วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 01:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 13:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านมู s007 s007 s007

ดูเหมือนเอกอนจะทำกระทู้ท่านมูกลายพันธ์ไปเสียแร๊ววววว.... :b9: :b9: :b9:

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
สัญญาขันธ์

[๑๔] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญาอนาคต
สัญญาปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ
สัญญาละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล
สัญญาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์

[๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน
สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า
กับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา
สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา
นี้เรียกว่าสัญญาอดีต
สัญญาอนาคต เป็นไฉน
สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น
ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุ-
*สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต
สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน
สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว
ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ
มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน

[๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน
สัญญาใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน
เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา-
*สัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน
สัญญาภายนอก เป็นไฉน
สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่
จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก


[๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน
สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา
หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา
ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา
เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา
หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด
หรือพึงทราบสัญญาหยาบสัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา
นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป

[๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญา
ประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของ
ผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม
สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต
หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
เป็นชั้นๆ ไป

[๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล
สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ
อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา
สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกข-
*เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสัญญาไกล
สัญญาใกล้ เป็นไฉน
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
ใกล้กับกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้
เรียกว่าสัญญาใกล้
หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
เป็นชั้นๆ ไป


สัญญา กรรม ตัณหาทิฐิ

:b9:

บังเอิญจัง ที่มีพระสูตร ที่ 3 คำนี้มาปรากฎอยู่ด้วยกัน

อนุโมทนาแล้ว smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 17:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
อนุโมทนาแล้ว smiley


:b12:

รู้สึกอยู่ว่าเหมือนจะโดนอนุโมทนา....นะ

ถ้าใช่...ก็...ขี้เล่นเหลือร้ายจริง ๆ นะ คุณน้องนี่

:b12: :b12:

:b13: :b13: :b13:

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ท่านมู s007 s007 s007

ดูเหมือนเอกอนจะทำกระทู้ท่านมูกลายพันธ์ไปเสียแร๊ววววว.... :b9: :b9: :b9:

:b12: :b12: :b12:

:b9: :b9: :b1: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
nongkong เขียน:
อนุโมทนาแล้ว smiley


:b12:

รู้สึกอยู่ว่าเหมือนจะโดนอนุโมทนา....นะ

ถ้าใช่...ก็...ขี้เล่นเหลือร้ายจริง ๆ นะ คุณน้องนี่

:b12: :b12:

:b13: :b13: :b13:

smiley

:b9: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2012, 15:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


จริง ๆ แล้ว เราหยุดธรรมชาติของจิต ได้หรือไม่

แล้ว จริง ๆ สิ่งที่เราหยุดได้คืออะไร ยังไง

:b6: :b6: :b6:

แบบว่าเอกอนยังไม่เห็นแง่ที่ว่าจะทำได้เรยน่ะ

มีตำราส่วนไหน พระสูตรไหน ที่กล่าวถึงแง่ การดับสนิทของ จิต
คือ จิต ที่ดับแล้ว ไม่ปรากฎเกิดอีก มีมั๊ย

:b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2012, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool บางที... การแปลภาษา ก็ทำให้คนอ่านสับสนได้เหมือนกัน

ในระดับจิต-เจตสิก. จิตไม่เกิด-ดับ, สิ่งที่เกิด-ดับ คือ เจตสิก และเจตสิกที่เกิด-ดับด้วยความถี่ที่เกินกว่าจะนับ (อาจจะในระดับกิกะเฮิร์ตซ) ก็เป็นเจตสิกในร่างกายแบบมนุษย์เท่านั้น

ถ้าจะใช้คำแบบชาวบ้าน, การเกิด-ดับของเจตสิกอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดเวลา เป็นกระบวนการที่จะดึงความสนใจของจิตไว้ ที่ร่างกายนี้.
สมองจึงต้องทำงานตลอดเวลา แม้แต่ในเวลาที่หลับ หรือสลบหมดสติ. ในเวลาแบบนั้น เจตสิกที่เกิด-ดับ เป็นเจตสิกประเภทที่ทำให้จิต เข้าสู่ภวังค์, ไม่แน่ใจว่าเขาตั้งชื่อว่าอะไร

เพิ่มเติมนิดหนึ่ง... ร่างกายแบบสัตว์ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 17:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
cool บางที... การแปลภาษา ก็ทำให้คนอ่านสับสนได้เหมือนกัน

ในระดับจิต-เจตสิก. จิตไม่เกิด-ดับ, สิ่งที่เกิด-ดับ คือ เจตสิก และเจตสิกที่เกิด-ดับด้วยความถี่ที่เกินกว่าจะนับ (อาจจะในระดับกิกะเฮิร์ตซ) ก็เป็นเจตสิกในร่างกายแบบมนุษย์เท่านั้น

ถ้าจะใช้คำแบบชาวบ้าน, การเกิด-ดับของเจตสิกอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดเวลา เป็นกระบวนการที่จะดึงความสนใจของจิตไว้ ที่ร่างกายนี้.
สมองจึงต้องทำงานตลอดเวลา แม้แต่ในเวลาที่หลับ หรือสลบหมดสติ. ในเวลาแบบนั้น เจตสิกที่เกิด-ดับ เป็นเจตสิกประเภทที่ทำให้จิต เข้าสู่ภวังค์, ไม่แน่ใจว่าเขาตั้งชื่อว่าอะไร

เพิ่มเติมนิดหนึ่ง... ร่างกายแบบสัตว์ด้วย

:b1:

อิอิ อันนี้ถามจากที่เฝ้าสังเกตอยู่นะ ท่านมู

มันมี 3 แง่ ที่เอกอนเฝ้าสังเกตอยู่

1. จิต ไม่เกิด-ดับ , ปรากฎสัตตานัง , เจตสิก ยังคงเกิด-ดับ ประกอบกับจิต
2. จิต ไม่เกิด-ดับ , ไม่ปรากฎสัตตานัง , เจตสิก ยังคงเกิด-ดับ (ประกอบกับจิต)
3. จิต ไม่เกิด-ดับ , ไม่ปรากฎสัตตานัง , เจตสิก ไม่เกิด-ดับ (ประกอบกับจิต)

:b12:

แง่ที่ 2 แม้ จะไม่ปรากฎสัตตานัง แต่จิตยังคงทำหน้าที่เป็น จิต

แง่ที่ 3 ยังไม่เห็นแวว
เพราะ ถ้าเป็นแง่ 3 การที่จิตเหมือนจะหมดสภาพความเป็น จิต

:b12: ... หง่ะ ท่านมู คือ มันมีแง่ที่ 3 มั๊ย ท่านมู

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 20:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะ มีจิตเป็น area ที่ให้ปรากฎ เจตสิกประกอบ
เพราะมีจิตที่เจตสิกประกอบ จึงปรากฎสิ่งที่ทำให้ปรากฎ อวิชชา/อุปทาน

เมื่อจิต ไม่ใช่ เรา
เรา ไม่ใช่ จิต
ด้วยปัจจัยที่ว่าพิจารณาจริง ๆ แล้ว(ไม่ได้ท่องจำ) จิตเขาทำตามหน้าที่ของเขา

เมื่อเราไปอยู่ในจุดที่ ปราศจากอุปทาน การประกอบจิต/เจตสิก ยังคงปรากฎอยู่-ปรากฏได้อยู่ หรือ ไม่
เมื่อเราไปอยู่ในจุดที่ ปราศจากอวิชชา การประกอบจิต/เจตสิก ยังคงปรากฎอยู่-ปรากฎได้อยู่ หรือ ไม่

ถ้าการประกอบแต่งจิต/เจตสิก ยังคงปรากฎอยู่-ปรากฎได้อยู่ :b6: :b6:
อย่างไม่สิ้นสุด...

แง่
การประกอบจิต/เจตสิก ยังคงปรากฎอยู่-ปรากฎได้อยู่ ของสภาวะ สัตตานัง
กับ
การประกอบจิต/เจตสิก ยังคงปรากฎอยู่-ปรากฎได้อยู่ แต่ปรากศจากอวิชชา ของสภาวะ วิมุตติ

การประกอบมันมีที่สิ้นสุด หรือ ไม่มีที่สิ้นสุด กันแน่

เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพาน พระองค์หยุดการประกอบได้ทั้งหมดทั้งสิ้นหรือไม่
จิตนั้น คือ จิตที่เป็นจิต
หรือ จิตที่หมดสภาวะความเป็นจิต

งงมั๊ย...เอกอนพยายามจะเรียบเรียงคำถามให้งงน้อยที่สุดแล้วนะ :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 07 ธ.ค. 2012, 22:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 21:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ มันมีแง่

เพราะ จิตประกอบเจตสิก มันจะต้องมีปรากฎ จึงจะมีสิ่งให้ อวิชชา/อุปทาน ปรากฎเป็น สัตตานัง
เมื่อ สัตตานัง กลับมามีวิชชา แทงสู่ วิมุตติ
วิมุตติ กับ สภาวะก่อนที่จะปรากฎ สัตตานัง คือสภาวะเดียวกันหรือไม่

จิตเดิมแท้ เป็นประภัสสร หมองเพราะกิเลศจรมา
วิมุตติ กับ จิตเดิมแท้ ต่างกันตรงไหน

เมื่อ จิต เข้าสู่สภาวะ นิพพาน
นั่นคือ สัตตานัง ตัวเก่าได้ถูกชำระไปจากระบบสังสาร
จิตนั้น ก็กลับสู่สภาวะที่จะมีเจตสิกเข้ามา ใช่ หรือ ไม่
และ สัตตานัง ก็ อาศัย จิต/เจตสิก เกิด ใช่ หรือ ไม่

สัตตานัง ตัวก่อน กับ ตัวนี้ และกับ ตัวใหม่ เป็นตัวเดียวกัน ใช่ หรือ ไม่

:b12:

อาจเป็นคำถามที่ออกจะเพี้ยน ๆ

แต่...
พระพุทธองค์ไม่สอนอะไรแบบลอย ๆ
มันต้องมีแง่ แต่แง่ยังไง

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทา
ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
........
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม
ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน
ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้อง
อยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัย
คือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทา
ปรินิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๒


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 07 ธ.ค. 2012, 22:20, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรเต็ม

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทา
ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ
๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวาง
เฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้า
กรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลัง
เป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็น
อดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับ
อย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดย
อาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละ
ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้นย่อม
ปรินิพพานในระหว่าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์
ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์
อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอัน
ชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...
อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อ
นายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้น
ก็ดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือน
เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้น
แล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้ว
ตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กอง
หญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง
ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากอง
หญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ
๗ ประการนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม
ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน
ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้อง
อยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัย
คือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทา
ปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านไม่รู้เรื่องคับ s004 s004 s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
จริง ๆ แล้ว เราหยุดธรรมชาติของจิต ได้หรือไม่

แล้ว จริง ๆ สิ่งที่เราหยุดได้คืออะไร ยังไง

:b6: :b6: :b6:

แบบว่าเอกอนยังไม่เห็นแง่ที่ว่าจะทำได้เรยน่ะ

มีตำราส่วนไหน พระสูตรไหน ที่กล่าวถึงแง่ การดับสนิทของ จิต
คือ จิต ที่ดับแล้ว ไม่ปรากฎเกิดอีก มีมั๊ย

:b10:

จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่ง
จิตเกิดดับ หมายถึง เกิดการปรุงแต่งของจิตในเรื่องหนึ่งเรื่องใด แล้วดับไป


:b1: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 14:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
อ่านไม่รู้เรื่องคับ s004 s004 s004


cry cry cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 15:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
จริง ๆ แล้ว เราหยุดธรรมชาติของจิต ได้หรือไม่

แล้ว จริง ๆ สิ่งที่เราหยุดได้คืออะไร ยังไง

:b6: :b6: :b6:

แบบว่าเอกอนยังไม่เห็นแง่ที่ว่าจะทำได้เรยน่ะ

มีตำราส่วนไหน พระสูตรไหน ที่กล่าวถึงแง่ การดับสนิทของ จิต
คือ จิต ที่ดับแล้ว ไม่ปรากฎเกิดอีก มีมั๊ย

:b10:

จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่ง
จิตเกิดดับ หมายถึง เกิดการปรุงแต่งของจิตในเรื่องหนึ่งเรื่องใด แล้วดับไป


:b1: :b13:


ก็ใช่หง่ะ ตั๊บแกร่รรรรรร... s007
แต่

Quote Tipitaka:
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ


cry cry cry

พระสูตร ตอนนี้
เอกอนเห็นว่า ตรงนี้พระองค์ชี้แยกให้เห็นว่า จิต กับ สิ่งที่เข้ามาประกอบจิต เป็นคนละสิ่งแล้วนะ
และ สิ่งที่เข้ามาประกอบจิต ก็จะเข้า ๆ ออก ๆ อยู่นั่นล่ะ
แม้ถึงขนาด "เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ"
ตรงนี้เข้าข่าย วิมุตติ ได้ หรือ ไม่
และ สิ่งที่เข้าประกอบจิต ก็จะยังคงเข้า ๆ ออก ๆ อยู่นั่นล่ะ ใช่ หรือ ไม่
เพียงแต่ว่า เราไปตั้งอยู่ที่ สติ ไม่ได้ไปตั้งอยู่สิ่งอื่นที่เข้า ๆ ออก ๆ
และ สติ ก็เกิดในจิต ดันนั้น สติ คือ อะไรในจิต
สติ ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ อีกแหละ

ใช่ อ๊ะป่าว :b6:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร