่อยว่าเป็นอย่างไรมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ มั่นใจ หรือ ว่าผู้ที่แสดงว่า วิญญาณ เป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นการพูด การแสดงด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม???

ใช่มันเป็นความหลง แต่พูดไปเช่นนั้นก็คงไม่เข้าใจ เพราะเรื่องนี้มันยากเกินกว่าเช่นนั้นจะเข้าใจ

เอาแค่ยกตัวอย่างง่ายๆให้ฟัง สมมุติมีร้านขายอาหาร โฆษณาว่า
อาหารร้านเขาอร่อย ทั้งผมและเช่นนั้นย่อมเข้าใจกับบัญญัติ "อร่อย"หมายถึงอะไร
แต่ถ้าเรายังไม่กินอาหารนั้น เราจะรู้รสชาติของความอร่อยว่าเป็นอย่างไรมั้ย


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ

รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1955&Z=2041&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ มั่นใจ หรือ ว่าผู้ที่แสดงว่า วิญญาณ เป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นการพูด การแสดงด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม???

ใช่มันเป็นความหลง แต่พูดไปเช่นนั้นก็คงไม่เข้าใจ เพราะเรื่องนี้มันยากเกินกว่าเช่นนั้นจะเข้าใจ

เอาแค่ยกตัวอย่างง่ายๆให้ฟัง สมมุติมีร้านขายอาหาร โฆษณาว่า
อาหารร้านเขาอร่อย ทั้งผมและเช่นนั้นย่อมเข้าใจกับบัญญัติ "อร่อย"หมายถึงอะไร
แต่ถ้าเรายังไม่กินอาหารนั้น เราจะรู้รสชาติของความอร่อยว่าเป็นอย่างไรมั้ย


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ

รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1955&Z=2041&pagebreak=0

แล้วอ่านแค่ป้าย หรือฟังเขาพูดจะรู้มั้ยว่า อาหารที่ว่ามีรสอะไร

แล้วที่ว่าอร่อย คนอื่นเขาว่าอร่อย แตเรามันจะอร่อยด้วยมั้ย

มันต้องทำอร่อยให้แจ้ง....แจ้งเฉพาะตัวเราไม่ใช่คนอื่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

มีคนกล่าวถึงบัญญัติที่ผมเอามาอ้างอิง แล้วบอกว่า.....เป็นชื่อเรียกของธรรมชาติที่รู้แจ้ง
แบบนี้เป็นการเข้าใจผิดของผู้พูด แสดงให้เห็นว่า พูดด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม
ไม่รู้ว่า สิ่งใดเป็นบัญญัติ สิ่งใดเป็นปรมัตถ์


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ มั่นใจ หรือ ว่าผู้ที่แสดงว่า วิญญาณ เป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นการพูด การแสดงด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม???

ใช่มันเป็นความหลง แต่พูดไปเช่นนั้นก็คงไม่เข้าใจ เพราะเรื่องนี้มันยากเกินกว่าเช่นนั้นจะเข้าใจ

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ

รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1955&Z=2041&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 19:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


ลงชื่อเข้ามาอ่าน แล้วมึนไป8ตลบ :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 02:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ มั่นใจ หรือ ว่าผู้ที่แสดงว่า วิญญาณ เป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นการพูด การแสดงด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม???

ใช่มันเป็นความหลง แต่พูดไปเช่นนั้นก็คงไม่เข้าใจ เพราะเรื่องนี้มันยากเกินกว่าเช่นนั้นจะเข้าใจ

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ

รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1955&Z=2041&pagebreak=0


เห็นตัวหนังสือคำว่า.....วิญญาน
รู้แจ้งคำว่าวิญญานด้วยสภาวะในใจตนเองหรือยัง
รู้หรือยังว่า วิญญานเมื่อเกิดแล้วมันเป็นสภาะอย่างไร
สภาพเปรี้ยว เผ็ด หวานฯลฯ เกิดขึ้นเพราะอะไร
เช่นนั้นกำลังหลงบัญญัติอยู่ พูดทั้งๆที่ยังไม่เคยเห็นสภาวะจริงๆ

และอีกอย่างเช่นนั้น ไม่มีธัมมวิจยะ ขาดปัญญาในการเลือกเฟ้นธรรม
ถามว่า วิญญานรู้แจ้งอะไร ดันไปเอาพระสูตรที่กล่าวเฉพาะเรื่องมาตอบ

วิญญานมีหก บอกมาได้ไง วิญญานรู้แจ้งรสอย่างเดียว
วิญญานตัวอื่นๆรู้แจ้งรสได้มั้ย เอาจักขุวิญญานมารู้แจ้งรสได้หรือเปล่า
เช่นนั้น มั่วพระสูตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ มั่นใจ หรือ ว่าผู้ที่แสดงว่า วิญญาณ เป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นการพูด การแสดงด้วยความหลง ขาดปัญญาพิจารณาธรรม???

ใช่มันเป็นความหลง แต่พูดไปเช่นนั้นก็คงไม่เข้าใจ เพราะเรื่องนี้มันยากเกินกว่าเช่นนั้นจะเข้าใจ

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ

รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1955&Z=2041&pagebreak=0


เห็นตัวหนังสือคำว่า.....วิญญาน
รู้แจ้งคำว่าวิญญานด้วยสภาวะในใจตนเองหรือยัง
รู้หรือยังว่า วิญญานเมื่อเกิดแล้วมันเป็นสภาะอย่างไร
สภาพเปรี้ยว เผ็ด หวานฯลฯ เกิดขึ้นเพราะอะไร
เช่นนั้นกำลังหลงบัญญัติอยู่ พูดทั้งๆที่ยังไม่เคยเห็นสภาวะจริงๆ

และอีกอย่างเช่นนั้น ไม่มีธัมมวิจยะ ขาดปัญญาในการเลือกเฟ้นธรรม
ถามว่า วิญญานรู้แจ้งอะไร ดันไปเอาพระสูตรที่กล่าวเฉพาะเรื่องมาตอบ

วิญญานมีหก บอกมาได้ไง วิญญานรู้แจ้งรสอย่างเดียว
วิญญานตัวอื่นๆรู้แจ้งรสได้มั้ย เอาจักขุวิญญานมารู้แจ้งรสได้หรือเปล่า
เช่นนั้น มั่วพระสูตร


ไปคุยกับพระพุทธเจ้าเองแระกันโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 16:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
deecup เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เงียบเหมือนอยู่ในป่าช้ายามคำคืนเลยกระทู้นี้

จขกท คงหมายถึงเรื่อง วัดนาป่าพง และการสอนของหลวงพ่อ ในกระทู้นี้มั้งครับ
http://pantip.com/topic/30681529

กรัชกาย จะมาเซ้าซี้ให้มันมีอัตตาทำไมน้า พี่โฮติดภาระคุยในกระทู้อื่นอยู่
แล้วเข้ามากระทู้พี่โฮแต่ล่ะครั้ง ช่างสรรหาเรื่องที่มันผิดกฎของเว็บ :b6:

วันๆไม่ทำอะไรสอดส่ายสายตาหาเรื่องเข้าบ้าน ไปอ้างอิงเว็บอันตราย
เว็บที่เป็นแหล่งรวมของ พวกล่าแม่มด พวกคูกรักแคนฯลฯ ไม่ได้เรื่องเลย :b14:

กระทู้นี้ไม่จำเพราะเจาะจงใครหรอก ที่พูดเป็นกลางๆ ไม่สุดโต่งอะไร
คืออยากทำความเข้าใจกับพวกที่ชอบอ้างพุทธวจนะ ไม่เอาอรรถกถาฯลฯ
แล้วพวกที่เอาทั้งพุทธพจน์และอรรถกถา อยากจะให้เข้าใจว่า
การเอาาหรือไม่เอา มันเป็นเหตุเป็นผลอย่างไรหรือเปล่า

เรื่องสาขาวัดนาฯ ผมเคยเห็นผ่านๆ ตอนแรกก็ไม่สนใจ
แต่มันมาเอะใจตอนที่ บอกว่าให้ยึดแต่พุทธวจนะ เลยลองฟังดู
แล้วท่านก็เอา คำสอนของครูบาอาจารย์ขึ้นมาแล้วบอกว่า เพิ่มเติมตัดทอนพุทธวจนะ
ผมก็ไม่รู้ว่าท่านเอาอะไรมาคิดกับหลักการคำพูดของท่าน

ท่านเอาคำสอนของพระสงฆ์ เอาไปเทียบกับพุทธวจน แล้วบอกว่า
ต่อเติมตัดทอน ผมสงสัยจริงๆว่า ท่านเอามาเปรียบกันได้อย่างไร
พุทธวจนก็คือพุทธพจน์ ซึ่งมันเป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า ที่สำคัญเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า
ส่วนคำสอนของครูบาอาจารย์รุ่นหลัง ก็เป็นเพียงความเห็นของท่าน เป็นภาษาของท่าน

การกล่าวอ้างในลักษณะปรามาสผู้อื่น โดยการอ้างถึงพุทธวจน
แบบนี้มันผิดหลักการ ไม่แยกแยะธรรม หลงยึดเอาตัวเองเป็นหลัก
ในความเป็นจริงเรื่องนี้นั้นไม่ได้มีอะไรเลยเพียงท่านเกิดความสังสัยว่าคำสอนของพระพุทธองค์มีหนึ่งเดียวทำไมมันถึงมีการปฎิบัติและความเชื่อที่แตกต่างกันมากในสังคมของพระพุทธศาสนา และท่านก็พิจารณาว่ามันเป็นเช่นนั้นด้วยสาเหตุอะไร

และท่านก็เจอสาเหตุอยู่สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระสัทธรรมนั้นต้องเสื่อมไปคือการแต่งเติมเสริมต่อพระสัทธรรมของพระองค์นั้นเองซึ่งผลมันทำให้พระสัทธรรมนั้นถูกบิดเบือนจากน้อยนิดตามกาลเวลาไำปจนเสื่อมสลายไปเท่านั้น ท่านจึงเห็นโทษตรงนี้เนื่องจากท่านเป็้นพุทธบริษัทผู้หนึ่งซึ่งตั้งใจที่จะรักษาพระสัทธรรมให้คงอยู่ให้นานตราบเท่าที่จะทำได้ก็เลยขอตั้งประเด็นคือศึกษาและรักษาแต่พุทธวจนเท่านั้นประเด็นมันก็มีอยู่แค่นี้

และพุทธวจนนั้นก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเราชาวพุทธคุณว่าจริงมั้ย ส่วนเรื่องอรรถกาถานั้นมันก็มีส่วนที่ผสมปนเปครบบ้างไม่ครบบ้างมันก็มีส่วนที่ดีและส่วนที่เสียปนกันอยู่แล้ว เราก็แยกออกไปไว้ก่อน แต่การที่จะแยกออกเราก็ต้องอธิบายให้เห็นว่ามันมีส่วนเสียอย่างไรทำไมเราจึงทำเช่นนั้น เมื่อมีการอธิบาย มันก็ย่อมมีคนเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบาง จึงมีการโต้แย้งเป็นธรรมดา อาจจะพอใจหรือไม่พอใจก็คงต้องรับกันไป เพราะงานนี้เล่นกับผู้ที่มีทั้้งทิฎฐิที่ต่างกัน พระอาจารย์ท่านก็ทราบว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะผู้ที่เผยแผ่แต่คำพระตถาคตนั้นเป็นผู้ที่หาได้ยากในโลก

ซึ่งเป็นหนึ่งในรัตน5ที่หาได้ยาก แต่ทำอย่างไรได้ท่านเป็นผู้แสวงหาความหลุดพ้นมาตั้งแต่ยังเด็ก จึงสละเพศฆราวาสที่ดูสมบูรณ์มากซะด้วยทางโลกมาถือเพศบรรพชิต ยอมอุทิศตนต่อพระศาสนาประกาศแต่คำพระคถาคต ท่านเองอาจจะไม่สมบูรณ์พร้อมดั่งองค์พระศาสดา แต่อย่างไรก็ตามความดีที่ท่านได้ให้เราเข้าใจถึงคำว่าพุทธวจนนั้นมันก็มีค่ามากแก่กระผม และมันอาจจะทำให้พวกเราชาวพุทธได้เห็นแสงสว่างที่จะเดินบนเส้นทางแห่งพระธรรมนี้ได้ถูกต้องและถึงจุดหมายได้ง่ายขึ้น และพระอาจารย์ท่านกล่าวตลอดว่าอย่ายึดติดอะไรกับตัวท่านให้ศึกษาแต่พุทธวจนเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด ถ้าคนใดมีอะไรที่เป็นประโยช์กให้มาคุยกันสนทนากันจะได้เอาแต่สิ่งที่ดีให้แก่ผูศึกษาธรรมะเพื่อต้องการความหลุดพ้นด้วนกันทั้งนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 03:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ในความเป็นจริงเรื่องนี้นั้นไม่ได้มีอะไรเลยเพียงท่านเกิดความสังสัยว่าคำสอนของพระพุทธองค์มีหนึ่งเดียวทำไมมันถึงมีการปฎิบัติและความเชื่อที่แตกต่างกันมากในสังคมของพระพุทธศาสนา และท่านก็พิจารณาว่ามันเป็นเช่นนั้นด้วยสาเหตุอะไร

มันก็แค่อาจารย์คุณเริ่มด้วยอัตตา นั้นคือหลงคิดว่า ตัวเองมีปัญญาแล้วไง
เหตุนี้จึงมองสิ่งรอบข้างผิดไปหมด

มันเป็นเพราะความฟุ้งซ่าน ไม่พิจารณาด้วยเหตุผลว่าทำไม
ความคิดของตนจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมเราถึงมองคนรอบข้างไปอย่างนั้น
ทั้งๆที่สิ่งที่เรามองว่ามันเป็นปัญหา มันมีมาก่อนเราเกิดเป็นร้อยเป็นพันปี

อาจารย์คุณไม่ใช่เจอสาเหตุอะไรหรอก มันก็แค่กิเลสตัวหนึ่ง(ทิฐิมานะ)
กอบทั้งไม่แก้ปัญหาที่ใจตัวเอง มุ่งเพ่งโทษผู้อื่น

แทนที่จะพิจารณาธรรมที่เกิดในใจตนไปตามจริงว่า ทำไมตนถึงคิดแบบนี้
ไล่หาเหตุแล้วดับมันเสีย ปัญญาก็จะเกิด แล้วก็จะเข้าใจเองว่า พระสัทธรรมหรือพุทธวจน
มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงเสื่อมสูญตามที่ตนเข้าใจมั้ย

ฝากคติในส่วนนี้.....สัทธรรมหรือพุทธของพระพุทธเจ้าไม่มีวันเปลี่ยน
เพราะพุทธพจน์ที่กล่าวในพุทธวจน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของธรรมชาติ
เป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ....มีโลกอยู่มีมนุษย์อยู่ สัทธรรมก็ยังอยู่
ดังนั้นจึงต้องมีปัญญาแยกแยะ มันก็แค่ความเข้าใจสัทธรรมหรือยังไม่เข้าใจสัทธรรม
ไม่ใช่ใครไปบิดเบือนพระสัทธรรม พระสัทธรรมบิดเบือนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ

สรุปง่ายๆ มันก็แค่ ความคิดเห็นของอาจารย์คุณกับความคิดเห็นของคนอื่น
มันอยู่ที่ว่า ความคิดเห็นของใครจะเป็นปัญญา
อย่าหลงไปแย่งกันว่า ความเห็นใครจะเป็นพุทธวจนมากกว่ากัน
แม้แต่พุทธพจน์แต่ล่ะคำ เรายังต้องทำให้แจ้งอีก
ไม่ใช่ว่า จะรู้แค่พุทธพจน์แล้วจะเกิดปัญญา พุทธพจน์ก็เป็นเพียงบัญญัติที่ต้องทำให้แจ้ง เข้าใจมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
และท่านก็เจอสาเหตุอยู่สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระสัทธรรมนั้นต้องเสื่อมไปคือการแต่งเติมเสริมต่อพระสัทธรรมของพระองค์นั้นเองซึ่งผลมันทำให้พระสัทธรรมนั้นถูกบิดเบือนจากน้อยนิดตามกาลเวลาไำปจนเสื่อมสลายไปเท่านั้น ท่านจึงเห็นโทษตรงนี้เนื่องจากท่านเป็้นพุทธบริษัทผู้หนึ่งซึ่งตั้งใจที่จะรักษาพระสัทธรรมให้คงอยู่ให้นานตราบเท่าที่จะทำได้ก็เลยขอตั้งประเด็นคือศึกษาและรักษาแต่พุทธวจนเท่านั้นประเด็นมันก็มีอยู่แค่นี้

อาจารย์คุณไม่ได้เจอสาเหตุอะไรเลย สิ่งที่อาจารย์พูดมันมีมานานแล้ว
และมันก็จะยังคงมีต่อไป มันอยู่คู่กับธรรมชาติ
เพราะสิ่งที่เป็นปัญหาของอาจารญ์คุณมันก็เป็นธรรมชาติ ที่สำคัญมันเป็นพระสัทธรรม
แม้แต่ในสมัยพุทธกาลก็ยังมี ถ้าอาจารย์คุณเข้าใจในสิ่งนี้ ปัญหาต่างๆก็จะไม่เกิด

การกล่าวตู่พุทธพจน์และความเป็นโมฆะบุรุษ ที่สำคัญปัญญาคืออะไร
อาจารย์คุณควรพิจารณาให้ดี มิเช่นนั้นมันจะก่อให้เกิดปัญหากับตนเอง

เอาปัญญาพิจารณาธรรม ก็จะเข้าใจว่า ผู้ใดเป็นโมฆะบุรูษ
ผู้ใดกล่าวตู่พุทธพจน์ การกล่าวตู่พุทธพจน์เป็นเพราะยังขาดปัญญา
หรือเป็นเพราะผู้นั้นเป็นโมฆะบุรุษ


อาจารย์คุณขาดการพิจารณาธรรมในส่วนนี้ เลยทำให้การอ้าง"พุทธวจน"
มันเหมือนการยกตนข่มท่าน ขาดการพิจารณาธรรม

อยากจะยกตัวอย่างให้เห็น การกล่าวตู่พุทธพจน์หรือพุทธวจน โดยการอ้างพุทธวจนผิดบท
หรือการอ้างพุทธวจน แล้วอธิบายความให้ความเห็นผิด จากจุดประสงค์ของพระพุทธเจ้า
นี่เป็นเพียง การกล่าวตู่พุทธพจน์ แต่เป็นเพียงการกล่าวตู่ที่ขาดปัญญา หาใช่โมฆะบุรุษ

แต่ถ้าเป็นการพูดในลักษณะลอยไปลอยมา แล้วกล่าวอ้างว่าตนยึดมั่นในพุทธวจน
การกล่าวอ้างนั้นไม่มีแม้สักนิดที่จะเอาพุทธวจนมาแสดง แบบนี่แหล่ะ เขาเรียกว่า
เป็นผู้กล่าวตู่พุทธพจน์ของผู้เป็นโมฆะบุรุษ
มีให้เห็นอยู่คงไม่ต้องบอกว่าใคร


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร