วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 21:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเรื่อง การบรรลุธรรม ไม่ขอนำมาเอ่ย เพราะ เกิดจากการน้อมเอา คิดเอาเอง ตามเหตุปัจจัย ที่มีอยู่

ไม่ต้องไปสนใจเรื่อง สิ่งที่เรียกว่า การบรรลุธรรม แต่ให้ดู สิ่งที่คิดว่า รู้ รู้แล้ว สามารถนำไปหยุดสร้างเหตุนอกตัวได้ไหม หรือ รู้แล้ว ยังสร้างเหตุของการเกิดภพชาติใหม่ ให้เกิดขึ้นเนืองๆ





ดังคำกล่าวนี้ อันนี้ เรื่อง จริง


eragon_joe เขียน:

เพราะ...ในการปฏิบัติในการทำสมาธิ
มันยังมีการสร้างอัตภาพที่นอกเหนือจากกายเนื้อขึ้นมาได้


เพราะ ถ้าในแง่ของ การสร้างอัตภาพขึ้นมา
มันก็จะทำให้เห็นแง่ว่า มีอัตภาพอีกอัตภาพ มารองรับผัสสะต่อไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 10:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
"ถ้าหากว่า ผัสสะไม่สามารถดับได้ ยกเว้น คนตาย หรือ ผัสสะไม่สามารถเกิดได้ เมื่อตาย แล้ว
ทำไมพระพุทธองค์ ถึงได้ต้องสอน ปฏิจจสมุปบาท ..."


ปฏิจจสมุปปบาท ฝ่ายเหตุของการเกิด การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

ปฏิจจสมุปปบาท ฝ่ายดับ เป็นการดับเหตุ ของการเกิด การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

ส่วนเรื่อง คนตาย เป็นคนละเรื่อง กับ ปฏิจจสมุปปบาท
แต่เป็นเพียง กายหรือ รูป ที่ปราศจาก นามหรือจิต ชั่วคราว หากยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ย่อมมีการเกิด หรืออยู่ในวงจรของปฏิจจสมุปบาท

หากหมดเหตุปัจจัย คือ พระอรหันต์ กระแสปฏิจจสมุปบาท ย่อมดับลงตามเหตุปัจจัย
รูปนามที่ดับชั่วคราวนี่แหล่ะครับที่ผมบอกว่ามันดับไป ในช่วงที่ดับไปนี่แหล่ะครับที่เข้าเรียกว่าการเข้าถึงธรรม ก่อนที่มันจะดับยังเห็นในขณะที่มันกำลังแยกออกไปชัดเจน คงไม่เคยเกิดกับท่านใช่ป่าว ก็เลยไม่รู้
ว่ามัยแยกกันอย่างไร เลยมีแต่คำกล่าวแบบภาษาในตัวหนังสือ จะพูดให้ฟัง เวลามันแยกกัยมันก็จะเป็นลักษณะสิ่งสองอย่างแยกจากกัน เมื่อแยกเสร็จก็เป็นอันว่าเป็นสภาดับไปทั้งสองจนเหลือแต่ความว่าว่างเป็นสูญญตา ไม่ใข่สมาธินิ่งโดยไม่มีทีมาที่ไปของปัญญา ผมจึงเห้นความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจนไม่เหลืออะไร สมาธิที่เกิดปิติสุขเบาสบายที่เป็นไปตามลำดับจนถึงความว่าง(สงบ)นั้นเรียกว่าสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ส่วนเรื่อง การบรรลุธรรม ไม่ขอนำมาเอ่ย เพราะ เกิดจากการน้อมเอา คิดเอาเอง ตามเหตุปัจจัย ที่มีอยู่

ดังคำกล่าวนี้ อันนี้ เรื่อง จริง


eragon_joe เขียน:

เพราะ...ในการปฏิบัติในการทำสมาธิ
มันยังมีการสร้างอัตภาพที่นอกเหนือจากกายเนื้อขึ้นมาได้


เพราะ ถ้าในแง่ของ การสร้างอัตภาพขึ้นมา
มันก็จะทำให้เห็นแง่ว่า มีอัตภาพอีกอัตภาพ มารองรับผัสสะต่อไป






ไม่ต้องไปสนใจเรื่อง สิ่งที่เรียกว่า การบรรลุธรรม แต่ให้ดู สิ่งที่คิดว่า รู้ รู้แล้ว สามารถนำไปหยุดสร้างเหตุนอกตัวได้ไหม หรือ รู้แล้ว ยังสร้างเหตุของการเกิดภพชาติใหม่ ให้เกิดขึ้นเนืองๆ
การบรรลุธรรมนั้นคือการเข้าถึงบรมสัจด้วยกาย และเข้าถึงบรมสัจด้วยปัญญานั้น จะกำจัดกิเลสได้ตามส่วนตามระดับปัญญาของมรรคจิตนั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เรื่องนาม-รูป เป็นเรื่องละเอียด

:b1: :b1: :b1:



อันนี้เรื่องจริง

ฉะนั้น ในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้า จึงทรงใช้คำสำทับลง ในแต่ละสภาวะที่เกิดขึ้น

ทำไม ทรงใช้คำว่า นามรูป ทำไมไม่ใช้ คำว่า รูปนาม ถ้าเป็นการทำงานของขันธ์ ๕

ทำไม สังขาร ไม่เขียนว่า สังขารขันธ์

ทำไม วิญญาณ ไม่เขียนว่า วิญญาณขันธ์

ทำไม อุปทาน ไม่เขียนว่า สังขารขันธ์

ทำไมภพ ไม่เขียนว่า มโนกรรม

ทำไม ชาติ ไม่เขียนว่า คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต คือ สุข/ทุกข์ ที่เกิดขึ้น

แล้วทำไม เวลาทรงอธิบาย เหมือนจะย้อนกลับไปกลับมา ระหว่าง วิญญาณ เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด นามรูป

นามรูป เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด วิญญาณ หรือ แม้กระทั่ง วิญญาณ เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดรูปนาม นี่เขียนต่างไปจาก นามรูปอีก


เพราะ ทรงมีเหตุผล ที่ทำเช่นนั้น หากทรงอธิบายตามความเป็นจริงทั้งหมด ของสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ป่านนี้ ทั้งอริยะและอรหันต์ เดินให้เกลื่อนกลาดไปหมด เพราะ เอาสิ่งที่มีปรากฏอยู่ มาแสดง แต่หาได้รู้แจ้งแทงตลอด ในสภาวะปฏิจจสมุปปบาท ตามความเป็นจริงไม่

เหตุนี้ ปฏิจจสมุปปบาท เมื่อยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดโดยสภาวะ เมื่อนำมาอธิบาย จึงอธิบายตามที่เรียนรู้ หรือเกิดจากการได้ยินมา เวลาอธิบาย จึงวกวนไปมา ไม่สามารถหาจุดลงตัวได้

หรือ ไม่ก็หยิบยกมาวาง แต่ไม่สามารถอธอบายให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือ สามารถปฏิบัติตามได้ แม้กระทั่ง คนไม่รู้หนังสือ มานั่งฟัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
การบรรลุธรรมนั้นคือการเข้าถึงบรมสัจด้วยกาย และเข้าถึงบรมสัจด้วยปัญญานั้น จะกำจัดกิเลสได้ตามส่วนตามระดับปัญญาของมรรคจิตนั้นๆ




เขามีคำเรียกนะ เรียกว่า สภาวะสัญญา รู้ไว้ด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
รูปนามที่ดับชั่วคราวนี่แหล่ะครับที่ผมบอกว่ามันดับไป ในช่วงที่ดับไปนี่แหล่ะครับที่เข้าเรียกว่าการเข้าถึงธรรม ก่อนที่มันจะดับยังเห็นในขณะที่มันกำลังแยกออกไปชัดเจน คงไม่เคยเกิดกับท่านใช่ป่าว ก็เลยไม่รู้
ว่ามัยแยกกันอย่างไร เลยมีแต่คำกล่าวแบบภาษาในตัวหนังสือ จะพูดให้ฟัง เวลามันแยกกัยมันก็จะเป็นลักษณะสิ่งสองอย่างแยกจากกัน เมื่อแยกเสร็จก็เป็นอันว่าเป็นสภาดับไปทั้งสองจนเหลือแต่ความว่าว่างเป็นสูญญตา ไม่ใข่สมาธินิ่งโดยไม่มีทีมาที่ไปของปัญญา ผมจึงเห้นความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจนไม่เหลืออะไร สมาธิที่เกิดปิติสุขเบาสบายที่เป็นไปตามลำดับจนถึงความว่าง(สงบ)นั้นเรียกว่าสมาธิ




นี่ก็เรื่องปกติ ที่เกิดขึึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ และมี สติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ เรียกว่า มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


ยิ่งพูดมา สภาวะคุณ ยิ่งมีแต่สัญญาทั้งนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
walaiporn เขียน:
"ถ้าหากว่า ผัสสะไม่สามารถดับได้ ยกเว้น คนตาย หรือ ผัสสะไม่สามารถเกิดได้ เมื่อตาย แล้ว
ทำไมพระพุทธองค์ ถึงได้ต้องสอน ปฏิจจสมุปบาท ..."


ปฏิจจสมุปปบาท ฝ่ายเหตุของการเกิด การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

ปฏิจจสมุปปบาท ฝ่ายดับ เป็นการดับเหตุ ของการเกิด การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

ส่วนเรื่อง คนตาย เป็นคนละเรื่อง กับ ปฏิจจสมุปปบาท
แต่เป็นเพียง กายหรือ รูป ที่ปราศจาก นามหรือจิต ชั่วคราว หากยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ย่อมมีการเกิด หรืออยู่ในวงจรของปฏิจจสมุปบาท

หากหมดเหตุปัจจัย คือ พระอรหันต์ กระแสปฏิจจสมุปบาท ย่อมดับลงตามเหตุปัจจัย
รูปนามที่ดับชั่วคราวนี่แหล่ะครับที่ผมบอกว่ามันดับไป ในช่วงที่ดับไปนี่แหล่ะครับที่เข้าเรียกว่าการเข้าถึงธรรม ก่อนที่มันจะดับยังเห็นในขณะที่มันกำลังแยกออกไปชัดเจน คงไม่เคยเกิดกับท่านใช่ป่าว ก็เลยไม่รู้
ว่ามัยแยกกันอย่างไร เลยมีแต่คำกล่าวแบบภาษาในตัวหนังสือ จะพูดให้ฟัง เวลามันแยกกัยมันก็จะเป็นลักษณะสิ่งสองอย่างแยกจากกัน เมื่อแยกเสร็จก็เป็นอันว่าเป็นสภาดับไปทั้งสองจนเหลือแต่ความว่าว่างเป็นสูญญตา ไม่ใข่สมาธินิ่งโดยไม่มีทีมาที่ไปของปัญญา ผมจึงเห้นความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจนไม่เหลืออะไร สมาธิที่เกิดปิติสุขเบาสบายที่เป็นไปตามลำดับจนถึงความว่าง(สงบ)นั้นเรียกว่าสมาธิ

:b8:
บางทีก็เห็นการดับเพียงฝ่ายเดียว บางทีก็เห็นการเกิดเพียงฝ่ายเดียว บางทีก็เห็นตลอดสาย แล้วแต่กำลังของสมาธิครับ อนุโมทนา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เสียดาย..

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องราวของสภาวะ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดแบบไหน หรือขณะใดก็ตาม

อย่าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะ สภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา

ถ้ามีการยึดมั่นถือมั่น สภาวะนั้นๆ จะกลายเป็น อุปกิเลส ไปทันที ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติ

ถ้าคิดว่า บรรลุธรรมหรือได้อะไร เป็นอะไร ก็คิดไปเถอะ คิดแล้ว มีความสุข ก็คิดไปเถอะ

หรือเป็นจริงๆ ก็ชั่งหัวมัน

เหตุเพราะ ความมีและความเป็นนั้น สามารถทำให้หยุดสร้างเหตุนอกตัวได้ไหม ถ้าได้ ก็เป็นไปเถอะ

ถ้าไม่ได้ ก็เป็นไปเถอะ ถ้าอยากเป็น


สำหรับวันนี้ พอละ สวัสดีทุกๆคน tongue

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

ผมวิปัสสนาสายอานา ฯ ครับ ใช้วิธีกำหนดลมหายใจ
ปกติ ขณะวิปัสสนา ลมหายใจจะเป็นท่อนยาว ๆ เข้าออก

มีบางครั้งที่ลมหายใจจะกลายเป็นเม็ดเล็ก ๆ ต่อเนื่องกันเข้าออก
แล้วสักพักก็จะเกิดปิติ เมื่อละปิติ สักพักลมหายใจก็จะหายไปครับ

มีอยู่ครั้งนึง หลังจากลมหายใจหายไปแล้ว พอปล่อยทิ้งไว้ ร่างกายก็จะหายไปด้วยครับ
ไม่รู้สึกถึงการคงอยู่ของร่างกาย โล่ง ๆ ว่างเปล่า นิ่ง ๆ ไม่รู้สึกอะไร

ใครพอทราบไหมครับ ว่าถ้าลมหายใจหายไป หรือว่าร่างกายหายไปแล้ว ควรทำยังไงต่อครับ

ปล. ผมมีความรู้ทางพุทธน้อยมากครับ
รบกวนช่วยบอกหน่อยครับ ว่าเวลามีศัพท์ที่ผมไม่เข้าใจ
ผมควรไปหาอ่านความหมายที่ถูกต้อง ได้จากไหนครับ



ถ้ากรัชกายได้/มีอนาคตังสญาณ คือ รู้ว่า อีก 7 วันโลกที่อาศัยอยู่นี้แตกแน่ๆ สิ่งมีชีวิตที่โลดแล่นอยู่บนโลกใบนี้จะตายหมดไม่เหลือ ก็จะบอกแอตมินปิดเวปธรรมจักร แล้วชวนกันเผาตำราที่มีอยู่ทิ้งให้หมด พระไตรปิฎกฉบับไหนๆเก็บมาเผาให้หมดไม่ให้มีเหลือ แล้วชวนมนุษย์ทุกรูปทุกนาม (ไปแต่ตัว) เข้าป่าเข้าถ้ำปฏิบัติกรรมฐาน ดูสิมันจะเป็นยังไง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 11:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:

ผมวิปัสสนาสายอานา ฯ ครับ ใช้วิธีกำหนดลมหายใจ
ปกติ ขณะวิปัสสนา ลมหายใจจะเป็นท่อนยาว ๆ เข้าออก

มีบางครั้งที่ลมหายใจจะกลายเป็นเม็ดเล็ก ๆ ต่อเนื่องกันเข้าออก
แล้วสักพักก็จะเกิดปิติ เมื่อละปิติ สักพักลมหายใจก็จะหายไปครับ

มีอยู่ครั้งนึง หลังจากลมหายใจหายไปแล้ว พอปล่อยทิ้งไว้ ร่างกายก็จะหายไปด้วยครับ
ไม่รู้สึกถึงการคงอยู่ของร่างกาย โล่ง ๆ ว่างเปล่า นิ่ง ๆ ไม่รู้สึกอะไร

ใครพอทราบไหมครับ ว่าถ้าลมหายใจหายไป หรือว่าร่างกายหายไปแล้ว ควรทำยังไงต่อครับ

ปล. ผมมีความรู้ทางพุทธน้อยมากครับ
รบกวนช่วยบอกหน่อยครับ ว่าเวลามีศัพท์ที่ผมไม่เข้าใจ
ผมควรไปหาอ่านความหมายที่ถูกต้อง ได้จากไหนครับ



ถ้ากรัชกายได้/มีอนาคตังสญาณ คือ รู้ว่า อีก 7 วันโลกที่อาศัยอยู่นี้แตกแน่ๆ สิ่งมีชีวิตที่โลดแล่นอยู่บนโลกใบนี้จะตายหมดไม่เหลือ ก็จะบอกแอตมินปิดเวปธรรมจักร แล้วชวนกันเผาตำราที่มีอยู่ทิ้งให้หมด พระไตรปิฎกฉบับไหนๆเก็บมาเผาให้หมดไม่ให้มีเหลือ แล้วชวนมนุษย์ทุกรูปทุกนาม (ไปแต่ตัว) เข้าป่าเข้าถ้ำปฏิบัติกรรมฐาน ดูสิมันจะเป็นยังไง :b32:


:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 11:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ขอแก้ไขข้อความ

ผัสสะเกิดขึ้น จากการทำงานของอายตนะ
เราไม่สามารถดับผัสสะได้ แต่รู้ได้ว่า มีเกิดและดับ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัย



ยกเว้น คนตายเท่านั้น ที่ผัสสะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เพราะ อายตนะ ไม่สามารถทำงานได้ ในคนตาย



เหมือนกำลังนั่งพิจารณาเนื้อหมูที่วางขายอยู่บนแผงในตลาดเรย

:b1:

สิ่งหนึ่ง กำลังพิจารณา สิ่งหนึ่ง
ซึ่ง สิ่งที่ถูกพิจารณา นั้นไม่ใช่ผู้พิจารณา

การพิจารณาซาก ในแง่ เกิด-ดับ ... เอกอนไม่เคยนะ
การพิจารณาซาก เอกอนก็พิจารณาแต่ในแง่
ที่ซากก็เดินไปสู่การสลายเป็นปุ๋ย เป็นเถ้า เป็นธุลี ไป

การพิจารณาผู้พิจารณา จึงพิจารณาไปในแง่ เกิด-ดับ ...น่ะ

มาเจอแง่ความเห็นของคุณ ก็งงนิด ๆ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 12:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เรื่องราวของสภาวะ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดแบบไหน หรือขณะใดก็ตาม

อย่าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะ สภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา

ถ้ามีการยึดมั่นถือมั่น สภาวะนั้นๆ จะกลายเป็น อุปกิเลส ไปทันที ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติ

ถ้าคิดว่า บรรลุธรรมหรือได้อะไร เป็นอะไร ก็คิดไปเถอะ คิดแล้ว มีความสุข ก็คิดไปเถอะ

หรือเป็นจริงๆ ก็ชั่งหัวมัน

เหตุเพราะ ความมีและความเป็นนั้น สามารถทำให้หยุดสร้างเหตุนอกตัวได้ไหม ถ้าได้ ก็เป็นไปเถอะ

ถ้าไม่ได้ ก็เป็นไปเถอะ ถ้าอยากเป็น


สำหรับวันนี้ พอละ สวัสดีทุกๆคน tongue
สภาวะนิพพานนั้นพระพุทธองค์กล่าวว่า สภาวะไม่เกิดไม่ดับสามารถเข้าถึงได้ ก็แสดงว่าต้องรับรู้ได้อะไรเป็นตัวเข้าไปรู้ก็คือวิญญานและวิญญานเป็นธาตุรู้ สิ่งที่วิญญานเข้าไปรู้ไปเห็น เป็นสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะอริยจะต้องสัมผัสได้ด้วยจิต และพระองค์แสดงในรูปปฎิเสธ ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ สิ่งทั้งหลายในนั้นไม่มี ฉนั้นนิพพานเป็นสภาวะที่มีจริงสัมผัสได้ แต่ไม่ใช่สมาธิ และที่คุณบอกว่าสภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลาไม่ต้องไปยึดมั่นถือมั่นนั้นมันเป็นเพียง ธรรมชาติของธรรมทั้งหลาย แต่ถ้าคุณได้รูจักธรรมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณจะไม่พูดคำนี้แน่นอน เพราะคุณรู้จักมันจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
walaiporn เขียน:
เรื่องราวของสภาวะ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดแบบไหน หรือขณะใดก็ตาม

อย่าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะ สภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา

ถ้ามีการยึดมั่นถือมั่น สภาวะนั้นๆ จะกลายเป็น อุปกิเลส ไปทันที ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติ

ถ้าคิดว่า บรรลุธรรมหรือได้อะไร เป็นอะไร ก็คิดไปเถอะ คิดแล้ว มีความสุข ก็คิดไปเถอะ

หรือเป็นจริงๆ ก็ชั่งหัวมัน

เหตุเพราะ ความมีและความเป็นนั้น สามารถทำให้หยุดสร้างเหตุนอกตัวได้ไหม ถ้าได้ ก็เป็นไปเถอะ

ถ้าไม่ได้ ก็เป็นไปเถอะ ถ้าอยากเป็น


สำหรับวันนี้ พอละ สวัสดีทุกๆคน tongue
สภาวะนิพพานนั้นพระพุทธองค์กล่าวว่า สภาวะไม่เกิดไม่ดับสามารถเข้าถึงได้ ก็แสดงว่าต้องรับรู้ได้อะไรเป็นตัวเข้าไปรู้ก็คือวิญญานและวิญญานเป็นธาตุรู้ สิ่งที่วิญญานเข้าไปรู้ไปเห็น เป็นสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะอริยจะต้องสัมผัสได้ด้วยจิต และพระองค์แสดงในรูปปฎิเสธ ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ สิ่งทั้งหลายในนั้นไม่มี ฉนั้นนิพพานเป็นสภาวะที่มีจริงสัมผัสได้ แต่ไม่ใช่สมาธิ และที่คุณบอกว่าสภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลาไม่ต้องไปยึดมั่นถือมั่นนั้นมันเป็นเพียง ธรรมชาติของธรรมทั้งหลาย แต่ถ้าคุณได้รูจักธรรมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณจะไม่พูดคำนี้แน่นอน เพราะคุณรู้จักมันจริง




อ่ะจ้าาาา จ้าาาา :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
ขอแก้ไขข้อความ

ผัสสะเกิดขึ้น จากการทำงานของอายตนะ
เราไม่สามารถดับผัสสะได้ แต่รู้ได้ว่า มีเกิดและดับ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัย



ยกเว้น คนตายเท่านั้น ที่ผัสสะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เพราะ อายตนะ ไม่สามารถทำงานได้ ในคนตาย



เหมือนกำลังนั่งพิจารณาเนื้อหมูที่วางขายอยู่บนแผงในตลาดเรย

:b1:

สิ่งหนึ่ง กำลังพิจารณา สิ่งหนึ่ง
ซึ่ง สิ่งที่ถูกพิจารณา นั้นไม่ใช่ผู้พิจารณา

การพิจารณาซาก ในแง่ เกิด-ดับ ... เอกอนไม่เคยนะ
การพิจารณาซาก เอกอนก็พิจารณาแต่ในแง่
ที่ซากก็เดินไปสู่การสลายเป็นปุ๋ย เป็นเถ้า เป็นธุลี ไป

การพิจารณาผู้พิจารณา จึงพิจารณาไปในแง่ เกิด-ดับ ...น่ะ

มาเจอแง่ความเห็นของคุณ ก็งงนิด ๆ

:b1:




การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว


ถ้าจะให้พูดรายละเอียด วิธีการคิดทั้งหมด ยาวนะ

เพราะ ต้องเริ่มต้น ตั้งแต่ มรณะ คือ ความตาย


ชั่วข๊ะที่กำลังจะขาดใจตาย เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ขาดสติ จิตเกิดการปรุงแต่ง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่(เคยทำไว้) ได้แก่ สังขาร

จึงเป็นที่มีของ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด สังขาร

ที่มาของ สังขาร เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด วิญญาณ

คำว่า วิญญาณ ต้องไปหาในพระไตรปิฎก หมวดว่าด้วย วิญญาณขันธ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามเหตุปัจจัยที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ

เช่น วิญญาณขันธ์ ที่เป็น วิญญาณ ๖ เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย คือ เกิดจาก ชั่วขณะที่ อายตนะ ทำงาน เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ฯลฯ

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ตัดออกไปได้ ว่าไม่ใช่ วิญญาณ ๖ อย่างแน่นอน เพราะ ไม่ได้เกิดจาก ผัสสะ หรือ การทำงานของอายตนะ


ย้อนกลับไปดูเรื่อง ขันธ์ ๕ เรื่อง วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อ ผัสสะเกิด หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ความยินด/ยินร้าย คือ เวทนา เมื่อเวทนาเกิด สัญญา สังขาร ย่อมทำงานตามเหตุปัจจัย วิญญาณ ย่อมเกิดตามเหตุปัจจัย คือ มโน เมื่อมี ความคิดขึ้น เกิดจาก สังขาร ได้แก่ การปรุงแต่ง ความคิดนั้นๆ จากวิญญาณ ที่เปลี่ยนสภาพเป็นมโน กลายเป็น มโนกรรม ไปทันที

ทีนี้ ก็รู้ว่า วิญญารขันธ์ สภาวะนี้ เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท สเหตุกะ(ยังมีเหตุ) กับ อเหตุกะ(ไม่มีเหตุ)

คือ หาแบบนี้

"พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 457
วิญญาณ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นโลกิยวิบากเป็นต้น
ชื่อว่ามี ๒ อย่าง เพราะเป็นสเหตุกะ และอเหตุกะเป็นต้น

ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยภพ ๒ เพราะประกอบพร้อมด้วยเวทนา ๓ และเพราะเป็น อเหตุกะ ทุเหตุกะ และติเหตุกะ

ชื่อว่า เป็น ๔ อย่าง และเป็น ๕ ด้วย อำนาจกำเนิด และอำนาจคติ.

นามรูป ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะอาศัยวิญญาณ และโดยมีกรรมเป็นปัจจัย

ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะเป็นสารัมมณะและอนารัมมณะ
ชื่อว่ามี ๓ อย่าง เพราะเป็นอดีตเป็นต้น

ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง ด้วยอำนาจกำเนิด ๔ และคติ ๕.


สฬายตนะ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นที่เกิดและประชุม
ชื่อว่ามี ๒ อย่าง เพราะภูตรูป ประสาทรูป และวิญญาณ* เป็นต้น

ชื่อว่ามี ๓ อย่าง เพราะเป็นอารมณ์ที่เป็นสัมปัตตะ อสัมปัตตะ และไม่ใช่ทั้ง ๒
(คือทางมโนทวาร)

ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยกำเนิด ๔ และคติ ๕ แล.

บัณฑิตพึงทราบธรรมแม้มีผัสสะเป็นต้นว่าเป็นธรรมอย่างเดียว เป็นต้นโดยนัยนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้แม้โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น อย่างนี้."

และหาแบบนี้ ในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 240&Z=1498


หรือ จะอธิบายแบบนี้ดี สิ่งที่เคยเขียนไว้แล้ว

ต่อจาก ว่าด้วย วิญญารขันธ์ใน พระไตรปิฎก

ว่าด้วย วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ ที่หมายถึง การรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น

วิญญาณขันธ์ ตัวนี้ หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ หมายถึง วิญญาณที่เป็นธาตุรู้ คือ รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นวิญญาณประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย ที่เกิดจาก เวทนา เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อเกิดการปรุงแต่งโดยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ จะแปรสภาพเป็น มโน ได้แก่ มโนกรรม

เฉกเช่นเดียวกันกับ วิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท สเหตุกะและอเหตุกะ ที่เกิดจากสังขาร ที่เป็นผลของเหตุ ที่เกิด ณ ปัจจุบัน ขณะ/อุปทาน/กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ที่เป็นเหตุของการเกิด(วิญญาณ) การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร หากยังมีเหตุอยู่(อนุสัยกิเลส/สังโยชน์) คนละสภาวะกับ สังขารในขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ(เหตุ)

สังขารในปฏิจจสมุปบาท เกิดจาก มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เป็นเหตุปัจจัย โดยมี จุติวิญญาณ เป็นปทัฏฐาน โดยมี วิญญาณขันธ์ เป็นผล(สเหตุกะกับอเหตุกะ)

สเหตุกะ หมายถึง ยังมีการเกิด

อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

ไม่มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมย่อมไม่เกิด วิญญาณขันธ์ ได้แก่ ความคิด ย่อมไม่เกิด เป็นวิญญาณขันธ์ประเภท อเหตุกะ คือ ไม่มีเหตุของการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ได้แก่ การปรุงแต่ง ตามความรู้สึกยินดียินร้ายที่เกิดขึ้น

โดยมีตัวตัณหา ได้แก่ กิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน(สังโยชน์ ๑๐) เป็นตัวหนุนนำ ให้เกิดการกระทำ ตามอุปทานที่มีอยู่ อันดับแรก ได้แก่ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นสเหตุกะ คือ มีเหตุของการเกิด เรียกว่า มโนกรรม เป็นการปรุงแต่งทางความคิด

ซึ่งหมายถึง ภพปัจจุบัน ขณะ ได้เกิดขึ้นมาใหม่แล้ว(การกระทำทางมโนกรรม)

ชาติ คือ ผล หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ณ ปัจจุบันขณะ

วิญญาณ ๖ ไม่สามารถบังคับ ไม่ให้เกิดขึ้นได้ เหตุจาก เมื่อยังมีชีวิตอยู่ หมายถึง ยังมีการทำงานของอายตนะ

ตราบนั้น ผัสสะย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ
วิญญาณ ๖ ย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ วิญญาณ ๖ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนตาย

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ได้แก่ สังโยชน์ (๑๐) ตราบนั้น ห้ามความคิด ย่อมไม่สามารถห้ามได้ แต่สามารถรู้ว่าคิดอยู่ได้

สิ่งที่ห้ามได้ คือ การกระทำ ได้แก่ วจีกรรมและกายกรรม ที่เกิดจาก มโนกรรม โดยมีตัวตัณหาหรือกิเลส เป็นแรงผลักดันอยู่

เพียงฝึก หยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย แค่รู้ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สภาวะไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

พร้อมทั้งเป็นการฝึกละสักกายทิฏฐิไปในตัว ได้แก่ ไม่นำความเห็นของตนที่มีอยู่ ไปสร้างเหตุที่กำลังเกิดขึ้น(ผัสสะ) เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่อย่างนั้น มีเหตุ ย่อมมีผล

ทำความเพียรต่อเนื่อง จนกว่า สภาวะสมุจเฉทประหาณเกิด เมื่อนั้น สังโยชน์ ข้อที่ ๑ ทิฏฐิกิเลส หรือสักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส จะถูกทำลายลงทันที ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป

ส่วนวิจิกิจฉากิเลส จะถูกทำลายหมดสิ้น ไม่มีกำเริบอีกต่อไป เมื่อแจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

หมายเหตุ:

เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาปริยัติ ลองนำไปเทียบๆดูได้ โดยไม่ต้องไปคิดว่าอันไหนถูก หรือผิด เพราะ บัญญัติแต่ละตัวนั้น มีไว้ใช้ในการสื่อสาร แต่จะสามารถรู้ในคำต่างๆนั้นได้ รู้ได้โดยสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะภาวนาหรือจิตภาวนา หรือแม้กระทั่งรู้จากการอ่าน การฟัง

มีสิ่งใดเกิดขึ้น แค่รู้ อย่าไปยึด ยึดเมื่อใด จะเป็นสัญญา ถ้าแค่รู้ จะรู้ชัดในสภาวะที่ละเอียดมากขึ้น เมื่อรู้แล้ว ผลคือ มีแต่หยุดการสร้างเหตุนอกตัว นี่แหละคือ สภาวะปัญญา

สภาวะปัญญาที่แท้จริง มีแต่ รู้แล้วหยุด รู้แล้วดับ ดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบัน และภพชาติในวัฏฏสงสาร


เรื่อง ปฏิจจสมุปปบาท จะรู้ชัดในสภาวะ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริงของ สภาวะนิพพานก่อน ต้องรู้ก่อนว่า นิพพาน คืออะไร นั่นแหละ ถึงจะรู้ สภาวะปฏิจจสมุปปบาท



จริงๆแล้ว เรื่อง การอธิบาย ก็เลือกอยู่ อย่างที่เห็นเขียนๆไปนั้น ยังไม่จบ แค่ขี้เกียจเขียนต่อ


เมื่อคิดไป คิดมาแล้ว เอาแค่นี้ดีกว่า ไม่ต้องเขียนอะไรต่อ


การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 12:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร