วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 06:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8584


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
เป็นคำถาม ที่มักมีผู้สงสัย มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ในเมื่อไม่มีตัวตน แล้ว ใครเป็นผู้ไปเกิดใหม่


คำว่า "ตัวตน" หมายถึงตัว "อัตตา" และที่เรียกว่า ตัวตน บุคคล เรา เขา ก็เป็นอัตตาทั้งสิ้น
ต้องมาเข้าใจว่า ในตัวอัตตานั้นก็คือตัวอุปาทาน ตัวอุปาทานนั้นองค์ธรรมก็ได้แก่ โลภะ
ตัวโลภะก็คือตัวตัณหา ตัวตัณหาก็คือตัวสมุทัย ตัวสมุทัยก็เป็นตัวนำเกิดใหม่
ตัวเกิดใหม่ พระตรัสว่า เป็นตัว สมุทัย อย่างชัดเจน
การเกิดใหม่นั้นก็ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ขันธ์ ๔ ขันธ์ ๑ อีกต่อไป

govit2552 เขียน:
นี่เป็นคำถามสำหรับบางคน ในยุคปัจจุบัน

มีคนเชื่อเรื่องการไม่มีตัวตน แต่ไม่ค่อยเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด


คำว่าไม่มีตัวตน ก็ได้แก่ ขันธ์ ๕ ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัย ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นตัวหลัก

ไม่ค่อยเชื่อเรื่องเวียนว่าตายเกิด
ถ้าเชือว่า ตายแล้วเกิดอีก ก็เป็นสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน
ถ้าเชื่อว่า ตายแล้วไม่เกิดอีก ก็เป็นอุจเฉทิฏฐิ ก็เป็นความเห็นที่ขาดสูญย์
พระองค์ตรัสว่า เป็นมิจฉาทิฎฐิ ทั้ง ๒ อย่าง

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 699&Z=9769

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถ้าเชือว่า ตายแล้วเกิดอีก ก็เป็นสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน

ลุงหมาน น่าจะพูดไม่จบนะครับ

คนที่เชื่อว่า ตายแล้วเกิดอีก แต่มีจุดสิ้นสุดที่พระนิพพาน ........... ไม่เป็นสัสสตทิฏฐิ นะครับลุงหมาน

คนที่เป็น สัสสตทิฏฐิ นี่ ไม่ค่อยจะเจอครับ ไม่ค่อยมี
ไม่มี ด้วยซ้ำไป ครับ

ชาวพุทธ ทั้งหลาย ระวัง
จะโดนพวก อุจเฉจทิฏฐิ ซึ่งมีอยู่มากมาย หลอก เรื่อง สัสสตทิฏฐิ โดยพยายามใช้สำนวนโวหาร
พูด แบบสั้นๆ ไม่จบความ เหมือนลุงหมาน ยกมา นี่แหละ

ถ้าเชือว่า ตายแล้วเกิดอีก ก็เป็นสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน

ถ้ารีบๆ อ่าน ไม่ไปดู ต้นฉบับ ให้ดี ก็จะหาว่า ความเชื่อเช่นนี้เป็น สัสสตทิฏฐิ

ยังดี ที่พวก อุจเฉจทิฏฐิ(ตายแล้วสูญ) ไม่เหมาว่า การเชื่อว่าการเวียนว่ายตายเกิด เป็นสัสสตทิฏฐิ

หรือมีคน เหมา แล้วก็ไม่รู้

ทั้งๆ ที่ในพระไตรปิฏก มีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ชาติก่อน ชาติหน้า ปรากฏอยู่เต็มไปหมด

ขอฟันธง ครับ ว่า
พวกที่มีความเห็นเป็นสัสสตทิฏฐิ ปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มี
ผมไม่เคยเจอ เลยสักคนเดียวครับ โตมาจนป่านนี้แล้ว

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
สัสสตทิฏฐิ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?
ปุพเพนิวาสานุสสติ
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ
อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลก่อนได้หลายประการคือ ตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติ
บ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพ
โน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วได้มาบังเกิด
ในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด
แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียร
เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์
ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง
สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง
ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง
หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น
แล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น
แล้วได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตา
และโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
สัสสตทิฏฐิ ๔
[๒๘] ๒. อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ
ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ
อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน
ได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่
ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและ
โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป
ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง
ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น
แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อม
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้
ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด
แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๒๙] ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ
อันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขาจึง
กล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ
คงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ
โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิกัฏฏกัป
บ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี
ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้
อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อม
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๓๐] ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิด
ได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่า
สัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกนั้น
มีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตา
และโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้
อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อม
รู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


อันนี้เป็น พรหมชาลสูตร ที่ลุงหมาน บอกให้ผมไปดูครับ เป็นความเห็นที่ผมได้นำมาแสดงเอาไว้ ความเห็นบนๆ ครับ แสดงว่า ลุงหมาน มองข้ามไปครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แก้ไขล่าสุดโดย govit2552 เมื่อ 18 มิ.ย. 2013, 19:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ให้ สังเกตุ สาเหตุของสัสสตทิฏฐิ 4 ประการ นะครับ

ข้อที่ 1-3 นั้นคือ พวกที่บรรลุเจโตสมาธิ ( ปัจจุบันมีใคร บรรลุ บ้างครับ ยิ่งกว่างมเข็ม ไม่เคยเจอครับ)

ข้อที่ 4 นี่คือ การคิดเอา
Quote Tipitaka:
[๓๐] ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิด
ได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่า
สัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้


คนที่คิดเอา แบบนี้ ก็หาได้ยากมากครับ ลุงหมาน เพราะพระพุทธศาสนาในไทย นี่มีมาเป็นพันปี
ความเห็นว่า การเวียนว่ายตายเกิด สิ้นสุดลงที่พระนิพพาน เด็กๆ ก็ยังรู้เลยครับ

ผมจึงขอฟันธง อีกครั้ง ว่า สัสสตทิฏฐิ ในประเทศไทย นี่แทบไม่มี

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตา
และโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.


พระไตรปิฏก ยืนยันเป็นมั่นเหมาะ ครับ ว่า เหตุอื่นนอกจากเหตุ 4 ประการที่ว่ามานี้ ไม่มี

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตัวอย่างที่ พระพุทธองค์ ทำนายว่าตายแล้วเกิดอีก ชีวิตหลังตาย มีอยู่เยอะแยะ ลองยกมาดูนิดหน่อย ก็ได้
Quote Tipitaka:
[๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก
ต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง
พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย. เป็นคนถือเอาทรัพย์
ที่เขามิได้ให้ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอทินนา
ทานเป็นปัจจัย เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย
ทุกขโทมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย เป็นคนพูดเท็จ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วย
โทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนมีวาจาส่อเสียด พร้อมด้วย
ทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคน
มีวาจาหยาบ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะผรุส-
*วาจาเป็นปัจจัย เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกข-
*โทมนัส เพราะสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย. เป็นคนมีอภิชฌามาก พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วย
โทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย เป็นคนมีจิตพยาบาทพร้อมด้วย
ทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เป็นคนมี
ความเห็นผิด พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิ
เป็นปัจจัย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป


หมายเหตุ
ทุคติ หมายถึง ภูมิสัตว์เดรัจฉาน
วินิบาต หมายถึง ภูมิเปรต
นรก ก็คือ ตกนรก นั่นเอง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


นี่เป็นพุทธพจน์ ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรู ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ กว่า 1000 รูป
Quote Tipitaka:
[๑๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
แม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์เหล่านี้ได้หรือไม่?
อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้งพระทัยให้ดี อาตมภาพ
จักแสดง.
ครั้นพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทูลสนองพระพุทธพจน์แล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า........................

ตรัสเรื่องจุลศีล...
ตรัสเรื่องมัชฌิมศีล...
ตรัสเรื่องมหาศีล...
ตรัสเรื่องอินทรีย์สังวร...
ตรัสเรื่องสติสัมปชัญญะ...
ตรัสเรื่องสันโดษ...
ตรัสเรื่องอุปานิวรณ์...
ตรัสเรื่องรูปฌาน4...
ตรัสเรื่องวิชชา8 เรื่องวิปัสสนาญาณ...
ตรัสเรื่องมโนมยิทธิญาณ...
ตรัสเรื่องอิทธิวิธญาณ....
ตรัสเรื่องทิพยโสตญาณ...
ตรัสเรื่องเจโตปริยญาณ....
แล้วก็เรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ดังต่อไปนี้
Quote Tipitaka:
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจาก
บ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม
เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น
ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้าน
นั้นเราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น
มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้
หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร
นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ข้อก่อนๆ.


ต่อจากนั้น ตรัสเรื่องจุตูปปาตญาณ...
แล้วต่อด้วยอาสวักขยญาณ.....
Quote Tipitaka:
[๑๓๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า
อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ได้กราบทูลพระดำรัสนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบ
เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า
ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่า
เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป
โทษได้ครอบงำหม่อมฉัน ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด หม่อมฉัน
ได้ปลงพระชนมชีพ พระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรมเพราะเหตุแห่งความเป็นใหญ่

ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับทราบความผิดของหม่อมฉันโดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า จริง จริง ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตรซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง
ไม่ฉลาด มหาบพิตรได้ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะเหตุ
แห่งความเป็นใหญ่ แต่เพราะมหาบพิตรทรงเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริงแล้ว ทรงสารภาพ
ตามเป็นจริง ฉะนั้น อาตมภาพ ขอรับทราบความผิดของมหาบพิตร ก็การที่บุคคลเห็นความผิด
โดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริงรับสังวรต่อไป นี้เป็นความชอบในวินัยของ
พระอริยเจ้าแล.
[๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอได้กราบทูลลาว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นหม่อมฉันขอทูลลาไปในบัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ขอมหาบพิตรทรงสำคัญเวลา ณ บัดนี้เถิด. ครั้งนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า
อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทรงเพลิดเพลินยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จไป. เมื่อท้าวเธอเสด็จไปไม่นาน
พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว
พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัดเสียแล้ว หากท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็น
พระราชาโดยธรรมไซร้ ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน จักเกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ ณ ที่
ประทับนี้ทีเดียว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบสามัญญผลสูตร ที่ ๒.

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แก้ไขล่าสุดโดย govit2552 เมื่อ 18 มิ.ย. 2013, 19:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8584


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
ถ้าเชือว่า ตายแล้วเกิดอีก ก็เป็นสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน

ลุงหมาน น่าจะพูดไม่จบนะครับ

คนที่เชื่อว่า ตายแล้วเกิดอีก แต่มีจุดสิ้นสุดที่พระนิพพาน ........... ไม่เป็นสัสสตทิฏฐิ นะครับลุงหมาน

คนที่เป็น สัสสตทิฏฐิ นี่ ไม่ค่อยจะเจอครับ ไม่ค่อยมี
ไม่มี ด้วยซ้ำไป ครับ

ชาวพุทธ ทั้งหลาย ระวัง
จะโดนพวก อุจเฉจทิฏฐิ ซึ่งมีอยู่มากมาย หลอก เรื่อง สัสสตทิฏฐิ โดยพยายามใช้สำนวนโวหาร
พูด แบบสั้นๆ ไม่จบความ เหมือนลุงหมาน ยกมา นี่แหละ

ถ้าเชือว่า ตายแล้วเกิดอีก ก็เป็นสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน

ถ้ารีบๆ อ่าน ไม่ไปดู ต้นฉบับ ให้ดี ก็จะหาว่า ความเชื่อเช่นนี้เป็น สัสสตทิฏฐิ

ยังดี ที่พวก อุจเฉจทิฏฐิ(ตายแล้วสูญ) ไม่เหมาว่า การเชื่อว่าการเวียนว่ายตายเกิด เป็นสัสสตทิฏฐิ

หรือมีคน เหมา แล้วก็ไม่รู้

ทั้งๆ ที่ในพระไตรปิฏก มีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ชาติก่อน ชาติหน้า ปรากฏอยู่เต็มไปหมด

ขอฟันธง ครับ ว่า
พวกที่มีความเห็นเป็นสัสสตทิฏฐิ ปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มี
ผมไม่เคยเจอ เลยสักคนเดียวครับ โตมาจนป่านนี้แล้ว


ถ้าจะอธิบายในเรื่อง"สัสสตทิฎฐิ"ให้ละเอียดลึกซึ้งคงต้องว่ากันยาว

ถามมีไหมในปัจจุบันนี้ ผมเองก็ไม่ทราบ แต่ในลัทธิที่เห็นว่า บาปบุญไม่มี วิบากไม่มี
ผลของบุญผลของบาปไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี ตายจากคน ชาติหน้าก็ต้องเป็นคน
ตายจากอะไรก็ไปเกิดอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง เห็นว่าเป็นของเที่ยง ยั่งยืน เป็นต้น
เป็นลัทธิที่พระองค์กล่าวว่าเป็นพวก มิจฉาทิฎฐิ ที่เรียก สัสสตทิฎฐิ

ลองไปหาอ่านในลัทธิของครูทั้ง ๖ มีลัทธิของปูรณกัสสปะ กับ ลัทธิมักขลิโคสาล
โดยเฉพาะลัทธิของปกุทธกัจจายนะ ค่อนข้างจะชัดเจน

การที่จะปฏิเสธเรื่องอะไรในธรรมะควรปฏิเสธแบบหลวมๆ อย่าปฏิเสธแบบแข็งแรง
หรือที่เรียกว่าเสียงแข็งหรืออย่างมั่นคง อาจเป็นมิจฉาทิฏฐิโดยความไม่ตั้งใจเสียเอง

ก็โปรดระมัดระวังด้วยเช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8584


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเชื่อมั่นมีอยู่หลายแห่ง แต่เมื่อสรุปแล้วก็มักจะมี ทิฏฐิ คือ
ความเห็นกันอยู่ ๒ อย่าง คือ
๐ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อย่าง ๑
๐ อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญอย่าง ๑

ในทางพระพุทธศาสนาแสดงว่า ความเห็นทั้ง ๒ นี้เป็น มิจฉาทิฏฐิ
คือความเห็นผิด ทั้ง ๒ อย่าง คือ
๐ เห็นว่าเที่ยงก็ผิด ๑
๐ เห็นว่าขาดสูญก็ผิด ๑

เพราะทางพระพุทธศาสนาไม่ยอมชี้ว่ามีอะไรเป็นอัตตาคือตัวตน
ที่จะให้เป็นที่ตั้งของอุปาทาน คือ ความยึดถืออยู่ในสิ่งนั้นเองยังมีอุปาทาน
คือความยึดถืออยู่ ก็ยังไม่สิ้นกิเลสและสิ้นทุกข์ เพราะความยึดถือนั้น

พระองค์ได้ทรงแสดงผลทีเกิดขึ้นแก่ปัญจวัคคีย์ เกิดความรู้เห็นชอบดั่งกล่าวมานั้น
เมื่อได้สดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเกิดนิพพิทา คือ ความหน่ายในรูป หน่ายในเวทนา
หน่ายใน สัญญา หน่ายในสังขาร หน่ายในวิญญาณ เมื่อหน่ายก็ย่อมสิ้นราคะ
คือ สิ้นความติด ความยินดี ความกำหนัด เมื้อสิ้นราคะ ก็ย่อมวิมุตติ คือ หลุดพ้น

เมื่อวิมุตติ ก็ย่อมมีญาณ คือความรู้ว่าวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว
และย่อมรู้ว่า ชาติ คือ ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่น ที่จะพึงทำเพื่อความเป็นเช่นนี้อีกต่อไป.

อยากทราบทิฏฐิเหล่านี้ โปรดอ่านทิฎฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตรพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ลองไปหาอ่านในลัทธิของครูทั้ง ๖ มีลัทธิของปูรณกัสสปะ กับ ลัทธิมักขลิโคสาล
โดยเฉพาะลัทธิของปกุทธกัจจายนะ ค่อนข้างจะชัดเจน


ที่ลุงหมานว่า มานี่ ไม่มีคนยุคนี้ เลยนะครับ ไม่เถียงครับ
ยอมรับว่ามีจริงๆ และปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ตามที่ลุงหมานบอกนั่นแหละ

แต่ที่ผมปฏิเสธเสียงแข็ง ก็คือ คนสมัยนี้ แทบไม่มีใครเป็นสัสสตทิฏฐิครับ ลุงหมาน
อย่าอ่านที่ผม นำเสนอ โดยอ่านแบบรีบๆ ครับ ลุงหมาน

สมัยนี้ มีใคร ไม่เรียนหนังสือ บ้างครับ .......... น้อยมาก
และในวิชาเรียน ก็มีวิชาวิทยาศาสตร์
ซึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่มีสอนเรื่องชีวิตหลังความตายเลย ไม่พูดถึงเลย
วิทยาศาสตร์ หนักไปทาง อุจเฉททิฏฐิ ครับ(คือตายแล้วขาดสูญ)

คนส่วนใหญ่ จึงมักมีความเอนเอียง ไปทาง อุจเฉททิฏฐิ ครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความเห็นว่า การเวียนว่ายตายเกิด สิ้นสุดลงที่พระนิพพาน เด็กๆ ก็ยังรู้เลยครับ

แต่ถ้า ความเห็น แบบนี้ ลุงหมาน แปลว่า คือ สัสสตทิฏฐิ ก็เป็นสัสสตทิฏฐิกันเกือบทั้งประเทศล่ะครับ

ดูให้ดีครับ การเวียนว่ายตายเกิด ที่สิ้นสุดลงที่พระนิพพาน ......... นั้นเที่ยงหรือไม่

ตีความแล้ว เข้าได้หรือไม่ กับคำว่า สัสสตทิฏฐิ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความหมายของ สัสสตทิฏฐิ ครับ ยังไม่พบว่า ตายแล้วเกิดอีก เป็นสัสสตทิฏฐิ ครับ(ผมจะลองค้นหาต่อไป)
Quote Tipitaka:
[๘๔๗] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน?
ความเห็นว่า ตนและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ.

อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน?
ความเห็นว่า ตนและโลกจักสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 4%AF%B0%D4

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความหมายของสัสสตทิฏฐิ ที่ยังไม่เกี่ยวกับ ตายแล้วเกิดอีก
Quote Tipitaka:
๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยความเห็นว่าโลกเที่ยง
[๔๓๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่น
อะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น
อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่
เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง.
[๔๓๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. สิ่งใดที่ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว ค้นคว้าแล้ว
ด้วยใจ แม้สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่า
เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินี-
*ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกผู้นี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่
ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๙.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 4%AF%B0%D4

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 23:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg
เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg [ 82.9 KiB | เปิดดู 3449 ครั้ง ]
s006
ในเมื่อไม่มีตัวตน แล้ว ใครเป็นผู้สร้างกรรม ใครเป็นผู้เสวยกรรม
s006
เมื่อไม่มีตัวตนแล้วย่อมหมดผู้สร้างกรรมและเสวยกรรม

onion
แต่ความเห็นว่าไม่มีตัวตนครั้งแรกหรือตอนใหม่ๆยังไม่ได้พิสูจน์ธรรมนั้น มันเป็นเพียงความรู้ความคิดเห็นทางปริยัติหรือทฤษฎี

ในชีวิตจริงแล้ว ปุถุชนทุกคน...มีความเห็นผิด ยึดผิด ว่ากายใจ หรือขันธ์ 5 นี้ เป็นตัวตน ของตนอยู่เสมอ
ตอนที่เป็นปุถุชนนี่แหละที่ มี อัตตา เป็นตัวสร้างกรรมและรับผลของกรรม(วิบาก)วนเวียนไปมาตามวงปฏิจจสมุปบาทไม่รู้จบสิ้น

ต่อเมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพุทธศาสนา ได้กัลยาณมิตรมาช่วยชี้แนะ สั่งสอน ให้รู้จักข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า...จนได้รู้จักวิธีเจริญวิปัสสนาภาวนา จนทำลายความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ยึดผิด (มานะทิฏฐิ)ว่าเป็น อัตตาตัวกู ของกู นี้ ขาดสะบั้นลง เมื่อนั้นจิตคนผู้นั้นจึงจะได้เข้าถึงสภาวะ อนัตตา หมดผู้กระทำภายใน...ผู้สร้างกรรม กับผู้รับผลกรรมก็หมดไป...ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยและกิริยาจิต

ดังนี้

onion onion
:b38: :b38:
:b53: :b53: :b53: :b45: :b45: :b45:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นของผม เราไม่ควรที่จะมองว่าแค่ขันธ์5หาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้เพียงอย่างเดียว เพราะขันธ์5ที่ดำรงอยู่ไดเพราะอาศัยปัจจัย มีเหตุให้ขันธ์5ดำรงอยู่ การเกิดดับของขันธ์5นั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ สิ่งที่โยงใยที่มากไปกว่านั้นคือ เหตุครับ ธรรมใดๆล้วนเกิดแต่เหตุ เพราะแต่ขันธ์5นั้นปรุงแต่งธรรมเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงจึงมีผลคือกรรมครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 04:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำว่า "ตัวตน" หมายถึงตัว "อัตตา" และที่เรียกว่า ตัวตน บุคคล เรา เขา ก็เป็นอัตตาทั้งสิ้น
ต้องมาเข้าใจว่า ในตัวอัตตานั้นก็คือตัวอุปาทาน ตัวอุปาทานนั้นองค์ธรรมก็ได้แก่ โลภะ
ตัวโลภะก็คือตัวตัณหา ตัวตัณหาก็คือตัวสมุทัย ตัวสมุทัยก็เป็นตัวนำเกิดใหม่
ตัวเกิดใหม่ พระตรัสว่า เป็นตัว สมุทัย อย่างชัดเจน
การเกิดใหม่นั้นก็ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ขันธ์ ๔ ขันธ์ ๑ อีกต่อไป

คำว่าอัตตาตัวตน หมายถึงสภาวะของจิตที่ไปยึดเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ดับไปแล้วเอาไว้
ไม่ยอมปล่อยวาง เช่น ถูกใครเขาด่ามา คำด่านั้นดับไปแล้ว แต่บุคคลนั้นยังไม่ยอม
ปล่อยวาง ยังเก็บเอามาเป็นความแค้น สภาวะอารมณ์แบบนี้แหละคือ...อัตตาตัวตน

อุปาทานไม่ใช่ตัวโลภะแต่อย่างเดียว แต่หมายถึงขันธ์ทั้งห้า
และโลภะก็ไม่ใชองค์ธรรมของอุปาทาน แต่เป็นองค์ธรรมของ สังขตธรรม(สังขาร)

ตัวสมุทัยที่พระพุทธองค์ทรงตรัส นั้นก็คือ....อวิชา
ความไม่รู้ทุกข์....ความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์.....ความไม่รู้การพ้นทุกข์....ความไม่รู้การปฏิบัติให้พ้นทุกข์

การเกิดใหม่ไม่ได้ประกอบด้วยขันธ์ห้า ขันธ์ห้าเกิดแล้วต้องดับ
แต่การเกิดใหม่ประกอบด้วย....อนุสัยกิเลส
อ้างคำพูด:
คำว่าไม่มีตัวตน ก็ได้แก่ ขันธ์ ๕ ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัย ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นตัวหลัก

คำว่า"ไม่มีตัวตน" ที่เกี่ยวกับธาตุ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ หมายถึง ความไม่มีตัวตนในกาย(ร่างกาย)
นั้นหมายความว่าร่างกายนี้เป็นเพียงที่อาศัยแห่งจิตเพียงชั่วคราว อีกหน่อยย่อมเน่าเปื้อยไป
อ้างคำพูด:
ไม่ค่อยเชื่อเรื่องเวียนว่าตายเกิด
ถ้าเชือว่า ตายแล้วเกิดอีก ก็เป็นสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน
ถ้าเชื่อว่า ตายแล้วไม่เกิดอีก ก็เป็นอุจเฉทิฏฐิ ก็เป็นความเห็นที่ขาดสูญย์
พระองค์ตรัสว่า เป็นมิจฉาทิฎฐิ ทั้ง ๒ อย่าง

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 699&Z=9769

การเวียนว่ายตายเกิด เป็นหลักคำสอนของพุทธองค์ เป็นการรู้ทุกข์เป็นสัมมาทิฐิ
แต่เจ้าของความเห็นมาบอกว่าเป็น สัสตทิฐิเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก

ความหมายของสัสสตทิฐิที่เป็นมิจฉาก็คือ การเข้าใจว่า ..........
ชาติปัจจุบันเป็นอะไร ชาติหน้าก็เป็นอย่างนั้น ซึ่งพระพุทธองค์ทรงชี้แนะว่า
การจะเกิดเป็นอะไร มันขึ้นอยู่ที่...กรรม

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 699&Z=9769
พระสูตรที่ว่าด้วย ....สาริปุตตโกฏฐิตสูตร
ไม่ได้สอนเรื่องที่เจ้าของความเห็นกำลังกล่าว
พระสูตรบทนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่อง สัสสตทิฐิหรืออุจเฉททิฐิ

แต่พระพุทธองค์กำลังกล่าวให้สาวกรู้ว่า ชาตินี้หรือชาติหน้าเป็นไปตามกรรม
กรรมเป็นเครื่องกำหนด เรื่องของกรรมเป็นอจินไตยไม่ควรไปคิดว่าตนมาจากไหน
และกรรมเป็นเรื่องเฉพาะตน พระพุทธองค์จึงไม่พยากรณ์ให้



แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร