วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 19:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 30, 31, 32, 33, 34, 35, 36 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอย้อนกลับมาต่อในพระสูตรจากท่อนที่ว่า :b46: :b47: :b46:

"การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์"
"การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์"


ซึ่งหลังจากนั้น พระบรมครูทรงกล่าวต่อว่า :b46: :b47: :b42:

"ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์"

ซึ่งก็คือ หลังจากฟังธรรมจนเกิดศรัทธาค่อยๆน้อมใจเชื่อ ซึ่งเป็นข้อแรกของพละ ๕ แล้ว จึงเริ่มสืบเสาะต่อด้วยปัญญา โดยการคิดตามจริง และ / หรือ เห็นตามจริง :b46: :b47: :b46:

และเมื่อยิ่งเห็นตามจริงตามที่ฟังมา จึงยิ่งมีศรัทธาที่แนบแน่นมากขึ้นไปอีก ซึ่งนำไปสู่ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในการขวนขวายศึกษาธรรม และคิดพิจารณาตามธรรมต่อโดยแยบคาย .. :b48: :b49: :b47:

ถึงตรงนี้ เรามาเริ่มในส่วนที่เป็นผลโดยตรงต่อการฝึกสติสัมปชัญญะกันเสียทีครับ คือท่อนที่ว่า :b55: :b54: :b51:

"การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์"

หมายความว่า การจะทำให้เกิดสติ คือการ "ระลึกรู้" :b47: :b46: :b42:

และเกิดสัมปชัญญะ คือการ "รู้ได้อย่างถูกต้อง" ร่วมกันได้นั้น :b50: :b49: :b50:

จะต้องผ่านการฝึกฝนให้มี "อะไร" ที่ให้ "รู้" :b49: :b48: :b47:

และ "รู้ได้อย่างถูกต้อง" ซ้ำๆกันเสียก่อน จนสามารถบันทึกเก็บไว้ได้ในหน่วยความจำ คือความจำได้หมายรู้ จนจำได้หมายรู้อย่างแนบแน่น (ถิรสัญญา ตามที่อรรถกถาจารย์ท่านได้ขยายความเพิ่มเติมไว้) :b46: :b39: :b46:

ถึงจะเกิดกระบวนการนำสภาวธรรมที่เคยเจอแล้ว มา "ระลึกรู้อย่างถูกต้อง" ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพบเจอสภาวธรรมนั้นๆอีก :b46: :b39: :b46:


ซึ่งการฝึกฝน "รู้" และ "รู้ได้อย่างถูกต้อง" ในส่วนที่ว่า ก็คือ การพิจารณา ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการ ในธรรมที่เกิดขึ้นบ่อยๆ จนเกิดเป็นความจำได้หมายรู้อย่างแนบแน่น (ถิรสัญญา) เพื่อให้เกิดการ "ระลึกขึ้นได้อย่างถูกต้อง" หรือเกิดสติสัมปชัญญะได้รวดเร็ว เมื่อพบเจอธรรมนั้นๆอีก นั่นเองครับ :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้ ขอแทรกอธิบายคำว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการ ที่สามารถขยายความในภาคปริยัติ ด้วยสภาวะในภาคปฏิบัติ ไว้สักหน่อย :b38: :b37: :b39:

เอาภาคปริยัติกันก่อนนะครับ :b1: :b46: :b39:

"โยนิโส" มาจากคำว่า "โยนิ" ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง

รวมกับคำว่า "มนสิการ" ซึ่งหมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3

หยิบเอาคำแปลศัพท์ของท่านเจ้าคุณฯอาจารย์มาแล้ว ขอยกเอาข้อความจากพจนานุกรมฯ ของท่าน ขึ้นมากำกับไว้อีกทีครับ

โยนิโสมนสิการ :
การทำในใจโดยแยบคาย,
กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย,
การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบ (วิภัชชวาท, นามรูปปริเฉทญาณ - แทรกโดย วิสุทธิปาละ) จนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา,
ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี;

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E2%C2%B9%D4%E2%CA%C1%B9%CA%D4%A1%D2%C3

ซึ่งถ้าพูดถึงองค์ธรรม ก็คือจิต ที่ประกอบไปด้วยมนสิการเจตสิก ได้แก่การทำอารมณ์ไว้ในใจ การใส่ใจด้วยดี (pay attention) ในธรรมที่เกิดขึ้นในจิต :b46: :b47: :b46:

นอกจากนี้ จิตนั้น ต้องประกอบไปด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุต) หรือปัญญินทรีย์เจตสิก เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัย จนนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดในปัญญานั้นเองอีกที :b47: :b48: :b49:

ถึงจะเป็น โยนิโส (แยบคาย ประกอบไปด้วยปัญญา) + มนสิการ (ใส่ใจด้วยดี) ได้ :b50: :b51: :b50:

ไม่หลุดไปเป็น อโยนิโส (ไม่แยบคาย ไม่ประกอบไปด้วยปัญญา) + มนสิการ (ใส่ใจด้วยดี)
:b49: :b50: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากความหมายข้างต้นในทางปริยัติ ซึ่งสามารถโยงเข้ากับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคปฏิบัติลงได้ว่า :b46: :b47: :b46:

เมื่อ ใส่ใจด้วยดีเนืองๆ จนจำได้ในสภาวะ --> จึงเกิด สติ ให้ระลึกรู้ในสภาวะนั้นได้ไว เมื่อสภาวะนั้นเกิดขึ้นมาอีก :b47: :b48: :b42:

และเมื่อการใส่ใจ ประกอบด้วยปัญญา พิจารณาโดยแยบคายเนืองๆ --> จึงเกิด ปัญญาเบื้องต้น คือสัมปชัญญะ ๔ :b51: :b50: :b49:

คืออาการที่จิต ใส่ใจด้วยดีในสภาวธรรมต่างๆที่ปรากฏ ด้วยปัญญาที่พิจารณาโดยแยบคายใน (๑) ตัวสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้นๆ และ (๒) ในความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยของสภาวธรรมนั้นๆ :b44: :b39: :b45:

ซึ่งในภาคปฏิบัติ จะเกิดอาการโยนิโสมนสิการได้สองทาง คือ (๑) ใช้การ "จงใจคิด" ด้วยปัญญา จนเกิดการต่อยอดทางปัญญา และ (๒) ใช้การ "เห็น" ด้วยปัญญา จนเกิดการต่อยอดทางปัญญา :b51: :b53: :b51:

คือในทางปฏิบัติแล้ว อาการที่เป็นไปของ "โยนิโสมนสิการ" ไม่ได้หมายถึงการพิจารณาให้เกิดสัมมาทิฏฐิ (รู้ถูกต้องด้วยปัญญาอันเห็นชอบ) โดยเริ่มจากอาการ "จงใจคิด" หรือใช้องค์มรรคคือ สัมมาสังกัปปะ เป็นองค์นำ อย่างเดียวนะครับ :b55: :b54: :b48:

แต่หมายถึง การพิจารณาด้วยอาการ "รู้" หรือ "เห็น" (คือการใช้องค์มรรค ได้แก่ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ เป็นองค์นำ) ที่ประกอบด้วยการ "แยกแยะ" จนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย อีกประการหนึ่ง ด้วย :b39: :b43: :b42:

นั่นหมายถึง โยนิโสมนสิการ ก็คือ การทำใว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยอาการ :b46: :b39: :b46:

(๑) "จงใจคิด" ถึงประโยชน์ที่จะได้รับ แล้วจึงปฏิบัติ ... หรือ "จงใจคิด" สืบสาวหาเหตุผลตามความเป็นจริง จนเกิดปัญญา :b49: :b44: :b42:

และ / หรือ

(๒) "เห็น" ตัวอย่างที่เป็นผล เป็นประโยชน์จากการปฏิบัติ แล้วจึงนำไปปฏิบัติ ... หรือ "รู้" ในตัวสภาวะ จน "เห็น" สภาวะ ตามเหตุปัจจัยที่กำลังเป็น กำลังแสดงให้ดูอยู่นั้น ตามความเป็นจริง จนเกิดปัญญา :b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์จากสัพพาสวสังวรสูตร ซึ่งว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง ตรงนี้ครับ :b47: :b46: :b47:

"อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น"

http://84000.org/tipitaka/read/?12/12/16

ซึ่งโยนิโสมนสิการในพุทธพจน์ตรงนี้ ไม่ใช้ในความหมายว่า "จงใจคิด" :b46: :b47: :b46:

เพราะการ "จงใจคิด" ด้วยตรรกะ ในอริยสัจจ์ ไม่สามารถทำให้เกิดปัญญาถึงขั้นหลุดพ้น :b46: :b47: :b46:

แต่ต้อง "เห็น" ในอริยสัจจ์ ถึงจะหลุดพ้น :b46: :b39: :b41:


(ส่วนอาสวะที่พึงละได้เพราะการสังวร เพราะเสพเฉพาะ เพราะอดกลั้น เพราะเว้นรอบ เพราะบรรเทา และเพราะอบรม ที่ต่อเนื่องในพระสูตรเดียวกันนั้น จะประกอบไปด้วยการ "จงใจคิด" พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงเสพ จึงอดกลั้น จึงเว้นรอบ จึงบรรเทา และจึงอบรม นะครับ) :b48: :b47: :b48:

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะว่ากันอย่างเคร่งครัดถึงสภาวะอย่างละเอียดของจิต ในขณะที่เกิดโยนิโสมนสิการในข้อที่ ๒ ซึ่งนำด้วยการ "รู้" โดยไม่ "จงใจคิด" นั้นแล้ว :b46: :b47: :b46:

ในสภาวะจริง ก็จะมีการ "คิด" หรือการ "พิจารณา" ของจิต เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง :b46: :b39: :b46:

แต่เป็นการคิดหรือพิจารณา แบบที่จิตไม่ได้ "จงใจ" คิด หรือ "จงใจ" พิจารณา :b48: :b49: :b50:


ซึ่งจะเห็นตัวอย่างตามสภาวะได้ชัด เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองแล้วสังเกตเห็นปรากฏการณ์ของจริงบางอย่าง จนเกิดอาการ "ปิ๊ง" ในความรู้บางประการขึ้นมาในหัว โดยไม่ได้ "จงใจคิด" :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ จิตเกิดความเข้าใจสรุปรวบยอดของเขาเอง แล้ว "ปิ๊ง" ขึ้นมาในหัวโดยไม่ได้จงใจคิด เพราะอาศัยการต่อยอดจากความรู้เก่าที่สะสมมา กับความรู้ที่เกิดจากการสังเกต "รู้" ในขณะนั้น ประมวลผล และ "นำทาง" ให้เกิดปัญญา นั่นเอง :b46: :b39: :b46:

หรืออีกลักษณะหนึ่งของอาการโยนิโสมนสิการโดยที่จิต ไม่ได้จงใจคิด ก็คือในขณะจิตที่เกิดอริยมรรค ไม่ว่าจะระดับใด ก็จะมีอาการ "คิด" หรือ องค์ธรรมของสัมมาสังกัปปะ เกิดร่วมด้วยทุกครั้งเป็นมรรคสมังคีทุกคราวไป .. :b46: :b47: :b46:

โดยที่จิต ไม่ได้จงใจ "คิด"
:b49: :b50: :b45:


(ในทางอภิธรรมก็คือ มัคคโลกุตรกุศลจิต หรือโลกุตรจิต ๔ ดวงที่ทำหน้าที่ชวนกิจในโลกุตรมัคควิถีขณะบังเกิดมรรคในแต่ละระดับขั้น) :b50: :b51: :b50:

หมายความว่า จิตจะประมวลผล และ "คิด" เพื่อสรุปการ "รู้" ของเขาเองอย่างรวดเร็วภายในชั่วไม่กี่ขณะจิต จนสังเกตเห็นได้ยาก (แต่ไม่ใช่ว่าจะสังเกตเห็นไม่ได้) ไม่ว่าในขณะโยนิโสมนสิการระดับธรรมดา หรือในขณะเกิดอริยมรรค นั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:

(ซึ่งถ้าจะอธิบายในทางอภิธรรม ก็จะหมายถึง (๑) สันตีรณจิต ซึ่งเป็นชาติวิบาก ที่ทำหน้าที่สันตีรณกิจเมื่อเกิดผัสสะทางปัญจทวาร คือพิจารณาอารมณ์ในปัญจทวารวิถี :b46: :b42: :b46:

โดยถ้าพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี ก็เป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ถ้าเป็นอารมณ์ที่ดี ก็เป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ถ้าเป็นอารมณ์ที่ดียิ่ง ก็เป็นโสมนัสสันตีรณกุศลวิบาก ถ้าเป็นในโลกุตรมัคควิถี (ไม่ใช่โลกุตรสมาบัติวิถี) ก็เป็นอนุโลม :b49: :b48: :b49:

และ (๒) โวฏฐัพพนจิต ซึ่งเป็นชาติกิริยา ที่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวารวิถี (ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต) และมโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำหน้าที่อาวัชชนกิจทางมโนทวารวิถี :b51: :b45: :b51:

ซึ่งมโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวารวิถี และอาวัชชนกิจทางมโนทวารวิถีนี้ จะใช้ข้อมูลเก่าที่ถูกบันทึกลงสัญญาขันธ์โดยตทาลัมพนจิต สะสมแล้วสะสมเล่าจากในอดีต ในการทำหน้าที่ตัดสิน "นำทาง" ให้เกิดชวนจิตชนิดกุศล อกุศล หรือกิริยา :b42: :b43: :b44:

ซึ่งถ้าเป็นโยนิโสมนสิการ ก็จะเกิดชวนจิตชนิดญาณสัมปยุต เกิดเป็นปัญญาสะสมต่อยอด และถูกบันทึกในตทาลัมพนจิตลงเป็นสัญญาในหมวดปัญญาบารมีต่อไป และในโลกุตรมัคควิถี จิตที่ทำหน้าที่ตรงนี้ได้แก่โคตรภูจิต ที่คอย "นำทาง" ให้เกิดโลกุตรจิตในลำดับถัดมา :b39: :b43: :b44:

และ (๓) มัคคโลกุตรกุศลจิต ๔ ดวงที่ทำหน้าที่ชวนกิจ ในโลกุตรมัคควิถีขณะเกิดมรรคผล ซึ่งจะมีสัมมาสังกัปปะเกิดขึ้นร่วมเป็นมรรคสมังคีในทุกลำดับขั้นของอริยมรรคนั่นเอง) :b55: :b54: :b49:

และนั่นคือที่มาของคำว่า "คิด" ที่ปรากฏอยู่ในทุกข้อของโยนิโสมนสิการ ๔ หรือ ๑๐ ที่อรรถกถาจารย์ และครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณรุ่นหลัง ท่านได้สรุปไว้ :b46: :b47: :b46:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3

ซึ่งไม่ได้หมายความครอบคลุมเฉพาะคำว่า "จงใจคิด" อย่างเดียว แต่หมายถึง จิต "รู้" และ "คิด" ของเขาเองโดยไม่ได้จงใจคิด เพื่อสรุปรวบยอดการรู้นั้น ลงเป็นสัมมาทิฏฐิ และบันทึกปัญญาที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ลงในสัญญา สะสมเป็นปัญญาบารมีของตัวจิตเอง นะครับ :b42: :b46: :b47:

ดึกแล้ว คราวหน้าขอมาขยายความกันต่อ ในส่วนของ "การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์" :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2012, 19:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b8: :b46: :b39: :b46:

กลับมาที่ "การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์" :b46: :b47: :b46:

เหตุผลที่โยนิโสมนสิการ เป็นอาหารปัจจัย (nutriment condition หมวดนามอาหาร) ของสติสัมปชัญญะนั้น :b38: :b37: :b39:

เนื่องเพราะเมื่อจิต ใส่ใจพิจารณาสภาวธรรม (รูปนาม) ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาที่ลักษณะอาการ ตลอดถึงกระบวนการ และองค์ประกอบที่เกิดร่วมในขณะที่สภาวธรรมนั้นๆเกิดขึ้นเป็นปัจจุบันธรรม จนมองเห็นตัวสภาวะและกระบวนการ ตลอดจนถึงเหตุปัจจัยของสภาวธรรมนั้นๆได้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ :b39: :b39: :b39:

ซึ่งการเพียรโยนิโสฯ พิจารณาเห็นในลักษณะอาการ กระบวนการ และเหตุปัจจัยต่างๆของสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแต่ละตัวบ่อยๆ จนจิตจดจำสภาวะได้แม่นยำ :b48: :b49: :b50:

และเมื่อสภาวธรรมนั้นๆเกิดขึ้นซ้ำอีก ก็จะทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ "ระลึกรู้" ได้
:b43: :b42: :b44:

และ รู้ได้ "ชัด" ในสภาวธรรมนั้นๆ โดยไม่หลง :b39: :b39: :b39:


ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดราคะ โทสะ โมหะ หรือสภาวธรรมอื่นๆเกิดขึ้น ก็ใส่ใจเฝ้าสังเกต พิจารณาโดยแยบคายจนรู้ว่า ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ นั้น .. :b48: :b49: :b48:

(๑) มีลักษณะอย่างไร :b46:

(๒) มีหน้าที่การงานต่อกายใจอย่างไร :b46:

(๓) มีอาการที่เกิดขึ้นที่ใจ และที่กายอย่างไร (คือโดยมากจะเกิดอาการขึ้นที่ใจก่อน แล้วค่อยส่งผลมาให้สังเกตต่อได้ที่กาย) :b46:

(๔) และมีองค์ประกอบที่เกิดร่วม รวมถึงความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยอย่างไร :b46:


(วิเสสลัษณะ ๔ = ลักษณะ, กิจ (รสะ), อาการปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน), เหตุใกล้ให้เกิด (ปทัฏฐาน)) :b46: :b46: :b46: :b46:

โดยสิ่งสำคัญที่สุดของลักษณะเฉพาะทั้ง ๔ ข้อ ที่วิสุทธิปาละขอเน้นย้ำว่า เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการฝึกสติสัมปชัญญะให้มีความว่องไว :b50: :b49: :b50:

ก็คือการโยนิโสฯ เฝ้าสังเกตพิจารณาในลักษณะข้อที่ ๔ คือองค์ประกอบที่เกิดร่วม รวมถึงความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย :b47: :b46: :b41:

โดยเฉพาะสภาวะอาการต่างๆ หรือเหตุปัจจัย หรือเหตุใกล้ (ปทัฏฐาน) ที่เกิดขึ้นให้รู้สึกได้ก่อน (เทียบเคียงได้กับ ปุเรชาตปัจจัย - prenascence condition) ก่อนที่สภาวธรรมนั้นๆจะเกิดขึ้น :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะการมีสติ ระลึกรู้เพียงแค่ในลักษณะและอาการของสภาวธรรมในข้อ ๑ - ๓ จะทำได้อย่างดีที่สุด แค่ให้จิต"ตามรู้ทัน" ในสภาวธรรมนั้นๆที่เกิดขึ้น :b43: :b42: :b44:

หมายความว่า สภาวธรรมนั้นๆได้เกิดขึ้นแล้ว "ในอดีต" จิตจึงระลึกรู้ "ตาม" ลักษณะที่เกิดขึ้นแล้วทั้ง ๓ .. ในภายหลัง :b50: :b51: :b53:

แต่ถ้าจิตมีความคุ้นชินเพิ่มเติมในสภาวะอาการ หรือเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ก่อนที่สภาวธรรมนั้นๆจะเกิดขึ้นแล้ว :b55: :b54: :b49:

สติที่เกิดจากความเพียรในการโยนิโสฯ นอกจากจะสามารถตรวจจับ (detect) "ตามรู้ทัน" ในสภาวธรรม หรืออาการต่างๆของจิตที่เกิดขึ้นแล้วใน ๓ ข้อแรกได้รวดเร็วแบบจี้ติด ยังสามารถกวดกระชั้นเข้าไปจนกระทั่ง "รู้เท่าทัน" ในสภาวธรรม หรืออาการต่างๆของจิตทั้ง ๓ นั้นๆ ว่ากำลังจะเกิดขึ้น :b48: :b49: :b50:

เนื่องจากสามารถตรวจจับอาการในข้อที่ ๔ หรือสัญญาณที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ก่อนที่สภาวธรรมนั้นๆจะเกิดขึ้นได้ :b50: :b51: :b50:

ถ้ายกตัวอย่างสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้นๆเป็นกิเลส ก็เหมือนกับการเห็นควัน (ในข้อ ๔) ขึ้นมาก่อนแล้วเกิดสติสัมปชัญญะดับทัน ก่อนที่จะลุกลามเป็นเปลวไฟ (ในข้อ ๑ - ๓) เผาผลาญจิต :b48: :b46: :b48:


(ซึ่งการเฝ้าพิจารณาสังเกตเห็นโดยแยบคายในเหตุใกล้ (วิเสสลักษณะข้อที่ ๔) หรือสภาวปัจจัยที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ นอกจากเป็นการฝึกสติสัมปชัญญะให้เข้มแข็งว่องไวแล้ว ยังจะเป็นการเข้าถึงการเห็นสามัญลักษณะ ในสภาวะของอนัตตา คือกระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เข้ามาอยู่ในขบวนการ :b48: :b49: :b48:

ซึ่งการเห็นตรงนี้ จะส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และเห็นองค์ธรรมต่างๆในอริยสัจจ์ จนเข้าสู่การหลุดพ้น (วิมุตติ) และหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว (วิมุตติญาณทัสสนะ) ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในช่วงต่อๆไปนะครับ) :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยที่อานิสงค์ประการสำคัญของสติสัมปชัญญะที่เข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้ามาระลึกรู้ได้ในเหตุปัจจัยก่อนหน้า ก็คือว่า จะทำให้จิต มีความสามารถ รู้ทัน "ตามหลัง" สภาวธรรมในกระแสของปฏิจจสมุปบาท ทีละสภาวธรรม ย้อนขึ้นไปเรื่อยๆ :b46: :b39: :b46:

หมายความว่า มีสภาวธรรมเกิดขึ้นก่อนแล้ว จิตจึงรู้ตาม จากลักษณะและอาการที่เกิดขึ้น .. จนกระทั่ง "รู้เท่าทัน" สภาวธรรมนั้นๆ ในกระแสของปฏิจจสมุปบาท จากการเห็นเหตุใกล้ หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้า :b49: :b51: :b49:


คือ สภาวธรรม (โดยเฉพาะกิเลสทุกข์บาปอกุศลต่างๆ) ยังไม่ทันเกิด แต่จิตที่มีสติสัมปชัญญะว่องไวเข้มแข็ง สามารถ "รู้" ในสภาวธรรมที่เป็นปัจจัย ที่เป็นเหตุใกล้ ที่ส่งสัญญาณเกิดขึ้นก่อนหน้าแล้ว :b47: :b46: :b47:

ทำให้สภาวธรรม (โดยเฉพาะกิเลสทุกข์บาปอกุศลต่างๆ) นั้นๆขาดช่วง ไม่เกิดขึ้นเพราะมีสติ "รู้ตัว" ขึ้นมาตัด :b51: :b50: :b51:

หรือถ้าจะเกิดขึ้น ก็มีอาการที่บางมากๆ .. :b53: :b50: :b49:

และเห็นอาการ "ดับ" ลงได้ไว เพราะจิต "รู้เท่า เอาทัน" เสียแล้ว .. :b46: :b42: :b47:

เหมือนกับการ "ตามรู้ทัน" หรือ "รู้ทันตามหลัง" กลลวงของนักต้มตุ๋น (ซึ่งเปรียบได้กับกิเลส) .. :b47: :b48: :b47:

หมายความว่า โดน "ตุ๋น" เสียเปื่อย แล้วจึงค่อย "ตาม" รู้ทันในกลลวงนั้น :b47: :b49: :b48:

ซึ่งถ้าพัฒนาสติปัญญาสัมปชัญญะขึ้นไปอีกขั้น ก็จะสามารถ "รู้เท่าทัน" ในกลลวง :b49: :b50: :b49:

คือการ "รู้เท่าทัน" ในเล่ห์กลลวงนั้น ก่อนที่จะโดนนักต้มตุ๋น หรือกิเลส หลอกเอาไปกินเสีย นั่นเอง :b47: :b46: :b47:


เช่นเดียวกับข้อธรรมในบทความขององค์หลวงปู่เทสก์ ที่กล่าวไว้ว่า "ตามรู้จิต ไม่อยู่ รู้เท่าทันจิต จึงอยู่" ที่เคยยกมาให้อ่านกันนะครับ :b8: :b46: :b44:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=390

ขยายความถึงเหตุผลอย่างคร่าวๆในตอนนี้ก่อนได้ว่า สติสัมปชัญญะที่ถูกฝึกจนเข้มแข็ง จะสามารถ "หน่วงเวลา" ของจิตให้ช้าลง เพื่อให้จิตมีเวลาในการทำหน้าที่ "รู้" สภาวธรรมต่างๆได้ "ช้า" และ "ชัด" :b46: :b42: :b46:

จนสามารถ "รู้" ทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทในเหตุปัจจัยที่เกิดก่อนหน้า ขึ้นไปได้ :b46: :b42: :b46:

(ตรงที่กล่าวว่า สติสัมปชัญญะที่เข้มแข็ง จะสามารถ "หน่วงเวลา" ของจิตให้ช้าลงนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์อีกอันหนึ่งของจิตที่มีสติและสมาธิที่เข้มแข็งดีแล้ว ซึ่งจะขอขยายรายละเอียดและตัวอย่างจากประสบการณ์ในโอกาสต่อไปนะครับ) :b50: :b51: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งถ้าจิตจะไล่ตามรู้ จนรู้ทัน ในการย้อนทวนกระแสของปฏิจจสมุปบาท :b46: :b42: :b46:

จาก ชรามรณะ - ชาติ (รวมคือทุกข์ ที่เริ่มจาก ชาติปิทุกขา ชราปิทุกขัง มะระณัมปิทุกขัง ฯลฯ) :b42: :b43: :b44:

ทวนไปสู่ ภพ - อุปาทาน - ตัณหา - เวทนา - ผัสสะ - สฬายตนะ - นามรูป - วิญญาณ - สังขาร - อวิชชา :b50: :b51: :b53:

จิตที่เพียรโยนิโสฯ ในวิเสสลักษณะทั้ง ๔ ของสภาวธรรมต่างๆในวงจรปฏิจจสมุปบาท จะมีความสามารถตั้งแต่ .. :b46: :b47: :b46:

"ตามรู้ทัน" ในการเกิดขึ้นของ ทุกข์ :b46: :b41:

ไปสู่การ "ตามรู้ทัน" ในการเกิดขึ้นของ ภพ (= "รู้เท่าทัน" ในทุกข์) :b46: :b41:

ไปสู่การ "ตามรู้ทัน" ในการเกิดขึ้นของ อุปาทาน (= "รู้เท่าทัน" ในภพ) :b46: :b41:

ไปสู่การ "ตามรู้ทัน" ในการเกิดขึ้นของ ตัณหา (= "รู้เท่าทัน" ในอุปาทาน) :b46: :b41:

ไปสู่การ "ตามรู้ทัน" ในการเกิดขึ้นของ เวทนา (= "รู้เท่าทัน" ในตัณหา) :b46: :b41:


(ส่วนเหตุปัจจัยที่อยู่ช่วงต้นขึ้นไปอีก คือ ผัสสะ - สฬายตนะ - นามรูป - วิญญาณ - สังขาร - อวิชชานั้น จิตจะไม่สามารถแยกแยะแกะธรรม "รู้" แต่ละอย่างออกจากเวทนาได้ :b46: :b42: :b46:

เพราะบางอย่าง เป็นธรรมที่เกิดร่วมพร้อมกัน (เป็นสหชาตปัจจัย - connascence condition) :b51: :b50: :b51:

บางอย่าง มาจากการประกอบกันขึ้นมาขององค์ธรรมอื่นๆ (เป็นสัมปยุตตปัจจัย - association condition) :b48: :b49: :b48:

หรือบางอย่าง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น (เป็นอัญญมัญญปัจจัย - mutuality condition) :b42: :b47: :b42:

โดยมีอวิชชาหรือโมหะ เป็นเหตุปัจจัยต้นราก (root condition หรือเหตุปัจจโย ข้อแรกในปัจจัย ๒๔ ที่คุ้นเคยกันในการสวดอภิธรรมในงานศพ) :b46: :b39: :b46:

http://84000.org/tipitaka/read/?12/493-495
http://84000.org/tipitaka/read/?16/266
http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=44)


ซึ่งเมื่อย้อนทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท เข้าถึงการ "ตามรู้ทัน" ในเวทนา (หรือ "รู้เท่าทัน" ในตัณหา) ได้แล้ว :b46: :b47: :b46:

ขยายความคือ เมื่อเกิดผัสสะพร้อมกับการเสวยเวทนา เกิดอาการรู้ตามหลังได้ทันในผัสสะเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วนั้นอย่างแท้จริงโดยไม่มีตัณหา ไม่มีอภิชฌากำหนัด ไม่มีโทมนัสขัดเคือง เกิดขึ้น (เพราะมีสติสัมปชัญญะ "รู้เท่าทัน" ในตัณหาเสียแล้ว) :b50: :b49: :b50:

นี่คือการย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ เข้าถึงสภาวะที่มีสติ "สักว่ารู้" และ "รู้ลงในจิต" :b1: :b46: :b39:

ซึ่งถ้าหมั่นเจริญภาวนาจนชำนาญ ก็จะเจอสภาวะของจิตที่สะอาด สว่าง สงบ ปราณีต เบิกบาน ประภัสสร เพราะปราศจากอุปกิเลสใดๆจรเข้ามา .. นั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกเหนือจากนี้ :b1: :b46: :b39:

ถ้ามีอาการ "สักว่ารู้" คือ "ตามรู้ทัน" ในผัสสะเวทนา หรือ "รู้เท่าทัน" ในตัณหา ซึ่งเป็นการย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ โดยปราศจากผู้รู้ มีจิตหาประมาณมิได้อยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเป็นปรกติ จนเป็นกิริยาจิตแล้ว :b46: :b39: :b46:

นั่นคือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ของบุคคลผู้มีความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ตามพุทธพจน์ในมหาตัณหาสังขยสูตรที่เคยโพสท์ไว้ใน rep แรกๆ นั่นเองครับ
:b1: :b46: :b39:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=3

"ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ อย่างนี้."

(เช่นเดียวกับ ได้ยินเสียงด้วยโสต ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ)

มหาตัณหาสังขยสูตร ที่ ๘ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพสำหรับการฝึกโยนิโสมนสิการ เพื่อพิจารณา "รู้" ในวิเสสลักษณะ ๓ ข้อแรก และย้อนทวนขึ้นไปในวงจรของปฏิจจสมุปบาท เพื่อโยนิโสฯให้เห็นในวิเสสลักษณะข้อสุดท้าย หรือเห็นในเหตุใกล้ ปัจจัยก่อนหน้า เพื่อใช้ในการทวนเข้าหาธาตุรู้ และเป็นพื้นฐานของการฝึกสติ "รู้สักว่ารู้", "รู้ลงในรู้", หรือ "รู้ลงในจิต" กันสักนิดนะครับ :b1: :b46: :b39:

ยกตัวอย่างเมื่อมีสภาวธรรมที่เรียกว่า "ความกลัว" เกิดขึ้น เช่น กลัวผี กลัวความมืด กลัวสัตว์ร้าย เมื่อต้องธุดงค์ไปในที่มืดเปลี่ยว หรือต้องอยู่คนเดียว ในที่ที่วิเวก วังเวง มืดมิด :b7: :b5: :b41:

ถ้าใส่ใจพิจารณาด้วยดีในอาการกลัวนั้นแล้ว ก็จะสังเกตเห็นว่า ความกลัว จะมีลักษณะอาการไหวๆ เกิดขึ้นในใจก่อน :b14: :b6: :b5:

คือมีอาการหวั่นไหว ไม่มั่นคง จิตตก ตกใจ ใจหายวูบ ประหวั่น พรั่นพรึง หวาดผวา ฯลฯ ผุดเกิดนำขึ้นในจิต ก่อนที่จะส่งผลให้เกิดอาการทางกายต่อเนื่อง เช่น เหงื่อออก หวิวๆ อึดอัด หายใจลำบาก หน้าซีด ใจสั่น ตัวสั่น มือเท้าเย็น จนถึงกระทั่งวิงเวียน หน้ามืด เป็นลม ถ้ากลัวมากๆเข้า (ซึ่งเป็นการ shut down เพื่อ reset ระบบของร่างกายเขาเอง) :b14: :b5:

แต่ถ้ายังไม่ถึงกับเป็นลม โดยใส่ใจเฝ้าสังเกตเฝ้าพิจารณาด้วยดีโดยแยบคายย้อนยิ่งขึ้นไปอีก ก็จะเห็นว่า .. :b46: :b42: :b46:

ก่อนเกิดอาการกลัวนั้น จะมีอาการคิดฟุ้ง ปรุงแต่ง จินตนาการถึง "สิ่งที่มองไม่เห็น" ขึ้นมาก่อนในหัว เมื่อเกิดผัสสะในอารมณ์ของสภาวะมืดเปลี่ยว โดดเดี่ยว วิเวก วังเวง (เป็นอารัมมณปัจจัย หรือ object condition) :b14: :b14: :b5:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกตัวอย่างสถานการณ์หนึ่ง ซึ่งวิสุทธิปาละเคยใช้เป็นที่ทดลองฝึกในอดีต เพื่อศึกษาลักษณะอาการ กระบวนการ และปัจจัยของ "ความกลัว" ที่เกิดขึ้นในจิต :b5: :b5: :b6:

คือเมื่อมีโอกาสไปเที่ยวแพที่พักหรือรีสอร์ท ที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำที่ลึกเข้าไปในป่าเหนือเขื่อน ห่างไกลผู้คน ชุมชน หรือรีสอร์ทอื่น :b46: :b41: :b41:

ตอนกลางวันสว่างสดใส ผู้คนบนแพที่พัก ก็มักจะกระโดดลงไปเล่นน้ำ ดำผุดดำว่าย จากที่ใกล้ๆ ค่อยๆลอยคอหรือพายเรือออกไปสำรวจกันไกลๆ ด้วยความสนุกสนาน สดชื่น ตื่นตาตื่นใจ :b11: :b4: :b46:

แต่ในยามค่ำคืนอันมืดมิด ดึกสงัด น้ำในเขื่อนที่นิ่งสงบ ดูวังเวง มืดลึก และเย็นเฉียบ มองไม่เห็นก้น พร้อมกับแนวป่าที่ตะคุ่มๆอยู่บนฝั่ง :b14: :b5: :b6:

การลงไปพายเรือ หรือแหวกว่ายในน้ำ ลอยคออยู่คนเดียว โดยมีแค่เสื้อผ้า ชูชีพ และนกหวีดที่ติดตัวไปด้วย ในสภาวะแวดล้อมที่ดำมืด ทั้งส่วนครึ่งโค้งวงกลมบนท้องฟ้าที่เวิ้งว้างว่างเปล่า และส่วนครึ่งโค้งลงล่างในหุบเก่าใต้น้ำที่มืดมิด เย็นเฉียบ ลาดลึกลงไปหลายสิบเมตร :b14: :b5:

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเขตแดนของจิตใจ จะต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงกับเมื่อตอนกลางวัน
:b14: :b5:

ความฟุ้งซ่าน ความกลัว จะค่อยๆผุดพรายเกิดขึ้น .. :b14: :b5:

และยิ่งเริ่มลอยคอห่างออกจากแพที่พัก ... ไกลออกไป ...ไกลออกไปเรื่อยๆ ... ก็จะเริ่มเห็นความกลัว ค่อยๆผุดพรายขึ้นมาในจิต มากขึ้น .. มากขึ้น ... ตามลำดับ :b14: :b14: :b5: :b5:

ซึ่งถ้าขณะนั้นยังมีกะจิตกะใจที่จะโยนิโสมนสิการ จะเห็นเลยนะครับว่า ก่อนที่จะเกิดอาการกลัวขึ้นมาได้นั้น จะมีอาการคิดปรุง ฟุ้งซ่าน จินตนาการถึง "สิ่งที่มองไม่เห็น" เป็นภาพผุดเกิดขึ้นในจิต :b10: :b14: :b5:

ทั้งที่อาจจะโผล่มาจากความมืดมิดบนท้องฟ้า หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่อาจจะดำมุดผุดว่ายอยู่ใต้น้ำ หรือความมืดมิดด้านหลังที่มองไม่เห็น :b14: :b5:

นอกจากนี้ อาจจะจินตนาการต่อไปอีกได้ว่า "สิ่งที่มองไม่เห็น" นั้น อาจจะว่ายเข้ามาชน, งับเข้าที่ขา, หรือโผล่พรวดพราดขึ้นมาบนผิวน้ำ ให้เสียวสยองมากขึ้นไปอีก :b14: :b14: :b5: :b5:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งเป็นเรื่องที่จิต แต่ง ปรุง ฟุ้ง คิด จินตนาการภาพขึ้นมาจากความจำได้หมายรู้หรือสัญญาเก่า เช่น จากในภาพยนตร์หรือสารคดีที่เกี่ยวกับผีๆ หรืออสูรใต้น้ำที่เคยดู ขึ้นในจิตในใจก่อน :b14: :b5:

(ทั้งๆที่เมื่อตอนกลางวันที่ลงไปเล่นน้ำในตำแหน่งเดียวกัน ไม่ยักเกิดอาการคิดฟุ้งปรุงแต่งอย่างที่ว่า) :b10: :b5: :b6:

ค่อยๆสะสม .. สะสม .. ความคิดฟุ้งปรุงแต่ง ถึงภูติผีหรือสัตว์ร้ายใต้น้ำขึ้นไปเรื่อยๆ จนความกลัวเกิดขึ้นจากน้อยๆ แล้วค่อยๆมากขึ้น .. มากขึ้น .. ตามดีกรีของอาการฟุ้งที่แรงขึ้น .. แรงขึ้น .. :b14: :b14: :b5: :b5:

สะสมเป็นอาการวิตกกังวล ไม่มั่นคง ประหวั่นพรั่นพรึง หวาดผวา จากในจิต จนกระทั่งส่งผลออกมาถึงกาย .. ที่มือเท้าเริ่มเย็นและหดกลับเข้ามาใกล้ตัวโดยอัตโนมัติ .. ใจที่เริ่มสั่นหวิวๆขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ :b14: :b14: :b5: :b5:

ซึ่งถ้าจะเรียงขบวนการที่เกิดขึ้น เป็นวิถีจิตในวงจรของปฏิจจสมุปบาทอย่างคร่าวๆแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า :b1: :b46: :b39:

เมื่อเริ่มเกิดผัสสะกับสภาวะดำมืดเย็นเฉียบในน้ำแบบจุ่มแช่ลงไปทั้งตัวดังกล่าว ผ่านทางทวารทั้ง ๕ (ปัญจทวารวิถี) โดยเฉพาะทางตา, หู, และกายสัมผัส ในวงจรปฏิจจฯ ชุดแรก :b42: :b42: :b42:

โดยแรกๆที่เริ่มลงไปในน้ำ จิตอาจจะเกิดความรู้สึกเฉยๆกับผัสสะนั้น (อุเบกขาอกุศลวิบากจิต) แต่เมื่อเริ่มว่ายออกไป ผัสสะนั้นจะเริ่มกระตุ้นให้จิต ดึงสัญญาเก่ามาใช้ในการคิดจินตนาการถึงสิ่งต่างๆที่มองไม่เห็น (เกิดกรรมภพ ในมโนทวารวิถี) ซึ่งเกิดขึ้นในวงจรปฏิจจฯ ชุดต่อมา :b42: :b42: :b42:

จากนั้น ความคิดฟุ้งถึงสิ่งที่มองไม่เห็นนั้น จะเป็นตัวการสร้างภพขึ้นในจิต ผลักดันให้เกิดผัสสะทางมโนทวาร (ธรรมารมณ์ ในมโนทวารวิถี) คือภาพทางจินตนาการ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความกลัว หรือโทสมูลจิตเกิดขึ้น ในวงจรปฏิจจฯ ชุดต่อเนื่องมาอีก :b42: :b42: :b42:

และในวงล้อของภวจักร หรือการหมุนของปฏิจจฯ หลายต่อหลายวง ที่เริ่มจาก ผัสสะ --> ไปสู่การคิดฟุ้งปรุงแต่ง --> จนเกิดความกลัวขึ้นมานั้น ก็จะวนๆเวียนๆ สะสมอาการกลัวเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือนพายุหมุนที่สะสมพลังงานเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้ายังมีผัสสะเดิม มโนสัญญเจตนาเดิม และวิญญาณรับรู้เดิมๆ เป็นอาหารป้อนความกลัวอยู่ :b42: :b42: :b42:

จนกว่าจะมีสติ หรือผัสสะใหม่เข้ามาตัดกระแส :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2012, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยในกระแสของวงจรปฏิจจฯ ที่เกิดหมุนวนขึ้นมานี้ ถ้าจิตเฝ้าพิจารณาสังเกต และเรียนรู้ได้ในความคิด ฟุ้ง ปรุง แต่ง ซึ่งเป็นปัจจัยก่อนหน้าที่ทำให้เกิดความกลัว จนจิตจดจำสภาวะ คือความคิดฟุ้งที่ผุดขึ้นมาก่อนนั้นได้แล้ว :b46: :b42: :b46:

นั่นคือ จิตจะเกิดปัญญารู้ว่า ถ้าจิต เริ่มคิด ฟุ้ง ปรุง แต่ง จินตนาการไปในเรื่องผี หรือสิ่งที่มองไม่เห็นแล้วละก็ ไม่นานความกลัวก็จะเกิดขึ้น :b14: :b14: :b5:

และย้อนขึ้นไปอีก คือเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ หรือเริ่มเกิดผัสสะกับอารมณ์ (อารัมมณปัจจัย - object condition) คือสิ่งแวดล้อมแบบวิเวกวังเวง ที่ทำให้เกิดอาการคิดฟุ้งถึงสิ่งที่มองไม่เห็นขึ้นมาอีกเมื่อไร สติสัมปชัญญะ ก็จะตรวจจับ หรือ detect ได้กับความคิดฟุ้ง ทวนขึ้นไปถึงผัสสะ ก่อนที่ "อาการกลัว" จะเกิดขึ้น :b46: :b39: :b46:

หรือถ้าสติสัมปชัญญะยังไม่แก่กล้า ยังปรากฏอาการ "กลัว" วนเวียนเกิดขึ้น .. ปริมาณ ความเข้มข้น หรือ degree ของความกลัวนั้น ก็จะไม่รุนแรงมากนัก เทียบกับคนที่ไม่ได้ฝึกสติสัมปชัญญะมา :b1: :b46: :b39:

(โดยตรงนี้ ถ้าแทนที่คำว่า "กลัว" ด้วยคำว่า "โกรธ" ซึ่งอยู่ในหมวดปฏิฆะ คือการกระทบกระทั่ง ไม่ชอบในสภาวะ อยากผลักออกจากตัวเหมือนกัน :b34: :b33:

หรือแทนที่ปฏิฆะ ด้วยกิเลสตัวที่ตรงกันข้ามคือ "ราคะ" ได้แก่การชอบ ติดใจในสภาวะ อยากดึงเข้าหาตัวแล้ว :b22: :b22:

ก็จะอธิบายได้ในทำนองเดียวกันว่า การที่ฝึกโยนิโสฯจนเห็นในเหตุปัจจัยก่อนหน้า คือความแต่ง ปรุง ฟุ้ง คิด ไปใน วิหิงสาวิตก พยาบาทวิตก และกามวิตก จนเกิดสติอัตโนมัติเข้ามาตัดตัวอาการวิตก คือ อาการแต่ง ปรุง ฟุ้ง คิด นั้น ก่อนที่จะเกิดกิเลส หรือก่อนที่กิเลสจะสะสมพลังงานขึ้นมาจนคุมไม่ได้แล้ว :b46: :b47: :b46:

การฝึกตรงนี้ จะเป็นการฝึกที่สำคัญมาก หรือเป็น key practice ในการภาวนาเพื่อเข้าสู่อนาคามี ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในช่วงที่เกี่ยวข้องนะครับ) :b46: :b39: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 30, 31, 32, 33, 34, 35, 36 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร