วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 00:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ถ้าบอกว่ารูปเกิดดับได้ ผัสสะก็เกิดดับได้เช่นกัน
ในขณะรูปดับนั้นแหล่ะครับผัสสะดับ
มันดับชั่วคราวเท่าที่เหตุปัจจัย เมื่อกลับมาสู่สภาวะปรกติผัสสะก็เกิดอีก

รูปดับได้ผัสสะต้องดับได้ เพราะสฬายตนะเกิดได้เพราะมีรูป เมื่อรูปดับสฬายตนะก็ดับไปด้วย ผัสสะจึงดับไปด้วย การเข้าถึงธรรมนั้นคือการเข้าถึงความดับไปของรูปนาม รูป1นาม3 สัญญา เวทนา สังขาร เหลือแต่วิญญานที่ยังคงอยู่เพราะจุตติวิญญาณยังไม่ปรากฎ วิญญานจะยังอยู่เมื่อรูป1นาม3ดับไป วิญญานจะหลุดพ้นจากทุกอย่างทั้งรูปทั้งนาม จิตจะรับรู้ถึงสภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะสิ่งที่เกิดดับนั้นคือขันต์ เมื่อวิญญานรับรู้ความจริงเข้าถึงสภาวะเป็นอมตะ แต่ในขณะที่จิตหลุดพ้นเป็นเวลาที่กิเลสตัณหาจะถูกกำจัดมากน้อย หรือตามมรรคจิตที่ปรากฎ


วิญญาณจะยังอยู่ เมื่อ รูป1 นาม 3 ดับไป
วิญญาณรับรู้ความจริงเข้าถึงสภาวะเป็นอมตะ

สองประโยคนี้ เป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่จริง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 12:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
ขอแก้ไขข้อความ

ผัสสะเกิดขึ้น จากการทำงานของอายตนะ
เราไม่สามารถดับผัสสะได้ แต่รู้ได้ว่า มีเกิดและดับ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัย



ยกเว้น คนตายเท่านั้น ที่ผัสสะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เพราะ อายตนะ ไม่สามารถทำงานได้ ในคนตาย



เหมือนกำลังนั่งพิจารณาเนื้อหมูที่วางขายอยู่บนแผงในตลาดเรย

:b1:

สิ่งหนึ่ง กำลังพิจารณา สิ่งหนึ่ง
ซึ่ง สิ่งที่ถูกพิจารณา นั้นไม่ใช่ผู้พิจารณา

การพิจารณาซาก ในแง่ เกิด-ดับ ... เอกอนไม่เคยนะ
การพิจารณาซาก เอกอนก็พิจารณาแต่ในแง่
ที่ซากก็เดินไปสู่การสลายเป็นปุ๋ย เป็นเถ้า เป็นธุลี ไป

การพิจารณาผู้พิจารณา จึงพิจารณาไปในแง่ เกิด-ดับ ...น่ะ

มาเจอแง่ความเห็นของคุณ ก็งงนิด ๆ

:b1:




การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว


ถ้าจะให้พูดรายละเอียด วิธีการคิดทั้งหมด ยาวนะ

เพราะ ต้องเริ่มต้น ตั้งแต่ มรณะ คือ ความตาย


ชั่วข๊ะที่กำลังจะขาดใจตาย เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ขาดสติ จิตเกิดการปรุงแต่ง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่(เคยทำไว้) ได้แก่ สังขาร

จึงเป็นที่มีของ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด สังขาร

ที่มาของ สังขาร เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด วิญญาณ

คำว่า วิญญาณ ต้องไปหาในพระไตรปิฎก หมวดว่าด้วย วิญญาณขันธ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามเหตุปัจจัยที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ

เช่น วิญญาณขันธ์ ที่เป็น วิญญาณ ๖ เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย คือ เกิดจาก ชั่วขณะที่ อายตนะ ทำงาน เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ฯลฯ

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ตัดออกไปได้ ว่าไม่ใช่ วิญญาณ ๖ อย่างแน่นอน เพราะ ไม่ได้เกิดจาก ผัสสะ หรือ การทำงานของอายตนะ


ย้อนกลับไปดูเรื่อง ขันธ์ ๕ เรื่อง วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อ ผัสสะเกิด หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ความยินด/ยินร้าย คือ เวทนา เมื่อเวทนาเกิด สัญญา สังขาร ย่อมทำงานตามเหตุปัจจัย วิญญาณ ย่อมเกิดตามเหตุปัจจัย คือ มโน เมื่อมี ความคิดขึ้น เกิดจาก สังขาร ได้แก่ การปรุงแต่ง ความคิดนั้นๆ จากวิญญาณ ที่เปลี่ยนสภาพเป็นมโน กลายเป็น มโนกรรม ไปทันที

ทีนี้ ก็รู้ว่า วิญญารขันธ์ สภาวะนี้ เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท สเหตุกะ(ยังมีเหตุ) กับ อเหตุกะ(ไม่มีเหตุ)

คือ หาแบบนี้

"พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 457
วิญญาณ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นโลกิยวิบากเป็นต้น
ชื่อว่ามี ๒ อย่าง เพราะเป็นสเหตุกะ และอเหตุกะเป็นต้น

ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยภพ ๒ เพราะประกอบพร้อมด้วยเวทนา ๓ และเพราะเป็น อเหตุกะ ทุเหตุกะ และติเหตุกะ

ชื่อว่า เป็น ๔ อย่าง และเป็น ๕ ด้วย อำนาจกำเนิด และอำนาจคติ.

นามรูป ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะอาศัยวิญญาณ และโดยมีกรรมเป็นปัจจัย

ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะเป็นสารัมมณะและอนารัมมณะ
ชื่อว่ามี ๓ อย่าง เพราะเป็นอดีตเป็นต้น

ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง ด้วยอำนาจกำเนิด ๔ และคติ ๕.


สฬายตนะ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นที่เกิดและประชุม
ชื่อว่ามี ๒ อย่าง เพราะภูตรูป ประสาทรูป และวิญญาณ* เป็นต้น

ชื่อว่ามี ๓ อย่าง เพราะเป็นอารมณ์ที่เป็นสัมปัตตะ อสัมปัตตะ และไม่ใช่ทั้ง ๒
(คือทางมโนทวาร)

ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยกำเนิด ๔ และคติ ๕ แล.

บัณฑิตพึงทราบธรรมแม้มีผัสสะเป็นต้นว่าเป็นธรรมอย่างเดียว เป็นต้นโดยนัยนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้แม้โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น อย่างนี้."

และหาแบบนี้ ในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 240&Z=1498


หรือ จะอธิบายแบบนี้ดี สิ่งที่เคยเขียนไว้แล้ว

ต่อจาก ว่าด้วย วิญญารขันธ์ใน พระไตรปิฎก

ว่าด้วย วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ ที่หมายถึง การรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น

วิญญาณขันธ์ ตัวนี้ หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ หมายถึง วิญญาณที่เป็นธาตุรู้ คือ รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นวิญญาณประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย ที่เกิดจาก เวทนา เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อเกิดการปรุงแต่งโดยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ จะแปรสภาพเป็น มโน ได้แก่ มโนกรรม

เฉกเช่นเดียวกันกับ วิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท สเหตุกะและอเหตุกะ ที่เกิดจากสังขาร ที่เป็นผลของเหตุ ที่เกิด ณ ปัจจุบัน ขณะ/อุปทาน/กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ที่เป็นเหตุของการเกิด(วิญญาณ) การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร หากยังมีเหตุอยู่(อนุสัยกิเลส/สังโยชน์) คนละสภาวะกับ สังขารในขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ(เหตุ)

สังขารในปฏิจจสมุปบาท เกิดจาก มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เป็นเหตุปัจจัย โดยมี จุติวิญญาณ เป็นปทัฏฐาน โดยมี วิญญาณขันธ์ เป็นผล(สเหตุกะกับอเหตุกะ)

สเหตุกะ หมายถึง ยังมีการเกิด

อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

ไม่มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมย่อมไม่เกิด วิญญาณขันธ์ ได้แก่ ความคิด ย่อมไม่เกิด เป็นวิญญาณขันธ์ประเภท อเหตุกะ คือ ไม่มีเหตุของการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ได้แก่ การปรุงแต่ง ตามความรู้สึกยินดียินร้ายที่เกิดขึ้น

โดยมีตัวตัณหา ได้แก่ กิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน(สังโยชน์ ๑๐) เป็นตัวหนุนนำ ให้เกิดการกระทำ ตามอุปทานที่มีอยู่ อันดับแรก ได้แก่ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นสเหตุกะ คือ มีเหตุของการเกิด เรียกว่า มโนกรรม เป็นการปรุงแต่งทางความคิด

ซึ่งหมายถึง ภพปัจจุบัน ขณะ ได้เกิดขึ้นมาใหม่แล้ว(การกระทำทางมโนกรรม)

ชาติ คือ ผล หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ณ ปัจจุบันขณะ

วิญญาณ ๖ ไม่สามารถบังคับ ไม่ให้เกิดขึ้นได้ เหตุจาก เมื่อยังมีชีวิตอยู่ หมายถึง ยังมีการทำงานของอายตนะ

ตราบนั้น ผัสสะย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ
วิญญาณ ๖ ย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ วิญญาณ ๖ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนตาย

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ได้แก่ สังโยชน์ (๑๐) ตราบนั้น ห้ามความคิด ย่อมไม่สามารถห้ามได้ แต่สามารถรู้ว่าคิดอยู่ได้

สิ่งที่ห้ามได้ คือ การกระทำ ได้แก่ วจีกรรมและกายกรรม ที่เกิดจาก มโนกรรม โดยมีตัวตัณหาหรือกิเลส เป็นแรงผลักดันอยู่

เพียงฝึก หยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย แค่รู้ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สภาวะไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

พร้อมทั้งเป็นการฝึกละสักกายทิฏฐิไปในตัว ได้แก่ ไม่นำความเห็นของตนที่มีอยู่ ไปสร้างเหตุที่กำลังเกิดขึ้น(ผัสสะ) เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่อย่างนั้น มีเหตุ ย่อมมีผล

ทำความเพียรต่อเนื่อง จนกว่า สภาวะสมุจเฉทประหาณเกิด เมื่อนั้น สังโยชน์ ข้อที่ ๑ ทิฏฐิกิเลส หรือสักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส จะถูกทำลายลงทันที ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป

ส่วนวิจิกิจฉากิเลส จะถูกทำลายหมดสิ้น ไม่มีกำเริบอีกต่อไป เมื่อแจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

หมายเหตุ:

เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาปริยัติ ลองนำไปเทียบๆดูได้ โดยไม่ต้องไปคิดว่าอันไหนถูก หรือผิด เพราะ บัญญัติแต่ละตัวนั้น มีไว้ใช้ในการสื่อสาร แต่จะสามารถรู้ในคำต่างๆนั้นได้ รู้ได้โดยสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะภาวนาหรือจิตภาวนา หรือแม้กระทั่งรู้จากการอ่าน การฟัง

มีสิ่งใดเกิดขึ้น แค่รู้ อย่าไปยึด ยึดเมื่อใด จะเป็นสัญญา ถ้าแค่รู้ จะรู้ชัดในสภาวะที่ละเอียดมากขึ้น เมื่อรู้แล้ว ผลคือ มีแต่หยุดการสร้างเหตุนอกตัว นี่แหละคือ สภาวะปัญญา

สภาวะปัญญาที่แท้จริง มีแต่ รู้แล้วหยุด รู้แล้วดับ ดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบัน และภพชาติในวัฏฏสงสาร





จริงๆแล้ว เรื่อง การอธิบาย ก็เลือกอยู่ อย่างที่เห็นเขียนๆไปนั้น ยังไม่จบ แค่ขี้เกียจเขียนต่อ

เมื่อคิดไป คิดมาแล้ว เอาแค่นี้ดีกว่า ไม่ต้องเขียนอะไรต่อ


การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว
ไม่ประจักษ์นิพพานธาตุ วิจิกิจฉาจะดับได้อย่างไร


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครบอกว่า แจ้งในนิพพาน ให้ถามว่า เคยตายไหม รู้ไหมว่า ขณะกำลังจะตายนั้น มีลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะๆๆๆๆ นั้น เป็นอย่างไร

หากตอบว่า ไม่เคยตาย นั่นแหละ แค่จำมาพูด

หากตอบว่า เคยผ่านความตายมาแล้ว แต่อธิบายไม่ได้ นั่นแหละ จำมาพูด

เพราะ คนที่เคยเจอสภาวะ "อาการใกล้ตาย" ถึงไม่รู้ปริยัติ ก็สามารถอธิบาย สภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริงได้

และที่สำคัญ สามารถอธิบาย รายละเอียดของสภาวะที่เกิดขึ้น ต่อจากนั้นได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
amazing เขียน:
ถ้าบอกว่ารูปเกิดดับได้ ผัสสะก็เกิดดับได้เช่นกัน
ในขณะรูปดับนั้นแหล่ะครับผัสสะดับ
มันดับชั่วคราวเท่าที่เหตุปัจจัย เมื่อกลับมาสู่สภาวะปรกติผัสสะก็เกิดอีก

รูปดับได้ผัสสะต้องดับได้ เพราะสฬายตนะเกิดได้เพราะมีรูป เมื่อรูปดับสฬายตนะก็ดับไปด้วย ผัสสะจึงดับไปด้วย การเข้าถึงธรรมนั้นคือการเข้าถึงความดับไปของรูปนาม รูป1นาม3 สัญญา เวทนา สังขาร เหลือแต่วิญญานที่ยังคงอยู่เพราะจุตติวิญญาณยังไม่ปรากฎ วิญญานจะยังอยู่เมื่อรูป1นาม3ดับไป วิญญานจะหลุดพ้นจากทุกอย่างทั้งรูปทั้งนาม จิตจะรับรู้ถึงสภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะสิ่งที่เกิดดับนั้นคือขันต์ เมื่อวิญญานรับรู้ความจริงเข้าถึงสภาวะเป็นอมตะ แต่ในขณะที่จิตหลุดพ้นเป็นเวลาที่กิเลสตัณหาจะถูกกำจัดมากน้อย หรือตามมรรคจิตที่ปรากฎ


วิญญาณจะยังอยู่ เมื่อ รูป1 นาม 3 ดับไป
วิญญาณรับรู้ความจริงเข้าถึงสภาวะเป็นอมตะ

สองประโยคนี้ เป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่จริง
ผู้ที่เข้าไม่ถึงก็จะกล่าวเช่นนี้


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ใครบอกว่า แจ้งในนิพพาน ให้ถามว่า เคยตายไหม รู้ไหมว่า ขณะกำลังจะตายนั้น มีลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะๆๆๆๆ นั้น เป็นอย่างไร

หากตอบว่า ไม่เคยตาย นั่นแหละ แค่จำมาพูด

หากตอบว่า เคยผ่านความตายมาแล้ว แต่อธิบายไม่ได้ นั่นแหละ จำมาพูด

เพราะ คนที่เคยเจอสภาวะ "อาการใกล้ตาย" ถึงไม่รู้ปริยัติ ก็สามารถอธิบาย สภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริงได้

และที่สำคัญ สามารถอธิบาย รายละเอียดของสภาวะที่เกิดขึ้น ต่อจากนั้นได้
ขนาดนั้นเลยเหรอขนาดจะต้องตายเลยหรอเพราะอะไรจึงเชื่อว่าใกล้ตาย


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


วิจิกิจฉาจะดับไปได้ก็ต่อเมื่อเราประจักษ์พระนิพพานเท่านั้นเพราะพระนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุดเท่าที่พระองค์แสดงไว้และนิพพานก็เป็นจุดหมายของผู้เดินบนเส้นทางมรรคนี้ และถ้าไม่เจอพระนิพพานจะหายสงสัยจากความจริงที่เคยได้ฟังมาล่ะครับ และใครจะแน่ใจว่านั้นคือนิพพาน ไม่มีใครรู้ได้นอกจากสิ่งที่เจอนั้นทำลายความสงสัยในตะวมันเองจะเกิดขึ้นแก่จิต ในขณะนั้นจะเป็นสภาวะที่โล่งโปร่งแบบพิเศษเพราะกิเลส 3ตัวถูกสลัดทิ้งไปนี่คือสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเองโดยเป็นธรรมชาติด้วยพลังอำนาจของพระนิพพาน


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย
มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น
มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก
คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร
ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว
ถ้าจะให้พูดรายละเอียด วิธีการคิดทั้งหมด ยาวนะ
เพราะ ต้องเริ่มต้น ตั้งแต่ มรณะ คือ ความตาย
ชั่วข๊ะที่กำลังจะขาดใจตาย เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ขาดสติ จิตเกิดการปรุงแต่ง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่(เคยทำไว้) ได้แก่ สังขาร
จึงเป็นที่มีของ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด สังขาร
ที่มาของ สังขาร เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด วิญญาณ
คำว่า วิญญาณ ต้องไปหาในพระไตรปิฎก หมวดว่าด้วย วิญญาณขันธ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามเหตุปัจจัยที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ
เช่น วิญญาณขันธ์ ที่เป็น วิญญาณ ๖ เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย คือ เกิดจาก ชั่วขณะที่ อายตนะ ทำงาน เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ฯลฯ
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ตัดออกไปได้ ว่าไม่ใช่ วิญญาณ ๖ อย่างแน่นอน เพราะ ไม่ได้เกิดจาก ผัสสะ หรือ การทำงานของอายตนะ
ย้อนกลับไปดูเรื่อง ขันธ์ ๕ เรื่อง วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย
เมื่อ ผัสสะเกิด หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ความยินด/ยินร้าย คือ เวทนา เมื่อเวทนาเกิด สัญญา สังขาร ย่อมทำงานตามเหตุปัจจัย วิญญาณ ย่อมเกิดตามเหตุปัจจัย คือ มโน เมื่อมี ความคิดขึ้น เกิดจาก สังขาร ได้แก่ การปรุงแต่ง ความคิดนั้นๆ จากวิญญาณ ที่เปลี่ยนสภาพเป็นมโน กลายเป็น มโนกรรม ไปทันที


ต่อจาก ว่าด้วย วิญญารขันธ์ใน พระไตรปิฎก

ว่าด้วย วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ ที่หมายถึง การรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น

วิญญาณขันธ์ ตัวนี้ หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ หมายถึง วิญญาณที่เป็นธาตุรู้ คือ รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นวิญญาณประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย ที่เกิดจาก เวทนา เป็นเหตุปัจจัย


เมื่อเกิดการปรุงแต่งโดยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ จะแปรสภาพเป็น มโน ได้แก่ มโนกรรม

เฉกเช่นเดียวกันกับ วิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท สเหตุกะและอเหตุกะ ที่เกิดจากสังขาร ที่เป็นผลของเหตุ ที่เกิด ณ ปัจจุบัน ขณะ/อุปทาน/กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ที่เป็นเหตุของการเกิด(วิญญาณ) การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร หากยังมีเหตุอยู่(อนุสัยกิเลส/สังโยชน์) คนละสภาวะกับ สังขารในขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ(เหตุ)

สังขารในปฏิจจสมุปบาท เกิดจาก มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เป็นเหตุปัจจัย โดยมี จุติวิญญาณ เป็นปทัฏฐาน โดยมี วิญญาณขันธ์ เป็นผล(สเหตุกะกับอเหตุกะ)

สเหตุกะ หมายถึง ยังมีการเกิด

อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

ไม่มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมย่อมไม่เกิด วิญญาณขันธ์ ได้แก่ ความคิด ย่อมไม่เกิด เป็นวิญญาณขันธ์ประเภท อเหตุกะ คือ ไม่มีเหตุของการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ได้แก่ การปรุงแต่ง ตามความรู้สึกยินดียินร้ายที่เกิดขึ้น

โดยมีตัวตัณหา ได้แก่ กิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน(สังโยชน์ ๑๐) เป็นตัวหนุนนำ ให้เกิดการกระทำ ตามอุปทานที่มีอยู่ อันดับแรก ได้แก่ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นสเหตุกะ คือ มีเหตุของการเกิด เรียกว่า มโนกรรม เป็นการปรุงแต่งทางความคิด

ซึ่งหมายถึง ภพปัจจุบัน ขณะ ได้เกิดขึ้นมาใหม่แล้ว(การกระทำทางมโนกรรม)

ชาติ คือ ผล หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ณ ปัจจุบันขณะ

วิญญาณ ๖ ไม่สามารถบังคับ ไม่ให้เกิดขึ้นได้ เหตุจาก เมื่อยังมีชีวิตอยู่ หมายถึง ยังมีการทำงานของอายตนะ

ตราบนั้น ผัสสะย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ
วิญญาณ ๖ ย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ วิญญาณ ๖ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนตาย

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ได้แก่ สังโยชน์ (๑๐) ตราบนั้น ห้ามความคิด ย่อมไม่สามารถห้ามได้ แต่สามารถรู้ว่าคิดอยู่ได้

สิ่งที่ห้ามได้ คือ การกระทำ ได้แก่ วจีกรรมและกายกรรม ที่เกิดจาก มโนกรรม โดยมีตัวตัณหาหรือกิเลส เป็นแรงผลักดันอยู่

เพียงฝึก หยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย แค่รู้ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สภาวะไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

พร้อมทั้งเป็นการฝึกละสักกายทิฏฐิไปในตัว ได้แก่ ไม่นำความเห็นของตนที่มีอยู่ ไปสร้างเหตุที่กำลังเกิดขึ้น(ผัสสะ) เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่อย่างนั้น มีเหตุ ย่อมมีผล

ทำความเพียรต่อเนื่อง จนกว่า สภาวะสมุจเฉทประหาณเกิด เมื่อนั้น สังโยชน์ ข้อที่ ๑ ทิฏฐิกิเลส หรือสักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส จะถูกทำลายลงทันที ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป

ส่วนวิจิกิจฉากิเลส จะถูกทำลายหมดสิ้น ไม่มีกำเริบอีกต่อไป เมื่อแจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง



Waliporn
พิจารณาใหม่ ศึกษาใหม่
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต..........
ไม่ว่า วิญญาณขันธ์ 5 หรือ วิญญาณ 6 ก็เรื่องเดียวกัน
ที่ mark สี ไว้ เป็นความเข้าใจผิดที่ waliaporn ต้องทบทวนใหม่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
amazing เขียน:
ถ้าบอกว่ารูปเกิดดับได้ ผัสสะก็เกิดดับได้เช่นกัน
ในขณะรูปดับนั้นแหล่ะครับผัสสะดับ
มันดับชั่วคราวเท่าที่เหตุปัจจัย เมื่อกลับมาสู่สภาวะปรกติผัสสะก็เกิดอีก

รูปดับได้ผัสสะต้องดับได้ เพราะสฬายตนะเกิดได้เพราะมีรูป เมื่อรูปดับสฬายตนะก็ดับไปด้วย ผัสสะจึงดับไปด้วย การเข้าถึงธรรมนั้นคือการเข้าถึงความดับไปของรูปนาม รูป1นาม3 สัญญา เวทนา สังขาร เหลือแต่วิญญานที่ยังคงอยู่เพราะจุตติวิญญาณยังไม่ปรากฎ วิญญานจะยังอยู่เมื่อรูป1นาม3ดับไป วิญญานจะหลุดพ้นจากทุกอย่างทั้งรูปทั้งนาม จิตจะรับรู้ถึงสภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะสิ่งที่เกิดดับนั้นคือขันต์ เมื่อวิญญานรับรู้ความจริงเข้าถึงสภาวะเป็นอมตะ แต่ในขณะที่จิตหลุดพ้นเป็นเวลาที่กิเลสตัณหาจะถูกกำจัดมากน้อย หรือตามมรรคจิตที่ปรากฎ


วิญญาณจะยังอยู่ เมื่อ รูป1 นาม 3 ดับไป
วิญญาณรับรู้ความจริงเข้าถึงสภาวะเป็นอมตะ

สองประโยคนี้ เป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่จริง
ผู้ที่เข้าไม่ถึงก็จะกล่าวเช่นนี้


ผู้ที่เข้าไม่ถึง จะกล่าว สภาวะที่ไม่มีจริงอย่างนั้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
วิจิกิจฉาจะดับไปได้ก็ต่อเมื่อเราประจักษ์พระนิพพานเท่านั้นเพราะพระนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุดเท่าที่พระองค์แสดงไว้และนิพพานก็เป็นจุดหมายของผู้เดินบนเส้นทางมรรคนี้ และถ้าไม่เจอพระนิพพานจะหายสงสัยจากความจริงที่เคยได้ฟังมาล่ะครับ และใครจะแน่ใจว่านั้นคือนิพพาน ไม่มีใครรู้ได้นอกจากสิ่งที่เจอนั้นทำลายความสงสัยในตะวมันเองจะเกิดขึ้นแก่จิต ในขณะนั้นจะเป็นสภาวะที่โล่งโปร่งแบบพิเศษเพราะกิเลส 3ตัวถูกสลัดทิ้งไปนี่คือสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเองโดยเป็นธรรมชาติด้วยพลังอำนาจของพระนิพพาน

วิจิกิจฉา ดับได้ เมื่อเห็นแจ้ง ในโสดาปัตติผล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น

ขอฟังความคิดเห็นของเช่นนั้น ในเรื่องนี้ก่อน ที่เช่นนั้น ได้ทำเครื่องหมายไว้

"เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ตัดออกไปได้ ว่าไม่ใช่ วิญญาณ ๖ อย่างแน่นอน เพราะ ไม่ได้เกิดจาก ผัสสะ หรือ การทำงานของอายตนะ"

"วิญญาณขันธ์ ที่หมายถึง การรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น

วิญญาณขันธ์ ตัวนี้ หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ หมายถึง วิญญาณที่เป็นธาตุรู้ คือ รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นวิญญาณประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย ที่เกิดจาก เวทนา เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อเกิดการปรุงแต่งโดยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ จะแปรสภาพเป็น มโน ได้แก่ มโนกรรม"




ถ้าบอกว่า เป็นวิญญาณ ๖ ช่วยแสดงข้อคิดเห็นให้ฟังบ้าง

หรือ ถ้าไม่ใช่ แต่เป็น วิญญาณประเภทอื่นๆ ช่วยแสดงข้อคิดเห็น ให้ฟังบ้าง

นำข้อมูลมากจากไหน ช่วยแนบลิงค์ให้ด้วย

แต่ถ้าคิดเอง ก็บอกด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 13:38, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว



แล้วคนที่ร่างกายมันตาย จิตมันตายไปด้วยมั๊ย ...


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:

การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว



แล้วคนที่ตาย จิตคนที่ตายมันตายไปด้วยมั๊ย ...




แล้วแต่เหตุปัจจัยไง

ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น มุ่งเรื่อง ศพ หรือ คนตาย เป็นหลัก
เพื่อจะได้ อธิบายเรื่อง อายตนะและผัสสะได้

ส่วนจิต นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

หากยังมีเหตุอยู่ ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
จะเกิดเป็นอะไรอีก นั่นก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ชั่ว ขณะจิตสุดท้าย

หากหมดเหตุ อย่างพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องเวียว่ายตายเกิดอีกต่อไป

ถ้าถามว่า แล้วไปไหน อันนี้ไม่รู้จริงๆ เพราะ วลัยพร ไม่ใช่พระอรหันต์ เพียงนำข้อความตามตำรา ที่กล่าวถึงพระอรหันต์เท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
amazing เขียน:
วิจิกิจฉาจะดับไปได้ก็ต่อเมื่อเราประจักษ์พระนิพพานเท่านั้นเพราะพระนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุดเท่าที่พระองค์แสดงไว้และนิพพานก็เป็นจุดหมายของผู้เดินบนเส้นทางมรรคนี้ และถ้าไม่เจอพระนิพพานจะหายสงสัยจากความจริงที่เคยได้ฟังมาล่ะครับ และใครจะแน่ใจว่านั้นคือนิพพาน ไม่มีใครรู้ได้นอกจากสิ่งที่เจอนั้นทำลายความสงสัยในตะวมันเองจะเกิดขึ้นแก่จิต ในขณะนั้นจะเป็นสภาวะที่โล่งโปร่งแบบพิเศษเพราะกิเลส 3ตัวถูกสลัดทิ้งไปนี่คือสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเองโดยเป็นธรรมชาติด้วยพลังอำนาจของพระนิพพาน

วิจิกิจฉา ดับได้ เมื่อเห็นแจ้ง ในโสดาปัตติผล
โสดาปัตดิผลเกิดกต่อเมื่อสัมผัสกระแสพระนิพพาน นั้นหมายความว่าวิจิกิจฉาของแต่ละท่านจะดับไปก็ต่อเมื่อท่านพบกระแสพระนิพาน


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:

การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว



แล้วคนที่ตาย จิตคนที่ตายมันตายไปด้วยมั๊ย ...




แล้วแต่เหตุปัจจัยไง

ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น มุ่งเรื่อง ศพ หรือ คนตาย เป็นหลัก
เพื่อจะได้ อธิบายเรื่อง อายตนะและผัสสะได้

ส่วนจิต นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

หากยังมีเหตุอยู่ ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
จะเกิดเป็นอะไรอีก นั่นก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ชั่ว ขณะจิตสุดท้าย



แสดงว่า การอธิบาย อายตนะ ในแง่มุมของ ศพ เป็นแง่ที่ไม่ครอบคลุม ใช่ป่าว ...


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:

การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว



แล้วคนที่ตาย จิตคนที่ตายมันตายไปด้วยมั๊ย ...




แล้วแต่เหตุปัจจัยไง

ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น มุ่งเรื่อง ศพ หรือ คนตาย เป็นหลัก
เพื่อจะได้ อธิบายเรื่อง อายตนะและผัสสะได้

ส่วนจิต นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

หากยังมีเหตุอยู่ ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
จะเกิดเป็นอะไรอีก นั่นก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ชั่ว ขณะจิตสุดท้าย



แสดงว่า การอธิบาย อายตนะ ในแง่มุมของ ศพ เป็นแง่ที่ไม่ครอบคลุม ใช่ป่าว ...





ครอบคลุม หรือไม่ครอบคลุม อันนี้แล้วแต่เหตุของคนๆนั้นนะ

ส่วนที่ได้อธิบายไปนั้น เพียงต้องการแสดงให้เห็นเรื่อง อายตนะและผัสสะ ในสิ่งมีชีวิต

กับอายตนะและผัสสะ ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนตาย

วัตถุประสงค์มีแค่นั้น


ถ้าผู้อ่านคิดว่า ไม่ครอบคลุม ก็น่าจะแสดงข้อคิดเห็นลงมาได้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการกล่าวแบบครอบคลุม

เพราะ เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ที่อาจมีรายละเอียดปลีกย่อย ออกไปอีก หรือ อาจจะคิดแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่แบบนี้ ก็ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร