วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:


เพ้อเจ้อน่า เห็นการเกิดดับของขันธ์ห้าหรือยัง
พุทโธ่! พูดไปเรื่อย เห็นการเกิดดับสายปฏิจจ์ :b32:

ลุงหมานก็อีกคนพูดไปแบบนกแก้ว หาเหตุผลไม่ได้
หาคำอธิบายไม่มี ขาดการรับผิดชอบ แบบนี้พระพุทธเจ้าเรียกคำพูดของลุงหมานว่า.....
อนริยโวหาร คือเป็นคำพูดที่ไม่มีประโยชน์ :b13:[/quote]

หมั่นหาความรู้มาใส่ตนเถอะดีกว่าเที่ยวไปว่าคนโน้นว่าคนนี้ แถมเหนื่อยเปล่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เพ้อเจ้อน่า เห็นการเกิดดับของขันธ์ห้าหรือยัง
พุทโธ่! พูดไปเรื่อย เห็นการเกิดดับสายปฏิจจ์ :b32:

ลุงหมานก็อีกคนพูดไปแบบนกแก้ว หาเหตุผลไม่ได้
หาคำอธิบายไม่มี ขาดการรับผิดชอบ แบบนี้พระพุทธเจ้าเรียกคำพูดของลุงหมานว่า.....
อนริยโวหาร คือเป็นคำพูดที่ไม่มีประโยชน์ :b13:
หมั่นหาความรู้มาใส่ตนเถอะดีกว่าเที่ยวไปว่าคนโน้นว่าคนนี้ แถมเหนื่อยเปล่า



ผมไม่ได้ว่าลุงครับ เพียงแต่อยากจะชี้จุดบกพร่องให้เห็นครับ
มันอาจจะเป็นกันเองมากไปหน่อย เลยดูเหมือนผมว่าลุง

ถ้าลุงลองย้อนกลับไปดูทั้งแต่เริ่ม ผมว่าลุงหมานนั้นแหล่ะ
กระทบกระเทียบผมก่อน ผมสู้อุตสาห์ไม่ถือสาครับ
พยายามโยงเข้าหาประโยชน์ในทางธรรม ถามแต่ในสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล
ลุงก็ยังมาอีหรอบเดิม

แล้วที่ลุงบอกให้ผมหาความรู้ใส่ตน แล้วการที่ผมถามในสิ่งที่ลุงเอามาโพส
มันไม่ใช้การหาความรู้ใส่ตนหรือครับ

ลุงหมานไม่แยกแยะผิดถูก กะอีแค่ตอบในสิ่งที่ผมถามไม่ได้
ลุงก็มีอารมณ์ ......ตอบไม่ได้ก็ว่าตอบไม่ได้ ทำไมต้องแสดงกิริยา
เป็นคนพาลด้วยครับ ผมว่าการยอมรับว่าไม่รู้
ยังไม่น่าอายเท่ากับการแสดงอาการแบบนี้อีกนะครับ :b13:

ปล. ลุงหมานครับผมไม่เหนื่อยหรอกครับ ไม่ต้องเป็นห่วง :b9:


โพสต์ เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
nongkong เขียน:
คุนน้องก็เข้าใจแบบนี้นะ. เพราะคุนน้องไล่ทวนกระแส ความเกิดดับของตนก็เข้าใจว่า อวิชชาคือความไม่รู้ในปฏิจฯ คือความไม่รู้ใน อริยะสัจท์ ซึ่งถ้าเราเห็นการเกิดดับของสายปฏิจฯ. เราต้องมาทวนเรื่องทุกในอริยสัจต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติในองค์ มรรคให้เข้าถึงสภาวะนิโรธ ให้รู้แจ้งเห็นจริงถึงจะเอาอวิชชาออกไปได้ ไม่รู้เข้าใจถูกรึเปล่านะ :b1:


การศึกษาธรรมะเราต้องรู้ตาม คือรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไปรู้เองไม่ได้ นึกเอาเองก็ไม่ได้ ว่าน่าจะเป็นย่างนั้น ว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ และต้องศึกษาให้ตรงคำสอน ถ้าผิดหลักคำสอนก็ต้องถือว่าไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า การศึกษาปริยัติจึงมีความสำคัญมาก ถ้าไม่รู้ปริยัติโอกาสผิดมีมาก

เราจะรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไรเจ้าค่ะ ในเมื่อพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง แล้วพระพุทธองค์ก็ปรินิพพานไแล้ว การที่เราจะรู้ตามได้ เราต้องรู้ในอริยสัจสี่ และทุกข์ที่เกิดจากอริยสัจสี่ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากขันธ์ห้า แล้วขันธ์ห้าแยกออกมาคือรูปกับนาม แล้วเมื่อเราปฏิบัติจนละเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเห็นสภาวะนึงที่ปรากฏขึ้นนั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่คุนน้องบอกว่าเห็นการเกิดดับของสายปฏิจฯ นั่นก็คืออวิชชา คุนน้องสามารถสาทยายสภาวะธรรมได้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มีเหตุและปัจจัย และผลที่เหิดจาก รูปและนามของเรา แล้วที่บอกว่าผิดหลักคำสอนเราจะรู้ๆด้อย่างไรว่า สภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นที่กายใจเราผิด แล้วที่คุนน้องบอกไปก็ถูกแล้วนิเจ้าค่ะ จริงๆคุนน้องอยากอธิบายให้ละเอียดกว่านี้แต่คนที่จะเข้าใจต้องมีพื้นฐานทางปฎิบัติคือมีความเข้าใจเรื่อง ขันห้า ปฏิจฯ อริยสัจสี่ ถ้าปฏิบัติจนเข้าถึงปฏิเวธแล้วมันจะรู้เอง


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
การศึกษาธรรมะเราต้องรู้ตาม คือรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไปรู้เองไม่ได้ นึกเอาเองก็ไม่ได้ ว่าน่าจะเป็นย่างนั้น ว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ และต้องศึกษาให้ตรงคำสอน ถ้าผิดหลักคำสอนก็ต้องถือว่าไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า การศึกษาปริยัติจึงมีความสำคัญมาก ถ้าไม่รู้ปริยัติโอกาสผิดมีมาก

พุทโธ่ลุงหมานเอ๊ยลุงหมาน พูดไปเรื่อย พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย บอกว่า....
ต้องศึกษาให้ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าผิดจากนี้ถือว่าไม่ใช้

ที่ผมขอพุทธพจน์อ้างอิงทำไมต้องลวดลายให้ไม่ได้

บอกว่าต้องรู้ตามพระพุทธเจ้า จะรู้เองไม่ได้
แล้วการที่ตัวเองเอารูปมาโพสล่ะ พระพุทธเจ้าเคยสอนให้วาดรูปแบบนั้นหรือ
ไอ้นี่ยังไม่เท่าไร ถือเสียว่าเป็นวิธีการสอน แต่พอเขาขอให้อธิบาย ดันบอกว่า....

แล้วแต่คนจะมองเป็นบุญหรือบาป

ถามหน่อยครับ ลุงจะพูดจะจาน่ะ มีสติสตังค์หรือเปล่า :b32:


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




Y10003918-41.jpg
Y10003918-41.jpg [ 19.96 KiB | เปิดดู 2710 ครั้ง ]
ถ้าเห็นภาพที่นำมาลงแล้วไม่รู้จัก ก็แสดงว่าคุยไปก็คงไม่รู้เรื่อง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




6147-5.gif
6147-5.gif [ 37.16 KiB | เปิดดู 2710 ครั้ง ]
รีบๆเข้าเถอะเดี๋ยวเวลาจะหมด จะไปทางไหนก็ไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




6147-6.gif
6147-6.gif [ 6.86 KiB | เปิดดู 2704 ครั้ง ]
มีหนทางนี้ หนทางเดียวเท่านั้นที่จะเข้าสู่พระนิพพาน นอกนั้นไม่ใช่

น ท ม ปริ อุ นุ โค = มีรูปนามเป็นอารมณ์
โค มัค ผล ผล = มีนิพพานเป็นอารมณ์
มัค = โสดาปัตติมรรคเกิด
ผล ผล = โสดาปัตติผลเกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ถ้าเห็นภาพที่นำมาลงแล้วไม่รู้จัก ก็แสดงว่าคุยไปก็คงไม่รู้เรื่อง

ทำไมผมจะไม่รู้ การรู้มันต้องรู้ผิดรู้ถูก อย่างลุงไม่ใช่
ลุงโพสความเห็นแบบคนไม่มีความรับผิดชอบ
ลุงไม่รู้ในสิ่งที่ลุงโพสว่า มันถูกหรือผิด พูดง่ายๆก็คือ...
ลุงไปก็อปบทความคนอื่นมาโพส โดยไม่เข้าใจความหมาย
การกระทำของลุงมันเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะจะทำให้คนอื่นเกิดความสับสน

ลุงหมานครับ สิ่งที่ลุงหมานควรจะคำนึงที่สุดก็คือ....ความรับผิดชอบครับ
ถ้าลุงไม่สามารถอธิบายความในสิ่งที่ลุงโพสได้ ก็สมควรที่จะละอายใจตนเอง
จงหยุดการกระทำนั้นเสีย แต่ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่สมควรที่จะห้ามไม่ให้คนอื่นแสดงความเห็น
หรือซักถามในสิ่งนั้น

อนึ่งลุงหมานควรจะสำเหนียกไว้ในใจว่า เว็บบอร์ดแห่งนี้เป็นที่สาธาณณะ
สมาชิกทุกคนสามารถแสดงความเห็นในกระทู้คนอื่นได้ มันเป็นการช่วยกันกลั่นกรอง
ความเห็นของผู้อื่นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น .....ลุงไม่มีสิทธิ์มาห้ามคนอื่นไม่ให้แสดง
ความเห็นในกระทู้ของลุง และลุงไม่มีสิทธิ์โกรธเคืองหรือไปกล่าวหาว่า...เขาป่วน
ถ้าลุงกลัวเขา หรือตอบในสิ่งที่เขาถามไม่ได้ ลุงก็ควรไปตั้งกระทู้ถามเอง
ตอบเองในป่าช้าที่ไหนซักแห่งจะเป็นการดีที่สุด :b32:


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
รีบๆเข้าเถอะเดี๋ยวเวลาจะหมด จะไปทางไหนก็ไป

ผมก็อยู่ลานธรรมแห่งนี้ที่เดียว ลานธรรมนี้ก็เหมือนบ้านผม
ลุงถืออภิสิทธิอะไรมาไล่ผมครับ

จะแนะนำให้ครับ ถ้าลุงอยากให้ผมไปเสียให้พ้นหูพ้นตา
ลุงต้องเอาความรู้ทางธรรมมาใช้กับผม ต้องทำให้ผมอาย
ที่ไปปรามาสลุงว่าไม่ได้มีอะไรในธรรมเลย .........
ต้องเอาความรู้ทางธรรมมาปราบพยศผม
ไม่ใช่เอะอะใส่อารมณ์พาลแบบนี้ครับ :b13:


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
nongkong เขียน:
คุนน้องก็เข้าใจแบบนี้นะ. เพราะคุนน้องไล่ทวนกระแส ความเกิดดับของตนก็เข้าใจว่า อวิชชาคือความไม่รู้ในปฏิจฯ คือความไม่รู้ใน อริยะสัจท์ ซึ่งถ้าเราเห็นการเกิดดับของสายปฏิจฯ. เราต้องมาทวนเรื่องทุกในอริยสัจต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติในองค์ มรรคให้เข้าถึงสภาวะนิโรธ ให้รู้แจ้งเห็นจริงถึงจะเอาอวิชชาออกไปได้ ไม่รู้เข้าใจถูกรึเปล่านะ :b1:


การศึกษาธรรมะเราต้องรู้ตาม คือรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไปรู้เองไม่ได้ นึกเอาเองก็ไม่ได้ ว่าน่าจะเป็นย่างนั้น ว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ และต้องศึกษาให้ตรงคำสอน ถ้าผิดหลักคำสอนก็ต้องถือว่าไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า การศึกษาปริยัติจึงมีความสำคัญมาก ถ้าไม่รู้ปริยัติโอกาสผิดมีมาก

เราจะรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไรเจ้าค่ะ ในเมื่อพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง แล้วพระพุทธองค์ก็ปรินิพพานไแล้ว การที่เราจะรู้ตามได้ เราต้องรู้ในอริยสัจสี่ และทุกข์ที่เกิดจากอริยสัจสี่ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากขันธ์ห้า แล้วขันธ์ห้าแยกออกมาคือรูปกับนาม แล้วเมื่อเราปฏิบัติจนละเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเห็นสภาวะนึงที่ปรากฏขึ้นนั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่คุนน้องบอกว่าเห็นการเกิดดับของสายปฏิจฯ นั่นก็คืออวิชชา คุนน้องสามารถสาทยายสภาวะธรรมได้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มีเหตุและปัจจัย และผลที่เหิดจาก รูปและนามของเรา แล้วที่บอกว่าผิดหลักคำสอนเราจะรู้ๆด้อย่างไรว่า สภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นที่กายใจเราผิด แล้วที่คุนน้องบอกไปก็ถูกแล้วนิเจ้าค่ะ จริงๆคุนน้องอยากอธิบายให้ละเอียดกว่านี้แต่คนที่จะเข้าใจต้องมีพื้นฐานทางปฎิบัติคือมีความเข้าใจเรื่อง ขันห้า ปฏิจฯ อริยสัจสี่ ถ้าปฏิบัติจนเข้าถึงปฏิเวธแล้วมันจะรู้เอง


คุณน้องครับ อ่านตำราเข้าใจตำราก็มีประโยชน์มากอยู่ แต่ความเข้าใจอริยสัจ 4 จากตำรา กับความเข้าใจอริยสัจ 4 จากภายในตัวเราไม่เหมือนกัน เหมือนคนจะหัดทำกับข้าว อ่านตำราเข้าใจ สอนคนอื่นได้ พูดมีเหตุผลตรงตามตำราทุกประการ คนที่เก่งมากๆ อาจจะพูดสอนคนอื่นได้วิจิตรพิศดารน่าฟังกว่าสุดยอดแม่ครัวอีกด้วยซ้ำ ลองคิดถึงคนที่จบเอกด้านการทำอาหารจากต่างประเทศ กับแม่ครัวร้านข้าวแกงที่เราชอบกินดูก็ได้ ใครพูดสาธยายเรื่องการทำกับข้าวเก่งกว่า และใครทำกับข้าวถูกปากเรามากกว่า ความเข้าใจจากตำราเป็นอย่างนี้ ซึ่งก็นับว่าดีไม่เบาอยู่ แต่ถามว่าเอาไปใช้งานใช้การได้หรือยัง อาจจะยังได้ไม่เต็มที่นัก เพราะคนๆนี้จะทำกับข้าวออกมาให้เหมือนตำราในทันทียังไม่ได้หรอก เพราะว่าความชำนาญไม่มี ยังไม่เคยฝึกทำดูจริงๆเลย พอต้องเริ่มทำจริงๆ เขาโยนผักโยนปลามาให้อาจจะงง ไปไม่เป็น จะหยิบจะทำอะไรรู้สึกเก้ๆกังๆ ติดขัดไปหมด แบบนี้คือขาดความรู้ในขั้นภาวนา คือขาดความชำนาญในการลงมือทำงาน

ตัววัดมีอยู่ เราปฎิบัติเพื่อไม่ให้ทุกข์เกิดไม่ใช่หรือ ก็เอาทุกข์วัดใจตัวเองดูสิ ถ้าเรามาถูกต้องจนถึงขั้นปฎิเวธแล้ว ทุกข์เนื่องจากเรื่องที่เราพิจารณาจนขาดทะลุไปแล้วก็ต้องหายไป ไม่ใช่หายชั่วคราวด้วย ต้องหายแบบเกิดขึ้นไม่ได้อีกเลย เจอเรื่องเดิมใจไม่มีอาการสะดุ้งสะเทือน ไม่ทุกข์เลยแม้สักเล็กน้อย

แล้วจริงๆแล้วทุกข์ของเราต่อเรื่องพวกนั้นหายไปแน่แล้วหรือยัง

อริยสัจ 4 เริ่มต้นจากความทุกข์ ขณะนี้คุณทุกข์กับเรื่องอะไร คุณก็ตามความทุกข์อันนั้นไป นี่แหละทางที่ครูบาอาจารย์ท่านชี้ พิจารณาหาเหตุผลของความทุกข์ ทำไมทุกข์ อะไรทำให้ทุกข์ ถ้าทำแบบนี้ได้ถูกต้อง คุณก็จะเข้าใจกลไลการเกิดของความทุกข์ คิดในมุมกลับคุณก็จะเข้าใจกลไกการดับของทุกข์

ในเกมส์โดมิโน ถ้าผลักถูกตัวแล้ว โดมิโนล้มตัวเดียว ตัวอื่นๆก็จะล้มตามเป็นทอดๆจนล้มหมดทุกตัว นี่คือการทำเหตุให้ถูกต้อง หรือปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ในอริยสัจ 4 เราเริ่มที่อริยสัจแรก ต้องสนใจพิจารณาทุกข์ให้มาก เพราะนี้ละเป็นเหตุเริ่มแรก ถ้าทำถูกทางเดี๋ยวอีก 3 อริยสัจที่เหลือก็จะเกิดตามมาเอง ถึงจะไม่เคยรู้จักอีก 3 อริยสัจที่เหลือเลยก็ตาม

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
nongkong เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
nongkong เขียน:
คุนน้องก็เข้าใจแบบนี้นะ. เพราะคุนน้องไล่ทวนกระแส ความเกิดดับของตนก็เข้าใจว่า อวิชชาคือความไม่รู้ในปฏิจฯ คือความไม่รู้ใน อริยะสัจท์ ซึ่งถ้าเราเห็นการเกิดดับของสายปฏิจฯ. เราต้องมาทวนเรื่องทุกในอริยสัจต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติในองค์ มรรคให้เข้าถึงสภาวะนิโรธ ให้รู้แจ้งเห็นจริงถึงจะเอาอวิชชาออกไปได้ ไม่รู้เข้าใจถูกรึเปล่านะ :b1:


การศึกษาธรรมะเราต้องรู้ตาม คือรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไปรู้เองไม่ได้ นึกเอาเองก็ไม่ได้ ว่าน่าจะเป็นย่างนั้น ว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ และต้องศึกษาให้ตรงคำสอน ถ้าผิดหลักคำสอนก็ต้องถือว่าไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า การศึกษาปริยัติจึงมีความสำคัญมาก ถ้าไม่รู้ปริยัติโอกาสผิดมีมาก

เราจะรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไรเจ้าค่ะ ในเมื่อพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง แล้วพระพุทธองค์ก็ปรินิพพานไแล้ว การที่เราจะรู้ตามได้ เราต้องรู้ในอริยสัจสี่ และทุกข์ที่เกิดจากอริยสัจสี่ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากขันธ์ห้า แล้วขันธ์ห้าแยกออกมาคือรูปกับนาม แล้วเมื่อเราปฏิบัติจนละเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเห็นสภาวะนึงที่ปรากฏขึ้นนั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่คุนน้องบอกว่าเห็นการเกิดดับของสายปฏิจฯ นั่นก็คืออวิชชา คุนน้องสามารถสาทยายสภาวะธรรมได้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มีเหตุและปัจจัย และผลที่เหิดจาก รูปและนามของเรา แล้วที่บอกว่าผิดหลักคำสอนเราจะรู้ๆด้อย่างไรว่า สภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นที่กายใจเราผิด แล้วที่คุนน้องบอกไปก็ถูกแล้วนิเจ้าค่ะ จริงๆคุนน้องอยากอธิบายให้ละเอียดกว่านี้แต่คนที่จะเข้าใจต้องมีพื้นฐานทางปฎิบัติคือมีความเข้าใจเรื่อง ขันห้า ปฏิจฯ อริยสัจสี่ ถ้าปฏิบัติจนเข้าถึงปฏิเวธแล้วมันจะรู้เอง


อ้างคำพูด:
คุณน้องครับ อ่านตำราเข้าใจตำราก็มีประโยชน์มากอยู่ แต่ความเข้าใจอริยสัจ 4 จากตำรา กับความเข้าใจอริยสัจ 4 จากภายในตัวเราไม่เหมือนกัน

คุนน้องเห็นด้วยกับการแดสงความคิดเห็นนี้ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า เราจะเดินทางไปยังจุดหมายที่ๆเราไม่เคยไป เราต้องอาศัยแผนที่ เพื่อกันข้อผิดพลาดระหว่างเดินทาง มิให้เราเดินหลงทาง และทุกข์ในอริยสัจก็คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับกายใจเราและเราต้องกำหนดรู้มัน ไม่ใช่ทุกข์ที่อ่านในตำรา เพียงแต่เราอาศับตำราเพื่อเป็นสิ่งที่เรียนรู้ และผลที่ได้จากการเรียนรู้ของเราก็จะสามารถทำให้เราเข้าใจตำราแต่ไม่ใช่ท่องจำคำศัพท์

อ้างคำพูด:
เหมือนคนจะหัดทำกับข้าว อ่านตำราเข้าใจ สอนคนอื่นได้ พูดมีเหตุผลตรงตามตำราทุกประการ คนที่เก่งมากๆ อาจจะพูดสอนคนอื่นได้วิจิตรพิศดารน่าฟังกว่าสุดยอดแม่ครัวอีกด้วยซ้ำ ลองคิดถึงคนที่จบเอกด้านการทำอาหารจากต่างประเทศ กับแม่ครัวร้านข้าวแกงที่เราชอบกินดูก็ได้ ใครพูดสาธยายเรื่องการทำกับข้าวเก่งกว่า และใครทำกับข้าวถูกปากเรามากกว่า ความเข้าใจจากตำราเป็นอย่างนี้ ซึ่งก็นับว่าดีไม่เบาอยู่ แต่ถามว่าเอาไปใช้งานใช้การได้หรือยัง อาจจะยังได้ไม่เต็มที่นัก

ถ้าจะเอาผลการปฏิบัติมาเทียบเคียงกับการทำอาหาร เราคงจะเอาคนที่จบเอกได้ใบประกาศนียบัตรมาวัดกับแม่ค้าขายข้าวราดแกงไม่ได้หรอกเจ้าค่ะ ซึ่งมันก็ไม่ตรงกับหลักความเป็นจริง เพราะสองคนอยู่กันคนละสถานะ แต่การจะวัดผลต้องวัดกันที่ฝีมือ การยอมรับจากบุคคลที่ได้ชิม ลิ้มลองในรสอาหารนั้นและให้การยอมรับ และพวกที่จบด้านการทำอาหารที่เป็นเชฟชื่อดัง เค้าก็ต้องได้การยอมรับจากการที่ ลองชิม พิจารณาในรสอาหารจนเป้นที่เลื่องลือ ขึ้นชื่อ และก็มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ถ้ามีแค่ใบประกาศแล้วบอกว่าฉันจบเอกด้านทำอาหาร แต่ไม่เคยลองทำอาหารให้เราลองกิน เราก็ตัดสินคนผู้นั้นไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ระดับใด ต่อให้เป็น เชฟ เป็นกุ๊ก หรือเป็นแม่ค้าร้านข้าวแกง ก็ต้องวัดผลกันที่รสชาติของอาหารอยู่ดี จริงมั้ยเจ้าค่ะ :b1:



อ้างคำพูด:
เพราะคนๆนี้จะทำกับข้าวออกมาให้เหมือนตำราในทันทียังไม่ได้หรอก เพราะว่าความชำนาญไม่มี ยังไม่เคยฝึกทำดูจริงๆเลย พอต้องเริ่มทำจริงๆ เขาโยนผักโยนปลามาให้อาจจะงง ไปไม่เป็น จะหยิบจะทำอะไรรู้สึกเก้ๆกังๆ ติดขัดไปหมด แบบนี้คือขาดความรู้ในขั้นภาวนา คือขาดความชำนาญในการลงมือทำงาน
เพราะว่าบุคคลลักษณะนี้ ก็เหมือนกับคนที่อ่านหนังสือ ท่องจำตำรา แต่พอมีคนลองเชิงว่า อ่านไปทำไม อ่านไปก็โง่อยู่ดี บุคคลนั่นก็จะลุกพรวดพลาดขึ้นแล้วเอาหนังสือฟาดกะบาลไอ้คนที่มันมาด่างัยละเจ้าค่ะ :b32:

อ้างคำพูด:
ตัววัดมีอยู่ เราปฎิบัติเพื่อไม่ให้ทุกข์เกิดไม่ใช่หรือ ก็เอาทุกข์วัดใจตัวเองดูสิ ถ้าเรามาถูกต้องจนถึงขั้นปฎิเวธแล้ว ทุกข์เนื่องจากเรื่องที่เราพิจารณาจนขาดทะลุไปแล้วก็ต้องหายไป ไม่ใช่หายชั่วคราวด้วย ต้องหายแบบเกิดขึ้นไม่ได้อีกเลย เจอเรื่องเดิมใจไม่มีอาการสะดุ้งสะเทือน ไม่ทุกข์เลยแม้สักเล็กน้อย

แล้วจริงๆแล้วทุกข์ของเราต่อเรื่องพวกนั้นหายไปแน่แล้วหรือยัง

ความเห็นนี้ คุนน้องไม่กล้าบอกตัวเองได้ชัดว่า ทุกข์มันหายไปจริง หรือเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่ดับไป และมีอยู่และดับไปเช่นนี้ ซึ่งมันก็อยู่ภายใต้ของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเอง เพราะขันธ์ห้าคือชีวิตและเรายังต้องอาศัยขันธ์ห้านี้ไปจนกว่าจะหมดเหตุปัจจัย ไม่ยึดมั่นในขันธ์ห้าว่าเป็นเรา ทุกข์หลุดกันง่ายๆก็คงปรินิพพานตามพระพุทธองค์ไปกันหมดแล้วเจ้าค่ะ แต่สิ่งที่เราต้องยอมรับและไม่ติดในทุกข์ก็คือ สังขารทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง เพราะ เราต้อง แก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เราต้องทรงอยู่ในธาตุขันธ์โดยการไม่ติดในทุกข์ ไม่ว่าจะทุกข์เวทนาทางกายหรือ ทางใจ

อ้างคำพูด:
อริยสัจ 4 เริ่มต้นจากความทุกข์ ขณะนี้คุณทุกข์กับเรื่องอะไร คุณก็ตามความทุกข์อันนั้นไป นี่แหละทางที่ครูบาอาจารย์ท่านชี้ พิจารณาหาเหตุผลของความทุกข์ ทำไมทุกข์ อะไรทำให้ทุกข์ ถ้าทำแบบนี้ได้ถูกต้อง คุณก็จะเข้าใจกลไลการเกิดของความทุกข์ คิดในมุมกลับคุณก็จะเข้าใจกลไกการดับของทุกข์
เมื่อจิตเห็นทุกข์กำกำหนดรู้ แล้วละมันเสีย ซึ่งเราละมันได้หรือไม่มันก็คือผลของเรา เพราะทุกข์ที่คุนน้องเห็นอยู่ก็คือ ปฏิจสมุปปบาท มีนามรูปเป็นปัจจัย และก่อให้เกิดผัสสะ เวทนา ตันหา อุปทานเกิด เราก็กำหนดรู้แล้ว วางมันเสีย ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็คือกรรมเก่า นั่นก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ของคุนน้องนี่แหละที่รนหาที่เอง

ในเกมส์โดมิโน ถ้าผลักถูกตัวแล้ว โดมิโนล้มตัวเดียว ตัวอื่นๆก็จะล้มตามเป็นทอดๆจนล้มหมดทุกตัว นี่คือการทำเหตุให้ถูกต้อง หรือปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ในอริยสัจ 4 เราเริ่มที่อริยสัจแรก ต้องสนใจพิจารณาทุกข์ให้มาก เพราะนี้ละเป็นเหตุเริ่มแรก ถ้าทำถูกทางเดี๋ยวอีก 3 อริยสัจที่เหลือก็จะเกิดตามมาเอง ถึงจะไม่เคยรู้จักอีก 3 อริยสัจที่เหลือเลยก็ตาม

นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ได้สนทนาธรรมกับท่าน คนธรรมดา :b8: คุนน้องรู้สึกว่าการสนทนาธรรมของคุนเป็นไปด้วยประโยชน์ ต่อผู้อื่น :b27:


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ ปัญหาต่างๆของมนุษย์

กล่าวให้ลึกลงไปอีก หมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลาย ที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ขัดข้อง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้างความทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และที่อาจเป็นปัญหาขึ้นมา เมื่อใดเมื่อหนึ่ง ในรูปใดรูปหนึ่ง แก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปาทาน


๒. ทุกขสมุทัย เรียกสั้นๆว่า สมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ความอยาก ที่ยึดมั่นเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเรา ซึ่งจะเสพ ที่จะได้ จะเป็น จะไม่เป็น อย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลียดชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัด ในรูปใดรูปหนึ่ง อยู่ตลอดเลา ไม่อาจปลดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบานได้ อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง ไม่รู้จักความสุข ชนิดที่เรียกว่า ไร้ใฝ่ฝ้า และไม่อึดเฟ้อ


๓. ทุกขนิโรธ เรียกสั้นๆว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชาสำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจ หรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย ความเบื่อหน่ายหรือความคับข้องติดขัดอย่างใดๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้นๆ ว่านิพพาน


๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้นๆว่า มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือทางประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้อง หรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง คือ กามสุชัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นในกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากแก่ตน คือ บีบคั้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


พี่กุ้งของคุนน้องน่ารักจริงๆ :b32: แบบนี้ขอไปนิพพานพร้อมพี่กุ้งเลยดีกว่า คิกๆ :b4:


โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเฉพาะข้อที่ 4 มรรค พระพุทธเจ้ากระจายออกเป็นข้อปฏิบัติเพื้อให้พอเหมาะแก่สติปัญญาของบุคคล ตามหัวข้อนี้

มรรค ในฐานะมัชฌิมาปฏิปทา

มรรค ในฐานะข้อปฏิบัติ หรือทางชีวิต ทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์

มรรค ในฐานะหลักปฏิบัติที่เนื่องด้วยสังคม

มรรค ในฐานะทางให้ถึงความสิ้นกรรม

มรรค ในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่สำหรับยึดถือหรือแบกไก้ไว้

มรรค ในฐานะพรหมจรรย์ หรือพุทธจริยธรรม

มรรค ในฐานะมรรคาสู่จุดหมายขั้นต่างๆของชีวิต

มรรค ในฐานะไตรสิกขา หรือระบบการศึกษาสำหรับสร้างอารยชน



แต่แต่คุ้นหูชาวพุทธบ้านเรา คือ มรรคในฐานะใตรสิกขา ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ธ.ค. 2012, 21:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
พี่กุ้งของคุนน้องน่ารักจริงๆ :b32: แบบนี้ขอไปนิพพานพร้อมพี่กุ้งเลยดีกว่า คิกๆ :b4:


ถ้ามันง่ายเหมือนอย่างใจต้องการคงดีน๊อ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร