วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2013, 07:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพูดแบบ ฮาๆ เรียกเสียงหัวเราะ มันทำให้คนอื่นตลก มีรอยยิ้ม ให้คนอื่นหัวเราะ

โดยเนื้อเรื่องที่พูดนั้น ก็ไม่ได้มีประโยชน์ แต่ออกไปทางเพ้อเจ้อ ไร้สาระ

แต่ทำให้คนฟัง รู้สึกมีความสุข มีรอยยิ้ม

แบบนี้ ผิดศีลไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2013, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริง ๆ แล้ว ศีลข้อ 4 มุสาวาท ไม่ได้หมายความตื้น ๆ แค่ไม่พูดปด
แต่ครอบคลุมถึง 4 อย่างด้วยกัน คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด
ไม่พูดหยาบคาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดตลกเป็นสิ่งไร้สาระ

ข้อมุสานั้นก็ไม่ได้หมายความว่าทางวาจาอย่างเดียวเท่านั้น
แม้ทางกายก็ยังผิดข้อมุสาได้ เช่น ส่ายหน้า พยักหน้า โบกมือ ชี้มือ
ชายแต่งตัวเป็นหญิง หรือหญิงแต่งตัวเป็นชาย อย่างเช่นดาราตลก
เพราะสิ่งเหล่านี้ทำท่าทางตรงกันข้ามกับความจริง จึงจัดว่ามุสาทางกาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2013, 13:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แม่นแล้ว...
สาธุ... :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2013, 15:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ที่จริง ๆ แล้ว ศีลข้อ 4 มุสาวาท ไม่ได้หมายความตื้น ๆ แค่ไม่พูดปด
แต่ครอบคลุมถึง 4 อย่างด้วยกัน คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด
ไม่พูดหยาบคาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดตลกเป็นสิ่งไร้สาระ

ข้อมุสานั้นก็ไม่ได้หมายความว่าทางวาจาอย่างเดียวเท่านั้น
แม้ทางกายก็ยังผิดข้อมุสาได้ เช่น ส่ายหน้า พยักหน้า โบกมือ ชี้มือ
ชายแต่งตัวเป็นหญิง หรือหญิงแต่งตัวเป็นชาย อย่างเช่นดาราตลก
เพราะสิ่งเหล่านี้ทำท่าทางตรงกันข้ามกับความจริง จึงจัดว่ามุสาทางกาย


ขอบคุณมากครับ ลุงหมาน เพิ่งรู้ว่า มีมุสาทางกายด้วย :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2013, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตลกมันไม่ใช่การโกหกเพราะไม่มีเจตนาตั้งแต่แรก สุดท้ายก็ต้องหักมุมสู่ความจริง
จริงอยู่ว่ามันไร้สาระแต่มันก็มีประโยชน์ที่ทำให้ผู้คนมีความสุข
ยังดีกว่าย้ำซ้ำๆแต่เรื่องจริงที่เป็นทุกข์
หรือว่าชีวิตคนเราต้องอมทุกข์ไว้ตลอดชีวิต

การวิ่งหนีความทุกข์กับการรักษาความสุข
มันมีความหมายเหมือนกัน
แต่มุมมองมันต่างกัน
เหมือน
น้ำเหลือแค่ครึ่งแก้วกับยังเหลือตั้งครึ่งแก้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2013, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าไม่ใช่หนีทุกข์ รักษาความสุข

ทุกข์ต้องรู้ให้ชัดเจน จึงจะเห็นสาเหตุ แล้วจึงละเหตุ

เมื่อละเหตุทุกข์ก็เบาบาง ที่เราควรทำให้แจ้งว่า เบาบางอย่างไรและจะหมดทุกข์อย่างไร

ซึ่งการทำอย่างไรให้หมดทุกข์นี่ละที่เราจะต้องทำให้เจริญ

ผมเข้าใจว่าการไปเสพตลกนี่เป็นการหนีทุกข์มากกว่านะครับ
แต่ก็ไม่ได้ตำหนิอะไร เพราะบางคนทุกข์มาก ยังหาหนทางไม่เจอ หลบไปบ้างไม่เป็นไร

ในส่วนของหัวข้อกระทู้ ถ้าเราตั้งใจรักษาศีลอย่างละเอียด กว้างขวางแล้วก็ไม่สมควรครับ

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2013, 02:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล....จะว่าตรง ๆแล้ว...มันก็ขึ้นกับอินทรีย์..ภาวะของผู้นั้น

คนบางคน..โกหกได้อย่างเป็นเรื่องธรรมดา...ไม่ทุกข์ร้อนอะไร...เขาก็ไม่เห็นความจำเป็นต้องไปรักษา

บางคน..โกหกไปแล้ว...ก็ทุกข์ใจ..ไม่สบายใจ...ก็มีความพยายามที่จะรักษา

บางคน...อยู่ในช่วงอินเลิฟในการภาวนา...พูดตลกโปกฮามาก ๆ...ก็รู้สึกไม่สะดวกใจแล้ว

บางคนเป็นตลก...การหามุขตลกกลับเป็นสัมมาอาชีวะไป

นักพนัน...เขาก็ถือศีล..คือห้ามโกงกัน

ปุถุชน...ไม่โกหก..ไม่ส่อเสียดได้..ก็เก่งใช้ได้แล้ว

แต่อริยะชน....คนอยากเป็นอริยะ....ต้องจัดเต็ม...แค่ใจกระดิกสั่นไหวไปทางอกุศล...ต้องเห็นโทษทุกข์โดยไว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2013, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


choochu เขียน:
การพูดแบบ ฮาๆ เรียกเสียงหัวเราะ มันทำให้คนอื่นตลก มีรอยยิ้ม ให้คนอื่นหัวเราะ

โดยเนื้อเรื่องที่พูดนั้น ก็ไม่ได้มีประโยชน์ แต่ออกไปทางเพ้อเจ้อ ไร้สาระ

แต่ทำให้คนฟัง รู้สึกมีความสุข มีรอยยิ้ม

แบบนี้ ผิดศีลไหมครับ


เรื่องนี้ต้องอาศัยความเข้าใจ ต้องดูที่เจตนาและกาละเทศะประกอบด้วย
ซึ่งหากจะอธิบายเป็นตัวอักษรให้ทุกคนเข้าใจนั้นไม่ได้ ต้องอาศัยความ
เข้าใจของแต่ละบุคคล โดยใช้ความรู้ที่เราได้เล่าเรียนมาเป็นมาตรฐาน
ในการพิจารณา ซึ่งก็พูดยากอีก เพราะมาตรฐานของแต่ละบุคคลไม่เหมือน
กัน ฉนั้นจะขอยกตัวอย่างเพียงคร่าวๆให้ท่านลองตรองดู

อย่างเช่นการที่เราจะพูดตลกอะไรก็ลองดูว่าถูกกาละเทศะหรือไม่ ดูด้วยว่า
ผู้ฟังอยู่ในอารมณ์ไหน เช่นผู้ฟังอยู่ในอารมณ์เศร้า แฟนพึ่งทิ้งมา แต่เราตลง
ไม่ดูตามาตาเรือ ผู้ฟังอาจเดินหนีหรืออาจด่าคุณได้ เพราะตลกไม่รู้เวลา ไม่
รู้กาละเทศะ หรืออีกอย่างเขากำลังมีงานศพกัน แต่คุณกลับไปพูดเรื่องตลก
อาจโดนชกปากแตกได้ เพราะไม่ดูกาละเทศะ ไม่เหมาะสม อันนี้ถือว่าผิดศีล
เพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง หรือบางคนอาจมองว่าเป็นการเยาะเย้ย ซ้ำเติม

หรือหากผู้ที่มีอาชีพเป็นตลก อันนี้ก็ต้องดูจากกาละเทศะเหมือนกัน ที่จริงแล้ว
อาชีพตลกมีหน้าที่ให้ความบันเทิง เป็นอาชีพที่มีสัมมาอาชีวะ ไม่ได้เบียดเบียน
ใคร หากินโดยสุจริต อันนี้ไม่บาป ไม่ผิดศีล เพราะเมือมีคนจ้างให้เราไปเล่นตลก
เราก็ไป แต่เนื้อหาที่เรานำไปเล่นก็ควรดูกาละเทศะด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ว่าเขาจ้างไป
เล่นในงานศพ คนเขากำลังเศร้าๆกันอยู่ ต้องการอะไรที่มันคลายเศร้า แต่เราดัน
เอาเนื้อหาเกี่ยวกับตีรันฟันแทง คนฆ่ากันตาย หรือเนื้อหาที่ทำเหมือนกับว่างานศพ
เป็นเรื่องเฮฮา อันนี้ไม่ถูกต้อง นอกจากอาจไม่ได้ค่าจ้างแล้วอาจจะได้บาทากลับไป
คนละดอกสองดอก เพราะถือเป็นการเยาะเย้ยเจ้าภาพ เป็นต้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงมุมมองส่วนตัว ซึ่งมุมมองส่วนตัวก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน
ของแต่ละบุคคล ซึ่งมาตรฐานของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน เพราะฉนั้นควร
พิจารณาดูตามความเหมาะสมและกาละเทศะดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เพราะฉนั้น
หากเป็นสิ่งที่เหมาะสม ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถูกกาละเทศะ
จึงจะถือว่าถูกต้องเหมาะสม อนึ่ง ทุกอย่างบนโลกนี้ไม่มีกฏตายตัว แม้แต่ธรรมมะ
ก็ย่อมมีผ่อนหนักผ่อนเบาในบางอย่าง ตึงไปก็ไม่ได้ หย่อนไปก็ไม่ดี จำไว้ว่าทุกสิ่ง
นั้นไม่เที่ยง ทุกอย่างควรทำให้พอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดความสมดุลกัน

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าตลกเป็นเรื่องมุสา บุคคลที่สร้างเรื่องเหล่านี้ก็มุสาด้วยซิ
นิทาน นิยาย ละคร โขน หนัง งานศิลปะ ฯลฯ หรือแม้แต่นิทานนิยายประกอบการสอนธรรมะ
เพราะเรื่องเหล่านี้ก็สมมุติขึ้น จิตนาการขึ้น ไม่ได้เกิดจากเรื่องจริงทั้งสิ้น
แม้แต่นิยายอิงประวัติศาสตร์ส่วนมากมีข้อมูลเพียงสองสามบรรทัดนอกนั้นเป็นเรื่องที่สมมุติขึ้นทั้งสิ้น
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับกาลเทศะ แต่เป็นการเข้าใจความหมายที่คับแคบแบบกำปั้นทุบดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




33a-300x201.jpg
33a-300x201.jpg [ 29.21 KiB | เปิดดู 9337 ครั้ง ]
[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ
กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร
ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ
นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คน
หัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม
กลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ
[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้ว
ว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เรา
จักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์
เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูก
คือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลาง
สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อน
สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ
ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม-
*กลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมา
ประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ
อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ
ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความ
เห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง
คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็น
ผิด ฯ
[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตรร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้
ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์
และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ
รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน
มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชื่อปหาสะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคนาย
นฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ใน
จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 08 เม.ย. 2013, 08:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


แกงได เขียน:
ถ้าตลกเป็นเรื่องมุสา บุคคลที่สร้างเรื่องเหล่านี้ก็มุสาด้วยซิ
นิทาน นิยาย ละคร โขน หนัง งานศิลปะ ฯลฯ หรือแม้แต่นิทานนิยายประกอบการสอนธรรมะ
เพราะเรื่องเหล่านี้ก็สมมุติขึ้น จิตนาการขึ้น ไม่ได้เกิดจากเรื่องจริงทั้งสิ้น
แม้แต่นิยายอิงประวัติศาสตร์ส่วนมากมีข้อมูลเพียงสองสามบรรทัดนอกนั้นเป็นเรื่องที่สมมุติขึ้นทั้งสิ้น
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับกาลเทศะ แต่เป็นการเข้าใจความหมายที่คับแคบแบบกำปั้นทุบดิน


ถึงได้บอกให้ดูที่เจตนาประกอบด้วยไงล่ะ ดูกาละเทศะแล้วก็ต้องดูที่เจตนาด้วย
เรื่องทุกเรื่องต้องเกี่ยวกับกาละเทศะทั้งนั้น ไม่มีอะไรไม่เกี่ยว พวกนิยายที่คุณ
ยกมากล่าวย่อมต้องเกี่ยวกับกาละเทศะทั้งสิ้น ลองมองให้กว้างอีกนิดนะ การที่
ผู้แต่จะแต่งนิยายเรื่องหนึ่งๆนั้น เขาจะแต่งเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ผิดกาละเทศะ ส่วน
คนที่ไปนำนิยายที่เขาแต่งมาอ่านแสดงว่าช่วงนั้นผู้อ่านมีความพร้อมที่จะรับ
ข้อมูล จึงไม่ผิดกาละเทศะตรงไหน การให้ความบันเทิงแก่ผู้อื่นในลักษณะที่
ไม่ได้เบียดเบียนใครนี้จะผิดได้ยังไง ในเมื่อผู้อ่านก็รู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเรื่องที่
อ่านนั้นเพียงแต่งขึ้น ไม่ใช่เรื่องจริง นิยายก็คือนิยาย บันเทิงก็คือบันเทิง จะเอา
มารวมกับเรื่อจริงทั้งหมดไม่ได้ ต้องรู้จัแยกแยะ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ลุงหมาน เขียน:
[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ
กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร
ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ
นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คน
หัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม
กลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ
[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้ว
ว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เรา
จักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์
เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูก
คือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลาง
สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อน
สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ
ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม-
*กลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมา
ประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ
อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ
ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความ
เห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง
คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็น
ผิด ฯ
[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตรร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้
ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์
และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ
รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน
มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชื่อปหาสะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคนาย
นฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ใน
จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย


อยากแนะนำว่า เวลาเรานำพระไตรปิฏกมาอ้างอิง เราควรรู้ที่มาที่ไปซะก่อนนะครับ
อย่างที่คุณโฮฮับเคยพูดเสมอๆ ไม่ควรจับมาแปะแล้วตีความเอาเดี๋ยวนั้นเลย แบบนี้
จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าไขว้เขวไป ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้า
ต้องการสอน เพราะฉนั้นจึงไม่ควรนำมาแปะแล้วสรุปในคราวเดียว จะผิดวัตถุประสงค์ได้

อย่าไปเหมารวมว่าผู้มีอาชีพด้านนี้จะตกนรกทุกคน ต้องแยกแยะวัตถุประสงค์ เจตนา
เป็นหลัก คนในวงการนี้ก็มีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งสัมมาอาชีวะและมิจฉาทิฐฐิจะเหมารวม
หมดไม่ได้ การแสดงละครนั้นผู้คนรู้อยู่แล้วว่าแต่งขึ้น ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะฉนั้นเขา
จึงไม่เข้าข่ายหลอกลวง เป็นเพียงผู้ให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ก็ต้องแยกแยะด้วยว่า
เนื้อหาที่ถ่ายทอดออกมานั้นเหมาะหรือไม่เหมาะประการใด ถ้าไม่เหมาะก็อาจเป็นมิจ
ฉาทิฐฐิ พวกนักข่าวก็เช่นกัน หากรายงานสถาณการณ์บ้านเมืองตามที่เกิดขึ้นจริงก็ถือ
เป็นสัมมาอาชีวะหากบิดเบือดก็เป็นมิจฉาทิฐฐิ เรื่องพวกนี้ละเอียดอ่อนนัก เพราถึงแม้
บอกว่าเป็นการรายงานตามสถาณการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่บางเนื้อหาก็ยากที่จะเลี่ยงมิจฉา
ทิฐฐิไปได้

คนเราไม่ได้มีความสามารถในการตีสื่อเหมือนกันทุกคน อาจมีการทำให้เกิดความหลงบ้าง
เราก็ต้องแยกพิจารณาเป็นข้อๆไป อย่างรายการที่ให้ความรู้นี่ก็ถือว่าเป็นสัมมาอาชีวะ เพราะ
ถือว่าให้ประโยชน์แก่ผู้รับข้อมูลโดยไม่เบียดเบียนใคร ให้ข้อเท็จจริง นี่ก็ต้องพิจารณาด้วย

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนรู้จักพิจารณาในรายละเอียดก่อนสรุปความใดๆ ดังจะ
คุ้นเคยกันมากในเรื่องของ สุ จิ ปุ ริ ก็ขอให้ท่านโปรดพิจารณา

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 13:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้แสดง..แสดงบท..ที่บ่งบอกถึงความโลภ...ความโกรธ..ความเสียใจ...แค้นใจ...แสดงต้องท่องบทและต้องอินกับบทนั้นเพื่อให้การแสดงออกมาสมจริง...

ขณะนั้น...ภพนั้น ๆ ก็ตั้งอยู่ที่ใจแล้ว...หากยังไม่ตายในขณะนั้น...ภพนั้นก็ลงไปในสัญญาฝังในจิตใต้สำนึกเป็นนิวรณ์

จะเห็นได้ว่า..นักแสดงที่เก่ง ๆ จะมีประสบการณ์มาก...การจะแสดงบทบาทแบบไหนก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว....เช่นทำงัยจะร้องให้มีน้ำตาด้วย....ก็จะไประลึกถึงสัญญาบางอย่างที่ทำให้หลั่งน้ำตาได้ง่าย..เป็นต้น

ขนาดแสดงบทประเภทไหนมาก ๆ...ผู้แสดงบางคนจะเริ่มมีนิสัยใจคอ..สไตล์การพูดการจาจะไปคล้าย ๆ บทที่แสดง..ไปก็มี...ครั้งหนึ่ง..ดิคาปลิโอ..เคยให้สัมภาษณ์ว่า..บทของแจ๊คในหนังเรื่อง ไตทานิก กำลังมีอิทธิพลต่อเขามากจนรู้สึกว่า..เขากำลังสูญเสียตัวตนของเขาเอง..เป็นต้น

แสดงมาก ๆ มีประสบการณ์มาก ๆ...สัญญาก็มากตาม...ถึงคราวที่จะตายสัญญาเก่า ๆ ก็มีโอกาสฟุ้งขึ้นมาเป็นธรรมารมณ์ได้มากกว่า...โอกาสที่จะตายในขณะที่อยู่บนภพที่เกิดจากธรรมารมณ์...ก็มากตาม

นี้ผู้แสดง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ
กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร
ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ
นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คน
หัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม
กลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ
[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้ว
ว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เรา
จักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์
เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูก
คือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลาง
สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อน
สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ
ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม-
*กลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมา
ประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ
อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ
ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความ
เห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง
คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็น
ผิด ฯ
[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตรร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้
ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์
และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ
รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน
มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชื่อปหาสะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคนาย
นฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ใน
จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย


อยากแนะนำว่า เวลาเรานำพระไตรปิฏกมาอ้างอิง เราควรรู้ที่มาที่ไปซะก่อนนะครับ
อย่างที่คุณโฮฮับเคยพูดเสมอๆ ไม่ควรจับมาแปะแล้วตีความเอาเดี๋ยวนั้นเลย แบบนี้
จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าไขว้เขวไป ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้า
ต้องการสอน เพราะฉนั้นจึงไม่ควรนำมาแปะแล้วสรุปในคราวเดียว จะผิดวัตถุประสงค์ได้

อย่าไปเหมารวมว่าผู้มีอาชีพด้านนี้จะตกนรกทุกคน ต้องแยกแยะวัตถุประสงค์ เจตนา
เป็นหลัก คนในวงการนี้ก็มีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งสัมมาอาชีวะและมิจฉาทิฐฐิจะเหมารวม
หมดไม่ได้ การแสดงละครนั้นผู้คนรู้อยู่แล้วว่าแต่งขึ้น ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะฉนั้นเขา
จึงไม่เข้าข่ายหลอกลวง เป็นเพียงผู้ให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ก็ต้องแยกแยะด้วยว่า
เนื้อหาที่ถ่ายทอดออกมานั้นเหมาะหรือไม่เหมาะประการใด ถ้าไม่เหมาะก็อาจเป็นมิจ
ฉาทิฐฐิ พวกนักข่าวก็เช่นกัน หากรายงานสถาณการณ์บ้านเมืองตามที่เกิดขึ้นจริงก็ถือ
เป็นสัมมาอาชีวะหากบิดเบือดก็เป็นมิจฉาทิฐฐิ เรื่องพวกนี้ละเอียดอ่อนนัก เพราถึงแม้
บอกว่าเป็นการรายงานตามสถาณการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่บางเนื้อหาก็ยากที่จะเลี่ยงมิจฉา
ทิฐฐิไปได้

คนเราไม่ได้มีความสามารถในการตีสื่อเหมือนกันทุกคน อาจมีการทำให้เกิดความหลงบ้าง
เราก็ต้องแยกพิจารณาเป็นข้อๆไป อย่างรายการที่ให้ความรู้นี่ก็ถือว่าเป็นสัมมาอาชีวะ เพราะ
ถือว่าให้ประโยชน์แก่ผู้รับข้อมูลโดยไม่เบียดเบียนใคร ให้ข้อเท็จจริง นี่ก็ต้องพิจารณาด้วย

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนรู้จักพิจารณาในรายละเอียดก่อนสรุปความใดๆ ดังจะ
คุ้นเคยกันมากในเรื่องของ สุ จิ ปุ ริ ก็ขอให้ท่านโปรดพิจารณา


กดดูนะท่านว่ามีการเปลี่ยนแปลงตรงไหน เพียงมีการเน้นสีเท่านั้น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 768&Z=7822

นี่แหละเหตุที่เราไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เพราะเราเอาความคิดของตนเองว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นน่าเป็นอย่างนี้
แล้วก็เที่ยวไปสอนคนอื่นว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างนี้ เอาความคิดของตนเองยัดเยียด
ว่าเป็นคำสอนพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่คำสอนตื้นๆ เป็นคำสอนที่ลึกซึ้งกว้างขวาง
ลองไปอ่านหมวดพระอภิธรรมดูที่ผมนำมาลงไว้ ว่าคำสอนพระพุทธเจ้าลึกซึ้งมากไหม คิดว่าถ้าผู้ที่ไม่ได้ศึกษามาคงคิดไม่ออกหรอกนะว่านี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งที่นำเอามาเสนอนั้นไม่ได้คิดเอาเอง เรื่องนี้ผมเองเน้นมากมีหลักฐานอ้างอิงเสมอ...เพียงแต่บางครั้งไม่ได้อ้างอิงที่มา บางครั้งก็คัดลอกมาจากตำราที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายที่น่าเชื่อถือได้ จากอรรกถาบ้างพระไตรปิฎกบ้าง

อย่างโฮฮับน่ะหรือครับที่ท่านเชื่อถือ...เชิญได้เลยครับตามสบาย.....

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ลุงหมาน เขียน:
พุทธคุณ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ
กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร
ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ
นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คน
หัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม
กลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ
[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้ว
ว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เรา
จักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์
เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูก
คือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลาง
สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อน
สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ
ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม-
*กลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมา
ประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ
อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ
ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความ
เห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง
คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็น
ผิด ฯ
[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า
ตาลบุตรร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้
ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้
กะเราเลย ฯ
คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์
และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ
รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน
มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชื่อปหาสะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคนาย
นฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ใน
จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย


อยากแนะนำว่า เวลาเรานำพระไตรปิฏกมาอ้างอิง เราควรรู้ที่มาที่ไปซะก่อนนะครับ
อย่างที่คุณโฮฮับเคยพูดเสมอๆ ไม่ควรจับมาแปะแล้วตีความเอาเดี๋ยวนั้นเลย แบบนี้
จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าไขว้เขวไป ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้า
ต้องการสอน เพราะฉนั้นจึงไม่ควรนำมาแปะแล้วสรุปในคราวเดียว จะผิดวัตถุประสงค์ได้

อย่าไปเหมารวมว่าผู้มีอาชีพด้านนี้จะตกนรกทุกคน ต้องแยกแยะวัตถุประสงค์ เจตนา
เป็นหลัก คนในวงการนี้ก็มีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งสัมมาอาชีวะและมิจฉาทิฐฐิจะเหมารวม
หมดไม่ได้ การแสดงละครนั้นผู้คนรู้อยู่แล้วว่าแต่งขึ้น ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะฉนั้นเขา
จึงไม่เข้าข่ายหลอกลวง เป็นเพียงผู้ให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ก็ต้องแยกแยะด้วยว่า
เนื้อหาที่ถ่ายทอดออกมานั้นเหมาะหรือไม่เหมาะประการใด ถ้าไม่เหมาะก็อาจเป็นมิจ
ฉาทิฐฐิ พวกนักข่าวก็เช่นกัน หากรายงานสถาณการณ์บ้านเมืองตามที่เกิดขึ้นจริงก็ถือ
เป็นสัมมาอาชีวะหากบิดเบือดก็เป็นมิจฉาทิฐฐิ เรื่องพวกนี้ละเอียดอ่อนนัก เพราถึงแม้
บอกว่าเป็นการรายงานตามสถาณการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่บางเนื้อหาก็ยากที่จะเลี่ยงมิจฉา
ทิฐฐิไปได้

คนเราไม่ได้มีความสามารถในการตีสื่อเหมือนกันทุกคน อาจมีการทำให้เกิดความหลงบ้าง
เราก็ต้องแยกพิจารณาเป็นข้อๆไป อย่างรายการที่ให้ความรู้นี่ก็ถือว่าเป็นสัมมาอาชีวะ เพราะ
ถือว่าให้ประโยชน์แก่ผู้รับข้อมูลโดยไม่เบียดเบียนใคร ให้ข้อเท็จจริง นี่ก็ต้องพิจารณาด้วย

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนรู้จักพิจารณาในรายละเอียดก่อนสรุปความใดๆ ดังจะ
คุ้นเคยกันมากในเรื่องของ สุ จิ ปุ ริ ก็ขอให้ท่านโปรดพิจารณา


กดดูนะท่านว่ามีการเปลี่ยนแปลงตรงไหน เพียงมีการเน้นสีเท่านั้น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 768&Z=7822

นี่แหละเหตุที่เราไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เพราะเราเอาความคิดของตนเองว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นน่าเป็นอย่างนี้
แล้วก็เที่ยวไปสอนคนอื่นว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างนี้ เอาความคิดของตนเองยัดเยียด
ว่าเป็นคำสอนพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่คำสอนตื้นๆ เป็นคำสอนที่ลึกซึ้งกว้างขวาง
ลองไปอ่านหมวดพระอภิธรรมดูที่ผมนำมาลงไว้ ว่าคำสอนพระพุทธเจ้าลึกซึ้งมากไหม คิดว่าถ้าผู้ที่ไม่ได้ศึกษามาคงคิดไม่ออกหรอกนะว่านี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งที่นำเอามาเสนอนั้นไม่ได้คิดเอาเอง เรื่องนี้ผมเองเน้นมากมีหลักฐานอ้างอิงเสมอ...เพียงแต่บางครั้งไม่ได้อ้างอิงที่มา บางครั้งก็คัดลอกมาจากตำราที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายที่น่าเชื่อถือได้ จากอรรกถาบ้างพระไตรปิฎกบ้าง

อย่างโฮฮับน่ะหรือครับที่ท่านเชื่อถือ...เชิญได้เลยครับตามสบาย.....


ท่านลุงหมานครับ โปรดใช้สติ อย่าใช้อารมณ์ เราเป็นมนุษย์ผู้มีตรรกกะ สามารถ
คุยกันด้วยเหตุด้วยผลเยี่ยงผู้เจริญ ไม่ควรประชดประชันกันไปมา ควรคุยกันเยี่ยงบัณฑิต
เดรัจฉานเท่านั้นที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินและรับอิทธิพลต่างๆได้โดยไม่ตรึกตรอง
เราคุยกันเยี่ยงบัณฑิตที่มีกัลยาณไมตรี ไม่สมควรจะพาลกันไปมาเหมือนเด็ก

บทที่ท่านคัดมาผมแค่แนะนำว่าควรศึกษาที่มาที่ไปก่อนนำมาลง เพราะมันเป็นคนละเรื่องกับ
ที่ท่านสมาชิกถาม อีกอย่างบทที่ท่านคัดมาลงนั้นพระทุทธเจ้าท่านไม่ได้ให้ความหมายแบบ
ที่ท่านลุงหมานเข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสในบทนี้เพื่อจะสื่อถึงความเข้าใจผิดๆโดยไม่
ตรึกครอง หรือหลักกาลามสูตร ทรงกล่าวถึงการที่อาจารย์สอนศิษย์มาแบบผิดๆ ทำให้ศิษย์
ปฎิบัติมาผิดๆ ปฏิบัติตามกันมาแบบผิดๆ โดยการใช้วิธีหลอกลวงทุกชนิด เพื่อให้ผู้อื่นชอบใจ
พูดจริงบ้าง เท็จบ้าง เพื่อเอาใจผู้อื่น พระองตรัสว่าต้องไปนรก ผมไม่เคยบอกว่าท่านลุง
หมานไปแก้ไขพระไตรปิฎก

การที่ท่านลุงหมานอายุมากอ่านหนังสือธรรมมากไม่ได้หมายความว่าท่านบรรลุ
เหนื่อกว่าพุทธศาสนิกชนคนอื่นๆนะครับ โดยเฉาะอย่างยิ่ง หากท่านผ่านโลกมามาก
ก็น่าจะรู้อะไรควรไม่ควร มีสติควบคุมอยู่เหนืออารมณ์ มีความอดทนที่จะฟังคำ
ของผู้อื่นบ้าง อย่าเห็นว่าผู้อื่นแปลกกว่าแล้วจะไปดูหมิ่นเขา ยกตนเองสูงส่ง
กรุณาอ่านโพสต์ของผมใหม่หลายๆรอบนะครับ อย่ามองว่าสิ่งที่ผมแนะนำนั้น
ไม่ถูกจริตหรือไม่ถูกใจท่าน อย่ามองว่าโพสต์ของผมจะไปทำร้ายท่าน ทุกคไม่มี
ใครอยากทำร้ายท่านลุงหมานหรอกนะครับ โปรดเปิดใจให้กว้าง และพร้อมก่อนที่
จะเข้ามาสนทนากับสมาชิก

.....................................................
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร