วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2013, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


การสังเกตุธรรม เราสังเกตุธรรมช่วงไหนบ้าง เมื่อธรรมปรากฎเป็นชัด หรือไม่ชัด เมื่อไม่ชัดเรารู้ว่าไม่ชัดเพราะเหตุ หรือความยังไม่แน่วแน่ของสมาธิ เช่น เข้าไปกำหนดรู้แขน สภาวะรู้หรือวิญญาณขันธ์รู้ที่แขน ไม่ได้แผ่ไปที่อื่น ความปรากฎของทุกขัง อนิจจัง อนัตตาย่อมถูกปิดบัง

เมื่อสมาธิแน่วแน่ขึ้น ธรรมปรากฎถึงความชัดเจน และความละเอียดยิ่งขึ้น วิญญาณขันธ์จับที่แขน ธรรมแผ่ขยายออก ปรากฎถึงความรู้ทั่ว กินบริเวณ ชัดมาถึงลำตัว อาจจะทั้งตัวทั้งๆที่จิตจับอยู่ที่แขน

ความชัดไม่ชัดนั้นมีผลโดยตรงกับสังขารขันธ์ สังขารขันธ์คือความเห็นต่อสภาวะธรรมตรงหน้า ยิ่งเห็นชัดยิ่งสงบลงจากความปรุงแต่ง จนถึงความระงับ student สังเกตุตัวเองว่า ยิ่งเหนื่อย สมาธิจับสภาวะธรรมได้เลือนลาง หากได้พักบ้างสมาธิจับสภาวะธรรมได้ชัดขึ้นหรือมีกำลัง ตั้งแต่เริ่มฝึกมา ตอนเช้าตื่นขึ้นมาจะมีสมาธิที่แน่วแน่กว่า ความแน่วแน่เป็นผลทำให้สังขารขันธ์ปรุงแต่งธรรมได้ตามความเป็นจริงขึ้น

ธรรมที่ลึกซึ้ง ต้องอาศัยสมาธิที่ละเอียดลงยิ่งขึ้น ทำให้วิญญาณขันธ์เข้าไปเห็นสภาวะธรรมที่ลึกซึ้งลงไปอีก หรือ ที่ซ่อนอยู่ลึกๆ สภาวะธรรมคือเหตุ วิญญาณขันธ์ทำหน้าที่เข้าไปรู้เหตุ สังขารขันธ์นั้นทำหน้าที่ออกความเห็นเป็นผลออกมา

เหตุของธรรมปรากฎออกมาเพราะความเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ความสืบต่อของเหตุเพราะความดำรงอยู่ของขันธ์5

ศีลที่บริสุทธิ์ปรากฎขึ้นที่ใด?

Student ตอบได้ตามความเห็น แต่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือผิด หรือเป็นส่วน คือ เมื่อสังขารขันธ์ระงับลงสู่ความเห็นจริงของสภาวะธรรม สู่ความระงับลงของความปรุงแต่งธรรม นั่นคือความบริสุทธิ์ของศีลเกิดขึ้น ผิดอย่างไรก็ขออภัยนะครับ

ความบริสุทธิ์ของศีลจึงมีความสำคัญมากต่อการกำหนดรู้ธรรมชั้นต่อไป ซึ่งอย่างที่student เคยเขียนไว้กระทู้หนึ่งว่า สมาธิขั้น อัปปนาสมาธิ บวกกับ ศีลที่บริสุทธิ์จึงจะเข้าไปสานต่อวิปัสสนาภาวนาขั้นสูงยิ่งขึ้นครับผม
Student ก็ได้แค่นี้ ลึกไปกว่านี้student ไม่รู้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 00:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ได้ ท่านโฮ

:b12: :b12: :b12:

ท่านอุทกดาบส เข้าถึงธรรมระดับใด
และสอนพระพุทธเจ้าจนเข้าถึงธรรมระดับได ...
แค่นี้ ก็น่าจะเพียงพอ ... ต่อความเห็นที่ว่า

โฮฮับ เขียน:
ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ


:b1: :b1: :b1:


โพสต์ เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 04:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ก็ได้ ท่านโฮ

:b12: :b12: :b12:

ท่านอุทกดาบส เข้าถึงธรรมระดับใด
และสอนพระพุทธเจ้าจนเข้าถึงธรรมระดับได ...
แค่นี้ ก็น่าจะเพียงพอ ... ต่อความเห็นที่ว่า

โฮฮับ เขียน:
ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ


:b1: :b1: :b1:

ท่านอุทกดาบส ท่านได้ฌาณ๘ ....เป็นอรูป ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงรู้
แต่พระพุทธองค์ทรงรู้ว่า มันไม่ใช่ธรรมแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง
ที่นี้จะอธิบายให้ฟังถึงความเหมือนความต่างของธรรม

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกดาบส....เป็นฌานเป็นความว่างจากสัญญา
พูดตามเหตปัจจัยก็คือ รู้แต่สัญญาที่เป็นความว่างที่สืบต่อจนเกิดสมาบัติ๘(ไม่ใช่นิพพาน)

ส่วนเนวสัญญานาสัญญาตนะที่เป็นญานเป็นปัญญา (เรียกตามเหตุปัจจัยของสภาวะ)
นั้นมีเหตุปัจจัยมาจาก สภาวะรู้ถึงการดับของสังขาร

สภาวะเนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทก เรียกว่า...ฌาน

สภาวะเนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธเจ้า เรียกว่า.....ญาน

เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกฯ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเพียงอรูปพรหม
มันเป็นเพียงความว่าง ไม่ใช่ความดับ(นิพพาน)


เนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธองค์ เป็นเหตุปัจจัยแห่งความดับ(นิพพาน)


และเหตุที่เรียกบัญญัติเหมือนกัน เพราะทั้งฌานและญาน มีเหตุปัจจัยมาจาก..สัญญาเหมือนกัน
แต่การเอาสัญญาไปเป็นเหตุปัจจัยต่างกัน

สัญญานาสัญญาตนะที่เป็นญานเป็นการ ไประลึกรู้ปัญญาไตรลักษณ์มานำหน้า
เพื่อการวิปัสสนา เรียกว่า สติปัฏฐาน
ในที่นี้ไตรลัษณ์เป็นสัญญา แต่ด้วยเหตุที่ว่า สภาวะไตรลักษณ์เป็นลักษณะแห่งความดับ
มันจึงเป็นทั้งสัญญาและไม่ใช่สัญญา ตรงกับบัญญัติที่ว่า สัญญานาสัญญาตนะ

ส่วนสัญญานาสัญญาตนะที่เป็นฌาน เป็นการไปรู้สัญญาหรือการสืบต่อธรรม
และเนื่องด้วยสัญญาหรือธรรมที่สืบต่อ เป็นสภาวะของความว่าง สัญญาจึงเป็นเพียง
ความว่าง สภาวะนั้นจึงเป็นเหมือนสัญญาและไม่ใช่สัญญา


ปล. เอกอนจะถามหรือจะถกธรรม ก็พูดลงไปให้มันตรงๆเลย
ไม่ต้องกลัวใครเขาว่า ไม่ต้องรักษาฟอร์ม ถกธรรมไม่มีใครถูกใครผิด
คิดแบบนี้แล้วมันจะได้เกิดประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

เอกอนถามธรรม แถมธรรมที่ถามมันเป็นลักษณะของอภิธรรม หมายความว่า
มันมีเหตุปัจจัยหลายๆเหตุที่ประกอบกัน
ดังนั้นถามให้มันตรงตัวตรงประเด็น ไม่ต้องกลัวว่าใครเขาจะหาว่าเราไม่รู้
การรู้ดังที่บอกมาแล้วว่า ต้องรู้ถูกรู้ผิด เอกอนอาจจะรู้ถูกอยู่แล้ว แต่การที่ถามเพื่อ
เป็นการรู้ผิด มันจะได้เทียบเคียงกันได้ แบบนี้จึงจะเรียก ปัญญา

สรุปก็คือจะถกธรรม ไม่ต้องกลัวเสียหน้า ไม่ต้องรักษาฟอร์ม เข้าใจมั้ย


โพสต์ เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 21:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ท่านอุทกดาบส ท่านได้ฌาณ๘ ....เป็นอรูป ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงรู้
แต่พระพุทธองค์ทรงรู้ว่า มันไม่ใช่ธรรมแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง
ที่นี้จะอธิบายให้ฟังถึงความเหมือนความต่างของธรรม

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกดาบส....เป็นฌานเป็นความว่างจากสัญญา
พูดตามเหตปัจจัยก็คือ รู้แต่สัญญาที่เป็นความว่างที่สืบต่อจนเกิดสมาบัติ๘(ไม่ใช่นิพพาน)

ส่วนเนวสัญญานาสัญญาตนะที่เป็นญานเป็นปัญญา (เรียกตามเหตุปัจจัยของสภาวะ)
นั้นมีเหตุปัจจัยมาจาก สภาวะรู้ถึงการดับของสังขาร

สภาวะเนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทก เรียกว่า...ฌาน

สภาวะเนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธเจ้า เรียกว่า.....ญาน

เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกฯ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเพียงอรูปพรหม
มันเป็นเพียงความว่าง ไม่ใช่ความดับ(นิพพาน)


เนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธองค์ เป็นเหตุปัจจัยแห่งความดับ(นิพพาน)


และเหตุที่เรียกบัญญัติเหมือนกัน เพราะทั้งฌานและญาน มีเหตุปัจจัยมาจาก..สัญญาเหมือนกัน
แต่การเอาสัญญาไปเป็นเหตุปัจจัยต่างกัน



:b1: :b12: :b16: :b1:

Quote Tipitaka:
มหาวรรค ญาณกถา

.....

[๖๐] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอันได้ปฐมฌาน
แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
เป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตน-
*สมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนสมาบัติ
เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ

[๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้
อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา
แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา

... นิพพิทานุปัสนา ... วิราคานุปัสนา ... นิโรธานุปัสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนา
... ขยานุปัสนา ... วยานุปัสนา ... วิปริณามานุปัสนา ... อนิมิตตานุปัสนา ...
อัปปณิหิตานุปัสนา ... สุญญตานุปัสนา ... เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรม
นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ


หนึ่ง สมาบัติ

อีกหนึ่ง อนุปัสนา


:b1: :b1: :b1:


โพสต์ เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

ผมเห็นแล้ว

แล้วพวกเราเห็นความไม่งดงามในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

:b1:

ถ้าเห็นสองด้านแล้ว อันตรายก็จะเริ่มลดลง เป็นเรื่องน่ายินดี

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

[quote-tipitaka]มหาวรรค ญาณกถา
[๖๐] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอันได้ปฐมฌาน
แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
เป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตน-
*สมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนสมาบัติ
เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ

เอกอน ดูและพิจารณาให้ดีว่า สภาวะธรรมตัวนั้นเป็น เหตุปัจจัยหรือเป็นผล

เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็น เหตุปัจจัย

เนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ เป็นผล ..ฌานหรือสมาบัติ๘

พระอนาคาฯและพระอรหันต์ ทำเหตุแห่ง เนวสัญญาสัญญาตนะ เพื่อ นิโรธสมาบัติ
นิโรธสมาบัติ เรียกอีกอย่างว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นฌานหรือสมาบัติ๙

ฌาน๘ เป็นเพียงสมถะ ยังเป็นสมาบัติที่เจือด้วยกิเลส

ฌาน๙ เป็นสมถะของผู้ที่สำเร็จหรือทำวิปัสสนาญานขั้นสูง หมายถึงพระอนาคาฯและพระอรหันต์
ผู้ที่ได้ฌานหรือสมาบัติ๘มาแล้ว


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

[๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้
อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา
แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา

... นิพพิทานุปัสนา ... วิราคานุปัสนา ... นิโรธานุปัสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนา
... ขยานุปัสนา ... วยานุปัสนา ... วิปริณามานุปัสนา ... อนิมิตตานุปัสนา ...
อัปปณิหิตานุปัสนา ... สุญญตานุปัสนา ... เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรม
นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ[/quote-tipitaka]

หนึ่ง สมาบัติ

อีกหนึ่ง อนุปัสนา


การเอาเนวสัญญานาสัญญาตนะ มาปฏิบัติในสมถะ ผลที่ได้คือ
เนวสัญญานาสัญญาตนสมาบัติ หรือสมาบัติ๘

การเอาเนวสัญญานาสัญญาตนะ มาปฏิบัติใน วิปัสสนาผลที่ได้คือ
นิโรธและนิโรธสมาบัติ๙
eragon_joe เขียน:

หนึ่ง สมาบัติ

อีกหนึ่ง อนุปัสนา


สมาบัติมีสองลักษณะ......ผลของ เนวสัญญานาสัญญาตนะที่เป็น...สมถะ ไม่มีปัญญา
และสมาบัติของผู้ที่มีปัญญาควบคู่กันไป

อนุปัสสนา....การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ยังไม่มีปัญญาและยังไม่มีเหตุแห่ง
สัญญานาสัญญาตนะ


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 10:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1: :b1:

...

Quote Tipitaka:
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี
.....


สังขารถึงความละเอียดที่สุด.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระดำรัส ที่ตรัสว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ด้วยสามารถแห่งสัญญาที่พระโยคาวจรบรรลุอย่างนี้โดยเนื้อความ จึงตรัสว่า
บทว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้บังเกิดขึ้นในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนภพ หรือพระขีณาสพผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. บรรดาท่านทั้ง ๓
เหล่านั้น ในที่นี้ทรงประสงค์เอาธรรม คือ จิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ.

ส่วนวจนัตถะในฌานนั้นพึงทราบดังนี้. ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา
(มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) เพราะอรรถว่า สัญญาของฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือ ไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาละเอียด
ฌานนั้นเป็นสภาวะที่มีสัญญา ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วย

เป็นอายตนะเพราะนับเนื่องด้วยมนายตนะและธรรมายตนะด้วย
เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
อีกอย่างหนึ่ง สัญญาในฌานนี้ ชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่ใช่สัญญา)
เพราะไม่สามารถทำกิจของสัญญาได้โดยเฉพาะ และชื่อว่า นาสัญญา (ไม่มีสัญญา)
เพราะเป็นธรรมมีอยู่โดยละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ เพราะฉะนั้น
ฌานนั้นจึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา.
ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา
นั้นด้วย ชื่อว่า เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรมที่เหลือด้วย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

อนึ่ง ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ สัญญาเป็นเช่นนี้อย่างเดียว
ก็หาไม่ โดยที่แท้ แม้เวทนาก็ชื่อว่า เนวเวทนานาเวทนา (มีเวทนาก็มิใช่ไม่มีเวทนาก็มิใช่)
แม้จิต ก็ชื่อว่า เนวจิตตนาจิตตะ (มีจิตก็มิใช่ ไม่มีจิตก็มิใช่)
แม้ผัสสะ ก็ชื่อว่า เนวผัสสนาผัสสะ (มีผัสสะก็มิใช่ไม่มีผัสสะก็มิใช่).
ในสัมปยุตตธรรมที่เหลือก็นัยนี้.
แต่เทศนานี้พึงทราบว่า ทรงกระทำสัญญาให้เป็นประธาน.
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความนี้ด้วยอุปมาทั้งหลายตั้งแต่เรื่องน้ำมันทาบาตรเป็นต้น.

ได้ยินว่า สามเณรเอาน้ำมันทาบาตรวางไว้ ในเวลาดื่มข้าวยาคู
พระเถระกล่าวกะสามเณรว่า สามเณรจงนำบาตรมา สามเณรเรียนท่านว่า
ในบาตรมีน้ำมันขอรับ ทีนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า สามเณรจงนำมา
เราจักใส่ให้เต็มทะนานตวงน้ำมัน สามเณรจึงเรียนว่า ท่านขอรับน้ำมันไม่มี.

ในการอุปมานั้น น้ำมัน ชื่อว่า มีอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นของไม่ควร
กับข้าวยาคู เพราะความมีอยู่ในภายใน น้ำมันนั้น ชื่อว่า ไม่มี เพราะความ
ไม่มีใส่วัตถุทั้งหลายมีทะนานเป็นต้น ฉันใด สัญญาแม้นั้นก็ฉันนั้น
ชื่อว่าสัญญาก็มิใช่ เพราะไม่สามารถเพื่อทำกิจของสัญญาโดยเฉพาะ
และชื่อว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เพราะความมีอยู่โดยความเป็นของละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ.

ถามว่า ก็ในฌานนี้ กิจของสัญญาเป็นอย่างไร ?
ตอบว่า กิจของสัญญาคือการจำได้หมายรู้อารมณ์ และการเข้าถึง
ความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วเกิดความเบื่อหน่าย.
จริงอยู่ สัญญานั้นไม่อาจทำกิจคือการจำได้หมายรู้โดยฉับพลัน
ดุจเตโชธาตุในน้ำ (เดือดจน) แห้ง ไม่สามารถทำกิจคือการเผาไหม้.
สัญญานี้ไม่อาจเพื่อทำแม้เข้าถึงความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วให้เกิดความเบื่อหน่าย
เหมือนสัญญาในสมาบัติอื่นที่เหลือ (เว้นสัญญาในฌานนี้)
เพราะว่า ภิกษุไม่ได้อาศัยขันธ์เหล่าอื่นทำไว้ จึงชื่อว่า ไม่สามารถเพื่อพิจารณาขันธ์
คือเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วบรรลุนิพพิทา.

ถึงท่านพระสารีบุตรเถระผู้เห็นแจ้งโดยปกติ
และท่านที่มีปัญญามากพึงสามารถเช่นกับพระสารีบุตร
แม้ท่านนั้นก็พึงเห็นได้ด้วยสามารถการพิจารณาเป็นกลาปะ (กอง ๆ) เท่านั้นอย่างนี้ว่า
นัยว่าธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้วก็มี ครั้นมีแล้วก็ปรวนแปรไป มิใช่เห็นด้วยสามารถ
แห่งวิปัสสนาธรรมตามบท สมาบัตินี้ ถึงความละเอียดอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบ
เนื้อความนี้ด้วยการอุปมาเหมือนน้ำในหนทาง เหมือนอุปมาด้วยน้ำมันทาบาตรต่อไป.


ได้ยินว่า สามเณรเดินไปข้างหน้าพระเถระผู้เดินทางเห็นน้ำหน่อยหนึ่ง
แล้วเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ มีน้ำ โปรดถอดรองเท้าเถอะครับ
ลำดับนั้นพระเถระกล่าวว่า ถ้ามีน้ำ เธอจงนำผ้าอาบน้ำมา ฉันจักสรงน้ำ สามเณรเรียนว่า
น้ำไม่มีขอรับ ดังนี้.
ในคำอุปมานั้นพึงทราบว่า ชื่อว่า น้ำมีอยู่ ด้วยอรรถว่าเพียงเปียกรองเท้า
ที่ชื่อว่า ไม่มี ด้วยอรรถว่าไม่พอที่จะอาบ ฉันใด สมาบัตินั้นก็ฉันนั้น
ชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่มีสัญญา) เพราะไม่สามารถทำกิจของสัญญาโดยฉับ
พลันได้ ชื่อว่า ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะสัญญามีอยู่
โดยความเป็นของละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ
และมิใช่จะเปรียบด้วยข้ออุปนาเหล่านี้เท่านั้น
พึงยังเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาที่สมควรแม้อื่นอีก.

โดยนัยที่กล่าวมา ฌานชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา-
สหคตะ เพราะอรรถว่า สหรคตด้วยสัญญาที่เป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 13:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b13: :b12: :b12: :b1: :b1:


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1: :b1: :b1:

...

Quote Tipitaka:
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี
.....


สังขารถึงความละเอียดที่สุด.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระดำรัส ที่ตรัสว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ด้วยสามารถแห่งสัญญาที่พระโยคาวจรบรรลุอย่างนี้โดยเนื้อความ จึงตรัสว่า
บทว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้บังเกิดขึ้นในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนภพ หรือพระขีณาสพผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. บรรดาท่านทั้ง ๓
เหล่านั้น ในที่นี้ทรงประสงค์เอาธรรม คือ จิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ.

ส่วนวจนัตถะในฌานนั้นพึงทราบดังนี้. ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา
(มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) เพราะอรรถว่า สัญญาของฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือ ไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาละเอียด
ฌานนั้นเป็นสภาวะที่มีสัญญา ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วย

เป็นอายตนะเพราะนับเนื่องด้วยมนายตนะและธรรมายตนะด้วย
เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
อีกอย่างหนึ่ง สัญญาในฌานนี้ ชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่ใช่สัญญา)
เพราะไม่สามารถทำกิจของสัญญาได้โดยเฉพาะ และชื่อว่า นาสัญญา (ไม่มีสัญญา)
เพราะเป็นธรรมมีอยู่โดยละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ เพราะฉะนั้น
ฌานนั้นจึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา.
ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา
นั้นด้วย ชื่อว่า เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรมที่เหลือด้วย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

อนึ่ง ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ สัญญาเป็นเช่นนี้อย่างเดียว
ก็หาไม่ โดยที่แท้ แม้เวทนาก็ชื่อว่า เนวเวทนานาเวทนา (มีเวทนาก็มิใช่ไม่มีเวทนาก็มิใช่)
แม้จิต ก็ชื่อว่า เนวจิตตนาจิตตะ (มีจิตก็มิใช่ ไม่มีจิตก็มิใช่)
แม้ผัสสะ ก็ชื่อว่า เนวผัสสนาผัสสะ (มีผัสสะก็มิใช่ไม่มีผัสสะก็มิใช่).
ในสัมปยุตตธรรมที่เหลือก็นัยนี้.
แต่เทศนานี้พึงทราบว่า ทรงกระทำสัญญาให้เป็นประธาน.
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความนี้ด้วยอุปมาทั้งหลายตั้งแต่เรื่องน้ำมันทาบาตรเป็นต้น.

ได้ยินว่า สามเณรเอาน้ำมันทาบาตรวางไว้ ในเวลาดื่มข้าวยาคู
พระเถระกล่าวกะสามเณรว่า สามเณรจงนำบาตรมา สามเณรเรียนท่านว่า
ในบาตรมีน้ำมันขอรับ ทีนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า สามเณรจงนำมา
เราจักใส่ให้เต็มทะนานตวงน้ำมัน สามเณรจึงเรียนว่า ท่านขอรับน้ำมันไม่มี.

ในการอุปมานั้น น้ำมัน ชื่อว่า มีอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นของไม่ควร
กับข้าวยาคู เพราะความมีอยู่ในภายใน น้ำมันนั้น ชื่อว่า ไม่มี เพราะความ
ไม่มีใส่วัตถุทั้งหลายมีทะนานเป็นต้น ฉันใด สัญญาแม้นั้นก็ฉันนั้น
ชื่อว่าสัญญาก็มิใช่ เพราะไม่สามารถเพื่อทำกิจของสัญญาโดยเฉพาะ
และชื่อว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เพราะความมีอยู่โดยความเป็นของละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ.

ถามว่า ก็ในฌานนี้ กิจของสัญญาเป็นอย่างไร ?
ตอบว่า กิจของสัญญาคือการจำได้หมายรู้อารมณ์ และการเข้าถึง
ความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วเกิดความเบื่อหน่าย.
จริงอยู่ สัญญานั้นไม่อาจทำกิจคือการจำได้หมายรู้โดยฉับพลัน
ดุจเตโชธาตุในน้ำ (เดือดจน) แห้ง ไม่สามารถทำกิจคือการเผาไหม้.
สัญญานี้ไม่อาจเพื่อทำแม้เข้าถึงความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วให้เกิดความเบื่อหน่าย
เหมือนสัญญาในสมาบัติอื่นที่เหลือ (เว้นสัญญาในฌานนี้)
เพราะว่า ภิกษุไม่ได้อาศัยขันธ์เหล่าอื่นทำไว้ จึงชื่อว่า ไม่สามารถเพื่อพิจารณาขันธ์
คือเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วบรรลุนิพพิทา.

ถึงท่านพระสารีบุตรเถระผู้เห็นแจ้งโดยปกติ
และท่านที่มีปัญญามากพึงสามารถเช่นกับพระสารีบุตร
แม้ท่านนั้นก็พึงเห็นได้ด้วยสามารถการพิจารณาเป็นกลาปะ (กอง ๆ) เท่านั้นอย่างนี้ว่า
นัยว่าธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้วก็มี ครั้นมีแล้วก็ปรวนแปรไป มิใช่เห็นด้วยสามารถ
แห่งวิปัสสนาธรรมตามบท สมาบัตินี้ ถึงความละเอียดอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบ
เนื้อความนี้ด้วยการอุปมาเหมือนน้ำในหนทาง เหมือนอุปมาด้วยน้ำมันทาบาตรต่อไป.


ได้ยินว่า สามเณรเดินไปข้างหน้าพระเถระผู้เดินทางเห็นน้ำหน่อยหนึ่ง
แล้วเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ มีน้ำ โปรดถอดรองเท้าเถอะครับ
ลำดับนั้นพระเถระกล่าวว่า ถ้ามีน้ำ เธอจงนำผ้าอาบน้ำมา ฉันจักสรงน้ำ สามเณรเรียนว่า
น้ำไม่มีขอรับ ดังนี้.
ในคำอุปมานั้นพึงทราบว่า ชื่อว่า น้ำมีอยู่ ด้วยอรรถว่าเพียงเปียกรองเท้า
ที่ชื่อว่า ไม่มี ด้วยอรรถว่าไม่พอที่จะอาบ ฉันใด สมาบัตินั้นก็ฉันนั้น
ชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่มีสัญญา) เพราะไม่สามารถทำกิจของสัญญาโดยฉับ
พลันได้ ชื่อว่า ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะสัญญามีอยู่
โดยความเป็นของละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ
และมิใช่จะเปรียบด้วยข้ออุปนาเหล่านี้เท่านั้น
พึงยังเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาที่สมควรแม้อื่นอีก.

โดยนัยที่กล่าวมา ฌานชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา-
สหคตะ เพราะอรรถว่า สหรคตด้วยสัญญาที่เป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ

คุณเอกอนคร้าบ แนะนำไปแล้วว่า จะสนทนาธรรมต้องใจกล้า ไม่ต้องกลัวผิด
ต้องกล้าพูดกล้าอธิบาย มันถึงจะคุยกันรู้เรื่อง

ถามครับเอาพระอภิธรรมปิฎกบทนี้มาโพส จะสื่ออะไรครับ
มันเกี่ยวข้องกับความเห็นผมหรือเปล่าอย่างไร เล่าแจ้งแถลงไขมาหน่อย
โพสพระไตรปิฎกไม่มีปี่มีขลุ่ยแบบนี้ ไม่รู้จะไปเหนือหรือใต้ดี :b32:


อย่าลืมกล้าพูดกล้าอธิบาย ผิดถูกไม่ว่ากันอยู่แล้ว
คนกันเองแท้ๆ :b13:


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 16:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b12: :b12: :b12:

:b13: :b13: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 19:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ...คุณ....คุณสองคนนะ..ง่ายไปรึเปล่า

:b13: :b13: :b13:


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คุณ...คุณ....คุณสองคนนะ..ง่ายไปรึเปล่า

:b13: :b13: :b13:

คนกันเองทั้งน้านน .. คุยกันพอหอมปากหอมคอ ก็เอาละ .. เน้ออ ..

:b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 21:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


รอท่านโกวิทเถอะ
นี่เป็นกระทู้ของท่านโกวิท...นะ

:b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร