วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 09:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2012, 21:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:

:b12:
พึงวางความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทและความรู้ทางปริยัติหรือทฤษฎีทั้งหมด แล้วลงมือพิสูจน์ธรรมด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือสติปัฏฐาน 4 หรือมรรค 8 หรือ ปัจจุบันอารมณ์ซึ่งจะนำไปสู่ผลอันเดียวกัน

ตอนทำวิปัสสนาภาวนา ความรู้ทางปริยัติทั้งหมดจะมากลายเป็นอุทธัจจะนิวรณ์ กางกั้นคุณไว้ และหลอกคุณให้หัวหมุน มัววิตกวิจารณ์ธรรม เทียบธรรมจากสภาวะกับธรรมในตำราอยู่ไม่รู้จบสิ้น

ตอนทำวิปัสสนาภาวนา ความนึกคิดปรุงแต่งต้องหยุดโดยเด็ดขาดเป็นการชั่วคราว คุณถึงจะได้สัมผัสสภาวธรรม ปรมัตถธรรม สัจจธรรมแท้ๆที่จะมาเอหิปัสสิโก ดึงจิตคุณไปดูไปรู้ไปสังเกตและตั้งมั่นอยู่ที่ปัจจุบันอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ๆหมดความคิดนึกปรุงแต่งไปชั่วคราว

ความรู้และเข้าใจซาบซึ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยภาวนามยปัญญาเขาจะเกิดขึ้นตามมาเองโดยอัตโนมัติ เมื่อโสดาปัตติมรรคทำงานเสร็จเข้าถึงโสดาปัตติผล แล้วลงท้ายด้วยปัจจเวกขณญาณ จบปัจจเวกขณญาณ ปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจจสมุปบาทของจริงเขาจะเกิดตามมาเอง ครับ

:b27:
เจริญสุข เจริญธรรมนะครับ
ขออภัยหากมาขัดจังหวะเรื่องที่กำลังสนทนากันอยู่

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับข้อแนะนำที่ให้กับมิตรทางธรรมทุกท่านด้วยครับ :b8: :b1:

ข้อธรรมในส่วนที่แสดงสภาวะ หรือผลที่เป็นไปนั้น อาจจะมีจำนวนมาก :b46: :b47: :b46:

แต่ข้อธรรมในส่วนที่แสดงทางเดิน หรือเหตุที่ต้องทำในภาคปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่โลกุตระนั้น จริงๆแล้ว มีไม่มากเลย คือแค่ สมถะ กับวิปัสสนา :b47: :b48: :b49:

และส่วนที่ใช้เป็นพละกำลังในการขับเคลื่อนเดินทาง จริงๆก็มีไม่มากเช่นกัน คือแค่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา :b48: :b47: :b46:

แค่นั้นเองจริงๆ :b1: :b46: :b39:

แต่สิ่งที่ชนส่วนมากเห็นว่ายาก ก็เพราะยังติดข้องอยู่กับตัณหา ที่ประกอบไปด้วยความกำหนัด ความพอใจ ความเพลิดเพลินในอารมณ์ทางโลก ซึ่งมีแรงดึงดูดมหาศาล ให้ชนทั้งหลายเหล่านั้น ไม่สามารถทวนกระแสกิเลสความอยากของตนให้หลุดพ้นออกไปจากวัฏฏะได้ ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในภพทั้ง ๓ ซึ่งเป็นเหตุนำพาไปสู่ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และความไม่ได้ตามปรารถนา ซึ่งก็คือ ความยึดติดถือมั่น (อุปาทาน) ในขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ ความทุกข์ทั้งมวล อยู่นั่นเอง :b47: :b48: :b46:

เพราะความติดเพลินในอารมณ์ทางโลกซึ่งประกอบด้วยกามสุขและฌานสุข กับความทุกข์ทั้งมวลตามที่ได้ไล่เรียงมานั้น เกาะคู่และเป็นเหตุปัจจัยในการดำรงค์อยู่ซึ่งกันและกัน (วงจรปฏิจจสมุปบาท) เหมือนกับหน้าตรงข้ามทั้งสองของเหรียญๆเดียวกัน :b48: :b50: :b49:

เมื่อหยิบเหรียญนั้นขึ้นมา ก็จะต้องติดมาด้วยกันทั้งสองหน้า :b46: :b47: :b46:

จะเอาหน้าหนึ่ง แล้วไม่เอาอีกหน้าหนึ่งนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้ :b46: :b39: :b46:

แต่ชนส่วนใหญ่ทั้งหลาย ชอบสุข เกลียดทุกข์ :b49: :b50: :b51:

ดังนั้น วิธีเดียวที่จะไม่เอาเหรียญหน้าที่เป็นทุกข์ ก็คือ ต้องไม่หยิบเหรียญนั้นๆขึ้นมาอีก :b49: :b50: :b49:

ซึ่งก็หมายถึง การที่จะต้องละอีกหน้าของเหรียญ ที่เป็นความสุข ความติดเพลินในอารมณ์ทั้งหลายของโลกลงไปด้วย
:b38: :b37: :b39:

และหลังจากละทั้งสองหน้าลงไปได้แล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา ก็คือความหลุดพ้นจากโลก ซึ่งมีสภาวะของความเป็นอิสระ เบิกบานอย่างมากมายมหาศาล ปรากฏแจ้งขึ้นในจิต :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งวิธีที่จะละทั้งสองหน้านั้น ก็คือ มรรค ๑ ซึ่งมีองค์ ๘ ว่าโดยรวมแล้วได้แก่สมถะและวิปัสสนาภาวนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง นั่นเอง :b46: :b39: :b46:

แต่การจะภาวนาในมรรคให้ถูกต้องได้นั้น จะต้องผ่านการเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องเสียก่อน นั่นก็คือการศึกษาในภาคส่วนของปริยัติ หรือแผนที่ที่จะใช้เดินทาง :b46: :b46: :b41:

ซึ่งอาจมาในรูปของการอ่าน หรือการฟังธรรมะ (สุตมยปัญญา) ทั้งในรูปแบบของการใช้ภาษาพื้นๆย่อยง่ายเข้าใจง่ายแบบพระป่า หรือในรูปแบบที่เป็นบาลีวิชาการแบบพระเมือง ก็ได้ :b47: :b48: :b47:

โดยการศึกษาภาคปริยัตินั้น จะต้องตั้งท่าทีในการศึกษาให้ตรงเสียตั้งแต่ทีแรกก่อนว่า เป็นการศึกษาปริยัติ เพื่อมุ่งไปสู่การปฏิบัติให้รู้แจ้ง คือปฏิเวธ :b51: :b53: :b51:

ไม่ใช่การศึกษาปริยัติ เพื่อใช้คิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผลและตรรกะหรือจินตนาการถึงสภาวธรรม กระบวนธรรมที่เป็นไป ซึ่งนำไปสู่การฟุ้งในธรรม :b47: :b48: :b46:

และถ้าตรรกะหรือจินตนาการนั้น ลงได้ด้วยเหตุผลส่วนตน หรือภาพที่สร้างไว้ขึ้นก่อนในหัวแล้ว จะกลับกลายเป็นการยึดมั่นถือมั่นในเหตุในผล หรือในจินตนาการนั้นๆ จนเกิดมานะอัตตาหนาแน่นขึ้นไปอีก :b42: :b47: :b46:

คือในการศึกษาภาคปริยัตินั้น จะต้องเน้นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษา (ที่มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า สิกขา) :b48: :b47: :b49:

ก็คือการนำความรู้จากการอ่านหรือฟังนั้น ไปคิดพิจารณาโดยแยบคายจนเกิดศรัทธา และเข้าใจใน "วิธีปฏิบัติ" (จินตามยปัญญา) :b46: :b47: :b46:

และที่สำคัญที่สุด ต้อง "ลงมือฝึกปฏิบัติ" เพื่อเรียนรู้และขัดเกลากิเลส จนรู้แจ้งเห็นจริงในกิเลสแลทุกข์ทั้งหลาย รวมถึงสภาวธรรมต่างๆที่ถูกบันทึกจากประสบการณ์ปฏิบัติของพระบรมครูและสาวกผู้ทรงคุณ ซึ่งก็คือภาคปริยัตินั้น ด้วยตนเอง (ภาวนามยปัญญา) :b46: :b39: :b46:

ไม่ใช่อ่านหรือฟังธรรมแล้ว นำมาขบคิดด้วยเหตุผลและตรรกะจน "คิดว่า" ตนเข้าใจ "ในกระบวนธรรมนั้นๆ" :b49: :b50: :b49:

หรือเอาความรู้ปริยัติที่ "จำได้" นั้น ไปจินตนาการภาพ และจ้องดักเพื่อให้เห็นธรรม หรือกระบวนธรรมนั้นๆด้วยความ "อยาก" ในขณะภาวนา :b47: :b46: :b47:


ซึ่งเหมือนกับการอ่านแผนที่แล้วจินตนาการเส้นทางและจุดหมายปลายทาง หรือจ้องดักเพื่อให้เห็นภาพที่คิดจินตนาการ โดยที่ไม่ทดลองออกเดินทาง หรือลองปฏิบัติ จนรู้แจ้งเห็นจริง "ด้วยใจเป็นกลาง" ด้วยตนเอง :b49: :b50: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้จากการอ่านหรือการฟัง ในส่วนของปฏิจจสมุปบาททั้ง ๑๒ ข้อ ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๖ ภูมิที่ใช้เป็นองค์พิจารณาขณะปฏิบัติวิปัสสนา (วิปัสสนาภูมิ ๖) :b1: :b42: :b39:

ถ้าจะให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงแล้ว จะต้องเป็นการเรียนรู้เพื่อให้เกิดศรัทธา และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้องให้ได้
:b48: :b49: :b48:

คือ ไม่ใช่ว่า จะอ่านหรือฟังปฏิจจสมุปบาท แล้วให้ "คิด" ด้วยเหตุผลและตรรกะ จน "คิดว่า" ตนเข้าใจในกระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาททั้งสายอย่างแจ่มแจ้ง สามารถอธิบายแต่ละสภาวะธรรม พร้อมเหตุและผลของกระบวนธรรมได้เป็นฉากๆ .. :b6: :b7: :b23:

แต่เบื้องลึกแล้ว ยังไม่สามารถลดละเลิกกิเลสได้ซักตัว แถมยังแบกตำราพอกพูนอัตตาเพิ่มขึ้นไปอีกว่า กูเก่ง กูรู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทแล้ว (แต่ "กู" รู้ไม่ทันกิเลสที่แฝงอยู่ใน "กู" ซักตัว) :b6: :b34: :b23:

(ขอโทษด้วยครับ ที่ใช้ศัพท์พ่อขุนให้เห็นภาพ) :b46: :b39: :b46:

หรือเวลาปฏิบัติภาวนา ก็พยายามเพ่งจ้องการเกิดขึ้นของขบวนการ โดยที่มีสัญญาคือความจำได้หมายรู้ในวงจรปฏิจจสมุปบาทที่ได้อ่านและจำมาเป็นตัวตั้ง แล้วเทียบเคียงการเกิดขึ้นจากของจริงว่า นี้คือผัสสะ นี้คือเวทนา นี้คือตัณหา ฯลฯ :b48: :b49: :b48:

ซึ่งเป็นวิธีการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทที่ได้ประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เต็มที่ เพราะไม่นำพาไปสู่ความเบื่อหน่ายคลายการติดเพลินในโลก :b49: :b50: :b51:

ส่วนวิธีที่ได้ประโยชน์มากขึ้นไปอีก ก็คือ การอ่านการฟังขบวนการของปฏิจจสมุปบาท แล้วคิดเชื่อมโยงเข้ากับวิธีปฏิบัติที่นำไปสู่ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในโลกให้ได้ :b48: :b47: :b46:

โดยตรงนี้ ถ้าผู้อ่านผู้ฟังยังไม่มีปัญญาพอที่จะคิดเชื่อมโยงเข้ากับวิธีปฏิบัติโดยแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการได้ ก็คงต้องอาศัยความรู้จากผู้อื่น (ปรโตโฆสะ) เช่นวิปัสสนาจารย์ หรือครูบาอาจารย์ เป็นผู้เชื่อม หรือชี้ช่องทางให้ :b48: :b49: :b50:

ซึ่งครูบาอาจารย์ผู้ชี้ช่องทางอย่างในสายวัดป่า อาจจะใช้ภาษาพื้นๆชนิดที่ผู้ฟังอาจจะดูไม่ออกเลยว่า นั่นคือการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทในภาคปฎิบัติ :b39: :b46: :b41:

ลองศึกษาวิธีการที่องค์หลวงปู่ชาท่านสอนลูกศิษย์ฝรั่งดูนะครับ บางครั้ง ไม่ได้ใช้คำพูดเลยด้วยซ้ำ แต่ลูกศิษย์ฝรั่งของท่านก็เข้าใจวิธีปฏิบัติได้อย่างแจ่มแจ้ง :b48: :b49: :b54:

และนั่นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนที่สุด ในการชี้ช่องทางเดินโดยที่ผู้เป็นศิษย์ ไม่รู้สักนิดเลยว่าคือปฏิจจสมุปบาท :b49: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการชี้ช่องทาง หรือชี้จุดในวงจรปฏิจจสมุปบาทให้ลูกศิษย์พิจารณานั้น เท่าที่เห็นมา วิปัสสนาจารย์ทุกท่านมักจะยกองค์ธรรมจาก ๑๒ ข้อของปฏิจจสมุปบาท มาให้พิจารณาแค่ข้อเดียวในขณะที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันธรรม :b46: :b39: :b46:

เพราะการพิจารณาทั้ง ๑๒ ข้อ โดยพิจารณารวดทั้งสายทีละข้อต่อข้อ ไม่สามารถทำได้โดยง่าย เพราะการเกิดขึ้นของทั้ง ๑๒ ข้อจนจบครบวงจร เป็นไปด้วยความรวดเร็วอย่างยิ่ง ตามรู้ตามดูไม่ค่อยทันหรอกครับ :b1: :b41: :b41:

พิจารณาแค่ข้อเดียวที่เด่นขึ้นมาเป็นปัจจุบันธรรม จะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ง่ายกว่า :b38: :b37: :b39:


และด้วยการหมั่นเพียรพิจารณาองค์ธรรมเพียงแค่ข้อเดียวที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันไปเรื่อยๆนั้นแหละ ในขณะที่จิตเกิดความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของข้อเดียวนั้นอย่างแจ่มแจ้ง จนเกิดกระบวนการรู้แจ้ง "วาบ" เข้ามาถึงจิตถึงใจภายในชั่วขณะจิตแล้วละก็ :b1: :b46: :b47: :b46:

เมื่อนั้น การรู้แจ้งนั้นก็จะนำพาให้รู้แจ้งในองค์อื่นๆที่เหลือ ที่ร้อยเรียงอยู่บนกระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาททั้งสาย อย่างแจ่มแจ้งไปด้วย :b39: :b39: :b39:


เหมือนกับการพิจารณาแค่ลูกปัดลูกเดียวจากทั้งหมด ๑๒ ลูกที่เรียงร้อยอยู่บนวงเดียวกันนะครับ :b42: :b42: :b42:

ในขณะจิตที่เกิดความเห็นแจ้งวาบเข้ามาในการพิจารณาเพียงลูกเดียวนั้น ปัญญาที่สว่างวาบนั้น ก็จะส่องสว่างทำให้เกิดการเห็นในลูกก่อนหน้า และลูกถัดไปเรื่อยๆ จนเห็นครบหมดทั้งสายที่เรียงร้อยอยู่บนวงเดียวกันนั้น นั่นเอง :b1: :b46: :b39: :b46:

ซึ่งถ้าจะไล่เรียงลูกปัดทั้ง ๑๒ ลูกของวงจรปฏิจจสมุปบาท ที่ถูกร้อยอยู่บนวงเดียวกันนั้นแล้ว :b39: :b46: :b47:

ในส่วนของ อวิชชา - สังขาร - วิญญาณ - นามรูป - สฬายตนะ จะเป็นส่วนของลูกปัดที่ดูได้ยากในขณะที่เกิดขึ้น :b49: :b50: :b49:


ดังนั้น วิปัสสนาจารย์ทั้งหลาย จึงมักชี้ให้ลูกศิษย์พิจารณาลูกปัดที่ดูได้ง่ายกว่า :b46: :b39: :b46:

คือในส่วนของ ผัสสะ - เวทนา - ตัณหา - อุปาทาน - ภพ - ชาติ - ชรามรณะทุกข์ :b49: :b48: :b49:


ซึ่งแล้วแต่ว่า วิปัสสนาจารย์แต่ละท่าน จะถนัดในการสอนให้ลูกศิษย์ดูองค์ธรรมในส่วนใด และลูกศิษย์นั้น มีจริตที่เหมาะสมในการพิจารณาองค์ธรรมใด หรือในปัจจุบันขณะนั้น มีองค์ธรรมใด เด่นชัดขึ้นมาให้สติตรวจจับได้ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างเช่น :b46: :b41: :b41:

วิปัสสนาจารย์บางท่าน ก็อาจจะยกในส่วนของผัสสะเข้ามาให้ศิษย์พิจารณาในขณะที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ :b46: :b39: :b46:

คือ เมื่อเกิดผัสสะก็ให้รู้อาการต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งกายและใจอย่างซื่อๆลงในไตรลักษณ์ (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณาเห็นความเกิด ความเสื่อม ทั้งความเกิดและความเสื่อม ในกาย) :b46: :b47: :b46:

เช่น หายใจเข้าออก ก็ให้รู้ซื่อๆ (อานาปานสติบรรพ) เดินจงกรม ก็ให้รู้ซื่อๆ (อิริยาบถบรรพ) ขยับมือตามจังหวะ ดูท้องพองยุบ ก็ให้รู้ซื่อๆ (สัมปชัญญบรรพ) เกิดผัสสะแล้ว เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ไหล เกาะกุม ก็ให้รู้ซื่อๆ (ธาตุมนสิการบรรพ) ฯลฯ :b46: :b42: :b46:

ซึ่งเมื่อรู้ซื่อๆไปเรื่อยๆ ก็จะพิจารณาเห็นว่า จิตที่ทำหน้าที่วิญญาณคือผู้รู้ กับผัสสะที่เกิดขึ้น ก็เป็นกระบวนธรรมหนึ่งที่ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้น เกิดดับสืบเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในขณะที่เกิดปัญญาเห็นวาบขึ้นนั้น ฯลฯ :b50: :b51: :b50:

หรือบางท่าน ก็อาจจะยกในส่วนของเวทนาเข้ามาให้ศิษย์พิจารณาในขณะที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) :b48: :b47: :b46:

เช่น เมื่อนั่งสมาธินานๆ เห็นเวทนาเกิดขึ้น (โดยเฉพาะทุกข์เวทนา) ก็ให้ตามรู้ตามดู จนเข้าในในธรรมชาติของเวทนาว่า :b54: :b49: :b50:

จิตที่ทำหน้าที่วิญญาณรู้ กับกาย และเวทนา ก็เป็นกระบวนธรรมหนึ่งที่ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้น เกิดดับสืบเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในขณะที่เกิดปัญญาวาบเห็นขึ้นนั้น ฯลฯ :b42: :b46: :b39:

ขยายความคือ เมื่อแยกจิตออกจากเวทนาทางกาย (นามรูปปริจเฉทญาณ) เช่น นั่งสมาธิแล้วค่อยๆปวดขาขึ้นเรื่อยๆจนหายปวด ถ้ามีสติสมาธิที่ตั้งมั่นดีพอแล้ว ก็จะสามารถแยกจิตออกเป็นผู้รู้ผู้ดูที่อยู่นิ่งเฉย ส่วนความปวดจะอยู่แค่ที่ขา ใจไม่เข้าไปปวดด้วย ใจแยกจากปวดนิ่งเฉยรู้อยู่ :b46: :b47: :b46:

ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนเข้าในในธรรมชาติของจิต กาย และเวทนา (ปวด) ว่า จิต กาย และเวทนา ก็เป็นธรรมที่ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้น เกิดดับสืบเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในขณะที่เกิดปัญญาวาบเห็นขึ้นนั้น ฯลฯ :b49: :b39: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 29 ต.ค. 2012, 01:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือบางท่าน ก็อาจจะยกในส่วนของตัณหา อุปาทาน หรือความยึดอยากเข้ามาให้ศิษย์พิจารณาในขณะที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ ไม่ว่าจะ ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ไม่ว่าจะ มี หรือ ไม่มี อยู่ในจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน) :b46: :b47: :b46:

ซึ่งเมื่อรู้ตรงนี้ลงในสามัญลักษณะไปเรื่อยๆ ก็จะพิจารณาเห็นว่า จิตที่ทำหน้าที่วิญญาณคือผู้รู้ กับตัณหาอุปาทาน (หรือสังขารขันธ์) ที่เกิดขึ้น ก็เป็นกระบวนธรรมหนึ่งที่ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้น เกิดดับสืบเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในขณะที่เกิดปัญญาเห็นวาบขึ้นนั้น ฯลฯ :b43: :b44: :b49:

หรือบางท่าน ก็อาจจะยกในส่วนของภพ (คือกรรมภพ โดยเฉพาะ มโนกรรม) เข้ามาให้ศิษย์พิจารณาในขณะที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ เช่น เมื่อกายเคลื่อนไหว ใจหลงคิด (อุทธัจจะ นีวรณบรรพ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ก็ให้รู้ทันใจที่หลงคิดไปนั้น ดูการเกิดขึ้นและเสื่อมไป ลงในสามัญลักษณะ :b50: :b51: :b50:

(การรู้ทันความคิดหรือวิตกนี้ มีประโยชน์อย่างมากในการฝึกเพื่อกำจัดกามราคะและปฏิฆะอย่างเด็ดขาดในระดับของอนาคามีมรรคบุคคลนะครับ .. แล้วจะขยายรายละเอียดต่อเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมอีกที) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งเมื่อรู้ตรงนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะพิจารณาเห็นว่า จิตที่ทำหน้าที่วิญญาณคือผู้รู้ กับความคิด (สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์) ซึ่งก็คือมโนกรรมในส่วนของกรรมภพที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นกระบวนธรรมหนึ่งที่ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้น เกิดดับสืบเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในขณะที่เกิดปัญญาเห็นวาบขึ้นนั้น ฯลฯ :b42: :b41: :b46:

หรือบางท่าน ก็อาจจะยกในส่วนของทุกข์เข้ามาให้ศิษย์พิจารณาในขณะที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ เช่น เมื่อใจทุกข์ ก็ให้รู้ทุกข์ คืออาการที่จิตถูกบีบคั้นนั้นลงไปตรงๆ โดยไม่ไปใส่ใจเหตุ จนเห็นทุกข์หรือความบีบคั้นนั้นเสื่อมและดับลงไป (สัจจบรรพ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) :b51: :b54: :b49:

ซึ่งเมื่อรู้ตรงนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นว่า จิตที่ทำหน้าที่วิญญาณคือผู้รู้ กับความบีบคั้น หรือสภาวะทุกข์นั้น ก็เป็นกระบวนธรรมหนึ่งที่ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้น เกิดดับสืบเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในขณะที่เกิดปัญญาเห็นวาบขึ้นนั้น ฯลฯ :b49: :b50: :b51:

ฯลฯ

และอย่างที่กล่าวไว้แล้วนะครับ การที่ผู้ปฏิบัติ เพียรมีสติและสมาธิ พิจารณาองค์ธรรมของปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ลงในสามัญลักษณะเพียงแค่องค์เดียวไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญญาเบื่อหน่ายคลายจางความยึดติดถือมั่นในโลก เพราะเห็นสิ่งทั้งมวลไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ของๆตน ไม่ใช่ตน ไม่มีอะไรเป็นตน :b55: :b49: :b41:

จนกระทั่งในขณะจิตที่เกิดมรรคผล ก็จะเกิดภาวนามยปัญญา ที่เป็นโลกุตรปัญญา แจ้งในความเป็นเหตุเป็นผล เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ทั้งในการเกิดและการดับ ขององค์ธรรมต่างๆในวงจรปฏิจจสมุปบาททั้ง ๑๒ ข้อ ได้ทั้งหมดภายในวาบจิตเดียว :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อในส่วนของสติที่ค้างกันไว้ครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ก่อนอื่น ขอเพิ่มเติมในส่วนของการฝึกสติ รู้สักว่ารู้ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดไว้สักเล็กน้อย :b47: :b48: :b49:

ที่วิสุทธิปาละกล่าวไว้ว่า "การฝึกสติแบบ "รู้แล้วผ่าน" นี้ วิสุทธิปาละไม่แนะนำให้ฝึก สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเข้าถึงสภาวะของการฝึกสติ จนเกิดตัว "ผู้รู้" อย่างแนบแน่น" นั้น :b48: :b49: :b48:

กรณีนี้ หมายความถึง การฝึกสติ "รู้สักว่ารู้" แบบที่มีอาการคือ (๑) ไม่ปรุงแต่งต่อ และ (๒) ไม่มีผู้รู้ปรากฏ มีเพียง สภาพรู้ แผ่ผ่านออกไปไม่มีประมาณ
:b55: :b49: :b50:

ไม่เกี่ยวกับการฝึก "รู้สักว่ารู้" แบบ "รู้ลงในจิต" หรือ "รู้ลงในรู้" หรือ "รู้แบบซื่อๆ" นะครับ
:b50: :b51: :b50:

เพราะในสภาวะ "รู้สักว่ารู้" แบบ "รู้แล้วผ่าน" ของกรณีแรก ถ้าผู้ปฏิบัติไม่เคยเจอสภาวะ "รู้" ชนิดที่ไม่มีผู้รู้ปรากฏ หรือสภาวะสุญญตาของจริงแล้ว การฝึกปฏิบัติ จะกลายเป็นการจินตนาการ หรือ clone สภาวะสุญญตาขึ้นมา ซึ่งเป็นการสร้างภพใหม่ คือภพแห่งความว่างขึ้นมา และอาจจะเข้าไปติดกับดักในวิปัสสนูปกิเลสได้ :b48: :b49: :b48:

ส่วนในกรณีหลัง คือในสภาวะ "รู้สักว่ารู้" โดย "รู้ลงในจิต" นั้น ได้แก่ (๑) รู้แล้วไม่ปรุงแต่งต่อ แต่ (๒) ยังมีผู้รู้ปรากฏ :b55: :b49: :b50:

ซึ่งเป็นการฝึกสติในระดับกลางตามที่กล่าวไว้ และปุถุชนหรือโสดาบันบุคคลก็ฝึกได้เหมือนกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นเพื่อให้เกิดอธิศีลข้อสติสัมปชัญญะและอินทรียสังวร เบื้องกลางเพื่อให้เกิดอธิจิตข้อสัมมาสมาธิ และในเบื้องปลายเพื่อให้เกิดอธิปัญญารู้ลงในอริยสัจจ์ นะครับ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากคราวที่แล้ว ที่กล่าวถึงการฝึกสติในเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย :b46: :b47: :b46:

ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง จิตที่ขาดสติ, จิตที่รู้ลงในการไหว, จิตที่รู้ลงในรู้, และจิตที่รู้แล้วผ่าน หรือสักว่ารู้แบบไร้ตัวไร้ตน เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆ :b46: :b39: :b46:

เช่น ในขณะที่เรานั่งอยู่ในสวนสาธารณะ มองดูผู้คนหลากหลายที่กำลังวิ่งออกกำลังกายผ่านใกล้เข้ามา :b51: :b53: :b51:

จู่ๆ ก็สังเกตเห็นสาวสวยหุ่นดี (กรณีที่ผู้มอง คือผู้ชาย) หรือหนุ่มหล่อมาดแมน (กรณีที่ผู้มอง คือผู้หญิง) ปะปนอยู่ในกลุ่มผู้คนที่กำลังวิ่งเข้ามานั้น :b46: :b39: :b46:

ถ้าไม่มีการฝึกสติ จิตของผู้มอง ก็มักจะ "เลือกที่จะเห็น" หรือ "สะดุดเห็น" แต่สาวสวย หรือหนุ่มหล่อนั่น ตามความเคยชินที่สะสมมาในจิต :b23: :b46: :b47:

ทั้งๆที่มีผู้คนอื่นๆวิ่งปะปนมาอีกตั้งมากมาย แต่โฟกัสความชัด จะอยู่แค่สาวสวยหรือหนุ่มหล่อ เท่านั้น :b22: :b46: :b47:

ซึ่งภาพโฟกัส ที่จับไปเห็นแต่ร่างของสาวสวยหรือหนุ่มหล่อนั้น เหมือนกับมีแรงดึงดูดให้สายตาต้องจับจ้อง และหันมองตาม :b19: :b46: :b46:

ถึงแม้ว่า เธอหรือเขาจะวิ่งผ่านหน้าไปแล้วก็ตาม ก็ยังเหมือนมีแรงดึงดูด (คืออาการอยาก) ให้ต้องหันตามไปมองเธอหรือเขาอีกอยู่นั่น :b15: :b47: :b46:

และหลังจากนั้น ถ้าสติตามไม่ทัน จิตก็จะปรุงแต่งฟุ้งซ่านส่งจิตออกนอก เตลิดไปในความชอบ และราคะที่ฉ่ำเยิ้มขึ้นมา จนมีอาการ "ฟุ้งคิด" จมลงไปในกามวิตก ปราศจาสติ จนกว่าจะมีผัสสะอื่นเข้ามาเบี่ยงและเปลี่ยนกระแสให้ออกจากอาการยินดีพอใจ ไหวไปในกามวิตกนั้น :b46: :b39: :b46:

แต่ถ้าผ่านการฝีกสติขั้นต้นมาแล้ว คือตามอาการไหว (dynamic) ได้ดีในระดับหนึ่ง :b48: :b49: :b48:

เมื่อหันไปเจอเธอหรือเขา จากจิตเดิมที่สติไม่ตั้งมั่น จิตจะไหวแรงเพระฐานสติเดิมไม่ตั้งมั่น :b54: :b55: :b49:


จากนั้น จึงเริ่มไหลออกนอกไปสักพัก ซึ่งอาจจะมีอาการ "ฟุ้งคิด" ไปในกามวิตก สติจึงค่อยตามเกิด ให้จิตไม่เตลิดออกไปในทางทุกข์บาปอกุศล หรือติดลบไปมากกว่านั้น :b48: :b49: :b48:

หรือถ้าฝึกสติขั้นต้นมาจนชำนาญแล้ว เมื่อเกิดผัสสะเวทนา อาจจะมีแค่อาการไหว คือเกิดความยินดีพอใจ โดยที่ยังไม่เกิดอาการ "ฟุ้งคิด" แล้วสติตามรู้ทัน
:b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ ถ้ามีการฝึกสติในระดับกลาง คือรู้อยู่ในตัวรู้ หรือรู้ลงในจิตจนคุ้นชินแล้ว :b1: :b46: :b47: :b46:

เมื่อหันไปเจอเธอหรือเขา จากจิตเดิมที่มีสติตั้งมั่น จิตจะไหวนิดเดียวเพระฐานของสติที่ตั้งมั่นอยู่แล้วเป็นทุนเดิม
:b47: :b48: :b47:

ซึ่งแรกๆ อาจจะมีแค่อาการไหว :b46: :b46: :b46:

แต่จะไม่เกิดอาการไหล ไปในอาการ "ฟุ้งคิด" :b49: :b48:

คือพอจิตเริ่มไหว ในขณะที่โฟกัสเห็นแต่สาวสวยหนุ่มหล่อ แล้วพอใจภายในชั่วแวบเดียวเท่านั้น :b46: :b47: :b42:

จิตที่คุ้นเคยในอาการนิ่งรู้ ก็จะเกิดสติและสัมปชัญญะ ดึงกลับสู่อาการนิ่งรู้ได้ ภายในชั่วแวบต่อมา โดยปราศจากอาการ "ฟุ้งคิด" :b49: :b48: :b47:

จากนั้น ถ้าฝึกสติในระดับกลางอย่างต่อเนื่อง จนสติสามารถเข้ามาคุ้มครองจิตได้อย่างดี เป็นอินทรียสังวรแล้ว :b49: :b50: :b49:

เมื่อเห็นสาวสวยหรือหนุ่มหล่อ ปะปนมาในกลุ่มผู้คน จิตจะเพียงแค่รู้ว่า นี่คือสวย นี่คือหล่อ :b46: :b42: :b46:

แล้ววกกลับมาดูจิต หรือรู้ลงในจิต ที่ไม่กระเพื่อมไหวไปในอาการยินดีพอใจ :b46: :b47: :b46:

เพราะไม่มีอาการยินดีพอใจเกิดขึ้น มีอาการแค่ "สักว่ารู้" :b43: :b44: :b39:

เหมือนกับการเดินผ่านชั้นอาหารบุฟเฟต์หรือหมูกระทะ หลังจากที่ทานจนอิ่มตื้อแล้ว "สักแต่รู้" ว่า นั่นคืออาหารรสชาติดี แต่ไม่มีความอยากทานอีกเลยแม้แต่นิด :b46: :b47: :b46:


(อาการสักว่ารู้ตรงนี้ แค่ยกตัวอย่างในชีวิตประจำวันเปรียบเทียบพอให้นึกกันออกว่า จิตไม่ไหวไปในชอบและชังเมื่อเจอกามวัตถุนั้น เป็นอย่างไร ซึ่งในกรณีมีสติรู้ลงในจิต จนเป็นอินทรียสังวรแล้วนั้น ไม่ใช่เสพจนพอแล้วกิเลสไม่เกิดขึ้นเมื่อมีผัสสะซ้ำอีก นะครับ) :b55: :b54: :b49:

อย่างไรก็ตาม การฝึกรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิตนี้ ยังเป็นการสักว่ารู้ที่มีอาการ "หยุด" รู้ลงในจิตที่ว่างๆโล่งๆจากอาการชอบหรือชัง (อภิชฌา - โทมนัส) นั้นอยู่ :b46: :b42: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้ามีการฝึกสติ จนสามารถรู้ได้อย่างแผ่ผ่านแล้ว :b1: :b46: :b41:

จิตและสติ จะมีการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น โดยทำหน้าที่ของ "ธาตุรู้" ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยกำลังของสมถะ และโลกุตรปัญญา :b46: :b39: :b46:

คือไม่มีทั้งอาการ "ฟุ้งคิด" และไม่มีทั้งอาการ "วกกลับ" มาคุ้มครองจิต หรือรู้ลงในจิตอีก :b48: :b49: :b48:


แต่จะเป็นอาการ "รู้" ว่า นี่คือสวย นี่คือหล่อ แล้วทะลุ "แผ่สภาพการรู้" ผ่านออกไปกับกระแสของเหตุปัจจัย ที่กำลังไหลอยู่นั่น :b49: :b50: :b51:

หรือแม้กระทั่ง ไม่สนใจเลยด้วยซ้ำว่าสวยหรือหล่อ สิ่งที่มองเห็นจะเป็นแค่ผู้คนกลุ่มหนึ่ง กำลังวิ่งผ่านเข้ามา โดยไม่ "สะดุดเห็น" หรือ "เลือกที่จะเห็น" เฉพาะในสาวสวยหรือหนุ่มหล่อที่อยู่ในฝูงชนนั้นอีก :b49: :b48:

แต่จะเห็นผู้คนทั้งหมด เป็นกลุ่มเดียวกัน เสมอกันทุกคน และเสมอกันกับสิ่งแวดล้อมหรือโลกธาตุทั้งหมดที่อยู่ ณ.ที่นั้น แล้วแผ่ผ่านออกไปด้วยสภาพรู้ หรือจิตที่ไม่มีเขตแดน ไม่มีประมาณ :b48: :b44: :b50:


โดยไม่ปรากฏอาการของ "ผู้รู้" และ "สิ่งที่ถูกรู้" :b46: :b39: :b46:


และสำหรับสภาวะสมมติอีกอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เป็นการกระตุ้นกิเลส สำหรับการ "รู้แล้วผ่าน" นี้ :b43: :b42: :b41:

สมมติว่า ในกลุ่มผูงชนที่กำลังวิ่งเข้ามานั้น มีคนรู้จัก ปะปนมาด้วย :b39: :b44: :b39:

ธาตุรู้ ก็จะทำหน้าที่แค่ "ระลึกรู้" ได้ว่าชื่ออะไร โดยไม่มีอาการสะดุดคิด หรือสะดุด "หยุดรู้" :b49: :b50: :b48:

เหมือนกับการที่ "ระลึกรู้" ในบัญญัติว่าสวย หรือหล่อ โดยปราศจากอาการพอใจยินดี และไม่วกกลับมากำหนดรู้ลงในรู้ :b46: :b47: :b46:

คือ อะไรที่กำลังไหลไปตามเหตุปัจจัย ก็จะ "ระลึกรู้" แล้วผ่าน แบบเคลื่อน เลื่อนไหล แผ่ไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆด้วย :b46: :b47: :b41:

ซึ่งด้วยสภาพจิตดังกล่าว ถึงแม้ว่าขณะกำลังมองฝูงชนที่วิ่งเข้ามา หรือกระทำอะไรอยู่ก็ตาม แล้วมีเสียงดังสนั่น อย่างเช่นยางรถสิบล้อระเบิดอยู่ข้างๆ :b46: :b47: :b46:

กระแสของจิตที่กำลังแผ่สภาพรู้ ไหลต่อเนื่องไปตามเหตุปัจจัย ก็จะราบเรียบเสมอกันตลอด ไม่มีอาการสะดุด ด้วยอาการสะดุ้ง หวาดเสียว หรือหวาดกลัว กับกระแสใหม่ที่แทรกเพิ่มเข้ามา แม้แต่นาโน :b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือในอีกสถานการณ์หนึ่ง เช่น เมื่อยืนอยู่บนขอบของยอดตึกสูง หรือขอบของหน้าผา หรือริมหุบเหวที่ชันลึก :b14: :b5: :b6:

ด้วยสภาพจิตที่ประกอบไปด้วยสติดังกล่าว เมื่อมองลงมาด้านล่าง จากขอบของยอดตึกหรือหน้าผาสูงนั้น จิตก็จะไม่มีอาการส่งออกนอก ทิ้งดิ่งวูบลงไปที่พื้นจนเสียวแวบที่ท้องน้อยเหมือนผู้ที่ไม่ได้ฝึกสติมา :b1: :b46: :b39:

จิตก่อนหน้า และในขณะที่ก้มมองลงมาจากที่สูงนั้น จะราบเรียบเสมอกันตลอดไปทั้งหมด สักว่าเห็นภาพแนวดิ่งที่ผ่านมาแล้วผ่านไป :b46: :b39: :b46:

เช่นเดียวกับผัสสะอื่นใดในโลกที่ผ่านเข้ามา จะไหลเหมือนกับการรดน้ำผ่านใบบัวที่เอียงเทลงไป โดยที่ไม่มีหยดน้ำติดบนในบัวแม้ซักนิดเดียว :b48: :b49: :b48:

ซึ่งก็คือเป็นอาการของการรู้แล้วผ่าน ไม่ทิ้งไว้แม้แต่รอยน้ำไหล
:b46: :b47: :b46:

แล้วจะมาลงรายละเอียดของการฝึกสติในระดับสูง ซึ่งมีสภาวะบางประการ ตามที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก เมื่อถึงช่วงการปฏิบัติที่เหมาะสมนะครับ :b1: :b46: :b39:

คราวหน้ามาต่อกันในวิธีของการฝึกสติในเบื้องกลาง รู้สักว่ารู้ โดยรู้ลงในจิต ซึ่งมีผลมาก มีอานิสงค์มาก :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

โดยกลับมาที่การฝึกสติในเบื้องกลาง คือการฝึกให้จิตนิ่งรู้ และตั้งมั่นรู้ :b47: :b46: :b47:

ขอเริ่มด้วยหลักของการฝึกสติสัมปชัญญะ จาก ๓ พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติก่อนนะครับ ซึ่งเป็นประโยชน์ตั้งแต่ขั้นปูพื้นฐานของการฝึกสติสัมปชัญญะในแบบเบื้องต้น คือเมื่อจิตไหว ให้รู้ทันในอาการไหวของจิต

จนไปถึงการฝึกสติในเบื้องกลาง คือการฝึกให้จิตนิ่งรู้ และตั้งมั่นรู้ เพื่อเห็นในอาการไหวได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและพลิกกลับมาตั้งมั่นรู้ได้รวดเร็ว จนถึงกับไม่ไหวเลยเป็นอินทรียสังวรศีลของจริงเมื่อมีผัสสะกระทบ

และไปถึงการฝึกสติในเบื้องปลาย รู้สักว่ารู้ โดยไม่ปรากฏตัวตนของผู้รู้


เริ่มต้นจากพระสูตรแรกกันก่อนนะครับ

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย


แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม
ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม
หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม
บึงที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้
และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ"


อวิชชาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2712&Z=2781&pagebreak=0
ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2782&Z=2853&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรนี้มีสิ่งที่น่าสนใจที่เป็นประโยชน์ในภาคปฏิบัติเยอะมากนะครับ บางส่วนออกจะอธิบายยากสักหน่อย ต้องใช้สมาธิในการอ่านกันสักเล็กน้อย :b1: :b46: :b39:

ขอยกจุดแรก แทรกเป็นเกร็ดความรู้ขึ้นมาก่อน คือคำอธิบายภาพรวมในภาคปฏิบัติ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในส่วนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสติสัมปชัญญะ :b38: :b37: :b39:

สำหรับชาวพุทธแล้ว ตามธรรมชาติของการศึกษาและปฏิบัติธรรมนั้น พระบรมครูทรงเริ่มด้วยการฟังธรรมที่ถูกต้อง (พระสัทธรรม) จากกัลยาณมิตรผู้รู้จริงที่ให้คำแนะนำได้ (สัปบุรุษ) จนน้อมนำให้เกิดศรัทธา และนำไปสู่การพิจารณาในธรรมต่อโดยแยบคาย :b48: :b46: :b48:

ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสองประการที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือ เสียงจากผู้อื่น (ปรโตโฆสะ) และการนำมาพิจารณาต่อโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
:b46: :b42: :b39:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=34

โดยพระสูตรท่อนที่ยกมาด้านบน พระบรมครูทรงเริ่มจากประโยคที่ว่า :b43: :b42: :b39:

"การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์"


ขยายความได้คือ ถ้าไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้าที่สามารถแสวงหาความรู้ระดับโลกุตรธรรมได้ด้วยตนเองแล้ว บุคคลธรรมดาต้องเริ่มต้นด้วยการฟังธรรมจากสัปบุรุษ (ปรโตโฆสะ) โดยเมื่อฟังแล้วก็จะทำให้เกิดศรัทธา

ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ธรรมะที่เริ่มต้นจากการฟังสัทธรรมจากสัปบุรุษจนเกิดศรัทธาตรงนี้ ยังมีบันทึกไว้อีกมากมายหลายที่ในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในพระสูตรแรกๆ ซึ่งเป็นพระสูตรขนาดยาวทั้งหมด ๑๒ พระสูตรจาก ๑๓ พระสูตรในทีฆนิกาย (ยกเว้นพรหมชาลสูตร) เช่น ในสามัญญผลสูตร ตามตัวอย่างด้านล่าง :b48: :b47: :b49:

"คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง"
(ซึ่งข้อความที่ต่อเนื่องไปจากนี้ จะเป็นเรื่องของศีล ที่นำไปสู่สมาธิ และเนื่องไปสู่โลกุตรปัญญา)
http://84000.org/tipitaka/read/?9/102


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือ เมื่อเริ่มฟังธรรมแล้วก็จะเกิดปัญญาจากการฟัง ที่เป็นปัญญาสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น ทำให้เริ่มน้อมใจเชื่อ (ศรัทธา) ในพระพุทธและพระธรรม พร้อมขวนขวายพิจารณาธรรมในส่วนที่อยู่ลาดลึกลงไปต่อโดยแยบคาย :b47: :b46: :b47:

โดยข้อความใน ๑๒ พระสูตรตรงนี้ ก็คือกระบวนการศึกษาธรรม ที่มีการเริ่มต้นจาก สัมมาทิฏฐิ - สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นส่วนของปัญญา :b46: :b47: :b46:

นำหน้าสัมมาวาจา - สัมมากัมมันตะ - สัมมาอาชีวะ ซึ่งเป็นส่วนของศีล :b46: :b47: :b46:

และสัมมาวายามะ - สัมมาสติ - สัมมาสมาธิ ซี่งเป็นส่วนของสมาธิ :b46: :b47: :b46:

สอดคล้องตามที่ปรากฏในมหาจัตตารีสกสูตรที่ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน"
:b46: :b39: :b46:
http://84000.org/tipitaka/read/?14/279

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะนำหน้าด้วยสัมมาทิฏฐิแล้วตามด้วยสัมมาสังกัปปะ ซึ่งอยู่ในหมวดปัญญา :b46: :b39: :b46:

แต่มรรคที่เหลืออีก ๖ องค์ หรือไตรสิกขาในหมวดศีลและสมาธิ ก็จะวนกลับมาหนุนเสริมให้มีปัญญาสัมมาทิฏฐิยิ่งๆขึ้นไป ตามที่ทรงกล่าวไว้ในตอนท้ายๆของพระสูตรอย่างเช่นสามัญญผลสูตรที่ยกมาก่อนหน้า ซึ่งพระบรมครูทรงไล่ลำดับการศึกษาปฏิบัติธรรม ด้วยการฟังสัทธธรรมจนเกิดศรัทธา ออกบวช ขัดเกลาด้วยศีล (กายวิเวก) เจริญสมาธิ (จิตตวิเวก) และเข้าถึงซึ่งปัญญา (อุปาทิวิเวก) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งก็คือการไล่เรียงธรรมชาติของการปฏิบัติ จากปัญญาที่เกิดจากการฟังจนเกิดศรัทธา (ซึ่งคือปัญญาเบื้องต้น) ไปสู่การอบรม ศีล, จากศีล ไปสู่การอบรม สมาธิ, และ จากสมาธิ ไปสู่การอบรม ปัญญา :b47: :b46: :b47:

และปัญญาในขบวนการที่เกิดขึ้น ถ้ายังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว ปัญญานั้นก็จะวนกลับมาอบรมศีลใหม่ (คือ เกิดปัญญา เห็นประโยชน์ในศีล ที่เกื้อหนุนให้สมาธิตั้งมั่น ซึ่งเป็นฐานให้เกิดปัญญาวนกลับมาอีกที) :b50: :b49: :b42:

แต่ถ้าจะว่ากันไปอย่างเคร่งครัดจริงๆแล้ว :b1: :b46: :b39:

ปัญญานั้นเองก็จะกลับมาอบรม ทั้งศีล และ สมาธิ :b46: :b42: :b39:

ศีลนั้นเองก็จะกลับมาอบรม ทั้งสมาธิ และ ปัญญา :b46: :b42: :b39:

และ

สมาธินั้นเองก็จะกลับมาอบรม ทั้งปัญญา และ ศีล
:b46: :b42: :b39:

คือ ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา (ว่าโดยขยายได้แก่มรรคทั้ง ๘ องค์) จะเป็นธรรม ๓ ขาที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน วนเป็นวงจรของขบวนการพัฒนาจิตเพื่อเข้าสู่สัมมาญานะ สัมมาวิมุตติ ซึ่งเป็นมรรคองค์ที่ ๙ และ ๑๐ เพื่อให้ศีลบริบูรณ์ในขั้นโสดาบัน (ศีล ๕), สมาธิบริบูรณ์ในขั้นอนาคามี (สมาธิชนิดจิตตั้งมั่น), และท้ายสุดคือ ปัญญาบริบูรณ์ในขั้นอรหันต์ (ปัญญาชนิดหยั่งรู้อริยสัจจ์) หลุดพ้นจากทุกข์ เป็นขั้นเป็นลำดับไปนั่นเองครับ
:b46: :b39: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร