วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 32, 33, 34, 35, 36, 37, 38 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งทั้งสองวิธีสำหรับการฝึกโยนิโสฯและฝึกสติสัมปชัญญะลงที่รูปนามกายใจ เพื่อให้จิตตั้งมั่น รู้ลงในจิตนี้ ต้องอาศัยการแยกผู้รู้ ออกมาจากสิ่งที่ถูกรู้ให้เป็นเสียก่อน :b46: :b39: :b46:

ซึ่งก็คือการฝึกให้ได้ปัญญา หรือญาณที่เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นญาณแรกในโสฬสญาณนั่นเอง :b1: :b48: :b49:


โดยตรงนี้ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านเรียกว่า การแยกธาตุแยกขันธ์ แยกรูปแยกนาม ให้เกิดขึ้นในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้เห็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของกาย แล้วรู้ลงที่ใจ :b42: :b47: :b48:

กับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตเจตสิก แล้วรู้ลงที่ใจ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งการที่ผู้ฝึกปฏิบัติ สามารถแยกรูปแยกนาม หรือแยกผู้รู้ ออกจากสิ่งที่ถูกรู้ได้อย่างชำนาญนั้น จะต้องฝึกโยนิโสมนสิการในรูปนาม เพื่อให้รู้ในอาการของรูปและนาม จนเกิดสติที่เข้มแข็ง สามารถตรวจจับการเกิดขึ้นของรูปนามได้อย่างสดๆร้อนๆลงเป็นปัจจุบัน ด้วยความไวและความคมชัด :b49: :b48: :b49:

จากนั้น จึงส่งต่อให้สมาธิ ทำหน้าที่ออกแรง "ถ่าง" แยกรูปแยกนาม แยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ออกจากกันได้นาน จนไตรลักษณ์ปรากฏให้รับรู้ขึ้นได้ต่อหน้าต่อตา :b44: :b39: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยถ้าสมาธิมีกำลังไม่แรงพอ รูปนามก็จะไหลกลับมาจมแช่รวมกันอีก จนไม่สามารถสังเกตเห็นอาการเกิดดับของรูปนามที่เกิดขึ้นลงเป็นปัจจุบัน แต่จะเห็นในรูปนามที่ไหลต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (สันตติ หรือการสืบต่อ ปิดบัง อนิจจัง) :b47: :b48: :b47:

และเมื่อไม่สามารถเห็นการเกิดดับของรูปนามลงเป็นปัจจุบัน ผู้ฝึกปฏิบัติก็จะรู้สึกถึงแต่การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของรูปนาม โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกาย (ซึ่งมีศัพท์เฉพาะคือคำว่า อิริยาบถ ที่มีรากศัพท์แปลว่า การเคลื่อนไหวของกาย http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D4%C3%D4%C2%D2%BA%B6) คือการขยับกายเพื่อหนีทุกข์ คือความปวดเมื่อยตามความเคยชิน :b47: :b46: :b47:

ซึ่งเมื่อขาดสติสมาธิในการดูหรือโยนิโสฯ อาศัยแต่ความเคยชินในการขยับกายหนีทุกข์หรือความบีบคั้นอยู่เรื่อยๆ ก็จะไม่สามารถเห็นรูปนามที่เคลื่อนไหวรวมกันนั้น กำลังโดนบีบคั้นอยู่ (อิริยาบถ หรือการเคลื่อนไหวของกาย ปิดบัง ทุกขัง) :b49: :b50: :b49:

และการที่รูปนาม หรือผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ไหลมาจมแช่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ก็จะตามเห็นผิดอยู่เสมอๆว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตัวตนของเรา (ฆนะ หรือการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ปิดบัง อนัตตา) :b51: :b46: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแทรกตรงนี้ไว้นิดนึงนะครับว่า ถึงแม้นามรูปปริจเฉทญาณ จะเป็นญาณเบื้องต้นแรกสุดที่จะนำพาเข้าไปสู่วิปัสสนาญาณ ๙ ซึ่งเป็นตัวปัญญาอันแท้จริงแล้ว :b42: :b43: :b42:

แต่นามรูปปริจเฉทญาณ ก็เป็นญาณที่จะต้องอาศัยและต้องใช้ ตั้งแต่การฝึกในระดับปุถุชน จนกระทั่งถึงระดับอรหัตตมรรค อรหัตตผลกันเลยทีเดียว :b1: :b46: :b39:

ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างปุถุชนกับอริยบุคคลแล้วนั้น นามรูปปริจเฉทญาณของทั้งสองระดับ จะต่างกันที่ความหยาบละเอียด ความอ่อนแก่ ความแข็งแรง ของทั้งองค์สติสัมปชัญญะ ที่ใช้ในการตรวจจับ (detect) และองค์สมาธิ ที่ใช้เป็นแรงในการยื้อและถ่าง (hold) เพื่อแยกของสองสิ่งที่มักไหลรวมกันอยู่ตามความเคยชิน คือผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ ให้แยกออกจากกัน ไม่ไหลกลับไปรวมกัน :b43: :b42: :b43:

ซึ่งโดยปรกติของผู้ที่ไม่ได้ฝึกสติ ยังรู้เนื้อรู้ตัวไม่เป็น การรู้ลงที่กาย (ซึ่งเป็นการรู้ลงปัจจุบัน) เช่น การรู้ท้องพองยุบ การรู้แขนที่ขยับตามจังหวะ การรู้ขาที่กำลังย่างเดิน ฯลฯ ตัวรู้ มักจะไหลรวมลงไปรู้ที่ท้อง ที่แขน หรือที่ขา ฯลฯ มากกว่าการแยกตัวรู้ออกมารู้ลงที่ใจ ซึ่งเป็นผู้ดูท้อง แขน หรือขา ที่เคลื่อนไหว :b55: :b51: :b55:

(ถ้าจะอธิบายในทางอภิธรรม คือมักจะรู้ที่ปัญจทวาราวัชชนจิตและทวิปัญจวิญญาณจิต ซึ่งเกิดที่ปัญจทวารตามความเคยชิน แทนที่จะรู้ลงที่มโนทวาราวัชชนจิตที่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ ซึ่งเกิดที่มโนทวาร) :b51: :b50: :b51:

หรือถ้าเริ่มรู้เนื้อรู้ตัว รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นามเป็นแล้ว แต่ไม่ได้เป็นผู้เจริญสมาธิถึงระดับฌาน (ฌานลาภีบุคคล) การรู้กายรู้ใจ ก็จะรู้ได้เพียงแวบๆ หรือเพียงชั่วขณะ แล้วผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ก็ไหลกลับไปรวมกันอีก :b46: :b47: :b46:

เพราะสมาธิที่ใช้ "ถ่าง" รูปนามให้ออกจากกัน จะเป็นแค่ขณิกสมาธิ หรืออย่างมากก็เพียงแค่อุปจารสมาธิเท่านั้น ซึ่งมีกำลังไม่มากพอเหมือนอัปปนาสมาธิ ที่ทำให้ฌานลาภีบุคคล สามารถแยกรูปแยกนาม หรือแยกผู้รู้ออกจากสิ่งที่ถูกรู้ได้นานกว่า หรือแยกรู้อยู่แล้วเป็นปรกติ จนเห็นไตรลักษณ์ปรากฏอยู่สม่ำเสมอ :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการของการฝึกแยกรูปนาม นอกจากการรู้กายลงที่ใจแล้ว ก็คือการรู้ใจลงที่ใจ :b42: :b47: :b42:

ซึ่งถ้าสิ่งที่ถูกรู้ เป็นกุศล ก็จะสามารถรู้ลงที่ใจได้เป็นปัจจุบันขณะ เช่นมีอาการของปีติเกิดขึ้น ก็รู้ปีติลงได้ในขณะที่ยังมีปีติปรากฏอยู่ :b46: :b47: :b46:

แต่ถ้าสิ่งที่ถูรู้ เป็นอกุศล จะเป็นการรู้อดีต หรือรู้ตามหลัง เพราะสติเจตสิก จะไม่เกิดพร้อมกับอกุศล เช่น การรู้สภาวะโลภ โกรธ หลง ฯลฯ ในขณะที่เกิดสติรู้นั้น อาการโลภ โกรธ หลง ฯลฯ นั้นๆได้ดับลงเป็นอดีตไปแล้ว ในขณะเกิดสติ "รู้ตาม" ขึ้นทีหลัง
:b48: :b42: :b48:

โดยจิตที่เป็นอกุศลสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ จิตซึ่งเป็นผู้รู้นั้น มักจะจมแช่ลงไปในสภาวะของอาการโลภ โกรธ หลง ฯลฯ นานสักระยะ ก่อนที่จะรู้เนื้อรู้ตัว เกิดสติแยกผู้รู้ออกมาจากอาการ โลภ โกรธ หลง ฯลฯ ได้เพียงชั่วขณะ โดยใช้กำลังของขณิกสมาธิ ที่มีแรงไม่ค่อยมาก :b43: :b44: :b43:

ซึ่งถ้าเหตุภายนอกยังกระทบอยู่ .. หรือถ้าไม่กระทบแล้ว แต่จิตยัง "หลง" หวนกลับไปจมคิดในเหตุที่พึ่งกระทบนั้น .. จิตเจ้ากรรมก็จะไหลกลับเข้าไปยึดเหตุจนเกิดอาการ โลภ โกรธ หลง ฯลฯ ได้อีก เพราะกำลังของสติสัมปชัญญะ และ สมาธิ ยังไม่แข็งแรง ไม่มีกำลังพอที่จะถ่างผู้รู้ออกมาจากสิ่งที่ถูกรู้ได้เด็ดขาดและนานพอ :b51: :b50: :b51:

อีกทั้งไม่มีกำลังพอที่จะโฟกัสรู้เฉพาะอาการหรือวิเสสลักษณะที่เกิดขึ้น โดยไม่หลงกลับไปจับกิเลสเหตุทุกข์อีก (ทุกข์ไม่รู้ - สมุทัยไม่ละ - นิโรธไม่แจ้ง - เพราะมรรคไม่ได้เจริญ หรือมีกำลังไม่พอ) :b48: :b49: :b50:

(ถ้าจะอธิบายในทางอภิธรรม คือหลังจากจิตกระทบกับสิ่งที่กระตุ้นให้อกุศลเกิด ต่อเนื่องเป็นวิถีจิตที่มีชวนจิต ซึ่งประกอบด้วย หรือจมแช่ลงด้วยอกุศลเจตสิก เกิดขึ้นไหลต่อเนื่องกันนานหลายวิถี ก่อนที่จะมีวิถีจิตที่มีชวนจิต ซึ่งประกอบด้วยสติ เอกัคคตา และปัญญินทรียเจตสิกมาตัดให้รู้เนื้อรู้ตัว แต่สติ เอกัคคตา (คือองค์สมาธิ) และปัญญินทรียเจตสิกที่เกิดขึ้นมีกำลังไม่แรงพอ จิตจึงไหลกลับไปรับการกระทบที่กระตุ้นอกุศลนั้นๆ และจมแช่ลงไปในอกุศลเจตสิกที่เกิดขึ้นอีก) :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งจากที่กล่าวมานะครับว่า การแยกธาตุแยกขันธ์สำหรับผู้เริ่มฝึก เปรียบเทียบกับอริยบุคคลแล้วนั้น นอกจากจะต่างกันที่ความเข้มแข็ง ความหยาบละเอียดขององค์สติสัมปชัญญะและสมาธิแล้ว อีกประการหนึ่งยังต่างกันที่ความหยาบละเอียดของสิ่งที่ถูกแยกด้วย โดยเฉพาะกิเลส (หรือเจตสิกกลุ่มอโสภณเจตสิก) ซึ่งมีความละเอียดมากขึ้นไปเรื่อยๆตามระดับภูมิธรรมที่สูงขึ้นนะครับ :b1: :b46: :b47: :b46:

ยกตัวอย่างเช่น กิเลสกลุ่มโลภะ (โลติกเจตสิก) ซึ่งมีความหยาบละเอียดไล่จาก โลภะ ไปสู่มิจฉาทิฏฐิ และมานะ (โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานเจตสิก) :b49: :b50: :b49:

โดยที่โลภะอย่างหยาบในระดับผิดศีล และ มิจฉาสักกายทิฏฐิ จะสามารถแยกและละไปได้เมื่อเข้าสู่โสดาปัตติผลบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาดวงตาเห็นธรรมแล้วว่า ผู้รู้ (จิต หรือวิญญาณขันธ์) และสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลาย (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ไม่ใช่ของๆตน ไม่ใช่ตน ไม่มีอะไรเป็นตน :b55: :b54: :b55:

แต่ยังเหลือเยื่อใย อาลัยในขันธ์ทั้ง ๕ อยู่ ทั้งๆที่รู้แล้วว่า ไม่มีอะไรเป็นตน เช่น ยังอาลัยในเวทนาขันธ์อยู่ เพราะยังติดเพลินในเวทนา ฯลฯ เหมือนคนอกหักเห็นคนรักไปมีคนอื่น รู้ว่าไม่ใช่ของเราแล้ว แต่ก็ยังอาลัยอยู่ จนกว่าจะทิ้งความอาลัยลงไปได้ :b46: :b47: :b42:

ส่วนโลภะอย่างกลาง จะสามารถแยก จนทำให้เบาบางลงไปได้ เมื่อเข้าสู่สกทาคามีผลบุคคล ซึ่งยังเป็นผู้ที่มีความอาลัยในสุขเวทนาอยู่ แต่เบาบางลงมากแล้ว :b46: :b42: :b39:

จนกว่าจะละความอาลัยในสุขเวทนาอย่างหยาบและอย่างกลางลงไปได้ ในระดับอนาคามีผลบุคคล ซึ่งยังมีความติดเพลินอาลัยในสุขเวทนาอย่างละเอียด หรือสุขในฌานอยู่ คือรูปราคะ และอรูปราคะ :b49: :b48: :b49:

ส่วนโลภะอย่างละเอียดในส่วนของรูปราคะและอรูปราคะ กับมานะ จะสามารถแยกและละไปได้ เมื่อเข้าสู่อรหัตตผลบุคคล ซึ่งเป็นผู้ตัดสิ้นแล้วในเยื่อใย และอาลัยในเวทนาขันธ์ รวมทั้งขันธ์อื่นๆทั้งหมด ลงไปได้อย่างสิ้นเชิง :b55: :b46: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการฝึกแยกธาตุแยกขันธ์ ด้วยการฝึกสติในขั้นกลาง คือรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิต ถ้าประกอบด้วยกำลังของสมาธิที่เข้มแข็งแล้ว จะสามารถแยกรูปแยกนาม หรือแยกผู้รู้ กับอารมณ์ภายนอกที่เข้ามากระทบอายตนะทั้ง ๖ ได้ง่ายและละเอียดกว่าการตามรู้ ซึ่งเป็นการฝึกสติในเบื้องต้น :b46: :b47: :b46:

เพราะจิตหรือผู้รู้ ที่คุ้นชินกับการฝึกสติรู้ลงในรู้นั้น ถ้ายังไม่ถึงขั้นอรหัตตผล จะแยกตัวเองออกมาตั้งมั่นเพื่อพร้อมที่จะรับรู้การกระทบจากอารมณ์อยู่แล้วใน "เกือบ" จะทุกขณะ :b48: :b49: :b48:

ซึ่งเมื่อมีอารมณ์มากระทบ โดยเฉพาะอารมณ์หยาบ ที่ทำให้เกิดกิเลสหยาบ ก็จะเห็นอารมณ์นั้นอยู่ห่างๆโดยที่กิเลสหยาบไม่เกิด ซึ่งเป็นความสามารถในการแยกรูปแยกนามได้เกือบทุกครั้งเป็นปรกติ :b48: :b49: :b43:

หรือถ้าจะว่าอย่างเคร่งครัด คืออารมณ์หยาบที่มากระทบ จะไม่สามารถเข้ามารวมกับจิตซึ่งเป็นผู้รู้ เป็นปรกติเหมือนมีช่องว่างห่างๆขวางกลางอยู่ เมื่อฝึกสติรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิต พร้อมอยู่ :b44: :b39: :b42:

โดยในเบื้องต้น การรู้ลงในจิตอยู่เป็นปรกตินี้ เมื่อฝึกถึงระดับหนึ่งแล้ว จะทำให้จิต แยกอยู่คนละส่วนกับกาย ซึ่งเป็นของหยาบได้อย่างเป็นปรกติ :b46: :b47: :b42:

ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติสามารถฝึกมาถึงตรงนี้ได้ ก็จะมีประโยชน์อย่างมากในการลดความทรมานขณะที่ร่างกายเจ็บป่วยหรือใกล้ที่จะตาย คือกายทุกข์ โดนบีบคั้นอยู่ แต่จิตไม่ทุกข์ ไม่โดนบีบคั้นไปกับกายด้วย (เนื่องเพราะจิต ได้พรากออกจากกายแล้ว แต่ไม่ใช่สภาวะของการตาย) :b49: :b48: :b47:

และการแยกจิตออกจากกาย ดูกายทำงานตามเหตุปัจจัยได้อย่างเป็นปรกติเช่นนี้ ยังมีอานิสงค์อย่างมากในการฝึกเพื่อเข้าสู่อนาคามีผลบุคคลด้วย ซึ่งจะลงรายละเอียดอีกครั้งเมื่อถึงช่วงของการฝึกในระดับอนาคามีมรรคบุคคลนะครับ :b42: :b47: :b48:

ส่วนในเบื้องปลาย สติและสมาธิที่ฝึกด้วยการรู้ลงในรู้ รู้ลงในจิต ก็จะค่อยๆพัฒนาจนกระทั่งอารมณ์ละเอียดที่สุด ที่กระตุ้นให้เกิดกิเลสละเอียดที่สุด ๔ ตัวสุดท้าย คือรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุธัจจะ ก็ยังไม่สามารถเข้ามารวมกับจิต :b39: :b44: :b43:

เนื่องเพราะจิต ที่ถูกอบรมอย่างถึงที่สุดแล้วนั้น จะสามารถแยกธาตุแยกขันธ์ ทั้งในส่วนหยาบ และส่วนละเอียด ออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง จนไม่เห็นความเป็นอัตตาตัวตนในขันธ์ต่างๆอีก ด้วยกำลัง และการตัดขาดของโลกุตรปัญญาแล้ว นั่นเอง :b46: :b47: :b46:


(หมายเหตุไว้ตรงนี้สักเล็กน้อยครับ การฝึกรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิตนี้ สามารถอ้างอิงได้จากพุทธพจน์ในส่วนของจิตตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นจิตในจิต อานาปานสติสูตร จตุกกะที่ ๓ ข้อที่ ๙ ซึ่งมีหัวข้อคือ การกำหนดรู้จิต หรือ การรู้เฉพาะในจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งถ้าใครนำไปปฏิบัติ ก็จะมีลำดับการพัฒนาของจิตขึ้นไปตามหัวข้อ ๑๐ ถึง ๑๒ แบบไม่ผิดเพี้ยน คือกำหนดรู้จิต หรือเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, ทำจิตให้ร่าเริง หรือทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, และเปลื้องจิต หรือทำจิตให้ปล่อยอยู่ :b50: :b49: :b50:

ซึ่งจะลงรายละเอียดของสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในอานาปานสติภาวนา เมื่อถึงช่วงที่เกี่ยวข้อง นะครับ)
:b49: :b48: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ปัญญาที่สามารถแยกรูปแยกนาม แยกธาตุแยกขันธ์ได้ (นามรูปปริจเฉทญาณ) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นก้าวแรกในการเข้าสู่วิปัสสนาญาณขั้นต่อๆไป :b46: :b42: :b46:

เพราะถ้าผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ยังจมแช่อยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนของขันธ์ ไม่สามารถแยกผู้รู้ออกจากสิ่งที่ถูกรู้ได้แล้ว ลักษณะสามัญ หรือไตรลักษณ์ของสิ่งที่ถูกรู้ ก็ไม่สามารถแสดงตัวออกมาให้เห็นได้ต่อหน้าต่อตา ด้วยเหตุและผลตามที่อธิบายไปก่อนหน้า :b49: :b47: :b47:

ซึ่งเมื่อลักษณะสามัญของสิ่งที่ถูกรู้ ไม่สามารถแสดงตัวออกมาให้เห็นได้ต่อหน้าต่อตาแล้ว ก็จะไม่เกิดปัญญารู้เห็นถึงความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่ยังเนื่องด้วยการปรุงแต่ง (สังขารธรรม) จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และเข้าถึงความเป็นจริงของสิ่งที่พ้นการปรุงแต่ง (วิสังขารธรรม) ได้
:b46: :b39: :b44:

ดังนั้น ปัญญาในการแยกธาตุแยกขันธ์ หรือนามรูปปริจเฉทญาณ จึงเป็นปัญญาที่ต้องใช้ไปในทุกระดับของการบรรลุธรรม แต่มีความละเอียดปราณีต ความเข้มแข็งของสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญาในการแยกธาตุแยกขันธ์ที่ลุ่มลึกต่างกันไปในแต่ละระดับนะครับ :b40: :b39: :b44:

เพราะกิเลสที่ทำให้เกิดทุกข์ในระดับที่ลึกลงไปเรื่อยๆ จะละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ แยกออกจากจิต (วิญญาณขันธ์) ได้ยากขึ้นเรื่อยๆ :b49: :b50: :b44:

สติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญาที่ใช้ในการแยกกิเลสแยกทุกข์ที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องละเอียดปราณีตตามขึ้นไปเรื่อยๆ
:b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มตั้งแต่การแยกทิฏฐิ (ทิฏฐิเจตสิก) วิจิกิจฉา (วิจิกิจฉาเจตสิก) ในระดับโสดาบัน :b46:

ไปสู่การแยกราคะหยาบ และ โทสะ ในระดับสกทาคามี และอนาคามี :b46:

ไปสู่การแยกราคะละเอียด (รูปราคะ อรูปราคะ), อุทธัจจะ, และ มานะ ให้เบาบางลง :b46:

จนสุดท้ายเหลือแต่ "ผู้รู้" ที่ตั้งมั่นเด่นดวงและดูเหมือนไม่มีกิเลสไม่มีทุกข์เกาะ :b46:

แต่ถ้าปัญญาในการแยกธาตุแยกขันธ์ละเอียดถึงที่สุด ก็จะเห็นว่า ยังมีกิเลสตัวแม่ตัวสุดท้ายที่บางเฉียบคืออวิชชา ที่ยังเห็น "ผู้รู้" เป็น "ผู้รู้" .. ยังไม่เห็น "ผู้รู้" ก็เป็นสิ่งที่ "ถูกรู้" อยู่ด้วย .. :b46: :b39: :b41:

และเมื่อสามารถแยกได้ว่า "ผู้รู้" ก็เป็นสิ่งที่ "ถูกรู้" อยู่ด้วย เมื่อนั้น สามัญลักษณะของ "ผู้รู้" นั้นเองจะแสดงตัวออกมาให้เห็น ..
:b47: :b46: :b47:

หมั่นเพียร "รู้" ในสามัญลักษณะของ "ผู้รู้" ไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่ง ก็จะหมดเยื่อใย หมดความอาลัยในผู้รู้ และวาง "ผู้รู้" ลงได้ :b46: :b42: :b46:

เนื่องเพราะเห็น "ผู้รู้" สักแต่ว่าเป็นแค่ "ธาตุรู้" ที่เป็นธรรมธาตุหนึ่งๆเช่นเดียวกับธรรมธาตุทั้งหลาย :b42: :b39: :b41:

เมื่อนั้น ก็จะแจ้งในอาการที่ "ธรรมทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียวรวด" และ "สามแดนโลกธาตุราบเป็นหน้ากลอง" เหมือนดังอุทานธรรมที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านประสบพบมานั่นเอง
:b1: :b46: :b39:



ดังนั้น keywords คือ ให้แยกกิเลสและทุกข์ ออกจาก "ผู้รู้" .. :b46: :b47: :b46:

จนท้ายสุด แยก "ผู้รู้ ออกจาก "ผู้รู้" .. :b46:

จนเห็นถึงสามัญลักษณะของ "ผู้รู้" .. :b46:

นี่จึงเป็นวิธีที่จะทำลาย "ผู้รู้" ลงได้ ตามที่หลวงปู่ดูลย์ท่านได้กล่าวไว้
:b46:


(การปฏิบัติในขั้นสุดท้ายนี้ ให้ไว้เป็น guideline สำหรับผู้ที่หา "ผู้รู้" เจอแล้ว นะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่พุทธพจน์สำหรับการฝึกสติสัมปชัญญะ โดยการโยนิโสมนสิการลงในการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของรูปกันก่อนนะครับ :b1: :b46: :b39:


[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.


สามัญญผลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0 และที่อื่นๆอีกมาก


ซึ่งอรรถกถาขยายความไว้ว่า :b46: :b39: :b46:

เมื่อจิตคิดว่าเราจะก้าวไปเกิดขึ้น วาโยธาตุซึ่งเกิดแต่จิต ยังวิญญัติให้เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตนั่นเอง ดังนั้นร่างกระดูกที่สมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไปด้วยอำนาจความแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังงานของจิตด้วยประการฉะนี้.

... ในการก้าวไปเป็นต้นนั้น ใครคนหนึ่งก้าวไป หรือการก้าวไปของใครคนหนึ่ง. แต่โดยปรมัตถ์ ธาตุทั้งหลายเท่านั้นเดิน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นยืน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนั่ง ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนอน. ก็ในส่วน (แห่งอิริยาบถ) นั้นๆ จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นดับไป พร้อมกับรูป เป็นไปอยู่เหมือนกระแสน้ำไหลติดต่อกันไปไม่ขาดสายฉะนั้น ดังนี้.


(สำหรับอิริยาบถอื่นๆ ก็ขยายความในแบบคล้ายๆกัน)

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=5#สติสมฺปชญฺญกถาวณฺณนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งจากในส่วนของอรรถกถาเอง ได้บอกวิธีปฏิบัติไว้เป็นนัยว่า เมื่อผู้ปฏิบัติทำความรู้สึกตัวด้วยการแยกจิตเป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นอิริยาบถต่างๆของกาย คือการเห็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือหยุดนิ่งของกาย :b46: :b42: :b46:

เมื่อนั้นก็จะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ และจะเห็นกายเป็นเพียงก้อนธาตุที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดดับไปพร้อมกับจิตนั้นเอง :b48: :b49: :b48:

คราวนี้สำหรับผู้มาใหม่ หรือผู้ที่ฝึกรู้กายมาแบบสมถะ คือการรู้ลงไปจมแช่ รู้สึกอยู่ที่อวัยวะ :b46: :b47: :b46:

เช่น รู้ท้องพองยุบ ก็รู้ลงไป "รู้สึก" อยู่ที่ท้อง หรือรู้การขยับมือตามจังหวะ ก็รู้ลงไป "รู้สึก" อยู่ที่มือ หรือรู้การเดินจงกรมย่างเหยียบ ก็รู้ลงไป "รู้สึก" อยู่ที่เท้า หรือฝ่าเท้าที่กำลังย่างเหยียบนั้น ฯลฯ :b49: :b48: :b49:

โดยอาศัยเซลประสาทของ ตา หู จมูก ลิ้น โดยเฉพาะ กาย (ปสาทรูป ๕) ในการ "รู้" ความ "รู้สึก" ตามความเคยชิน :b44: :b39: :b46:

จะไม่สามารถเห็น "ธาตุทั้งหลายเท่านั้นเดิน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นยืน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนั่ง ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนอน" อยู่ต่อหน้าต่อตา ตามถ้อยคำในอรรถกถาได้เลย :b46: :b47: :b46:

เพราะการแยกผู้รู้ (คือจิต) ออกจากสิ่งที่ถูกรู้ (คือกายที่เคลื่อนไหว) อย่างถูกต้องได้นั้น จะไม่ใช่เป็นการรู้ หรือ "รู้สึก" อยู่ที่อวัยวะนั้นๆ :b46: :b47: :b48:

แต่เป็นการ "รู้สึก" ถึงการเคลื่อนไหวของกายนั้นๆ ลงที่ "ใจ" (หรือในทางอภิธรรม คือ ลงที่ หทัยรูป) :b50: :b49: :b48:

คราวนี้ ผู้ปฏิบัติอาจจะสงสัยว่า แล้วรู้ลงที่ "ใจ" เนี่ยะ มันรู้ หรือ "รู้สึก" ลงที่ไหนกันล่ะ :b46: :b39: :b46:

โดยสภาวธรรมแล้ว "ใจ" จะอยู่ประมาณตั้งแต่กลางๆใบหน้า ลงไปถึงกลางๆหน้าอก :b48: :b47: :b46:


ซึ่งตรงนี้ สำหรับผู้ที่ฝึกใหม่ หรือผู้ที่คุ้นชินกับการ "รู้สึก" ลงที่อวัยวะ ซึ่งเป็นการฝึกสมถะ อาจจะอธิบายให้เข้าใจได้ยากสักหน่อยนะครับ ว่า "ใจ" ซึ่งเป็นผู้รู้นั้นน่ะ อยู่ที่ตรงไหน :b49: :b50: :b49:

เพราะเมื่อให้ลองแยก "ใจ" ออกจากอวัยวะ โดยรู้สึกลงที่ "ใจ" ที่อยู่แถวๆกลางใบหน้า ลงไปถึงกลางหน้าอกแล้ว :b46: :b47: :b46:

ใจของผู้ปฏิบัติก็มักจะ "ไหล" กลับไปรู้สึกลงที่อวัยวะใหม่ ตามความเคยชินที่ปฏิบัติมาในชีวิตประจำวัน หรือตามความเคยชินที่ฝึกมานาน :b46: :b42: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นชินกับการรู้ลงที่อวัยวะ คงต้องหาทางให้รู้จักกับ "ใจ" และรู้ลงที่ "ใจ" ให้เป็นกันเสียก่อน :b47: :b46: :b47:

ซึ่งถ้าจะให้ลองสัมผัสรู้ลงที่ใจแล้ว อาจจะใช้วิธีที่องค์หลวงปู่เทสก์ท่านแนะนำไว้ :b43: :b42: :b43:

ก็คือ ให้ลอง "กลั้นลมหายใจสักพักหนึ่ง ไม่มีอะไรหรอก มีเฉยๆ รู้เฉยๆ ไม่คิดไม่นึก แต่รู้สึกว่ามันไม่คิดไม่นึก ไม่ส่งส่ายไปมาหน้าหลัง ไม่คิดถึงเป็นบาปเป็นบุญอะไรทั้งหมด ผู้รู้สึกว่าเฉยๆนั่นแหละ ตัวนั้นแหละตัวกลางตัวใจ แต่มันได้ชั่วขณะเดียว ในเมื่อเรากลั้นลมหายใจ พอจับตัวมันได้ว่า ตัวใจมันตัวนี้" :b46: :b44: :b39:

หรือลองใช้วิธีการหยุดคิด เพื่อให้รู้ลงในจิต :b42: :b43: :b42:

เพราะจิต เป็นผู้คิด แต่ตอนคิด ปรกติจิตที่ไม่ได้ฝึกมา จะรู้แต่เรื่องที่คิด :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น การจงใจคิด และหยุดคิด .. ในแวบแรกที่จิตหยุดคิด จิตจะกลับมารู้ลงที่จิต หรือรู้ลงในรู้ ที่มีความรู้สึก รู้เฉยๆ นิ่งๆ ว่างๆ นั้น :b43: :b44: :b42:

เช่น ลองนั่งหลับตา ปิดประสาทรับรู้ทุกอย่างทางทวาร ๕ แล้วนับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ให้ชัดๆขึ้นในใจ แล้วหยุดนับ :b50: :b49: :b48:

สภาวะ "รู้" แวบแรกหลังจากหยุดนับ จะเป็นการ "รู้" เฉยๆ :b48: :b47: :b46:

ตรงนี้ให้ลองสังเกตดูนะครับว่า การรู้เฉยๆนั้น รู้สึกอยู่ที่ใด :b49: :b48: :b47:

ซึ่งตรงนั้น ก็คือตำแหน่งของ "ใจ" หรือหทัยรูป ในทางปฏิบัตินัย นั่นเอง
:b46: :b42: :b46:

(แล้วจะมาขยายความคำอธิบายด้านบน ซึ่งเป็นอุบายของการ "คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้" ซึ่งเป็นคำเทศน์ขององค์หลวงปู่ดุลย์ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสติรู้ลงในรู้ ที่สอดคล้องกับพุทธพจน์สุดท้าย จากคำเทศน์ขององค์พระสารีบุตร ที่จะยกมาอธิบายในลำดับต่อไปด้วยนะครับ ซึ่งจะเห็นอาการ "หยุดคิด" หรือการสิ้นไปซึ่งวิตกและวิจารได้ชัด เหลือแต่อาการ "รู้" อย่างเดียวได้ตั้งแต่สมาธิภาวนาในฌาน ๒ (นับตามพระสูตร) ขึ้นไป) :b49: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยหลังจากหาตำแหน่งของใจเจอแล้ว คราวหน้าสำหรับการทำความรู้สึกตัวลงในการเคลื่อนไหวของกาย ไม่ว่าจะท้องที่พองยุบ มือที่ขยับตามจังหวะ ขาหรือเท้าที่ย่างเหยียบ ฯลฯ ก็ให้รู้ หรือทำความรู้สึกลงที่ "ใจ" โดยเห็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะอยู่ห่างๆ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งถ้าเป็นอวัยวะที่ยิ่งอยู่ห่างออกไป เช่น ปลายนิ้วมือ หรือปลายนิ้วเท้า โดยใช้ใจเป็นผู้รู้ ก็จะแยกเห็นกายออกจากผู้รู้ได้ชัด :b44: :b39: :b43:

ฝึกเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆเห็นสภาวะที่อวัยวะนั้น "ไม่ใช่ของๆเรา" เป็นแค่ก้อนธาตุที่ขยับอยู่ห่างๆ ตามอรรถกถานั่นเอง :b55: :b51: :b50:

ซึ่งการตามเห็นว่า กายไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เราตรงนี้ อาจจะฝึกร่วมกับอสุภกรรมฐาน ดูรูปผ่าตัดกายวิภาคศพซึ่งเป็นการเห็นกายในกายภายนอก แล้วน้อมเข้ามาดูกายตัวเอง ว่าถ้าโดนแยกแล้ว ก็จะเป็นชิ้นๆเช่นเดียวกับศพนั่น :b51: :b50: :b51:

หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ให้ดูร่วมกับการพิจารณากายในกายภายใน เช่น การเห็นส่วนของอวัยวะบางอย่าง หลุดแยกออกจากกายด้วยก็ยิ่งดีนะครับ :b47: :b46: :b47:

ยกตัวอย่างคือ ตอนตัดเล็บหรือตัดผม ให้สังเกตตอนที่เล็บหรือผม ยังเป็นส่วนของ "ตัวเรา" กับตอนที่เล็บหรือผม ถูกตัดตกลงไปอยู่บนพื้นหรือลงไปในถังขยะแล้ว มันยังมีความรู้สึกว่า เล็บหรือผมนั่น ยังเป็นของเรา หรือเป็นตัวของเราอยู่หรือไม่ :b49: :b48: :b47:

หรือถ้ายังไม่เกิดความตระหนักรู้ถึงความจริงของธรรมชาติตรงนี้ เนื่องเพราะเล็บหรือผม ยังเป็นอวัยวะภายนอกที่ห่างไกลและสละทิ้งได้ง่ายอยู่ :b46: :b42: :b41:

ก็ให้ลองพิจารณาตอนที่เกิดแผลแล้วมีเลือดออก หรือตอนบริจาคเลือดดูนะครับ ในขณะที่เห็นเลือดหยดลงพื้น หรือถูกซับโดยสำลี หรือกำลังไหลเข้าถุงขณะบริจาคเลือดอยู่นั้น ยังมีความรู้สึกว่า เลือดบนพื้น เลือดบนสำลี หรือเลือดในถุง ยังเป็น "ส่วนของเรา" ยังเป็น "เรา" อยู่หรือไม่ นะครับ :b46: :b39: :b46:

:b46: :b46: :b46: :b8: :b46: :b46: :b46:

ศึกษาการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้รูปแล้ว คราวหน้ามาต่อกันที่การฝึกสติสัมปชัญญะ ด้วยการรู้นาม ผ่านสมาธิภาวนา ตามพุทธพจน์ที่องค์พระสารีบุตรท่านยกมานะครับ :b47: :b46: :b47:

เข้าปีใหม่แล้ว ขอให้ทุกท่าน มีกำลังกายกำลังใจ กำลังสติสัมปชัญญะ กำลังสมาธิ และกำลังของปัญญาที่เต็มพร้อมสมบูรณ์ ในการเพียรปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปในปีใหม่ ๒๕๕๖ นี้ด้วยครับ :b8: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
ขออนุญาตมาต่อในข้อธรรมกันครับ :b8: :b46: :b39: :b46:

ขอสรุปข้อความจากพระสูตรที่แล้วในส่วนที่เนื่องกับภาคปฏิบัติ ก็คือการหมั่นโยนิโสมนสิการในสภาวธรรมต่างๆจนเกิดความจำได้หมายรู้ในอาการของสภาวธรรม และเหตุใกล้ ปัจจัยก่อนหน้า จนเป็นสัญญาที่มั่นคง :b51: :b50: :b49:

และเมื่อเกิดสภาวธรรมนั้นๆ .. โดยเฉพาะเหตุใกล้ ปัจจัยก่อนหน้า ของสภาวธรรมนั้นๆขึ้นมาอีก ก็จะเกิดสติสัมปชัญญะ "ระลึกรู้" และ "รู้ได้ชัด" ในสภาวธรรมได้โดยไว .. :b54: :b49: :b48:

ตั้งแต่สามารถ "ตามรู้ทัน" ไล่กวดกระชั้นเข้ามาเรื่อยๆ จน "รู้เท่าทัน" ในสภาวธรรมนั้นๆ ย้อนทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท เข้าสู่ธาตุรู้ คือการรู้ซื่อๆ รู้สักว่ารู้ ในทุกผัสสะเวทนาที่เกิดขึ้น และหยุดอาการรู้อยู่แค่รู้ :b47: :b48: :b46:

คือรู้ลงในผัสสะเวทนา โดยไม่มีตัณหาคือความยินดี (อภิชฌา) หรือยินร้าย (โทมนัส) เกิดขึ้น :b48: :b49: :b50:

คราวนี้ก็มีคำถามที่น่าสนใจสำหรับการปฏิบัติต่อว่า ที่ว่าโยนิโสฯ โยนิโสฯ นั้น แล้วเราจะโยนิโสฯในอะไร :b46: :b47: :b46:

สิ่งที่จะโยนิโสฯ เพื่อให้เกิดปัญญาในทางธรรมเพื่อรู้เท่าทันโลกแล้วนั้น ก็คือ การโยนิโสฯ ลงในวิปัสสนาภูมิ ๖ อันได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจจ์ ๔, และปฏิจจสมุปบาท ๑๒ :b49: :b50: :b48:

สำหรับผู้มาใหม่แล้ว อย่าพึ่งตกใจไปนะครับ วิปัสสนาภูมิทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา ถ้าจะว่าโดยย่อเพื่อให้ปฏิบัติง่าย ก็คือการโยนิโสฯ พิจารณาโดยแยบคาย ลงในรูป - นาม หรือ กาย - ใจนี้ นั่นเอง :b1: :b46: :b39:

ซึ่งความเพียรในการโยนิโสฯ (๑) "ลงที่กาย" (หรือในรูป) และ (๒) "ลงที่ใจ" (หรือในนาม) ที่ได้ จะเป็นอาหารปัจจัย สำหรับการฝึกสติสัมปชัญญะ :b42: :b46: :b47:


tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 22:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
จากนั้น จึงส่งต่อให้สมาธิ ทำหน้าที่ออกแรง "ถ่าง" แยกรูปแยกนาม แยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ออกจากกันได้นาน จนไตรลักษณ์ปรากฏให้รับรู้ขึ้นได้ต่อหน้าต่อตา :b44: :b39: :b41:


:b6:

:b32: เข้าใจใช้ศัพท์ ... :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 23:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 32, 33, 34, 35, 36, 37, 38 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร