วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2013, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


นิยตมิจฉาทิฏฐิ = คืออะไร?

[นิยะตะ] แปลว่า เที่ยงแท้
[มิจฉา] แปลว่า ผิด,ไม่ถูกต้อง
[ทิฏฺฐิ] แปลว่า ความคิดเห็น,ทัสสนะคติ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต มีข้อความว่า

[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฐิเป็นอย่างยิ่ง ฯ

ในอรรถกถา คัมภีร์ขยายอธิบายพระสูตร แสดงเอาไว้ว่า มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่างที่เที่ยงแท้ ที่ผู้ยึดถือด้วยอำนาจการกระทำตาม มิจฉาทิฏฐิ หรือมีความเห็นผิดต่างๆ ใน ๓ ทิฏฐิี้นี้เข้าแล้ว ต้องไปสู่ความไม่เจริญ (อบาย) แน่นอน ๓ ทิฏฐิที่ว่าได้แก่


มิจฉาทิฏฐิ ๓ ห้ามสวรรค์ ห้ามมรรค

- อเหตุกทิฏฐิ = ไม่มีเหตุ ไม่มีัปัจจัย (ปฏิเสธกรรมและผลแห่งกรรม)
- อกิริยทิฏฐิ = ไม่มีบุญ ไม่ีมีบาป (ปฏิเสธผลแห่งกรรม)
- นัตถิกทิฏฐิ = ขาดสูญ หลังจากตายไปย่อมไม่มี. (ยืนยันความขาดสูญ ชอบใจความสูญ)

เมื่อสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตน หมายถึงสภาพปรมัตถธรรมที่มีอยู่ คือขันธ์ ธาตุ อายตนะ
กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลมีอยู่.
เป็นไตรลักษณ์ มีความปรุงแต่ง มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ บังคับไม่ได้
ไม่ใช่ของสัตว์บุคคลตัวตน เราเขา.

แต่เพราะอาศัยเหตุและปัจจัยต่างๆ ยังมีอวิชชาเป็นต้น ยึดถือการกระทำ
ไปด้วยอำนาจความไม่รู้ ปรุงแต่งบุญ ปรุงแต่งบาป (ปุญญาภิสังขาร,
อปุญญาภิสังขาร) เกิดวิญญาณ นามรูป อันเป็นอนัตตา เป็นไปตามสภาพ
ธรรม ตามนิยามธรรม ตามอิทัปปัจจัยตา ปฏิจสมุปบาท แต่เพราะความไม่รู้
จึงยึดถือ เอาวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน
เป็นของตน และของๆ ตน

เพราะมีตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในภาวะว่ามีว่าเป็น เพราะมีตัณหาอย่างใด
อย่างหนึ่งในภาวะว่าไม่มีไม่เป็น ระหว่าง ภาวตัณหา และวิภาวตัณหาจึงมี
อุปาทาน ความยึดถือ ในทิฏฐุปาทาน ในสีลัพพัตตุปาทาน ในอัตตวาทุปาทาน
ติดข้องสงสัยในขันธ์ และอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕

ชอบพอใจความมีก็มี โดยไม่ชอบไม่พอใจความไม่มี = ภาวทิฏฐิ
ชอบพอใจความไม่มีก็มี โดยไม่ชอบไม่พอใจความมี = วิภาวทิฏฐิ

อัตตาที่ มีสัญญาในอนัตตา.
อัตตาีที่ มีสัญญาในอัตตา.

เข้าข่ายสัสสตทิฏฐิ(ภาวทิฏฐิ)
ตัวตนที่ ชอบที่พอใจในความมี ไม่ชอบไม่พอใจในความไม่มี
เข้าข่ายอุทเฉจทิฏฐิ (วิภาวทิฏฐิ)
ตัวตนที่ ชอบที่พอใจในความไม่มี ไม่ชอบไม่พอใจในความมี

ล้วนเป็นทิฏฐิ ความเห็นที่ยังสงสัยข้องติดเนื่องด้วยตน ชนิดชอบและปฏิเสธทั้งสิ้น
เป็นส่วนสุดทั้งสอง ที่ชาวพุทธ ควรหลีกเลี่ยง ทำความรู้ความเ้ข้าใจ
ในอิทัปปัจจยาตา ปฏิจสมุปบาท สติปัฏฐาน เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตาม
ความเป็นจริง เพื่อถอนความยึดถือเห็นผิดใน ขันธ์และอุปาทานขันธ์.




ว่าด้วยอเหตุกทิฏฐิ

ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามภาวะแห่งความแน่นอนและความไม่แน่นอน ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น?

ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ

เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เศร้าโศกเอง ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก ลำบากเอง ทำให้ผู้อื่นลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้ผู้อื่นดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขาพูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียว บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขาไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวา แห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคล จะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเอง ใช้ผู้อื่นให้ให้ทาน บูชาเอง ใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขาบุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา?


ว่าด้วยนัตถิกทิฏฐิ

ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก

คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อใด ทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งเตียง จะหามเขาไป

รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา)ก็กลายเป็นกระดูกสีเทาสีนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกที่พูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี?

@@@@@


คำว่า บุคคล ในบทว่า เอกปุคฺคลสฺส นี้ เป็นโวหารกถา (กล่าวเป็นโวหาร).
จริงอยู่ เทศนาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคมี ๒ อย่าง คือสมมติเทศนา และปรมัตถเทศนา.
ในเทศนา ๒ อย่างนั้น สมมติเทศนามีอย่างนี้ คือ บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร.

ปรมัตถเทศนามีอย่างนี้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน.

ในเทศนา ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนาแก่บุคคลผู้ฟังเทศนาโดยสมมติ
แล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้. ทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่บุคคลผู้ฟังเทศนาโดยปรมัตถแล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้.
---------------------------------------------------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต
ตติยวรรค เวปุลลปัพพตสูตร



จูฬกัมมวิภังคสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 623&Z=7798


"พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า ดูก่อนจิตตะ ตถาคตพูดไปตามสิ่งที่รู้กันในโลก ภาษาของชาวโลก
โวหารของชาวโลก บัญญัติของชาวโลก แต่ไม่ยึดถือด้วยทิฏฐิ.
"
----------------------------------------------------------------
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
ทีฆนขสูตร เรื่องทีฆนขปริพาชก


การได้อัตตา ๓ ประการ
"ดูกรจิตตะ เหล่านี้แลเป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาของโลก เป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติ
ของโลก ที่ตถาคตกล่าวอยู่ มิได้ยึดถือ."
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... em=312#312


อรหันตสูตรที่ ๕
[๖๗] ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะ
เสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสียแล้วซึ่งความสำคัญ ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา
ดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตาม
สมมติที่พูดกัน ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... item=65#65

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2013, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss ยอดเยี่ยมทุกความเห็นเลย

ส่วนผมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้นะ็

ผมว่ากรรมมีอยู่เนื่องด้วยสังขาร ธรรมชาติสังขารมีการปรุงแต่งย่อมมีกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อยึดมั่นสังขาร กาย-ใจ นาม-รูป ว่ามีตน ย่อมต้องมีกรรมเป็นของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน


แต่เมื่อเห็นอนัตตา ละความถือมั่นว่ามีตนมีสังขาร ถึงธรรมชาติแห่งการไม่ปรุงแต่งแล้ว

กรรมที่มีแม้ยังมีวิบากอยู่(เพราะยังไม่ตาย)ก็ให้ผลแก่ธรรมชาติของกายเท่านั้น

ไม่อาจส่งผลเป็นทุกข์แก่จิต(เพราะไม่มีอุปปาทานขันธ์) จนนิพพานดับสนิทสิ้นเชิง :b19:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2013, 10:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่พระอรหันต์ ท่านก็ยังมีกรรมเป็นของตนเอง เพียงแต่ท่านไม่ยึดติดแล้ว ท่านจึงไม่ทุกข์

แต่ระดับเราๆ ยังยึดติดอยู่ก็ยังมีทุกข์ต่อไป มีกรรมเป็นของตน พร้อมความทุกข์ ที่ยึดติดต่อไป


น่าจะัประมาณนี้นะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร