วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2013, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:
s006
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง
... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน


:b10:
น่าสังเกตตรงนี้นะครับ ว่า ท่านถอนออกจากฌาณมาพิจารณา หรือยู่ในฌาณนั้น พิจารณาธรรม

อีกตัวอย่างเช่น ตอนอยู่ในฌาณ 4 คือเป็นเอกัคตารมณ์ จิตเป็น 1 เดียวอยู่ จะมีการพิจารณาได้อย่างไร

ต้องถอยลงมาพิจารณาในฌาณ 1 ซึ่งมีวิตกวิจารณ์ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า .....กรุณาาช่วยอธิบายด้วยครับ

:b8:

ตอนที่ Asoka หายใจเข้าสุดๆ แล้วไม่หายใจออก Asoka เห็นแจ้งข้อธรรมอะไรไหม

:b12: :b12: :b12:
เห็นทุกขัง......ความทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ครับ.........ต้องเปลี่ยนแปลง..(อนิจจัง).......พอพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ก็เห็นความบังคับไม่ได้ ของลมหายใจเข้าออก (อนัตตา) ครับ
:b8:

ตอนเห็นทุกขัง จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหมฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2013, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับทุก ๆ ท่านที่น่ารัก

๑.อวิชชามีอาหาร อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕
จะละอวิชชา ต้องกำจัดอาหารของอวิชชาเเสียก่อน
วิปัสสนาทำหน้าที่ละราคะ โทสะ โมหะ และนิวรณ์ ๕
อวิชชา ย่อมดับไปเพราะ วิชชา เกิดขึ้น
ยังไม่ละนิวรณ์ ๕ อยู่ตราบใด วิปัสสนาย่อมยังไม่มีอยู่ตราบนั้น

๒.สุขวิปัสสโก เป็นผล ไม่ใช่เหตุ
พระอรหันต์สุขวิปัสสโก คือ อรหัตตผลจิต ที่มีฌาน ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ เป็นบาท
การปฏิบัติแบบไม่เอาฌานหรือการปฏิบัติแบบสุขวิปัสสโกจึงไม่มีในโลก เพราะสัมมาสมาธิเริ่มที่ปฐมฌาน
โสดาปัตตมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต อรหัตตมัคคจิตเป็นเหตุ ไม่ใช่ผล

๓.สมถะและวิปัสสนา เกิดร่วมเกิดพร้อมในจิตดวงเดียวกันเสมอ

๔.เพราะวิปัสสนาทำหน้าที่ละราคะ โทสะ โมหะ และนิวรณ์ ๕ ได้ จึงมีสมถะภายหลัง แต่เกิดก่อนหลังในจิตดวงเดียวกัน
สมถะละกามสัญญา เพ่งรูปสัญญา จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายบรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุขและเอกคตารมณ์ ปฐมฌานมีทั้ง สมถะและวิปัสสนา

๕.สมถะเพ่งอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ก่อน วิปัสสนาละวิตก วิจาร เข้าสู่ทุติยฌาน มีปีติ สุข และเอกคตารมณ์
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนามีภายหลังในจิตดวงเดียวกัน ทุติยฌานมีทั้ง สมถะและวิปัสสนา

๖.สมถะเพ่งอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ก่อน วิปัสสนาละปีติ เข้าสู่ตติยฌาน มีสุขและเอกคตารม์
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนามีภายหลังในจิตดวงเดียวกัน ตติยฌานมีทั้ง สมถะและวิปัสสนา

๗.สมถะเพ่งอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ก่อน วิปัสสนาละสุขละทุกข์เสียได้ เข้าสู่จตุตถฌาน มีเอกคตารมณ์เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว สมถะเกิดก่อน วิปัสสนามีภายหลังในจิตดวงเดียวกัน จตุตถยฌานมีทั้ง สมถะและวิปัสสนา

๘.สมถะละรูปสัญญา เพ่งอากาสานัญจายตนสัญญาเป็นอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ วิปัสสนาก็ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา และมนสิการอากาสานัญจายตนสัญญา เข้าสู่อากาสานัญจายตนฌาน มีเอกคตารมณ์เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป อากาสานัญจายตนฌานมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๙.สมถะละอากาสานัญจายตนสัญญา เพ่งวิญญานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาก็ละอากาสานัญจายตนสัญญา และมนสิการวิญญานัญจายตนสัญญา เข้าสู่วิญญานัญจายตนฌาน มีเอกคตารมณ์เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป วิญญานัญจายตนฌานมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๑๐.สมถะละวิญญานัญจายตนสัญญา เพ่งอากิญจัญญายตนสัญญา วิปัสสนาก็ละวิญญานัญจายตนสัญญา และมนสิการอากิญจัญญายตนสัญญา เข้าสู่อากิญจัญญายตนฌาน มีเอกคตารมณ์เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป อากิญจัญญายตนฌานมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๑๑.สมถะละอากิญจัญญายตนสัญญา เพ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา วิปัสสนาก็ละอากิญจัญญายตนสัญญา และมนสิการเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีเอกคตารมณ์เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๑๒.โสดาปัตตมัคคจิต สมถะละโลกียสัญญา เพ่งโลกุตตระธรรมคืออริยสัจ ๔ วิปัสสนาก็ละะราคะ โทสะ โมหะ ละนิวรณ์ ๕ ละสังโยชน์ ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส และมนสิการอริยสัจ ๔ เข้าสู่ปฐมฌานฌาน หรือทุติยฌาน หรือตติยฌาน หรือจตุตถฌานชนิดโลกุตตระฌาน อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป โสดาปัตตมัคคจิตมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๑๓.สกทาคามีมัคคจิต สมถะละโลกียสัญญา เพ่งโลกุตตระธรรมคืออริยสัจ ๔ วิปัสสนาก็ละะราคะ โทสะ โมหะ ละนิวรณ์ ๕ ละสังโยชน์ ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทให้บางเบา และมนสิการอริยสัจ ๔ เข้าสู่ปฐมฌานฌาน หรือทุติยฌาน หรือตติยฌาน หรือจตุตถฌานชนิดโลกุตตระฌาน อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป สกทาคามีมัคคจิตมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๑๔.อนาคามีมัคคจิต สมถะละโลกียสัญญา เพ่งโลกุตตระธรรมคืออริยสัจ ๔ วิปัสสนาก็ละะราคะ โทสะ โมหะ ละนิวรณ์ ๕ ละสังโยชน์ ๕ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทให้หมดสิ้น และมนสิการอริยสัจ ๔ เข้าสู่ปฐมฌานฌาน หรือทุติยฌาน หรือตติยฌาน หรือจตุตถฌานชนิดโลกุตตระฌาน อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป อนาคามีมัคคจิตมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๑๕.อรหัตตมัคคจิต สมถะละโลกียสัญญา เพ่งโลกุตตระธรรมคืออริยสัจ ๔ วิปัสสนาก็ละะราคะ โทสะ โมหะ ละนิวรณ์ ๕ ละสังโยชน์ ๑๐ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส ละกามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาให้หมดสิ้น และมนสิการอริยสัจ ๔ เข้าสู่ปฐมฌานฌาน หรือทุติยฌาน หรือตติยฌาน หรือจตุตถฌานชนิดโลกุตตระฌาน อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป อรหัตตมัคคจิตมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

๑๖.โสดาปัตตมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต อรหัตตมัคคจิต เป็นขันธ์เหตุ
ปฏิบัติธรรมต้องเริ่มที่ขันธ์เหตุโดยตรง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=9041&Z=9145&pagebreak=0

วิปัสสนา ก็เป็นฌาน อยู่แล้ว

วิปัสสนา ไม่เป็นฌาน และฌานก็ไม่ใช้วิปัสสนา

ฌานกับวิปัสสนา เป็นคนละสภาวะกัน

ฌานกับกับวิปัสนาเกี่ยวข้องกันอย่างไร กับพระสูตรที่เอามาอ้าง
นั้นก็คือการ ใช้อารมณ์ฌามมาเดินวิปัสสนา ฌานที่มาเดินวิปัสสนาเป็นสัญญา
จึงไม่ใช่วิปัสสนา


โฮฮับ ไม่รู้จักแม้กระทั่งขันธ์ 5
โพธิปักขิยธรรม
ปฏิจสมุปบาท
รูปฌาน 1-4
อรูปฌาน ทั้ง 4

ย่อมไม่รู้จัก

แม้สภาวะธรรม ที่เป็นฌาน ....

ก็เลยคิดเองเออเองว่า เดินไปๆมาๆ ........อย่ามั่วเลยโฮฮับ

ผมน่ะรู้จักดีครับ ถ้าไม่รู้จะทำให้เช่นนั้นไปไม่ถูก จนหัวชนฝาแบบนี้หรือ :b9:


โฮฮับแถไงโฮฮับแถก ไปเรื่อยๆ :b17:

ถ้าเช่นนั้นไม่แถ คงไม่เอาความเห็นเชยๆแบบนั้นมาอ้างหรอกครับ

ถ้ารู้จริง ผมถามหน่อย ฌานกับณาน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
ถ้าเราพูดถึงฌานกับญาน มรรคเกี่ยวข้องอย่างไรกับธรรมสองตัวนี้?
ขันธ์ห้าเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับฌานและญาน?

ง่ายๆแค่นี้ก่อน อธิบายได้มั้ย :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:

ตอนที่ Asoka หายใจเข้าสุดๆ แล้วไม่หายใจออก Asoka เห็นแจ้งข้อธรรมอะไรไหม

:b12: :b12: :b12:
เห็นทุกขัง......ความทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ครับ.........ต้องเปลี่ยนแปลง..(อนิจจัง).......พอพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ก็เห็นความบังคับไม่ได้ ของลมหายใจเข้าออก (อนัตตา) ครับ
:b8:

ตอนเห็นทุกขัง จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหมฮับ

ก่อนที่จะพากันเละทั้งคู่ ขอสอดหน่อยเถอะ :b32:

คุณโสกะกำลังเข้าใจผิดในเรื่องลมหายใจ เลยเอาความเข้าใจผิดมาถามแบบผิดๆ
คุณเช่นนั้นไม่รู้ว่า ที่คุณโสกะแกถาม มันไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดสภาวะแบบนั้น
ก็ด้วยที่แกไม่รู้ นึกว่ามันมีก็เลยพากันเอาคำศัพท์มาจินตนาการเอาเอง :b32:

สิ่งที่คุณโสกะกำลังเข้าใจผิดนั้นก็คือ ลมหายใจ
ลมหายใจเป็น...ธรรมฐิติ ไม่ใช่ธรรมนิยาม
ลมหายใจเป็นกองทุกข์ในปฏิจจสมุบาท แต่ทุกขังเป็นทุกข์ในขันธ์ห้า


ที่คุณโสกะบบอกว่า..."เห็นทุกขัง...ความทนอยู่ไม่ได้"
คุณโสกะเอาคำพูดนี้มาจากการโยงเรื่องลมหายใจ มันเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก

ลมหายใจ เป็นรูปธรรม ส่วนทุกขังหรือความทนอยู่ไม่ได้ เป็นนามธรรม

ลมหายใจไม่ใช่สังขาร มันจึงไม่ใช่ทุกขังและอนิจจัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 08:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


การวิปัสนาทำได้เลยไม่ต้องมีฌานก็ทำได้เลยเพราะการวิป้สนานั้นจะเป็นสัมมาสมาธิจะทำให้บรรลุปฐมฌานเป็นอย่างน้อย การบรรลุธรรมนั้นอย่างน้อยต้องบรรลุปฐมฌานแม้จะเป็นช่วงสั้นๆ และอาจจะไม่สามารถเข้าฌานได้อีกเลยก็เป็นอริยบุคคลได้ การบรรลุธรรมไม่ได้หมายความว่าจะต้องได้ฌานก่อน หรือว่าไม่อาศัยฌานเลย ต้องอาศัยฌานก่อนเพราะจะต้องดับนิวรณ์ก่อนอาจเป็นช่วงขณะจิตเดียวก็ได้ และคนได้ฌานก่อนไม่ใช่ว่าจะบรรลุธรรมได้ทุกคน(ถ้าขาดการฟังธรรมที่ถูกต้องและพิจารณาธรรมตามความเป็นจริง(วิปัสนา)


แก้ไขล่าสุดโดย amazing เมื่อ 10 ก.ค. 2013, 15:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=9041&Z=9145&pagebreak=0

วิปัสสนา ก็เป็นฌาน อยู่แล้ว

วิปัสสนา ไม่เป็นฌาน และฌานก็ไม่ใช้วิปัสสนา

ฌานกับวิปัสสนา เป็นคนละสภาวะกัน

ฌานกับกับวิปัสนาเกี่ยวข้องกันอย่างไร กับพระสูตรที่เอามาอ้าง
นั้นก็คือการ ใช้อารมณ์ฌามมาเดินวิปัสสนา ฌานที่มาเดินวิปัสสนาเป็นสัญญา
จึงไม่ใช่วิปัสสนา


โฮฮับ ไม่รู้จักแม้กระทั่งขันธ์ 5
โพธิปักขิยธรรม
ปฏิจสมุปบาท
รูปฌาน 1-4
อรูปฌาน ทั้ง 4

ย่อมไม่รู้จัก

แม้สภาวะธรรม ที่เป็นฌาน ....

ก็เลยคิดเองเออเองว่า เดินไปๆมาๆ ........อย่ามั่วเลยโฮฮับ

ผมน่ะรู้จักดีครับ ถ้าไม่รู้จะทำให้เช่นนั้นไปไม่ถูก จนหัวชนฝาแบบนี้หรือ :b9:


โฮฮับแถไงโฮฮับแถก ไปเรื่อยๆ :b17:

ถ้าเช่นนั้นไม่แถ คงไม่เอาความเห็นเชยๆแบบนั้นมาอ้างหรอกครับ

ถ้ารู้จริง ผมถามหน่อย ฌานกับณาน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
ถ้าเราพูดถึงฌานกับญาน มรรคเกี่ยวข้องอย่างไรกับธรรมสองตัวนี้?
ขันธ์ห้าเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับฌานและญาน?

ง่ายๆแค่นี้ก่อน อธิบายได้มั้ย :b9:

ขี้เกียจอธิบาย กับโฮฮับผู้เขียนเนวสัญญานาสัญญายตนะญาณ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 18:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:
s006
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง
... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน


:b10:
น่าสังเกตตรงนี้นะครับ ว่า ท่านถอนออกจากฌาณมาพิจารณา หรือยู่ในฌาณนั้น พิจารณาธรรม

อีกตัวอย่างเช่น ตอนอยู่ในฌาณ 4 คือเป็นเอกัคตารมณ์ จิตเป็น 1 เดียวอยู่ จะมีการพิจารณาได้อย่างไร

ต้องถอยลงมาพิจารณาในฌาณ 1 ซึ่งมีวิตกวิจารณ์ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า .....กรุณาาช่วยอธิบายด้วยครับ

:b8:

ตอนที่ Asoka หายใจเข้าสุดๆ แล้วไม่หายใจออก Asoka เห็นแจ้งข้อธรรมอะไรไหม


อโศกะ ....ตอบ
:b12: :b12: :b12:
เห็นทุกขัง......ความทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ครับ.........ต้องเปลี่ยนแปลง..(อนิจจัง).......พอพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ก็เห็นความบังคับไม่ได้ ของลมหายใจเข้าออก (อนัตตา) ครับ
:b8:

ตอนเห็นทุกขัง จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหมฮับ

:b27:
ในการเจริญสติปัญญาพิจารณาปัจจุบันอารมณ์อยู่นั้น จะไม่มีการทรงอารมณ์ เหมือนสมถะภาวนา....เพราะปัจจุบันอารมณ์นั้น เกิดขึ้นและดับไป เปลี่ยนไปเร็วมาก สติ ปัญญา มีหน้าที่ รู้ทัน และสังเกตอารมณ์ที่กำลัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และปรวนแปรไปนั้น ให้ได้ปัจจุบันทุกๆอารมณ์เท่านั้นเอง

ตัวอย่างจากเรื่องการหายใจ

พอหายใจเข้าสุด ไม่หายใจออก อารมณ์แรก คือ อึดอัด.....ต่อไปคือดิ้นรน...ต่อไปคือ...อยากหายใจออก...
....ต่อไปคิดอยากทดสอบ....ต่อไป ตั้งใจกลั้นหายใจ....ต่อไปกระวนกระวาย....ต่อไป ทุรนทุราย....ต่อไป ขัดเคืองเพราะถูกบังคับไม่ให้หายใจ....ต่อไปดิ้นรนจนเกือบถึงที่สุด....
ต่อไปคือ.....ทนไม่ได้(ทุกขัง).....ต่อไปคือ หายใจออก.......ดังนี้เป็นต้น

ที่ลำดับมาให้อ่านดูนี้เวลาเกิดจริงๆ ชั่วไม่ถึง 1 นาฑีครับ

หลังจากนั้นการธรรมะวิจัย และการใคร่ครวญธรรม จะมาอธิบายตนเองว่า ตอนนั้น เป็นทุกขัง....ตอนนั้นเป็น อนิจจัง......แล้วทั้งหมดมาสิ้นสุดที่ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ตอนเห็นทุกขัง จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหมฮับ


ในการเจริญสติปัญญาพิจารณาปัจจุบันอารมณ์อยู่นั้น จะไม่มีการทรงอารมณ์ เหมือนสมถะภาวนา....เพราะปัจจุบันอารมณ์นั้น เกิดขึ้นและดับไป เปลี่ยนไปเร็วมาก สติ ปัญญา มีหน้าที่ รู้ทัน และสังเกตอารมณ์ที่กำลัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และปรวนแปรไปนั้น ให้ได้ปัจจุบันทุกๆอารมณ์เท่านั้นเอง

ตัวอย่างจากเรื่องการหายใจ

พอหายใจเข้าสุด ไม่หายใจออก อารมณ์แรก คือ อึดอัด.....ต่อไปคือดิ้นรน...ต่อไปคือ...อยากหายใจออก...
....ต่อไปคิดอยากทดสอบ....ต่อไป ตั้งใจกลั้นหายใจ....ต่อไปกระวนกระวาย....ต่อไป ทุรนทุราย....ต่อไป ขัดเคืองเพราะถูกบังคับไม่ให้หายใจ....ต่อไปดิ้นรนจนเกือบถึงที่สุด....
ต่อไปคือ.....ทนไม่ได้(ทุกขัง).....ต่อไปคือ หายใจออก.......ดังนี้เป็นต้น

ที่ลำดับมาให้อ่านดูนี้เวลาเกิดจริงๆ ชั่วไม่ถึง 1 นาฑีครับ

หลังจากนั้นการธรรมะวิจัย และการใคร่ครวญธรรม จะมาอธิบายตนเองว่า ตอนนั้น เป็นทุกขัง....ตอนนั้นเป็น อนิจจัง......แล้วทั้งหมดมาสิ้นสุดที่ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

:b8:

ถามสั้นๆ ครับ ASOKA
ตอนเห็นทุกขัง จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหม...?
ASoka ไปถึงไหนกันล่ะครับ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 02:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เห็นทุกขัง......ความทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ครับ.........ต้องเปลี่ยนแปลง..(อนิจจัง).......พอพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ก็เห็นความบังคับไม่ได้ ของลมหายใจเข้าออก (อนัตตา) ครับ

มันไม่ใช่เห็นทุกขัง ทุกขังเป็นญานรู้ อันเกิดจากการเห็น การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสังขาร
หรือการเกิดดับของอารมณ์ สังขารเป็นเหตุ ทุกขังเป็นผล
asoka เขียน:
ในการเจริญสติปัญญาพิจารณาปัจจุบันอารมณ์อยู่นั้น จะไม่มีการทรงอารมณ์ เหมือนสมถะภาวนา....เพราะปัจจุบันอารมณ์นั้น เกิดขึ้นและดับไป เปลี่ยนไปเร็วมาก สติ ปัญญา มีหน้าที่ รู้ทัน และสังเกตอารมณ์ที่กำลัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และปรวนแปรไปนั้น ให้ได้ปัจจุบันทุกๆอารมณ์เท่านั้นเอง


ต่อให้พระอรหันต์ก็ดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสังขารหรืออารมณ์ไม้ทันหรอกครับ
ที่ท่านรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ไม่ใช่รู้ปัจจุบัน
ท่านรู้ด้วยญาน เป็นการรู้ตามหลัง อารมณ์ที่พึ่งดับไป
asoka เขียน:
ตัวอย่างจากเรื่องการหายใจ
พอหายใจเข้าสุด ไม่หายใจออก อารมณ์แรก คือ อึดอัด.....ต่อไปคือดิ้นรน...ต่อไปคือ...อยากหายใจออก...
....ต่อไปคิดอยากทดสอบ....ต่อไป ตั้งใจกลั้นหายใจ....ต่อไปกระวนกระวาย....ต่อไป ทุรนทุราย....ต่อไป ขัดเคืองเพราะถูกบังคับไม่ให้หายใจ....ต่อไปดิ้นรนจนเกือบถึงที่สุด....
ต่อไปคือ.....ทนไม่ได้(ทุกขัง).....ต่อไปคือ หายใจออก.......ดังนี้เป็นต้น

ที่ลำดับมาให้อ่านดูนี้เวลาเกิดจริงๆ ชั่วไม่ถึง 1 นาฑีครับ

หลังจากนั้นการธรรมะวิจัย และการใคร่ครวญธรรม จะมาอธิบายตนเองว่า ตอนนั้น เป็นทุกขัง....ตอนนั้นเป็น อนิจจัง......แล้วทั้งหมดมาสิ้นสุดที่ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

การปฏิบัติแบบที่คุณโสกะ กำลังทำมันผิดหลักมาแต่ต้นแล้วครับ
หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ท่านให้ดู...จิตสังขาร
แต่ที่คุณโสกะทำอยู่ เขาเรียก..กายสังขาร
ผลที่ได้มันจึงเป็นการปรุงแต่งของจิตครับ

ที่บอกสรุปว่า บังคับบัญชาไม่ได้ก็ไม่ใช่ครับ ก็เพราะจิตคุณกำลังบังคับกายอยู่นั้นไงครับ
การบังคับไม่ได้หมายถึงจิตสังขาร ไม่ใช่กายสังขาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 21:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
อ้างคำพูด:
ถามสั้นๆ ครับ ASOKA
ตอนเห็นทุกขัง จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหม...?
ASoka ไปถึงไหนกันล่ะครับ ^ ^

s006 s006 s006
ผมคงไม่เข้าใจคำถามจริงๆหละครับ
grin
ตามสภาวะในจิต พอความทนไม่ได้เกิดขึ้นสติรู้ทันปัญญารู้อารมณ์.....อารมณ์นั้นก็ต้องเปลี่ยนไปทันทีสู่อารมณ์ใหม่.....ผมจึงไม่เข้าใจตรงคำที่ว่า จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหม...?

การมาบอกว่าเห็นทุกขังนั้นเป็นคำพูดทีเกิดหลังจากการวิเคราะห์ วิจัยธรรม คือมาถามตนเองว่า ไอ้ที่ทนไม่ได้นั้น ภาษาบาลีท่านเรียกว่าอะไร ก็มันไปตรงกับคำว่า ทุกขัง จึงพูดว่าเห็นทุกขัง

จะลองเปลียนคำถามใหม่ดูอีกสักหน่อยไหมครับ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 22:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
เห็นทุกขัง......ความทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ครับ.........ต้องเปลี่ยนแปลง..(อนิจจัง).......พอพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ก็เห็นความบังคับไม่ได้ ของลมหายใจเข้าออก (อนัตตา) ครับ

มันไม่ใช่เห็นทุกขัง ทุกขังเป็นญานรู้ อันเกิดจากการเห็น การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสังขาร
หรือการเกิดดับของอารมณ์ สังขารเป็นเหตุ ทุกขังเป็นผล
asoka เขียน:
ในการเจริญสติปัญญาพิจารณาปัจจุบันอารมณ์อยู่นั้น จะไม่มีการทรงอารมณ์ เหมือนสมถะภาวนา....เพราะปัจจุบันอารมณ์นั้น เกิดขึ้นและดับไป เปลี่ยนไปเร็วมาก สติ ปัญญา มีหน้าที่ รู้ทัน และสังเกตอารมณ์ที่กำลัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และปรวนแปรไปนั้น ให้ได้ปัจจุบันทุกๆอารมณ์เท่านั้นเอง


ต่อให้พระอรหันต์ก็ดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสังขารหรืออารมณ์ไม้ทันหรอกครับ
ที่ท่านรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ไม่ใช่รู้ปัจจุบัน
ท่านรู้ด้วยญาน เป็นการรู้ตามหลัง อารมณ์ที่พึ่งดับไป
asoka เขียน:
ตัวอย่างจากเรื่องการหายใจ
พอหายใจเข้าสุด ไม่หายใจออก อารมณ์แรก คือ อึดอัด.....ต่อไปคือดิ้นรน...ต่อไปคือ...อยากหายใจออก...
....ต่อไปคิดอยากทดสอบ....ต่อไป ตั้งใจกลั้นหายใจ....ต่อไปกระวนกระวาย....ต่อไป ทุรนทุราย....ต่อไป ขัดเคืองเพราะถูกบังคับไม่ให้หายใจ....ต่อไปดิ้นรนจนเกือบถึงที่สุด....
ต่อไปคือ.....ทนไม่ได้(ทุกขัง).....ต่อไปคือ หายใจออก.......ดังนี้เป็นต้น

ที่ลำดับมาให้อ่านดูนี้เวลาเกิดจริงๆ ชั่วไม่ถึง 1 นาฑีครับ

หลังจากนั้นการธรรมะวิจัย และการใคร่ครวญธรรม จะมาอธิบายตนเองว่า ตอนนั้น เป็นทุกขัง....ตอนนั้นเป็น อนิจจัง......แล้วทั้งหมดมาสิ้นสุดที่ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้


การปฏิบัติแบบที่คุณโสกะ กำลังทำมันผิดหลักมาแต่ต้นแล้วครับ
หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ท่านให้ดู...จิตสังขาร
แต่ที่คุณโสกะทำอยู่ เขาเรียก..กายสังขาร
ผลที่ได้มันจึงเป็นการปรุงแต่งของจิตครับ

ที่บอกสรุปว่า บังคับบัญชาไม่ได้ก็ไม่ใช่ครับ ก็เพราะจิตคุณกำลังบังคับกายอยู่นั้นไงครับ
การบังคับไม่ได้หมายถึงจิตสังขาร ไม่ใช่กายสังขาร

:b8:
ขอบคุณคุณโฮฮับที่มาช่วยวิพากษ์วิจารณ์....แต่ผมอ่านและพิจารณาแล้วเห็นคุณโฮฮับมาบอกว่านั่นผิด นี่ถูกอยู่เรื่อยๆเลย.....ผมว่าให้ผู้อ่านท่านตัดสินกันดีกว่านะครับ ส่วนผมแล้วผมไม่เชื่อคำแนะนำของคุณโฮฮับแล้วครับ....เพราะมันดูวกวน ไม่รู้เรื่องครับ
:b12: :b12: :b12:
เอาแค่คำนี้....หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ท่านให้ดู...จิตสังขาร

อันนี้ก็ฟังแปลกแล้ว....สติปัญญายังหยาบๆอยู่ แล้วให้ไปดู จิตสังขาร มันจะเห็นกันหรือครับ.....เขาไม่ใช่บอกว่า เมื่อตอนเริ่มต้น ให้ดูที่กาย อันเป็นของหยาบก่อน แล้วค่อยลึกลงไปสู่ เวทนา จิต ธรรม อันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนลึกซึ้งขึ้นไปตามลำดับ
:b7:
อีกสักประโยคหนึ่งที่ฟังดูทะแม่งทะแม่ง

:b3:
อ้างคำพูด:
ที่บอกสรุปว่า บังคับบัญชาไม่ได้ก็ไม่ใช่ครับ ก็เพราะจิตคุณกำลังบังคับกายอยู่นั้นไงครับ
การบังคับไม่ได้หมายถึงจิตสังขาร ไม่ใช่กายสังขาร


คุณโฮฮับหายใจเข้าสุดแล้ว......ถึงแม้จะตั้งใจบังคับไม่ให้มันเปลี่ยนแปลงเพียงไร แต่มันก็บังคับไม่ได้ ในที่สุดก็ต้อง หายใจออก..........ตรงนี้แหละที่เขาเรียกว่า อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้....และไอ้ที่กำลังหายใจเข้าออกนั่นหนะมันเป็นอาการของกาย ซึ่งบังคับไม่ได้ ไม่ใช่จิตสังขารอะไรอย่างที่คุณโฮฮับว่ามานะครับ

่คำพูดที่คุณโฮฮับบอกว่า ก็เพราะจิตคุณกำลังบังคับกายอยู่นั้นไงครับ....แล้วจริงๆมันบังคับได้หรือเปล่าล่ะครับ?.....อนัตตา มันต้องชัดตรงนี้มากกว่ากระมังครับ
:b34:
คำพูดท่อนนี้ก็เช่นกัน.....มันยังส่อแสดงว่า คุณโฮฮับนั้นเก่งกว่าพระอรหันต์เพราะไปรู้วาระจิตของท่านได้หมด

ต่อให้พระอรหันต์ก็ดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสังขารหรืออารมณ์ไม้ทันหรอกครับ
ที่ท่านรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ไม่ใช่รู้ปัจจุบัน
ท่านรู้ด้วยญาน เป็นการรู้ตามหลัง อารมณ์ที่พึ่งดับไป

grin
ไอ้ที่ว่าพระอรหันต์ฺไม่รู้ทันปัจจุบัน แต่รู้ด้วยญาน.....นี่ก็ฟังดูทะแม่งๆเช่นกันด้วยนะครับ

ถ้าพูดอย่างคุณโฮว่านี้ใช่......บทภัทเทกรัตคาถา ที่พระบรมศาสดาทรงตรัสไว้ ก็หมดความหมายไปเลยล่ะซิครับ

"ปัจจุปันนัญจะ โยธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสติ อสังหิรัง อะสังกุปปัง ตังวิทธรา มนุพรูห์เย"

ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

นี่พระองค์ทรงสอนปุถุชนให้รู้ทันปัจจุบัน.....แล้วพระอริยเจ้าทั้งหลาย จนถึงพระอรหันต์ ท่านไม่ใช่จะมีแต่ชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันอารมณ์หรือครับ
grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s006
อ้างคำพูด:
ถามสั้นๆ ครับ ASOKA
ตอนเห็นทุกขัง จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหม...?
ASoka ไปถึงไหนกันล่ะครับ ^ ^

s006 s006 s006
ผมคงไม่เข้าใจคำถามจริงๆหละครับ
grin
ตามสภาวะในจิต พอความทนไม่ได้เกิดขึ้นสติรู้ทันปัญญารู้อารมณ์.....อารมณ์นั้นก็ต้องเปลี่ยนไปทันทีสู่อารมณ์ใหม่.....ผมจึงไม่เข้าใจตรงคำที่ว่า จิตก็ทรงอยู่ในอารมณ์เดียวกันกับเห็นทุกขัง ไหม...?

การมาบอกว่าเห็นทุกขังนั้นเป็นคำพูดทีเกิดหลังจากการวิเคราะห์ วิจัยธรรม คือมาถามตนเองว่า ไอ้ที่ทนไม่ได้นั้น ภาษาบาลีท่านเรียกว่าอะไร ก็มันไปตรงกับคำว่า ทุกขัง จึงพูดว่าเห็นทุกขัง

จะลองเปลียนคำถามใหม่ดูอีกสักหน่อยไหมครับ

:b12: :b12: :b12:

เช่นนั้น เข้าใจสิ่งที่ AsoKa กล่าวนะครับ
แต่ก็ยังยืนคำถามเดิมนะครับ
อย่าหาว่าเซ๊าซี้ถามคำถามอื่นไม่เป็นเลยนะครับ Asoka :b1:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ขอบคุณคุณโฮฮับที่มาช่วยวิพากษ์วิจารณ์....แต่ผมอ่านและพิจารณาแล้วเห็นคุณโฮฮับมาบอกว่านั่นผิด นี่ถูกอยู่เรื่อยๆเลย.....ผมว่าให้ผู้อ่านท่านตัดสินกันดีกว่านะครับ ส่วนผมแล้วผมไม่เชื่อคำแนะนำของคุณโฮฮับแล้วครับ....เพราะมันดูวกวน ไม่รู้เรื่องครับ

เป็นเพราะคุณยังไม่มีสมาธิแยกแยะ อันไหนกาย อันไหนจิต มันเลยทำให้คุณวกวน
ความไม่เข้าใจเลยทำให้คุณปฏิบัติผิดครับ ตามหลักแล้วคุณควรจะมั่นเจริญสติก่อน
การเจริญสติ เป็นการทำเพื่อให้เกิดปัญญา แต่นี่คุณไม่ทำเพราะเข้าใจผิดว่า
คุณมีปัญญาแล้ว ซึ่งมันเป็นการเข้าใจผิด ปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงหมายถึงคือวิชชา
วิชชาจะต้องปฏิบัติให้รู้ให้เห็นตามความจริงเสียก่อน

บอกหลายครั้งแล้วว่า ปุถุชนยังไม่สามารถทำสติปัฎฐานสี่ได้
เพราะสติปัฏฐานสี่ จะต้องมีปัญญาไตรลักษณ์และสัมมาทิฐิมานำหน้าการปฏิบัติ

ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิ จะเกิดได้ก็ด้วยการเจริญสติ(สตินำ)
แต่การทำสติป้ฏฐานสี่เป็นการเจริญปัญญา(ปัญญานำ)

asoka เขียน:
เอาแค่คำนี้....หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ท่านให้ดู...จิตสังขาร

อันนี้ก็ฟังแปลกแล้ว....สติปัญญายังหยาบๆอยู่ แล้วให้ไปดู จิตสังขาร มันจะเห็นกันหรือครับ.....เขาไม่ใช่บอกว่า เมื่อตอนเริ่มต้น ให้ดูที่กาย อันเป็นของหยาบก่อน แล้วค่อยลึกลงไปสู่ เวทนา จิต ธรรม อันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนลึกซึ้งขึ้นไปตามลำดับ

คุณโสกะถ้าจะไม่รู้จัก จิตสังขาร จิตสังขารเป็นการปรุงแต่งของขันธ์ตัวสุดท้าย ที่เรียกว่า
สังขารขันธ์หรือเจตสิก ซึ่งปุถุชนส่วนใหญ๋จะเป็นตัวอกุศล เช่นโทสะโมหะและโลภะ
คุณรู้จักอารมณ์ หลงไปคิดมั้ย อารมณ์โกรธมั้ยและอยากได้มั้ย นี่อารมณ์เหล่านี้ปุถุชนรู้จักดีครับ

จะยกตัวอย่างการดูจิตสังขารให้ดูครับ เวลาที่เราโกรธใคร แต่เรามีสติยับยั้งไม่ให้ด่าหรือทำร้ายเขาได้
แบบนี้ครับเรียกว่า ดูจิตสังขาร การดูจิตสังขารก็คือการเจริญสตินั้นเอง

แล้วที่คุณว่าต้องดูกายก่อนเพราะเป็นของหยาบ นี้ก็สับสนไม่รู้ไปเอามาจากไหน
แต่ที่แน่ๆคุณไปเจริญสติให้ดีเสียก่อน โกรธก็รู้ว่าโกรธ หลงไปคิดก็รู็ โลภก็รู้ว่าโลภ
เกิดปัญญาก็จะรู้ว่าต้องทำอะไรก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 02:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
อีกสักประโยคหนึ่งที่ฟังดูทะแม่งทะแม่ง

อ้างคำพูด:
ที่บอกสรุปว่า บังคับบัญชาไม่ได้ก็ไม่ใช่ครับ ก็เพราะจิตคุณกำลังบังคับกายอยู่นั้นไงครับ
การบังคับไม่ได้ หมายถึงจิตสังขาร ไม่ใช่กายสังขาร


คุณโฮฮับหายใจเข้าสุดแล้ว......ถึงแม้จะตั้งใจบังคับไม่ให้มันเปลี่ยนแปลงเพียงไร แต่มันก็บังคับไม่ได้ ในที่สุดก็ต้อง หายใจออก..........ตรงนี้แหละที่เขาเรียกว่า อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้....และไอ้ที่กำลังหายใจเข้าออกนั่นหนะมันเป็นอาการของกาย ซึ่งบังคับไม่ได้ ไม่ใช่จิตสังขารอะไรอย่างที่คุณโฮฮับว่ามานะครับ

่คำพูดที่คุณโฮฮับบอกว่า ก็เพราะจิตคุณกำลังบังคับกายอยู่นั้นไงครับ....แล้วจริงๆมันบังคับได้หรือเปล่าล่ะครับ?.....อนัตตา มันต้องชัดตรงนี้มากกว่ากระมังครับ

ฟังใหม่ให้ดีครับ .....จิตสังขารบังคับไม่ได้ แต่กายสังขารบังคับได้ ฟังชัดแล้วนะครับ

ที่คุณสับสนแบบนี้เป็นเพราะคุณไปเอาหลักของอนัตตาในธรรมฐิติ ปนเปกับอนัตตาในธรรมนิยาม
อนัตตาทางกายกับอนัตตาทางจิตมันไม่เหมือนกัน
ความเข้าใจของคุณมันกำลังยุ่งเหยิงเป็นลิงแก้แห มันผิดตั้งแต่เริ่มแล้ว ยิ่งทำก็ยิ่งผิด

ลมหายใจของคนเรามันเกิดจากการที่จิตไปปรุงแต่งกาย มันจึงเกิดอาการที่เรียกว่า ลมหายใจ
ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ลมหายใจมันเกิดจาก จิตไปปรุงแต่งธาตุลมให้เกิดการหายใจเข้าออก
กายถ้าปราศจากจิต ย่อมจะไม่มีการหายใจเข้าออก
ดังนั้นสิ่งที่บังคับไม่ได้ เป็นจิตหรือจิตสังขาร ไม่ใช่กายสังขาร
เพราะลมหายใจเป็นกายสังขาร เกิดจากการปรุงแต่งของจิตสังขาร

ทวนความจำ ลมเป็นกาย ลมหายใจเป็นกายสังขาร
ลมหายใจเกิดจากการที่จิตไปปรุงแต่งหรือบังคับให้กายเป็นกายสังขารก็คือลมหายใจนั้นเอง
ความเป็นอนัตตามันเกิดที่จิตสังขาร ไม่ใช่กายสังขาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คำพูดท่อนนี้ก็เช่นกัน.....มันยังส่อแสดงว่า คุณโฮฮับนั้นเก่งกว่าพระอรหันต์เพราะ
ไปรู้วาระจิตของท่านได้หมด

แนะนำนะครับ จะศึกษาพระธรรมควรศึกษาด้วยความศรัทธา อย่าศึกษาเพราะความงมงาย
ที่เราศึกษาอยู่นี่ก็เพราะเราต้องการนิพพาน ต้องการเป็นพระอรหันต์
สภาวะทุกอย่างที่เป็นปรมัตถ์เป็นสาธารณะ
นิพพานก็เป็นสาธารณะ เมื่อเราปฏิบัติถึงที่สุดเราก็สามารถรู้ได้

ดังนั้นคุณโสกะอย่าเอาคำพูดมาสร้างโวหาร จนทำให้รู้สึกว่า พระอรหันต์เป็นพระเจ้า
นิพพานนั้นสุดเอื้อมถึง แบบนี้มันงมงายห่างไกลปัญญาครับ


asoka เขียน:

ต่อให้พระอรหันต์ก็ดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสังขารหรืออารมณ์ไม้ทันหรอกครับ
ที่ท่านรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ไม่ใช่รู้ปัจจุบัน
ท่านรู้ด้วยญาน เป็นการรู้ตามหลัง อารมณ์ที่พึ่งดับไป


ไอ้ที่ว่าพระอรหันต์ฺไม่รู้ทันปัจจุบัน แต่รู้ด้วยญาน.....นี่ก็ฟังดูทะแม่งๆเช่นกันด้วยนะครับ

ไอ้ที่ทะแม่งเป็นเพราะ คุณยังไม่มีปัญญารู้ไงครับ
ยกคำพูดง่ายให้ฟัง สถาวะเกิดดับ ถามครับรู้ความดับ เมื่อมันดับไปแล้ว
มันเป็นปัจจุบันหรือครับ ความหมายของปัจจุบันคือ ตัวจิตรู้ครับ
ส่วนเกิดดับมันเป็นอดีตที่จิตไปรู้

asoka เขียน:
ถ้าพูดอย่างคุณโฮว่านี้ใช่......บทภัทเทกรัตคาถา ที่พระบรมศาสดาทรงตรัสไว้ ก็หมดความหมายไปเลยล่ะซิครับ

"ปัจจุปันนัญจะ โยธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสติ อสังหิรัง อะสังกุปปัง ตังวิทธรา มนุพรูห์เย"

ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

นี่พระองค์ทรงสอนปุถุชนให้รู้ทันปัจจุบัน.....แล้วพระอริยเจ้าทั้งหลาย จนถึงพระอรหันต์ ท่านไม่ใช่จะมีแต่ชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันอารมณ์หรือครับ


แนะนำให้คุณไปศึกษาพระอภิธรรมปิฎก ในเรื่องจิต จะได้รู้ว่า จิตเกิดดับที่ละดวง
จิตเป็นและจิตรู้มันไม่ได้เกิดพร้อมกัน มีสมาธิพยายามแยก จิตเป็นอาการก็ดวงหนึ่ง
ดับไปจิตรู้ก็เป็นอีกดวงที่มาแทนที่ มันเป็นแบบนี้

ถ้าปัจจุบันจิตเป็นอาการ(เกิดดับ) จิตก็จะไม่รู้ แต่ถ้าปัจจุบันจิตเป็นตัวรู้ จิตก็ไม่ได้เป็นอาการ(เกิดดับ)
จำไว้จิตเกิดดับ และจิตเกิดดับทีละดวง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร