วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33, 34 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 00:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสติ จะเข้ามามีอิทธิพลได้ทั้งในส่วนของภาครับรู้โลก - ภาคประมวลผล - และภาคสั่งการ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งสติในภาครับรู้โลก ก็คือในส่วนอธิศีลสิกขา ข้ออินทรียสังวรศีล :b46: :b44: :b39:

อันได้แก่การมีสติคุ้มครอง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะภายในทั้ง ๖) โดยปิดกั้นกระแส ไม่ให้ไหลไปในทางบาปอกุศล เมื่อเกิดการรับรู้โลก (ผัสสะ) ขึ้นมา
:b46: :b47: :b42:

โดยเมื่อผู้ปฏิบัติ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ซึ่งสติในภาครับรู้โลก (ซึ่งก็คืออินทรียสังวรศีล) :b46: :b39: :b46:

ก็จะเป็นการปิดกั้นกระแสของบาปอกุศลได้ :b44: :b47: :b48:

และสติในอินทรียสังวรนั้น ก็จะเข้ามาคุ้มครองใจ ที่ใช้ในภาคประมวลผลต่อด้วย (ผัสสะ --> เวทนา ตัณหา อุปาทาน กรรมภพ (มโนกรรม)) :b46: :b42: :b43:

รวมทั้งสนับสนุนให้ปัญญาในเบื้องต้น ที่เรียกว่า สัมปชัญญะ เข้ามาทำงานในส่วนของภาคสั่งการกระทำต่อ ตามที่พระบรมครูทรงเรียงลำดับจากอินทรียสังวร ไปที่สติสัมปชัญญะ ในมหาตัณหาสังขยสูตร ที่ว่า :b46: :b47: :b42:


ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลส
ในภายใน.

ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยวการลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.


http://84000.org/tipitaka/read/?12/455

ซึ่งสติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในภาคสั่งการกระทำต่อ (กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม) เพื่อเชื่อมสู่โลกภายนอกนี้ :b46: :b39: :b46:

จะเป็นตัวปัญญาเบื้องต้นที่รู้ว่า สิ่งที่กำลังคิดและกระทำนั้น :b47:

ทำเพื่อจุดหมายอะไร (สาตถกสัมปชัญญะ) :b46:

เหมาะสมหรือไม่ (สัปปายสัมปชัญญะ) :b48:

ไม่วอกแวกออกนอกกิจ (โคจรสัมปชัญญะ) :b51:

และรู้ชัดทุกขณะจิตที่ทำ (อสัมโมหสัมปชัญญะ)
:b39:

ซึ่งเมื่อการเชื่อมต่อสู่โลกภายนอก ผ่าน กาย วาจา ใจ ไม่ไหลไปในทางบาปอกุศลแล้ว :b46: :b47: :b46:

เมื่อนั้น ก็จะเกิดสภาวธรรมที่เรียกว่า กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต :b1: :b46: :b39:

ซึ่งก็คือ สุจริตทั้ง ๓ บริบูรณ์ตามไปด้วย เมื่อผู้ปฏิบัติ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรียสังวร :b46: :b39: :b46:

ตามพุทธพจน์ในกุณฑลิยสูตร นั่นเองครับ
:b8: :b46: :b44:


http://84000.org/tipitaka/read/?19/396


สรุปรวมง่ายๆทั้งหมดด้วยขั้นตอนดังนี้ครับ :b1: :b46: :b47:

ภาคส่วนปฏิสัมพันธ์กับโลก = ภาครับรู้โลก --> ภาคประมวลผล -->ภาคสั่งการกระทำ
องค์ธรรมในส่วนอธิศีลสิกขา = อินทรียสังวร --> อินทรียสังวร --> สติสัมปชัญญะ --> สุจริต ๓
ส่วนที่สติเข้ามาคุ้มครอง = ทวาร ๖ --> ใจ (จิต) --> ใจ วาจา กาย


แล้วมาต่อกันในรายละเอียดของการปฏิบัติเพื่อการเจริญสติในคราวหน้า สำหรับชีวิตฆราวาสที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพกันตัวเป็นเกลียวในยุคปัจจุบันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 10:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:

smiley smiley smiley

งวดนี้ท่าน วิสุทธิ พาไปช๊อปปิ้ง ช๊อปย่าง

smiley smiley smiley


โพสต์ เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 16:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 20:59
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ารู้เหตุการเกิดทุกข์ จากการอ่าน ก็ยังมีทุกข์
ถ้ารู้ทางดับทุกข์ จากการอ่าน ก็ยังมีทุกข์

ถ้ารู้เหตุการเกิด รัก โลภ โกรธ หลง ภายในตัวเรา ก็พ้นทุกข์
ถ้ารู้ทางดับความ รัก โลภ โกรธ หลง จากการปฏิบัติ ก็พ้นทุกข์


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 00:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
งวดนี้ท่าน วิสุทธิ พาไปช๊อปปิ้ง ช๊อปย่าง


สำหรับคุณผู้หญิงแล้ว :b1: :b46: :b39:

วิสุทธิปาละเดาว่า แหล่งช๊อปปิ้ง น่าจะเป็นที่ ที่ทำให้อาการ "อยาก" ของสตรีปรากฏตัวได้ง่ายนะครับ :b36: :b36: :b18:

เลยยกมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ :b49: :b48: :b50:

ส่วนสำหรับคุณผู้ชาย :b11:

ก็น่าจะเป็นงานมอเตอร์โชว์ เพราะบนหน้าหนังสือพิมพ์ เห็นมีแต่ผู้ชายส่วนใหญ่ที่เข้าไปดูกัน :b11:

และสิ่งที่ผู้จัด นำมาแสดงให้ดู ทั้งรถยนต์สุดหรู และเหล่าพริตตี้ทั้งหลาย :b22: :b23:

ก็น่าจะทำให้อาการ "อยาก" ของบุรุษ ปรากฏตัวขึ้นได้ง่ายๆ ตลอดช่วงเวลาที่เข้าไปสอดส่ายสายตาในงาน :b22: :b23:

และกรณีมอเตอร์โชว์ ก็เคยใช้ยกเป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมาแล้ว :b1: :b46: :b39:

คราวนี้ เลยลองยกตัวอย่างของสตรี เพื่อให้เสมอภาคกัน :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ทิ้งโน๊ตไว้ก่อนว่า สิ่งที่จะถ่ายทอดต่อจากนี้ไป อาจจะเข้าใจยากซักหน่อย โดยเฉพาะในส่วนของรายละเอียดปฏิบัติ และสภาวธรรมต่างๆ หรือปฏิเวธที่เกิดขึ้น :b46: :b39: :b46:

เพราะเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เข้าใจยาก ตรรกะหยั่งไม่ถึง :b41: :b41:

แต่พิจารณาแล้วว่า อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการต่อยอด และกำลังบาน :b46: :b42: :b39:

ทั้งในปัจจุบัน และเผื่อที่จะเข้ามาศึกษาในอนาคต :b46: :b47: :b46:

เลยพยายามถ่ายทอดออกมาด้วยภาษาที่พยายามเขียนให้ง่าย พร้อมทั้งตัวอย่างที่ใกล้เคียง พอให้เห็นภาพ นะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากคราวที่แล้ว ที่แสดงถึงชีวิต และปฏิสัมพันธ์กับโลก ผ่านกระบวนการรับรู้โลก ประมวลผล และสั่งการกระทำ :b38: :b37: :b39:

จะเห็นได้ว่า เราสามารถใช้องค์ธรรมก็คือ สติ ในการควบคุมให้กระบวนการทั้ง ๓ ซึ่งว่าโดยรวมก็คือ กระแสของชีวิต ไม่ให้ไหลไปในทางทุกข์บาปอกุศล :b46: :b42: :b46:

(ตรงนี้ พูดถึงอธิศีลสิกขาก่อนนะครับ คือการสำรวมและเจตนางดเว้น (วิรัต) ไม่ให้กระแสของชีวิต ติดลบ คือไหลไปในทางทุกข์บาปอกุศล :b42: :b48: :b47:

ซึ่งให้ผลแค่พ้นจากอบายภูมิหรือกามทุคติภูมิ โดยดำรงอยู่ได้ หรือเวียนว่ายตายเกิดในกามสุคติภูมิ :b49: :b50: :b51:

คือภูมิมนุษย์และเทวดา :b48: :b47: :b48:

แต่ยังไม่สามารถก้าวล่วงเข้าสู่รูปภูมิ หรืออรูปภูมิ ซึ่งต้องอาศัยอธิศีลสิกขา ร่วมกับ อธิจิตตสิกขา :b42: :b40: :b44:

หรือพ้นจากวัฏฏะในไตรภูมิ เข้าสู่โลกุตรภูมิ ซึ่งต้องอาศัยทั้งอธิศีลสิกขา, อธิจิตตสิกขา, และอธิปัญญาสิกขา ร่วมกันทั้งหมด) :b39: :b39: :b39:

และจากขบวนการทั้ง ๓ คือ รับรู้โลก ประมวลผล และสั่งการกระทำ :b46: :b47: :b46:

ก็จะเห็นได้อีกว่า เมื่อชุดข้อมูลที่เข้ามากระทบเพื่อรับรู้โลก ถูกส่งผ่านมาทางช่องทางรับรู้โลกทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖) ต่อไปในภาคส่วนประมวลผล จนถึงภาคส่วนที่ใช้ตัดสินใจสั่งการกระทำต่อ .. นั้น :b48: :b47: :b48:

มีจุดเชื่อม ที่เป็นศูนย์กลาง และศูนย์รวมของขบวนการทั้งหมด อยู่ที่ "ใจ" :b46: :b39: :b46:

ดังนั้น ถ้าพูดถึงการฝึกสติสัมปชัญญะ และอินทรียสังวรที่อยู่ในหมวดของอธิศีลสิกขาแล้ว วิธีที่เรียบง่ายและได้ผลที่สุด ก็คือ การฝึกลงมาที่ "ใจ" :b42: :b39: :b42:

เหมือนเช่นที่สามเณรอรหันต์สอนพระโปฐิละในการดักจับตัว Varanus Salvator ก็ให้มาเฝ้าที่รูเข้าออกรูเดียว ดังที่ได้เคยยกตัวอย่างมาแล้ว :b49: :b50: :b51:

หรือเช่นที่พ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านกล่าวไว้ด้วยใจความคล้ายกันว่า ศีล ไม่ว่าจะ ๕ ข้อ, ๑๐ ข้อ, ๒๒๗ ข้อ หรือมากกว่านั้นก็ตาม สามารถรักษาได้ที่เดียว คือที่ "ใจ" :b46: :b42: :b47:

นั่นคือ การฝึกให้มีสติ มาสังวร มาระวัง มาเหนี่ยวรั้ง มาคุ้มครองที่ "ใจ" ในการรับข้อมูลเข้า ประมวลผล และสั่งการ โดยไม่ให้ใจไหลไป จนละเมิดข้อบัญญัติวินัยของสังฆะ พร้อมทั้งเป็นการฝึกให้มีเจตนางดเว้น ในสิ่งที่เป็นทุกข์บาปอกุศล :b48: :b47: :b48:

เพื่อที่จะควบคุมให้กระแสของชีวิต ไม่ไหลไปในทางติดลบ นั่นเอง :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และถ้าสติ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจจับ (detect) อาการต่างๆของจิต :b43: :b44: :b45:

ได้รับการฝึกฝนพัฒนาจนมีความว่องไว (sensitivity) ในระดับที่สูงยิ่ง เหมือนดั่งเช่นอุปกรณ์ตรวจวัด หรือ sensor ชั้นดีที่ใช้ในเครื่องมือ super high technology หรือจักรกลอัจฉริยะทั้งหลาย ในโลกปัจจุบันแล้ว :b51: :b53: :b51:

ทุกข์บาปอกุศลต่างๆในชีวิต ก็จะลดลงไปได้อย่างมากมาย :b46: :b47: :b46:

และนี่ .. คือเหตุผลสำคัญที่สุด ที่ทำให้โสดาบันผลบุคคลที่ฝึกสติจนว่องไว และฝึกสมาธิ จนจิตตั้งมั่น เข้าถึงโลกุตรปัญญาได้ในอีกระดับหนึ่งแล้ว :b46: :b39: :b46:

มีความสามารถที่จะทำให้ทุกข์บาปอกุศล ในส่วนที่เรียกว่า ราคะสังโยชน์ และปฏิฆะสังโยชน์ เบาบางลง จนเข้าสู่สกทาคามีผลบุคคลได้ .. นั่นเอง :b43: :b39: :b42:

เพราะสกทาคามีผลบุคคล เป็นผู้ที่มีสติคุ้มครองใจ และสมาธิที่ตั้งมั่นได้ดีแล้ว ในระดับปานกลาง :b51: :b46: :b51:

คือเมื่อเกิดผัสสะรับรู้โลก สติจะทันเห็นอาการไหวกระเพื่อมของจิต และมีสมาธิ ที่ตั้งมั่นดีพอที่จะไม่เผลอส่งจิตออกนอก ไปจมอยู่กับเหตุที่ทำให้จิตกระเพื่อมนั้น .. นาน :b39: :b42: :b46:

คือ ยังมีการกระเพื่อมด้วยความชอบ (ราคะ) และความชัง (ปฏิฆะ) อยู่บ้างในบางครั้ง แต่สามารถตามดับได้ทันภายในชั่วเวลาไม่กี่ขณะจิต :b47: :b48: :b49:

ดังนั้น อาการ "เผลอ" หรือ "หลง" คิดฟุ้งปรุงแต่งไปในกาม กลัว โกรธ กังวล ฯลฯ ของสกทาคามีบุคคล ก็จะไม่ค่อยมี :b49: :b50: :b49:

หรือถ้ามีบ้าง ก็ไม่สามารถตั้งได้อยู่นาน :b48: :b47: :b48:

และเมื่อสกทาคามีผลบุคคล ฝึกสติให้แก่กล้าว่องไวขึ้นไปเรื่อยๆ จิตก็จะไปจับอาการทุกข์บาปอกุศลต่างๆดังกล่าวข้างต้นได้สั้น เบาบาง และถี่น้อยลงไปเรื่อยๆ :b46: :b39: :b46:

จนกระทั่งจิตไม่เข้าไปจับอาการดังกล่าวเลย เมื่อรากเหง้าของอาการต่างๆเหล่านั้น ถูกกำจัดทิ้งลงไปได้ด้วยโลกุตรปัญญา เมื่อเข้าสู่ระดับอนาคามีผลบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีสติและสมาธิ บริบูรณ์ดีแล้ว :b50: :b51: :b50:

คือ เมื่อมีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็สักแต่ว่ากระทบ รับรู้ แล้วผ่านไป :b41: :b41: :b41:

โดยไม่มีแม้แต่อาการกระเพื่อมในทางชอบหรือชัง ให้ปรากฏเกิดขึ้นในจิต แม้แต่น้อย :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสติ ที่ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็งขึ้นมาในอธิศีลสิกขานี้ นอกจากจะปิดกั้นกระแสชีวิต ไม่ให้ไหลไปในทางที่ติดลบแล้ว :b42: :b41: :b42:

ยังจะไปสนับสนุนให้เกิดกระแสของสุขบุญกุศล :b46: :b39: :b46:

และยิ่งกว่านั้น ยังจะไปสนับสนุนปัญญา จนเข้าถึงซึ่งการตัดเสียในกระแสทั้งมวล :b39: :b39: :b41:

ซึ่งสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการใช้สติ สนับสนุนให้จิต สามารถพิจารณาธรรมที่ผัสสะ ลงในไตรลักษณ์ จนจิตเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง และปล่อยวางในกระแสทั้งหลายลงได้ :b49: :b50: :b49:

ตามที่วิสุทธิปาละเคยเขียนไว้ตั้งแต่ตอนต้น http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=5 (เพิ่มเติมรายละเอียดตรงนี้เล็กน้อย) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้สติ เพื่อให้จิตสามารถพิจารณาธรรมที่ผัสสะ ลงในไตรลักษณ์ ที่ว่า :b46: :b42: :b46:

การเข้าสู่โสดาบันบุคคล คือการฝึกสติ เพื่อให้เห็นอนิจจัง คือความไม่เที่ยง เกิดดับ :b47: :b48: :b47:

ส่วนการเข้าสู่สกทาคามีบุคคล คือการฝึกสติ เพื่อให้เห็นอนิจจัง พ่วงด้วยทุกขัง ในการเข้าถึงซึ่งความเบื่อหน่ายคลายจางในราคะและปฏิฆะ (โดยเฉพาะการตามเห็นราคะ ให้เป็นความบีบคั้น หรือเป็นทุกข์) :b44: :b43: :b39:

ส่วนการเข้าสู่อนาคามีบุคคล คือการฝึกเพื่อให้เห็นทุกขัง และอนัตตา ในการตัดเสียซึ่งราคะและปฏิฆะ :b46: :b47: :b41:

ส่วนการเข้าสู่อรหัตตบุคคล คือการฝึกเพื่อให้เห็นอนัตตาอย่างแจ่มแจ้ง ในการตัดเสียซึ่งกิเลสตัวต้นราก คืออวิชชา :b53: :b54: :b51:

โดยการฝึก เพื่อให้เกิดการเห็นไล่ลำดับ จากอนิจจัง ในขั้นโสดาบัน ... ไปสู่ อนิจจัง + ทุกขัง ในขั้นสกทาคามี ... ไปสู่ ทุกขัง + อนัตตา ในขั้นอนาคามี ... และไปสู่ อนัตตา ในขั้นอรหันต์ นั้น :b46: :b42: :b39:

ตามจริงแล้ว เมื่อถึงขั้นมรรคจิต ผลจิต จะเป็นการแจ้งในไตรลักษณ์ทั้ง ๓ องค์ลงพร้อมกัน ซึ่งเป็นการเกิดร่วมกับการเห็นแจ้งลงในปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจจ์ :b39: :b42: :b46:

แต่ที่แยกไว้เป็นขั้นๆ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเหตุผลสำหรับการปฏิบัติ :b1: :b46: :b42:

คือเพื่อให้มีจุดโฟกัส ในการฝึกพิจารณาองค์ธรรมของไตรลักษณ์องค์ที่เหมาะสม ในแต่ละลำดับขั้นของมรรคผล :b43: :b39: :b42:

และที่แยกเรียงไล่จากอนิจจัง ไปทุกขัง ไปอนัตตา เช่นนี้ ก็เป็นแค่แนวทางหนึ่ง ที่วิสุทธิปาละเองใช้ปฏิบัติ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่า ผู้ปฏิบัติอื่น จะต้องภาวนาเพื่อให้เห็นไล่ตามนี้ :b50: :b49: :b50:

หมายความว่า ถ้าผู้ภาวนามีจริตที่จะเห็นได้ชัดลงในไตรลักษณ์องค์ใด :b48: :b47: :b49:

เช่น อาจจะเห็นได้ชัดในอนิจจังหรือการเกิดดับอย่างเดียว :b46: :b47: :b48:

ก็สามารถใช้การเห็นในอนิจจัง เพื่อดึงปัญญาให้จิตเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จนเข้าสู่การเห็นไตรลักษณ์ครบทั้งหมดในขณะเกิดมรรคผลหลุดพ้น ในทุกระดับขั้นของการบรรลุธรรม ได้เช่นกัน นะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งจะอธิบายถึงเหตุและผลของการไล่เรียงการพิจารณาไตรลักษณ์ตามลำดับนี้ เมื่อถึงช่วงที่เหมาะสมอีกที :b55: :b54: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอหมายเหตุไว้ตรงนี้สักเล็กน้อยนะครับ :b1: :b46: :b39:

สิ่งที่เขียนมา และจะเขียนต่อไปนี้ ไม่ได้เป็นข้อมูลไว้เฉพาะสำหรับอริยบุคคล เท่านั้น :b44: :b39: :b44:

ส่วนใหญ่แล้ว ปุถุชนก็สามารถนำมาฝึก เพื่อใช้ลดทุกข์ได้ด้วยเช่นกัน :b46: :b47: :b46:

เพราะการฝึกสติ เจริญสมาธิ รวมถึงอริยมรรคทุกองค์ หรือโพธิปักขิยธรรมทุกข้อ เป็นบทเรียนสาธารณะที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะอริยบุคคล :b42: :b39: :b46:

(ยังจำบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่เป็นเทศนากัณฑ์แรกของพระบรมครู และมีการกล่าวถึงอริยสัจจ์ ๔ โดยรวมถึงข้อปฏิบัติ คือมรรคมีองค์ ๘ ได้นะครับ :b47: :b48: :b49:

ซึ่งขณะนั้น ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ยังไม่มีท่านใด เป็นอริยบุคคล เลยซักท่านเดียว) :b49: :b50: :b49:

แต่มีข้อแตกต่างอยู่แค่ ความหยาบละเอียด ความแคล่วคล่องว่องไว ความเข้มแข็งของสติสมาธิ และองค์ธรรมอื่นๆในโพธิปักขิยธรรม ระหว่างปุถุชน กับอริยบุคคลนั้น แตกต่างกันมาก :b46: :b47: :b46:

เหมือนกับที่เคยเปรียบเทียบไว้นะครับว่า การแกะสลักไม้ ตอนเริ่มต้นกับตอนท้ายๆนั้น ใช้เครื่องมือพื้นฐานและวิธีการเหมือนๆกัน :b38: :b37: :b39:

เพียงแต่ความละเอียดในการใช้เครื่องมือ ความละเอียดของวิธีการ ความละเอียดของสิ่งที่แกะออกไป และผลงานที่แกะได้นั้น หยาบปราณีตต่างกันมากมาย :b49: :b48: :b50:

ยกตัวอย่างเช่น การฝึกสติ โดยอาศัยลมหายใจ หรืออานาปานสติ ทั้ง ๑๖ ขั้นนั้น :b54: :b55: :b51:

ทั้งปุถุชน และอริยชน ต่างก็ต้องใช้ลมหายใจ และความเข้มแข็งของอินทรีย์ทั้ง ๕ เป็นเครื่องมือพื้นฐานเหมือนๆกัน :b53: :b51: :b53:

เพียงแต่ว่า ความหยาบละเอียดของลมหายใจ และความอ่อนแก่ของอินทรีย์ทั้ง ๕ .. อีกทั้งสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ และตามพิจารณา รวมถึงผลของสภาวะทางจิตที่ได้นั้น ต่างกันมากมาย นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มาเข้าเรื่องการฝึกสติ เพื่อคุ้มครองใจ :b46: :b39: :b46:

ซึ่งวิธีการนี้ คือสิ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์สายวัดป่า ท่านใช้คำว่า :b42: :b42: :b42:

การฝึก "สติกำกับใจ" บ้าง
"อยู่กับตัวรู้" บ้าง
"รู้ลงในรู้" บ้าง
"ให้ใจอยู่กับใจ" บ้าง
"รู้ลงที่ใจ" บ้าง
"ให้จิตอยู่ในจิต" บ้าง
"ให้จิตเห็นจิต" บ้าง ฯลฯ

ซึ่งก็มีความหมายเดียวกัน คือการฝึกสติ ให้ทำงานร่วมกับสมาธิที่ตั้งมั่น จนเกิดสภาวะ สงบ - นิ่ง - รู้ และ ตั้ง - มั่น - รู้ อยู่ในจิต :b46: :b39: :b46:

และที่วิสุทธิปาละเคยยกตัวอย่างสำหรับการฝึกไว้ก่อนหน้า ทั้งในขณะทำสมาธิ และในการใช้ชีวิตประจำวัน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=86 :b46: :b42: :b46:

ซึ่งจะขอทบทวนบ้างเล็กน้อย และกล่าวเสริม พร้อมทั้งลงลึกเข้าไปอีกระดับ ทั้งในวิธีการและสภาวะ ต่อจากที่เคยเขียนเอาไว้ นะครับ :b1: :b49: :b50:

และถ้าจะไล่เลียงลำดับขั้นการพัฒนาในการฝึกสติ จากคราวก่อนหน้าโน้น :b48: :b49: :b48:

สำหรับผู้ที่ฝึกใหม่แล้ว อาจจะยังไม่สามารถทวนกระแสเข้าไปสู่ตัวรู้ หรือผู้รู้ :b47: :b46: :b47:

ให้เกิดการนิ่งรู้ และตั้งมั่นรู้ได้ เนื่องจากสติยังไม่ว่องไว สมาธิยังไม่ตั้งมั่น และเข้มแข็งพอ :b46: :b47: :b46:

โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปฏิบัติ ที่ท่านพุทธโฆษาจารย์ ท่านบัญญัติไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ว่า เป็นกลุ่มวิปัสสนายานิก :b51: :b53: :b51:

ซึ่งก็คือ กลุ่มที่ไม่สามารถเข้าสมาธิให้ถึงได้ ในระดับอัปปนาสมาธิ หรือเข้าถึงฌานได้ :b48: :b49: :b50:

มีเพียงแค่สมาธิที่ตั้งมั่นชั่วคราว (ขณิกสมาธิ) หรือสมาธิเฉียดฌาน (อุปจารสมาธิ) ให้ได้ใช้งาน :b47: :b42: :b47:

ซึ่งสิ่งที่ผู้ปฏิบัติในระดับนี้ทำได้ อาจจะเพียงแค่ "ตาม" รู้ในอาการต่างๆที่เป็นทุกข์บาปอกุศล ที่เกิดขึ้นในจิต :b50: :b49: :b54:

เช่น รู้ลงในอาการโลภ โกรธ หลง ซบเซา หดหู่ ฟุ้งซ่าน สงสัย ฯลฯ จนจิตจดจำสภาวะได้ :b44: :b39: :b43:

และเมื่ออาการของจิตเหล่านั้นเกิดขึ้นอีก จึงเกิดสติระลึก "รู้ตาม" ได้ถึงสภาวะนั้นๆว่า ได้เกิดขึ้นแล้ว :b46: :b47: :b46:

เมื่อนั้น จึงสามารถใช้สติที่เกิดขึ้น ในการตัด หรือกั้นกระแสของการรับรู้โลก ประมวลผล สั่งการ ไม่ให้ไหลไปในทางทุกข์บาปอกุศล :b44: :b39: :b43:

หลังจากที่จิต "เผลอ" หรือ "หลง" เข้าไปสู่อาการทุกข์บาปอกุศลแล้ว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง :b23: :b46: :b47:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยหลักการฝึกสติตรงนี้ ก็คือให้จิตได้เรียนรู้ ใคร่ครวญ (โยนิโสมนสิการ) และจดจำสภาวะที่เป็นทุกข์บาปอกุศลนั้นๆ กระทั่งเกิดเป็นความเข้าใจ และจดจำสภาวะเหล่านั้นได้อย่างมั่นคง (ถิรสัญญา) :b46: :b39: :b46:

จนกระทั่งตัวสติเกิดขึ้นเองเมื่อสภาวะนั้นๆเกิดซ้ำขึ้นมา :b48: :b47: :b48:

และตรงนี้ ก็เป็นเทคนิคขั้นต้นของการฝึกสติ ซึ่งเพียงพอแล้วสำหรับใช้ในการตามเห็นความไม่เที่ยง เกิดดับ หรืออนิจจัง ขององค์ธรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาเข้าสู่โสดาบันผลบุคคล :b50: :b49: :b51:

(แต่ต้องใช้ความเพียร คือวิริยินทรีย์ และอินทรีย์ ๕ องค์อื่นๆเสริมมากสักหน่อย ถ้าสมาธินทรีย์ไม่เข้มแข็งในระดับฌาน) :b47: :b46: :b47:

สำหรับเทคนิคขั้นกลางที่ลึกลงไปอีก ที่เคยแนะนำให้นักปฏิบัติได้ฝึก เพื่อให้เห็นทั้งอนิจจัง และ ทุกขัง :b47: :b46: :b47:

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโสดาบันผลบุคคลที่ต้องการต่อยอดเพื่อเข้าสู่สกทาคามีบุคคล :b46: :b39: :b42:

(หมายความว่า ปุถุชนที่มีสติสมาธิเข้มแข็งในระดับหนึ่งแล้ว ก็สามารถนำมาฝึกได้ แต่จะเห็นความก้าวหน้าได้ไวมากยิ่งขึ้น ถ้าผู้ฝึก มีโลกุตรสัมมาทิฏฐิแล้ว ในระดับโสดาบัน) :b49: :b48: :b49:

จะเป็นการฝึกที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการกลับข้างกันกับการฝึกในเบื้องต้นที่กล่าวไว้ :b46: :b47: :b46:

คือการฝึกในเบื้องต้น จะเป็นการฝึกที่ให้จิตรู้และคุ้นเคยในอาการไหว (dynamic) จนจำได้ในอาการไหว :b48: :b49: :b48:

และเมื่อมีอาการไหวแบบเดิมเกิด สติจึงเกิด ให้รู้ตามได้ในอาการไหวนั้น :b41: :b41: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 01:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่การฝึกในเบื้องกลางนี้ จะเป็นการฝึกให้จิตรู้และคุ้นเคยในอาการนิ่งรู้ (static) จนจำได้ และเสพคุ้นในอาการนิ่งรู้ :b42: :b46: :b42:

และเมื่อเกิดการกระทบแล้วจิตไหว (dynamic / active, or activated state) ออกจากอาการนิ่งรู้ (static / neutral state) สติจึงเกิด และระลึกได้ว่า จิตมีอาการผิดปรกติ มีการถูกบีบคั้น (ทุกขัง) ให้ไหวกระเพื่อม (อนิจจัง) เกิดขึ้น :b46: :b39: :b46:

นั่นคืออาการที่จิต ได้ถูกบีบคั้น ให้เคลื่อนออกจากอาการนิ่งรู้ หรือรู้ลงที่ใจ ซึ่งเป็นอาการปรกติของจิต นั่นแล้ว :b44: :b43: :b48:

และเมื่อเกิดสติ ระลึกรู้ว่า จิตกำลังถูกบีบคั้น ให้ไหลออกจากอาการนิ่งรู้ :b41: :b46: :b39:

สติจะทำงานร่วมกับสัมปชัญญะ และสมาธิ ในการดึงจิตที่กำลังไหวอยู่นั้น (activated state) ให้กลับมาสู่สภาวะนิ่งรู้ หรือสภาวะปรกติจิต (neutral state) ได้อย่างเป็นอัตโนมัติ และรวดเร็วกว่าการตามรู้จนคุ้นเคยในอาการไหว เช่นการฝึกสติในเบื้องต้น :b50: :b51: :b50:

รวมถึงยังมีอานิสงค์อื่นๆอีกมากมาย เช่น ในการทำให้จิต รับรู้ได้ถึงอาการ ของการถูกบีบคั้นในจิต (ทุกขัง) จนจิตไหวออกไป (อนิจจัง) จากสภาวะปรกติจิต :b46: :b47: :b46:

โดยจะพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ คือทุกขัง (จิตถูบีบคั้น) และอนิจจัง (จิตไหวออกจากอาการนิ่งรู้) ทั้ง ๒ องค์ ได้ชัดกว่าการฝึกสติแบบเบื้องต้น :b48: :b47: :b48:

ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับสกทาคามีมรรคบุคคล ในการพิจารณากามสุข ให้เป็นทุกข์ หรือความบีบคั้นลงได้ :b44: :b39: :b46:

(โดยจะขยายในรายละอียด เมื่อถึงภาคส่วนของอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา นะครับ) :b49: :b50: :b49:

ซึ่งสำหรับการฝึก "รู้ลงในรู้" ตรงนี้ :b46: :b47: :b46:

เหมือนกับสิ่งที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ ท่านเปรียบเทียบไว้ด้วยการมองเห็นตัวเอง นั่งอยู่ท่ามกลางห้องรับแขก ที่มีแขก ซึ่งก็คืออารมณ์ต่างๆ กำลังแวะเข้ามาเยือน :b48: :b49: :b48:

และถ้าแขกต่างๆที่แวะมาเยือน เป็นพวกที่ไม่ค่อยมีมารยาท ชอบสร้างความวุ่นวายให้เจ้าบ้าน โดยเฉพาะ แขกที่ชื่อว่า ราคะ - โลภ - อยากเสพ และ โกรธ - โมโห - กลัว - กังวล - อยากผลักออก (ราคะ และ ปฏิฆะ) :b46: :b47: :b46:

เจ้าบ้าน ที่เดิมนั่งรู้ เสพคุ้นในความสงบ รู้อย่างเป็นกลาง นิ่งเฉย ก็จะรู้ได้ในความรำคาญ (ทุกข์สัจจ์) ที่เกิดขึ้นในจิต เมื่อแขกกลุ่มดังกล่าวเข้ามาเยือน :b46: :b39: :b46:

และเมื่อแขกที่สร้างความวุ่นวายเหล่านั้น ออกจากห้องไปหมดแล้ว :b42: :b39: :b46:

เจ้าบ้าน ก็จะเห็นตัวเองนั่งนิ่งๆอยู่ในห้องว่าง และรับรู้ได้ในสภาวะที่นิ่งสงบลงไปนั้นอีกครั้ง ได้ด้วยตัวเอง (นิโรธสัจจ์) :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการฝึกสติในเบื้องปลาย เพื่อมุ่งไปสู่สภาวะหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงนั้น จะอธิบายให้เห็นภาพได้ยากสักหน่อย :b46: :b47: :b46:

เพราะเป็นการฝึกสติในการรู้ แบบที่ "ปล่อย" ทั้ง dynamic และ static :b43: :b42: :b41:

คือเป็นการปล่อย ทั้งอาการรู้ในการไหว และอาการหยุดไหว หรือนิ่งรู้ลงที่ใจนั้น :b48: :b49: :b48:

และที่ว่า "ปล่อย" นี้ ก็ยังเป็นคำที่ไม่ค่อยจะตรงนัก :b46: :b47: :b46:

เพราะถ้ามีอาการ "ปล่อย" ก็ยังแสดงว่า มีอาการ "จับ" เกิดขึ้นมาก่อน :b46: :b47: :b46:

ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจริงๆแล้ว จะเป็นว่า รู้ แบบที่ไม่มีอาการเข้าไปจับ :b49: :b50: :b49:

และเมื่อไม่มีอาการที่เข้าไปจับ ก็จะไม่มีอาการ ที่ต้องไปปล่อย :b49: :b48: :b49:

คือจะเป็นเพียงสติ ที่คุมจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ ให้มีอาการแค่ "สักว่ารู้" ในผัสสะอะไรๆ แล้วก็ทะลุผ่านไป ด้วยสภาวะจิตที่ปราศจากเขตแดน แผ่ออกไปไม่มีประมาณ .. ร่วม และรวมเป็นส่วนเดียวกันกับสิ่งที่ถูกรู้ :b43: :b44: :b39:

เหมือนกับการนั่งอยู่บนรถไฟ แล้วมองเห็นภาพข้างทางชัดเจนทุกอย่างแบบไหลเลยผ่านไป ไม่มีการสะดุดหยุดดู หรือหยุดคิด :b46: :b47: :b39:

แต่ที่เป็นมากกว่าการรู้แบบไม่สะดุดหยุดดู หรือหยุดคิด ก็คือ :b49: :b48: :b47:

เป็นการรู้ ที่ตัวรู้ แผ่เป็นส่วนเดียวกันกับสิ่งที่ถูกรู้ คือภาพข้างทางที่ไหลเข้ามานั้น :b44: :b43: :b39:


โดยเป็นการรู้แบบไหลลื่น คมชัด ไม่มีอาการสะดุด และไม่มีความรู้สึกว่า มีผู้รู้ ปรากฏอยู่ (แต่มีสติรู้อยู่ อย่างบริสุทธิ์ ไม่ใช่อาการเคลิ้ม เผลอ เหม่อรู้ แบบไร้สติ) :b46: :b42: :b41:

นั่นคือ เป็นการรู้แบบที่ ไม่ได้มีการแบ่งแยกระหว่าง "ผู้รู้" กับ "สิ่งที่ถูกรู้" :b39: :b43: :b46:

จึงไม่มีการวกกลับมาให้สะดุด "หยุด" ลงในรู้ :b44: :b43: :b39:

ซึ่งยังมีอาการเกิดปรากฏของ "ผู้รู้" ที่ยังมีอาการ "หยุด" "หน่วง" และ "มีน้ำหนัก" ของจิตผู้รู้อยู่บ้าง :b49: :b50: :b49:

หมายความว่า ยังมีอาการมา อาการหยุด และอาการไป ปรากฏอยู่ :b46: :b47: :b42:

คือ ไม่ใช่ "รู้" แล้วหยุดรู้ลงมาที่ใจ ที่ยังมีการปรากฏเกิดของทั้ง "ผู้รู้" และ "สิ่งที่ถูกรู้" แยกกันอยู่คนละส่วน :b43: :b39: :b43:

แต่จะเป็นอาการรู้ แบบไม่ปรากฏตัว "ผู้รู้" :b46: :b47: :b42:

จึงเป็นเพียงการเกิดปรากฏ ของสภาพการ "รู้ และ "ตัวรู้" ที่เป็นเพียง"ธาตุรู้" ที่สักว่าเกิดอาการ "รู้" แบบ "โปร่งโล่ง เบาสบาย" แผ่และผ่านออกไปไม่มีประมาณ :b49: :b48: :b49:

คือรู้แบบไม่สะดุดหยุด รู้แบบทะลุผ่านออกไป "ด้วย" อาการ และ "ใน" อาการ "ไหลต่อเนื่อง" ของกระแสเหตุและปัจจัย :b50: :b44: :b40:

โดยที่ไม่มีอาการไหวของจิต แม้แต่นิดเดียว :b51: :b50: :b49:

ซึ่งตรงนี้ ไม่ต้องพูดถึงการไหวไปในชอบและชัง ซึ่งเป็นการไหวแบบหยาบแล้วนะครับ :b1: :b46: :b48:

เพราะการที่จิตไม่มีอาการไหวแบบนี้ คือการก้าวข้ามผ่าน แม้แต่ในอาการ "หยุดรู้" โดยปรากฏ "ผู้รู้" และ "สิ่งที่ถูกรู้" แยกกันอยู่ :b48: :b49: :b48:

ซึ่งยังเป็นอาการไหว "แบบละเอียด" (คืออาการปรากฏของ "ผู้รู้" นั่น) :b46: :b47: :b46:

ไปสู่การ "รู้" แบบ "รู้แล้วผ่าน" โดยไม่มีการปรากฏเกิดของ "ตัวผู้รู้" :b44: :b43: :b39:

แต่จะเป็นแค่เพียง "ธาตุรู้" และกระแสของ "สภาพรู้" ที่ราบเรียบ ปราศจากเขตแดน แผ่ออกไปไม่มีประมาณ :b49: :b48: :b41:

และอยู่ร่วม รวมๆกับ "สิ่งที่ถูกรู้" นั่น :b50: :b49: :b48:

ซึ่งเมื่อไม่มีการเกิดปรากฏ ของ "ตัวผู้รู้" :b47: :b46: :b47:

ก็ไม่มี "อะไร" ที่จะให้ไหว :b49: :b48: :b47:

สภาวะของการ "รู้" ก็เป็นไปอย่าง โปร่งโล่ง อิสระ เบาสบาย :b46: :b47: :b41:

ไม่ติดข้องในอะไรๆทั้งปวง :b41: :b41: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 01:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสภาวะตรงนี้ จะเหมือนกับสภาวะของจิตที่สลัดคืนตัวเองกลับสู่ธรรม ในการฝึกอานาปานสติ ขั้นสุดท้าย คือปฏินิสสัคคานุปัสสนา :b46: :b39: :b46:

แต่จะต่างจากสภาวะในอรูปฌาน ๒ ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) ซึ่งมีสภาวะที่ใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่า :b39: :b46: :b41:

(๑) ในวิญญาณัญจายตนะ จะกำหนดรู้ลงในวิญญาณ หรือในจิตผู้รู้ ที่แผ่ออกไปแทนการรู้ในอากาศหรือที่ว่าง (space) ที่ไม่มีประมาณ (อากาสานัญจายตนะ) ซึ่งหาขนาด หรือ dimension ไม่ได้คล้ายๆกัน :b44: :b43: :b42:

แต่ในวิญญาณัญจายตนะ (หรือในอรูปฌานทุกขั้น) จะยังคงมีสภาวะของ "ผู้รู้" ให้รู้สึกเป็นน้ำหนักของจิตปรากฏอยู่ :b44: :b50: :b49:

และ

(๒) ในวิญญาณัญจายตนะ จะรู้ลงในจิตผู้รู้ ที่แผ่ออกไปแทนการรู้ในที่ว่าง ซึ่งเป็นส่วนของอรูป ซึ่งรับรู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น :b45: :b51: :b45:

แต่ในสภาวะ "รู้แล้วผ่าน" นี้ จะแผ่การรู้ออกไปได้ ในทุกสิ่งที่มากระทบ ทั้งที่เป็นรูป และอรูป โดยสามารถเกิดผัสสะรู้ได้ในทุกทวาร :b53: :b51: :b53:

คือแผ่ "สภาพการรู้" ออกไปได้ ทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทั้งในขณะทำสมาธิ และในการใช้ชีวิตประจำวัน :b45: :b44: :b50:

ซึ่งการฝึกสติ "รู้" ในแบบ "รู้แล้วผ่าน" หรือ "สักว่ารู้" นี้ :b53: :b45: :b40:

แรกๆจะเป็นการ "หยุดรู้" สลับกับ "รู้แล้วผ่าน" ด้วยกำลังของสมาธิ ที่นำให้เกิดปัญญา "รู้" ในลักษณะนี้ :b48: :b47: :b48:

คือมีอาการ "จับ แล้ว ปล่อย" สลับกับ "ไม่มี แม้แต่จับ จึงไม่มี แม้แต่ปล่อย" :b46: :b47: :b46:

แต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ทั้งในการทำสมาธิ (โดยเฉพาะการฝึกในอานาปานสติ ขั้นที่ ๑๖) และในการใช้ชีวิตประจำวัน :b43: :b44: :b43:

ก็จะทำให้อาการ "รู้แล้วผ่าน" นี้ มีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ในการมีสติ "รู้" โดยไม่ปรากฏเกิด "ผู้รู้" .. :b43: :b42: :b43:

และเมื่อไม่ปรากฏเกิด "ผู้รู้" :b46: :b47: :b46:

ก็จะไม่ปรากฏเกิด อาการมา .. อาการหยุด .. และอาการไป :b49: :b48: :b50:

เพราะไม่มีทั้ง "ผู้มา" กับ "สิ่งที่มา" .. "ผู้หยุด" กับ "สิ่งที่หยุด" .. และ "ผู้ไป" กับ "สิ่งที่ไป" :b46: :b47: :b46:

จิตใจก็จะทำหน้าที่ "รู้" ได้อย่างชัดเจน ไม่หลง (อโมหะ), เป็นกลาง (ตัตรมัชฌัตตตา), สงบ (ปัสสัทธิ), อิสระ โปร่งโล่ง เบาสบาย (ลหุตา), นุ่มนวล (มุทุตา), ควรค่าแก่การงาน (กัมมัญญตา), คล่องแคล่ว (ปาคุญญตา), และซื่อตรง (อุชุกตา) :b46: :b39: :b46:

จนเมื่อเกิดโลกุตรปัญญาขั้นสุดท้าย ตัดเสียซึ่งกิเลสต้นราก คืออวิชชา :b46: :b47: :b46:

จึงจะเข้าถึงอาการ "รู้แล้วผ่าน" หรือ "สักว่ารู้" นี้ได้ ด้วยกำลังของโลกุตรปัญญา อย่างเป็นธรรมชาติ ตลอดเวลา เป็นกิริยาจิต เช่นนั้นเอง :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 01:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่การฝึกสติแบบ "รู้แล้วผ่าน" นี้ วิสุทธิปาละไม่แนะนำให้ฝึก สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเข้าถึงสภาวะของการฝึกสติ จนเกิดตัว "ผู้รู้" อย่างแนบแน่น :b42: :b41: :b42:

และยิ่งกว่านั้น ถึงแม้ว่าจะหา "ผู้รู้" เจอแล้ว จนสามารถคงสภาวะ "ผู้รู้" อยู่ได้ทุกขณะ ก็ยังไม่ควรฝึก :b51: :b50: :b51:

ถ้ายังไม่เคยเข้าถึงสภาวะความว่างแบบไร้ตัวไร้ตนของตัว "ผู้รู้" เอง :b46: :b47: :b46:

นั่นคือสภาวะของ "สุญญตา" หรือ สภาวะสลัดคืน "ปฏินิสสัคคานุปัสสี" ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ :b48: :b47: :b48:

เพราะแทนที่จะสามารถใช้กำลังของสมถะ ในการหน่วงให้เกิดปัญญาเห็นสภาวะ "สุญญตา" ของจริง :b46: :b42: :b39:

แต่จะกลายเป็นการคิด หรือสร้างจินตภาพของสภาวะ "สุญญตา" ขึ้นมา จนเข้าไปสู่กับดักของวิปัสสนูฯ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งไม่ตรงกับสภาวะจริง และล้วนเป็นอาการของการส่งจิตออกนอกทั้งสิ้น :b42: :b43: :b39:


อีกทั้งปุถุชนผู้ที่ยังไม่เคยผ่านสภาวะ "สุญญตา" แล้วมาฝึกด้วยการ "รู้แล้วผ่าน" หรือ "สักว่ารู้" :b46: :b47: :b46:

จากบันทึกตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลเป็นต้นมา เห็นจะมีอยู่ท่านเดียวเท่านั้น ที่ใช้วิธีนี้ จนก้าวข้ามจากปุถุชน สำเร็จเป็นอรหันต์เลย :b50: :b49: :b50:

ซึ่งก็คือ ท่านพระพาหิยะ ทารุจีริยเถระ ที่พระบรมครู ทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะในทางบรรลุธรรมเร็ว (ขิปปาภิญญา) :b51: :b53: :b51:

และปุถุชนในโลกปัจจุบัน ผู้มีความพร้อมในทางธรรมเป็นอย่างยิ่ง จนสามารถใช้การปฏิบัติ "รู้สักว่ารู้" อย่างเดียว จนบรรลุธรรมได้รวดเร็วนั้น :b47: :b46:

คงหาได้ยากเป็นอย่างยิ่ง นะครับ :b49: :b50: :b49:


แล้วคราวหน้ามาต่อกันใหม่ ในรายละเอียดเพิ่มเติมของการฝึกสติ :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33, 34 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร