วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 23:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ติดพันมาจากกระทู้อื่น เห็นเพื่อนๆกำลังสับสนกับบัญญัติที่ว่าด้วย สัจจะ
เอาบัญญัตินี้ไปตีความในแง่ว่ามันเป็นลักษณะ ความจริง ความเท็จ
คนที่เข้าใจแบบนี้ แสดงว่า ไม่ได้รู้จักตัวเอง ไม่รู้ว่ารูปธรรมและนามธรรมเป็นเช่นไร

ธรรมทั้งหมดทั้งมวลรวมเรียกว่า....สัจจะ

ธรรมที่เกิดภายในกายใจเราเรียกว่า.....ปรมัตถ์สัจจะ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน
ธรรมนอกกายใจเราเรียกว่า...... สมมุติสัจจะ อันได้แก่ คน สัตว์ ความเป็นพ่อแม่ ฯลฯ

มีบางคนหลงเอาคำพูดของครูบาอาจารย์ มาตีความผิดๆ เอาคำพูดของท่าน
ที่ว่า"จริงแท้" มาตีความไปว่าเป็นเรื่อง ความจริงความเท็จ แบบนี้มันเป็นการเข้าใจที่ผิด

คำพูดของครูบาอาจารย์ที่บอกว่า "จริงแท้" หมายถึง การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง(วิชชา)
ไม่ได้หมายถึงการพูดจริงพูดโกหก จริงเท็จอะไรนั้น

ความจริงความเท็จมันล้วนแล้วแต่เป็น สัจจะ แต่มันเป็น สมมุติสัจจะ
ถ้าเป็นภายในกายใจเรา ไม่มีความจริงความเท็จ มีแต่สภาวะอารมณ์ อันเป็นปรมัตถ์สัจจะ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายสมมุติสัจจะ บางท่านเห็นคำว่า สมมุติอาจจะเข้าใจไปว่า ไม่มีอยู่จริง
หาเป็นเช่นนั้นไม่ สมมุติสัจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เพียงแต่มันเป็นสภาพธรรมภายนอกกายใจ
เราจึงเรียกมันว่า สมมุติสัจจะ

อย่างเช่น ผู้หญิงหรือผู้ชาย มันก็มีอยู่จริง เพียงแต่การรับรู้หญิงชาย เพื่อผ่านเข้ามาในกายใจแล้ว
มันจะเป็นเพียงสภาวะรูป ไม่มีความเป็นหญิงหรือชาย
เราเรียกธรรมนอกกายใจที่เป็นหญิง ชายว่าเป็นสมมุติสัจจะ และเรียกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในกายใจเรา
ซึ่งเป็นสภาวะรูป(ไม่เป็นหญิงชาย) เราเรียกสภาวะนั้นว่า ปรมัตถ์สัจจะ

อีกครับ สิ่งที่ได้รับทางหูที่เรียกว่าเสียง เมื่อมันเข้ามากระทบกายใจเรา เราก็เรียกเสียงนั้นว่ารูป
เราจะไม่เรียกสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางหูว่าเสียง แต่เราเรียกว่า รูปปรมัตถ์หนึ่งในปรมัตถ์สัจจะ
เท่ากับว่าเสียงเป็นสมมุติสัจจะ สภาวะที่เกิดจากประสาทหูเรียกว่า ปรมัตถ์สัจจะ

ที่กล่าวมารวมถึง สิ่งที่เกิดจากประสาทอื่นๆด้วย เช่น กลิ่นเมื่อผ่านจมูก มันก็เป็นรูปปรมัตถ์
รสเมื่อผ่านลิ้นก็เป็นรูปปรมัตถ์ โพธัพพะและธัมมารมณ์ก็เป็นรูปปรมัตถ์เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อธิบายสมมุติสัจจะ บางท่านเห็นคำว่า สมมุติอาจจะเข้าใจไปว่า ไม่มีอยู่จริง
หาเป็นเช่นนั้นไม่ สมมุติสัจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เพียงแต่มันเป็นสภาพธรรมภายนอกกายใจ
เราจึงเรียกมันว่า สมมุติสัจจะ

อย่างเช่น ผู้หญิงหรือผู้ชาย มันก็มีอยู่จริง เพียงแต่การรับรู้หญิงชาย เพื่อผ่านเข้ามาในกายใจแล้ว
มันจะเป็นเพียงสภาวะรูป ไม่มีความเป็นหญิงหรือชาย
เราเรียกธรรมนอกกายใจที่เป็นหญิง ชายว่าเป็นสมมุติสัจจะ และเรียกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในกายใจเรา
ซึ่งเป็นสภาวะรูป(ไม่เป็นหญิงชาย) เราเรียกสภาวะนั้นว่า ปรมัตถ์สัจจะ

อีกครับ สิ่งที่ได้รับทางหูที่เรียกว่าเสียง เมื่อมันเข้ามากระทบกายใจเรา เราก็เรียกเสียงนั้นว่ารูป
เราจะไม่เรียกสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางหูว่าเสียง แต่เราเรียกว่า รูปปรมัตถ์หนึ่งในปรมัตถ์สัจจะ
เท่ากับว่าเสียงเป็นสมมุติสัจจะ สภาวะที่เกิดจากประสาทหูเรียกว่า ปรมัตถ์สัจจะ

ที่กล่าวมารวมถึง สิ่งที่เกิดจากประสาทอื่นๆด้วย เช่น กลิ่นเมื่อผ่านจมูก มันก็เป็นรูปปรมัตถ์
รสเมื่อผ่านลิ้นก็เป็นรูปปรมัตถ์ โพธัพพะและธัมมารมณ์ก็เป็นรูปปรมัตถ์เช่นกัน

หญิงชาย เป็นได้ทั้งสมมติสัจจะ และปรมัตถ์สัจจะ ๒ สัจจะ
อธิบาย
หญิงชาย เป็นสมมติสัจจะ สมมติว่าเป็นหญิงเป็นชาย แท้จริง หญิงชายไม่มี
จึงมีแต่สภาวะ จึงเป็นปรมัตถ์สัสัจจ์คือ เป็นการแสดงสภาพความเป็นหญิงหรือชาย
ให้รู้ได้ด้วยใจโดยอาศัยรูปร่างสัณฐานจากรูปนั้น มิใช่รู้ด้วยตา หรือรู้ได้ด้วยหู
เป็นเพราะเห็นรูปร่างสัณฐานหรือได้ยินเสียง ก็สามารถรู้ได้ว่าเป็นหญิงเป็นชาย แท้ที่จริงแล้ว
ตามีความเห็นแค่สีต่างๆเท่านั้นเอง หูก็เช่นกันมีความสามารถรับแค่เสียงต่างๆเท่านั้น
ฉะนั้นตาก็ไม่เห็นหญิงหรือชาย หูก็ไม่ได้ยินเสียงว่าเป็นหญิงเป็นชาย
เพียงแต่รู้ได้ทางใจที่ผ่านมาทางตาและหูเท่านั้น
ที่เห็นว่าเป็นหญิงเป็นชาย ได้ยินเสียงก็รู้ได้ว่าเป็นหญิงเป็นชาย
แม้แต่ทางกายก็ไม่สามารถสัมผัสหญิงหรือชายได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
หญิงชาย เป็นได้ทั้งสมมติสัจจะ และปรมัตถ์สัจจะ ๒ สัจจะ
อธิบาย
หญิงชาย เป็นสมมติสัจจะ สมมติว่าเป็นหญิงเป็นชาย แท้จริง หญิงชายไม่มี
จึงมีแต่สภาวะ จึงเป็นปรมัตถ์สัสัจจ์คือ เป็นการแสดงสภาพความเป็นหญิงหรือชาย
ให้รู้ได้ด้วยใจโดยอาศัยรูปร่างสัณฐานจากรูปนั้น มิใช่รู้ด้วยตา หรือรู้ได้ด้วยหู
เป็นเพราะเห็นรูปร่างสัณฐานหรือได้ยินเสียง ก็สามารถรู้ได้ว่าเป็นหญิงเป็นชาย แท้ที่จริงแล้ว
ตามีความเห็นแค่สีต่างๆเท่านั้นเอง หูก็เช่นกันมีความสามารถรับแค่เสียงต่างๆเท่านั้น
ฉะนั้นตาก็ไม่เห็นหญิงหรือชาย หูก็ไม่ได้ยินเสียงว่าเป็นหญิงเป็นชาย
เพียงแต่รู้ได้ทางใจที่ผ่านมาทางตาและหูเท่านั้น
ที่เห็นว่าเป็นหญิงเป็นชาย ได้ยินเสียงก็รู้ได้ว่าเป็นหญิงเป็นชาย
แม้แต่ทางกายก็ไม่สามารถสัมผัสหญิงหรือชายได้

สภาวะที่เป็นปรมัตถ์ ไม่มีลักษณะของหญิงชาย ลักษณะของหญิงชายเกิดจาก
การไปกำหนดรู้ไว้ก่อนว่า สิ่งที่เห็นเป็นหญิงหรือชาย เมื่อรู้แล้วเมื่อเกิดการกระทบของตา
สิ่งที่ตาไปกระทบเป็นเพียงรูปที่ไม่ใช่ชายไม่ใช่หญิงเป็นเพียงแสงสี
ชายหรือหญิงเกิดขึ้นภายหลังเป็นสังขาร
ชายหรือหญิงจึงเป็นเพียงธัมมารมณ์ที่มากระทบใจภายหลัง
มันเกิดจากการปรุงแต่งก่อนหน้า ก็คือรูปที่ปกระทบกับตา ดังนั้นลักษณะชายหรือหญิง
จึงไม่ใช่รูปปรมัตถ์ แต่เป็นเจตสิก
ซึ่งก็นับว่าเป็นปรมัตถ์สัจจะเหมือนกัน

รูปโดยแท้จริงแล้วก็คือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุทั้งสี่เป็นเหตุปัจจัยของ ปสาทรูป
ปสาทรูป ปสาทรูปหรือทวารเป็นเกิดของจิต ดังนั้นสิ่งที่มากระทบ
ปสาทรูป จนเกิดสภาวะขึ้น สภาวะนั้นไม่ได้เป็นรูปแล้ว
แต่เป็นวิญญาณหรือจิตในสภาวะปรมัตถ์นั้นเอง
ฉะนั้นสิ่งที่เป็นแสดงความเป็นชายหญิง จึงไม่ใช้รูปปรมัตถ์ แต่เป็นเจตสิก

ที่ลุงหมานบอกว่า หญิงชายเป็นปรมัตถ์สัจจะ๒สัจจะ สงสัยลุงหมานคงหมายถึง
ชายหญิงเป็นรูปปรมัตถ์(คิดตามที่ลุงเคยเอามาโพส) ผมว่าไม่ใช่ครับ

แต่ถ้าเรียกมันว่าเจตสิก(ปรมัตถ์) พอได้ครับ เพราะมันมีเหตุปัจจัยมาจากเจตสิก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2013, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่า การเห็นเป็นหญิงหรือชาย เพราะเกิดผัสสะ แล้วบริโภคธรรมเพราะจิตปรุงแต่ง เกิดเป็นความคิดหรือบุญบาป

เหตุเกิดของการเห็นเพราะทวารคือปสาทรูปหรือตา แต่ปสาทรูปก็ไม่เที่ยง มีเหตุคืออาหารหล่อเลี้ยง ไม่อย่างนั้นขันธ์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ปรมัตถ์สัจจะคือ การเกิดดับของแสงที่อาศัยเหตุ เช่น หากไม่มีพื้นดิน แสงจะกระทบที่ใด และการเกิดดับของธาตุรู้คือ จักษุธาตุ เช่นหากหลับตา หรือ ตาบอด หรือ ไม่อยู่ในรัศมีการมอง ผัสสะเกิดเพราะมีเหตุคือวิญญาณ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2013, 04:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่นี้มาดูว่า ความเท็จและความจริง เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับสัจจะอย่างไร
ถ้าบอกว่าความจริงเป็นสัจจะ ความเท็จไม่ใช่สัจจะแบบนี้มันไม่ใช่ครับ
แต่ถ้าบอกว่าทั้งความจริงและความเท็จ ล้วนเป็นสัจจะด้วยกันทั้งนั้น

ตามที่ได้บอกมาตอนต้นว่า สัจจะไม่ได้เกี่ยวกับคำพูดโกหกหรือคำพูดที่จริงใจ
ความหมายของสัจจะแท้ๆก็คือ ความเป็นไปของกายใจเรากับธรรมชาตินอกกายใจ
ธรรมภายในกายใจเราเรียกว่า ปรมัตถ์สัจจะ
ธรรมนอกกายใจเรียกว่า สมมุติสัจจะ

ถ้าความจริงหรือความเท็จเป็นคำพูดหรือการกระทำ พระพุทธองค์ไม่ได้ให้เราดูที่คำพูดหรือการกระทำ
แต่พระพุทธองค์ให้ดูที่ กายใจตนเอง คำพูดหรือการกระทำเกิดจากจิตที่ไปบ่งการให้เกิดกากระทำ
และวาจา และสิ่งที่ไปบ่งการเขาเรียก จิตสังขาร

จิตสังขารก็คือเจตสิกนั้นเอง ความเป็นกุศลและอกุศลล้วนแล้วแต่เป็นเจตสิก
พูดจริงเกิดจาก เจตสิกที่เป็นกุศล พูดเท็จเกิดจากเจตสิกที่เป็นอกุศล

ดังนั้นจึงกล่าวว่า ทั้งจริงและเท็จล้วนเป็นสัจจะหรือเป็น ปรมัตถ์สัจจะ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2013, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึงรูปที่แสดงสภาพความเป็นหญิงเป็นชาย ให้รู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัย รูปร่างสัณฐาน
เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ จากรูปเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้ได้
ภาวรูป มี ๒ อย่าง คือ อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป


อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย
เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจคือ รู้ได้ทางมโนทวารวิถี มิใช่รู้ได้ด้วยตา หรือได้ด้วยหู เป็นเพราะเห็นรูปร่างสัณฐานหรือได้ยินเสียง
ก็สามารถรู้ว่าเป็นหญิง แท้ที่จริง ตามีความเพียงแต่เห็นสีต่างๆ และหูก็มีความสามารถเพียงได้ยินเสียงต่างๆ เท่านั้นเอง
ไม่สามารถเห็นเป็นหญิง หรือได้ยินเป็นหญิงได้ แต่ที่รู้ว่าเป็นหญิงนั้น ย่อมรู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัยภาวรูปเป็นส่วนแสดงออกนั่นเอง

อิตถีภาวรูป มีวจนัตถะว่า อิตถิยา ภาโว = อิตฺภาโว แปลว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง
ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ มีคุณลักษณะเฉพาะตัวดังนี้ คือ
อิตฺถีภาว ลกฺขณํ.........................................มีสภาวะเป็นหญิง..... ................................เป็นลักษณะ
อิตฺถีติปกาสน รสํ........................................มีการประกาศความเป็นหญิง........................เป็นกิจ
อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ............มีรูปสัณฐานหรือการงานของหญิง เป็นต้น......เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ...................................มีมหาภูตรูป ๔ ............................................เป็นเหตุใกล้

ปุริสภาวรูป
ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชายให้ปรากฎ เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
มีแผ่ซ่านทั่วไปในร่างกายมีรูปธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ คือทางมโนทวาร มีวจนัตถะว่า ปุมสฺส = ปุมภาโว
แปลความว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นชาย ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า ปุมภาวะ หรือ ปุริสภาวะ มีลักษณะพิเศษดังนี้คือ

ปุริสภาว ลกฺขณํ............................... .......มีสภาวะของชาย...........................................เป็นลักษณะ
ปุริโสติปกาส รสํ......................................มีการประกาศความเป็นชาย.............................เป็นกิจ
ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ .........มีรูปร่างสัณฐาน หรือ การงานของชายเป็นต้น ....เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ .................... ...........มีมหาภูตรูป ๔ ...............................................เป็นเหตุใกล้

บรรดาสัตว์ทั้งหลายต่างๆ ในโลกนี้ ที่จะรู้ได้ว่า เพศหญิง หรือเพศชายนั้น อาศัยเครื่องหมายที่แสดงออกให้รู้ภาวะเพศได้ ๔ ประการ คือ
๑) ลิงฺค หมายถึงรูปร่างสัณฐาน ได้แก่ อวัยวะต่างๆ เช่น แขน. ขา. หน้าตา. เพศที่ปรากฎแต่กำเหนิดเป็นต้น
๒) นิมิตฺต หมายถึงเครื่องหมายที่แสดงออกมาในโอกาสต่อมาเช่น หนวด เครา หน้าอก เป็นต้น
๓) กุตฺต หมายถึง นิสัยใจคอ และความประพฤติ มีการเล่น และการกระทำต่างๆ เช่น หญิงชอบเล่นขายของ เย็ยปักถักร้อย ทำครัว เป็นต้น ชายชอบเล่นซุกซน โลดโผน มีการชกต่อย ห้อยโหน ผจญภัย เป็นต้น
๔) อากปฺป หมายถึง กิริยาอาการ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน การพูด เหล่านี้ เป็นเพศหญิง มักมีกิริยาอาการเรียบร้อย แช่มช้อย เอียงอาย เพศชาย มีกิริยาอาการกล้าหาญ เข้มแข็ง ว่องไว
เครื่องหมายที่แสดงให้รู้ถึงเพศชายและเพศหญิง ทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าวมานี้ย่อมเกิดขึ้น โดยอิตถีภาวรูป เป็นผู้ปกครอง หรือปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครอง รูปร่างสัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และอาการ จึงแตกต่างกันไปจึงให้รู้ได้ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย
ภาวรูป เรี่มตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล ส่วนทรวดทรง เครื่องหมาย นิสัย กิริยาอาการ ตั้งขึ้นในปวัตติกาล อุปมาเหมือนพืช เมื่อพืชมีอยู่ ต้นไม้ที่อาศัยพืชเป็นปัจจัยให้เติบโตเจริญขึ้น เป็นกิ่ง ก้าน ดอก ผล
ภาวรูปที่แสดงความเป็นหญิง หรือชาย ทั้ง ๒ นี้เกิดจากกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน กล่าวคือ ถ้าชาติปางก่อนได้ประกอบกุศลกรรมมีกำลังอ่อนที่เป็น ทุพฺพลกุสลกมฺม คือ กรรมที่ประกอบด้วยสัททาปสาทก็จริง แต่เต็มไปด้วยความหวั่นไหว (อวิสทฺธาการ) ทุพพลกุศลกรรมนั้นก็จะกระทำกัมมชรูปชนิดเป็นอิตถีภาวรูปให้ปรากฎ
ผู้ที่ได้กระทำกุศลกรรมแต่ชาติปางก่อนไว้ด้วย พลวกุสลกมฺม อันเป็นกุศลกรรมที่มีกำลังเข้มแข็ง ประกอบด้วยศรัทธาอันแก่กล้าและอธิโมกข์ มีการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยว ปราศจากความหวั่นไหว พลวกุศลกรรมนี้ ก็จะกระทำปุริสภาวรูปให้ปรากฎเป็นเพศชาย ส่วนอบายสัตว์ที่เกิดเป็นเพศผู้ เพศเมีย ก็ด้วยอำนาจพลวอกุศลกรรม หรือ ทุพพลอกุศลกรรมเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น ท่านที่จะปรารถนาเป็นเพศชาย หรือเพศหญิงต่อไปภายภาคหน้า ย่อมอาจจะปรับปรุงกุศลของตนให้เข้มข้นหรือย่อหย่อนได้ตามใจปรารถนาภาวรูปก็จะเป็นไปตามความสมประสงค์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2013, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึงรูปที่แสดงสภาพความเป็นหญิงเป็นชาย ให้รู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัย รูปร่างสัณฐาน
เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ จากรูปเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้ได้
ภาวรูป มี ๒ อย่าง คือ อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป

สงสัยลุงจะไม่เข้าใจเรื่องรูปปรมัตถ์ กับรูปที่เป็นอายตนะภายนอก
รูปที่เป็นปรมัตถ์ จะต้องมีเหตุปัจจัยมาจาก มหาภูติรูปสี่(ร่างกายของเรา)
ในมหาภูติรูปสี่จะมีปสาทรูปห้าหรือเรียกอีกอย่างว่าอายตนะภายใน
นั้นก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ปสาทรูปห้าอย่างนี้ เป็นธาตุสี่(มหาภูติ)......
มีความหมายว่ารูปที่เป็นร่างกาย ไม่ใช่รูปปรมัตถ์

เมื่อมีอาตนะภายนอกมากระทบกับปสาทรูปทั้งห้า เราเรียกอายตนะที่มา
กระทบตาว่า แสงหรือสี ที่มากระทบหูว่าเสียง กระทบจมูกว่ากลิ่น
กระทบลิ้นว่ารส และกระทบกายว่า เย็นร้อน อ่อนแข็ง

สิ่งที่เกิดจากการกระทบของปสาทห้าดังที่กล่าวมา เรียกว่า....รูปปรมัตถ์

ส่วนอิตถีรูปและปุริสภาวรูป มันเกิดขึ้นหลังจากการปรุงแต่งเป็นรูปขันธ์แล้ว
มันจึงไม่ใช่รูปปรมัตถ์ ด้วยเหตุที่ภาวรูปสองนี้เกิดที่ใจอันมีจิตเป็นเหตุไปปรุงแต่ง
มันจึงเป็นปรมัตถ์สัจจะในลักษณะของเจตสิก
ลุงหมาน เขียน:
อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย
เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจคือ รู้ได้ทางมโนทวารวิถี มิใช่รู้ได้ด้วยตา หรือได้ด้วยหู เป็นเพราะเห็นรูปร่างสัณฐานหรือได้ยินเสียง
ก็สามารถรู้ว่าเป็นหญิง แท้ที่จริง ตามีความเพียงแต่เห็นสีต่างๆ และหูก็มีความสามารถเพียงได้ยินเสียงต่างๆ เท่านั้นเอง
ไม่สามารถเห็นเป็นหญิง หรือได้ยินเป็นหญิงได้ แต่ที่รู้ว่าเป็นหญิงนั้น ย่อมรู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัยภาวรูปเป็นส่วนแสดงออกนั่นเอง

เรื่องที่ลุงเอามาโพส มันเป็นเรื่องของอวิชา มันเป็นเรื่องที่รู้แล้วต้องละเพราะมันเป็นเหตุแห่งทุกข์
ที่ลุงหมานบอกว่า เพศหญิงรู้ได้ด้วยใจ สิ่งที่ลุงพูดมันไม่ใช่รู้ที่วิชชาครับ
การไปรู้อายตนะภายนอก แล้วเกิดเป็นหญิงหรือชายขึ้น เรียกว่า การปรุงแต่งของรูปขันธ์


ผมจะบอกให้ครับลุงกำลังสับสนกับคำศัพทืกอบกับยังไม่เข้าใจสถาวะแท้ๆ
ที่เรียกปรมัตถ์ธรรม เท่าที่ดูมาอย่างแรกเลย ลุงหมานสับสนคำว่า.......

รูปที่หมายถึงร่างกาย อันเป็นที่อยู่ของปสาทรูป

รูปที่เป็นอายตนะภายนอก

สุดท้ายรูปที่เป็นปรมัตถ์


สภาวะที่เกิดขึ้นที่ใจเขาไม่เรียกว่า รูปปรมัตถ์ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นที่ใจ
มันเป็นเรื่องของ จิตและเจตสิก จึงไม่เรียกสิ่งนั้นว่ารูปปรมัตถ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2013, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อิตถีภาวรูป มีวจนัตถะว่า อิตถิยา ภาโว = อิตฺภาโว แปลว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง
ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ มีคุณลักษณะเฉพาะตัวดังนี้ คือ
อิตฺถีภาว ลกฺขณํ.........................................มีสภาวะเป็นหญิง..... ................................เป็นลักษณะ
อิตฺถีติปกาสน รสํ........................................มีการประกาศความเป็นหญิง........................เป็นกิจ
อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ............มีรูปสัณฐานหรือการงานของหญิง เป็นต้น......เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ...................................มีมหาภูตรูป ๔ ............................................เป็นเหตุใกล้

ปุริสภาวรูป
ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชายให้ปรากฎ เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
มีแผ่ซ่านทั่วไปในร่างกายมีรูปธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ คือทางมโนทวาร มีวจนัตถะว่า ปุมสฺส = ปุมภาโว
แปลความว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นชาย ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า ปุมภาวะ หรือ ปุริสภาวะ มีลักษณะพิเศษดังนี้คือ

ปุริสภาว ลกฺขณํ............................... .......มีสภาวะของชาย...........................................เป็นลักษณะ
ปุริโสติปกาส รสํ......................................มีการประกาศความเป็นชาย.............................เป็นกิจ
ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ .........มีรูปร่างสัณฐาน หรือ การงานของชายเป็นต้น ....เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ .................... ...........มีมหาภูตรูป ๔ ...............................................เป็นเหตุใกล้

บรรดาสัตว์ทั้งหลายต่างๆ ในโลกนี้ ที่จะรู้ได้ว่า เพศหญิง หรือเพศชายนั้น อาศัยเครื่องหมายที่แสดงออกให้รู้ภาวะเพศได้ ๔ ประการ คือ
๑) ลิงฺค หมายถึงรูปร่างสัณฐาน ได้แก่ อวัยวะต่างๆ เช่น แขน. ขา. หน้าตา. เพศที่ปรากฎแต่กำเหนิดเป็นต้น
๒) นิมิตฺต หมายถึงเครื่องหมายที่แสดงออกมาในโอกาสต่อมาเช่น หนวด เครา หน้าอก เป็นต้น
๓) กุตฺต หมายถึง นิสัยใจคอ และความประพฤติ มีการเล่น และการกระทำต่างๆ เช่น หญิงชอบเล่นขายของ เย็ยปักถักร้อย ทำครัว เป็นต้น ชายชอบเล่นซุกซน โลดโผน มีการชกต่อย ห้อยโหน ผจญภัย เป็นต้น
๔) อากปฺป หมายถึง กิริยาอาการ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน การพูด เหล่านี้ เป็นเพศหญิง มักมีกิริยาอาการเรียบร้อย แช่มช้อย เอียงอาย เพศชาย มีกิริยาอาการกล้าหาญ เข้มแข็ง ว่องไว
เครื่องหมายที่แสดงให้รู้ถึงเพศชายและเพศหญิง ทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าวมานี้ย่อมเกิดขึ้น โดยอิตถีภาวรูป เป็นผู้ปกครอง หรือปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครอง รูปร่างสัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และอาการ จึงแตกต่างกันไปจึงให้รู้ได้ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย
ภาวรูป เรี่มตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล ส่วนทรวดทรง เครื่องหมาย นิสัย กิริยาอาการ ตั้งขึ้นในปวัตติกาล อุปมาเหมือนพืช เมื่อพืชมีอยู่ ต้นไม้ที่อาศัยพืชเป็นปัจจัยให้เติบโตเจริญขึ้น เป็นกิ่ง ก้าน ดอก ผล
ภาวรูปที่แสดงความเป็นหญิง หรือชาย ทั้ง ๒ นี้เกิดจากกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน กล่าวคือ ถ้าชาติปางก่อนได้ประกอบกุศลกรรมมีกำลังอ่อนที่เป็น ทุพฺพลกุสลกมฺม คือ กรรมที่ประกอบด้วยสัททาปสาทก็จริง แต่เต็มไปด้วยความหวั่นไหว (อวิสทฺธาการ) ทุพพลกุศลกรรมนั้นก็จะกระทำกัมมชรูปชนิดเป็นอิตถีภาวรูปให้ปรากฎ
ผู้ที่ได้กระทำกุศลกรรมแต่ชาติปางก่อนไว้ด้วย พลวกุสลกมฺม อันเป็นกุศลกรรมที่มีกำลังเข้มแข็ง ประกอบด้วยศรัทธาอันแก่กล้าและอธิโมกข์ มีการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยว ปราศจากความหวั่นไหว พลวกุศลกรรมนี้ ก็จะกระทำปุริสภาวรูปให้ปรากฎเป็นเพศชาย ส่วนอบายสัตว์ที่เกิดเป็นเพศผู้ เพศเมีย ก็ด้วยอำนาจพลวอกุศลกรรม หรือ ทุพพลอกุศลกรรมเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น ท่านที่จะปรารถนาเป็นเพศชาย หรือเพศหญิงต่อไปภายภาคหน้า ย่อมอาจจะปรับปรุงกุศลของตนให้เข้มข้นหรือย่อหย่อนได้ตามใจปรารถนาภาวรูปก็จะเป็นไปตามความสมประสงค์ได้
ไม่รู้นะครับว่าลุงไปเอาข้อความพวกนี้มาจากไหน ถ้าเราอ่านแล้วมองธรรมไปตามจริง
จะบอกได้เลยว่า มันไม่มีสาระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

พูดเเรื่อยเปื้อยครับ .....
สงสัยคงไม่รู้ว่า มนุษย์ยังมีพวกบัณเฑาะอีกพวก
ดันมาบอกได้ว่า ปรารถนาเกิดเป็นชายและหญิง ต้องทำกุศลกรรม
แบบนี้เขาเรียกยึดมั่นถือมั่น มันเป็นตัณหา

สอนให้เขาทำแบบนี้วิบากกรรมมันจะส่งผลไปเป็นบัณเฑาะ ดีหน่อยก็ตุ๊ดแต๋ว ทอมดี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร