วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 03:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
อายํ วณฺณํ นสํ กิตฺตึ สคฺคํ อุจฺจากุลีนตํ
รติโย ปตฺถยาเนน ฬารา อปราปรา
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ปุญฺญกิริยาสุ ปณฺฑิตา
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต
ทิฏเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปจุวฺจตีติ.
บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาในพระมงคลวิเสสกถา ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี เป็นปสาทนียกถามังคลานุโมทนา ในพระมหามงคลสมยาภิลักขิตกาลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงพระราชปรารภมหาสิริมงคลวารนี้ ที่ตรงกับมงคลสุริยคติทินกาลแห่งพระบรมราชสมภพ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดพระราชพิธีการทรงบำเพ็ญพระพระราชกุศลล้วนเป็นมงคลวิเสส เหตุแห่งสรรพสุภมนุญอดุลยผล อาทิทานมัยสีลมัยภาวนามัยบุญกิริยา เป็นไปในพระพุทธาทิรัตนตรัย อดิศัยอนุตตรบุญเขต ประกอบด้วยสมณเพศบริษัทเป็นต้น ทรงแผ่พระราชกัลยาณจิตถวายส่วนพระราชกุศล อุทิศส่วนพระราชกุศล พระราชทานส่วนพระราชกุศลในอดีตจอมคนมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ ในเทวนิกรทุกสถาน ในทุกพระองค์ทุกท่านผู้อภิบาลป้องกันรักษาพระบรมราชาและสถาบันทั้งปวง ทรงแผ่พระราชกุศลด้วยพระกรุณาธิคุณใหญ่หลวง เพื่อความเจริญความเกษมสุขสวัสดี ไปในพระราชวงศ์มุขมหาอมาตย์มนตรีสภาเสวกามาตย์ สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ทั่วทั้งนั้น พระราชกุศลย่อมประมวลกันเป็นมงคลวิเสสเหตุให้ทรงได้รับไมตรีหิโตปเทศกัลยาณจิตน้อมถวายพระพรชัย จากสรรพเทพน้อยใหญ่และมนุษย์ให้ทรงบริสุทธิ์สถาพรในพระสิริราชัยมไหศวรรยาธิปัตย์ เจริญพระชนมายุพระราชสิริสวัสดิ์เกษมจากสรรพโรคสรรพอุปัทวันตราย
อนึ่ง พระราชกุศลทั้งหลายที่ทรงบำเพ็ญแล้วด้วยดี ย่อมเป็นบุญราศีบุญนิธิสุขุบายมงคลวิเสสปโยคสมบัติวิวัฒน์ให้สัมฤทธิ์อิฎฐกันตมนาปผล คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ สวรรค์ สมด้วยนิคมคาถาประพันธ์แห่งพระสูตรพุทธภาษิตตรัสประทานโอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดีว่า
อายุ วณฺณํ ยสํ กิตฺตึ สคฺคํ อุจฺจากุลีนตํ
รติโย ปตฺถยาเนน อุฬารา อปราปรา
เป็นต้น มีความว่า เมื่อนรชนปรารถนาอยู่ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความยินดีเกษมสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในสันดานเถิด สามารถเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลและคุณที่ประสงค์ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในบุญกิริยา การทำบุญทั้งหลายอันเป็นไปในกายวาจาจิต และกุศลสุจริตซึ่งเป็นไป ณ ภูมิ ๔ คือ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตรทุกประการ บัณฑิตชนผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในทิฏฐิธรรมภพนี้ และประโยชน์เป็นไปในสัมปรายภพหน้า เพราะอาศัยความบรรลุประโยชน์ที่ประสงค์ทั้งภพนี้และภพหน้า ท่านจึงสรรเสริญผู้ทรงปัญญาว่าเป็นบัณฑิต ดำเนินไปในประโยชน์กิจด้วยปัญญา ความไม่ประมาทเป็นเหตุให้บัณฑิตชาติยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ด้วยประการฉะนี้
พระราชกุศลบุญราศี ซึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงบำเพ็ญโดยกำลังพระปัญญาบารมีและอัปมาทธรรม เป็นปฏิปทาให้อิฏฐวิบุลผล มีอายุเป็นต้น เป็นไปโดยชอบต้องตามสุคโตวาทสัมมาปฏิบัติ ด้วยประการฉะนี้
อิโต ปรํ ปวกฺขามิ ตํ ตํ วิเสสมงฺคลํ
มหาราชาธิราขสฺส คุณาลงฺการสมฺมตํ
วุจฺจมานํ หิ สุตฺวาน โยนิโส ปจฺจเวกฺขโต
อุปฺปชฺเชยฺย นรินฺทสฺส โสมนสฺสมนปฺปกํ
ภิรฺโย สมฺปาทเน จิตฺตํ ปณิเธ ตทนนฺตรํ
เตนาปิจ ชนินฺทสฺส โสตฺถิ จ มงฺคลํ สิยา
ลำดับนี้ จะรับพระราชทานพรรณนาพระราชจริยาสาธุปฏิบัติ ที่ตั้งแห่งสวัสดิมงคลอันพิเศษยิ่ง ซึ่งได้ชื่อว่ามงคลวิเสสเป็นพระคุณอลังการ มีพร้อมบริบูรณ์ในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า เมื่อได้ทรงสดับแล้ว ทรงปัจจเวกขณ์ถึงโดยกลังพระปรีชา ก็จักเกิดพระปีติปราโมทย์มีกำลัง แต่นั้นก็จักตั้งพระราชหฤทัย ทรงบำเพ็ญเพิ่มพูนให้บริบูรณ์ยิ่ง สรรพสิ่งสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ก็จักเกิดเป็นมหาผลแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ข้อนี้สมด้วยประพันธคาถาที่บัณฑิตรับพระราชทานกล่าวถวายพระมหากษัตริย์ครั้งโบราณกาล กราบทูลให้ทรงวิจารณ์ทศพิธราชธรรมที่ทรงบำเพ็ญอยู่ ว่า
ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ
อิจฺเจเต กุสเล ธมฺเม ฐิเต ปสฺสาหิ อตฺตนิ
ตโต เต ชายเต ปีติ โสมนสฺสญจนปฺปกํ
ขอสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงพิจารณาพระธรรมส่วนชอบอันตั้งอยู่ในพระองค์ คือ ทาน ศีล บริจาค ความตรง ความอ่อนโยน ตบะคือความเพียร เมตตาคือความไม่โกรธ กรุณาคือความไม่เบียดเบียน ความอดทน ความไม่ทำให้ผิด ดังนั้น ๆ เถิด แต่นั้นพระปีติโสมนัส จักมีขึ้นพระองค์มิใช่น้อย
ก็แลพระราชจริยาซึ่งเป็นคุณาภรณ์อลงกต สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงมีโดยอเนกนัยพ้นวิสัยที่จะรับพระราชทานพรรณนาในกถามรรคเพียงกัณฑ์เดี๋ยวนี้ จะรับพระราชทานบรรยายแต่โดยเอกเทศ
ในศกนี้ (๒๕๒๘) จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระคุณพิเศษ ส่วนอัตตสมบัติด้วยเนกขัมมะและปัญญา ส่วนปรหิตปฏิบัติ จะรับพระราชทานถวายวิสัชนาด้วยรัฏฐาภิปาลโนบาย พอเป็นนิทัศนนัย
เนกขัมมะ แปลว่า การออก ความออก หมายความว่า ออกจากห่วงที่เป็นเครื่องผูกต่าง ๆ ออกจากเครื่องกั้นที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง ข้อนี้พึงน้อมไปปฏิบัติได้โดยทั่วไป โดยอธิบายว่า เมื่อควรจะออกไปปฏิบัติกรณียะ คือ กิจที่พึงทำก็ควรออกไปปฏิบัติ ถ้ามีห่วงผูกพันอยู่ก็ออกไปมิได้ เป็นอันอาจทำอะไรให้สำเร็จ ฉะนั้นเมื่อถึงคราวออกไปก็ต้องทำการออกไป นี้คือความหมายทั่วไปของเนกขัมมะ ซึ่งทุกคนจะต้องมี สุดแต่ภาระหน้าที่ของแต่ละบุคคล แต่ก็มีความหมายจำกัดว่าออกไปปฏิบัติหน้าที่หรือกิจการที่สมควร ถ้าออกไปปฏิบัติการที่ไม่สมควร ก็ไม่เป็นเนกขัมมะ เช่นออกไปประพฤติผิดหรือไปแหล่งอบายมุขต่าง ๆ ที่เป็นอโคจร คือที่เป็นมุมมืดที่มืด ถ้าออกไปในมุมสว่างที่สว่างที่ควรโคจร จึงถูกชอบ ฉะนั้น จึงอาจย่อความของคำว่าการออกไปในภาษาไทยได้เป็น ๒ คือ การออกไปที่สมควร และ การออกไปที่ไม่สมควร ส่วนคำว่าเนกขัมมะ หมายถึง การออกไปที่สมควรอย่างเดียว อะไรทำให้บุคคลมีการออกไปที่ไม่สมควร ส่วนที่สมควรจะออกไปก็ไม่ออกไป ตอบได้ว่ากิเลสในจิตเองเป็นเหตุ กล่าวยกเป็นนิทัศนะคือกิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ให้ปรารถนา จึงมีพระพุทธภาษิตตรัสไว้แปลความว่า "จิตข่มยาก เบา ไว มันตกไปตามกามคือความใคร่" เนกขัมมะจึงมีความหมายโดยตรงว่า ออกจากกาม คือ ความใคร่ดังกล่าว กามนี้เองเป็นบ่วงที่คล้องใจเอาไว้ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้อง) ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่ามารเธยยะ แปลว่าบ่วงของมาร มาคล้องใจสัตว์โลกด้วยบ่วงคือความใคร่ และสิ่งที่ใคร่ปรารถนาพอใจเหล่านี้ เมื่อพรากจิตออกมิได้ ก็ทำให้ออกไปปฏิบัติกรณียะคือกิจที่ควรทำ เช่นหน้าที่ของตนมิได้ เมื่อพรากจิตออกได้ก็ออกไปปฏิบัติได้ ยกอุทาหรณ์มารดาบิดาและบุตรธิดาที่จะต้องจากกัน เช่นไปศึกษาในที่ไกล จะต้องพรากจิตออกจากกันได้ จึงจะแยกกันไปได้ ทหารผู้จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบ จะต้องพรากจิตออกจากครอบครัวและจากความสุขของตนเอง จึงจะออกไปได้ ทั้งนี้ด้วยมีจิตใจมุ่งมั่นต่อหน้าที่หรือเพื่อศึกษาไว้หรือ ได้มาซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าทรัพย์สมบัติครอบครัว ความสุขส่วนตนหรือแม้ชีวิตของตนอาจสละได้ ความทุกข์โศกทั้งปวงย่อมเกิดจากความที่ไม่อาจพรากจิตจากกามอันเป็นบ่วงของมารได้ ดังกล่าวทั้งสิ้น ฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นธรรมจำเป็นสำหรับทุกคนผู้มุ่งผลดีที่จะพึงได้ คือสามารถพรากจิตออกได้จากบ่วงใจทั้งหลาย ใหญ่หรือเล็ก ชั่วระยะสั้นก็ตาม ยากก็ตาม ตลอดไปก็ตาม ตามควรแก่กิจหน้าที่และผลเลิศที่มุ่งหวัง
ผลดีเลิศที่พึงมุ่งหวัง คือ ความดับทุกข์โทษ บรรลุสุขประโยชน์ ที่เป็นปัจจุบันบ้าง ภายหน้าบ้าง อย่างยิ่งบ้าง พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติเนกขัมมะออกจากการกิเลสมาโดยลำดับ ตั้งแต่อย่างหยาบอย่างกลางจนถึงอย่างละเอียด วิธีปฏิบัติออกนั้น ออกทางกายด้วยต้องอยู่ในศีล เช่น ศีลห้า หรือทำความสงบสงัดทางกายเป็นกายวิเวก ความสงัดกาย เช่น ปลีกกายออกไปอยู่ในที่สงบสงัด ไม่ถึงกับออกบวชหรือออกบวช อันเป็นความหมายของเนกขัมมะของผู้มุ่งปฏิบัติออกอย่างยิ่ง ออกทางจิตด้วยตั้งจิตอยู่ในสมาธิ หรือทำด้วยความสงบสงัดกิเลสเป็นอุปธิวิเวก ความสงัดกิเลสซึ่งจะต้องมีศีลและสมาธิเป็นที่ตั้งด้วย และด้วยตั้งอยู่ในปัญญา ฉะนั้น แม้ออกบวชครองเพศเป็นบรรพชิตทางกาย จึงต้องออกบวชทางจิตด้วย คือจะต้องปฏิบัติในวิเวกทั้งสามไปด้วยกัน จึงจะถูกต้องด้วยวัตถุประสงค์ของการบวช และแม้ไม่ออกบวชก็ปฏิบัติในเนกขัมมะได้ด้วยตั้งอยู่ในศีลห้า ศีลแปด ปลีกตนอยู่ในที่สงบสงัดแม้บางคราวทำสมาธิ อบรมปัญญาในธรรมหรือวิปัสสนา ปัญญาให้เห็นธรรมดา คือ เกิดดับของสังขารทั้งหลาย
เนกขัมมะเป็นบารมีข้อที่ ๓ ที่พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญมาเป็นอันมาก บางพระชาติก็ออกบวช บางพระชาติก็มิได้ออกบวช แต่ก็ทรงปฏิบัติตามนัยพระพุทธภาษิตว่า อุยฺยุญฺชนฺติ สตึมนฺโต ผู้มีสติย่อมส่งตนออก พระชาติที่ออกบวช เช่น พระชาติที่ทรงเป็นพระเตมิยะ พระชาติที่ทรงออกบวชชั่วคราวแล้วทรงลาผนวช เช่น พระชาติที่ทรงเป็นพระเวสสันดร พระชาติที่ทรงออกบวชเมื่อชราปรากฏก็มีแสดงไว้
เนกขัมมบารมีแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ
เนกขัมมบารมี ได้แก่ การออกด้วยความรักพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รัก และทรัพย์สิน จึงตัดห่วงใย ปลีกตนออกบำเพ็ญกายวิเวก ความสงบสงัดทางกาย จากกาม และอกุศลกรรมทั้งหลาย
เนกขัมมอุปบารมี ได้แก่ การออกด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย จึงตัดห่วงใย ปลีกตนออกบำเพ็ญจิตตวิเวก ความสงบสงัดทางจิต จากกาม และ อกุศลธรรมทั้งหลายด้วยญาณสมาธิ
เนกขัมมปรมัตถบารมี ได้แก่ การออกด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต จังตัดห่วงใยในชีวิต ปลีกตนออกบำเพ็ญอุปธิวิเวก ความสงบสงัดจากกิเลส รวมทั้งกาม และ อกุศลธรรมทั้งสิ้น ด้วยอำนาจอริยมรรคญาณ
ปัญญา ความรู้ทั่ว ความรู้ถึง ปัญญาที่มีเป็นพื้นใช้เป็นเครื่องพิจารณาไตร่ตรองก็เป็นเหตุให้เกิดปัญญาที่ยิ่งขึ้นไป ก็รวมกับปัญญาที่เป็นพื้นเดิมยิ่งขึ้น และก็ใช้ไตร่ตรองพิจารณาให้เกิดปัญญายิ่งขึ้นไปอีก จึงเป็นเหตุเป็นผลกันเองยิ่งขึ้นไปดังนี้ แต่ปัญญาที่แท้ต้องเป็นปัญญาที่รู้จริงตามเหตุและผล หรือรู้เหตุผลตามเป็นจริง มีลักษณะทั่วไป ๓ คือ อายโกศล ความฉลาด อปายโกศล ความฉลาดรู้จักความเสื่อม อุปายโกศล ความฉลาดรู้ทางเข้าสู่ความเจริญ รวมเข้าคำเดียวคือ รู้จริง รู้จริงในสิ่งใด ก็เป็นปัญญาในสิ่งนั้น และเมื่อรู้จริงแล้วว่านี่เป็นความเจริญ นี่เป็นความเสื่อม นี่เป็นทางเข้าไปสู่ความเจริญ ผู้รู้จริงก็ย่อมจะไม่ไปทางเสื่อมแน่นอน ย่อมจะไปทางเจริญโดยแท้ แต่ที่คนเป็นอันมากดำเนินไปทางเสื่อม คือ เผลอปัญญาเพราะขาดสติที่ให้เฉลียวคิด เพราะมัวเมาไปด้วยอำนาจราคะ ตัณหา หรือ โลภโกรธหลง ปัญญาที่มีอยู่เป็นพื้นอาจเพียงพอ แต่มิได้ไตร่ตรองสอบพิจารณา ก็กลายเป็นเหมือนไม่มีปัญญา คือ กลายเป็นผู้หลงไป จึงมีคำไทยคู่กันว่า เฉลียวฉลาด ขาดเฉลียวที่เป็นสตินำก็ทำให้ขาดฉลาด พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนไว้ว่า ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย ไม่พึงประมาทปัญญา จะเข้าถึงสัจจะ คือ ความจริงทุกอย่างได้ด้วยปัญญาเท่านั้น ไม่มีแสงสว่างใด ๆ ในโลกจะส่องให้เห็นความจริงได้นอกจากแสงสว่าง คือ ปัญญา พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี" แต่ปัญญานี้ก็คล้ายกับประทีปอยู่อย่างหนึ่งคือ ต้องจุดจึงจะสว่าง คือจะต้องประกอบกระทำ จึงตรัสว่า โยคา เว ชายเต ภูริ ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ คือ กระทำอบรมด้วย สุตะ การสดับตรับฟังหรือการเล่าเรียน จินตา ความคิดพิจารณา ภาวนาความทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น คือ การปฏิบัติกระทำ ทั้งสามนี้แต่ละข้อเป็นเหตุให้เกิดปัญญา จึงเรียกปัญญาที่เกิดจากแต่ละข้อว่า สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา อธิบายว่าเป็นเหตุเริ่มต้นแต่ละข้อก็ได้ เหตุทั้งสามข้อนี้อาศัยกันก็ได้ ประการหลังนี้คือ เมื่อมีการสดับฟังการอ่านการเรียนแล้ว ก็ต้องมีการคิดพิจารณาให้เข้าใจแล้วก็ต้องปฏิบัติ จึงจะได้ปัญญาที่สมบูรณ์ ปัญญาคือ ความรู้ทุกอย่าง ดังที่เรียกกันว่า ทางโลกก็ตาม ทางธรรมก็ตาม เมื่อยังไม่ถึงอริยปัญญา ก็เรียกว่า โลกิยปัญญาทั้งหมด เมื่อถึงอริยปัญญา จึงเรียกว่า โลกุตระปัญญา ปัญญาเหนือหรือพ้นโลก (โดยมีโคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรเป็นพรมแดน)
ปัญญาเป็นบารมีข้อที่ ๔ ที่พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญมาเป็นอันมาก เช่น พระมโหสถในทศชาติ คือ ในเรื่องพระเจ้าสิบชาติ และแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ
ปัญญาบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน
ปัญญาอุปบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างการของตน
ปัญญาปรมัตถบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตของตน
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงบำเพ็ญเนกขัมมะ การออกไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในทุกภาคของประเทศ มิได้ทรงคำนึงถึงความเหนื่อยยากพระวรกาย และอันตรายใด ๆ ฝึกพระราชหฤทัยให้ตั้งมั่นให้มุ่งมั่นในพระราชกรณียกิจและพระราชกุศลจริยาทั้งปวง ทั้งทรงทาน ทรงศีล ทรงธรรม ปฏิบัติเป็นต้น ฝึกฟอกพระราชหฤทัยให้บริสุทธิ์สะอาด และทรงบำเพ็ญพูนพระปัญญาปรีชาฉลาดในฐานะทั้งปวง นับเป็นพระราชปฏิบัติส่วนอัตตสมบัติ คือ เนกขัมมะจัดเป็นมงคลวิเสสที่ ๑ ปัญญาจัดเป็นมงคลวิเสสที่ ๒
พระราชจริยรัฏฐาภิปาลโนบายนั้น คือ พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติกระทำ เพื่อประโยชน์คุณแก่พระราชอาณาจักรและประชาชน จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนาด้วยทศพิธราชธรรมข้อ ๓ คือ ปริจจาคะ และข้อ ๔ คือ อาชชวะ โดยปรหิตปฏิบัติปริยาย
ปริจจาคะ แปลว่า สละบริจาค เมื่อยกขึ้นแสดงเพียงข้อเดียว ก็หมายถึงทานรวมอยู่ด้วย เมื่อยกขึ้นแสดงคู่กับทาน ก็หมายถึงการที่สละบริจาคสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยกว่าแคบกว่า เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์ใหญ่กว่ากว้างกว่า เพื่อบรรเทาตระหนี่ ดังพระพุทธภาษิตแปลความว่า "ผู้มีปัญญาเมื่อเห็นสุขไพบูลย์ พึงสละสุขพอประมาณเสีย" และว่า "พึงสละทรัพย์เพราะ (รักษา) อวัยวะอันประเสริฐ เมื่อรักษาชีวิตก็พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรมก็พึงสละอวัยวะ ทรัพย์แม้ชีวิตทั้งสิ้น" ข้อนี้พระมหากษัตราธิราชเจ้าทรงสละบริจาคพระราชทรัพย์ เป็นต้น ตลอดถึงความสุขส่วนพระองค์ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแห่งประชาราษฎรส่วนรวม จัดเป็น ปริจจาคะ
ทศบารมีข้อที่ ๓ คือ เนกขัมมะ การออก กับทศพิธราชธรรมข้อ ๓ คือ ปริจจาคะ พิจารณาดูอรรถคือความ ก็เนื่องเป็นอันเดียวกัน เพราะจะออกได้ก็ต้องสละได้ เช่นจะออกจากที่ใดได้ ก็ต้องสละความติดในที่นั้นได้ หรือจะสละได้ก็ต้องออกได้ เช่นจะสละสิ่งใดได้ก็ต้องออกจากความติดในสิ่งนั้นได้ แต่การออกของพระพุทธเจ้าเมื่อทรงเป็นพระโพธิสัตว์นั้น หมายถึงการสละออกบวชเพื่อพระโพธิญาณ ทิ้งสิ่งอื่นได้ แต่ไม่ทิ้งพระโพธิญาณ ส่วนพระมหากษัตราธิราชเจ้า ทรงสละออกเพื่อประชาชน ไม่ทรงทิ้งประชาชน โบราณบัณฑิตจึงไม่ยกเนกขัมมะขึ้นแสดงในทศพิธราชธรรม ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจไปในการออกอย่างยิ่ง แต่แสดงปริจจาคะแทน เพื่อให้มีความหมายกระชับเข้ามาว่า ทรงสละเพื่อประชาชน เพราะทรงสละความติดในความสุขต่าง ๆ จึงทรงสละออกไปได้ และเสด็จออกไปเพื่อประชาชนได้ในที่ทุกสถาน พระโพธิสัตว์ไม่ทรงทิ้งพระโพธิญาณฉันใด พระมหากษัตราธิราชเจ้าก็ไม่ทรงทิ้งประชาชนฉันนั้น ปริจจาคะในทศพิธราชธรรมจึงหมายถึง พระมหากษัตราธิราชเจ้าทรงบริจาคเพื่อประชาชน แต่ไม่ทรงบริจาคประชาชน เช่นเดียวกับทานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ทำทานด้วยการให้วัตถุแก่ผู้อื่นโดยสงเคราะห์ เป็นต้น แต่ไม่ตรัสสอนให้ทำทานด้วยการให้ตนเองแก่ใคร ปริจจาคะเป็น ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๓
อาชชวะ แปลว่า ความเป็นผู้ตรง คือความมีอัธยาศัยตรง ปฏิบัติซื่อตรง ปราศจากมายาสาไถย ไม่ปฏิบัติลวงกัน หรือ หลีกเลี่ยงแอบแฝง ข้อที่พระมหากษัตราธิราชเจ้าทรงมีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยความตรง ปราศจากมายาสาไถย ดำรงในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตร พราราชวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงและประชาชน ไม่ทรงคิดร้ายโดยอุบายผิดยุติธรรม แม้ความที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันเป็นส่วนเหตุถูกตรงต่อความต้องการที่เป็นผล ด้วยกำลังพระปัญญาปรีชาสามารถ จัดเป็น อาชชวะ
ทศบารมีข้อ ๔ คือ ปัญญา กับทศพิธราชธรรมข้อ ๔ คือ อาชชวะ ความเป็นผู้ตรง ดูถ้อยคำเป็นคำละความหมายกัน แต่เมื่อเพ่งพินิจเข้าจริง จะเห็นว่าเนื่องกันอย่างใกล้ชิด เพราะปัญญาจะต้องมีความตรงจึงเป็นปัญญาแท้ คือ จะต้องรู้ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ผิดไปจากความเป็นจริง เช่นจะต้องรู้ตรงต่อเหตุผลที่เป็นจริง ไม่ผิดไปจากความจริง ถ้าคดต่อเหตุผลที่เป็นจริง หรือ คดต่อความจริงก็มิใช่ปัญญา แต่เป็นโมหะ ความหลง อวิชชา ความไม่รู้ คือรู้ไม่ถูกไม่ตรง ปัญญาจึงมีความตรง และความตรงที่จะต้องประกอบด้วยปัญญา จึงจะเป็นความตรงแท้ คือ ตรงต่อเหตุผล ตรงต่อความถูกต้อง ตรงต่อธรรม ตรงต่อวินัย ตรงต่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีคำพูดว่าซื่อโง่ ก็คือซื่อหรือตรงที่ขาดปัญญา ดังเรื่องเถรตรงหรือเถรส่องบาตร เรื่องเถรตรงคือเรื่องของพระแก่รูปหนึ่งที่มุ่งจะถือปฏิบัติตรงเป็นอุชุปฏิปันโน จะเดินไปไหนก็เดินตรง ไม่ยอมเหลียวหลีกอะไร พบตอไม้กอไผ่ขวางหน้าก็ไม่ยอมหลีก เดินบุกตรงเข้าไป ก็ต้องติดอยู่กลางกอไผ่ เรื่องของเถรส่องบาตร ก็คือ พระเถระผู้เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ ฉันแล้วล้างบาตรแล้ว ก็ส่องดูบาตรที่มีรูรั่วทะลุว่ามากถึงกับขาดเป็นบาตรครองตามวินัยแล้วหรือยัง ส่องดูหลังจากฉันแล้วทุกวัน พระทั้งหลายผู้เป็นศิษย์เห็นอาจารย์ส่องดูบาตรหลังจากฉันเสร็จอยู่ทุกวัน ก็ส่องดูบาตรของตนตามอาจารย์บ้างโดยไม่รู้เหตุผล คิดว่าเป็นข้อวัตรหรือธรรมเนียมที่ฉันล้างบาตรแล้วจะต้องส่องดูบาตร จะต้องทำตามอาจารย์ ทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องแสดงนิทัศนะของความตรงหรือความซื่อที่ขาดปัญญา ความเป็นผู้ตรงด้วยปัญญาจึงถูกต้อง ปัญญากับอาชชวะ ความเป็นผู้ตรงจึงต้องประกอบไปด้วยกันดังนี้ อาชชวะ เป็นทศพิธราชธรรมข้อที่ ๔




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 13:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 03:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงพระเจริญด้วยพระบารมี พร้อมทั้งราชธรรมจริยา ยกโดยเฉพาะในกถามรรคนี้ คือ เนกขัมมะและปัญญา เป็นส่วน อัตตสมบัติ กับทั้งปริจจาคะและอาชชวะ ความเป็นผู้ตรง เป็นส่วนปรหิตปฏิบัติ เป็นรัฐฏาภิปาลโนบาย คือ เหตุสำคัญที่นำให้เข้าถึงความเจริญในการปกครองรัฐให้วัฒนาสถาพร ดังจะพึงเห็นได้จากพระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติตลอดมา ซึ่งมีอยู่เป็นอันมาก ไม่อาจยกขึ้นมาแสดงสาธกด้วยกถามรรคเพียงครั้งเดียวได้ แต่อาจย่อแสดงสาธกได้เป็น ๒ คือ พระราชกรณียกิจที่พึงทรงปฏิบัติตามกำหนดตามจารีตตามพระราชประเพณี กับพระราชกรณียกิจที่ทรงขวยขวายปฏิบัติด้วยพระองค์เองนอกจากที่มีกำหนดให้ทรงปฏิบัติ หากจะทรงปฏิบัติแต่เฉพาะพระราชกรณียกิจที่มีกำหนดให้ทรงปฏิบัติเท่านั้นก็ย่อมทรงทำได้เหมือนอย่างข้าราชการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตน แต่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้ามิได้ทรงหยุดอยู่เพียงเท่านั้น ได้ทรงขวนขวายปฏิบัติพระราชกรณียกิจนอกจากที่มีกำหนดไว้มากมาย เป็นการทรงเพิ่มพระราชกรณียกิจแก่พระองค์ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ด้วยกำลังพระมหากรุณาที่แผ่ไปในประชาชนทั้งปวง ไม่ทรงห่วงใยในความสุขส่วนพระองค์ เสด็จออกไปประทับในทุกภาคของประเทศปีละประมาณ ๗ เดือน เสด็จทอดพระเนตรความเป็นอยู่ อาชีพ เป็นต้น ของประชาชน กับทั้งที่ดิน แหล่งน้ำ และอื่น ๆ พระราชทานพระราชดำริทำการพัฒนาการเกษตรแห่งน้ำเป็นต้น และทรงยังให้เกิดการพัฒนาขึ้นเป็นการเป็นงานจริงจัง โดยมีเค้าโครงอันเหมาะสม มีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง และมีคณะบุคคลร่วมปฏิบัติ ทั้งที่เป็นข้าราชการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และอาสาสมัครประกอบด้วยนักวิชาการ และวัตถุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นการสอดคล้องตามกำหนดลำดับความสำคัญให้แก่การพัฒนาชนบทของรัฐบาล เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น การพัฒนาทั้งปวงนี้เกิดขึ้นได้ด้วยกำลังพระปัญญาปรีชาสามารถ ที่ทรงได้จากการที่ได้เสด็จไปทอดพระเนตรเห็น ทรงได้สดับฟัง ทรงสัมผัสถึงสถานที่ และบุคคล กับทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งหลายด้วยพระองค์เอง ทรงสอบถามไต่ถาม ทรงพระราชดำริจับเหตุผลต้นปลายโดยถูกต้อง จนถึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งศูนย์วิจัยการเกษตรและการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งบัดนี้มี ๖ แห่งกระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศ ทั้งหมดนี้แสดงถึงพระบารมีที่มีในพระองค์ สาธกเฉพาะในกถามรรคนี้ เพียง ๒ ข้อ คือ พระเนกขัมมบารมี และพระปัญญาบารมี เป็นส่วนอัตตสมบัติกับทั้งพระราชธรรมจริยาสาธกในกถามรรคนี้เพียง ๒ ข้อ คือ ปริจจาคะ สละ บริจาค และ อาชชวะ ความเป็นผู้ตรง ดังที่ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ทุกส่วน และกำลังพระวรกาย กำลังพระราชหฤทัย กำลังพระปรีชาสามารถและอื่น ๆ ทรงงานตรากตรำ ลำบากตั้งแต่เริ่มต้นในป่าเขาลำเนาไพร และทรงดำเนินงานติดตามให้ก้าวหน้าไปตามโครงการ ทรงติดตามแก้ไขและส่งเสริมไปตามลำดับ ทรงสละบริจาคได้เพื่อให้การพัฒนาทั้งปวงบังเกิดความสำเร็จเป็นประโยชน์สุขแก่ประชาชนทุกประการ ด้วยพระราชอัธยาศัยที่ตรง การทรงปฏิบัติที่ตรงต่อเป้าหมายที่ประสงค์ด้วยปัญญาวิจารณญาณ รัฐบาลพร้อมด้วยประชาชนต่างได้มองเห็นความที่ทรงอุทิศพระองค์ทรงงานปรารภผลส่งเสริมการประกอบอาชีพดำรงชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ถวายความจงรักภักดีสนับสนุนพระราชดำริและโครงการต่าง ๆ ตามพระราชดำริ ทั้งนี้ก็เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขที่ตรงถึงประชาชนโดยตรง นับว่าเป็นปริจจาคะสละบริจาค และ อาชชวะ ความเป็นผู้ตรงประกอบด้วยเนกขัมมะ การออกไป และปัญญา อันสำคัญยิ่ง นับว่าเป็นรัฏฐาภิปาลนโยบายส่วนปรหิตปฏิบัติ จัดเป็นมงคลวิเสสที่ ๓
แม้สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้ทรงอบรมให้พระองค์ ให้ทรงสมบูรณ์ด้วยธรรม เป็นมงคลวิเสสส่วนอัตตสมบัติ ทรงดำรงราไชยศวรรย์ ทรงปกครองอภิบาลประชาชนโดยธรรม เป็นมงคลวิเสสส่วนรัฏฐาภิปาลโนบาย ให้วัฒนาสถาพรในทุกทาง ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกอย่าง เพื่อให้ประเทศชาติไทยนี้ เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ธนสารสมบัติทั้งปวง เป็นส่วนปรหิตปฏิบัติ แม้ในทางศาสนจักร ก็ได้ทรงปฏิบัติในฐานะเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก โดยควรแก่ฐานะทุกประการ ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะ พระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ใหม่ และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานสังคหวัตถุในสงฆ์ ในบุคคล โดยนานัปการตลอดกาละทั่วเทศะทั้งปวง ประชาชนทั้งชาติกับคณะสงฆ์ต่างระลึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพ้นประมาณ ถึงวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา จึงพร้อมกันเฉลิมฉลองทั่วประเทศ จุดเทียนถวายพระราชสดุดี แสดงความจงรักภักดีด้วยวิธีต่าง ๆ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ด้วยจิตใจเคารพเทอดทูนศรัทธาในองค์สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นองค์พระประมุขแห่งประเทศชาติ องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ตั้งสัจจาธิฐานเป็นอันเดียวกันถวายพระพรชัยมงคล
เตหิ เตหิ วิเสเสหิ คุเณหิ ปฏิมณฺฑิโต
จิรญฺชีวี มหาราชา สุขปฺปตฺโต อนามโย
ยสสา เตชสา จาปิ วฑฺฒยนฺโต นรุตฺตโม
สทา ภทฺรานิ สมฺปสฺสํ จิรํ รชฺเช ปติฏฺฐตุ
ขอสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงประดับด้วยพระคุณสมุทัยอันพิเศษนั้น ๆ ทรงพระชนมายุยืนนาน ทรงพระสำราญสมบูรณ์พระอนามัย ทรงพระเจริญด้วยพระราชอิสริยยศเดชานุภาพ ทอดพระเนตรเห็นแต่กิจการอันเจริญเป็นนิตยกาล เสด็จสถิตยืนนานในพระราชมไหศวรรย์ ปกครองรัชสีมามณฑลให้สมบูรณ์สมพระราชประสงค์
ลำดับนี้พระสงฆ์ผู้ได้มาในมหามงคลกาลนี้ มีสมานฉันท์ตั้งสัตยาธิษฐาน ขอพรพระศรีรัตนตรัยที่ปรากฏเป็นมงคลสูงสุดของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ประสิทธิ์ถวายแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อุตฺตมํ ธมฺมมชฺฌคา
มหาสงฺฆํ ปโพเธสิ อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสรู้ธรรมอันสูงสุด ยังพระสงฆ์หมู่ใหญ่ให้เบิกบานตื่นจากกิเลสนิทรานี้จัดว่า พระรัตนตรัย คือ วัตถุอันประเสริฐให้เกิดความดี ๓ ประการ ย่อมเป็นไปเพ่อความบริสุทธิ์อย่างยิ่งใหญ่ไพศาลแก่ผู้เลื่อมใส ด้วยเดชานุภาพพระศรีรัตนตรัยดลบันดาล ขออุปัทวันตรายและอุปสรรคศัตรูทั้งหลาย จงอย่าบังเกิดถูกต้องพ้องพานซึ่งไทยสยามรัฐมหาชนบทนี้ ในกาลไหน ๆ จงบำราศไกลด้วยประการทั้งปวง ความเป็นผู้ไม่มีโรค ความสุขสำราญ ความเป็นผู้มีอายุยืนนาน และความบริบูรณ์แห่งวัตถุทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งวิบุลผลนั้น ทั้งสุขโสมนัสสวัสดีในที่ทุกสถาน จงเกิดมี จงเป็นไป แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงอภิบาลไทยสยามรัฐมหาชนบทนี้ กับทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชชนนี พระราชโอรสธิดา พระบรมราชวงศ์และคณะรัฐบาลมุขอำมาตย์มนตรีสภาเสวกามาตย์ ทหาร พลเรือน ตำรวจ พสกนิกรประชาราษฎร สมณชีพราหมณ์ ขอเทพเจ้าทั้งหลายทั่วจักรราศี ผู้สถิตอยู่ในไทยสยามรัฐมณฑล จงตั้งไมตรีจิตอภิบาลรักษาสกลไทยสยามรัฐสีมาอาณาเขต ซึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงเป็นองค์พระประมุข ด้วยนำเข้าไปใกล้ซึ่งอิฏฐวิบุลผลอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ คอยป้องกันซึ่งสรรพโทษอันไม่เกื้อกูลแก่ความเจริญ อย่าให้เกิดมี
สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส
ขอผลที่กล่าวนี้ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้มีพระราชมนัสเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ สมพระบรมราชประสงค์ทุกประการ
รับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในพระมงคลวิเสสกถา เป็นปสาทนียมัคลานุโมทนา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการเปิดประชุมใหญ่
ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ ๓๒
ณ หอประชุมศรีเทพ โรงเรียนป่าไม้ จังหวัดแพร่
วันเสาร์ ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๗

การปฏิบัติส่งเสริมและทะนุบำรุงพระศาสนานั้น แม้จะมีแง่มุมและรายละเอียดในเนื้อหาการปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ หรือในวิธีปฏิบัติอย่างไรก็ตาม ท่านทั้งหลายไม่ควรจะทิ้งหลักการข้อสำคัญที่ว่า เราจำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษา และ ปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐานให้มาก ทั้งนี้เพราะธรรมะขั้นพื้นฐานนั้น คนทั่วไปเรียนรู้ได้ง่าย เข้าใจได้ชัด และปฏิบัติได้ผล ซึ่งย่อมทำให้เขาเหล่านั้นเป็นประโยชน์ของพระศาสนา ว่าเมื่อได้เรียนรู้และปฏิบัติตามธรรมบัญญัติแม้เพียงเบื้องตนเท่านี้ ก็ยังได้รับประโยชน์ คือ มีความสุข ความเจริญ ความร่มเย็นขึ้นมา ทั้งในกาย ในใจ ในการครองชีวิต ตลอดถึงในกิจการงาน ดังนี้ ก็จะพอใจเรียนรู้และปฏิบัติธรรมกันหนักแน่นยิ่งขึ้น และแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น เมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะปฏิบัติธรรมะกันอย่างถูกต้องทั่วถึงมากขึ้น การปฏิบัติบ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองก็จะลดน้อยลง และพระศาสนาก็จะเจริญมั่นคงขึ้น เพราะชาวพุทธเราร่วมกันทำนุบำรุงโดยประการดังกล่าวนี้





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 09:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว




e0b89ae0b8b1e0b8a7e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b88722.jpg
e0b89ae0b8b1e0b8a7e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b88722.jpg [ 42.6 KiB | เปิดดู 4196 ครั้ง ]
.. :b8:

onion onion onion

อนุโมทนาแล้วๆๆ..
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2012, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย
ความสำคัญของ "สมาธิ"
พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม)
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
ผู้มีปณิธานมั่นคง และ มีผลงานพัฒนาคนให้สูงด้วยคุณธรรม

การฝึกสมาธิทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตสงบ เป็นกุญแจสำคัญในการเปิดแสงสว่างให้แก่โลก เป็นบ่อเกิดพลังอันยิ่งใหญ่แก่ชีวิต เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาของมวลมนุษยชาติทั้งโลก และเป็นความสุขที่มีค่าสูงสุดแก่ผู้ปฏิบัติ ดังพุทธวจนะ นัตถิ สันติ ปรมัง สุขัง สุขอื่นใดจะเท่าใจหยุดนิ่งไม่มีอีกแล้ว ความสุขอันเกิดจากจิตสงบนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตมนุษย์
พจนานุกรมให้คำนิยาม "สมาธิ" อธิบายว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำรวมจิตใจ ความแน่วแน่ของจิต การตรึกตรองเคร่งเครียดในสิ่งใด คำอธิบายเหล่านี้ล้วนแต่แสดงลักษณะของสมาธิ ให้เห็นความหมายและความสำคัญที่มีอยู่ในสมาธินั่นเอง เพียงแต่ความตั้งมั่นแห่งจิต ซึ่งเป็นคำอธิบายท่อนแรกก็มีความหมายลึกซึ้งและแสดงให้เห็นว่าสมาธินั้นเกี่ยวกับจิตเราแท้ ๆ เพราะว่า ความตั้งมั่นจะมีได้ต้องตั้งอยู่ที่จิต
การทำจิตให้มั่นคง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้กวัดแกว่ง ให้ตั้งอยู่ในอารมณ์ไม่เกาะเกี่ยวด้วยสิ่งอื่น ไม่ให้เป็นไปตามกระแสของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ประสบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตรงนี้สำคัญมาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง ๖ นี้ มีชื่อตามหลักธรรมในทางพุทธศาสนาว่า "อินทรีย์" คำว่า อินทรีย์นั้นแปลว่า เป็นใหญ่ คือ เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ตาเป็นใหญ่ในการดู หูเป็นใหญ่ในการฟังความถูกต้อง ใจเป็นใหญ่ในการรู้ ดู ฟัง เป็นหน้าที่ของอินทรีย์ทั้ง ๖ แต่ละอย่าง จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลย ถ้าขาดไปสักอย่างหนึ่งก็ทำให้คนนั้นไม่สมบูรณ์ไม่ครบวงจร
สมมติว่าตาบอดไปข้างหนึ่ง ก็ทำให้และเห็นไม่ถนัด และ ทำให้ขาดความสวยงามไปด้วย ยิ่งกว่านั้น ถ้าตาบอดเสียทั้ง ๒ ข้าง ก็แลไม่เห็นอะไรเลย ทำให้ความเป็นคนบกพร่องไป และความเป็นคนยังไม่เต็มที่ มิหนำซ้ำจะเรียนหนังสือกับเขาก็ไม่ได้ เพราะการเรียนหนังสือต้องใช้อินทรีย์ คือ ตา เป็นส่วนสำคัญกว่าส่วนอื่น หูก็เหมือนกัน ถ้าสมมติว่าหูหนวกก็ไม่ได้ยินเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงของมนุษย์หรือของสัตว์ว่าเป็นอย่างไร แล้วคงขาดประโยชน์ในการเล่าเรียนไปอีกทางหนึ่ง จมูก ลิ้น กาย ถ้าพิการไปเสียก็ไร้ประโยชน์ตามหน้าที่ไปอย่างหนึ่ง และจิตใจซึ่งเป็นอินทรีย์ ๖ เป็นอันดับสุดท้าย ก็มีหน้าที่ที่จะจำอยู่อย่างสำคัญในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ อันเกิดจากอินทรีย์ทั้ง ๕ ข้างต้น ถาขาดไปเสียก็เหมือนคนหมดสติ กลายเป็นบ้าเป็นบอ เพราะไม่รู้เรื่องอะไร จะดีหรือร้าย ทำการวิปริตผิดแปลกจากคนผู้มีอินทรีย์ทั้ง ๖ ครบบริบูรณ์
อินทรีย์ทั้ง ๖ ประการนี้ จึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทีทำให้คนเป็นคนสมบูรณ์ และเป็นหลักสำคัญนำสมาธิให้มีได้ ทำให้เกิดสมาธิได้ไว สมาธินั้นได้แก่ ความตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการ ให้ใจตั้งไว้เพียงเรื่องเดียว ไม่ให้จิตฟุ้งซ่านออกนอกไปจากเรื่องที่ต้องการ
ความตั้งใจนี้เป็นความหมายทั่วไปของสมาธิ แล้วก็จะต้องมีกิจการที่จะต้องทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรียนศึกษา หรือว่า การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการเล่าเรียนศึกษา จะอ่านจะเขียนเรียนหนังสือ ก็ต้องมีสมาธิในการเขียน จะฟังคำสอนคำบรรยายของครูอาจารย์ก็มีสมาธิในการฟังดังที่เรียกว่า ตั้งใจอ่าน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง
ในการตั้งใจดังกล่าวนี้นั้น ก็ต้องมีอาการของกายและใจประกอบกัน เช่น ในการอ่าน ร่างกายก็ต้องพร้อมที่จะอ่าน เช่น เวลาเปิดหนังสือตาก็ต้องดูหนังสือ ใจก็ต้องอ่านด้วย ไม่ใช่ตาอ่านแล้วใจไม่อ่าน ถ้าใจไปคิดเรื่องอื่นเสียแล้ว ตาจับอยู่ที่หนังสือก็จะค้างอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ตาค้าง จะมองไม่เห็นหนังสือ จะไม่รู้เรื่อง ใจจะต้องอ่านด้วย และเมื่อใจอ่านไปพร้อมกับตาที่อ่าน จึงจะรู้เรื่องที่อ่าน ความรู้เรื่องเรียกว่าเป็นปัญญาอย่างหนึ่ง คำว่าเป็นปัญญา ในตัวอย่างหนึ่งคือ ได้ปัญญาจากการอ่านหนังสือ ถ้าหากว่าตากับใจอ่านหนังสือไปพร้อมกัน ก็จะอ่านได้เร็ว รู้เรื่องเร็ว และจำได้ดี ใจที่อ่านนี่แหละ คือ ใจที่มีสมาธิดี หมายความว่า ใจต้องอยู่ที่การอ่าน
ในการเขียนหนังสือก็เหมือนกัน มือเขียนใจต้องเขียนด้วย การเขียนหนังสือจึงสำเร็จด้วยดี ถ้าใจไม่เขียนหนังสือ หรือ ใจคิดไปในเรื่องอื่น ๆ ฟุ้งซ่านออกไปแล้ว จะเขียนหนังสือไม่สำเร็จ ไม่เป็นตัว ใจจึงต้องเขียนด้วย คือ ตั้งใจเขียนไปพร้อมกับมือที่เขียน
การฟังก็เหมือนกัน หูฟังใจก็ต้องฟังไปพร้อมกัน หูฟังแต่ถ้าใจไม่ฟัง แม้เสียงมากระทบหูก็ไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ใจจึงต้องฟังด้วย ใจจะฟังก็ต้องมีสมาธิในการฟัง คือ ตั้งใจฟัง ดังนี้จะเห็นได้ในการเรียนหนังสือ ในการอ่านหนังสือ การเขียนจะต้องมีสมาธิ ในการทำการงานทุกอย่างก็เหมือนกัน ไม่ว่าเป็นการงานที่ทำทางกาย วาจา แม้ใจจะคิดอ่านการงานต่าง ๆ ก็ต้องมีสมาธิอยู่ในการงานที่ทำนั้น เมื่อเป็นดังนี้จึงจะทำการงานสำเร็จได้
ตามนัยนี้ จะเห็นว่าสมาธิเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในการทำงานทุกอย่าง เป็นการแสดงว่าจำเป็นต้องมีสมาธิในการเรียน ในการงานที่พึงทำทุกอย่าง ถ้าเราไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีโอกาสทำการงานสำเร็จได้
ต่อจากนี้ จะได้กล่าวถึงการฝึกหัดทำสมาธิ ก็เพราะว่าความตั้งใจให้เป็นสมาธิดังกล่าวนั้น จำเป็นจะต้องมีวิธีฝึกหัด ประกอบด้วยจิต จึงจะเป็นสมาธิได้โดยง่าย สมาธิที่มีมาตามธรรมดาเหมือนอย่างที่ทุกคนมีอยู่ยังไม่เพียงพอ ก็เพราะว่ากำลังใจที่ตั้งมั่นยังอ่อนแอ ยังดิ้นรนกวัดแกว่ง กระสับกระส่าย โยกคลอน หวั่นไหวไปในอารมณ์ คือ เรื่องต่าง ๆ ได้โดยง่าย
เราทุกคนก็จะต้องพบเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้าไปเป็นอารมณ์ให้เกิดกับใจ ได้แก่ เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่เป็นประจำ เมือเป็นเช่นนี้ จึงได้มีความรักใคร่บ้าง ความฟุ้งซ่านบ้าง ความหลงบ้าง ความชังบ้าง เมื่อจิตใจมีอารมณ์อ่อนไหว และมีเรื่องทำให้ใจหวั่นไหวเกิดขึ้นมาอีก อันสืบเนื่องมาจากอารมณ์ดังกล่าวก็ยากที่จะมีสมาธิในการเรียน ในการทำงานตามที่ประสงค์ได้
ดังจะฟังเห็นได้ว่า ในบางคราวหรือหลายครั้งที่เรารวมใจให้มาอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และ ฟังคำสอนไม่ค่อยได้ เพราะว่าจิตใจฟุ้งซ่านอยู่ในเรื่องนั้นบ้าง เรื่องโน้นบ้าง ที่ชอบบ้าง ที่ชังบ้าง ที่หลงบ้าง จนรวมใจเข้ามาไม่ติด เมื่อเป็นดังนี้ ก็ทำให้ไม่สามารถจะอ่าน จะเขียน จะฟัง เฉพาะเรื่องนั้น ๆ อย่างเดียวได้ จึงทำให้การเรียนไม่ดี
ในการทำงานก็เหมือนกัน เมื่อจิตใจกระสับกระส่ายไปด้วยอำนาจของอารมณ์ และ ภาวะที่เกิดสืบจากอารมณ์ที่เรียกว่า กิเลส คือ ความรัก ความชัง ความหลง เป็นต้น ดังกล่าวนั้นก็ทำให้ไม่สามารถทำการงานได้ดีได้เช่นเดียวกัน ใจที่ไม่ได้หัดทำสมาธิก็จะเป็นเช่นนั้น และแม้ว่าจะยังไม่มีอารมณ์อะไรเข้ามารบกวนให้เกิดความกระสับกระส่าย ดังนั้น ความตั้งใจก็ยังไม่สู้จะแรงนัก ฉะนั้นจึงสู้ฝึกหัดทำสมาธิไม่ได้
ในการฝึกหัดทำสมาธิ มีอยู่ ๒ ประการคือ ๑. ฝึกหัดทำสมาธิเพื่อแก้อารมณ์และกิเลสของจิตใจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน บางคราวก็เป็นอารมณ์รักซึ่งจะชักใย ชักใจ กระสับกระส่าย เมื่อเป็นดังนั้นก็ต้องสงบใจจากอารมณ์รัก จากความชอบนั้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อการศึกษา ต่อการงานที่จะพึงทำ ตลอดจนถึงศีลธรรมอันดีของสาธุชนนี้ เป็นวิธีหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือ หัดเอาชนะใจให้สงบจากอารมณ์เหล่านั้นให้จงได้ บางคราวก็เกิดอารมณ์โกรธ ความโกรธอันทำใจให้ร้อนรุ่ม กระสับกระส่ายก็เป็นอันตรายอีกเหมือนกัน เพราะทำให้เสียสมาธิ
ฉะนั้นก็ต้องหัดทำสมาธิ คือ หัดสงบใจจากอารมณ์โกรธ จากความโกรธนั้น ในบางคราวก็มีอารมณ์หลง ความหลงซึ่งมีลักษณะเป็นความง่วงเหงา เคลิ้ม มีลักษณะเป็นความฟุ้งซ่าน รำคาญใจบ้าง มีลักษณะเป็นความเคลือบแคลงสงสัยบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องหัดทำสมาธิกำหนดจิต หัดสงบจิตสงบใจจากอารมณ์หลง จากความหลงนั้น ๆ
วิธีสอนทำสมาธิตามวิธีพุทธศาสนา เมื่อจะทำสมาธิให้สงบใจจากอารมณ์รัก โกรธ หลง ดังนั้นก็จะต้องเปลี่ยนอารมณ์ให้แก่จิตใจขึ้น เท่าที่ทราบแล้ว คือ อารมณ์รักทำให้เกิดความชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์รักมาเป็นอารมณ์ที่ไม่รัก ไม่ชอบ ความโกรธก็เหมือนกัน ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์โกรธมาเป็นอารมณ์ไม่โกรธ หรือให้เปลี่ยนมาเป็นอารมณ์รัก แต่ว่าเป็นความรักที่ประกอบด้วยเมตตาคือ เป็นความรักที่บริสุทธิ์อย่างญาติมิตร มีความรักซึ่งกันและกัน หรือเป็นความรักระหว่างบิดามารดากับบุตรธิดา ความหลงก็เหมือนกัน ต้องเปลี่ยนอารมณ์ที่หลงมาเป็นอารมณ์ที่ไม่หลง เพราะว่าภาวะของจิตใจจะเป็นอย่างไรนั้น สุดแต่ว่าจิตใจตั้งอยู่ในอารมณ์อะไร เมื่อจิตใจตั้งอยู่ในอารมณ์รัก ความชอบก็เกิดขึ้น ถ้าจิตใจไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์รัก แต่ว่าตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ตรงกันข้ามก็เกิดความสงบ ใจโกรธก็เหมือนกัน ก็เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โกรธ เมื่อเปลี่ยนอารมณ์ให้จิตใจตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ตรงกันข้ามก็เกิดความสงบ ความหลงก็เช่นกัน เมื่อตั้งอยู่ในความไม่หลงก็สงบ
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเอาไว้ว่า อารมณ์เช่นไรควรจะต้องหัดใจไว้ให้ตั้งอยู่ในเวลาไหน กำหนดจิตอย่างไร ตั้งสติไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การที่หัดจิตใจไว้ก็จะทำให้รู้ลู่ทาง ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่จะสงบจิตใจของตนเองอย่างนี้ ก็จะทำให้สามารถกำหนดจิตใจของตนเองได้ดี นี่นับว่าเป็นจุดมุ่งหมายของการทำสมาธิอย่างหนึ่ง ที่ต้องหัดเอาไว้ให้จงได้
ประการที่ ๒ นั้น ฝึกหัดสมาธิเพื่อให้เกิดพลังใจที่ตั้งมั่นมากขึ้น คือ ให้มีพลังขึ้น ก็เหมือนอย่างการที่ออกกำลังกายเพื่อให้กายมีกำลังเรี่ยวแรง เมื่อหัดออกกำลังกายอยู่บ่อย ๆ กำลังกายก็จะดีขึ้น จิตใจก็จะเหมือนกัน เมื่อหัดทำสมาธิอยู่บ่อย ๆ แล้ว โดยที่ปฏิบัติอยู่ในหลักของสมาธิเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้พลังจิตใจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นเดียวกับการออกกำลังกายที่ทำให้พลังกายเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นนี่คือสมาธิในการฝึกหัด
สำหรับสมาธิในการใช้ก็มี ๒ ประการคือ
๑. ฝึกสมาธิเพื่อใช้ระงับอารมณ์และระงับกิเลสที่เป็นปัจจุบันดังกล่าวข้างต้น คือ ผู้ที่ฝึกหัดทำสมาธิตามสมควรแล้วจะสามารถระงับจิตใจได้ดี จะไม่ลุอำนาจของอารมณ์ของกิเลสที่เป็นความรัก และ ความชัง และ ความหลงทั้งหลาย จะสามารถสงบจิตใจตัวเองได้ รักษาจิตใจตัวเองให้สวัสดีได้ อารมณ์และกิเลสเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายต่อการเรียน ต่อการงาน ต่อกฎหมาย และต่อศีลธรรมอันดีงาม
๒. ฝึกสมาธิเพื่อใช้ประกอบการงานที่พึงทำทั้งหลาย ตั้งต้นการเรียน การอ่าน การเขียน การฟัง เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้การเรียนดี จะทำให้การทำงานดีขึ้น นี่คือสมาธิในการใช้ ตามที่กล่าวมานี้เป็นการแสดงให้เห็นลักษณะของการทำสมาธิทั่วไป
การหัดทำสมาธิและการใช้สมาธิ การฝึกหัดสมาธิ หรือ ที่เรียกว่าการอบรมจิต หรือ การฝึกหัดแบบพุทธศาสนานั้น ปัจจุบันนี้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายไปเกือบทั่วโลก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าองค์กร องค์การ และสมาคมต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาได้จัดให้มีโครงการผลิตตำราพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างประเทศ เผยแผ่มากขึ้น นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงการก่อสร้างวัดพุทธศาสนาในต่างประเทศต่าง ๆ ทำให้โครงการเผยแผ่พุทธศาสนาของคณะกรรมการประสบผลสำเร็จได้ดีกว่าแต่ก่อนมาทีเดียว
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดยิ่งกว่าอื่นใดก็คือ พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นอมตะ ธรรมที่สูงค่า ยิ่งศึกษาค้นคว้าก็ยิ่งน่ารู้ และ ท้าทายต่อการติดตาม และ การพิสูจน์ให้เห็นผลจริงผลจังมากยิ่งขึ้น ไม่เป็นที่น่าแปลกเลยว่า บรรดาชาวต่างประเทศที่มาจากนอรเวย์ แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ได้หลั่งไหลเข้ามาบวชเรียน และปฏิบัติธรรมในประเทศไทยมากขึ้น ข้อสังเกตส่วนใหญ่รอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกฉบับภาษาต่างประเทศมาแล้วทั้งสิ้น
ดังนั้นวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ เพื่อศึกษาและค้นคว้าความจริงจากการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะชาวต่างประเทศต้องการปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ ภาคทฤษฎีก็ได้เรียนจบมาแล้วในพระไตรปิฎก และเป็นที่น่าปีติอย่างยิ่งที่บางท่านบวชเรียนมาแล้ว ๒๐ พรรษา และมีความชำนาญในการฝึกสมาธิมากอย่างยอดเยี่ยม อีกหลายอย่างได้นำความรู้และความมหัศจรรย์ ที่ได้จากการปฏิบัติฝึกวิปัสสนากรรมฐานทางพระพุทธศาสนา ไปเผยแผ่ยังบ้านเกิดเมืองนอนของตนได้ผลเกินคาด
การฝึกสมาธิในทางพระพุทธศาสนานั้น ถือว่า จิตสงบเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดแสงสว่างให้แก่โลก เป็นบ่อเกิดพลังอันยิ่งใหญ่แก่ชีวิต เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาของมวลมนุษยชาติทั้งโลก และเป็นความสุขที่มีค่าสูงสุดแก่ผู้ปฏิบัติ ดังพุทธวจนะบทหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า นัตถิ สันติ ปรมัง สุขัง สุขอื่นใดจะเท่าใจหยุดนิ่งไม่มีอีกแล้ว ใจหยุดนิ่งแห่งความสงบ เป็นสุขอย่างยิ่ง เมื่อใจอยู่นิ่งก็เกิดความสงบขึ้น และเมื่อสงบก็เป็นสุขมาก ความสุขเกิดจากจิตสงบนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตมนุษย์
จิตเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของร่างกาย จิตเป็นผู้นำ ส่วนร่างกายเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของจิต อุปมาดังม้ากับคนขี่ หากผู้ขี่คุมบังเหียนบังคับม้าด้วยความชำนาญ ก็จะเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น ถ้าหากว่าผู้ขี่ไม่ได้รับการฝึกอย่างชำนิชำนาญ หรือตั้งอยู่ในความประมาทเกินไป ก็จะเดินทางไปสู่จุดมุ่งหมายด้วยความลำบาก
ความสุขของจิตที่แท้จริง จะเกิดขึ้นกับบุคคลผู้หมั่นฝึกฝน หรืออบรมจิตอยู่เสมอทุกวันไม่ได้ขาด การฝึกจิต หรือ ฝึกสมาธิในทางพุทธศาสนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระกรรมฐาน พระกรรมฐาน แปลว่า การกระทำให้ฐานะดี พระกรรมฐานจึงถือเป็นที่ตั้งของการกระทำที่แบ่งออกเป็นวิธีปฏิบัติได้ ๒ ประการคือ
๑. สมถะกรรมฐาน แปลว่า การทำจิตให้สงบ หรือทำสมาธิตามอุบายที่กำหนดให้
๒. วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า การฝึกจิตให้รู้แจ้งเห็นจริงในชั้นสูง หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ทำปัญญาให้เกิดรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพความเป็นจริงนั่นเอง
แต่ในที่นี้จะเสนอแนะเพียงแนวทางการฝึกทำสมาธิเบื้องต้นทั้ง ๒ อย่างนี้ สมถะกรรมฐาน แปลว่า อุบายที่กำหนดให้ทำสมาธิในเบื้องต้น วิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา ทำให้ผู้ปฏิบัติมีปัญญาเห็นแจ้งเห็นจริง เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นปัญญาภายนอกภายใน เห็นวินัยภายในภายนอก เห็นความจริงของชีวิต มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นแก่ท่านเอง นั่นแหละเป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูง สร้างความจริงของชีวิต เป็นการปกครองตน ปกครองชีวิต ปกครองครอบครัวได้ แต่สมถะ เป็นการศึกษาแสวงหาความรู้ข้อเท็จจริงในตัวของตัวเองตามลำดับขั้นตอนของเบื้องต้น
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ที่ท่านมาปฏิบัติ พระกรรมฐานเป็นคำกลาง การปฏิบัติใช้แนวสติปัฏฐาน ๔ ทางสายเอกของพระพุทธเจ้า ท่านทรงชี้แจงแสดงมาให้เราทราบว่า ทางสายเอกนั้น ทำให้เดินไปสู่จุดมุ่งหมาย มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางเดินทางไปหาที่สุดแห่งปัญญา รอบรู้ในกองการสังขาร จะได้อ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น จะได้เห็นตัวตาย จะได้คลายทิฏฐิ จะได้ดำริชอบ จะได้ประกอบกุศล ได้ผลอนันต์เป็นหลักฐานสำคัญ ตรงนี้เป็นจุดหมายอันนี้
เพราะฉะนั้น ท่านสาธุชนทั้งหลายที่เรามาปฏิบัติ ณ วัดอัมพวันนั้น ไม่ใช่มาหลับตา หนอ ๆ แหน ๆ มีอายตนะธาตุอินทรีย์เป็นหลักปฏิบัติของท่านโดยเฉพาะ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในสมาธิเบื้องต้น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส ท่านต้องปฏิบัติโดยใช้สติกำหนดอยู่ที่จุดนี้ให้จงได้ จะรู้จริง รู้แจ้ง เห็นจริงในตัวของท่านเอง จึงจะอ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น ไม่ใช่มาหนอ ๆ แหน ๆ มาพองหนอ ยุบหนอ ซ้ายย่าง ขวาย่าง ไม่ใช่อย่างนั้น แต่เป็นอิริยาบถที่ต้องปฏิบัติโดยละเอียด ตาเห็นรูป กายรับรู้ จิตกำหนด หูได้ยินเสียง จิตกำหนด จมูกได้กลิ่น กำหนดจิตทางจมูก ลิ้นรับรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กำหนด หวานหนอ ๆ เค็มหนอ ๆ ท่านถึงจะทราบของจริงได้ เสียงหนอ ๆ ท่านได้ยินเสียงหนอท่านก็นิ่ง ท่านก็ไม่เคยกำหนด ถ้าท่านไม่เคยกำหนดแล้ว ท่านจะรู้ได้อย่างไร รู้แต่ของปลอม รับประทานอาหารก็ไม่กำหนดเคี้ยว ไม่มีสติ ท่านจะได้ของปลอมแน่นอน กายสัมผัสร้อนหนาว อ่อนแข็ง ท่านไม่กำหนด ท่านก็ไม่มีสติ ท่านจะได้ของปลอมแน่นอน
มีเวทนาก็ไม่กำหนด ปล่อยให้มันผ่านไปอย่างน่าเสียดาย หายใจเข้าก็ไม่รู้ หายใจออกก็ไม่รู้ น่าจะรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นประการใด ท่านกลับไม่รู้อีก ท่านจะรับรู้แต่ของปลอม รู้ของจริงแต่ประการใด ของจริงอยู่ในตัวท่าน แต่เสียใจเหลือเกินของจริงไม่ชอบกลับชอบของปลอม ที่ได้ไม่เอากลับไปเอาที่ไม่ได้ ท่านจะไปเอาของที่ไหนที่ยังไม่ได้ อยู่ใกล้มือเอาก่อนได้ไหม ท่านจะเอาอะไรมาเป็นหลัก แล้วมานั่งจิ้ม ๆ จ้ำ ๆ ไม่ได้อะไร น
ี่แหละพระพุทธเจ้าสอนที่เราปฏิบัติทั้ง ๒ ประการ ยืนหนอ ๕ ครั้ง ก็เป็นสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พองหนอ ยุบหนอ ก็เป็นสมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ทั้ง ๒ ประการนี้ ไม่ใช่วิปัสสนาอย่างเดียว หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ก็เรียกว่าสมถะ เป็นอุบายเบื้องต้นให้จิตสงบ พอจิตสงบแล้วจะรู้ของจริง พองหนอ ยุบหนอ รู้แล้ว พองเป็นรูป ยุบเป็นรูป จิตกำหนดรู้เป็นตัวนาม ก็กลายเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เสียงหนอ เสียงหนอ อุปาทานยึด ก็กำหนดเสียงหนอ เป็นสมถะกรรมฐาน อุบายวิธีเกิดขึ้น กำหนดเสียงหนอ พอเสียงกำหนดได้ หูกับเสียงเป็นอันเดียวกันไหม หูกับเสียงเป็นคนละอัน ในเมื่อ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เสียงก็กลับไปหาเขา หูก็อยู่กับเราถึงจะเป็นวิปัสสนา เข้าใจแจ้งชัดในตัวกำหนดนี้ เสียงหนอ หนอนี้เป็นอะไร เสียงเป็นอะไร อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ถึงจะเรียกว่า วิปัสสนาญาณ เรามีสติครบเหมือนมีทรัพย์ ตามีทรัพย์ หูมีทรัพย์ มีสติสัมปชัญญะ เสียงนั้นก็กลับไปหาเขา เราก็จะทราบได้ว่า เสียงนั้นเขาโกหกจึงจะเป็นวิปัสสนา เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
สมาธิก่อให้เกิดความสุขจากความสงบที่เราหามาได้ด้วยราคาถูกแท้ ๆ แต่อย่าลืมว่ามีคุณค่ามหาศาลยิ่งกว่าทรัพย์สมบัติพัสถานใด ๆ แน่นอนที่สุด การปฏิบัติพระกรรมฐาน ต้องพยายามฝึกต่อไปเถิดประเสริฐที่สุด อาตมาจำคำสอนของยายได้ ยายบอกว่า ยากแท้หลาน เราไม่เคย ถ้าเคยแล้วก็ง่ายแท้ เราไม่เคยฝึกเลย เอะอะก็พูดว่าแข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนากันไม่ได้ แต่เสียใจด้วย พายเรือก็ไม่เป็น มีแรงก็จ้ำได้หรือ นั่งเรือก็ไม่เป็น เรือก็จะล่มแล้วจะไปแข่งเรือได้อย่างไร ต้องฝึกต้องหัด ฝึกฝน ต้องอบรมด้วย ทำไม่ได้ไต้องทำไม่ต้องนั่งเฝ้า บางคนบอกหลวงพ่อนิมนต์ไปนั่งเฝ้าเขาหน่อยซิ เฝ้าอย่างไรถึงจะดีได้ คนดีไม่ต้องไปเฝ้า หนามแหลมใครไปเสี้ยม มะนาวกลมเลียงใครไปกลึง
น่าเสียดายเสียใจที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์โสภาภาคย์ เกิดมาก็ยากเหลือเกิน พยายามทำความเป็นมนุษย์ให้บริสุทธิ์หน่อย และอีกประการหนึ่ง เราเกิดมามีอายุถึงขนาดนี้ก็ยาก บางคนอยู่ในท้องไม่ทันร้องก็ตายแล้ว เรามีอายุถึงปูนนี้แล้วก็น่าภูมิใจแล้ว ส่วนผู้ใดได้มีโอกาสฟังธรรมก็นับว่าโชคดีแล้ว เราพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามาตรัสในโลก เราได้ฟังธรรมปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นการทดแทนคุณบิดามารดา ถือว่าบวชในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ถ้าใครปฏิบัติไตรสิกขา ๓ ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถือว่าใช้ค่าป้อนน้ำนมแม่ได้ เพราะพระกรรมฐานเป็นพระอภิธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ รับรองใช้ค่าป้อนนมแม่ได้แน่นอน ไม่ต้องเป็นผู้ชายนุ่งเหลือง ห่มเหลือง การที่จะสนองพระเดชพระคุณบิดานี้แสนยากมาก ไม่มีใครจะทดแทนคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณได้
ท่านทั้งหลาย โปรดอย่าได้ประมาท คิดว่าเราจะอยู่อีกนาน เราก็ไม่แน่นอนไม่ทราบว่าจะตายเมื่อไร เราทุกคนเกิดมาเพื่อรอเวลาตาย ได้มาเพื่อรอเวลาเสีย มีเพื่อรอเวลาหมด เจอกันเพื่อรอเวลาจาก เดี๋ยวก็จะจากกันไปแล้ว พบกันระหว่างสามีภรรยา รอเวลาที่จะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก เป็นของที่ชอบไปด้วยกันทุกคน นี่แหละเป็นของตายของแน่นอน ของจริงอยู่ตรงนั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของจริง อยู่ตรงนั้น ผู้ที่ต้องพลัดพรากพเนจรจะจากจร จำต้องจากเป็นของจริง อยู่ก็ไว้ในใจ จะตายก็คิดถึงรำพึงรำพัน ไม่มีใครจะอยู่รอดปลอดภัยในโลกมนุษย์นี้ไปได้ จิตใจท่านต้องหนึ่งบวกหนึ่งต้องเป็นหนึ่ง ใจอย่าเป็นสองเป็นสาม สัจจะ เมตตา สามัคคี มีวินัย ท่านจะแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างสมคาดปรารถนาทุกประการ




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2012, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 18:22
โพสต์: 310


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อไหร่จะจบเหรอ เรื่องราวอ่ะ :b5: :b14: :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2012, 08:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หมดเรื่องราว...ก็ตอนคุณแสงฯ..นิพพาน..นั้นแหละ...

แต่...เรื่องของผม...หรือ..ของใคร ๆ...อาจยังดำเนินต่อ...หากนิพพานหลังคุณแสงฯ...

จริง ๆ นะ....อิอิ....ฮ่า...ฮ่า......เอิ๊ก..เอิ๊ก......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2012, 13:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย
ประโยชน์การฟังธรรม
พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม)
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
ผู้มีปณิธานมั่นคง และ มีผลงานพัฒนาคนให้สูงด้วยคุณธรรม

การฟังธรรม เปรียบเหมือนการสร้างถ้ำให้แก่จิตใจ แต่บางท่านไม่สนใจฟังธรรม ถ้าท่านสร้างถ้ำไว้ในจิตใจอยู่ด้วยความสงบ ฟังไปก็เกิดความรู้ ความดี มีพลังและปัญญา แต่บางคนก็ไม่อยากฟัง มันใกล้ชิดกันเกินไป เหมือนสัปเหร่ออยู่ใกล้ผี ชีอยู่ใกล้พระ ใกล้เกลือกินด่าง
การฟังธรรมนั้นก็ยาก บางคนต้องจ้างมาฟัง จ้างก็ยากที่จะฟังอีก การที่จะมาพบพระพุทธเจ้ามาตรัสในโลกก็แสนจะยากแล้ว ท่านน่าจะตีปัญหาให้ได้กำไรชีวิตสักวันหนึ่ง ๑ สัปดาห์ ๗ วัน ฟังธรรมวันเดียวก็ไม่เต็มวัน เพียง ๑ ชั่วโมงเดียวที่จะฟังธรรมก็หาฟังยาก
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย เรามาวัดเพื่อหากำไรชีวิตใช้หรือไม่ หรือต้องการให้มันขาดทุนชีวิตเสียดายกับโยม การที่มาถวายเงินเป็นแสนให้อาตมานั้น อาตมาไม่ได้สนใจกับโยมหรอก อย่าคิดว่าเอาปัจจัยมาถวายอาตมา อาตมาจะดีใจเสมอไป อาจจะเป็นบาปเป็นกรรมของอาตมาก็ได้ที่ต้องมารับเงินรับทองของโยมมากองไว้อยู่ตรงหน้า ขอฝากไปคิดเป็นข้อคิดว่า อาตมาสนใจต้องการให้โยมได้บุญได้กุศลเท่านั้น
วันพระเรามาแสวงหาพระ เรามาพบพระสักวันหนึ่ง ท่านจะใจประเสริฐในการพบพระ ในการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน โดยเฉพาะในกรอบของสติสัมปชัญญะ ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนคือ สติสัมปชัญญะ บางคนขาดสติมาก ไม่มีโอกาสที่จะแสวงหาธรรมะได้แล้ว พลาดทั้งโอกาสอันดีงาม ท่านจะเสียดายเวลาของท่านที่เกิดมาในสากลโลกนี้อย่างแน่นอน
เพราะฉะนั้นในวันพระคือ วันฟังธรรม ฟังให้เกิดประโยชน์ ฟังธรรมเหมือนสร้างถ้ำให้จิตใจของเราเอง ทำให้จิตใจเรามีสติสัมปชัญญะ ฟังให้เกิดความรู้ ใจเปรียบเหมือนเสือ เสียงธรรมะเปรียบเหมือนถ้ำคอยกำบัง หูเราฟังใจเราคิด จิตจะได้สบาย เกิดความรู้ ความดี มีพลังและปัญญา
อานิสงส์หรือผลดีอันเกิดจากการฟังนั้น มีประโยชน์มากมายหลายสถาน เช่น
๑. ทำให้ได้ฟังเรื่องใหม่ ฟังเรื่องที่ยังไม่เคยได้ยินไม่เคยได้ฟังมาก่อน
๒. ได้ใส่ใจในเรื่องเก่า ทบทวนหวนคิดถึงอดีตชีวิตที่ผ่านมา ศรัทธาฟัง สนใจฟัง ทบทวน จดหัวข้อ ปฏิบัติทันที่อย่ารอรีแต่ประการใด
๓. บรรเทาความกังขา ปิดประตูความกังวลสงสัยเสียได้
๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่เข้าใจสิ่งใดในทางที่ผิด
๕. มีสติมั่นคง มีสติดี จริตไม่แปรปรวนทวนกระแส
สิ่งสำคัญที่สุด การฟังต้องมีหลัก ๓ ประการ คือ
๑. ตั้งใจฟัง
๒. ตั้งใจทำ
๓. ตั้งใจนำไปปฏิบัติ
ท่านจะได้ประโยชน์โสถิผลของท่านโดยเฉพาะ แต่บางคนก็ไม่ตั้งใจจำ ไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจปฏิบัติ จำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ทิ้งไป ถ้าฟังได้ประโยชน์โทษไม่มี ฟังดีย่อมมีปัญญา บางท่านพูดถึงการฟังแปลกแตกต่างจากผู้อื่น ซึ่งมีทั้งประเภท ฟังได้ฟังเสีย บางคนฟังได้ บางคนก็ฟังเสียเอาดีไม่ได้ แล้วแต่ทัศนคติในการฟังว่าจะเป็นไปในทางใด เช่น
๑. ฟังเล่น บางเรื่องไม่จริงจัง สักแต่ว่าฟัง หรือ ฟังแบบเสียไม่ได้ ก็ฟังส่งเดชไปอย่างนี้ ไม่ได้เรื่องได้ราว
๒. ฟังลอง เป็นการฟังเพื่อเปรียบเทียบลองดู ลองความรู้ ลองพื้นความรู้ และ ลองภูมิว่าผู้นี้จะสู้ผู้นั้นได้หรือไม่ หรือ ใครจะเก่งกว่ากัน
๓. ฟังเอาเรื่อง พระสงฆ์จะได้สาระ หรือ อรรถรสแห่งธรรม และ ข้อปฏิบัตินั้น
๔. ฟังหาเรื่อง เป็นการฟังเพื่อจับผิด ฟังด้วยจิตเป็นอกุศล ไม่ได้สนใจในการฟังแต่ประการใด จิตเป็นอกุศลกรรม คนนั้นจะดีไม่ได้แน่นอน
๕. ฟังไม่รู้เรื่อง ฟังไปหลับไป หรือคุยกัน ผลสุดท้ายไม่รู้เรื่อง จำไม่ได้ และไม่รู้จะเอาอะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ขอเจริญพรว่าผู้ที่ฟังได้ผลไม่เท่ากัน บางคนตั้งแต่ต้นกำหนดจดจำนำไปปฏิบัติแน่นอน บางคนก็สับสนชนปลาย ไม่เข้าใจในการฟัง นี่แหละท่านสาธุชนทั้งหลาย ไม่ใช่จะเข้าใจทุกคน ไม่ใช่รู้ทุกคน ตั้งหมั่นฟัง หมั่นจำ หมั่นจดหมั่นจำ สิ่งใดงามอย่าได้งด หมั่นจดหมั่นจำเป็นตำรา เอาตาชั่งเข้ามาดู เอาตราชูขึ้นมาชั่ง ไม่ใช่ฟังแล้วทิ้งไป เลยไม่ได้เรื่อง
จุดประสงค์ของการฟัง ก็เพื่อ รู้แล้วนำไปคิดเพื่อใคร่ครวญด้วยปัญญา เห็นว่าถูกต้องสอดคล้องด้วยเหตุผลก็นำไปใช้ได้ นำเอาไปใช้ได้ประโยชน์ หลีกเลี่ยงที่เป็นโทษต่อชีวิต ดังบัณฑิตท่านกล่าวไว้ว่า "รู้แล้วคิดพิชิตศัตรู รู้แล้วเงียบได้เปรียบศัตรู รู้แล้วปฏิบัติขจัดศัตรู รู้แล้วทำหยิ่งจะยิ่งด้วยศัตรู" พูดเท่านี้บางคนไม่รู้ไม่เข้าใจ โง่เป็นคุณ ฉลาดเป็นภัย เสนียดจัญไรสำหรับคนฉลาด ไม่เอาการเอางาน คนฉลาดไม่เอาการเอางาน รู้มากไม่ปฏิบัติธรรม ไม่มีกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชีวิตแต่ประการใด
ขอเจริญพระท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายเอ๋ย เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่กำลังพนมมือว่าเป็นชาวพุทธ เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จะรู้ได้ข้อเดียวว่า เขาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ถ้า ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เรียกว่าเขาเป็นชาวพุทธ พนมมือเรียบร้อย แต่ไม่เคยปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย จะเรียกว่าชาวพุทธได้อย่างไร เป็นชาวพุทธแบบปลอม หาทำนองคลองธรรมไม่ได้เลย ขอฝากไว้
มีคำกล่าวที่น่าคิด ท่านกล่าวไว้ว่า โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก เมื่อสมัยอาตมาเป็นเด็ก จำได้ว่า ท่านกล่าวไว้ว่า โง่บ่เป็น บ่เป็นใหญ่ โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก ซึ่งก็ถูกต้อง และ ตรงกับหลักที่ว่า รู้แล้วคิดพิชิตศัตรู รู้แล้วเงียบได้เปรียบศัตรู แต่ อาตมาใคร่จะฝากให้ท่านคิดต่ออีกนิดหนึ่งสักประโยคว่า โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยากนั้นถูกต้อง แต่ถ้าโง่มาก ๆ ก็ยากที่จะเป็นใหญ่
ความโง่มีทั้งโง่เป็นคุณและโทษ คนไม่สนใจปฏิบัติก็ถือว่าเป็นคนฉลาด ไม่ใช่โง่ แต่ก็โง่เป็นคุณ เป็นคุณปฏิบัติได้หรือ ความโง่มีทั้งเหตุทั้งเป็นคุณและเป็นโทษ โง่ที่เป็นคุณคือ โง่ในทางที่จะทรยศคดโกงผู้อื่น ปฏิบัติกิจวัตรหน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกา ไม่โกงการปฏิบัติ ไม่โกงหลักกติกากฎหมาย ประเทศชาติบ้านเมือง โง่ในการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น โง่ในการไม่นำตนไปสู่อบายหายนะ โง่อย่างนี้ควรจะช่วยกันโง่ให้มาก ๆ
อนึ่ง แม้ ความฉลาดก็เช่นเดียวกัน มีทั้งฉลาดที่เป็นภัยและฉลาดที่เป็นคุณ ฉลาดที่เป็นภัยเช่น ฉลาดในการใช่เล่ห์เพทุบาย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ฉลาดในการทรยศคดโกงประเทศชาติบ้านเมือง ฉลาดในการเอาตัวรอด แต่กลับทำให้เพื่อนล่มจม ฉลาดในการนำชีวิตเข้าสู่ทางพิบัติจัดเป็นอันตรายทั้งนั้น
แม้ระหว่างโง่กับฉลาดก็ยังมีข้อแตกต่างให้สังเกตกัน ฉลาดแต่เกียจคร้านก็ไม่ดี ฉลาดเลี่ยงงานเก่งไม่เอาการเอางานเลยก็ไม่ดีเท่าไรนัก โง่แต่ขยันก็อันตราย ก็ขอฝากญาติโยมให้เป็นหลักปฏิบัติ ธรรมทัศน์กับโลกทัศน์ บางคนไม่เข้าใจธรรมทัศน์กับโลกทัศน์
อาตมาขอยก พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คราวเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ความตอนหนึ่งว่า "การรู้จักฟังอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวยประโยชน์ เป็นการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จที่สมบูรณ์และมีสติปัญญาสมบูรณ์นั่นเอง"
ฉะนั้นการเป็นนักฟังจะช่วยในความคิดในการพัฒนาการ อย่างน้อยก็เปลี่ยนแปลงมนสิการไปในทางที่ดีงามได้ อาตมาจำได้ว่า พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ปราชญ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ท่านได้กล่าวไว้ให้คิดว่า บุคคลที่จะแก้ไขและพัฒนาสังคม ประเทศชาติให้ก้าวหน้า จะต้องมีคุณลักษณะพิเศษ ดังต่อไปนี้
๑. มองกว้าง มีวิสัยทัศน์ที่ไม่แคบ
๒. คิดไกล คิดถึงโอกาส วัน เวลา และอนาคตข้างหน้าให้ได้
๓. ใฝ่สูง มุ่งดีใฝ่ดี ทำดี คือ ใฝ่ในธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ ความถูกต้อง
ส่วน บุคคลที่มีลักษณะตรงกันข้าม อันเป็นเครื่องหมายแห่งการไม่พัฒนา ซ้ำถอยหลังเข้าคลอง ได้แก่บุคคลผู้มีปกติดังนี้
๑. มองแคบ มีวิสัยทัศน์หรือโลกทัศน์คับแคบมาก ใจแคบไม่เอาการเอางาน เลี่ยงงานเก่ง พวกใจแคบไม่ทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง ไม่มีมนุษยสัมพันธ์แต่ประการใด ใจแคบมาก เจอก็ไม่ทัก ไม่มีวิสัยทัศน์ จิตใจคับแคบทั้งข้างนองข้างใน แคบทั้งหลักการและวิธีการเห็นแก่ได้อย่างเดียว เสียก็ไม่เอาด้วย ขอฝากไว้อย่า
๑. มองแคบ ผู้มองแคบก็คือ คนใจแคบ วิสัยทัศน์ใจแคบมาก
๒. คิดใกล้ ไม่คำนึงถึงเหตุการณ์วันข้างหน้าเลย อย่าคิดแค่หัวบันได คนเราเดี๋ยวนี้คิดแค่หัวบันได ไม่ได้พิจารณาตัวเองเลย คับแคบมาก ได้ก็เอาเสียไม่เอาด้วย เหมือนคนที่บ้านใกล้เรือนเคียง มีงานก็ไม่เคยช่วย เขามีงานเราไม่มองแต่ตัวเองมีงานบ้างไม่มีใครช่วย วิสัยทัศน์แคบมาก เพราะไม่เคยเจริญพระกรรมฐาน ถ้าบุคคลใดเจริญพระกรรมฐาน จะมีมนุษยสัมพันธ์ จิตใจสดชื่นหรรษา พิจารณาธรรมมองเห็นโลกกว้าง คนคิดใกล้ไม่คำนึงถึงเหตุการณ์ที่จะมาวันข้างหน้าว่าเป็นอย่างไร
๓. ใฝ่ต่ำ มุ่งร้าย ใฝ่เลว ทำชั่วไม่เกรงกลัวต่อบาป คนใฝ่ต่ำนี้มุ่งร้ายใฝ่เลว ทำชั่ว ไม่กลัวบาป ไม่มีวิสัยทัศน์แต่ประการใด
เพราะฉะนั้น ธรรมทัศน์ที่นำมากล่าวนี้คือ การเจริญพระกรรมฐาน มีสติสมบูรณ์แบบ เพราะเป็นธรรมทัศน์ อุปกรณ์ช่วยให้ท่านฟัง ให้ท่านปฏิบัติพระกรรมฐาน ตาดู หูฟัง ปากนิ่ง ตีนรีบวิ่ง มือทำแต่ความดี นั่นคือ ธรรมทัศน์ ชื่อว่า ธรรมทัศน์ อ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น เห็นตัวตาย จะได้คลายทิฏฐิ จะได้ดำริชอบ จะได้ประเกอบกุศล ผลงานเป็นหลักฐานสำคัญ ตรงนี้ธรรมทัศน์
ผู้ที่ปฏิบัติพระกรรมฐานได้ ผู้นั้นจะมีธรรมทัศน์ มองโลกอันสว่างไสว อารีอารอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จิตใจเบิกบาน อยากจะให้ อยากจะช่วย อุปกรณ์ที่จะช่วยให้ท่านทั้งหลายเข้าใจในเรื่องนี้ได้ คือ ผู้ฟังต้องไม่มองโลกในแง่ร้าย
ท่านทั้งหลายอย่ามองโลกในแง่ร้าย ท่านมีธรรมทัศน์ ท่านจะมองโลกในแง่ดี ไม่มองคนในแง่ร้ายตลอดไป คนที่จิตใจเลว ไม่มีธรรมทัศน์ เข้าวัดก็จะไปดูของไม่ดี ตาสกปรก เปรียบเหมือนพวกแมลงหวี่ แมลงวันที่ชอบไปดมของสกปรกต่าง ๆ ในกองขยะ แต่แมลงผึ้งบินมาจากดงดอยเข้าไปเคล้าคลอ ดมเกสรแล้วสวัสดีมีชัย กลับไปจะบินสูง โบราณท่านว่าไว้ นอนสูงต้องนอนคว่ำ นอนต่ำต้องนอนหงาย น่าจะคิดธรรมทัศน์ ถ้าท่านเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านจะทราบด้วยญาณวิถีของท่านว่าเป็นประการใด
คนดีมีปัญญาเขาดูกันที่ข้อปฏิบัติ ดูที่กิจวัตรปฏิบัติของเขา เช่น ฆราวาส ญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา เนกขัมมะ ดูซิว่าข้อปฏิบัติทำได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ไม่มีความหมายอันนี้ นี่แหละมองใฝ่ต่ำ มุ่งร้ายใฝ่เลว ทำชั่วไม่เกรงกลัวต่อบาปออกมาอย่างนี้ชัด เพราะฉะนั้น ธรรมทัศน์ที่กล่าวมานี้ คือ การเจริญพระกรรมฐาน เรียกว่า ธรรมทัศน์ จึงเป็นธรรมทัศน์ที่จะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราฟังรู้เรื่อง สนใจในการเข้าใจฟังในเหตุผลข้อเท็จจริงจากธรรมทัศน์ ไม่มองโลกในแง่ร้าย และ ไม่หมายโลกในแง่ดี คือ เข้าใจความเป็นไปของโลกทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งสมหวัง และ ผิดหวัง
โลกล้วนมีทั้งสมหวัง และ ผิดหวัง ทั้งเสียใจ ทั้งร้องไห้ ทั้งหัวเราะอย่างนี้ทั้งนั้น ไม่มีโลกทัศน์ใดเลยที่จะสมหวัง และ เสมอต้นเสมอปลาย เสมอชีวิตด้วยความถูกต้อง มีแง่นี้ทั้งนั้น คือ เข้าใจความเป็นไปของโลกทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งสมหวัง และ ผิดหวัง ทั้งได้ทั้งเสีย ทั้งชื่นชม และ ติเตียน
กระแสของโลก และ ธรรมชาติของโลก จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ยิ้มได้เมื่อถูกเยาะ หัวเราะได้เมื่อถูกเย้ย วางเฉยได้เมื่อถูกชมภิรมย์รัก และเอาตาชั่งขึ้นมาดู เอาตราชูขึ้นมาชั่ง นี่แหละธรรมทัศน์ ได้แก่การเจริญพระกรรมฐาน ขื่นก็ต้องอม ขมก็ต้องกลืนอยู่ในจิตใจ ชุ่มชื่นและเบิกบานหรรษา รื่นฤดีตรีปิฎกหยิบยกไว้ในใจ ชีวิตจะแจ่มใสตลอดกาลปาวสาน
คนที่เจริญพระกรรมฐาน นิสัยจะนิ่งและหนักแน่น ไม่มีเหลาะแหละเหลวไหลเหมือนปุยนุ่น คนที่เจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องมีมารมาผจญ มารไม่มีบารมีไม่เกิด ได้ยินเสียงอะไรหนีเลย เป็นคนขาดสติไม่ครบวงจรสมบูรณ์แบบ เป็นคนไม่สมบูรณ์ เป็นคนบกพร่องมาก เป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์แล้ว เป็นคนสุก ๆ ดิบ ๆ
นี่แหละที่ท่านกล่าวว่า บุคคลที่เจริญพระกรรมฐานเป็นผู้มีพื้นอารมณ์นิสัยนิ่ง และ หนักแน่นชนิดที่เรียกว่า ยิ้มได้เมื่อภัยมา ไม่โศกาเมื่อทุกข์มี นั่นเอง ขอฝากท่านทั้งหลายว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ทำให้วงจรของสติครบสมบูรณ์ จะยืน เดิน นั่ง นอน คู้เหยียด เหยียดขา มีสติสัมปชัญญะ จะได้ระลึกเหตุการณ์ชีวิตได้
อาตมาไม่สามารถไปเสก เป่า ให้ท่านดีได้ทุกคน เพราะคนเรามีทั้งดีไม่ดี ญาติโยมจะดีทุกคนก็คงไม่ได้แล้วแต่โลกทัศน์ของท่าน มีแคบบ้าง กว้างบ้าง สูงบ้าง ต่ำบ้าง ไม่เท่ากัน ปัญญาก็ไม่เท่ากัน แต่เรามาปฏิบัติธรรมเหมือนกัน เสมอต้นเสมอปลายแล้วท่านจะแก้ปัญหาได้ ท่านจะมีธรรมทัศน์ ธรรมะจะเกิดขึ้นแก่ท่านโดยเฉพาะออกมาอย่างนี้ชัดมาก ขอเจริญพรอย่างนั้น
คำว่า ธรรมทัศน์ ก็คือ ทัศนศึกษาชีวิต ทำให้เรา
๑. เกิดความรู้ ปฏิบัติ
๒. เกิดความคิด
๓. เกิดความตั้งใจ
๔. เกิดประสบการณ์ เรียกว่า ธรรมทัศน์ ปฏิบัติธรรมได้จะเกิดความรู้ขึ้นมาทันที เกิดความตั้งใจจริง จะทำอะไรก็มีความตั้งใจจริง
๔.๑ จริงต่อการงาน
๔.๒ จริงต่อหน้าที่
๔.๓ จริงต่อสัจจะ
๔.๔ จริงต่อบุคคล
๔.๕ จริงต่อความดี ท่านจะมีธรรมทัศน์ออกมาชัดเจนอย่างนี้
๕. ได้ประสบการณ์ เรียกว่า วิทยานิพนธ์ชีวิตจะเกิดขึ้นแก่ท่าน
บางคนบวชมาหลายพรรษา ยังไม่เคยพบพระ พบแต่พระโดยสมมติสงฆ์ แต่ถ้าพบพระในใจเมื่อไหร่ ท่านจะซึ้งใจ ใฝ่ดี มีสัจจะ เรียกว่า มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อตัวเอง ต่อคนอื่น จะออกมาเป็นธรรมทัศน์ชัดเจนมาก แต่บางคนก็ไม่ชัดเจนมาก แต่บางคนก็ไม่ชัดเจนก็ขอให้ท่านหายใจยาว ๆ แล้วท่านจะได้ธรรมทัศน์ที่เหมาะสม ท่านจะมีสติปัญญากว้างขวาง จะมีพลังสูงได้แก่ข้อปฏิบัติธรรมของท่านโดยเฉพาะ
เพราะฉะนั้นท่านจะได้
๑. ระลึกชาติ
๒. จะรู้กฎแห่งกรรม
๓. จะแก้ไขปัญหาได้
คิดอะไรไม่ออก หายใจยาว ๆ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ คิดหนอ... คิดหนอ.... สมาธิท่านดีมีอยู่แล้ว ปัญญาเกิด ท่านจะคิดออกทันที ไม่ต้องไปถามคนอื่นเลย เสียใจ ดีใจ ก็กำหนดไว้ กฎแห่งกรรมจะแจ้งชัดกับเราเอง
ชั่วหรือดีที่ทำกรรมทั้งหลาย ไม่หนีหายสูญสิ้นไปถิ่นไหน
ย่อมอยู่ดีกินดีไม่มีภัย รวมเก็บไว้ที่จิตติดตัวเรา
ประพฤติธรรมสำคัญอยู่ที่จิต ถ้าตั้งผิดมัวหมองไม่ผ่องใส
ถ้าตั้งถูกผุดผ่องไม่หมองใจ สติใช้คุมจิตไม่ผิดนา
ขอให้เอาดีติดตัวไป หมั่นฝึกฝน เดินจงกรมปฏิบัติ จะหยิบอะไรก็ตั้งสติไว้ อย่าให้มันฝืนธรรมชาติทวนกระแสโลก ทวนกระแสธรรม แต่ต้องฝืนใจจึงจะดีได้ ถ้าฝืนใจไม่ได้ ปล่อยไปตามอารมณ์ตน ตามสายชลสายธาร ชีวิตท่านจะเป็นหมัน ทรัพยากรชีวิตท่านจะไม่มีอะไรอีกแล้ว
ฝากญาติโยมไว้ คนดีมีปัญญาไม่ต้องพูดมาก คนที่ไร้เหตุผลไม่ได้สนใจความดีอันนี้ ก็มากหลายไม่ได้ว่าอะไรกันเลยนะ แล้วแต่ท่านทั้งหลายเถิด ท่านจะดีชั่วประการใดอยู่ที่ตัวท่าน รวมอยู่ที่จิตใจของท่านแล้ว ถ้าท่านเป็นใหญ่แค่ไหนก็ตาม มีฟ้าเหนือฟ้า อะไรเหนือกฎแห่งกรรมเป็นไม่มี ท่านจะต้องไปเสวยกรรมในโลกหน้า เสวยกรรมในปัจจุบันนี้ ท่านจะทนทุกข์ทรมานในอนาคตเบื้องหน้าสืบไป





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 23:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแ้ล้วๆๆ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย
ธรรมะจากผึ้ง
พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม)
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
ผู้มีปณิธานมั่นคง และ มีผลงานพัฒนาคนให้สูงด้วยคุณธรรม

ผึ้ง หรือ แมลงผึ้ง ทุกคนคงรู้จักกันดี เพราะเคยรับประทานน้ำหวานที่มีรสหวานอร่อยของแมลงผึ้ง หรือ เคยรับประทานน้ำผึ้งด้วยกันทุกคน สังคมจะอยู่ร่มเย็นได้ด้วยบุคคลในสังคมนั้นต้องเจริญพระกรรมฐาน นำธรรมะที่ได้จากตัวผึ้งมาสอนใจคน ซึ่งใช้ได้เป็นอย่างดี ธรรมะ ๕ ประการจากตัวผึ้งดังกล่าวได้แก่
๑. ขยันหากิน
๒. บินไม่สูง
๓. รักความสะอาด
๔. ฉลาดสะสม
๕. นิยมสามัคคี
ชนเหล่าใดปลูกป่า คือ ปลูกไม้ดอกและไม้ใบ ปลูกไม้ยืนต้น คือ ให้ได้ที่ร่มเงาเป็นทาน ขุดบ่อน้ำสร้างน้ำประปาให้ที่พักเป็นทาน บุญกุศลย่อมเจริญแก่คนเหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นต้น ให้ข้าวน้ำเป็นทานได้ชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้าผ่อนท่อนสไบเป็นทานเชื่อว่าให้ผิวพรรณ ให้ยานพาหนะเป็นทานชื่อว่าได้ให้ความสุข ให้แสงสว่างเป็นทานชื่อว่าได้ให้ดวงตาเห็นธรรม สร้างที่พักอาศัยให้เขาอยู่อาศัยกันเจริญพระกรรมฐานเป็นทานชื่อว่าได้ให้ทุกอย่าง เกิดทุก ๆ ภพ ทุก ๆ ชาติ ย่อมเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ อย่างดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ดังกล่าวแล้ว
ให้ทานของเลิศก็ย่อมได้ของเลิศตอบแทน ให้ทานของดีของประเสริฐก็ย่อมได้ของดีของประเสริฐตอบแทน ให้ทานของอันเป็นที่พึงพอใจก็ย่อมได้รับของที่เป็นที่พึงพอใจ ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาชื่อว่าสร้างความเป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ หรือ ตำแหน่งให้แก่ตัวของตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้กระทำลงไป ย่อมเป็นเงาสะท้อนย้อนกลับคืนมาหาตัวของเราเอง ฉันใดก็ฉันนั้นเช่นเดียวกัน ชีวิตท่านจะสูงค่า ถ้าท่านจะใฝ่หาประโยชน์เกื้อกูล ได้สนับสนุนความีน้ำใจ เอื้ออารีต่อกันนั่นเอง
มนุษย์ผู้เกิดมาได้คุณค่าคุณธรรมไว้ค้ำจุน พระพุทธพจน์ ท่านกล่าวมาชัดเจนมาก คือ ทานนั่นเอง เกิดเป็นชายควรพยายามเรื่อยไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จในอนาคตท่านชายทั้งหลายเอ๋ย จงพยายามเถิดประเสริฐแล้ว เกิดมาทั้งทีชายชาติเชื้ออย่าเหลือวิสัย ชายจริงหญิงแท้ จะเป็นคนแก่ที่น่าบูชา มีประโยชน์ต่อชีวิตของท่านเอง ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ที่ทำงานโดยไม่เบื่อหน่ายท้อถอย ค่าของคนอยู่ทีผลของงานนั้น คนที่ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่อากูรเกื้อหนุนตลอดเวลากาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงพุทธพจน์ไว้ว่า ย่อมฉิบหายล่มจมแน่นอนที่สุด
ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง อุปสรรคนั้นเป็นยาชูกำลังชีวิตให้เจริญก้าวหน้า โปรดอย่าได้ท้อถอย หดหู่ ท้อแท้ อันธรรมดาว่าวจะขึ้นสูงได้ต้องโต้ลม ถ้าไม่มีลมโต้ว่าวขึ้นสูงไม่ได้ ท่านโปรดตีความหมายข้อนี้ให้ได้ปลาที่เป็น ๆ มีชีวิตจะต้องแหวกว่ายทวนกระแสน้ำ ไม่มีปลาตัวใด จะว่ายลงตามกระแสน้ำนอกจากปลาตาย ต้องทนลำบากไปก่อนจึงค่อยสบายในภายหลัง ถ้าเหลือกำลังมากจงช่วยออกปากบอกแขกแบกหาม ความทุกข์ยากความลำบากเป็นครูสอนตัวท่านได้ดี
ท่านสาธุชนทั้งหลาย ถ้าท่านประสบความทุกข์ยากลำบากมา จะเป็นครูสอนตัวท่านได้ดีที่สุด คนที่ท้อแท้ไม่เคยลำบากไม่มีครู เหงื่อไม่ออกเมื่อยังเป็นเด็กหนุ่ม จะไปออกเป็นน้ำตาเมื่อคราวแก่ เพราะไม่มีสมบัติอะไรจะเหลือแต่ประการใด แม้แต่ข้าวจะกรอกปากก็ยังหายาก อยู่กินอย่างคนรวยจะยากจนเมื่อภายแก่ อยู่กินอย่างคนยากจนจะร่ำรวยไปจนวันตาย แต่งตัวเหมือนเทวดาไม่มีปัญญาหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เกิดเป็นคนก็ต้องทนลำบาก ถึงตกยากก็ต้องอยู่สู้ไม่หนี
ท่านสาธุชน วิกฤตการณ์เช่นนี้อย่าหนี ต้องต่อสู้ต่อไป อดทนสู้ไป สู้ไม่หนี ความทุกข์ยากเป็นครูสอนคนได้ดี ไม่ถึงที่ก็ต้องหัดกัดฟันทน มีเงินทองข้าวของและเครื่องใช้ ใช้จ่ายไปก็ต้องตรองมองเห็นผลอย่าฟุ่มเฟือยเกินไป ยุคใหม่สมัยนี้ขอเตือนท่านสาธุชน ทำบุญก็พิจารณาก่อนทำ อย่าให้มันมากไป ทำพอสมควรพอจะทำได้ มองเห็นผลอย่าฟุ่มเฟือย จ่ายมากจะยากจน ประคองตนไว้ให้ถูกทุกข์ไม่มี มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน เป็นมนุษย์บุรุษโชคอย่าโศกเศร้า ให้เร่งเข้าสร้างฐานะมาต่อสู้ หนักก็เอาเบาก็รับประดับชู เป็นเกียรติคู่ความดีศักดิ์ศรีตัว มีความหมายมาก เงินและงานการศึกษาควรหาก่อน อย่ารีบร้อนไปหารักงานจักเสีย ถ้าขาดเงินขาดงานพาลขาดเมีย งานไม่เสียเมียคงมีเงินคงมา ถ้ารักยศรักศักดิ์อัครฐาน ต้องรักงานไว้ประกันขันอาสา ถ้างานลดยศก็ถอยด้วยราคา มีปัญญาอย่าขี้ฉ้องอมือตัว
โบราณท่านสอนว่า รกคนดีกว่ารกหญ้า แต่ถ้าคนขาดคุณธรรมขาดสติปัญญาแล้ว รกหญ้าที่กว่ารกคน อันทางคดลดเลี้ยวป่าเปลี่ยวรก ก็พอโศกถางดายให้หายรก แต่นิสัยคนขี้ปดมักคนโกง ยากจะจรรโลงให้หายโล่งเหมือนทางเตียน อีกคำหนึ่งว่า เลี้ยงคนดีกว่าเลี้ยงหมา ถ้าเลี้ยงคนทรามปัญญาเป็นอันธพาล สร้างปัญหาหนักอกรกสมอง ก่อกวนให้ชาวบ้านเดือดร้อน นอนตาไม่หลับแล้วเลี้ยงหมาดีกว่าเลี้ยงคน เลี้ยงหมาก็ยังได้อาศัยเฝ้าสมบัติเวลาหลับ หรือ เวลาออกไปธุระนอกบ้าน เราเลี้ยงหมายังได้เฝ้าสมบัติ ขอจงดัดนิสัยให้เข้าที่ดีกว่าเลี้ยงศัตรูหมู่ไพรี ซึ่งคอยหาช่องทางทำลายเรา
จะเลี้ยงคนเลี้ยงสัตว์นั้นไม่ว่า ขอจงอย่าเลี้ยงไว้ให้ไร้ผล เลี้ยงคนและสัตว์หัดบ้างงอย่าห่างตน จะได้ผลคุ้มค่าพาสุขใจ อันเสือสิงห์ลิงค่างและช้างแรด บุกรุกแดดหญ้าคาในดงป่า นำมาเสริมเติมตัดหัดกายา ค่อยสูงค่าพาโชคโรคทางกาย
โบราณท่านสอนไว้อีกว่า จงเอาเยี่ยงกาแต่อย่าเอาอย่างกา ธรรมดานกกา หรืออีกานั้น มันตื่นแต่เช้ามืด รู้สึกว่ามันจะตื่นก่อนสัตว์ทุกชนิดในบรรดาสัตว์ที่หากินยามเช้า ท่านจึงสอนให้เราดูเยี่ยงมันแต่อย่าเอาอย่างมัน เอาเยี่ยงมันได้คือตื่นแต่เช้ามืด แต่อย่าเอาอย่างมันเพราะสันดานของอีกา ถึงมันจะตื่นแต่เช้ามืดก็จริง แต่มันไม่ได้หากินโดยสุจริต ด้อม ๆ มอง ๆ ลักของเขา เวลาคนเขาเผลอแล้วเมื่อใด ได้โอกาสก็ฉวยลับกายตัวไป เหมือนคนบางประเภทที่มีสันดานโสโครกที่มักทำนาบนหลังคน เผลอไม่ได้ประมาทไม่ได้ต้องคอยระมัดระวัง แม้เวลาจะหลับจะนอนก็ต้องระแวดระวัง หลับไม่สนิทติดกาย
พระพุทธองค์ยังทรงตำหนิคนประเภทนี้ว่าคนที่มีสันดานโสโครก มักเห็นแก่ได้ คนพวกนี้ไม่ได้ด้วยเล่ห์ต้องเอาด้วยมนต์ ไม่ได้ด้วยกลก็ต้องเอาด้วยคาถา หามาโดยสุจริตไม่พอต่อความต้องการ ไม่สมอยากสมหิวเพราะใจมันเป็นเปรต เป็นผีหิวอยู่เรื่อยไป เอาได้ทุกอย่าง ทำได้ทุกอย่าง ลักปล้นจี้โกงทุกอย่าง มีจิตวิปลาสขาดยางอาย
ตำนานของพระพุทธศาสนา ท่านเล่าไว้ว่าเปรตนั้นมีร่างกายใหญ่โต ท้องโตเท่าภูเขา ปากเท่ารูเข็ม กินอาหารกินเท่าไรก็ไม่รู้สึกอิ่มสักที เพราะท้องมันโต ปากมันเท่ารูเข็ม แต่ก็ยังดียังพอมีส่วนเกินเหลือเอาไว้เผื่อแผ่ให้คนอื่นเขาบ้าง แต่เปรตในหัวใจคนยุคนี้สมัยนี้ไม่ไหวเลยกินไม่เลือก เขากลืนลงไปได้แล้วเอาไปซ่อนไว้ในท้องได้ เขาคงกลืนไปนานแล้ว เราคงไม่มีโอกาส ไม่มีกรรมสิทธิ์จะอยู่กับเขาได้แล้ว ณ บัดนี้ฉันใดก็ฉันนั้น เป็นอย่างนี้แล้ว ขอเทวดาฟ้าดินโปรดดลบันดาล อย่าให้คนพวกนี้กลืนโลกเข้าไปย่อยในกระเพาะอาหารเลย ข้าขอส่วนแบ่งไว้ให้ได้มีโอกาสไว้ได้อยู่ดูโลกเถิด
โบราณท่านสอนไว้อีกว่า อย่าเอาอย่างแมลงวัน ธรรมดาแมลงวันเป็นสัตว์ที่มีสันดานโสโครกชอบลูบ ๆ คลำ ๆ ไต่ตอมแต่ของสกปรก แตกต่างจากแมลงผึ้งราวฟ้ากับกิน ผึ้งหรือแมลงผึ้งทุกคนคงรู้จักดี เพราะเคยกินน้ำหวานที่มีรสหวานอร่อยของแมลงผึ้ง หรือ เคยกินน้ำผึ้งด้วยกันทุกคน
นำมาคิดเป็นธรรมะสอนใจคนได้ ๕ ประการ เป็นธรรมะของผึ้งคือ
๑. ผึ้งขยันหากิน
๒. บินไม่สูง
๓. รักความสะอาด
๔. ฉลาดสะสม
๕. นิยมความสามัคคี
พระพุทธพจน์ยังสอนเตือนว่า เกิดเป็นคนอย่าลืมตนเย่อหยิ่ง โปรดอย่าลืมว่า ไม้สูงเกินต้นมักโค่นเพราะลมบน คนสูงเกินคนมักจะทนอยู่ลำบาก ตัวผึ้งนั้นไม่มีสันดานขี้เกียจ ขยันหากินทุกตัว ถ้าตัวไหนขี้เกียจไม่บินออกไปหากิน จะถูกผึ้งตัวอื่นรุมต่อยจนตาย ตัวผึ้งบินไม่ต่ำนักและไม่สูงจนเกินไป นำมาคิดเป็นธรรมะสอนใจคนได้ คือเกิดเป็นคนนั้นอย่ามักใหญ่ใฝ่สูงจนเกินไป จองหอง พองขน ข่มคนอื่นอวดดี อวดเด่นเกินมนุษย์มากไป และตัวผึ้งรักความสะอาด นำมาคิดเป็นธรรมะสอนใจคนคือ เป็นคนนั้นต้องรักษาความสงบเรียบร้อย จะยืน หรือ จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะกิน ก็ต้องสะอาดเรียบร้อย อย่าสกปรก จะนุ่งห่ม จะบ้วนน้ำลาย จะคายน้ำมูก จะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ต้องมีสติเรียบร้อย ราดน้ำด้วย ช่วยกันสร้างความสะอาด คือ เลือกที่เลือกทาง ตลอดถึงที่หลับที่นอนด้วย ช่วยกันดูแลความสะอาด ถ้วยโถโอชามต้องสะอาดเรียบร้อย
ตัวผึ้งฉลาดสะสมคือ สะสมอาหาร และน้ำหวานไว้เลี้ยงตัวมันเอง เลี้ยงลูกอ่อนเป็นเวลาแรมปีสะสมไว้มากเพียงพอ แถมมนุษย์เดินดินกินของไม่เลือกยังไปแย่งมันกินอาหารของมันมา มิหนำซ้ำยังฆ่าเจ้าทรัพย์ตายเกลื่อนอย่างน่าอนาถ แถมเจ็บใจเสียเหลือเกิน เราเป็นมนุษย์อย่าให้แพ้ตัวผึ้ง หาทรัพย์สินเงินทองโดยขยัน ประหยัด มัธยัสถ์ ในยุคใหม่สมัยนี้อย่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนัก รอบคอบในการใช้การจ่ายหัดกินน้อย ๆ ใช้น้อย ๆ แล้วทรัพย์สินจะได้มีส่วนเกินพอกพูนขึ้น ๆ จนเหลือใช้ เหลือจ่ายไปเอง
นอกจากนี้ตัวผึ้งนิยมความสามัคคี จะอยู่รวมกันเป็นฝูงเป็นหมู่คณะ ช่วยกันสร้างบ้านหรือรังมันทำงาน คือ หาอาหารช่วยกันทำความสะอาดรัง ช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน ไม่ผิดอะไรกับคน ตัวไหนขี้เกียจจะถูกผึ้งตัวอื่นรุมต่อยจนตายทุกตัว ฉะนั้นพวกเราผู้เป็นมนุษย์ทั้งหลายเอ๋ย ได้คติธรรมจากตัวผึ้งแล้วให้นำมาคิดสอนใจตัวบ้าง โดยเฉพาะข้อที่ ๕ สามัคคี รักกัน ๆ รักพ่อ รักแม่ รักพี่รักน้อง ปรองดอง ความสามัคคี อย่าทะเลาะวิวาทกันเลย ยุคใหม่นี้รักญาติพี่น้องของตัว รักเพื่อนร่วมบ้าน ร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมโรงงาน เพื่อนร่วมบริษัท รักเพื่อนร่วมครูบาอาจารย์ ตลอดถึงรักเพื่อนร่วมประเทศชาติ รักประเทศชาติบ้านเมืองของตัว รักกันดีกว่าชังกัน ถึงคราวผิดพลาดรู้จักให้อภัยกันนะ ให้ถือคติที่ว่า รักก็อย่าไปรักทั้งหมด ให้เหลือไว้เกลียดกันบ้าง เกลียดชังก็อย่าเกลียดกันทั้งหมด ให้เหลือไว้รักกันบ้าง เดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่สนิท
ท่านสาธุชนทั้งหลายเอ๋ย คนเราบางเวลามันน่ารักจริง ๆ บางเวลามันก็น่าเกลียดพิลึก น่าชังบางเวลาแบ่งใจไว้นะ เตรียมใจไว้รับทั้ง ๒ อย่าง อย่าไปรักทั้งหมด อย่าไปเกลียดทั้งหมด ยุคใหม่สมัยนี้เราช่วยเขาได้มาก เขาก็รักเรามาก เราช่วยเขาได้น้อย เราก็รักเขาน้อย ยังไม่ได้ช่วยใครเขาก็ยังไม่รักเราเลยนะ ไม่มองหน้าเราเลยนะ เดี๋ยวนี้คนขาดคุณธรรม ไม่มีหลักธรรมของผึ้งดังกล่างมา เห็นแก่ตัวจริง ๆ มักได้ มักง่าย ขาดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ชีวิตจะรุ่งเรือง หรือ เรืองรุ่ง จะทำสิ่งใดได้ประโยชน์โสตถิผล ถ้ารู้จักใช้ธรรมะที่ได้จากตัวผึ้งนี้จะช่วยให้โลกได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้า ถ้าท่านไม่เจริญพระกรรมฐาน ท่านจะไม่รู้ธรรมะ ๕ ประการคืออะไร ท่านจะพึ่งตัวเองได้ประการใดหรือ ท่านจะก้าวหน้าได้อย่างไร ธรรมะช่วยให้โลกได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า ท่านต้องเจริญพระกรรมฐาน เอาบุญมาใส่ใจถึงจะถูกทาง
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสประกาศให้รักสมัครสมาน ถ้าเราไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล แม้ชาติย่อยยับอับจน ประชาชนจะเป็นสุขได้อย่างไร ผู้มีมีอิจฉาพยาบาท ใจสะอาดสิ้นทุกข์เป็นสุขหนา ผู้มีจิตเต็มเปี่ยมด้วยเมตตา ประชาชนทั่วหล้าสาธุการ อันนี้ก็เป็นเรื่องจำเพาะตัว เพราะฉะนั้นท่านสาธุชนทั้งหลายที่มาเจริญพระกรรมฐานก็ต้องการจุดนี้ ท่านมาปฏิบัตินี้ อย่างทำจิ้ม ๆ จ้ำ ๆ มันไม่เกิดประโยชน์โสตถิผลแต่ประการใด บางคนมาบอกจะมา ๗ วัน อยู่ได้ ๒ วัน หนีกลับไปแล้ว เสียสัจจะ ตรงนี้สำคัญมาก ระวังอย่าให้เสียสัจจะ บางคนโทรศัพท์บอกให้หาห้องดี ๆ ขนาดปลัดกระทรวงรัฐมนโทจะมา โทรมาย้ำจนตี ๒ ยังโทรมาอีกบอกเจ้านายจะมาช่วยต้อนรับหน่อย ส้วมชักโครกมีไหม ห้องแอร์มีไหม ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ อาตมาอยากจะหนีไปเลย อย่างนี้ขอถามหน่อยเป็นแมลงวันหรือผึ้ง
ท่านทั้งหลายเอ๋ย อย่ามักง่ายมาสร้างบุญกุศล พระพุทธเจ้าเป็นจักรพรรดิ พระองค์เสียสละราชสมบัติเงินทองท้องพระคลังมากมาย ออกไปบรรพชาเพื่อไปเอาวิชามาให้เรา วิชานี้คือ วิชาแก้ปัญหาชีวิต วิชาแก้ปัญหาทุกข์ ท่านได้ใช้เวลาเรียนถึง ๑๖ ปี ไม่มีครูอาจารย์ ต้องไปฝึกเอาเองในป่า ไปเรียนวิชาเหาะเหินเดินอากาศ แหวกดินได้ กลับไปทิ้งเสียอีก โทรศัพท์มาที่วัดอัมพวันมาบังคับให้เราหาห้องพักดี ๆ วัดเราก็เลยกลายเป็นโฮเต็ลไปแล้วหรือนี่ มาวัดมาปฏิบัติธรรม ให้กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรให้มาก ขนาดนายพล เขายังมาช่วยล้างชาม เอ่ยชื่อก็ได้เดี๋ยวก็มาแล้ว พลโทวิศาล ธนรักษ์ ล้างชามทุกวัน ไม่เห็นถือตัว แต่นี่ขนาดเป็นนายหมื่นนะ ให้อาตมาหาห้องดี ๆ ห้องต้องสะอาด แหมพวกแมลงหวี่แมลงวันนี่ชอบห้องสะอาด เสียใจด้วยมาบังคับเรา มาเลย แม่มา มาเลยพ่อมา ตะวันจะสาย สายบัวจะเน่า พายแม่พายเดี๋ยวจะสาย สายบัวนะเน่า เข้าใจคำนี้ไหม พายได้อย่างไร โซ่ไม่แก้ ลูกกุญแจไม่ไข พายติดโซพายได้อย่างไร ไม่ได้อะไรเลยพวกนี้
อันทรัพย์สินและถิ่นฐาน ทั้งบ้านช่องอีกเงินทองไร่นามหาศาล เป็นสมบัติของตัวได้ชั่วกาล จะต้องผ่านจากกันเมื่อวันตาย ส่วนความดีมีความสัตย์สมบัติแท้ ถึงตัวแก่กายดับไม่ลับหาย จะสถิตติดแน่นแทนร่างกาย ถึงตัวตายชื่อยังอยู่เชิดชูเอย
ขอฝากคติธรรม ปฏิบัติพระกรรมฐานดีที่สุดไม่มีอะไรดีกว่านี้แล้ว ชีวิตนี้จะมีค่าเพราะทำเวลาให้มีคุณ คุณสมบัติประจำชีวิต คือ สุจริตประจำใจ ความเจริญทางวัตถุ ยั่วยุให้คนลืมตัว อย่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่เสียไป จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ พระดังอาจจะไม่ดี พระดีอาจจะไม่ดัง ความขยันเป็นคุณสมบัติของคน ความอดทนเป็นสมบัติพระ ขอฝากคติธรรมไว้พอสมควรแก่เวลา ขอยุติการแสดงธรรมไว้แต่เพียงนี้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างแท้จริง ชีวิตท่านจะไม่อับเฉาจะไม่เบาปัญญา ชีวิตท่านจะรุ่งโรจน์โชตนาการ..




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 13:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว




B J.bmp
B J.bmp [ 360.99 KiB | เปิดดู 4140 ครั้ง ]
.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร