วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 141 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..เมื่อเรามองเข้าไปในกายใจ

ธรรมมันก็ก่อเกิดเอง ญาณแบบไหนก็เกิดมาจากเรามองเข้าไปในกายในใจเรา...
Kiss
อนุโมทนาครับ :b46: :b8: :b8: :b8: :b46:


ทำไมไม่พูดถึงวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาญาณ คือ ปัญญา ความรู้ ความเห็นแจ้งด้วยตนเองถึงธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม (ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ฯลฯ) อันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเมื่อความรู้ ความเห็นแจ้งนี้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนการมองโลก ของผู้ปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นของปัญญานั้น ทีละมากบ้างน้อยบ้าง จนในที่สุดก็จะทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ อันเป็นต้นเหตุแห่งกิเลส และความทุกข์ทั้งปวง ลงไปอย่างถาวรในขณะแห่งมรรคญาณ และจะเห็นผลของการทำลายนั้นได้อย่างชัดเจน ในขณะแห่งผลญาณ

ลำดับขั้นของพัฒนาการเหล่านี้ ได้รับการแบ่งเป็นขั้นย่อยๆ เอาไว้หลายแนวทาง เช่น

- แบ่งตามแนวของวิสุทธิคุณ 7 ได้เป็น 7 ขั้น
- แบ่งตามแนวโสฬสญาณ หรือ ญาณ 16 ได้เป็น 16 ขั้น
แต่ถ้าสังเกตให้ดีแล้ว จะเห็นว่าผู้ดำเนินการไม่เคยเขียนรายละเอียดของเรื่องเหล่านี้เอาไว้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ขออธิบายถึงข้อดีข้อเสียของเรื่องเหล่านี้ ดังนี้ :

ถึงแม้ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้เกี่ยวกับลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณเลย แต่ถ้าปฏิบัติถูกทางแล้ว วิปัสสนาญาณก็ย่อมจะเกิดขึ้นมาเองโดยลำดับอยู่แล้ว และแน่นอนว่าผลอันสืบเนื่องจากวิปัสสนาญาณนั้น ก็ย่อมจะเกิดตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย และพัฒนาการต่างๆ ก็ย่อมจะเป็นไปตามขั้นตอน ตามวาสนา บารมี และอุปนิสัย อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เพราะต้นเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็คือความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นแจ้งในธรรมชาติของรูปนามด้วยปัญญาของตนเอง อันเกิดจากการเจริญวิปัสสนานั่นเอง ไม่ใช่เกิดจากระเบียบกฎเกณฑ์ที่ใครวางเอาไว้เลย จะมีก็แต่กฎเกณฑ์ของธรรมชาติเท่านั้น

แต่ถ้าผู้ปฏิบัติรู้เรื่องรายละเอียดของวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ล่วงหน้า ก่อนที่ความเห็นแจ้งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นด้วยปัญญาของตนเองจริงๆ แล้ว ผลเสียที่อาจจะเกิดตามมาก็คือ

1. การปฏิบัติจะก้าวหน้าได้ช้า เพราะผู้ปฏิบัติมัวแต่คอยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติของตน กับทฤษฎีอยู่ และอาจถึงขั้นทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ไม่อยู่กับสภาวะอันเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้า จนปัญญาไม่เกิดเลยก็ได้
2. ผู้ปฏิบัติอาจเกิดอติมานะ คือความเย่อหยิ่งถือตนว่าปฏิบัติได้สูงกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง และอาจมีผลสืบเนื่องให้กิเลสตัวอื่นๆ เกิดตามมา
3. อาจเกิดญาณเทียมขึ้นมาได้ เพราะผู้ปฏิบัติรู้ล่วงหน้าแล้วว่าต่อไปควรเกิดความรู้ และความรู้สึกอย่างไรขึ้นมาบ้าง และด้วยความที่อยากจะก้าวหน้าไปเร็วๆ จึงเกิดการน้อมใจไปสู่ความรู้สึกเช่นนั้น หรือเกิดการสะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ปัญญาเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่อาศัยสัญญาคือการจำมาจากตำรา หรือจากผู้อื่น

(ซึ่งสัญญาจะทำได้ก็เพียงข่มกิเลสเอาไว้เท่านั้น ไม่สามารถทำลายความยึดมั่นถือมั่น และกิเลสต่างๆ ได้อย่างแท้จริง เมื่อมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมกิเลสก็จะแสดงตัวออกมาใหม่)

จนทำให้เข้าใจผิดได้ว่า ตนเองก้าวหน้าไปถึงขั้นนั้นแล้วจริงๆ และอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงขั้นเกิดมรรคผลเทียมขึ้นมาเลยก็ได้
ในสมัยโบราณ (ถ้าจำไม่ผิด ผู้ดำเนินการเคยอ่านเรื่องนี้ในอรรถกถาของพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ ที่มี 91 เล่ม) มีภิกษุ 2 รูป เข้าใจผิดว่าท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว มีผู้ที่รู้ว่าท่านทั้งสองยังเป็นปุถุชนอยู่ ปรารถนาจะช่วย จึงใช้วิธีให้ทำเป็นช้างวิ่งตรงเข้าไป จนจะชนภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นตกใจ กลัวตาย จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชนอยู่ ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่งใช้วิธีให้นั่งเพ่งนางอัปสร ไม่นานกามราคะของภิกษุรูปนั้นก็แสดงตัวออกมา จึงรู้ตัวว่ายังเป็นปุถุชนอยู่เช่นกัน ต่อมาท่านทั้งสองจึงทำความเพียร เจริญวิปัสสนาต่อไป จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสองรูป

การเข้าใจผิดเรื่องผลของการเจริญวิปัสสนานั้นเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะธรรมดากิเลสนั้นนอกจากจะถูกทำลายอย่างถาวรด้วยวิปัสสนาปัญญาแล้ว ยังอาจถูกกด หรือข่มเอาไว้ได้หลายวิธี เช่น ด้วยอำนาจของสมาธิ การพิจารณาแล้วข่มเอาไว้ การข่มด้วยสติ การน้อมใจแล้วข่มเอาไว้ ฯลฯ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะซ่อนกิเลสเอาไว้ได้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อสบโอกาสที่เหมาะสมกิเลสเหล่านั้นก็จะแผลงฤทธิ์ออกมาได้ใหม่

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องระวังให้ดี ไม่เช่นนั้นแล้วญาณเทียมจะเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติโดยการรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ไม่ต้องสนใจผลที่จะเกิดในอนาคต และไม่ต้องไปเทียบชั้นญาณกับทฤษฎีจะปลอดภัยกว่า ขอให้ศึกษาวิธีการปฏิบัติให้เข้าใจอย่างชัดเจนเป็นใช้ได้ หลังจากนั้นก็คอยดู คอยสังเกตสภาวะที่ปรากฏให้เห็นจริงๆ ในขณะนั้น แล้ววิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นเอง อย่าใจร้อน ถ้ามีกัลยาณมิตรคอยแนะนำตามสมควรก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก

http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn13.php


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rotala เขียน:
..เมื่อเรามองเข้าไปในกายใจ

ธรรมมันก็ก่อเกิดเอง ญาณแบบไหนก็เกิดมาจากเรามองเข้าไปในกายในใจเรา...
Kiss
อนุโมทนาครับ :b46: :b8: :b8: :b8: :b46:


ทำไมไม่พูดถึงวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาญาณ คือ ปัญญา ความรู้ ความเห็นแจ้งด้วยตนเองถึงธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม (ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ฯลฯ) อันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเมื่อความรู้ ความเห็นแจ้งนี้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนการมองโลก ของผู้ปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นของปัญญานั้น ทีละมากบ้างน้อยบ้าง จนในที่สุดก็จะทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ อันเป็นต้นเหตุแห่งกิเลส และความทุกข์ทั้งปวง ลงไปอย่างถาวรในขณะแห่งมรรคญาณ และจะเห็นผลของการทำลายนั้นได้อย่างชัดเจน ในขณะแห่งผลญาณ

ลำดับขั้นของพัฒนาการเหล่านี้ ได้รับการแบ่งเป็นขั้นย่อยๆ เอาไว้หลายแนวทาง เช่น

- แบ่งตามแนวของวิสุทธิคุณ 7 ได้เป็น 7 ขั้น
- แบ่งตามแนวโสฬสญาณ หรือ ญาณ 16 ได้เป็น 16 ขั้น
แต่ถ้าสังเกตให้ดีแล้ว จะเห็นว่าผู้ดำเนินการไม่เคยเขียนรายละเอียดของเรื่องเหล่านี้เอาไว้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ขออธิบายถึงข้อดีข้อเสียของเรื่องเหล่านี้ ดังนี้ :

ถึงแม้ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้เกี่ยวกับลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณเลย แต่ถ้าปฏิบัติถูกทางแล้ว วิปัสสนาญาณก็ย่อมจะเกิดขึ้นมาเองโดยลำดับอยู่แล้ว และแน่นอนว่าผลอันสืบเนื่องจากวิปัสสนาญาณนั้น ก็ย่อมจะเกิดตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย และพัฒนาการต่างๆ ก็ย่อมจะเป็นไปตามขั้นตอน ตามวาสนา บารมี และอุปนิสัย อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เพราะต้นเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็คือความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นแจ้งในธรรมชาติของรูปนามด้วยปัญญาของตนเอง อันเกิดจากการเจริญวิปัสสนานั่นเอง ไม่ใช่เกิดจากระเบียบกฎเกณฑ์ที่ใครวางเอาไว้เลย จะมีก็แต่กฎเกณฑ์ของธรรมชาติเท่านั้น

แต่ถ้าผู้ปฏิบัติรู้เรื่องรายละเอียดของวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ล่วงหน้า ก่อนที่ความเห็นแจ้งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นด้วยปัญญาของตนเองจริงๆ แล้ว ผลเสียที่อาจจะเกิดตามมาก็คือ

1. การปฏิบัติจะก้าวหน้าได้ช้า เพราะผู้ปฏิบัติมัวแต่คอยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติของตน กับทฤษฎีอยู่ และอาจถึงขั้นทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ไม่อยู่กับสภาวะอันเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้า จนปัญญาไม่เกิดเลยก็ได้
2. ผู้ปฏิบัติอาจเกิดอติมานะ คือความเย่อหยิ่งถือตนว่าปฏิบัติได้สูงกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง และอาจมีผลสืบเนื่องให้กิเลสตัวอื่นๆ เกิดตามมา
3. อาจเกิดญาณเทียมขึ้นมาได้ เพราะผู้ปฏิบัติรู้ล่วงหน้าแล้วว่าต่อไปควรเกิดความรู้ และความรู้สึกอย่างไรขึ้นมาบ้าง และด้วยความที่อยากจะก้าวหน้าไปเร็วๆ จึงเกิดการน้อมใจไปสู่ความรู้สึกเช่นนั้น หรือเกิดการสะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ปัญญาเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่อาศัยสัญญาคือการจำมาจากตำรา หรือจากผู้อื่น

(ซึ่งสัญญาจะทำได้ก็เพียงข่มกิเลสเอาไว้เท่านั้น ไม่สามารถทำลายความยึดมั่นถือมั่น และกิเลสต่างๆ ได้อย่างแท้จริง เมื่อมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมกิเลสก็จะแสดงตัวออกมาใหม่)

จนทำให้เข้าใจผิดได้ว่า ตนเองก้าวหน้าไปถึงขั้นนั้นแล้วจริงๆ และอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงขั้นเกิดมรรคผลเทียมขึ้นมาเลยก็ได้
ในสมัยโบราณ (ถ้าจำไม่ผิด ผู้ดำเนินการเคยอ่านเรื่องนี้ในอรรถกถาของพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ ที่มี 91 เล่ม) มีภิกษุ 2 รูป เข้าใจผิดว่าท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว มีผู้ที่รู้ว่าท่านทั้งสองยังเป็นปุถุชนอยู่ ปรารถนาจะช่วย จึงใช้วิธีให้ทำเป็นช้างวิ่งตรงเข้าไป จนจะชนภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นตกใจ กลัวตาย จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชนอยู่ ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่งใช้วิธีให้นั่งเพ่งนางอัปสร ไม่นานกามราคะของภิกษุรูปนั้นก็แสดงตัวออกมา จึงรู้ตัวว่ายังเป็นปุถุชนอยู่เช่นกัน ต่อมาท่านทั้งสองจึงทำความเพียร เจริญวิปัสสนาต่อไป จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสองรูป

การเข้าใจผิดเรื่องผลของการเจริญวิปัสสนานั้นเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะธรรมดากิเลสนั้นนอกจากจะถูกทำลายอย่างถาวรด้วยวิปัสสนาปัญญาแล้ว ยังอาจถูกกด หรือข่มเอาไว้ได้หลายวิธี เช่น ด้วยอำนาจของสมาธิ การพิจารณาแล้วข่มเอาไว้ การข่มด้วยสติ การน้อมใจแล้วข่มเอาไว้ ฯลฯ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะซ่อนกิเลสเอาไว้ได้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อสบโอกาสที่เหมาะสมกิเลสเหล่านั้นก็จะแผลงฤทธิ์ออกมาได้ใหม่

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องระวังให้ดี ไม่เช่นนั้นแล้วญาณเทียมจะเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติโดยการรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ไม่ต้องสนใจผลที่จะเกิดในอนาคต และไม่ต้องไปเทียบชั้นญาณกับทฤษฎีจะปลอดภัยกว่า ขอให้ศึกษาวิธีการปฏิบัติให้เข้าใจอย่างชัดเจนเป็นใช้ได้ หลังจากนั้นก็คอยดู คอยสังเกตสภาวะที่ปรากฏให้เห็นจริงๆ ในขณะนั้น แล้ววิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นเอง อย่าใจร้อน ถ้ามีกัลยาณมิตรคอยแนะนำตามสมควรก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก

http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn13.php


:b8: สาธุ


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...ปัญญาคือเครื่องดับอวิชชา...
...ขณะนี้มีธรรมะ...ทุกขณะเป็นธรรมะ...
...ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล วัตถุ สิ่งของ...
...และไม่ใช่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆที่เข้าไปรับรู้...
...ควรพิจารณาแยกแยะให้ออกก่อนว่าอะไรคือจริงหรือหลอกเพื่อจะได้รู้วิธีลด ละ วาง...
...และการไม่พูดแปลความ 2 อย่างเท่านั้นคือไม่รู้จึงอธิบายไม่ได้ กับรู้แจ้งและต้องอธิบายได้...
...ไม่ว่าจะมองเข้าไปในกายหรือมองออกไปข้างนอกล้วนแล้วแต่เป็นสภาพธรรมะทั้งหมดทั้งสิ้น...
...เพียงแต่การมองเข้าไปในกายตนเป็นสิ่งที่ทำให้จำกัดสภาพธรรมที่มีมากมายมหาศาลให้น้อยลงมา...
...และการมองภายในตนได้รอบโดยละเอียดจะชัดเจนกว่าการมองไปภายนอกเพราะมีเราก็ไม่มีธรรมะ...
:b12: :b13:
:b39:


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
...ถ้ามีเราเข้าไปเกี่ยวข้องในสภาพธรรมะ ก็สะสมภพชาติที่เกิดแล้วนับไม่ถ้วนในแต่ละวันที่ผ่านไป...
...ดังเพลงที่เขาร้องว่า ชั่ว 7 ที ดี 7 หน ก็หมายถึงการกระพริบตา 1 ครั้งได้เกิดไปแล้วอีก 7 ชาติ...
...เพียงกะพริบตาไป 1 ครั้งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถหยั่งรู้ว่าอะไรเกิดก่อน-หลัง...
...เพราะจิตเกิดได้ทีละ 1 อาการและดับไม่มีซากแห่งอาการอันนั้นจึงเรืยกว่าจิตเกิด-ดับ...
...จึงจะเกิดจิตที่เป็นอาการอื่นต่อได้...ซึ่งไม่ใช่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รสอาหารได้พร้อมกัน...
...ถ้ากะพริบตา 1 ครั้งเรียงลำดับไม่ได้ว่าอะไรเกิดและอะไรดับไปก่อนและหลัง เกิดภพแล้วค่ะ...
...จึงควรขยันหมั่นเพียรพิจารณาแยกแยะอยู่เนืองๆค่ะ...ไม่ใช่รู้ได้ง่ายดาย...หรือจะนิพพานได้ไวไว...
:b8: :b20:
:b39:


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 14:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เฮ้อ..ไม่รู้เป็นไง ไม่ค่อยอยากจะพูดอะไร...ถึงพูดหรือไม่พูด ธรรมมันก็เกิดอยู่เสมอ

นั่นแหละ เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้น อริยสัจจ์และไตรลักษณ์เกิดได้ทุกเวลา ทุกนาที

ทุกขณะจิต เมื่อธรรมมันเป็นธรรมของมันอยู่อย่างนั้น อยู่แล้ว เหตุใดต้องพูดออกมา

เพราะธรรมได้แสดงตัวตนของมันได้ชัดเจน โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพูดอะไร


การพูดก็เป็นการอธิบายสภาวะธรรม ของธรรมที่แสดงอยู่ตลอดเวลา จะไปอธิบายซ้ำ

กับธรรมที่ได้แสดงออกมาแล้วทำไม..แค่ดู แค่รู้ แค่เข้าใจ แค่แจ้งแก่ใจ แล้วก็ปล่อยมันไป

ก็เพียงพอ...รู้แล้ว..อะไร ไม่รู้แล้ว..อะไร ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น รู้แล้วต้องวางออกจากใจ

รู้เดี๋ยวนี้ ก็วางออกเดี๋ยวนี้ เมื่อวางออก แล้วจะเอาอะไรมาพูดมาเล่ามาบอก


การคิดพิจารณาของคนนะ เป็นไปตามที่เค้าได้สะสมมา ว่าสะสมมาแบบไหน ก็คิดและพิจารณา

แบบนั้น หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า :b8: ท่านได้เขียนบรรยายไว้หมดแล้ว ก็แค่ทำตาม

ไม่จำเป็นต้องนำมาอธิบายซ้ำอีก เพราะพระท่านนั้นบัญญัติได้ชัดเจนอยู่แล้ว แนวทางก็มี ว่าเดิน

แบบไหน ยังไง ก็แค่ทำตาม...แต่ลายระเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่ที่ว่า นักปฎิับัติสะสมมา

แบบไหน อย่างไร เมื่อสมถะ ไม่เพียงพอ การพิจารณาก็ได้นิดหน่อย ได้ไม่เต็ม สมถะ เกื้อหนุน

วิปัสสนาอยู่แล้ว...ศีลเกื้อหนุนสมถะ สมถะทำซ้ำ ก็ได้สติ ฝึกสติต่อเนื่องเรื่อยๆ จนสติมีต่อเนื่อง

ไม่มีที่สิ้นสุด ที่ศัทพ์ธรรมเรียกว่า สันตติ เมื่อเกิดขึ้น เราก็สามารถพิจารณาธรรมได้เสมอ


การพิจารณาด้วยกำลังของสมถะ ก็คือวิปัสสนาไม่ใช่หรือ..จะเรียกแบบไหนก็เหมือนกัน

พิจารณาหรือวิปัสสนา ผลออกมาก็คือ ปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งตามความเป็นจริง ตามสภาวะ

ที่นักปฎิบัติ เพียรทำเพียรถึง...ก็แค่ทำไป ดูไป พิจารณาไปเรื่อยๆ...ธรรมของใคร ก็พิจารณา

ไปตามนั้น เพราะเราสะสมมาแบบนั้น จะไปเหมือนคนอื่นได้ยังไง คู่แฝดที่เหมือนกันมากๆ

ยังคิดยังอ่านไม่เหมือนกันเลย...ในทางธรรมนั้นเส้นทางมันเป็นปัจจัตตังนะ..เป็นเส้นทาง

เฉพาะตนอยู่แล้ว...เราไม่เหมือนเขา เขาก็ไม่เหมือนเราในรายละเอียด แต่ผลมันได้ตรง

กันเท่านั้นเอง ก็แค่นั้น....


มันจึงไม่มีคำพูดออกมา...คำพูดที่พุดออกมาจากใจนี้ก็เหนื่อยเหมือนกันนะ

แค่ต้องพูด ต้องคิดพิจารณาคำที่ต้องพิมพ์ต้องโพสนี่ก็เหนื่อย...เพราะจริงๆแล้ว

มันไม่จำเป็นต้องพูดอะไรออกมา..เพราะธรรมยังไงก็เป็นธรรมอยู่แล้ว...มันก็แค่

นั้นเอง...เราเป็นแค่นักปฎิบัติ แค่เพียรเดินไป ก็แค่นั้น จิตที่คิดคำนึงของเรา มีแค่

แค่เดินต่อไปข้างหน้าเท่านั้น...เราไม่มีหน้าที่ ที่จะพูดอะไร หรือแนะนำใครได้

เพราะนั่นไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ตรงนั้นมีท่านอื่นๆทำกันแล้ว ไม่เห็นที่เราจำเป็น

ต้องพูดอะไรออกไป..ทุกคนมีหน้าที่ของตนนะ แต่จะรู้กันหรือป่าว ว่าเรามีหน้าที่อะไร


สำหรับเรา เรารู้ว่า เรามีหน้าที่อย่างเดียวคือ เดินหน้าต่อไป จนกว่าจะหมดลมหายใจ

มันก็แค่นั้นเอง...อะไรก็ไม่มีความหมายหรอก...มันแค่สมมุตินะ...อย่ายึด ปล่อยออก

ปล่อยไปเรื่อยๆ ในกว่าจะหมดลมหายใจ...มันก็แค่นั้น...มันก็น่าจะพอแล้วนะ


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ระวังวังตัวด้วยเพื่อน

ถ้ายังมีความรู้สึกว่า เราได้ เรามี เราเป็นอยู่ ก็ต้องระมัดระวัง

ไม่งั้นติด

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียนหยด เขียน:
เฮ้อ..ไม่รู้เป็นไง ไม่ค่อยอยากจะพูดอะไร...ถึงพูดหรือไม่พูด ธรรมมันก็เกิดอยู่เสมอ

นั่นแหละ เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้น อริยสัจจ์และไตรลักษณ์เกิดได้ทุกเวลา ทุกนาที

ทุกขณะจิต เมื่อธรรมมันเป็นธรรมของมันอยู่อย่างนั้น อยู่แล้ว เหตุใดต้องพูดออกมา

เพราะธรรมได้แสดงตัวตนของมันได้ชัดเจน โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพูดอะไร


การพูดก็เป็นการอธิบายสภาวะธรรม ของธรรมที่แสดงอยู่ตลอดเวลา จะไปอธิบายซ้ำ

กับธรรมที่ได้แสดงออกมาแล้วทำไม..แค่ดู แค่รู้ แค่เข้าใจ แค่แจ้งแก่ใจ แล้วก็ปล่อยมันไป

ก็เพียงพอ...รู้แล้ว..อะไร ไม่รู้แล้ว..อะไร ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น รู้แล้วต้องวางออกจากใจ

รู้เดี๋ยวนี้ ก็วางออกเดี๋ยวนี้ เมื่อวางออก แล้วจะเอาอะไรมาพูดมาเล่ามาบอก


การคิดพิจารณาของคนนะ เป็นไปตามที่เค้าได้สะสมมา ว่าสะสมมาแบบไหน ก็คิดและพิจารณา

แบบนั้น หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า :b8: ท่านได้เขียนบรรยายไว้หมดแล้ว ก็แค่ทำตาม

ไม่จำเป็นต้องนำมาอธิบายซ้ำอีก เพราะพระท่านนั้นบัญญัติได้ชัดเจนอยู่แล้ว แนวทางก็มี ว่าเดิน

แบบไหน ยังไง ก็แค่ทำตาม...แต่ลายระเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่ที่ว่า นักปฎิับัติสะสมมา

แบบไหน อย่างไร เมื่อสมถะ ไม่เพียงพอ การพิจารณาก็ได้นิดหน่อย ได้ไม่เต็ม สมถะ เกื้อหนุน

วิปัสสนาอยู่แล้ว...ศีลเกื้อหนุนสมถะ สมถะทำซ้ำ ก็ได้สติ ฝึกสติต่อเนื่องเรื่อยๆ จนสติมีต่อเนื่อง

ไม่มีที่สิ้นสุด ที่ศัทพ์ธรรมเรียกว่า สันตติ เมื่อเกิดขึ้น เราก็สามารถพิจารณาธรรมได้เสมอ


การพิจารณาด้วยกำลังของสมถะ ก็คือวิปัสสนาไม่ใช่หรือ..จะเรียกแบบไหนก็เหมือนกัน

พิจารณาหรือวิปัสสนา ผลออกมาก็คือ ปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งตามความเป็นจริง ตามสภาวะ

ที่นักปฎิบัติ เพียรทำเพียรถึง...ก็แค่ทำไป ดูไป พิจารณาไปเรื่อยๆ...ธรรมของใคร ก็พิจารณา

ไปตามนั้น เพราะเราสะสมมาแบบนั้น จะไปเหมือนคนอื่นได้ยังไง คู่แฝดที่เหมือนกันมากๆ

ยังคิดยังอ่านไม่เหมือนกันเลย...ในทางธรรมนั้นเส้นทางมันเป็นปัจจัตตังนะ..เป็นเส้นทาง

เฉพาะตนอยู่แล้ว...เราไม่เหมือนเขา เขาก็ไม่เหมือนเราในรายละเอียด แต่ผลมันได้ตรง

กันเท่านั้นเอง ก็แค่นั้น....


มันจึงไม่มีคำพูดออกมา...คำพูดที่พุดออกมาจากใจนี้ก็เหนื่อยเหมือนกันนะ

แค่ต้องพูด ต้องคิดพิจารณาคำที่ต้องพิมพ์ต้องโพสนี่ก็เหนื่อย...เพราะจริงๆแล้ว

มันไม่จำเป็นต้องพูดอะไรออกมา..เพราะธรรมยังไงก็เป็นธรรมอยู่แล้ว...มันก็แค่

นั้นเอง...เราเป็นแค่นักปฎิบัติ แค่เพียรเดินไป ก็แค่นั้น จิตที่คิดคำนึงของเรา มีแค่

แค่เดินต่อไปข้างหน้าเท่านั้น...เราไม่มีหน้าที่ ที่จะพูดอะไร หรือแนะนำใครได้

เพราะนั่นไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ตรงนั้นมีท่านอื่นๆทำกันแล้ว ไม่เห็นที่เราจำเป็น

ต้องพูดอะไรออกไป..ทุกคนมีหน้าที่ของตนนะ แต่จะรู้กันหรือป่าว ว่าเรามีหน้าที่อะไร


สำหรับเรา เรารู้ว่า เรามีหน้าที่อย่างเดียวคือ เดินหน้าต่อไป จนกว่าจะหมดลมหายใจ

มันก็แค่นั้นเอง...อะไรก็ไม่มีความหมายหรอก...มันแค่สมมุตินะ...อย่ายึด ปล่อยออก

ปล่อยไปเรื่อยๆ ในกว่าจะหมดลมหายใจ...มันก็แค่นั้น...มันก็น่าจะพอแล้วนะ

นี่ขนาดไม่อยากพูดนะครับ สิ่งที่เพื่อนๆเขาให้พูดไม่ยังกะพูด
มาพูดเป็นน้ำท่วมทุ่งแบบนี้ ผมว่าคุณกำลังฟุ้งอยู่นะครับ :b9:

แนะนำอีกหน่อย เรื่องผลการปฏิบัติ ถ้าเราทำจริง มันพูดได้ครับ
ถ้ามันใช่มันก็ใช่ ผลมันเหมือนกันครับ


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 14:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึง...เจ้าของกระทู้..

เมื่อเป็นเช่นนี้...ก็ไม่น่ามีเหตุผลอะไร..ต้องมาตั้งกระทู้...เลย

เห็นเหตุที่มาตั้งกระทู้..หรือไม่
เห็นแล้ว...แจ้งปิดกระทู้..ได้รึเปล่าละ

อิอิ....มันก็แค่นั้นแหละเพื่อน :b8:

อวิชชามันก็แฝงในอะไร อะไร..ที่เรียกว่าธรรมะนั้นแหละ...

อย่าคิดว่า..อวิชชามันพูดธรรมะไม่เป็น..นะเพื่อน :b8:
(เลียนแบบคุณโกเมศวร...อิอิ)

เฮ่อ..กดโพสต์ไม่ทันโฮฮับ..อีกแระ
:b13:


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 15:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
ระวังวังตัวด้วยเพื่อน

ถ้ายังมีความรู้สึกว่า เราได้ เรามี เราเป็นอยู่ ก็ต้องระมัดระวัง

ไม่งั้นติด

:b8:


:b8: ขอบคุณคะเพื่อน(ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร :b27: ) ที่ห่วงใย

จะพยายาม จะระมัดระวัง จะ...แหะๆ นึกไม่ออก...ตามนั้น จะระวัง ให้

มากที่สุด จะสำรวม ใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ :b5: สังเกตุนะ

...ว่าเท่าที่จะทำได้.. :b15:


........คุยยาวๆนะเพื่อน จะได้รู้ว่าเพื่อนนะเป็นใคร :b32: ....


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 15:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เทียนหยด เขียน:
เฮ้อ..ไม่รู้เป็นไง ไม่ค่อยอยากจะพูดอะไร...ถึงพูดหรือไม่พูด ธรรมมันก็เกิดอยู่เสมอ

นั่นแหละ เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้น อริยสัจจ์และไตรลักษณ์เกิดได้ทุกเวลา ทุกนาที

ทุกขณะจิต เมื่อธรรมมันเป็นธรรมของมันอยู่อย่างนั้น อยู่แล้ว เหตุใดต้องพูดออกมา

เพราะธรรมได้แสดงตัวตนของมันได้ชัดเจน โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพูดอะไร


การพูดก็เป็นการอธิบายสภาวะธรรม ของธรรมที่แสดงอยู่ตลอดเวลา จะไปอธิบายซ้ำ

กับธรรมที่ได้แสดงออกมาแล้วทำไม..แค่ดู แค่รู้ แค่เข้าใจ แค่แจ้งแก่ใจ แล้วก็ปล่อยมันไป

ก็เพียงพอ...รู้แล้ว..อะไร ไม่รู้แล้ว..อะไร ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น รู้แล้วต้องวางออกจากใจ

รู้เดี๋ยวนี้ ก็วางออกเดี๋ยวนี้ เมื่อวางออก แล้วจะเอาอะไรมาพูดมาเล่ามาบอก


การคิดพิจารณาของคนนะ เป็นไปตามที่เค้าได้สะสมมา ว่าสะสมมาแบบไหน ก็คิดและพิจารณา

แบบนั้น หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า :b8: ท่านได้เขียนบรรยายไว้หมดแล้ว ก็แค่ทำตาม

ไม่จำเป็นต้องนำมาอธิบายซ้ำอีก เพราะพระท่านนั้นบัญญัติได้ชัดเจนอยู่แล้ว แนวทางก็มี ว่าเดิน

แบบไหน ยังไง ก็แค่ทำตาม...แต่ลายระเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่ที่ว่า นักปฎิับัติสะสมมา

แบบไหน อย่างไร เมื่อสมถะ ไม่เพียงพอ การพิจารณาก็ได้นิดหน่อย ได้ไม่เต็ม สมถะ เกื้อหนุน

วิปัสสนาอยู่แล้ว...ศีลเกื้อหนุนสมถะ สมถะทำซ้ำ ก็ได้สติ ฝึกสติต่อเนื่องเรื่อยๆ จนสติมีต่อเนื่อง

ไม่มีที่สิ้นสุด ที่ศัทพ์ธรรมเรียกว่า สันตติ เมื่อเกิดขึ้น เราก็สามารถพิจารณาธรรมได้เสมอ


การพิจารณาด้วยกำลังของสมถะ ก็คือวิปัสสนาไม่ใช่หรือ..จะเรียกแบบไหนก็เหมือนกัน

พิจารณาหรือวิปัสสนา ผลออกมาก็คือ ปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งตามความเป็นจริง ตามสภาวะ

ที่นักปฎิบัติ เพียรทำเพียรถึง...ก็แค่ทำไป ดูไป พิจารณาไปเรื่อยๆ...ธรรมของใคร ก็พิจารณา

ไปตามนั้น เพราะเราสะสมมาแบบนั้น จะไปเหมือนคนอื่นได้ยังไง คู่แฝดที่เหมือนกันมากๆ

ยังคิดยังอ่านไม่เหมือนกันเลย...ในทางธรรมนั้นเส้นทางมันเป็นปัจจัตตังนะ..เป็นเส้นทาง

เฉพาะตนอยู่แล้ว...เราไม่เหมือนเขา เขาก็ไม่เหมือนเราในรายละเอียด แต่ผลมันได้ตรง

กันเท่านั้นเอง ก็แค่นั้น....


มันจึงไม่มีคำพูดออกมา...คำพูดที่พุดออกมาจากใจนี้ก็เหนื่อยเหมือนกันนะ

แค่ต้องพูด ต้องคิดพิจารณาคำที่ต้องพิมพ์ต้องโพสนี่ก็เหนื่อย...เพราะจริงๆแล้ว

มันไม่จำเป็นต้องพูดอะไรออกมา..เพราะธรรมยังไงก็เป็นธรรมอยู่แล้ว...มันก็แค่

นั้นเอง...เราเป็นแค่นักปฎิบัติ แค่เพียรเดินไป ก็แค่นั้น จิตที่คิดคำนึงของเรา มีแค่

แค่เดินต่อไปข้างหน้าเท่านั้น...เราไม่มีหน้าที่ ที่จะพูดอะไร หรือแนะนำใครได้

เพราะนั่นไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ตรงนั้นมีท่านอื่นๆทำกันแล้ว ไม่เห็นที่เราจำเป็น

ต้องพูดอะไรออกไป..ทุกคนมีหน้าที่ของตนนะ แต่จะรู้กันหรือป่าว ว่าเรามีหน้าที่อะไร


สำหรับเรา เรารู้ว่า เรามีหน้าที่อย่างเดียวคือ เดินหน้าต่อไป จนกว่าจะหมดลมหายใจ

มันก็แค่นั้นเอง...อะไรก็ไม่มีความหมายหรอก...มันแค่สมมุตินะ...อย่ายึด ปล่อยออก

ปล่อยไปเรื่อยๆ ในกว่าจะหมดลมหายใจ...มันก็แค่นั้น...มันก็น่าจะพอแล้วนะ

นี่ขนาดไม่อยากพูดนะครับ สิ่งที่เพื่อนๆเขาให้พูดไม่ยังกะพูด
มาพูดเป็นน้ำท่วมทุ่งแบบนี้ ผมว่าคุณกำลังฟุ้งอยู่นะครับ :b9:

แนะนำอีกหน่อย เรื่องผลการปฏิบัติ ถ้าเราทำจริง มันพูดได้ครับ
ถ้ามันใช่มันก็ใช่ ผลมันเหมือนกันครับ


:b8: คะ ขอบคุณคะ เพราะหลังจากได้โพสสุดท้ายไป ก็อยากจะหยุดเหมือนกัน

เพราะมีสิ่งที่ต้องทำต้องแก้ไข..และคิดว่า การอยู่เงียบๆเป็นสิ่งที่ดีที่สุด


ขอบคุณนะคะ ที่มาให้คำแนะนำ และก็ตรงกับสิ่งที่กำลังอยากจะทำ

ถือว่าลากันตรงนี้ในทุกๆท่านนะคะ...จะไม่เข้ามาอ่านหรือโพสอีก

ถ้าเมื่อไหร่ ดิฉันมีคำถาม ข้อสงสัย ดิฉันจะมาขอความรู้ไหม่

สวัสดีทุกๆท่านคะ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 15:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ถึง...เจ้าของกระทู้..

เมื่อเป็นเช่นนี้...ก็ไม่น่ามีเหตุผลอะไร..ต้องมาตั้งกระทู้...เลย

เห็นเหตุที่มาตั้งกระทู้..หรือไม่
เห็นแล้ว...แจ้งปิดกระทู้..ได้รึเปล่าละ

อิอิ....มันก็แค่นั้นแหละเพื่อน :b8:

อวิชชามันก็แฝงในอะไร อะไร..ที่เรียกว่าธรรมะนั้นแหละ...

อย่าคิดว่า..อวิชชามันพูดธรรมะไม่เป็น..นะเพื่อน :b8:
(เลียนแบบคุณโกเมศวร...อิอิ)

เฮ่อ..กดโพสต์ไม่ทันโฮฮับ..อีกแระ
:b13:


:b8: :b8: :b8: ขอบคุณคะ...ดิฉันเข้าใจแล้ว

ในเหตุที่เข้ามา...และตอนนี้ ตอนนี้นะ ก็เข้าใจแล้วว่า เหตุที่ต้องลาเพราะอะไร

ทุกอย่างเป็นแรงผลักดันให้เดินต่อไปเสมอ...อวิชชาจะอยู่กับเราเสมอ

จนกว่าเราจะหมดลมหายใจ แค่เพียรทำต่อไปเท่านั้นเอง...ดิฉันไม่ใช่คนเก่งอะไร

สมองก็ช้า ต้องอ่านซ้ำๆ ทำซ้ำๆมากกว่าคนอื่นถึงเขาจะเท่าคนอื่นได้ ดิฉันรู้ข้อด้อยของตัวเองดี


ส่วนตัว ดิฉันเหนื่อยนะ...เหนื่อยกับทุกๆสิ่ง เหนื่อยกับการเกิด เหนื่อยกับการตาย

เหนื่อยกับทุกข์ เหนื่อยกับอุปสรรคต่างๆที่ประดังเข้ามา...ล้านะ แต่ถึงล้ายังไง ดิฉัน

ก็ไม่สามารถหยุดเดินได้..มันก็เดินไปแบบล้าๆอย่างนี้แหละ...นานๆมาบ่นกลางอากาศ

ในท่านฟังที :b32: ...เพราะจะออกไปแล้วนะ เลยบ่นให้ท่านฟังซะหน่อย :b32:


ตอนนี้ดิฉันรู้แล้ว ว่าดิฉันจะต้องทำอะไรต่อไปเพื่อแก้ไขในตน...การเป็นตัวเองมันดีอย่างนี้แหละ

เพราะเมื่อเราเป็นตัวเอง เราจะแสดงตัวตนของเราออกมาได้ชัดเจน...แล้ว กระจกดีๆ ก็จะมา

สะท้อนเราให้เราเห็นเอง ในข้อดีข้อด้อย และในข้อเสียของตน...บางครั้งคนเราผงเข้าตานะ

มันเอาไม่ออกหรอก ต้องให้คนอื่นชี้ให้...กระจกดีๆ สะท้อนในมุมมองดี มีอยู่เสมอในทุกๆที่

ขอบคุณคะ :b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 22:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนแบบนี้ถ้าไปแต่งหนังสือขายนะ..ขายดีเลยแหละ..

:b16: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 13 เม.ย. 2013, 09:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึง...เจ้าของกระทู้..

เห็นเหตุที่มาบอกลากระทู้..หรือไม่
อยู่..หรือ..ไป...ทำมัยมันต่างกัน
เห็นแล้ว...อยู่ต่อได้ป่าว

อิอิ....มันก็แค่นั้นแหละเพื่อน :b8:

อวิชชามันก็แฝงในอะไร อะไร..ที่เรียกว่าธรรมะนั้นแหละ...

อย่าคิดว่า..อวิชชามันพูดธรรมะไม่เป็น..นะเพื่อน


โพสต์ เมื่อ: 13 เม.ย. 2013, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สำนวนแบบนี้ถ้าไปแต่งหนังสือขายนะ..ขายดีเลยแหละ..

:b16: :b16: :b16:

สำนวนแต่งหนังสือขายได้ก็จัดว่ามีปัญญา กว่าสำนวนสั้นๆ แต่หาสาระไม่ได้ จริงม่ะ ท่านอ๊บๆๆ :b32:


โพสต์ เมื่อ: 13 เม.ย. 2013, 12:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ช่ายเลย....การจะเขียนหนังสืออะไรมาสักเล่ม...ต้องใช้อะไรมากมาย...ไม่ได้ง่ายเลย
คนอ่าน...แม้อ่านทั้งเล่ม...หากไม่มีปัญญา...ก็จับใจความอะไรไม่ได้เช่นกัน

ข้อความสั้น ๆ....แม้ผู้เขียน..เขียนไม่เป็นธรรม...แต่ถ้าคนอ่านเป็นธรรม...เขาก็จะเห็นธรรมของเขา

ธรรมของเขา...ไม่ใช่ธรรมของผู้เขียน..
ถ้าไม่เห็นธรรม...จะโทษผู้เขียนหรือโทษผู้อ่าน

เฮ่อ...เขียนเอง..ก็งง...เอง
:b13: :b13: :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 141 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร