วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 27, 28, 29, 30, 31, 32, 33 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ว่าใครจะเรียนมาในศาสตร์ไหน อย่างไรมาก็ตาม จะเป็นวิทยาศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือศาสตร์อะไรก็แล้วแต่

เรานึกวิตกเอาหัวข้อวิชาการที่เราเรียนมานั้น แล้วเอามาเป็นเครื่องพิจารณาของจิต ซึ่งเป็นวิชาที่เราเรียนมารู้มาก่อนแล้วมันคล่องตัวง่ายดี

เช่น อย่างเราอาจจะนึกว่าวิชาแพทย์คืออะไร มีความสำคัญกับชีวิตของเราอย่างไร เวลาเราจะรักษาคนไข้ จะรักษาอย่างไร วางแผนอย่างไร อะไรทำนองนี้

ซึ่งเรายกเป็นหัวข้อมาตั้งเป็นปัญหาแล้วคิด คิดด้วยความมีสติสัมปชัญญะ คิดจนกระทั่งจิตของเรามันสงบ เพราะการคิดอันนั้น จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้

เราบริกรรมภาวนา พุทโธๆ ๆ พุทโธคือความคิดเหมือนกัน ยุบหนอ พองหนอ คือความคิดเหมือนกัน สัมมาอรหังคือความคิดเหมือนกัน แต่ถาเราจะเอาเรื่องความคิดที่เราเรียนมานี้ เอาวิชาที่เราเรียนมาทุกอย่างมาเป็นความคิดนี้ มันก็เป็นความคิด


ในเมื่อสิ่งนั้นเป็นความคิด สิ่งนั้นก็เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ทำไมเราจะเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานไม่ได้

บางทีท่านอาจจะสงสัยว่า สิ่งเหล่านี้ไม่มีคำว่า ธรรมะ เจือปนอยู่เลย แล้วเราจะเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้อย่างไร

ในสมัยที่อาตมาเป็นสามเณรน้อย เรียนธรรมบทแปลภาษาบาลี เคยแปลพบเรื่องหนึ่งว่า ช่างไม้นั่งถากไม้อยู่ อาการถากไม้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์ พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้สำเร็จพระอรหันต์เหมือนกัน การถากไม้มีคำว่า ธรรมะ เจือปนอยู่ด้วยไหม

มีอีกคนหนึ่งนั่งทอหูกอยู่ ก็มาพิจารณาชีวิตัวเองเปรียบเทียบกับการทอหูก การทอหูกนี้มันหดสั้นเข้าไปเรื่อยฉันใด ชีวิตของเราก็สั้นเข้าไปทุกทีๆ แล้วก็ได้ความสลดสังเวชได้สำเร็จพระอรหันต์ การทอหูกมีคำว่า ธรรมะ หรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีท่านผู้หนึ่งเดินทางไปเห็นพยับแดดเดือนเมษามันร้อน มองเห็นพยับแดดเกิดความระยิบระยับขึ้นมา ก็ไปปลงปัญญาว่า อ๋อ พยับแดดนี้มันก็เปลี่ยนแปลงอย่างนี้นะ

จิตก็ได้ความสังเวช ก็สำเร็จพระอรหันต์ พยับแดดมีคำว่า ธรรมะ เจือปนอยู่ด้วยหรือเปล่า

ที่นำเรื่องต่างๆ มาเล่าให้ท่านทั่งหลายฟังนี้ อาตมาภาพอยากจะแก้ไขข้อสงสัยข้องใจบรรดานักศึกษาธรรมะทั้งหลาย

เช่น อย่างบางทีว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี้มีนัยต่างกันอย่างไร เมื่อตะกี้นี้ก็ได้ยินคำถาม คำตอบในเทป คำว่าสมถะ กับวิปัสสนา มีความแตกต่างกันอย่างไร

ถ้าจะให้ความตอบตรงตามความหมายกันจริงๆ สมถะ และวิปัสสนา ต่างกันแต่วิธีการ แต่จุดมุ่งหมายก็คือความสงบ

ท่านจะสังเกตดูข้อเท็จจริง เท่าที่ท่านปฏิบัติผ่านมาก็ได้ ถ้าอยากจะรู้ข้อเท็จจริงที่เราไม่ต้องสงสัย ให้สลัดแบบทิ้งเอาไว้ก่อน

การปฏิบัติสมถกรรมฐานตามความเข้าใจโดยทั่วไปคือ บริกรรมภาวนาและการเพ่งกสิณ หรือนึกอยู่สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเพียงสิ่งเดียว หรือนึกถึงลมหายใจ หรือนึกถึงโครงกระดูกเป็นต้น แล้วเป็นการนึกอยู่เฉพาะในวงจำกัด เฉพาะสิ่งหนึ่งๆ เช่น อย่างนึกพุทโธๆ ๆ ก็นึกอยู่ที่พุทโธ อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติแบบสมถะ

แต่ถ้าท่านผู้ใดมีความคิดมาก สามารถที่จะคิดมากๆ วิตกถึงวิชาความรู้ที่เรียนมา อย่างที่เสนอแนะไปแล้วเมื่อสักครู่นี้

เช่น อย่างเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มา ก็มานึกถึงหัวข้อวิชาวิทยาศาสตร์แล้วก็ตั้งคำถามตัวเอง ตอบตัวเองไปเรื่อยว่า วิทยาศาสตร์คืออะไร ในเมื่อตอบไปได้แล้ว ก็เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์อย่างไร ตอบไปข้อไหน เพราะอะไรๆ ๆ ถามตัวเอง ตอบตัวเองเรื่อยไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือเราจะนึกน้อมเอาร่างกายของเรามาวิตกขึ้นมาว่า ร่างกายของเรานี้ ประกอบด้วย ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

แล้วก็มาใช้ความคิดว่า รูปํ รูป ไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกี่ยวกับเรื่อง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรื่อยไป

การปฏิบัติแบบใช้ความคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญาเรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน หรือปฏิบัติแบบวิปัสสนากรรมฐาน

ถ้าจะจำกัดความให้มันเข้าใจอย่างชัดเจนก็คือว่า

บริกรรมภาวนา คือ ปฏิบัติแบบสมถะ

การปฏิบัติด้วยการใช้ปัญญาค้นคิดพิจารณาเป็นเรื่อง เป็นราว เพื่อเป็นอุบายให้จิตสงบ เป็นการปฏิบัติแบบวิปัสสนา


ทั้งสองอย่างนี้แหละ การนึกอยู่สิ่งๆ เดียวก็ดี หรือการพิจารณาเป็นเรื่องเป็นราวก็ดี มุ่งสู่จุดแห่งความสงบ ตั้งมั่นของจิตในแนวแห่งสมาธิ

เพราะทั้งสองอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติแล้วจะทำให้จิตสงบเหมือนกัน ไม่เชื่อทดลองดูก็ได้ เพราะฉะนั้น ข้อแตกต่างกันนี้ แตกต่างกันเฉพาะวิธีการ


แต่ถ้าจะถามว่า การปฏิบัติด้วยบริกรรมภาวนานี้ กับการใช้สติปัญญาพิจารณา เมื่อผลเกิดขึ้นแล้วจะมีนัยแตกต่างกันบ้างไหม

อันนี้มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง การบริกรรมภาวนา บางทีจิตสงบลงไปแล้ว ก็ไปนิ่งติดอยู่ที่สมถกรรมฐาน ที่ท่านว่าบริกรรมภาวนานี้ได้แค่สมถกรรมฐาน ถูกต้องตามที่ท่านว่า ส่วนมากจะเป็นอย่างนั้น

แต่ถ้าหากว่าผู้ที่ใช้สติปัญญาเริ่มต้นพิจารณาเป็นเรื่องเป็นราวไม่ต้องบริกรรมภาวนา เมื่อจิตสงบลงทำให้เกิดมีปีติ มีความสุข และมีสมาธิอย่างเดียวกับบริกรรมภาวนา


ผู้ที่ใช้ความคิดนั้นในเมื่อมีสมาธิเกิดขึ้นแล้ว จิตจะเดินวิปัสสนาได้เร็วกว่าผู้ที่บริกรรมภาวนา

เพราะฉะนั้น 2 อย่างนี้อย่าข้องใจ ใครจะบริกรรมภาวนาก็ได้ จะใช้สติปัญญาพิจารณาก็ได้ แต่ว่าขอเตือนเอาไว้อีกอย่างหนึ่ง อันนี้เป็นประสบการณ์ ออกจะเป็นเรื่องนอกตำราสักหน่อยหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิ การปฏิบัติสมาธิต้องพยายามให้สัมพันธ์กับงานและชีวิตประจำวันที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน

เช่น อย่างสมมติว่าท่านขับรถภาวนา พุทโธ ในขณะที่ขับรถภาวนา พุทโธ ถ้าต่างว่าจิตสงบลงไป แล้วมันไปอยู่กับพุทโธ ไม่สนใจกับการขับรถ ท่านลองหลับตานึกดูซิว่า อะไรจะเกิดขึ้น

อย่างน้อยก็ต้องขับรถไปอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ถ้าร้ายไปหน่อยรถสวนมากๆ บางทีอาจจะชนเกิดอุบัติเหตุ อันนี้ลองพิจารณาดู เป็นประสบการณ์ที่ได้ยินได้ฟัง และเคยได้พบเห็นมาแล้วด้วยตนเอง

เพราะฉะนั้นการทำสมาธินี้ ถ้าพยายามทำสมาธิ ฝึกสมาธิให้มันมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม อันเป็นเรื่องจริงของชีวิตประจำวันได้จะดีที่สุด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างก็ได้กล่าวแล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นสภาวธรรม เป็นเครื่องรู้ของจิต

การปฏิบัติกับสิ่งเหล่านี้ เราทำสติรู้อย่างเดียว

เรื่องพิธีรีตองนั้นตัดออกไว้เสียก่อน ถ้าเราจะทำให้เป็นพิธีนั้น เอาไว้ทำตอนเช้า ตอนเย็นที่เรามีไหว้พระสวดมนต์ประจำวัน แต่ถ้าเราจะทำในขณะนี้ ขณะนี้ท่านฟังเทศน์ ท่านอาจจะทำสติกับการฟังเทศน์ เอาเสียงเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ

ถ้าท่านกำหนดจดจ่อฟังอยู่ แม้ว่าท่านจะจำคำพูดไม่ได้ทุกคำ ท่านอาจจะมีความรู้สึกเกิดขึ้นมาว่า เสียงนี้มันก็มีสูงๆ ต่ำๆ มีหนัก มีเบา แล้วมีสั้นมียาว ประเดี๋ยวท่านก็รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขึ้นมาด้วยการกำหนดรู้ปัจจุบัน

หรือแม้ในที่สุดท่านอาจจะกำหนดรู้ความเป็นอยู่ในปัจจุบันของท่าน ท่านนั่งนานๆ แล้วมันปวดหลัง นั่งนานๆ แล้วมันเมื่อย นั่งนานๆ แล้วมันง่วง ในเมื่อรู้สึกตัวขึ้นมามีสติแล้ว ท่านอาจจะได้รู้ธรรมขึ้นมาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เป็นอย่างนี้แหละ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงยักย้ายอยู่ตลอดเวลา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอเข้ามาในห้องนี้ตอนแรกก็อากาศเย็นเฉียบเพราะฤทธิ์ของแอร์ หนักๆ เข้าความอบอ้าวมันเกิดขึ้น จากกลิ่นไอของกันและกัน บางทีอาจจะเกิดความร้อน

ทีนี้บางทีพระที่พูดที่เทศน์อยู่นี้ ตอนแรกก็ความรู้สึกว่าน่าฟัง ฟังไป ฟังมา มันเหน็ดเหนื่อย อาจจะเกิดรำคาญขึ้นมาก็ได้

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้คือเหตุการณ์ปัจจุบันที่มันจะเกิดขึ้นส่อแสดงให้เรารู้ธรรมะ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เพราะฉะนั้น การที่เราจะทำสมาธิให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ให้มันใกล้ที่สุด อย่าให้มันห่างกัน

ในมหาสติปัฏฐาน ท่านก็ให้กำหนด ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด และคิด ทำสติอย่างเดียว ทีนี้ ในสิ่งอื่นๆ ที่เราทำอยู่ เวลาเราต้องการใช้ความคิดเกี่ยวกับงาน เราก็เอาเรื่องงานมาคิด ทำสติคิดให้มันจดจ่อลงให้มันชัดๆ เวลาทำๆ สติอยู่กับงาน เวลาเขียนหนังสือก็ทำสติอยู่กับสิ่งนั้น ทำอะไรก็ทำสติกับสิ่งนั้น

ทำสติอย่างเดียว

อันนี้คือการปฏิบัติสมาธิเพื่อให้เกิดพลังจิตมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันกับงานที่เราทำอยู่ โดยเอาเรื่องของชีวิตประจำวันเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ

เพราะฉะนั้น จึงใคร่ที่จะขอประมวลหลักการที่จะพึงยึดเป็นแบบฉบับในการปฏิบัติไว้ 3 อย่าง

1. บริกรรมภาวนา อย่างนี้เราปฏิบัติมาแล้ว อะไรก็ได้

2. การใช้สติปัญญาพิจารณา โดยวิตกเอาความรู้ที่เราเรียนมา

หรือถ้าหารใครรู้เรื่องกาย เรื่องใจมากๆ เรื่องอภิธรรมมากๆ จะวิตกเอาอภิธรรมมาเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติก็ได้

ถ้าท่านผู้ใดไม่คล่องต่อเรื่องของธรรมะ ก็เอาวิชาการที่เราเรียนมา ที่เรารู้มาที่คล่องๆ แล้วนั้น มาเป็นอารมณ์พิจารณาในเบื้องต้น มันจะช่วยให้การพิจารณาของเราคล่องตัวขึ้น

อันนี้เป็นขั้นแห่งการพิจารณา จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. การกำหนดรู้โดยที่เราตั้งใจกำหนดรู้ลงที่จิต

ทำจิตให้ว่างอยู่ชั่วขณะหนึ่ง

โดยธรรมดาของจิตเมื่อเราตั้งใจกำหนดลง เราจะเกิดความว่าง

ในเวลาเมื่อเกิดความว่างขึ้นมาแล้ว เราก็กำหนดดูที่ความว่าง


ในเมื่อจิตว่างอยู่สักพักหนึ่งความคิดย่อมเกิดขึ้น

เมื่อความคิดเกิดขึ้น ทำสติตามรู้ความคิดนั้น เพียงแต่สักว่ารู้ อย่าไปช่วยมันคิด

ความคิดอะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้ ความคิดอะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้

ยกตัวอย่างเช่น คิดถึงสีแดง ก็เพียงรู้ว่าสีแดง ไม่ต้องไปคิดว่าสีแดงคืออะไร

ถ้าหากว่าจิตมันคิดไปโดยอัตโนมัติของมัน

เราทำสติตามรู้อยู่ทุกระยะ อย่าเผลอ

ในทำนองนี้ จะเป็นอุบายทำให้จิตของเรารู้เท่าทันอารมณ์ สติตัวนี้จะกลายเป็นมหาสติ

ถ้าสติมันกลายเป็นมหาสติ จะสามารถประคับประคองจิตให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย

เมื่อสติตัวนี้เป็นมหาสติแล้ว เพิ่มพลังขึ้นด้วยการฝึกฝนอบรม กลายเป็นสตินนทรีย์

เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์แล้ว พอกระทบอะไรขึ้นมา จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์ เป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง

ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับว่า จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ หรือเอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้

เพราะ สติตัวนี้เป็นใหญ่ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์ และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้


เมื่อเป็นเช่นนี้ สติตัวนี้จะกลายเป็น สติวินโย

ในเมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสติวินโย สมาธิสติปัญญาของผู้ปฏิบัติมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น

ท่านผู้นั้นจะไม่มีการหลับ

ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด และคิดตลอด 24 ชั่วโมง สติสัมปชัญญะเป็นสายสัมพันธ์สืบต่อกันตลอดเวลา

แม้หลับลงไปแล้วจะรู้สึกว่าตัวเองนอนไม่หลับ เพราะสติไม่ขาดตอน


สติตัวรู้หรือสติตัวรู้สำนึก หรือสติเป็นตัวการ

ซึ่งเป็นสติวินโยนี้ มันจะคอยจดจ่ออยู่ที่จิตตลอดเวลา พออะไรเข้ามาพลั๊บมันจะฉกเหมือนงูเห่าฉกเหยื่ออย่างนั้น

ถ้าสิ่งใดที่มันยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง มันจะยึดเอามาแล้วก็พิจาณา ค้นคว้าจนรู้ความจริง

ถ้ามันรู้แล้วก็สัมผัสรู้แล้วมันนิ่ง


เวลาเราจะทำงานทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใด สติตัวนี้มันจะคล้ายๆ ว่าตัวรู้ปรากฏอยู่ในท่ามกลางแห่งทรวงอก

ส่วนที่ส่งกระแสออกไปทำงาน มันก็ทำงานของมันอยู่ตลอดเวลา

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เราสามารถจะเอาพลังแห่งสมาธิไปใช้ในงานทุกประเภทได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิอันใดทำให้ท่านเบื่อต่อโลก ต่อครอบครัว มันยังไม่ถูกต้องหรอก

ถ้าทำสมาธิมีสติปัญญารู้แจ้งเห็นจริงดีแล้ว ต้องสามารถเอาพลังของสมาธิไปสนับสนุนงานการที่เราทำอยู่ได้

นักศึกษาก็ต้องเอาพลังแห่งสมาธิไปสนับสนุนการศึกษา เคยให้คำแนะนำแก่นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ ว่าวันแต่ละวันๆ ไปเรียนหนังสือ วันนี้อาจารย์ท่านสอนอะไรมา พอกลับมาถึงที่พัก พอเสร็จธุระแล้ว ให้วิตกถึงวิชาที่เราเรียนมาในวันนั้น มาคิดทบทวน เป็นการทบทวนความจำ คิดไป คิดมา นึกไป นึกมา อยู่อย่างนั้นด้วยความตั้งใจ

ผลปรากฏว่า ทำให้นักศึกษาทั้งหลายที่มีความสนใจปฏิบัติอย่างนี้มีสมาธิแล้วก็สามารเรียนหนังสือเก่งสามารถที่จะเอาสมาธิไปสนับสนุนการศึกษาและงานการที่เราทำอยู่ บางท่านถึงกับเอาพลังสมาธิไปช่วยสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นมาก็ได้

อันนี้ถ้าหากมีนักศึกษามาฟังอยู่นี้ ลองพิจารณาดู ลองปฏิบัติดู วันหนึ่งไปเรียนอะไรมา วิตกถึงความรู้อันนั้น ค้นคว้าพิจารณาเป็นการทวนความจำ

ทีนี้ อย่างพ่อบ้านแม่เรือนทั้งหลาย ถ้าท่านผู้ใดเกิดมีปัญหาครอบครัว เช่น อย่างพ่อบ้านแม่บ้านไม่ค่อยจะลงรอยกัน มีมติขัดแย้งอยู่ ก็ให้พยายามตั้งปัญหาถามตัวเองว่า เรามีความบกพร่องอะไร

ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งท่านอาจจะเผลอไปเที่ยวดึกดื่นเที่ยงคืน กลับมาแม่บ้านโมโหบิดหูเอา ท่านอย่าเพิ่งไปโกรธ ให้ตั้งปัญหาถามตัวเองก่อนว่าเราผิดอะไร

ถ้าเรามีสติยับยั้งถามตัวเองสักพักหนึ่ง เราจะได้ความรู้ ด้วยความรู้สึกว่าเราผิด เพราะเราไปเที่ยวดึกเกินไป อันนี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาครอบครัวและชีวิตประจำวัน

การปฏิบัติธรรมนี้ มิใช่ว่าเราต้องการความรู้ความเห็นมาคุยอวดกันให้เสียเวลา เราต้องการธรรมะอันที่สามารถจะมาแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันได้ สามารถแก้ปัญหาหัวใจได้ สามารถแก้ไขปัญหางานการได้

สามารถใช้พลังสมาธิไปสนับสนุนกิจการงานที่เราทำอยู่ได้ทุกประเภท จึงจะชื่อว่าเป็นการฝึกสมาธิแล้วได้ผลคุ้มค่าแก่การเสียเวลา



:b8: :b8: :b8:


ไว้มาต่อคราวหน้าครับ :b46: :b39: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

คราวที่แล้วทิ้งท้ายไว้ในส่วนที่จะเรียบเรียงต่อ ที่ว่าด้วยเรื่องอินทรียสังวร ... สติสัมปชัญญะ ... สุจริต ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... โพชฌงค์ ๗ ... วิสุทธิ ๗ ... วิปัสสนาญาณ ๙ ... โสฬสญาณ ๑๖ ... ปฏิจจสมุปปันธรรม ๑๒ ... และอริยสัจจ์ ๔ :b46: :b41: :b39:

คราวนี้ ผู้มาใหม่อาจจะรู้สึกว่า ธรรมะทำไมอะไรจะเยอะแยะมากมายขนาดนั้น แล้วจะปฏิบัติกันไหวเหรอ :b10: :b31: :b5:

อย่าพึ่งตกใจกับข้อธรรมที่ยกมามากมายนะครับ เพราะสำหรับผู้ปฏิบัติที่คุ้นเคยแล้ว จะรู้ว่า ในภาคส่วนของการปฏิบัติจริงๆนั้น มีอยู่นิดเดียว :b4: :b46: :b41:

ซึ่งตามที่เคยเรียบเรียงไว้ตั้งแต่ต้น ได้แก่ สิกขา ๓ :b46: :b42: :b39:

ว่าโดยย่อคือสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง :b46: :b39:

ซึ่งก็คือมรรค ๑ (ที่มีองค์ ๘) :b46: :b39: :b46:

หรือย่อส่วนเข้าไปอีก ก็คือการปฏิบัติในสติปัฏฐาน :b46: :b42: :b46:

ที่ถึงแม้จะเลือกมาปฏิบัติเพียงแค่ ๑ ฐานย่อย (บรรพะ) จาก ๒๑ ฐานย่อย (บรรพะ) ก็สามารถเข้าถึงสภาวะพ้นทุกข์ หรือสุขสัมบูรณ์ได้แล้ว (ถ้าเพียรปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ก็จะได้ครบทั้งสิกขา ๓) :b38: :b37: :b39:

ส่วนที่ยกมาที่เหลือ เช่น วิสุทธิ ๗ โสฬสญาณ ๑๖ การเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปันธรรม ๑๒ หรือในอริยสัจจ์ ๔ ฯลฯ จะเป็นผลของการปฏิบัติ :b1: :b46: :b41:

คือเป็นในแง่ของกระบวนธรรมที่ไหลเนื่องไปด้วยเหตุปัจจัย (ปวัตินัย) ไม่ใช่ในแง่ของการปฏิบัติ (ปฏิบัตินัย) :b48: :b47: :b48:

ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่รู้ตอนนี้ ก็จะรู้ได้ด้วยตนเองเมื่อปฏิบัติไปถึงจุดนั้นๆแล้วอยู่ดี :b39: :b39:

แถมยังจะเป็นการรู้ที่เรียกว่า "รู้แจ้ง" ในหัวข้อธรรมนั้นๆอีกด้วย :b44: :b39:

ซึ่งดีกว่าการรู้ด้วยการอ่าน ซึ่งเป็นแค่ "รู้จำ" :b46: :b47: :b46:

และเมื่อรู้แจ้งแล้ว การหวนกลับมาอ่านธรรมะที่เป็นส่วนของ "ผล" นั้นอีกครั้ง ก็จะเกิดความปีติซาบซึ้งเข้าไปถึงในจิตในใจได้อย่างมากมาย กับพระคุณอันประเสริฐทั้ง ๓ ประการของพระบรมครู :b8: :b8: :b8:

ซึ่งก็คือพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ :b8: :b8: :b8:

ตลอดจนพระคุณของพระอัครสาวก สาวก อรรถกถาจารย์ และพ่อแม่ครูอาจารย์รุ่นหลัง ที่ท่านได้เมตตาสอนสั่ง และบันทึกธรรมทั้งหมดไว้ ให้สามารถตกทอดจนสู่รุ่นเราได้ โดยที่ไม่สูญหายไปกับกาลเวลาเสียก่อนนะครับ :b8: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 17 ก.ย. 2012, 00:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่ อินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะกันต่อ :b38: :b37: :b39:

ก่อนจะลงลึกในส่วนนี้ วิสุทธิปาละขอทบทวนอธิบายขบวนการของชีวิตและการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกกันก่อน :b1: :b46: :b41:

เพื่อที่จะได้เห็นบทบาทของอธิศีลสิกขา ในส่วนของอินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะ ซึ่งใช้ในการปิดกั้นกระแสของอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น และสนับสนุนกุศลธรรมให้เจริญงอกงาม :b46: :b42: :b46:

โดยวิสุทธิปาละจะพยายามใช้ภาษาธรรมดาๆที่พอจะเข้าใจได้ง่ายๆนะครับ :b1: :b46: :b39:

(แต่ด้วยความซับซ้อนของเนื้อหา อาจจะต้องใช้สมาธิในการอ่านและทบทวนเพิ่มขึ้นซักหน่อย)

และในบางส่วน อาจจะวงเล็บศัพท์บาลีต่อท้ายไว้ให้ เพื่อผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับบาลี จะได้ศึกษาคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการสื่อธรรมจากต้นฉบับไปด้วยในตัว :b45: :b48: :b47:

(จะศึกษาธรรมะที่มีต้นธารจากภาษามคธ ก็ต้องรู้คำศัพท์มคธ ซึ่งก็คือคำศัพท์ทางบาลีไว้ให้ถูกต้องพอเป็นพื้นไว้หน่อยนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ศึกษาธรรมะไม่ค่อยชัดเจน หรือเข้าใจไขว้เขวไปได้ :b46: :b47: :b42:

ตัวอย่างที่เทียบได้ใกล้เคียงก็คือ เมื่อเราจะศึกษาวิทยาการจากฝรั่ง เรายังต้องบากบั่นเล่าเรียนภาษาอังกฤษ ท่องจำทั้งรูปแบบ grammar และ vocabulary กันตั้งสิบกว่าปี ถึงจะพออ่าน textbook จากต้นฉบับรู้เรื่องได้บ้าง :b46: :b47: :b41:

ซึ่งถ้า textbook นั้น มีฉบับแปลไทย คนที่เคยอ่านผ่านหูผ่านตามาแล้ว ก็จะรู้ว่า อ่านเอาจาก textbook นั้น ได้อรรถะตรงกับที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อมากมายกว่ากัน :b47: :b46: :b47:

แต่สำหรับธรรมะแล้วนั้น ถ้าจะเอาแค่พอปฏิบัติได้ คงไม่ต้องถึงกับไปเรียนบาลีให้เป็นเรื่องเป็นราวจนกระทั่งอ่านพระไตรปิฎกบาลีได้นะครับ แค่รู้ความหมายของคำศัพท์โดยถูกต้อง ติดตัวไว้บ้าง ก็เพียงพอแล้ว) :b4: :b46: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 17 ก.ย. 2012, 00:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาที่กระบวนการของชีวิต และการมีปฏิสัมพันธ์กับโลก :b42: :b46: :b39:

คือในระดับปุถุชน ถ้าจะแบ่งแยกความรู้สึก การรับรู้ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อโลกแล้ว โดยมากเราจะเห็นว่า มี "เรา" อยู่คนหนึ่งที่ประกอบไปด้วยกายและใจ :b46: :b47: :b46:

กับมีโลกอยู่อีกหนึ่งใบ :b46: :b39: :b46:

ซึ่ง "เรา" เองก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนั้นด้วย :b48: :b47: :b46:

(คำว่าโลกในที่นี้ หมายรวมถึงจักรวาล หรือส่วนของจักรวาล หรือภพภูมิอื่นๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

ถ้าทางอภิธรรมก็จะเรียกว่า จิต เจตสิก รูป หรือขันธ์ ๕ หรือสังขารธรรม หรือสังขตธรรม คือธรรมที่ยังเนื่องด้วยการปรุงแต่ง รวมหมดทั้ง (โลก) ภายนอก และ (โลก) ภายใน) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งถ้าจะเอาให้ลึกลงไปอีก ก็จะเห็นว่า ในกายใจ ที่เข้าใจกันว่า "เป็นเรา" นี้ จะมีใจ (หรือจิต) เป็นผู้คอยรู้ คอยคิดนึกสั่งการ :b47: :b46: :b48:

โดยมีกายเป็นส่วนต่อเชื่อมและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือโลกภายนอก :b46: :b51: :b46:

(ยังไม่พูดถึงในส่วนที่ใช้ใจล้วนๆติดต่อกับโลกภายนอกนะครับ เอาปุถุชนคนทั่วๆไปก่อน) :b42: :b46: :b51:

ซึ่งขั้นตอนการเชื่อมต่อกับโลกภายนอก จะมีสามส่วนใหญ่ๆ คือภาครับรู้โลก - ภาคประมวลผล - และภาคสั่งการกระทำ :b51: :b46: :b53:

โดยภาครับรู้โลกโดยทั่วไป จะเกิดขึ้นในจิตในใจ ที่ประกอบไปด้วยเจตนา หรือเจตจำนงในการรับรู้โลก ที่ยังประกอบไปด้วยท่าที และความเห็นผิดว่าเป็นเราเป็นเขา ยืนพื้นอยู่ (สังขารที่เนื่องด้วยอวิชชา - อวิชชา ปัจจะยา สังขารา) :b46: :b39: :b46:

และด้วยเจตนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิดที่ยืนพื้นอยู่นั้น :b47: :b48: :b47:

เมื่อมี แสงสี - เสียง - กลิ่น - รส - สภาวะเย็นร้อนอ่อนแข็งไหวตึง - หรือสภาพธรรมที่รับรู้ได้เฉพาะใจ (รวมเรียกว่า อายตนะภายนอก ๖ ที่เป็นทั้งนามและรูป) มากระทบตา - หู - จมูก - ลิ้น - กาย - หรือที่ใจโดยตรง (รวมเรียกว่า อายตนะภายใน ๖ หรือสฬายตนะ) :b49: :b50: :b49:

จึงเกิดการรับรู้ขึ้นที่ใจ :b46: :b48: :b46:

(เกิดวิญญาณรับรู้ (เป็นจิตที่ทางอภิธรรมเรียกชื่อว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต และ ทวิปัญจวิญญาณจิต ในปัญจทวารวิถี) และเกิดปรากฏสิ่งที่ถูกรู้ ทั้งนามและรูป หรือย่อๆว่า นามรูป - สังขารา ปัจจะยา วิญญาณัง, วิญญาณะ ปัจจะยา นามะรูปัง, นามะรูปะ ปัจจยา สะฬายะตะนัง) :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่น หญิงสาวคนหนึ่งกำลังเดินช๊อปปิ้ง แล้วมีแสงสีเป็นประกายแวววาวเข้ามากระทบคลองจักษุ เกิดการรับรู้การกระทบนั้น (หยุดภาพไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ) :b1: :b46: :b47:



ซึ่งเมื่อมีการรับรู้ต่อโลกภายนอกแล้ว (เกิดผัสสะ - สะฬายะตะนะ ปัจจะยา ผัสโส) ชุดข้อมูลทั้งหมดที่ใจหรือจิตรับเข้ามา ก็จะถูกประมวลผลและปรุงแต่งที่จิตต่อ (มโนทวารวิถี) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งที่รับกระทบจนปรากฏให้รับรู้เข้ามา (ทั้งนามและรูป) กับการปรุงแต่ง (สังขารขันธ์ ซึ่งเป็นส่วนนาม) และความจำได้หมายรู้เดิมที่เก็บไว้ (สัญญาขันธ์ ซึ่งเป็นส่วนนาม) :b47: :b50: :b49:

จนเกิดเป็นความรู้สึก (เวทนาขันธ์ - ผัสสะ ปัจจะยา เวทะนา) ซึ่งมีทั้งสุขที่กาย (สุขเวทนา) สุขที่ใจ (โสมนัสเวทนา) ทุกข์ที่กาย (ทุกข์เวทนา) ทุกข์ที่ใจ (โทมนัสเวทนา) หรือเฉยๆ (อุเบกขาเวทนา)
:b49: :b47: :b48:



(เดินภาพต่อ) เมื่อชุดของข้อมูลแสงสีที่เป็นประกายนั้นถูกส่งเข้ามารับรู้ในจิตของหญิงสาวแล้ว จิตจะทำการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยเห็นเดิมไว้ก่อน แล้วจึงรู้ว่า นั่นคือเครื่องประดับ ที่เรียกว่าแหวนเพชร :b19: :b46: :b39:

จากนั้น จิตจะทำการประมวลผลปรุงแต่งต่อ ว่าแหวนเพชรแบบนี้สวยน๊ะ ทำให้เกิดความสุขใจที่ได้เห็น (หยุดภาพไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ) :b1: :b46: :b47:



ซึ่งหลังจากเกิดความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆแล้ว จิตก็ยังปรุงแต่งต่อ (มโนทวารวิถี) ไปอีกว่า :b46: :b51: :b46:

ชอบในสุข (โลภะ - กามตัณหา ภวตัณหา) :b19:

หรือเกลียดชังในทุกข์ (โทสะ - (ที่มาจาก) วิภวตัณหา) :b33:

หรือเฉยๆ (โมหะ คือเป็นการรู้สึกเฉยๆแบบที่ยังประกอบด้วยความเห็นผิด คือยังรู้สึกว่ามีเรามีเขาอยู่ในความเฉยๆ)
:b23:

กับสิ่งที่มากระทบนั้น (เวทะนา ปัจจะยา ตัณหา)
:b51: :b47: :b51:



(เดินภาพต่อ) เมื่อจิตหญิงสาวประมวลผลชุดข้อมูลที่รับเข้ามาว่าเป็นแหวนเพชร เกิดความสุขที่ได้เห็นแล้ว ด้วยความเคยชินที่สะสมมาในจิต จิตจะปรุงแต่งต่อในทันที คือเกิดความชอบ ติดใจ ใคร่อยากที่จะได้แหวนนั้นมาไว้ในครอบครอง (หยุดภาพไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ) :b1: :b46: :b47:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 23:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกรณีจิตรู้สึกเฉยๆ จิตโดยมากก็จะหยุดขบวนการรับรู้โลก และประมวลผลแค่นี้ ไม่มีภาคสั่งการต่อ (หรือถ้ามี ก็เป็นแค่การบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำ) :b48: :b49: :b48:

ส่วนในกรณีเมื่อจิตเกิดอาการชอบหรือเกลียดชังแล้ว กระบวนการทำงานจะเดินต่อเนื่องไป โดยจิตอาจจะคิดปรุงแต่งต่อ โดยดึงเอาทั้งความจำได้หมายรู้เก่า กับความจำได้หมายรู้ใหม่ มาปรุงแต่งผสมปนเปให้ซับซ้อนขึ้นไปอีกในอาการชอบหรือชังนั้น (ปปัญจสัญญา ในมโนทวารวิถี)
:b48: :b55: :b41:



(เดินภาพต่อ) ในขณะที่หญิงสาวอยากได้แหวนเพชร อาจจะมีการนึกคิดฝันหวานจินตนาการเห็นภาพต่อไปอีกว่า ถ้ามันมาอยู่บนนิ้วฉัน มันจะสวยขนาดไหน ใส่แล้วควรจะเข้าเซตกับชุดราตรีสีอะไร เวลากรีดกรายต่อหน้าเพื่อนฝูง คงจะต้องมีคนชื่นชมอิจฉาเป็นแน่ ฯลฯ (หยุดภาพไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ) :b1: :b46: :b47:



ซึ่งเมื่อจิตเกิดการปรุงแต่งมากยิ่งขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ความอยากได้ (กรณีชอบ) หรืออยากให้สภาวะนั้นขาดหายไป (กรณีเกลียดชัง) ได้อย่างรุนแรงมากขึ้นไปอีกจนติดยึดแกะออกยาก (อุปาทาน - ตัณหา ปัจจะยา อุปาทานัง) :b48: :b51: :b54:

เรื่อยไปจนเกิดการตัดสินใจด้วยเจตจำนง หรือเจตนาที่จะกระทำการต่อ (กรรมภพ - อุปาทานะ ปัจจะยา ภะโว) เพื่อให้เป็นไปตามความอยาก หรือไม่อยาก ที่รุนแรงขึ้นนั้น :b44: :b45: :b46:

ซึ่งจะเกิดการตัดสินว่าจะทำอะไรขึ้นที่ใจก่อน (มโนกรรม ในมโนทวารวิถี) แล้วจึงส่งชุดคำสั่งการกระทำเพื่อเชื่อมต่อกับโลกภายนอกในสามช่องทาง :b50: :b49: :b50:

คือทางกาย (กายกรรม) หรือทางวาจา (วจีกรรม) หรือทางใจ (มโนกรรม)
:b51: :b53: :b46:



(ซึ่งตรงนี้จะเข้าสู่ภาคสั่งการแล้วนะครับ หลังจากภาครับรู้โลก และภาคประมวลผลจบลงแล้ว :b1: :b46: :b39:

โดยหลังจากภาครับรู้โลก - ภาคประมวลผล - ภาคสั่งการใน loop แรกจบลง ก็จะขึ้นภาครับรู้โลก - ภาคประมวลผล - ภาคสั่งการ loop ต่อๆไป ต่อเนื่องเป็นกระแสยาวออกไปอีกมากมายทั้งวันจนกว่าจะหลับ (จิตลงภวังควิถี) :b30: :b44: :b46:

หรือแม้แต่ในขณะที่กายหลับ บางที ใจไม่หลับ :b23: :b47: :b46:

โดยภาครับรู้โลก - ภาคประมวลผล - ภาคสั่งการในภาวะที่กายหลับนี้ ก็ยังดำเนินต่อในรูปแบบของความฝัน (สุบินวิถี) ซึ่งเกิดเฉพาะช่องทางรับรู้ - ประมวลผล - และสั่งการทางใจ (มโนทวาร เป็นมโนทวารวิถี))
:b51: :b53: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เดินภาพต่อ) เมื่อหญิงสาวคิดปรุงแต่ง (ซึ่งโดยมากจะ "หลง" คิดจินตนาการไปตามความเคยชินโดยไม่รู้ตัว) ถึงภาพฝันอันสวยหรูจนอยากได้แหวนเพชรมากขึ้นแล้ว :b22: :b36: :b46:

จึงตัดสินใจเอ่ยปากขอลองแหวน (วจีกรรม) หยิบแหวนขึ้นมาลองสวม (กายกรรม) ถามราคากับผู้ขาย (วจีกรรม) คิดตำหนิผู้ขายในใจว่าตั้งราคาแพงเว่อร์จริงๆ (มโนกรรม) เจรจาต่อรอง (วจีกรรม) ใคร่ครวญถึงเงินในกระเป๋าและความคุ้มค่ากับความอยาก (มโนกรรม) ... ฯลฯ :b10: :b5: :b16:

ต่อเนื่องกันไปเป็นกระแสอีกหลาย loop หลายวงจร เหมือนห่วงโซ่ที่ร้อยเรียงกันไปไม่มีที่สิ้นสุด หาต้นหาปลายไม่เจอ :b41: :b41: :b41:

และสมมติว่าเธอตัดสินใจซื้อแหวน .. ต่อจากนั้นก็เดินดูของอย่างอื่น .. หรือไปหาอะไรทาน .. ก่อนเดินไปที่ลานจอดรถ .. ขับรถกลับบ้าน .. ฯลฯ :b47: :b46: :b41:

ซึ่งก็จะเป็นขบวนการ รับรู้โลก - ประมวลผล - สั่งกระทำการ วนเป็นกระแสต่อเนื่องไปอีกเรื่อยๆ :b41: :b41: :b41:

จะเห็นว่า ตรงนี้คือขบวนการ หรือปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง กายใจ กับ โลก :b46: :b47: :b39:

ซึ่งถ้าจะตีกรอบให้แคบลงไปอีก ก็คือ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง "ใจ" ซึ่งก็คือ "โลกภายใน" :b46: :b47: :b46:

กับ "สิ่งแวดล้อม" หรือ "โลกภายนอก" :b44: :b39:

ผ่านทางช่องทางรับเข้า (อายตนะภายใน ๖ หรือทวาร ๖) ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ :b46: :b47: :b48:

มารับรู้ และส่งชุดข้อมูลมาประมวลผล ที่ใจ
:b51: :b46: :b51:

โดยภาคการรับรู้ต่อโลกที่ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย (ปัญจทวาราวัชชนจิต ทวิปัญจวิญญาณจิต ในปัญจทวารวิถี) ก็จะถูกส่งต่อมารับรู้ ที่ใจ (มโนทวาราวัชชนจิต ในปัญจทวารวิถี) :b46: :b42: :b51:

ซึ่งการประมวลผลในชุดข้อมูลที่รับเข้ามา ประกอบกับชุดข้อมูลเก่าที่บันทึกไว้ในสมองและในจิต (สัญญาขันธ์) พร้อมด้วยการถูกผลักดันโดยความชอบชัง (ตัญหา) ความเห็นความเชื่อ (ทิฏฐิ) หรือความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (มานะ) :b43: :b48: :b47:

จนเกิดการ "คิด" (วิตักกะ หรือ วิตก) ปรุงแต่งขึ้นให้พิศดารซับซ้อนหลากหลาย (ปปัญจสัญญา) ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงการตัดสินใจ เจตจำนง เจตนา ในการสั่งการกระทำต่อนั้น :b44: :b45: :b44:

ก็จะเกิดขึ้น ที่ใจ (เป็นมโนทวารวิถี) :b46: :b39: :b46:

โดยการสั่งการ เพื่อทำกิจกรรม จะกระทำ ผ่านช่องทางส่งออกได้ ๓ ช่องทาง :b48: :b47: :b46:

ซึ่งก็คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ :b43: :b42: :b48:

เพื่อเชื่อมต่อสู่โลกภายนอก นั่นเอง
:b55: :b46: :b41:

(และสำหรับผู้ที่ศึกษาปริยัติมาแล้ว การอธิบายปฏิสัมพันธ์ระหว่างกายใจ กับโลก ตรงนี้ ก็คือการแจกแจงในแง่ของกระบวนการในปฏิจจสมุปบาท รวมกับความรู้เรื่องวิถีจิตในพระอภิธรรมอย่างคร่าวๆนั่นเองครับ :b1: :b46: :b47:

ซึ่งขอเว้นไม่ลงรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทในแต่ละขณะจิตของจิตแต่ละประเภท และในแต่ละวิถีจิต ต่อเนื่องจนถึงข้ามภพภูมิที่เป็น loop ใหญ่ ให้เนื้อหาอ่านยากเกินไป .. ไว้มีเวลาเหลือมากๆ จะค่อยๆทยอยมาเก็บรายละเอียดให้นะครับ) :b31: :b46: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 17 ก.ย. 2012, 00:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง กายใจ กับ โลก ซึ่งประกอบไปด้วยขบวนการ รับรู้โลก - ประมวลผล - สั่งกระทำการ นั้น :b46: :b42: :b47:

จะทำให้เกิดสุขก็ได้ เกิดทุกข์ก็ได้ หรือเฉยๆ .. ก็ได้ :b1: :b46: :b39:

หรือพูดในอีกแง่มุมหนึ่งที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว (เพราะสุขเกิดแต่บุญก็ได้ เกิดแต่บาปก็ได้) ว่า :b42: :b47: :b41:

ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง กายใจ กับ โลก ซึ่งประกอบไปด้วยขบวนการ รับรู้โลก - ประมวลผล - สั่งกระทำการ นั้น :b51: :b53: :b51:

จะทำให้เกิดบุญกุศลก็ได้ เกิดบาปอกุศลก็ได้ หรือไม่เป็นทั้งบุญและบาป (อัพยากฤต) .. ก็ได้ :b46: :b42: :b39:

โดยสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็คือ การกั้นวิถี หรือกระแสของปฏิสัมพันธ์ในฝ่ายทุกข์ หรือบาปอกุศล ไม่ให้ไหลต่อเนื่องไป :b38: :b37: :b41:

อีกทั้งยังต้องสนับสนุน ส่งเสริมกระแสของปฏิสัมพันธ์ในฝ่ายบุญ หรือในฝ่ายสุขที่เนื่องด้วยบุญ ให้เกิดขึ้นเนืองๆ :b46: :b41: :b39:

เพื่อเป็นปัจจัย เป็นช่องทางให้ปัญญา ทำหน้าที่ตัด หรือปิดกระแสของปฏิสัมพันธ์ในฝ่ายบาปอกุศล ให้ได้อย่างถาวร เพื่อเข้าถึงสภาวะพ้นทุกข์ หรือสุขสัมบูรณ์ (ซึ่งเป็นสภาวธรรมที่พ้นบาปบุญ)
:b46: :b44: :b39:

โดยองค์ธรรมที่ทำหน้าที่กั้นกระแส ของขบวนการรับรู้โลก - ประมวลผล - สั่งกระทำการ ไม่ให้ไหลไปในทางทุกข์บาปอกุศล :b42: :b46: :b42:

และชักนำกระแส ให้ไหลในทางฝ่ายสุขบุญกุศล :b46: :b39: :b46:

ก็คือองค์ธรรมที่ชื่อว่า "สติ" นั่นเอง
:b1: :b46: :b39:

มาดูพุทธพจน์ตรงนี้ซักหน่อยนะครับ ซึ่งพระบรมครู ทรงตอบคำถามของอชิตมาณพในโสฬสปัญหา :b44: :b46: :b39:


อชิตมาณพ - กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยธรรมอะไร ฯ

พระบรมครู - ดูกรอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=10976&Z=11005&pagebreak=0


คือ สติ จะเป็นตัวกั้นกระแสทุกข์บาปอกุศล :b34: :b47: :b48:

เพื่อเปิดทางให้ปัญญาในเบื้องต้น ที่เรียกว่า สัมปชัญญะ ชักนำให้เกิดกระแสสุขบุญกุศล หรือกระแสกลางๆ คือไม่บุญไม่บาป ได้งอกงาม :b46: :b39: :b46:

และท้ายสุด เพื่อชักนำให้ปัญญาในเบื้องปลาย คือโลกุตรปัญญา ทำหน้าที่ตัด และปิดกระแสของทั้งบาปและบุญ อย่างถาวร
:b46: :b39: :b41:

(แต่ยังมีกระแสที่ไม่บาปไม่บุญ (อัพพยากฤต) ไหลเนื่องไปอยู่ (เป็นกิริยาจิต) จนกว่าจะพ้นธาตุขันธ์เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน จึงจะปิดกระแสทั้งหมดลงได้อย่างสิ้นเชิง) :b46: :b47: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 27, 28, 29, 30, 31, 32, 33 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร