วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เมื่อจะอวดภูมิ ก็
มองอ่าน ในหัวข้อกระทู้ก่อนว่า "สัพเพธัมมา กับสัพเพสังขารา อย่าสับสนในพุทธพจน์"

อย่าเลื่อนลอยไปจับนู่นจับนี่มาต้มยำในหัวข้อกระทู้ที่โฮฮับ ตั้งขึ้นมาเอง

จะแสดงอะไรก็ดูเสียก่อนว่า หัวข้อกระทู้คืออะไร

หัวข้อกระทู้ชื่อว่า "สัพเพธัมมากับสัพเพสังขารา......อย่าสับสนในพุทธพจน์
คนที่ขาดความเข้าใจในพุทธพจน์ คนที่อาศัยแค่โวหารแบบเช่นนั้นย่อมต้องเข้าใจไปว่า
สิ่งที่ผมเอามาแสดงไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้ ............
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเช่นนั้น ไม่เข้าใจความหมายของพุทธพจน์
ศึกษาธรรมด้วยการจำตัวอักษร เมื่อเห็นตัวอักษรที่ผิดแผกออกไป
ก็เลยเข้าใจไปว่า มันเป็นคนละเรื่อง ซึ่งมันผิดถนัด :b32:


ความเห็นของเช่นนั้นที่ผมเอามาอ้างอิง มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระทู้นี้
เพราะเช่นนั้นกำลังสับสนกับพุทธพจน์ คำว่า..."ปรมัตถ์"กับ"ปรมฏฐ"

และที่ว่าสับสนจนทำให้เกิดการรู้เท่าไม่ถึงการ ไปปรามาสประไตรปิฎกแปล
ในส่วนของพระอภิธรรม เช่นนั้นเข้าใจว่า ให้ความหมายผิดในพุทธพจน์คำว่า...."ปรมฏฐ"

ในความเป็นจริงผู้แปลอภิธรรมที่ว่า...."เป็นปรมัตถ์"
คำว่าเป็นปรมัตถ์กับปรมัตถ์ ......เป็นคนล่ะความหมายกัน
แต่เป็นเพราะเช่นนั้น ไม่มีความรู้ความเข้าใจในพระไตรปิฎก
เลยเข้าใจว่า พระอภิธรรมปิฎกแปลผิด ซึ่งความจริงไม่ใช่ เป็นเช่นนั้นเองที่ไม่มีความรู้
แล้วก็เอามาพูดผิดๆ

ความหมายที่เป็นจริงคือ........

ปรมฏฐ หมายถึง......เป็นปรมัตถ์

ปรมตฺถ หมายถึง........ปรมัตถ์


ในพระอภิธรรมวัตถุปกรณ์ ท่านแปลถูกแล้ว แต่ถูกพวกโมฆะบุรุษปรามาสหาว่าท่านแปลผิด

แล้วเรื่องสัพเพธัมมาและสัพเพสังขารา เกี่ยวอย่างไรกับสิ่งที่ผมอ้างอิงนั้น
มันต้องรู้ว่า ประเด็นของกระทู้นี้อยู่ที่.....ความสับสนในพุทธพจน์
ส่วนสัพเพธัมมาและสัพเพสังขารา เป็นแค่ปลีกย่อยของกระทู้

สรุปก็คือกระทู้นี้มีเพื่อแก้ข้อกล่าวหา ของพวกโมฆะบุรุษ
ที่ชอบปรามาส อรรถกถาจารย์และครูบาอาจารย์ว่า กล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่พุทธวจน


ความหมายของโมฆะบุรุษครับ......

" โมฆปุริโส " ความว่าบุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษ

ผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้

มีอยู่ แต่มรรคหรือผล ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน.

บทนี้เอามาจากอรรถกถา คงไม่ต้องเอาลิ้งมาวาง เพราะเช่นนั้นไม่เชื่ออรรถกถาอยู่แล้ว :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ จะอ้างถึงสิ่งที่ เช่นนั้น พิมพ์ออกมา
ก็ยกมาให้ครบ
อย่าได้ เมาๆ เบลอๆ แสดงอะไรออกมา
เช่นนั้น เขียน:
ปรมัตถ์
เป็นคำที่ใช้ เพื่อแสดงถึง สิ่งที่แสดง ธรรมที่แสดง ว่ามีอรรถ มีเนื้อหา ที่ลึกซึ้งยากแก่การรู้ การเข้าใจ

เป็นคำที่มีใช้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงใช้อยู่ แต่จะใช้เวลาอธิบายข้อธรรมที่มีเนื้อหาลึกซึ้ง
ข้อธรรมที่ทรงแสดง คือบัญญัติ เมื่อเป็นข้อธรรมที่พระพุทธองค์เน้นว่าเป็นข้อธรรมที่ลึกซึ้ง
พระองค์จะ บอกว่า "นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์"

อรรถกถา รุ่นแรกๆ ที่บันทึกไว้ในระหว่างพระสูตรในพระไตรปิฏก
จะมี การระบุ อยู่อย่างเดียว คือ นิพพานเป็นปรมัตถ์ เท่านั้น

ส่วนในพระอภิธรรมปิฏก ในกถาวัตถุปกรณ์
จะเห็นคำว่า "เป็นปรมัตถ์" (โดยคำแปล) แต่เมื่อดูที่บาลี ซึ่งไม่ใช่คำว่า ปรมัตถ์ แต่จะเป็น ปรมฏฺฐ
ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดียวกับ ปรมัตถ์

ดังนั้นในพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฏก จึงไม่มีการระบุว่า รูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็นปรมัตถ์
มีแต่สภาวะธรรม และการอธิบายสภาวะธรรมด้วยบัญญัติ
V
รูปปรมัตถ์ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ บัญญัติปรมัตถ์ ฯลฯ ...
จึงเป็นเพียงรูปแบบ บัญญัติในสมัยต่อลงมาอีก เพื่อให้นักศึกษาคันถะธุระศีกษาเพียงเท่านั้นเอง โดยต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่พุทธบัญญัติ แต่เป็นคำบัญญัติโดยอาจารย์ภายหลังเพื่อสะดวกแก่การสอน

เป็นเพราะผมมีสมาธิแยกแยะต่างหาก ส่วนอื่นๆในความเห็นของคุณ
มันเป็นเพียงความเห็นที่คุณพูดตามความเข้าใจของคุณเอง มันเป็นสิทธิ์ของคุณ
มันไม่เกี่ยวข้องกับพุทธพจน์อันเป็นประเด็นในหัวข้อกระทู้ของผม

ส่วนที่ผมเอามาแสดงความเห็นในกระทู้นี้ มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับพุทธพจน์
นั้นก็คือ......."ปรมฏฐ" กับ " ปรมตฺถ "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 02:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากเช่นนั้นแล้ว ยังมีผู้อาศัยสถานะของตน เอาโวหารคำว่า"ไม่ใช่พุทธวจน"
ไปปรามาสอรรถกถาจารย์และครูบาอาจารย์
แต่พอตัวเองแสดงความเห็นหรือสอนตามความเข้าใจของตน
มันไม่ได้เป็นไปตาม"พุทธวจน"ที่ตัวเองปรามาสสคนอื่นเลย

เห็นอยู่ตั้งหลายคลิป แต่ไม่อยากเอามาอ้างอิงแสดงความเห็น
กลัวผิดกฎของบอร์ด เดี๋ยวจะถูกข้อหาโจมตีสำนักอื่น :b13:

ไว้ว่างๆจะถอดเอามาแต่คำพูดเป็นตัวอักษร เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงบุคคลที่สาม
แต่ความจริงมันกล่าวได้อยู่แล้ว ออกสื่อซะขนาดนั้น

เช่นนั้นคงรู้น่ะว่า ผมหมายถึงใคร :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เป็นเพราะผมมีสมาธิแยกแยะต่างหาก ส่วนอื่นๆในความเห็นของคุณ
มันเป็นเพียงความเห็นที่คุณพูดตามความเข้าใจของคุณเอง มันเป็นสิทธิ์ของคุณ
มันไม่เกี่ยวข้องกับพุทธพจน์อันเป็นประเด็นในหัวข้อกระทู้ของผม

ส่วนที่ผมเอามาแสดงความเห็นในกระทู้นี้ มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับพุทธพจน์
นั้นก็คือ......."ปรมฏฐ" กับ " ปรมตฺถ "


เรียกว่า เลื่อนลอย ไม่อยู่กะร่องกะรอย
จับนู่นๆ นี่ๆ มาเพ้อๆ ฝันๆ
ไงโฮฮับ ....

ไม่รู้ว่าะจะต่อไปอย่างไร กับหัวข้อกระทู้ของตนเอง
จึง เอานู่นๆ นี่ๆ มาจ้อ อวดภูมิ เที่ยวแสดง แต่สิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสสอน ว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน

โฮฮับ แสดงความเห็นอย่างเลื่อนลอย ก็ต้องยอมรับว่า เลื่อนลอยนะโฮฮับ
ถ้าไม่เลื่อนลอยจริง
การกล่าวอ้างถึงว่า พระพุทธองค์สอนอย่างนู้น สอนอย่างนี้ กล่าวอย่างนู้นอย่างนี้
ต้องมีพระสูตรรองรับ

แต่
โฮฮับ ไม่สามารถ ยกพระสูตรมารองรับสิ่งที่โฮฮับแสดงออกมา

เช่น
อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
ปรมัตถ์ เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว เพื่อให้รู้ถึงธรรมะว่า แบ่งเป็นสอง
นั้นก็คือ ปรมัตถ์กับสมมุติ ปรมัตถ์คือสิ่งที่เกิดภายในกายใจ สมมุติคือสิ่งนอกกายใจ


จริงหรือไม่จริง โฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี
ส เว พาโลติ วุจฺจติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี
ส เว พาโลติ วุจฺจติ


ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้
ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=434&Z=478

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี
ส เว พาโลติ วุจฺจติ


ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้
ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=434&Z=478

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เป็นเพราะผมมีสมาธิแยกแยะต่างหาก ส่วนอื่นๆในความเห็นของคุณ
มันเป็นเพียงความเห็นที่คุณพูดตามความเข้าใจของคุณเอง มันเป็นสิทธิ์ของคุณ
มันไม่เกี่ยวข้องกับพุทธพจน์อันเป็นประเด็นในหัวข้อกระทู้ของผม

ส่วนที่ผมเอามาแสดงความเห็นในกระทู้นี้ มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับพุทธพจน์
นั้นก็คือ......."ปรมฏฐ" กับ " ปรมตฺถ "


เรียกว่า เลื่อนลอย ไม่อยู่กะร่องกะรอย
จับนู่นๆ นี่ๆ มาเพ้อๆ ฝันๆ
ไงโฮฮับ ....

เช่นนั้นตั้งสติแล้วค่อยๆพิจารณาว่า สิ่งที่เช่นนั้นพูด มันหมายถึงใครกันแน่
ความเห็นผมในกระทู้นี้ มีเพื่อชี้ให้เห็นว่า เช่นนั้นกำลังเลื่อนลอย
เป็นโมฆะบุรุษเอาโวหารมาปรามาสคนอื่น โดยหลงเขาใจว่าตนมีปัญญา
อันที่จริงมันก็คือการปรุงแต่งโวหารหรืออีกนัยหนึ่งก็คือความเพ้อฝัน

เช่นนั้นใช้โวหารอย่างเลื่อนลอย โวหารนั้นจึงย้อนกลับมาเล่นงานตัวเอง
แต่ด้วยความเป็นโมฆะบุรุษ หน่ำซ้ำตายังบอดอีกต่างหาก จึงยังไม่สำเหนียกสิ่งที่เกิดกับตน
ทางที่ตนกำลังเดินมีสิ่งกีดขวาง มองไม่เห็นเดินไปกระแทกแล้วกระแทกเล่า
ก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนทิศทาง

ผมว่า แทนที่จะมาแสดงอาการ เป็นอันธพาลใจเสาะ
เช่นนั้นเอาเหตุผลมาคุยกันดีกว่า ถ้ายังไม่รู้ว่าเหตุผลคืออะไร
จะแนะนำให้นั้นก็คือ ไปเอาเหตุผลมาแก้ในสิ่งที่ผมว่าเช่นนั้นว่า คุณเป็นโมฆะบุรุษ
หยิบเอา"กถาวัตถุปกรณ์"ในพระอภิธรรมมาโยงมั่ว เอาพุทธพจน์มาพูดโดยขาดความรู้
ไม่เข้าใจความหมายของพุทธพจน์


ถ้ายังไม่เข้าใจอีกว่าตนเองเลื่อนลอยอย่างไร นั้นก็คือ เอาบาลีแปลมาโยงมั่วกับบาลีพุทธพจน์
เพ้อฝันไปเองว่า.....ตัวเองเก่งกว่าอรรถกถาจารย์ วิจารณ์อรรถกถาจารย์ว่าแปลพุทธพจน์ผิด
ซึ่งในความเป็นจริง ตัวเองนั้นแหละที่ผิด แล้วผิดอย่างไร

อรรถกถาจารย์ท่านแปล...."เป็นปรมัตถ์" มาจาก "ปรมฏฐ" นั้นถูกต้องแล้ว
แต่เช่นนั้นเพ้อฝันเลื่อนลอย มั่วไปเองว่า "เป็นปรมัตถ์"หมายถึง....."ปรมตถ"
ทั้งหมดทั้งมวลเป็นเพราะ อ่านธรรมแล้วไม่ทำความเข้าใจกับตัวหนังสือที่อ่าน
แต่ดันไปท่องจำตัวหนังสือ พอเห็นตัวหนังสือที่คล้ายกัน ก็เลยคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน :b32:

เช่นนั้น เขียน:
ไม่รู้ว่าะจะต่อไปอย่างไร กับหัวข้อกระทู้ของตนเอง
จึง เอานู่นๆ นี่ๆ มาจ้อ อวดภูมิ เที่ยวแสดง แต่สิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสสอน
ว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน

เช่นนั้นก็รู้ว่า สิ่งที่ผมเอามาแสดงในกระทู้นี่มันเป็นเรื่องเดียวกัน
เพียงแต่เรื่องมันกระทบถึงเช่นนั้น เช่นนั้นจึงแสดงอาการเหมือน อันธพาลอ่อนหัด(ใจเสาะ)
ตัวเองไม่มีเหตุผลกับสิ่งที่ตัวกล่าว แถมไม่ยอมรับฟังเหตุของคนอื่น พาลพาโลไม่ได้ความ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

โฮฮับ แสดงความเห็นอย่างเลื่อนลอย ก็ต้องยอมรับว่า เลื่อนลอยนะโฮฮับ
ถ้าไม่เลื่อนลอยจริง
การกล่าวอ้างถึงว่า พระพุทธองค์สอนอย่างนู้น สอนอย่างนี้ กล่าวอย่างนู้นอย่างนี้
ต้องมีพระสูตรรองรับ

แต่
โฮฮับ ไม่สามารถ ยกพระสูตรมารองรับสิ่งที่โฮฮับแสดงออกมา



เช่นนั้นไม่มีสติใคร่ครวญธรรมครับ ติดอยู่กับทิฐิตัวเอง ไม่ยอมฟังในสิ่งที่คนอื่นเขาอธิบายความ
ผมไม่ได้กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอยเหมือนที่เช่นนั้นกำลังทำ ผมอธิบายไปหลายครั้งแล้วว่า
ความเห็นของผม เอามาจาก..อรรกถาบ้าง คำสอนของครูบาอาจารย์บ้าง
ซื่งคำสอนของท่านเหล่านั้น ก็เป็นการเอามาจากคำสอนของพุทธองค์อีกทอดหนึ่ง
ดังนั้นผมยังไม่เห็นว่า ผมเลื่อนลอยตรงไหน

ทั้งหลายแหล่ เป็นเช่นนั้นที่เลื่อนลอย คำกล่าวอ้างเลื่อนลอย คำแย้งก็เลื่อนลอย
เช่นนั้นชอบอ้างโวหาร"พุทธวจนะ" แต่ไม่สามารถเอาพุทธวจนะมาแสดง
แต่กลับจะมาเอา"พุทธวจน"กับคนที่แสดงความเห็นในเชิงอรรถกถาและคำสอนครูบาอาจารย์
แบบนี้เขาเรียกเลื่อนลอยเพ้อเจ้อไร้เหตุผลมั้ยเช่นนั้น

จะสรุปประเด็นนี้ให้ฟัง คนที่ต้องเอาพุทธวจนมาแสดง
ต้องเป็นเช่นนั้นหาใช่คนอื่นไม่

เช่นนั้น เขียน:
แต่
โฮฮับ ไม่สามารถ ยกพระสูตรมารองรับสิ่งที่โฮฮับแสดงออกมา เช่น
อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
ปรมัตถ์ เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว เพื่อให้รู้ถึงธรรมะว่า แบ่งเป็นสอง
นั้นก็คือ ปรมัตถ์กับสมมุติ ปรมัตถ์คือสิ่งที่เกิดภายในกายใจ สมมุติคือสิ่งนอกกายใจ


จริงหรือไม่จริง โฮฮับ

ก็เพราะแบบนี้ไงผมถึงเรียกคุณว่า โมฆะบุรุษ ชอบคุยในสิ่งที่ตัวไม่เข้าใจ ชอบอ้างในสิ่งที่ตัวไม่รู้

ถามหาพระสุตร เลื่อนลอยจริงๆ
ผมพูดว่า .....ปรมัตถ์เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว
มันต้องถามหา พุทธพจน์บาลี ไม่ใช่มาถามหาพระสูตร
ซึ่งผมก็ได้แสดงไปแล้ว นั้นก็คือ"ปรมตฺถ"

ส่วนเนื้อหาตามหลังบัญญัติ"ปรมัตถ์" เป็นการอธิบายหรือตอบคำถามหัวข้อกระทู้
ซึ่งมันเป็นเพียงความเห็นความเข้าใจเฉพาะบุคคล ผมไม่ได้อ้างว่า ความเห็นต่อท้ายเป็น
พุทธวจนหรือพุทธพจน์
ดังนั้นถ้าจะแย้งผมมันต้องเอาเหตุผลมาคัดง้าง ไม่ใช่เอาแต่เพียงว่า..."ไม่ใช่พุทธวจนๆๆๆๆ"
มันไร้เหตุผล มันเป็นคนล่ะเรื่อง

แต่สิ่งที่ผมถามหา"พุทธวน"จากคุณมันมีเหตุผลและมันเป็นเรื่องเดียวกัน
เพราะคุณอ้างด้วยการปรามาสคนอื่นไม่ใช่พุทธวจน
ดังนั้นคุณต้องเอาพุทธวจนมาแสดงว่า ความเห็นของคุณเป็นพุทธวจน :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 03:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:


ปากก็อ้างพุทธวจน แต่ดูทำเข้าซิ
เอาคำสอนครูบาอาจารย์มาเสียดสีชาวบ้าน
โมฆะบุรุษแท้หนอ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้นไม่มีสติใคร่ครวญธรรมครับ ติดอยู่กับทิฐิตัวเอง ไม่ยอมฟังในสิ่งที่คนอื่นเขาอธิบายความ
ผมไม่ได้กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอยเหมือนที่เช่นนั้นกำลังทำ ผมอธิบายไปหลายครั้งแล้วว่า
ความเห็นของผม เอามาจาก..อรรกถาบ้าง คำสอนของครูบาอาจารย์บ้าง
ซื่งคำสอนของท่านเหล่านั้น ก็เป็นการเอามาจากคำสอนของพุทธองค์อีกทอดหนึ่ง
ดังนั้นผมยังไม่เห็นว่า ผมเลื่อนลอยตรงไหน



เช่นนั้น เขียน:
แต่
โฮฮับ ไม่สามารถ ยกพระสูตรมารองรับสิ่งที่โฮฮับแสดงออกมา เช่น
อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
ปรมัตถ์ เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว เพื่อให้รู้ถึงธรรมะว่า แบ่งเป็นสอง
นั้นก็คือ ปรมัตถ์กับสมมุติ ปรมัตถ์คือสิ่งที่เกิดภายในกายใจ สมมุติคือสิ่งนอกกายใจ


จริงหรือไม่จริง โฮฮับ


เลื่อนลอยมาหลายหนแระ...โฮฮับ
เมื่อไหร่ จะยกพระสูตรออกมา โฮฮับ

หรือ ไปโทษครูอาจารย์ พูดผิด สอนผิด ถ้าโฮฮับมั่ว ก็เพราะครูอาจารย์มั่ว โฮฮับเลยมั่วตาม
หรือ ที่ยกไม่ได้ เพราะ โฮฮับ มั่วมาตลอด huh

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2013, 04:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราเรียกการสอนธรรมของพระพุทธเจ้าว่า .........เทศนา
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหรือเทศนา แบ่งออกเป็นสองลักษณะ
นั้นก็คือ บุคคลาธิษฐานเทศนาและธรรมาธิษฐานเทศนา

บุคลาธิษฐานเทศนา คือการสอนด้วยการยกเอาตัวบุคคลมาเป็นที่ตั้งหรืออ้างอิง ด้วยการกล่าว
เป็นไปในทางโวหาร เราจะเรียกบุคลาธิษฐานว่าเป็น เทศนาโวหารก็ได้

ส่วนธรรมาธิษฐานเทศนา คือการเอาธรรมมาเป็นที่ตั้ง เทศนาให้รู้ถึง สภาวะธรรมที่เกิดในกายใจ

ถ้าเอาเทศนา๒นี้ไปเทียบกับพระธรรมวินัย บุคลาธิษฐานฯ จะอยู่ในพระวินัยกับพระสูตร
ธรรมาธิษฐานจะอยู่ในส่วนที่เป็นพระอภิธรรม

ดังนั้นสรุปความ คำสอนที่เกี่ยวกับพระธรรม บุคคลาธิษฐานฯจึงเป็น สมมุตสัจจะ
ธรรมาธิษฐานเป็นปรมัตถ์สัจจะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2013, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เราเรียกการสอนธรรมของพระพุทธเจ้าว่า .........เทศนา
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหรือเทศนา แบ่งออกเป็นสองลักษณะ
นั้นก็คือ บุคคลาธิษฐานเทศนาและธรรมาธิษฐานเทศนา

บุคลาธิษฐานเทศนา คือการสอนด้วยการยกเอาตัวบุคคลมาเป็นที่ตั้งหรืออ้างอิง ด้วยการกล่าว
เป็นไปในทางโวหาร เราจะเรียกบุคลาธิษฐานว่าเป็น เทศนาโวหารก็ได้

ส่วนธรรมาธิษฐานเทศนา คือการเอาธรรมมาเป็นที่ตั้ง เทศนาให้รู้ถึง สภาวะธรรมที่เกิดในกายใจ

ถ้าเอาเทศนา๒นี้ไปเทียบกับพระธรรมวินัย บุคลาธิษฐานฯ จะอยู่ในพระวินัยกับพระสูตร
ธรรมาธิษฐานจะอยู่ในส่วนที่เป็นพระอภิธรรม

ดังนั้นสรุปความ คำสอนที่เกี่ยวกับพระธรรม บุคคลาธิษฐานฯจึงเป็น สมมุตสัจจะ
ธรรมาธิษฐานเป็นปรมัตถ์สัจจะ

แถออกไปอีก

โฮฮับ เขียน:
ปรมัตถ์ เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว เพื่อให้รู้ถึงธรรมะว่า แบ่งเป็นสอง
นั้นก็คือ ปรมัตถ์กับสมมุติ ปรมัตถ์คือสิ่งที่เกิดภายในกายใจ สมมุติคือสิ่งนอกกายใจ


จะแถ จะแถกอย่างไร

ก็หาพระสูตรมายืนยันสิ่งที่ โฮฮับแสดงไว้ก่อน

อย่าแถออกไปอธิบายอย่างอื่น โฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของอัตถะ๒ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรมัตถ์และสมมุติบัญญัติ

๑.เนยยัตถะ.... พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง
เช่นที่ตรัสเรื่องเกี่ยวกับบุคคล ตัวตนฯลฯ

๒. นีตัตถะ......มีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์
ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ เช่นที่ตรัสเรื่องสภาวะขันธ์ห้าฯลฯ

อัตถะเกี่ยวข้องกับคำสอนของพระพุทธองค์อย่างไร นั้นก็คือในธรรมวินัยนั้น

แบ่งลักษณะคำพูดหรือพุทธพจน์ออกเป็นสองลักษณะ นั้นคือ

สมมุติบัญญัติ อันมีความหมายตรงกับ เนยยัตถะ

และปรมัตถ์บัญญัติ มีความหมายตรงกับ นีตัตถะ

พิจารณาโดยความหมายแล้ว พุทธพจน์ที่ทรงใช้ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่อง
สภาวะที่แสดงโดยชัดแจ้ง นั้นก็คือ สภาวะภายในกายใจ....นีตัตถะ

และอีกหนึ่งก็คือ พุทธพจน์ที่กล่าวถึงบัญญัติทั่วไป อันเกี่ยวกับบุคคลหรือเรื่องราวต่างๆ
นั้นคือเป็นเรื่องอันเป็นธรรมนอกกายใจ.......เนยยัตถะ

สรุป ปรมัตถ์บัญญัติ เป็นพุทธพจน์ที่กล่าวถึง สภาวะภายในกายใจของบุคคล
สมมุติบัญญัติ เป็นพุทธพจน์ที่กล่าวถึง เรื่องราวต่างๆของบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องนอกกายใจ

ถ้าเราจะเปรียบเทียบพระไตรปิฎกในลักษระของพุทธพจน์
พระวินัยเป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ
พระสูตรเป็นเรื่องของ สมมุติบัญญัติและปรมัตถ์บัญญัติ
พระอภิธรรมเป็นเรื่องปรมัตถ์บัญญัติ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร