วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 03:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อืมม..นะ
ชัยชนะ..ที่ยิ่งใหญ่....คือ..การชนะตัวเอง

เจริญสุขกันทุกคน...ครับ
สาธุ .. :b8:

:b4: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 21:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
มังกรน้อย
แม้การได้อธิบาย แสดงด้วยธรรมกถา
หรือได้ทบทวน

จน มังกรน้อย
สรุปได้ว่า

"อโนทิสสูตรที่ ๓ เป็นพระสูตรที่แสดงนัยยะที่ลึกซึ้งมาก"

นี้ก็เป็นอานิสงส์ แก่มังกรน้อย

"เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏฯ"

นัยยะนี้ พ้นแล้วจากบัญญัติธรรมทั้งปวง

มังกรน้อยก็รู้ดี จึงไม่อาจจอธิบายใดๆ ต่อไปได้

อนุโมทนา


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:


เอกอนเป็นคนหยิบพระสูตรมา...ท่าน...
...
"พระสูตร" ... เปรียบดั่งอาวุธชั้นเลิศแล้ว
แต่...เราไม่สามารถเอาอาวุธชั้นเลิศ...มาทำศึกให้ชนะได้...
เอกอนไร้สามารถ...เป็น...คนที่ไม่เอาไหน...จริง ๆ




:b8: คุณเอกอน

"ตรงนี้" ต้องผ่านไปให้ได้ ซึ่งความจริงมันผ่านอยู่แล้ว อย่าไปติดซะเอง

เท่าที่ติดตามอ่านมา ผมเห็นว่าคู่สนทนาเขาก็ปรารถนาให้เราได้เห็นจิตใจตนเอง

คุณเอกอนเคยสงสัยมั๊ยว่า
1) ความเห็นที่ post ลงไป มันกลายเป็นความเห็นของเราตั้งแต่ตอนไหน?
2) เรารู้สึกว่า ความเห็นเขามันขัดมันแย้งกับความเห็นเรา มันเกิดขึ้นตอนไหน?
3) สิ่งที่ผลักดัน ให้เราต้องพยายามไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาสนับสนุนความเห็นเรา มันคืออะไร?

ไว้จิตเบาๆสบายๆ ผมว่าคุณเอกอนคงรู้คำตอบ

ถึงตอนนั้นคุณอาจอยากจะขอบคุณคู่สนทนาที่คุณเคยอยากเอาชนะเขาก็ได้
เพราะเขาทำให้คุณรู้จัก
"ผู้เตือนที่แท้จริง"

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 11:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
เท่าที่ติดตามอ่านมา ผมเห็นว่าคู่สนทนาเขาก็ปรารถนาให้เราได้เห็นจิตใจตนเอง

เอกอนก็เข้าใจเช่นนั้นเหมือนกัน...ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไรกับการสนทนาเรย...

:b1: :b12: :b12: :b1:

ด้วยเหตุผลสามัญง่าย ๆ ผู้ที่แข็งแรงกว่าปรับตัวง่ายพลิกแพลงง่ายจะอยู่รอด...

ธรรมหนึ่งจะสืบต่อและเจริญงอกงามต่อ

ส่วนธรรมหนึ่งจะลางเลือนและดับหายไปในที่สุด
เพราะคนที่จะพูดถึงมัน...จะค่อย ๆ หลบไป...เอง

บทลงเอยง่าย ๆ ...

:b32: :b32: :b32:

อย่างน้อย ๆ
เชื่อสิ่ว่าท่านอ๊บซ์กำลังจะเบิกตาติดตามดู...ว่า อนัตตสัญญา เป็นเช่นไร...

:b22: :b22: :b22:

อิอิ...อดแร๊วววววว....

:b13: :b13: :b13:

...อด...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 13:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


s002 s002
เบื่อคนรู้ทัน...
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
บทลงเอยง่าย ๆ ...
:b32: :b32: :b32:
อย่างน้อย ๆ
เชื่อสิ่ว่าท่านอ๊บซ์กำลังจะเบิกตาติดตามดู...ว่า อนัตตสัญญา เป็นเช่นไร...

บอกแล้วว่า พระสูตรเขามีไว้แก้กิเลส และเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล

เอกอนพูดถึง.... อนัตตสัญญา แล้วไปยกพระสุตรศิริมานนทสูตร
กับอโนทิสสูตรที่๓ มาอ้าง แถมมาบอกว่า พระสูตรที่อ้างเป็นอาวุธชั้นเลิศ
มันเป็นอาวุธ แต่มันดาบสองคม ใช้ไม่เป็นมันก็บาดมือตัวเอง

เอกอนไม่มีสมาธิอีกทั้งยังขาด ธัมมวิจยะ ทำให้มุ่งอยู่ตรงที่คำศัพท์
พูดง่ายๆก็คือ เอาพระสูตรมาอธิบายพุทธพจน์แบบคนละเรื่อง
มิหน่ำซ้ำมันไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เราคุยกันแต่ต้น
ผมจะบอกที่มาที่ไปของคำที่ว่า อนัตตสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง
และเป็นกล่าวถึง อนัตตสัญญาเพียงอย่างเดียว....

การที่บุคคลได้เห็นการเกิดดับของสังขารหรือขันธ์ห้า ทำให้เกิดสภาวะธรรมที่
เรียกว่า....ไตรลักษณ์

ในสภาวะไตรลักษณ์ มีลักษณะธรรม๓อย่าง นั้นก็คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
การที่จิตได้เห็นไตรลักษณ์หรือเห็นลักษณะทั้ง๓ จิตจะจดจำสภาวะเหล่านี้ไว้
การจดจำหรือจำได้หมายรู้นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา

พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรื่องอนัตตสัญญาแก่ปัญจวัคคีย์
เพื่อให้ละวางขันธ์ห้าทั้งหมด


ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


กรุณาอ่านให้จบพระสูตร เอาลิ้งมาวางให้แล้ว การพิจารณาปฏิบัติอยู่ตอนท้ายพระสูตร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... =479&Z=575


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


จากประเด็นนี้...

โฮฮับ เขียน:
เอกอนพูดดีมีชาติตระกูล แต่ถึงจะพูดดีอย่างไร ถ้าเราพูดลงลึกในรายละเอียด
แล้วเราพูดอ้างอิงสิ่งใดมันผิดไปจากประเด็นที่กล่าว พูดง่ายๆก็คือ "พูดได้แต่ทำไม่ได้"

อย่างเช่นว่ากล่าวคนอื่นในทำนองว่า คนพูดไม่ตรงต่อสภาวธรรม
แบบนี้มันจำเป็นอ่างเช่นที่เราจะต้องรุ้และเข้าเป็นอย่างดีเสียก่อน
มันถึงจะว่ากล่าวใครได้ ตัวอย่างเช่น....
เอกอนพูดว่า "อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"

เอกอนกำลังเข้าใจผิด คิดว่า คำพูดที่เอกอนกล่าวเป็นสภาวะ
ที่แท้แล้วไม่ใช่ การกล่าวลักษณะทั้งสามมันเป็นเพียงบัญญัติที่อธิบายให้เห็นในสภาวะธรรม
แต่มันไม่ใช่สภาวะธรรม 1.ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ

2.สภาวะธรรมนี้มันเป็นสภาวะธรรมเดียว แต่มันมีลักษณะสามประการในสภาวะเดียว
สภาวะนี้มันจะเป็นสัญญาก็ใช่หรือไม่เป็นสัญญาก็ใช่
(เรื่องนี้จะไว้ตั้งกระทู้)

ถ้าเอกอนบอกว่า "อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตาสัญญา" เอกอนบอกสามตัวนี้เป็น
สภาวะธรรม แบบนี้ผิดครับ 3. เพราะทั้งสามมีสภาวะเพียงหนึ่ง และชื่อที่เรียกก็ไม่ใช่อย่างที่เอกอนเรียก
ที่เอกอนเรียกแบบนี้ เป็นเพราะยังไม่ถึงแก่นของสภาวะตัวนี้

สรุปได้ว่า...
ความเห็นจากด้านท่านโฮ ก็คือ
"อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"
1.ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ
2.สภาวะธรรมนี้มันเป็นสภาวะธรรมเดียว แต่มันมีลักษณะสามประการในสภาวะเดียว
สภาวะนี้มันจะเป็นสัญญาก็ใช่หรือไม่เป็นสัญญาก็ใช่

3. เพราะทั้งสามมีสภาวะเพียงหนึ่ง

เราจะจำเช่นนี้ ด้วยเหตุผลเช่นที่ท่านโฮอธิบาย
หรือ เราจะลองพิจารณา พระสูตรดังต่อไปนี้

Quote Tipitaka:
๗. อโนทิสสูตรที่ ๑
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์
๖ ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยัง
อนิจจสัญญาให้ปรากฏ
อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่าสังขารทั้งปวงจักปรากฏโดยความเป็นของไม่มั่นคง ๑
ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑
ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑
ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๑
สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้ ๑
และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญธรรม ๑ -ชั้นเยี่ยม ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญา
ให้ปรากฏ ฯ


Quote Tipitaka:
๘. อโนทิสสูตรที่ ๒
[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ
@๑ สามัญญธรรม หมายถึงอริยมรรค
เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้ปรากฏ
อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่านิพพานสัญญาในสังขารทั้งปวงจักปรากฏแก่เรา
เหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นอยู่ ๑
ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑
เราจักเป็นผู้มีปรกติเห็นสันติในนิพพาน ๑
อนุสัยของเราจักถึงการเพิกถอน ๑
เราจักเป็นผู้กระทำตามหน้าที่ ๑
และเราจักบำรุงพระศาสดาด้วยความบำรุงอันประกอบด้วยเมตตา ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขต
จำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้ปรากฏ ฯ


Quote Tipitaka:
๙. อโนทิสสูตรที่ ๓
[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖
ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง แล้วยังอนัตต-
*สัญญาให้ปรากฏ
อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่าเราเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิในโลกทั้งปวง ๑
ทิฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัวว่าเราของเราจักดับ ๑
ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเราของเราจักดับ ๑
เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑
เราจะเห็นเหตุด้วยดี ๑
และจักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็น
อานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง
แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ ฯ


จากทั้ง 3 พระสูตร และด้วยพระสูตรที่กล้าวถึง เนวสัญญานาสัญญาฯ อีกหนึ่ง
รวมลงได้กับความเห็นนี้ หรือไม่ อย่างไร
อ้างคำพูด:
"อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"
1.ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ
2.สภาวะธรรมนี้มันเป็นสภาวะธรรมเดียว แต่มันมีลักษณะสามประการในสภาวะเดียว
สภาวะนี้มันจะเป็นสัญญาก็ใช่หรือไม่เป็นสัญญาก็ใช่

3. เพราะทั้งสามมีสภาวะเพียงหนึ่ง


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการของการวิปัสสนา จะต้องอาศัยสติไประลึกรู้สัญญา(สภาวะปัญญาที่จิตหมายรู้ไว้)

ต้องใช้สติปัญญานำหน้าในการวิปัสสนา แล้วพิจารณาขันธ์ห้า การพิจารณาขันธ์ห้า
เขาเรียกว่า ธัมมวิจยะ ที่พูดมาเป็นหลักของธรรมแห่งการตรัสรู้(โพชฌงค์)

โปรดสังเกตุ เราใช้ อนัตตสัญญามานำหน้าในการพิจารณาธรรม
อนัตตสัญญาจึงไม่ใช่สัญญาในขันธ์ห้า มันอยู่ในส่วนของ มโนทวารและธัมมายตนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
eragon_joe เขียน:
บทลงเอยง่าย ๆ ...
:b32: :b32: :b32:
อย่างน้อย ๆ
เชื่อสิ่ว่าท่านอ๊บซ์กำลังจะเบิกตาติดตามดู...ว่า อนัตตสัญญา เป็นเช่นไร...

บอกแล้วว่า พระสูตรเขามีไว้แก้กิเลส และเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล

เอกอนพูดถึง.... อนัตตสัญญา


เอกอนพูดถึง "อนัตตสัญญา" ท่าน

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 14:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นด้วยอนัตลักขณสูตร...อย่าง...พื้นฐาน
เป็นการทำทิฐิอนัตตาให้เกิด

การชำระทิฐิอัตตา... จะทำให้เราเห็นการตั้งอยู่ของทิฐิอนัตตา ด้วย...

พระสูตรบางพระสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ลึก

ถ้าถึงตรงนั้น
ถ้าเห็นว่า เมื่ออัตตา เป็นเพียง ทิฐิ
อนัตตาก็จะเป็นเพียง ทิฐิ ด้วยเช่นกัน

อนัตตสัญญา ก็เป็นอันเพิกถอนได้ ....

เพิกถอน อนัตตสัญญา ก็ได้เห็นแง่แห่งความดับไปของ อนัตตสัญญา

แล้วจะเห็นร่างว่า ทำไม นิพพานจึงอยู่เหนือไตรลักษณ์
ไม่ใช่ด้วยการอธิบายแบบจับ นิพพาน ไปทาง ไตรลักษณ์ ไปทาง
จับ นิจจัง อยู่ทาง อนิจจัง อยู่ทาง ทุกขัง อยู่ทาง สุขขัง อยู่ทาง
อัตตา อยู่ทาง อนัตตา อยู่ทาง

แต่ด้วย เห็นความจริง ... อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ... จึงดับไป

:b1:

นี่เป็นการอธิบายอย่างคนที่ "ไม่มีสมาธิอีกทั้งยังขาด ธัมมวิจยะ"

:b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 07 ก.ค. 2013, 15:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
จากประเด็นนี้...

โฮฮับ เขียน:
เอกอนพูดดีมีชาติตระกูล แต่ถึงจะพูดดีอย่างไร ถ้าเราพูดลงลึกในรายละเอียด
แล้วเราพูดอ้างอิงสิ่งใดมันผิดไปจากประเด็นที่กล่าว พูดง่ายๆก็คือ "พูดได้แต่ทำไม่ได้"

อย่างเช่นว่ากล่าวคนอื่นในทำนองว่า คนพูดไม่ตรงต่อสภาวธรรม
แบบนี้มันจำเป็นอ่างเช่นที่เราจะต้องรุ้และเข้าเป็นอย่างดีเสียก่อน
มันถึงจะว่ากล่าวใครได้ ตัวอย่างเช่น....
เอกอนพูดว่า "อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"

เอกอนกำลังเข้าใจผิด คิดว่า คำพูดที่เอกอนกล่าวเป็นสภาวะ
ที่แท้แล้วไม่ใช่ การกล่าวลักษณะทั้งสามมันเป็นเพียงบัญญัติที่อธิบายให้เห็นในสภาวะธรรม
แต่มันไม่ใช่สภาวะธรรม 1.ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ

2.สภาวะธรรมนี้มันเป็นสภาวะธรรมเดียว แต่มันมีลักษณะสามประการในสภาวะเดียว
สภาวะนี้มันจะเป็นสัญญาก็ใช่หรือไม่เป็นสัญญาก็ใช่
(เรื่องนี้จะไว้ตั้งกระทู้)

ถ้าเอกอนบอกว่า "อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตาสัญญา" เอกอนบอกสามตัวนี้เป็น
สภาวะธรรม แบบนี้ผิดครับ 3. เพราะทั้งสามมีสภาวะเพียงหนึ่ง และชื่อที่เรียกก็ไม่ใช่อย่างที่เอกอนเรียก
ที่เอกอนเรียกแบบนี้ เป็นเพราะยังไม่ถึงแก่นของสภาวะตัวนี้

สรุปได้ว่า...
ความเห็นจากด้านท่านโฮ ก็คือ
"อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"
1.ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ
2.สภาวะธรรมนี้มันเป็นสภาวะธรรมเดียว แต่มันมีลักษณะสามประการในสภาวะเดียว
สภาวะนี้มันจะเป็นสัญญาก็ใช่หรือไม่เป็นสัญญาก็ใช่

3. เพราะทั้งสามมีสภาวะเพียงหนึ่ง

เราจะจำเช่นนี้ ด้วยเหตุผลเช่นที่ท่านโฮอธิบาย
หรือ เราจะลองพิจารณา พระสูตรดังต่อไปนี้

Quote Tipitaka:
๗. อโนทิสสูตรที่ ๑
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์
๖ ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยัง
อนิจจสัญญาให้ปรากฏ
อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่าสังขารทั้งปวงจักปรากฏโดยความเป็นของไม่มั่นคง ๑
ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑
ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑
ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๑
สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้ ๑
และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญธรรม ๑ -ชั้นเยี่ยม ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญา
ให้ปรากฏ ฯ


Quote Tipitaka:
๘. อโนทิสสูตรที่ ๒
[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ
@๑ สามัญญธรรม หมายถึงอริยมรรค
เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้ปรากฏ
อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่านิพพานสัญญาในสังขารทั้งปวงจักปรากฏแก่เรา
เหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นอยู่ ๑
ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑
เราจักเป็นผู้มีปรกติเห็นสันติในนิพพาน ๑
อนุสัยของเราจักถึงการเพิกถอน ๑
เราจักเป็นผู้กระทำตามหน้าที่ ๑
และเราจักบำรุงพระศาสดาด้วยความบำรุงอันประกอบด้วยเมตตา ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขต
จำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้ปรากฏ ฯ


Quote Tipitaka:
๙. อโนทิสสูตรที่ ๓
[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖
ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง แล้วยังอนัตต-
*สัญญาให้ปรากฏ
อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่าเราเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิในโลกทั้งปวง ๑
ทิฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัวว่าเราของเราจักดับ ๑
ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเราของเราจักดับ ๑
เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑
เราจะเห็นเหตุด้วยดี ๑
และจักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็น
อานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง
แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ ฯ


จากทั้ง 3 พระสูตร และด้วยพระสูตรที่กล้าวถึง เนวสัญญานาสัญญาฯ อีกหนึ่ง
รวมลงได้กับความเห็นนี้ หรือไม่ อย่างไร
อ้างคำพูด:
"อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"
1.ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ
2.สภาวะธรรมนี้มันเป็นสภาวะธรรมเดียว แต่มันมีลักษณะสามประการในสภาวะเดียว
สภาวะนี้มันจะเป็นสัญญาก็ใช่หรือไม่เป็นสัญญาก็ใช่

3. เพราะทั้งสามมีสภาวะเพียงหนึ่ง


:b8: :b8: :b8:

ที่เอกอนพูดมาทั้งหมด เอกอนไม่พิจารณาตามเหตปัจจัย เอกอนใช้อ่านบัญญัติเอา
เอกอนไม่เข้าใจหรอกว่า สภาวะธรรมที่เป็นผล มันสามารถเปลี่ยนไปเป็นเหตุได้

เอกอนอ่านบัญญัติพอเห็นคำศัพท์ว่าสัญญา เอกอนก็จะยึดแต่สัญญาทั้งๆที่สภาวะธรรมมันเปลี่ยนแถว
เอกอนไม่รู้ว่า พุทธพจน์บางคำเป็นการบอกถึงสภาวะธรรมที่เปลี่ยนไปแล้วตามเหตุปัจจัย

อย่างเช่นคำว่า....สัญญานาสัญญายตนะ พุทธพจน์นี้ บอกถึงการเปลี่ยนไปด้วยเหตุปัจจัย
และสภาวะที่เปลี่ยนตามเหตุที่เปลี่ยน

เอาเป็นว่า เอกอนไปตีความไตรลักษณ์ให้ขาดก่อนแล้วกัน

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทำให้เกิด อนิจจังก็ได้ เป็นทุกขังก็ได้และเป็นอนัตตาก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 15:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

เอกอนไม่เถียงท่านหรอก...
เอกอนได้อธิบายในสิ่งที่เข้าใจจบไปแล้ว...

....

ส่วนสิ่งที่ท่านเข้าใจนั้น
อยู่ที่การตัดสินใจของท่านเองแล้ว ว่าจะรวบรัดจบความเห็นให้
สนับสนุนัยยะนั้นออกมาอย่างไร....
ถ้าท่านเห็นว่าท่านแสดงเหตุผลสนับสนุนเพียงพอแล้ว ก็จบ...
เพราะนัยยะที่เราเห็นต่างกัน ก็เป็นได้
และเอกอนก็ยังไม่ได้บอกว่า ความเห็นท่านผิด นี่
....
เอกอนแค่อยากจะบอกเป็นนัยว่า มันยังดูไม่สมเหตุสมผล...น่ะ

เอกอนไม่โกรธท่านหรอก ที่ท่านใช้วาจาเหน็บแนมตั้งเยอะน่ะ
เอกอนออกจะร๊ากรักท่านจะตาย.... :b32: :b13:

:b22: :b22: :b22:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 17:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

s002 s002
เบื่อคนรู้ทัน...
:b32: :b32:


ชอบจังเฝ้าดูอยู่เงียบ ๆ เนี๊ยะ

แสดงภูมิบ้างจิ่ อย่าดูเฉย

...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
การเห็นด้วยอนัตลักขณสูตร...อย่าง...พื้นฐาน
เป็นการทำทิฐิอนัตตาให้เกิด
การชำระทิฐิอัตตา... จะทำให้เราเห็นการตั้งอยู่ของทิฐิอนัตตา ด้วย...

ใครว่าเห็นอนัตตลักขณสูตร เป็นการเห็นขั้นพื้นฐาน เอกอนเอาอะไรคิด

ธรรมหรือพระสูตรพื้นฐานที่พระพุทธองค์ ทรงสอนปัญจวัคคีย์ก็คือง...ธัมมจักกัปวัตนสูตร
ปัญจวัคคีย์เกิดดวงตาเห็นธรรมเป็นสัมมาทิฐิ ก็ด้วยธรรมนี้

แล้วไอ้ทิฐิอนัตตามันเกิดก่อนที่จะสอนอนัตตลักขณสูตรอีก
แต่ทิฐิอนัตตาที่ปัญจวัคคีย์ในเบื้องต้น มันเป็นอนัตตาของสังขาร

เอกอนพูดธรรมพูดในเชิงจินตนาการจากตัวหนังสือ พูดไมท่มีเหตุปัจจัยของธรรม
พูดแบบไม่มีเหตุผลประกอบ อย่างเช่น ชำระทิฐิอัตตา จะเห็นการตั้งอยู่ของอนัตตา
เหมือนกับการแต่งตัวอักษร ตัวอักษรเปลียนแสดงว่า ไม่มีตัวนั้นแล้ว :b32:

จะบอกให้ครับ เป็นเพราะ การเกิดดับแปรปวนของสังขารมันยังปิดบัง
ความเป็นอาพาทของธรรมครับ เมื่อเห็นความเป็นอาพาทของธรรม
ก็จะไม่มีการเกิดดับแปรปวนของสังขาร แบบนี้เรียกว่า รู้ว่าการเปลี่ยนแปลง
ของรูปนาม มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เราไม่สามารถไปบังคับมันได้


รู้หรือยังว่า ที่ชอบถามหาพระสูตร ผมไม่อยากอ้งอิงก็เป็นเพราะแบบนี้
มันเปล่าประโยชน์ อ้างแล้วก็ไม่เข้าใจ

เคยบอกแล้วว่าพระสูตรมีไว้แก้กิเลสเฉพาะบุคคล พูดถึงอนัตตสัญญา
มันต้องเอาพระสูตรบทนี้ เพราะมันเกี่ยวกับปัญจวัคคีย์

ที่คุณไปเอา ศิริมานนทสูตร พระพุทธองค์ใช้ สัญญา๑๐ประการ
เห็นความแตกต่างมั้ย
ปัญจวัคคีย์ใช้ อนัตสัญญาๆเดียว แต่ศิริมานนทภิกขุใช้ถึง๑๐

ดังนั้นตรองดูครับ เอาศิริมานนทสูตรมาอ้าง มันถูกธรรมหรือเปล่า

eragon_joe เขียน:
ถ้าถึงตรงนั้น
ถ้าเห็นว่า เมื่ออัตตา เป็นเพียง ทิฐิ
อนัตตาก็จะเป็นเพียง ทิฐิ ด้วยเช่นกัน
อนัตตสัญญา ก็เป็นอันเพิกถอนได้ ....
เพิกถอน อนัตตสัญญา ก็ได้เห็นแง่แห่งความดับไปของ อนัตตสัญญา

พูดเป็นตัวหนังสืออีกแล้ว เล่นคิดเองแบบนี้ คนอื่นเขาจะไปรู้ด้วยหรือครับ
ไอ้โดนเป็นไอ้นี่ ไอ้นี่เป็นไอ้นั้น ไม่ได้ความเรย :b13:
เรื่องภายในกายใจเรามันเป็นสภาวะธรรม มันเกิดตามเหตุปัจจัย
มันต้องมีสภาวะธรรมใหม่มาแทนที่ มันไม่ใช่ไปเพิกถอน
สภาวะมันเกิดแล้วก็ดับ เพียงแต่มันดับแล้วก็อย่าไปสร้างมันขึ้นมาอีก ก็เท่านั้น

แล้วอีกอย่าง การนำเอาอนัตตสัญญามาใช้ เพื่อให้เป็นธรรมมาแทนที่การเกิดขึ้น
ตั้งอยู่และดับไปของสังขาร
นั้นก็คือเอาอสังขตธรรม(อนัตตา)
มาแทนสังขตธรรม(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

eragon_joe เขียน:
แล้วจะเห็นร่างว่า ทำไม นิพพานจึงอยู่เหนือไตรลักษณ์
ไม่ใช่ด้วยการอธิบายแบบจับ นิพพาน ไปทาง ไตรลักษณ์ ไปทาง
จับ นิจจัง อยู่ทาง อนิจจัง อยู่ทาง ทุกขัง อยู่ทาง สุขขัง อยู่ทาง
อัตตา อยู่ทาง อนัตตา อยู่ทาง

เอาคำพวกนี้มาจากไหนครับ ใครพูดครับ อย่าทำให้คนอื่นเสียสมาธิซิครับ
eragon_joe เขียน:
แต่ด้วย เห็นความจริง ... อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ... จึงดับไป


อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเรารู้แล้ว มันก็กลายเป็นอนิจสัญญา ทุกขสัญญา และอนัตสัญญา
สงสัยถ้าจะไม่เข้าใจ คำว่าสัญญา สัญญาเป็นความจำได้หมายรู้
มันไม่ใช่สัญญาในกระบวนการขันธ์นะครับ คุณอ่านหนัง จำชื่อคน จำหน้าคน คุณใช้อะไรจำครับ

ไอ้ที่ดับไปนั้นน่ะ มันเป็นเหตุของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นก็คือ...การเกิด ตั้งอยู่ และดับไป

eragon_joe เขียน:

นี่เป็นการอธิบายอย่างคนที่ "ไม่มีสมาธิอีกทั้งยังขาด ธัมมวิจยะ"

ไม่ต้องประชดครับ เพราะคุณเป็นอย่างนั้นจริง ผมพูตามธรรมครับ
ไม่ได้เป็นคำด่าหรือเสียดสี :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b8: :b8: :b8:

เอกอนไม่เถียงท่านหรอก...
เอกอนได้อธิบายในสิ่งที่เข้าใจจบไปแล้ว...

สนทนาธรรมกัน ทำไมต้องตัดพ้อด้วยน่า ทำเป็นพ่อแง่แม่งอนไปได้ :b32:
eragon_joe เขียน:
:
ส่วนสิ่งที่ท่านเข้าใจนั้น
อยู่ที่การตัดสินใจของท่านเองแล้ว ว่าจะรวบรัดจบความเห็นให้
สนับสนุนัยยะนั้นออกมาอย่างไร....
ถ้าท่านเห็นว่าท่านแสดงเหตุผลสนับสนุนเพียงพอแล้ว ก็จบ...
เพราะนัยยะที่เราเห็นต่างกัน ก็เป็นได้
และเอกอนก็ยังไม่ได้บอกว่า ความเห็นท่านผิด นี่
....
เอกอนแค่อยากจะบอกเป็นนัยว่า มันยังดูไม่สมเหตุสมผล...น่ะ

เอกอนไม่โกรธท่านหรอก ที่ท่านใช้วาจาเหน็บแนมตั้งเยอะน่ะ
เอกอนออกจะร๊ากรักท่านจะตาย.... :

แล้วจะมาพูดให้มันเป็นเหตุทำไม ไม่อยากพูดต่อก็หยุด
แบบนี้เดียวชาวบ้านเขาจะว่า คุณเอกอนร้อนตัวนะครับ

เคยบอกแล้วน่ะว่า วิธีการพูดของผมเป็นอย่างไร รู้สึกจะบอกคุณเป็นคนแรกด้วย
นี่ขนาดรู้ตัวยังตีโพยตีพายได้ขนาดนี้ :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร