วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 07:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 39, 40, 41, 42, 43, 44, 45 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 24 พ.ค. 2013, 23:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายพระวินัย)

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี เวลานั้นของขบฉันได้แก่ผลไม้ มีผู้นำมาถวายมาก พวกภิกษุพากันสงสัยว่าผลไม้ประเภทใดควรฉัน หรือไม่ควร พระพุทธองค์ทรงประทาน หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ ในฝ่ายพระวินัยที่เรียกว่ามหาประเทศ คือ

๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

(วินัย ๕/๙๒)


http://84000.org/tipitaka/read/?5/92
http://www.phrarattanatrai.com/files/tripidok/TPD009.htm


โพสต์ เมื่อ: 24 พ.ค. 2013, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) กาลามสูตร “หลักความเชื่อของชาวพุทธ”

(พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกไปที่เกสปุตตนิคม ของชนชาวกาลามโคตร)

ชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม เมื่อพบพระพุทธเจ้าก็พากันกราบทูลว่า สมณพราหมณ์หลายพวกหลายลัทธิผ่านมายังหมู่บ้านนี้ ต่างฝ่ายต่างก็ยกย่องลัทธิของตนว่าถูก ตำหนิว่าลัทธิของฝ่ายอื่นว่าผิด พวกตนงงไปหมด ไม่รู้จะเชื่อฝ่ายไหน

พระองค์ตรัสว่า ก็น่าที่พวกเธอจะสงสัยอยู่ดอก เพราะแต่ละฝ่ายก็ยกย่องแต่ลัทธิความเชื่อของตน เราตถาคตขอบอกว่า

๑. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะฟังตามกันมา

๒. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะนับถือสืบๆ กันมา

๓. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ

๔. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีอ้างไว้ในตำรา

๕. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรรกะ
(โบราณแปลว่า “เดา” แต่หมายถึงเหตุผลทางตรรกะ)

๖. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะอนุมาน
(คือสรุปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ)

๗. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะคิดตรองตามอาการที่ปรากฏ

๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเข้ากับความเห็นของตน

๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อถือ

๑๐. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของตน

พุทธวจนะนี้มิได้หมายความว่า ทรงสอนให้เป็นคนไม่เชื่อถืออะไรเลย แต่ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนจึงค่อยเชื่อ “ต่อเมื่อใด รู้ด้วยใจว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศลหรือกุศล มีโทษหรือไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตาม”

(ตามพุทธพจน์ที่ว่า

"ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่")

เกสปุตตสูตร ๒๐/๕๐๕


http://84000.org/tipitaka/read/?20/505
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=18318&f=7


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ค. 2013, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๔) หลักตัดสินธรรมวินัย ๘

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี พระนางมหาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ เพื่อหลีกออกปฏิบัติแต่ผู้เดียว พระพุทธองค์ทรงประทานลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ ให้ทรงปฏิบัติคือ:-

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ

๑. ความกำหนัด

๒. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ

๓. ความสั่งสมกิเลส

๔. ความมักมาก

๕. ความไม่สันโดษ

๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

๗. ความเกียจคร้าน

๘. ความเลี้ยงยาก

พึงทราบเถิดว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา

ส่วนธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า นั่นเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

สังขิตตสูตร ๒๓/๑๔๓


http://84000.org/tipitaka/read/?23/143
http://www.dhammajak.net/book/phrasut/sut07.php


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ค. 2013, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๕) ว่าด้วยภิกษุ ๒ จำพวก

พระพุทธเจ้าตรัสถึงภิกษุสาวก ๒ จำพวก คือ

(๑) พวกที่ดื้อด้าน ไม่สอบถามแนะนำซึ่งกันและกัน ได้แก่พวกที่เมื่อมีผู้อื่นกล่าวพระธรรมที่พระองค์สอน แล้วไม่ตั้งใจฟังตั้งใจเรียนรู้ปฏิบัติ แต่ไปฟังธรรมนอกศาสนาที่ผู้อื่นกล่าวไว้ หรือแม้คิดว่าเข้าใจในธรรมของพระองค์แล้ว แต่ไม่เปิดเผยไม่อธิบายไม่สอบถามสอบทานธรรมซึ่งกันและกัน ก็ได้ชื่อว่า เป็นภิกษุที่ดื้อด้าน ไม่สอบถามแนะนำซึ่งกันและกัน

(๒) พวกที่ไม่ดื้อด้าน และสอบถามแนะนำซึ่งกันและกัน ได้แก่พวกที่เมื่อมีผู้อื่นกล่าวพระธรรมที่พระองค์สอน แล้วตั้งใจฟังตั้งใจเรียนรู้ปฏิบัติด้วยดี โดยไม่ใส่ใจไปฟังธรรมนอกศาสนาที่ผู้อื่นกล่าวไว้ และเปิดเผยอธิบายสอบถามสอบทานในพระธรรมที่พระบรมครูตรัสไว้ดีแล้วซึ่งกันและกัน


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑
บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน

ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก* ซึ่งสาวก**ได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

(*) อรรถกถาขยายความว่า "บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา."
(**) อรรถกถาขยายความว่า "บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้."
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=287


อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน

ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ

ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


http://84000.org/tipitaka/read/?20/292


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ค. 2013, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๖) อาณิสูตร ว่าด้วยกลองอานกะ

"พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา

แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก* เป็นสาวกภาษิตอยู่** จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

(*) อรรถกถาขยายความว่า "บทว่า พาหิรกา ได้แก่ มีภายนอกพระศาสนา."
(**) อรรถกถาขยายความว่า "บทว่า สาวกภาสิตา ความว่า สามเณร ภิกษุหนุ่ม มาตุคามและมหาคหบดีเป็นต้นมีความพอใจ เพราะพระสูตรเหล่านั้นมีอักษรวิจิตรและสมบูรณ์ด้วยการฟัง จักเป็นผู้ปรารถนาประชุมฟังด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นธรรมกถึก."
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=672


ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ"

อาณิสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


http://84000.org/tipitaka/read/?16/672-673


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ค. 2013, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ชาวพุทธนักปฏิบัติที่ดี ควรใช้หลักดังกล่าวที่พระบรมครูทรงให้ไว้ด้วยพระองค์เอง สำหรับเป็น guideline เพื่อเอาไว้ศึกษาปฏิบัติ จนเห็นแจ้งในธรรมตามพระองค์ ตลอดจนรักษาพระศาสนา รักษาพระธรรมวินัยของพระบรมครูไว้มิให้ผิดเพี้ยน จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงสูญหายไปก่อนกาลเวลาอันควร .. :b41: :b41: :b41:

"เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก"

ตามปณิธานในการประกาศพระศาสนาของพระบรมครูด้วย ดังนี้ นะครับ :b8: :b46: :b44:


แล้วมาต่อกันที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายในอิริยาบถใหญ่ที่เหลือในคราวหน้า :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมวันวิสาขบูชาครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 01:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
(๒) หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายพระวินัย)

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี เวลานั้นของขบฉันได้แก่ผลไม้ มีผู้นำมาถวายมาก พวกภิกษุพากันสงสัยว่าผลไม้ประเภทใดควรฉัน หรือไม่ควร พระพุทธองค์ทรงประทาน หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ ในฝ่ายพระวินัยที่เรียกว่ามหาประเทศ คือ

๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

(วินัย ๕/๙๒)


http://84000.org/tipitaka/read/?5/92
http://www.phrarattanatrai.com/files/tripidok/TPD009.htm


คำว่าควร หรือ ไม่ควร นี้จัดเป็นการพิจารณาด้วยปัญญา ใช่ไหมครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 19:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่ผลการปฏิบัติ 18.30 น.การกำหนดรู้ความสั่นสะเทือนหรือความไหวภายในกาย ที่เปลี่ยนมารู้สภาวะแรงที่กระทำบริเวณหัวใจ จะเร็วกว่าช่วงที่เกิดสภาวะทุกขัง ที่เป็นเช่นนี้เพราะแรงเกาะเกี่ยวต่างถูกสลายเป็นทุกขัง และสลายเป็นอนัตตาในลำดับต่อมา การรู้ความสั่นสะเทือนหรือความไหวในส่วนของกายจึงยุบ แคบ เล็กลงมา จนกระทั่งมาอยู่ในตำแหน่งที่ราวนมด้านขวา และการรู้ส่วนของใจที่ราวนมซ้าย ขณะนั้นการรู้สลับ ณ 2 จุด ใช้เวลาจุดละประมาณ 2 วินาที่ การรู้ไม่ใช่แค่การกระทบตำแหน่งแต่ต้องรู้สึกถึงสภาวธรรม ณ ตำแหน่งนั้นด้วยซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต่อมาความรู้ ณ 2 จุดขยับมาจนเกือบเป็นจุดเดียวกันและความรู้สึกนั้น ลอยสูงขึ้นมาอยู่ทีประมาณ หน้าผาก มีลักษณะ เหมือนการเคลื่อนที่ของเข็มนาฬิกา ต็อก ๆ( 1 วินาที) ณ เวลานั้นผมระลึกถึงคำสอนของพระอาจารย์ทางเหนือ ว่าถ้าพบ สภาวะที่จิตเคลื่อนที่เป็นขณะๆให้รู้ตามและปล่อยรู้ ผมจึงลองทำตามซึ่งก็ไม่รู้หรอกว่าทำแล้วจะเป็นอย่างไร สังเกตได้ว่าขณะรู้ตามต็อก ๆ (ขอเรียกอย่างนี้ก็แล้วกัน) ต็อก ๆ จะแรง พอปล่อยรู้ ต็อกๆ จะเบาลงจนเกือบหายไป จึงเอาความรู้สึกไปรู้ต็อก ๆ ใหม่ ทำอย่างนี้กลับไปมา 4-5 รอบ :b39: :b41: และแล้ว.....ชั่วแวบเมื่อรู้สึกตัวพบสภาวที่จิตอิสระจากแรงร้อยรัดทั้งปวงจิตเป็นส่วนเดียวกับธรรมชาติ ไม่มีศูนย์กลาง ซึ่งไม่สามารถใช้ภาษาบรรยายได้มากกว่านี้ :b41: :b39:

:b8: :b8: :b8: ขออภิวาทแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์สาวก :b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 01 มิ.ย. 2013, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เกณฑ์สำหรับชี้วัดการเข้าถึงโลกุตระธรรมขั้นต้นจากแว่นธรรม
(1) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่าแม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลก เป็นสารถีผู้ฝึกคนที่ควรฝึกไม่มีผู้ข้อนี้ยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ทรงจำแนกธรรม ดังนี้.
(2) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ดีแล้ว ผู้บรรลุพึงเห็นด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เรียกคนอื่นมาดูได้ น้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตน
(3) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่าพระสงฆ์สาวกของพระพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ เป็นผู้ปฏิบัติสมควร พระสงฆ์สาวกนี้ คือ ใคร คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ บุรุษบุคคล ๘ ท่าน นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่ของนำมาคำนับ เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
(4) เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ ดูก่อนอานนท์ ธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมนี้แล ซึ่งพระอริยาสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้วเมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบาย ทุคคติและวินิบาต
สิ้นแล้ว

สภาพจิตภายหลังการบรรลุ( ไม่เป็นเกณ์มาตรฐานเป็นเพียงเครื่องสังเกต)
1.ร่างกายและจิตใจ ปลอดโปร่งเสมอ
2.ความไม่กลับไปกลับมา โดยกิเลสที่ประหารแล้วไม่กำเริบไม่ต้องระวัง แต่ต้องเพียรระวังและละกิเลสที่ยังเหลือ ได้แก่ มานะ เป็นต้น
3.สภาพจิตใจ หลังตื่นนอนใหม่ๆ ไม่ซึมเซา หรือท้อแท้ เหมือนแต่ก่อน โดยผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไปในช่วงรู้สึกตัว สติจะหล่อเลี้ยงจิตใจ แต่ในยามหลับสติจะขาดลง ดังนั้นเมื่อตื่นนอนใหม่ๆ จึงพบว่าจิตใจยังถูกนิวรณ์ครอบงำ พอรู้สึกตัวดีแล้วนิวรณ์จึงหายไป แต่ผู้เข้าถึงกระแสจะไม่เป็นเช่นนั้น
4.จะไม่ฝันเป็นเรื่องเป็นเรื่องราวเหมือนแต่ก่อน

การสอบทานกับผู้ที่บรรลุขั้นสูงกว่า หรือขั้นเดียวกัน กล่าวคือ ผู้เข้าถึงด้วยกันเท่านั้นที่จะรู้กันได้


โพสต์ เมื่อ: 02 มิ.ย. 2013, 08:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาบัน 3 ประเภท
1.อริยโสดาบัน เป็นผู้เห็นฝั่งพระนิพพานอย่างแท้จริง สิ้นความสงสัยในพระรัตนตรัย และคุณธรรมของตน
2.อุลลปนาธิปปายโสดาบัน เป็นผู้รู้ว่าตนเองยังไม่ได้มรรคผลนิพพาน แต่อยากได้ผลเร็วๆ จึงแจ้งกับอาจารย์ว่ามีสภาวธรรมนั้น ๆ (ซึ่งตนเคยได้ยินมา) การกล่าวเท็จนี้ทำให้อาจารย์หลงเชื่อ
3.อธิมานิกโสดาบัน เป็นผู้เข้าใจผิด โดยมีสภาวธรรมบางอย่างเกิดขึ้น และเคยได้ยินว่าสภาวะแบบนั้น หรือเคยได้ฟังเทศน์ลำดับญาณ ว่าเป็นการบรรลุมรรคผลประการหนึ่ง สำหรับสภาวธรรมบางอย่างที่อาจทำให้เข้าใจผิด คิดว่าบรรลุมรรคผล มีดังนี้
3.1 ทำสมาธิแล้วจิตสงบ รู้สึกงูบลงแล้วรู้สึกตัว รู้สึกปลอดโปร่ง เป็นการดับด้วยสมาธิมากไป ถีนมิทธะ
3.2 ทำสมาธิแล้วตัวเบาสบายจิตปลอดโปร่ง แล้วงูบลง เป็นการดับด้วยปิติ
3.3 ทำสมาธิแล้วเกิดความว่าง เสมือนไม่มีกิเลส
3.4 ทำสมาธิแล้วเกิดวิปัสสนาญาณ เห็นไตรลักษณ์ แล้วเกิดงูบลงขณะเกิดทุกข์( มุญจิกมยตาญาณ หรือปฏิสังขารญาณ)
3.5 ทำสมาธิแล้วเกิดวิปัสสนาญาณ เห็นไตรลักษณ์ แล้วเกิดงูบลงขณะการกำหนดสภาวะรูปนามที่ปลอดโปร่งเป็นไปเอง(สังขารุเบกขาญาณ) ตรงนี้เป็นสภาวธรรมที่ใกล้เคียงที่สุด ทำให้มีผู้เข้าใจผิดจำนวนมากว่าตนเองเข้าถึงมรรคผลนิพพานแล้ว การปฏิบัติในลำดับนี้ถึงแม้สภาวธรรมจะครบหมด แต่ที่ยังไม่สามารถข้ามฝั่งได้ เพราะอินทรีย์ยังไม่ถึงความแก่รอบ(สัมโพชฌงค์)
ที่กล่าวทั้งหมดสภาวธรรม ข้อ 3.4 และ3.5 จะหลงง่ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อสมาธิที่ทำให้สงบคลายลง กิเลสก็จะแสดงตัวออกมา


โพสต์ เมื่อ: 10 มิ.ย. 2013, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
วิสุทธิปาละ เขียน:
(๒) หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายพระวินัย)

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี เวลานั้นของขบฉันได้แก่ผลไม้ มีผู้นำมาถวายมาก พวกภิกษุพากันสงสัยว่าผลไม้ประเภทใดควรฉัน หรือไม่ควร พระพุทธองค์ทรงประทาน หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ ในฝ่ายพระวินัยที่เรียกว่ามหาประเทศ คือ

๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

(วินัย ๕/๙๒)


http://84000.org/tipitaka/read/?5/92
http://www.phrarattanatrai.com/files/tripidok/TPD009.htm


คำว่าควร หรือ ไม่ควร นี้จัดเป็นการพิจารณาด้วยปัญญา ใช่ไหมครับ


ขอโทษด้วยครับที่มาตอบช้า :b46: :b39: :b46:

ถ้าจะเอาแบบสั้นกระชับ ก็คงตอบได้ว่า :b48: :b47: :b48:

ถูกต้องครับที่ว่า คำว่าควรหรือไม่ควรนี้ จัดเป็นการพิจารณาด้วยปัญญา :b46: :b39: :b46:

แต่อย่างไรก็ตาม คำถามนี้ คงไม่สามารถตอบว่า "ใช่" ได้โดยส่วนเดียว โดยไม่มีเงื่อนไข :b1: :b46: :b44:


โพสต์ เมื่อ: 10 มิ.ย. 2013, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออธิบายย้อนความสักเล็กน้อยนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

พระวินัยตรงส่วนนี้ เกี่ยวเนื่องด้วยการบริโภคใช้สอยขบฉัน ที่พระบรมครูทรงให้เหล่าภิกษุไว้พิจารณาเพื่อเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า การบริโภค (หรืออาจจะตีความครอบคลุมได้ถึงวัตรปฏิบัติต่างๆด้วย) นั้น ขัดกับพระวินัยที่ทรงวางไว้หรือไม่ :b48: :b49: :b48:

(กรณีที่ทรงไม่ได้มีระบุห้ามหรือไม่ห้าม อนุญาตหรือไม่อนุญาตไว้ในพระวินัยโดยตรง) :b54: :b49: :b48:

ลองดูพุทธพจน์ที่เนื่องด้วยการบริโภคใช้สอยขบฉันอีกบทหนึ่ง ประกอบกันอีกสักหน่อยนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

อาสวะที่พึงละได้ด้วยปฏิเสวนะ (การส้องเสพ, การใช้สอย, การบริโภค)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ฉะนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.


สัพพาสวสังวรสูตร http://84000.org/tipitaka/read/?12/14


โพสต์ เมื่อ: 10 มิ.ย. 2013, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งตรงนี้ก็คือที่มาของบท ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะวิธี ซึ่งขึ้นต้นด้วย ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวรํ ปฎิเสวามิ (หรือ ปฏิเสวติ) หรือบทปฏิสังขาโยฯ ที่พระท่านสวดเพื่อพิจารณาปัจจัย ๔ ในการใช้สอยขบฉันนั่นเองครับ :b1: :b46: :b47: :b46:

และในทุกวรรคของคาถานี้ จะประกอบไปด้วยคำว่า "เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว" (ภิกฺขุ ปฏิสงฺขา โยนิโส) ซึ่งมีคำว่า "ปฏิสังขา" คือทบทวน และคำว่า "โยนิโส" คือการพิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเป็นอาการที่เนื่องด้วยการใช้ปัญญา ทบทวน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง :b46: :b39: :b46:

และที่กล่าวว่า คำถามที่ถามมานี้ คงไม่สามารถตอบว่า "ใช่" โดยส่วนเดียวได้ โดยไม่มีเงื่อนไข ก็เนื่องเพราะตรงคำที่ว่า "ปฏิสังขา" นี้นะครับ :b39: :b39: :b39:

เพราะพระบรมครูให้ใช้ปัญญา พิจารณา ทบทวน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง :b48: :b49: :b47:

ซึ่งปัญหาก็มีอยู่ว่า แล้วปัญญาของภิกษุที่ใช้พิจารณานั้นหน่ะ มีถึงแค่ระดับไหน หรือเป็นมิจฉาปัญญาที่ประกอบด้วยอคติ ตามใจกิเลส :b34: :b46: :b41:

ซึ่งถ้าใช้ปัญญาเช่นนั้นในการพิจารณา ก็จะไม่มีการทบทวน ไม่ประกอบไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง :b48: :b49: :b48:


เหมือนกับพระวินัยที่ผิดเพี้ยนไปเนื่องจากภิกษุวัชชีบุตรได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ เช่น ตกลงให้ภิกษุสามารถฉันอาหารบ่าย, ดื่มสุราอ่อน, รับเงินทอง ฯลฯ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้เป็นเหตุเกิดของการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พระพุทธศาสนาแยกเป็น ๒ นิกาย คือเถรวาท และอาจริยวาท หรือมหายานในปัจจุบัน นั่นเอง :b46: :b39: :b44:

http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=7659&Z=7674&pagebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 10 มิ.ย. 2013, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ ถ้าภิกษุไม่แน่ใจในภูมิปัญญาของตน แต่ต้องการปฏิบัติตามพุทธบัญญัติให้สมกับเป็นพุทธบุตรที่ดีแล้ว ควรจะทำการทบทวน (ปฏิสังขา) เพื่อช่วยในการพิจารณาของตนให้ไปในทางที่ถูกที่ควรนั้น ได้กับอะไร :b10: :b46: :b42: :b43:

พิจารณาจากพุทธพจน์ในกาลามสูตรอีกครั้งนะครับ :b1: :b46: :b39: :b44:

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด

ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า

(๑) ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
(๒) ธรรมเหล่านี้มีโทษ
(๓) ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน
(๔) ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์

เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด

ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า

(๑) ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
(๒) ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
(๓) ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
(๔) ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข

เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4930&Z=5092&pagebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 11 มิ.ย. 2013, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะว่าตามคำสอนของพระบรมครู คือหลังจากพิจารณาด้วยตนเองแล้วว่า (๑) ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล (๒) ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ (๔) ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข :b46: :b39: :b46:

ก็ต้องอย่าลืมทบทวนว่า (๓) ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ :b46: :b39: :b46:

คือเหล่าผู้รู้ในธรรมแจ่มแจ้งแล้ว ไม่มีอคติในธรรม หรือวิญญูชนเหล่านั้น ยอมรับสรรเสริญ (วิญฺญุปฺปสตฺถา) :b46: :b39: :b46:

(ความหมายของวิญญูชนในทางพุทธ http://goo.gl/i3XbP ) :b46: :b39: :b46:

หมายถึงทบทวนสอบทานกับเหล่าผู้รู้ในธรรมแจ่มแจ้งแล้ว หรือผู้มีภูมิธรรมสูงกว่าตน เป็นผู้ไม่มีอคติในธรรม หรือเหล่าวิญญูชนนั้นอีกที

ไม่ใช่ให้เชื่อตามความคิดตนเองหรือเฉพาะกลุ่มของตนเอง แล้วตัดสินด้วยตนเอง หรือกลุ่มของตนเอง (ที่ยังไม่รู้แจ้งในธรรม หรือยังมีอคติในการตัดสินธรรม) แต่เพียงฝ่ายเดียว


ซึ่งถ้าพิจารณา ใช้ปัญญาโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง หรือกลุ่มของตนเองฝ่ายเดียว แล้วบริโภคขบฉัน หรือปฏิบัติตามวัตรนั้น โดยไม่ทบทวนสอบทานกับเหล่าวิญญูชนภิกษุสงฆ์ผู้รู้แจ้งในธรรมวินัยแล้ว ก็อาจจะพลาดจากธรรมวินัยได้นะครับ

หวังว่า คงเป็นคำตอบที่ทำให้เกิดความเจริญในธรรมได้ นะครับ :b1: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 39, 40, 41, 42, 43, 44, 45 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร