วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 14:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2013, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สติ แปลได้หลายอย่าง เช่น ระลึกถึง ระลึกรู้ ระลึกได้
ในสิ่งที่เคยพูด สิ่งที่เคยมี สิ่งที่เคยทำ แม้ในอดีต

สติ ผู้รู้จักผิดชอบ ชั่วดี

สติ คือ ผู้เฝ้าระวัง ผู้รักษา ผู้กั้น เครื่องกั้น ..เช่น
เปรียบเหมือนเขื่อนกั้นน้ำ ไม่ให้ไหลท่วมบ้านเรือน ..

เหมือนยามเฝ้าประตูบ้าน ที่คอยระวังรักษาไว้ไม่ให้โจร
ผู้ร้ายเข้ามาลักขโมยทรัพย์สิ้นเงินทองภายในบ้านได้

ผู้มีสติ จึงเปรียบเหมือน ผู้มีคนเฝ้าพิทักษ์รักษา
เฝ้าระวังภัยอันตราย ที่จะเกิดกับตน ให้อยู่รอดปลอดภัย ..

มาฝึก "สติ" กันเถิด ..

:b1: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

มาฝึก "สติ" กันเถิด ..

:b1: :b13:

ขอรายละเอียดวิธีการฝึกหน่อยก็คงจะดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ขอรายละเอียดวิธีการฝึกหน่อยก็คงจะดี


การฝึกสติ พระพุทธองค์ได้ประทานแนวทางไว้แล้ว ท่านเรียกว่า สติปัฏฐานสี่

สติปัฏฐานสี่ คือ ที่ตั้งของสติ มีที่ตั้งอยู่สี่อย่าง เหมาะสำหรับท่านที่มีจริตนิสัยต่างๆ กัน
จุดประสงค์ คือ ใช้เป็นที่ฝึกสติเพื่อควบคุมจิตให้สงบเป็นสมาธิ ..

ประกอบด้วย

๑. กายานุปัสสนา คือ การพิจารณากาย ตามดูรู้ทันกาย เช่น อานาปานสติ ตั้งสติตามรู้ลมหายใจเข้าออก
กำหนดรู้อริยาบถของกาย ยืนเดินนั่งนอน การพิจารณาปฏิกูลมนสิการ ฯลฯ

๒. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือเกิดความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉยๆ ไม่สุขทุกข์
เกิดจากอามิส หรือไม่เกิดจากอามิส เป็นต้น

๓. จิตตานุปัสสนา การตามรู้ทันจิต คือ จิตในขณะนั้นมีราคะ โทสะ โลภะ โมหะ หรือไม่
ก็ให้รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

๔. ธัมมานุปัสสนา การตามรู้ทันธรรม คือ ให้รู้ว่าธรรมที่เกิดในขณะนั้น เช่น นิวรณ์ ๕
เกิดขึ้นอย่างไรจะดับได้อย่างไร การกำหนดรู้ในขันธ์ห้า รู้ทัน อายตนะ ฯลฯ

ท่านได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ..

“... ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ
เพื่อความอัศดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐานสี่ ...”

รายละเอียดเรื่องสติปัฏฐานสี่มีมาก ควรจะต้องศึกษากันต่อไป (สำนวนลุงหมาน .. :b32: )

มีอะไรไม่ถูกต้อง กรุณาแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะขอรับ ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: อนุโมทนาสาธุ
1241-14.gif
1241-14.gif [ 6.42 KiB | เปิดดู 4005 ครั้ง ]
:b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
วิริยะ เขียน:

มาฝึก "สติ" กันเถิด ..

:b1: :b13:

ขอรายละเอียดวิธีการฝึกหน่อยก็คงจะดี

พวกเราซึมซับเรื่งการมีสติ...ขันติ ปิยวาจา และการขอโทษ การให้อภัยจากเพื่อนๆเรา
ผมหวังว่าเราคงจะ เอาสิ่งที่เราอ่านเอามันกลับมาเป็นสติคอยเตือนใจเราครับ

อยากถามลุงหมานด้วยใจที่เป็นกุศลจริงๆครับ คืออยากรบกวนให้ลุงหมานกล่าวถึง
พระอธิธรรมที่เกี่ยวกับสติให้เพื่อนฟังหน่อยครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พวกเราซึมซับเรื่งการมีสติ...ขันติ ปิยวาจา และการขอโทษ การให้อภัยจากเพื่อนๆเรา
ผมหวังว่าเราคงจะ เอาสิ่งที่เราอ่านเอามันกลับมาเป็นสติคอยเตือนใจเราครับ

:b4: :b20: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อยากถามลุงหมานด้วยใจที่เป็นกุศลจริงๆครับ คืออยากรบกวนให้ลุงหมานกล่าวถึง
พระอธิธรรมที่เกี่ยวกับสติให้เพื่อนฟังหน่อยครับ :b13:

ในพระอภิธรรมนั้น สติ คือ ความระลึกได้ ได้แก่ความไม่หลงลืม
สตินั้นมีการสัมปยุตตธรรมทั้งหลายให้ระลึกเป็นลักษณะ
- สติที่เข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ มี กาย เป็นต้น เรียกว่าสติปัฏฐาน
- สติมี ๒ อย่าง คือสติที่เป็นสามัญทั่วไป กับ สติปัฏฐาน

สติสามัญทั่วไป มีความระวังตัวคอยระลึกอยู่เสมอ
เช่น เดินข้ามถนน หรือกำลังทำการงานต่างๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ก็มี
พุทธานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธ
ธัมมานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระธรรม
สังฆานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระสงฆ์
จาคานุสสติ การระลึกนึกถึงการบริจาคทานของตนที่เป็นไปบริสุทธิ์
สีลานุสสติ การระลึกนึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ได้รักษาไว้
อุปสมานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระนิพพานที่มีสภาพสันติสุข สงบจากกิเลสขันธ์ ๕
เทวตานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณธรรมที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา เหล่านี้ไม่ใช่ สติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน มีการระลึกถึงปรมัตถ์ คือ รูปนาม ที่เป็นปัจจุบัน

- สัญญากับสติต่างกันอย่างไร สัญญาเหมือนเราจดสมุดบันทึก แต่ถ้าเราไม่เปิดดูสมุดบันทึกก็ไม่รู้ว่าเราบันทึกอะไรไว้ ต้องไม่ลืมเปิดสมุดบันทึก ตัวสติคือ ตัวไม่หลงลืมที่จะไปเปิดอ่านสมุดบันทึก

ส่วนสติปัฏฐานนั้นดังที่คุณ วิริยะ อธิบายไว้แล้วในโพสท์ข้างบน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากถามลุงหมานด้วยใจที่เป็นกุศลจริงๆครับ คืออยากรบกวนให้ลุงหมานกล่าวถึง
พระอธิธรรมที่เกี่ยวกับสติให้เพื่อนฟังหน่อยครับ :b13:

ในพระอภิธรรมนั้น สติ คือ ความระลึกได้ ได้แก่ความไม่หลงลืม
สตินั้นมีการสัมปยุตตธรรมทั้งหลายให้ระลึกเป็นลักษณะ
- สติที่เข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ มี กาย เป็นต้น เรียกว่าสติปัฏฐาน
- สติมี ๒ อย่าง คือสติที่เป็นสามัญทั่วไป กับ สติปัฏฐาน

ผมขอแสดงความเห็นหน่อยนะครับ อย่าหาว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลย
ลุงหมานอย่ามองเป็นการแย้ง เอาเป็นว่าเห็นผิดตรงไหนก็ช่วยแก้ให้หน่อย

สติถ้าว่าด้วยปรมัตถ์มันคือ เจตสิกหรืออาการของจิตไม่ใช่หรือครับ
ว่าด้วยปัจจัยแล้ว มันเป็นนามธรรม อันมีเหตุปัจจัยมาจากรูปธรรม
ที่เรียกว่า ใจ(มโนทวาร) ไปกระทบกับอายตนะภายนอก(ความคิดหรือการกำหนดรู้กุศลในอดีต)
แล้วก็เกิดเป็นกระบวนการขันต์มาจบที่สติ

ลุงหมาน เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากถามลุงหมานด้วยใจที่เป็นกุศลจริงๆครับ คืออยากรบกวนให้ลุงหมานกล่าวถึง
พระอธิธรรมที่เกี่ยวกับสติให้เพื่อนฟังหน่อยครับ :b13:

- สติที่เข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ มี กาย เป็นต้น เรียกว่าสติปัฏฐาน
- สติมี ๒ อย่าง คือสติที่เป็นสามัญทั่วไป กับ สติปัฏฐาน

สติสามัญทั่วไป มีความระวังตัวคอยระลึกอยู่เสมอ
เช่น เดินข้ามถนน หรือกำลังทำการงานต่างๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ก็มี
พุทธานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธ
ธัมมานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระธรรม
สังฆานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระสงฆ์
จาคานุสสติ การระลึกนึกถึงการบริจาคทานของตนที่เป็นไปบริสุทธิ์
สีลานุสสติ การระลึกนึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ได้รักษาไว้
อุปสมานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระนิพพานที่มีสภาพสันติสุข สงบจากกิเลสขันธ์ ๕
เทวตานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณธรรมที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา เหล่านี้ไม่ใช่ สติปัฏฐาน

ลุงหมานครับ ลุงหมานว่า สมถกรรมฐานเป็นกรรมหนึ่งในสติปัฏฐานหรือเปล่าครับ
ถ้าลุงบอกไม่ใช่ ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ถ้าบอกว่าใช่
แบบนี้สิ่งที่ลุงกล่าวมา เขาเรียกว่าสมถกรรมฐานนะครับ
เขาเอาไว้ดับนิวรณ์ห้าครับ

ลุงหมาน เขียน:
สติปัฏฐาน มีการระลึกถึงปรมัตถ์ คือ รูปนาม ที่เป็นปัจจุบัน

ผมว่าไม่น่าใช่นะครับ รูปนามที่เป็นปัจจุบัน ทำไมต้องไประลึกรู้ด้วยครับ
อารมณ์ปัจจุบันเกิดขึ้นก็แค่รู้ตาม แต่สติมันเป็นการไประลึกรู้อดีตที่เรา
เคยได้กำหนดรู้สิ่งหนื่งสิ่งใดไว้ และอดีตก็คือ ปัญญาไตรลักษณ์ที่เราเห็นมา

ลุงหมาน เขียน:
- สัญญากับสติต่างกันอย่างไร สัญญาเหมือนเราจดสมุดบันทึก แต่ถ้าเราไม่เปิดดูสมุดบันทึกก็ไม่รู้ว่าเราบันทึกอะไรไว้ ต้องไม่ลืมเปิดสมุดบันทึก ตัวสติคือ ตัวไม่หลงลืมที่จะไปเปิดอ่านสมุดบันทึก

ส่วนสติปัฏฐานนั้นดังที่คุณ วิริยะ อธิบายไว้แล้วในโพสท์ข้างบน

ในทางปรมัตถ์ สัญญาคือความจำได้หมายรู้ในเวทนา ไม่ใช่การความจำที่มาจากสมอง
สัญญาเป็นเหตุให้เกิดสติ พูดให้ตรงลงไปก็คือ เวทนากับสัญญาทำให้เกิดจิตสังขาร
จิตสังขารก็คือสังขารขันต์(เจตสิก) สติก็เป็นหนึ่งในเจตสิก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

สติ แปลได้หลายอย่าง เช่น ระลึกถึง ระลึกรู้ ระลึกได้
ในสิ่งที่เคยพูด สิ่งที่เคยมี สิ่งที่เคยทำ แม้ในอดีต

สติ ผู้รู้จักผิดชอบ ชั่วดี

สติ คือ ผู้เฝ้าระวัง ผู้รักษา ผู้กั้น เครื่องกั้น ..เช่น
เปรียบเหมือนเขื่อนกั้นน้ำ ไม่ให้ไหลท่วมบ้านเรือน ..

เหมือนยามเฝ้าประตูบ้าน ที่คอยระวังรักษาไว้ไม่ให้โจร
ผู้ร้ายเข้ามาลักขโมยทรัพย์สิ้นเงินทองภายในบ้านได้

ผู้มีสติ จึงเปรียบเหมือน ผู้มีคนเฝ้าพิทักษ์รักษา
เฝ้าระวังภัยอันตราย ที่จะเกิดกับตน ให้อยู่รอดปลอดภัย ..

มาฝึก "สติ" กันเถิด ..

:b1: :b13:

สติ เป็นอาการของจิต ที่ ระลึก ทำความระลึก กำหนด ทำความกำหนดได้
สติ จำแนกเป็น สองประการ คือ สัมมาสติ และมิจฉาสติ
สัมมาสติ นั้น ยังอาจถูกจำแนกออกไปอีกได้เป็น สัมมาสติในธรรมอันเป็นโลกียะ และ สัมมาสติในธรรมอันเป็นโลกุตตระ
ซึ่ง
พระพุทธองค์แสดงธรรม เกียวกับสติปัฏฐานก็ตาม หรืออนุปัสสนาใดก็ตาม
จะเห็นปรากฏในพระสูตร ว่า
"สัมมาสติ เป็นไฉน" พระองค์ จะไม่ขึ้นด้วย "สติ เป็นไฉน"
ด้วยเหตุที่ว่า สัมมาสติ เป็นสัมมาสติที่พระองค์ค้นพบ และมุ่งแสดงให้เกิดความเข้าใจ

ด้วยเหตุที่ว่า ทรงตรัสว่า สัมมาสติ ;สัมมาสติ เป็นสังขตธรรม มีองค์ธรรมสำคัญสามประการปรุงแต่งประกอบขึ้นมารว่มกับองค์ธรรมอื่นๆ จึงเป็นสัมมาสติได้.
องค์ธรรมสำคัญสามประการ หรือเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมเกิดพร้อมเสมอ ใน สัมมาสติ คือ
1. อาตปะ
2. สัมปชัญญะ
3. สติ
เพราะมรรควิธีที่พระองค์แสดงนั้นพระองค์แสดงแก่สัตว์ ผู้ยังสามารถเสวยเวทนาอยู่ และเป็นผู้รู้สึกตัว
ดังนั้นจึงขาด เจตสิกธรรม สติ และสัมปชัญญะไม่ได้ องค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เป็นสัมมาสติคือ อาตปะ
ความเพ่งเพียรเผา
(สติสัมปชัญญะ อาตปะ ในสิ่งไร คือ ความยินพอใจความไม่พอใจ ต่อสิ่งที่เกี่ยวกับโลกในโลก)

เมื่อองค์ธรรมสามอย่างนี้ทำงานร่วมกัน ตั้งขี้นที่ กาย เวทนา จิต หรือธรรม สตินั้นจึงเป็นสัมมาสติ

เมื่อพระองค์แสดงธรรม แก่อชิตะมานพ ในอชิตปัญญานั้น
พระองค์ทรงตรัสว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสนั้น ก็ด้วยเหตุที่ว่า อชิตมานพนั้นเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา
สติที่แสดงนั้นหมายเอา สัมมาสติ เป็นองค์ธรรมหลัก

การฝึกสติ จึงเป็นการฝึกตั้งสัมมาสติ เพื่อให้สัมมาสติตั้งขึ้นในฐานต่างๆ อันเป็นที่ตั้งของสติ

การฝึก คือการทำตามวิธีการแนวทางที่พระองค์ทรงแสดงว่า "สติปัฏฐาน 4" ดั่งปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร