วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ย. 2012, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างวิหารลานเจดีย์ สร้างสะพาน ฯลฯ เลี้ยงอาหารเด็กอนาถา-คนชรา ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปิดทองฝังลูกนิมิต ฯลฯ ยังใช้ได้เสมอ :b12: และเป็นทางเลือกต้นๆ

กรัชกายรบกวนหน่อยเด๊ะ ไปก็อปความเห็นเรื่องวิญญาณ สัญญาในเว็บของกรัชกาย
มาโพสที่เว็บธรรมจักร แล้วเราจะสาธยายให้ฟัง เราเห็นกรัชกายกำลังพุ่งลงเหวอยู่แล้ว :b32:

กล้าป่าว.... :b9:


ที่เตรียมไว้ก็กะเอามาอยู่แล้ว แต่รอให้ได้ที่ได้เวลา (กาลัญญุตา) ก่อน ไม่รีบร้อน เพราะว่ามะม่วงจะต้องบ่มเมื่อแกได้ที่แล้ว อย่างนี้บ่มสุกแล้วหวานอร่อย มิใช่ไปเก็บมะม่วงอ่อนมาบ่มแก๊ส ถึงแม้มันจะสุกภายนอกดูสีสวย แต่เนื้อในเปรี้ยว ...

นำมานิดหน่อยเท่าที่กรัชกายพอใจจะนำมา เพราะเห็นว่าไม่ยากจนเกินไป พอมองเห็น ดังนี้ :b1: :b12:


เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่า ผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า ตนทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา

ต่อมา เมื่อพระเวสสันดร มองเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสอง ก็รู้ทันทีว่า ลูกทั้งสองเดินถอยหลังลงไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดลงหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ ก็เรียกว่าปัญญา

ในสองกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าปัญญามีความรอบคอบ และลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย



การที่เจ้าชายสิทธัตถะ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุเช่นนั้นเสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา

เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้ไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่กระทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า ปัญญา

ปัญญา เป็นคำกลางสำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวมานี้ และปัญญานั้นมีหลายชั้นหลายระดับ เช่น ที่แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะ หรือ ประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ วิชชา ญาณ ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น

ที่เหลือดูต่อที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... n#msg16645


นำมาจากพุทธธรรมฉบับปรับขยายหน้า 20 แต่ได้นำชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก (เพราะเห็นว่ารุงรัง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ย. 2012, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ที่เตรียมไว้ก็กะเอามาอยู่แล้ว แต่รอให้ได้ที่ได้เวลา (กาลัญญุตา) ก่อน ไม่รีบร้อน เพราะว่ามะม่วงจะต้องบ่มเมื่อแกได้ที่แล้ว อย่างนี้บ่มสุกแล้วหวานอร่อย มิใช่ไปเก็บมะม่วงอ่อนมาบ่มแก๊ส ถึงแม้มันจะสุกภายนอกดูสีสวย แต่เนื้อในเปรี้ยว ...

นำมานิดหน่อยเท่าที่กรัชกายพอใจจะนำมา เพราะเห็นว่าไม่ยากจนเกินไป พอมองเห็น ดังนี้ :b1: :b12:

มันใช่กระทู้นี้ซะที่ไหน เอาลิ้งมาให้ดูแล้ว
http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... g16647#new

แต่ไม่เป็นไรจะอธิบายที่กรัชกายโพสให้ฟัง
กรัชกาย เขียน:
เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่า ผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า ตนทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา

ต่อมา เมื่อพระเวสสันดร มองเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสอง ก็รู้ทันทีว่า ลูกทั้งสองเดินถอยหลังลงไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดลงหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ ก็เรียกว่าปัญญา

ในสองกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าปัญญามีความรอบคอบ และลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย

การกระทำของพระเวสสันดรหรือกัณหาชาลี ไม่ได้เรียกว่าปัญญา
ปัญญาในความหมายของพระพุทธเจ้า ต้องเป็นสิ่งที่มาทำให้บุคคล
มีความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดเท่านั้น

อย่างของกัณหาชาลี เรียกว่ามีความคิด รู้จักใช้ตรรกะหาเหตุผล
เพื่อแก้ปัญหา เรื่องแบบนี้มันเกี่ยวกับความจำ หรือความฉลาด
ถ้าจะเรียกในทางธรรมก็คือเป็นผู้มี.....สติ ไม่ใช่ปัญญา

พระเวสสันดรก็เช่นกันพระองค์ก็ใช้วิธีเดียวกัน ต่างกันที่เหตุผลหรือเหตุปัจจัย
อีกคนต้องการหลบซ่อน อีกคนต้องการค้นหา เพียงแต่การหาเหตุปัจจัยของพระเวสสันดร
อาจจะมากกว่า พระโอรสธิดา เพราะต้องหาเหตุว่า ถ้าพระองค์เป็นพระโอรสธิดาจะทำอย่างไร
คือต้องคิดตัวพระองค์เองและคิดในตัวพระโอรสธิดา สรุปคือ มีสติที่มากกว่า

เรื่องสัญญากรัชกายเข้าใจผิดในความหมาย สัญญาไม้ใช่การจำเรื่องราว
อันเกิดจากการคิด สัญญาเป็นกระบวนการขันธ์ มันหมายถึงการจำสภาวะ
สุข....ทุกข์...หรือเฉยๆของเวทนา

และเรื่องที่ทำให้เกิดการกระทำที่รอบคอบ มันต้องอาศัย...สติ ไม่ใช่ปัญญา
กรัชกาย เขียน:
การที่เจ้าชายสิทธัตถะ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุเช่นนั้นเสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา

เจ้าชายสิทธัตถะ ยังไม่เกิดปัญญาที่แท้จริง เพียงแต่เห็นเหตุที่จะทำให้เกิดปัญญา
สิ่งที่พระองค์เห็นเรียกว่า การเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง
กรัชกาย เขียน:
เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้ไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่กระทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า ปัญญา

การกระทำของพระพุทธเจ้า ไม่เรียกปัญญาแล้ว เขาเรียกกิริยาจิต
อันเกิดจากรูปนาม พระองค์ใช้รูปที่เรียกว่าสมองพิจารณาหาเหตุตามตรรกะ

กรัชกาย เขียน:
ปัญญา เป็นคำกลางสำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวมานี้ และปัญญานั้นมีหลายชั้นหลายระดับ เช่น ที่แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะ หรือ ประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ วิชชา ญาณ ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น

ต้องไม่ลืมว่า ปัญญาที่พระพุทธองค์กล่าวถึง
ต้องเป็นปัญญาเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดเพียงอย่างเดียว


โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ย. 2012, 12:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:


โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ย. 2012, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




charl-2012-11-03-1351941215-1964042831263925211.gif
charl-2012-11-03-1351941215-1964042831263925211.gif [ 18.27 KiB | เปิดดู 3528 ครั้ง ]
คิกๆ ยิ่งเรียนธรรมะยิ่งห่างไกลชีวิต ห่างไกลธรรม และดูเหมือนจะสุดโต่ง โด่ง อรรถชัย :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ย. 2012, 02:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สัญญา คือ ความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในสัญญาขันธ์ ได้แก่ ความกำหนดได้ หมายรู้ รวมทั้งความรู้ที่เกิดจากการกำหนดหมาย หรือ หมายรู้แล้วบันทึกเก็บรวมไว้เป็นวัตถุดิบของความคิดต่อๆไป ทำให้มีการรู้จัก จำได้ รู้ เข้าใจ และคิดได้ยิ่งๆขึ้นไป

กรัชกายพูดไปเรื่อย ไม่รู้เรื่องแต่อยากดัง แต่ก็ยังดีอยากแบบนี้เป็นกุศล
แต่ถ้าอยากยุ่งเรื่องชาวบ้านมันไม่ดี เขาเรียกอันธพาล :b13:

เข้าเรื่องบอกมาได้ไงว่า สัญญาคือความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในสัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ถามหน่อยมันดับไปแล้วจะเอาอะไรไปเก็บ

ในกระบวนการขันธ์ การกำหนดรู้เป็นเรื่องของใจกับธัมมารมฌ์ เมื่อกระทบจนเกิดผัสสะ
เป็นมโนวิญญาณ เป็นเวทนา เป็นสัญญา เกิดจิตสังขาร(สังขารขันธ์)
จิตสังขารหรือสังขารขันธ์ ก็คืออาการของจิตนั้นเอง เนื่องจากเหตุปัจจัย
มาจากการกำหนดรู้ อาการของจิตจึงทำให้เกิดอาการของจิตที่เรียกว่า....สติ

กรัชกาย เขียน:

สัญญา แบ่งตามอารมณ์ คือ สิ่งที่หมายรู้ หรือ กำหนดจดหมายไว้ มี ๖ ชนิด คือ รูปสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรูป) สัททสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเสียง) คันธสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับกลิ่น) รสสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรส) โผฏฐัพพะสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับสิ่งต้องกาย) ธัมมสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเรื่องในใจ หรือ สิ่งที่ใจรู้และนึกคิด)

กรัชกายเอาเรื่อง กระบวนการขันธ์ของพระพุทธองค์มาทำซะเละ
สัญญาไม่ได้แบ่ง สัญญาก็คือ ตัวหมายรู้อารมณ์ อารมณ์ที่ว่า ก็คือ...เวทนา
รู้ว่าสูข รู้ทุกข์ รู้เฉยๆ ไม่ได้เกี่ยวกับอย่างอื่นเลย

ที่กรัชกายยกมา๖อย่าง สัญญาที่เกิดมันเป็นตัวเดียวกันหมด แต่ที่บอกไว้เพื่อให้รู้
ที่มาหรือเหตุปัจจัย พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนั้ไว้ เพื่อหาเหตุแห่งทุกข์ได้ถูก
นั้นก็คือตัวกามคุณห้าและปฏิฆะ
กรัชกาย เขียน:

ว่าโดยสภาพปรุงแต่ง สัญญาอาจแบ่งคร่าวๆได้ ๒ ระดับ คือ

๑. สัญญาขั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น หมายรู้ว่า สีเขียว ขาว ดำ แดง แข็ง อ่อน รสเปรี้ยว หวาน รูปร่างกลม แบน ยาว สั้น เป็นต้น รวมทั้งความหมายรู้เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆ ว่า แมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ

๒. สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ไปตามความคิดปรุงแต่ง* หรือ ตามความรู้ความเข้าใจในระดับต่างๆ เช่น หมายรู้ว่า สวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น ถ้าแยกย่อยออกไปสัญญาซ้อนเสริม หรือ สัญญาสืบทอดนี้ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ

มันมีหรือสัญญาต้น สัญญาซ้อนอะไรเนี่ย สัญญามันเกิดแล้วก็ดับ มันจะไปซ้อนอะไรที่ไหน

มันมีแต่กระบวนการขันธ์ที่ต่อเนื่อง อันมีเหตุปัจจัยมาจากผัสสะเดิม พูดให้ชัดก็คือปรุงแต่งต่อ
จะอธิบายให้ฟัง อย่างเช่น ตาเห็นรูป เกิดเวทนา เกิดสัญญา เกิดสังขาร(อาการของจิต)
เมื่อเกิดสังขารหรืออาการของจิต อาการของจิตจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกระบวนการขันธ์ตัวใหม่
นั้นก็คือเกิดการกระทบระหว่างใจกับธัมมารมณ์ จนเกิดเวทนา สัญญา สังขาร(อาการจิต)
นี่มันวนเวียนอย่างนี้ ไม่ใช่สัญญาต้น สัญญาซ้อนเพ้อเจ้อ

ขณะที่ตาเห็นสิ่งของ เขาเรียกสิ่งที่เห็นว่ารูป เมื่อเกิดเวทนา ในลักษณะเฉยๆ
กระบวนการขันธ์จะจบที่โมหะ แต่ถ้าเวทนาเกิดเป็นสุขหรือทุกข์ อาการจิตเป็น
โทสะหรือโลภะ จะเกิดการปรุงแต่งต่อที่ใจและธัมมารมณ์
ไอ้สีต่างๆ สวยหล่อ มันเกิดจากธัมมารมณ์(อาการของจิตเป็นเหตุ)มากระทบกับใจ
จนเป็นสมมุติสัจจะขึ้น สมมุติสัจจะคือ เหลือง แดง สวยหล่อ ปรมัตถ์สัจจะคือ แสงและรูป

กรัชกาย เขียน:

- สัญญาซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล สัญญาเรียกว่าปปัญจสัญญา คือ สัญญาฟ่ามเฝือ หรือ สัญญาซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฐิ เรียกอีกอย่างหนึ่ง ตามสำนวนอรรถกถาบางแห่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่าสัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือ สัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส (สัญญาเจือกิเลส)

ตลกดี ละเลงธรรมซะเละ ยังดีที่อ้างอรรถกถา ถ้าอ้างพุทธพจฯล่ะก็ เสียหายแน่ๆ
จะบอกให้ สัญญามันเป็นสังขารการปรุงแต่ง มันเกิดจากการปรุงแต่งของเวทนา
มันไม่เกี่ยวว่าเป็นอกุศล ทั้งสัญญาที่มีเหตุปัจจัยที่มาจากกุศลและอกุศลล้วนเป็นกิเลส
เพราะสัญญาเป็นการปรุงแต่งของขันธ์ ตัวการของการปรุงแต่งก็คือกิเลส(สังโยชน์)
กรัชกาย เขียน:

สัญญาพวกนี้ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือ และ ห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้ ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ยกตัวอย่างเช่น หมายรู้ลักษณะที่ตนถือว่าน่าชัง หมายรู้ลักษณะอาการที่สนองความอยากได้อยากเอา หมายรู้ลักษณะอาการที่ตนเป็นคนยิ่งใหญ่ หมายรู้ลักษณะอาการในผู้อื่นที่ตนถือว่าต่ำต้อยด้อยกว่า หมายรู้ภาวะเป็นเจ้าของ เป็นผู้ครอบครอง ฯลฯ

- สัญญาที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือ เกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญาบ้าง วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง หรือ เรียกชื่ออื่นๆ ในทำนองนี้บ้าง เป็นสัญญาที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญาและความงอกงามแหงกุศลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น

ที่กรัชกายกำลังละเลง เป็นภาพแอฟแตรกนี่น่ะ ถ้ากรัชกายเข้าใจไว้อย่างเดียวว่า
ขันธ์ห้าทั้งหลาย เกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
รู้ขันธ์ห้าแล้วต้องละ ไม่ใช่รู้แล้วปรุงแต่งขยายความไปมากขึ้น

สัญญาก็คือขันธ์ห้า มันเป็นสังขารการปรุงแต่ง เป็นเพราะจิตยังมีกิเลส
มันจึงเกิด เมื่อมันเกิดแล้วต้องดับ เมื่อมันดับก็ต้องปล่อยให้ดับ
อย่าไปเอามันมาเป็นเหตุปรุงแต่งต่อ แบบนี้เขาเรียก..อวิชา
ที่กำลังแสดงควมเห็นเป็นผู้ทรงภูมิเหมือนผู้รู้ แท้จริงแล้วไม่ได้รู้อะไรเลย
:b32:


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ย. 2012, 04:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13:


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ย. 2012, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ที่กรัชกายกำลังละเลง เป็นภาพแอฟแตรกนี่น่ะ ถ้ากรัชกายเข้าใจไว้อย่างเดียวว่า
ขันธ์ห้าทั้งหลาย เกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
รู้ขันธ์ห้าแล้วต้องละ ไม่ใช่รู้แล้วปรุงแต่งขยายความไปมากขึ้น


ตัดคำตอบวาทกรรมน้ำๆออก ตอนนี้เอาตัวเดียวพอ คือ คำว่า "ละ" ละยังไง บอกหน่อยฮิ :b10: ไม่ต้องสร้างวาทกรรมมากนะเบือฟังเบืออ่านแล้ว :b32:

อ้ออีกหน่อย คำว่า เกิด-ดับ ตามความเข้าใจของนายโฮต้องยังไง :b10:

คิกๆๆ ถามไม่ตอบ :b32: สมเป็นนักวาทกรรมจรีงๆนิ

หยิบคำพูดที่ตัวเองหลับหูหลับตาพูดทิ้งๆไว้มาถามแท้ๆ :b1:

เห็นแต่นักพูดนักจินตนาการ :b14:

http://www.youtube.com/watch?v=VWbFIKaEac4

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 พ.ย. 2012, 05:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ย. 2012, 05:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2012, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ความรู้และปัญญา แบ่งเป็นสองส่วน คือ ..

- โลกียะปัญญา
- โลกุตระปัญญา

ไอสไตน์ คิดค้น ทฤษฎีสัมพันธ์ภาพ หรือ E=MC^2
เรียกว่า โลกียะปัญญา

พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อริยะสัจสี่ เรียกว่า โลกุตระปัญญา

:b1:

ศรัทธาและอคติมักจะบดบังเหตุและผลเสมอ

ความรู้นั้นสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทางดีหรือทางไม่ดี ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ที่นำไปใช้
ความรู้ทางธรรมก็มีผู้คนมากมายที่นำไปหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพร้อง
แม้แต่ในลานธรรมแห่งนี้ยังมีบ้างคนนำความรู้ทางธรรมมาทิ่มแทงกันบ่อยๆ

ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพ(ไม่ใช่สัมพันธ์ภาพ)กล่าวถึงความจริงของการเคลื่อนที่และพลังงานที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ

การเคลื่อนที่กับผู้สังเกต

ถ้าเรานั่งในรถเวลารถติด รถเราหยุดนิ่งรถข้างๆเคลื่อนตัวไปข้างหน้าช้าๆเราอาจรู้สึกว่ารถเรากำลังเคลื่อนถอยหลังหรือเราจะเห็นว่ารถข้างๆเคลื่อนไปข้างหน้าก็ได้
แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งที่สัมพัทธ์กับเรา เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเรากำลังเคลื่อนที่อยู่
ถ้าเรายืนอยู่นิ่งๆบนพื้นเราจะรู้สึกว่าเราไม่ได้เคลื่อนที่ แต่ความจริงเรากำลังเคลื่อนที่อยู่ด้วยความเร็ว 19 กม.ต่อวินาทีเท่ากับความเร็วของโลกที่หมุนรอบตัวเอง เรายังเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่รอบศูนย์กลางของกาแลคซี่ และเคลื่อนที่ไประหว่างกาแลคซี่อื่นๆ เรารู้สึกหยุดนิ่งเพราะเราไม่มีสิ่งสัมพัทธ์กับเรา

ความเร็วกับพลังงาน

E=MCกำลัง2
มวลหยุดนิ่งจะไม่มีพลังงานแต่ถ้ามวลเคลื่อนที่ก็จะเกิดพลังงานขึ้น เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้นมวลก็จะมีพลังงานเพิ่มขึ้นและถ้ามวลเพิ่มความเร็วขึ้นเท่าความเร็วแสงมวลจะมีพลังงานสูงสุด

ความรู้เรื่องสัมพัทธ์ภาพ คุณคิดว่าเต็มไปด้วยกิเลสหรือไม่ละ


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2012, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


แกงได เขียน:
วิริยะ เขียน:
ความรู้และปัญญา แบ่งเป็นสองส่วน คือ ..

- โลกียะปัญญา
- โลกุตระปัญญา

ไอสไตน์ คิดค้น ทฤษฎีสัมพันธ์ภาพ หรือ E=MC^2
เรียกว่า โลกียะปัญญา

พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อริยะสัจสี่ เรียกว่า โลกุตระปัญญา

:b1:

ศรัทธาและอคติมักจะบดบังเหตุและผลเสมอ

ความรู้นั้นสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทางดีหรือทางไม่ดี ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ที่นำไปใช้
ความรู้ทางธรรมก็มีผู้คนมากมายที่นำไปหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพร้อง
แม้แต่ในลานธรรมแห่งนี้ยังมีบ้างคนนำความรู้ทางธรรมมาทิ่มแทงกันบ่อยๆ

ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพ(ไม่ใช่สัมพันธ์ภาพ)กล่าวถึงความจริงของการเคลื่อนที่และพลังงานที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ

การเคลื่อนที่กับผู้สังเกต

ถ้าเรานั่งในรถเวลารถติด รถเราหยุดนิ่งรถข้างๆเคลื่อนตัวไปข้างหน้าช้าๆเราอาจรู้สึกว่ารถเรากำลังเคลื่อนถอยหลังหรือเราจะเห็นว่ารถข้างๆเคลื่อนไปข้างหน้าก็ได้
แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งที่สัมพัทธ์กับเรา เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเรากำลังเคลื่อนที่อยู่
ถ้าเรายืนอยู่นิ่งๆบนพื้นเราจะรู้สึกว่าเราไม่ได้เคลื่อนที่ แต่ความจริงเรากำลังเคลื่อนที่อยู่ด้วยความเร็ว 19 กม.ต่อวินาทีเท่ากับความเร็วของโลกที่หมุนรอบตัวเอง เรายังเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่รอบศูนย์กลางของกาแลคซี่ และเคลื่อนที่ไประหว่างกาแลคซี่อื่นๆ เรารู้สึกหยุดนิ่งเพราะเราไม่มีสิ่งสัมพัทธ์กับเรา

ความเร็วกับพลังงาน

E=MCกำลัง2
มวลหยุดนิ่งจะไม่มีพลังงานแต่ถ้ามวลเคลื่อนที่ก็จะเกิดพลังงานขึ้น เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้นมวลก็จะมีพลังงานเพิ่มขึ้นและถ้ามวลเพิ่มความเร็วขึ้นเท่าความเร็วแสงมวลจะมีพลังงานสูงสุด

ความรู้เรื่องสัมพัทธ์ภาพ คุณคิดว่าเต็มไปด้วยกิเลสหรือไม่ละ


เต็มไปด้วยความเห็นครับ แม้จะเป็นเรื่องจริงก็เป็นความเห็นด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ถ้าเรานั่งอยู่ในรถ(คนอื่นขับ)เวลารถติด ความเห็นส่วนตัวของผมคือ หากหลับตาลง เราจะเห็นแสงที่ปรากฏตรงหน้าหรือไม่(อาจมีแสงเล็ดลอดนิดหน่อย) ดังนั้น การสังเกตุ ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในขณะที่หลับตาลง หรือ ขับรถในความมืดที่ไม่มีแสงเลย (คงเป็นไปไม่ได้) ดังนั้น จึงเป็นการสังเกตุของผู้ที่อาศัยแสงที่อยู่ตรงหน้าเป็นเหตุ มีผลคือ ผัสสะที่เกิดจากจักษุวิญญาณ แต่ไม่เห็นเหตุเกิดของแสง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2012, 03:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แกงได เขียน:
วิริยะ เขียน:
ความรู้และปัญญา แบ่งเป็นสองส่วน คือ ..

- โลกียะปัญญา
- โลกุตระปัญญา

ไอสไตน์ คิดค้น ทฤษฎีสัมพันธ์ภาพ หรือ E=MC^2
เรียกว่า โลกียะปัญญา

พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อริยะสัจสี่ เรียกว่า โลกุตระปัญญา

:b1:

ศรัทธาและอคติมักจะบดบังเหตุและผลเสมอ

ความรู้นั้นสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทางดีหรือทางไม่ดี ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ที่นำไปใช้
ความรู้ทางธรรมก็มีผู้คนมากมายที่นำไปหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพร้อง
แม้แต่ในลานธรรมแห่งนี้ยังมีบ้างคนนำความรู้ทางธรรมมาทิ่มแทงกันบ่อยๆ

ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพ(ไม่ใช่สัมพันธ์ภาพ)กล่าวถึงความจริงของการเคลื่อนที่และพลังงานที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ

การเคลื่อนที่กับผู้สังเกต

ถ้าเรานั่งในรถเวลารถติด รถเราหยุดนิ่งรถข้างๆเคลื่อนตัวไปข้างหน้าช้าๆเราอาจรู้สึกว่ารถเรากำลังเคลื่อนถอยหลังหรือเราจะเห็นว่ารถข้างๆเคลื่อนไปข้างหน้าก็ได้
แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งที่สัมพัทธ์กับเรา เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเรากำลังเคลื่อนที่อยู่
ถ้าเรายืนอยู่นิ่งๆบนพื้นเราจะรู้สึกว่าเราไม่ได้เคลื่อนที่ แต่ความจริงเรากำลังเคลื่อนที่อยู่ด้วยความเร็ว 19 กม.ต่อวินาทีเท่ากับความเร็วของโลกที่หมุนรอบตัวเอง เรายังเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่รอบศูนย์กลางของกาแลคซี่ และเคลื่อนที่ไประหว่างกาแลคซี่อื่นๆ เรารู้สึกหยุดนิ่งเพราะเราไม่มีสิ่งสัมพัทธ์กับเรา

ความเร็วกับพลังงาน

E=MCกำลัง2
มวลหยุดนิ่งจะไม่มีพลังงานแต่ถ้ามวลเคลื่อนที่ก็จะเกิดพลังงานขึ้น เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้นมวลก็จะมีพลังงานเพิ่มขึ้นและถ้ามวลเพิ่มความเร็วขึ้นเท่าความเร็วแสงมวลจะมีพลังงานสูงสุด

ความรู้เรื่องสัมพัทธ์ภาพ คุณคิดว่าเต็มไปด้วยกิเลสหรือไม่ละ

ความรู้ก็คือความรู้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ของไอสไตน์หรือของพระพุทธเจ้า
ความรู้ทั้งสองล้วนเป็นธรรมชาติเหมือนกัน

ความรู้นั้นจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระ มันขึ้นอยู่กับรู้ผิดหรือรู้ตามความเป็นจริง
รู้ผิดไม่ได้หมายถึง ความรู้นั้นผิด แต่มันหมายถึงบุคคลที่มีต่อความรู้นั้น

ทั้งทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพและอริยสัจจ์สี่ เป็นได้ทั้งโลกียะและโลกุตตระ
ถ้ารู้ผิดในทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพก็เป็นโลกียะ ถ้ารู้ถูกรู้ตามความเป็นจริง
ก็เป็นโลกุตตระ สรุปมันขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีต่อธรรมชาติหรือความรู้นั้นๆ

ดูตัวอย่างเรื่องสัมพัทธ์ภาพที่เพื่อนสมาชิกยกมา สมมุติว่ามีบุคคล
ที่ได้รับรู้ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพแล้ว แต่เมื่อประสบเหตุการณ์นั้น บุคคลก็ยัง
มีความรู้สึกอย่างนั้นอยู่ นั้นแสดงว่า ความรู้นั้นยังเป็น.....โลกียะ
ความหมายก็คือไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง
แต่ถ้าบุคคลรู้เรื่องทฤษฎีนั้นแล้ว เมื่อประสบเหตุการณ์นั้น ก็รู้ตามความเป็นจริงว่า
รถคันที่ตัวเองนั่ง ไม่ได้ขยับเคลื่อนตัวไปไหน แบบนี้เรียกความรู้นั้นว่า.....โลกุตตระ

ธรรมอริยสัจสี่ก็เช่นกัน พระองค์ทรงสอนเรื่องขันธ์ห้าเป็นสังขาร
มันเป็นการปรุงแต่งอย่าไปยึด
บุคคลก็รู้ตามแบบที่พระพุทธเจ้าบอก แต่พอเวลากระทบก็เกิดขันธ์ห้าทุกที
แบบนี้เขาเรียกว่า....โลกียะ นั้นคือรู้แต่ทำไม่ได้
แต่ถ้ารู้แล้วทำได้เรียก.....โลกุตตระ

พวกเรากำลังเข้าใจผิดว่า ความรู้ที่เราได้รับจากโรงเรียนหรือจากไอสไตน์
เป็น โลกียะ และความรู้ที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นโลกุตตระ มันไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจ
ความรู้ที่มาจากพระพุทธเจ้าหรือไอสไตน์ เป็นความรู้ที่เป็นจริงทั้งสองท่าน
แต่ในความเป็นโลกุตตระหรือโลกียะ มันขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีต่อความรู้นั้นว่า
ยามเมื่อประสบเหตุการณ์ผลจะเป็นอย่างไร

ในความรู้ของไอสไตย์และพระพุทธเจ้า ชี้ว่าอะไรผิดไปจากธรรมชาติ
และชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติที่แท้จริงเป็นอย่างไร ความรู้ทั้งสองเป็นปัญญา
มันขึ้นอยู่กับเราเองว่า จะสามารถมองเห็นความรู้หรือปัญญาไปตามความเป็นจริงมั้ย
ถ้าเห็นตามความเป็นจริงก็เป็นโลกตตระ ถ้าไม่เห็นก็เป็นโลกียะ
เห็นตามความเป็นจริงนั้นคือ การได้ประสบกับเหตุการณ์จริง
ไม่ใช่การมานั่งคิดเอาเองว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ฉันต้องเป็นแบบนี้
อย่างนี้เขาเรียกจินตนาการไม่ใช่ความจริง


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2012, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

ที่กรัชกายกำลังละเลง เป็นภาพแอฟแตรกนี่น่ะ ถ้ากรัชกายเข้าใจไว้อย่างเดียวว่า
ขันธ์ห้าทั้งหลาย เกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
รู้ขันธ์ห้าแล้วต้องละ ไม่ใช่รู้แล้วปรุงแต่งขยายความไปมากขึ้น


ตัดคำตอบวาทกรรมน้ำๆออก ตอนนี้เอาตัวเดียวพอ คือ คำว่า "ละ" ละยังไง บอกหน่อยฮิ :b10: ไม่ต้องสร้างวาทกรรมมากนะเบือฟังเบืออ่านแล้ว :b32:

อ้ออีกหน่อย คำว่า เกิด-ดับ ตามความเข้าใจของนายโฮต้องยังไง :b10:

คิกๆๆ ถามไม่ตอบ :b32: สมเป็นนักวาทกรรมจรีงๆนิ

หยิบคำพูดที่ตัวเองหลับหูหลับตาพูดทิ้งๆไว้มาถามแท้ๆ :b1:

เห็นแต่นักพูดนักจินตนาการ :b14:

http://www.youtube.com/watch?v=VWbFIKaEac4



กดผิด จะกด อ้างอิง ผ่าไปกด แก้ไข เอาใหม่ๆ ตามนั้นแหละ :b1: อ้าวย้ำอีกที


ถามไม่ตอบ สมเป็นนักวาทกรรมจรีงๆนิ

หยิบคำพูดที่ตัวเองหลับหูหลับตาพูดทิ้งๆไว้มาถามแท้ๆ

เห็นแต่นักพูดนักจินตนาการเต็มไปหมด :b1:


ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เลี้ยงเด็กกำพร้า-คนชรา ปลูกป่าชายเลน ปล่อยนก ปล่อยเต่า ฯลฯ เป็นการเริ่มต้นที่ดีของผู้ใหม่ เอาสิ่งเห็นๆก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2012, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แกงได เขียน:
ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพ(ไม่ใช่สัมพันธ์ภาพ)
ขอบคุณครับ .. :b1:
แกงได เขียน:
วิริยะ เขียน:
ความรู้และปัญญา แบ่งเป็นสองส่วน คือ ..

- โลกียะปัญญา
- โลกุตระปัญญา

ไอสไตน์ คิดค้น ทฤษฎีสัมพันธ์ภาพ หรือ E=MC^2
เรียกว่า โลกียะปัญญา

พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อริยะสัจสี่ เรียกว่า โลกุตระปัญญา
.....
ความรู้เรื่องสัมพัทธ์ภาพ คุณคิดว่าเต็มไปด้วยกิเลสหรือไม่ละ

โลกียะปัญญา หมายถึง ...
ความรู้ที่ไม่ใช่เพื่อการละ ปล่อยวาง ความรู้ที่ไม่สามารถพ้นทุกข์ พ้นโลกสงสาร

โลกุตระปัญญา หมายถึง ...
ความรู้ที่เป็นไปเพื่อการละ ปล่อยวาง ความรู้เพื่อการพ้นทุกข์ พ้นโลกสงสาร


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2012, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

ที่กรัชกายกำลังละเลง เป็นภาพแอฟแตรกนี่น่ะ ถ้ากรัชกายเข้าใจไว้อย่างเดียวว่า
ขันธ์ห้าทั้งหลาย เกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
รู้ขันธ์ห้าแล้วต้องละ ไม่ใช่รู้แล้วปรุงแต่งขยายความไปมากขึ้น


ตัดคำตอบวาทกรรมน้ำๆออก ตอนนี้เอาตัวเดียวพอ คือ คำว่า "ละ" ละยังไง บอกหน่อยฮิ :b10: ไม่ต้องสร้างวาทกรรมมากนะเบือฟังเบืออ่านแล้ว :b32:

อ้ออีกหน่อย คำว่า เกิด-ดับ ตามความเข้าใจของนายโฮต้องยังไง :b10:

คิกๆๆ ถามไม่ตอบ :b32: สมเป็นนักวาทกรรมจรีงๆนิ

หยิบคำพูดที่ตัวเองหลับหูหลับตาพูดทิ้งๆไว้มาถามแท้ๆ :b1:

เห็นแต่นักพูดนักจินตนาการ :b14:

http://www.youtube.com/watch?v=VWbFIKaEac4



กดผิด จะกด อ้างอิง ผ่าไปกด แก้ไข เอาใหม่ๆ ตามนั้นแหละ :b1: อ้าวย้ำอีกที


ถามไม่ตอบ สมเป็นนักวาทกรรมจรีงๆนิ

หยิบคำพูดที่ตัวเองหลับหูหลับตาพูดทิ้งๆไว้มาถามแท้ๆ

เห็นแต่นักพูดนักจินตนาการเต็มไปหมด :b1:


ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เลี้ยงเด็กกำพร้า-คนชรา ปลูกป่าชายเลน ปล่อยนก ปล่อยเต่า ฯลฯ เป็นการเริ่มต้นที่ดีของผู้ใหม่ เอาสิ่งเห็นๆก่อน

ถกธรรมกัน ไม่เห็นด้วยตรงไหนก็ให้เหตุผลแย้งมา ไม่ใช่มายียวน ถามคำศัพท์
เหมือนเด็กที่สมองไม่พัฒนาแบบนี้


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 18 พ.ย. 2012, 12:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2012, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
โลกียะปัญญา หมายถึง ...
ความรู้ที่ไม่ใช่เพื่อการละ ปล่อยวาง ความรู้ที่ไม่สามารถพ้นทุกข์ พ้นโลกสงสาร

โลกุตระปัญญา หมายถึง ...
ความรู้ที่เป็นไปเพื่อการละ ปล่อยวาง ความรู้เพื่อการพ้นทุกข์ พ้นโลกสงสาร

:b1:

การมองเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง จึงจะปล่อยวาง พ้นทุกข์ได้
ปัญญาวิมุติ เกิดจากอริยมรรคมีองค์แปดหรือมรรคสมังคี
มรรคสมังคีจะเกิดได้ต้องมี สัมมาทิฐิหรือการเห็น
สภาพธรรมตามความเป็นจริงเป็นผู้นำทาง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร