วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 20:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
แค่ความรู้สึกที่มันเกิดในร่างกายเราอยู่ในขณะนี้มันมีจริงยังรับรู้ไม้ได้



รู้แค่ เศษเสี้ยวแหว่งๆ ยังไม่ถึงเศษเสี้ยวของสภาวะสัมปชัญญะ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ แค่นที่จะพยายามคุย

ตาทู่ เอ๊ยตาทู่ รู้แค่นี้ ยังขี้โม้คุยโตขนาดนี้ ถ้ารู้เห็นความวิจิตรพิศดารของจิตมากกว่านี้ ยิ่งกว่ายกโรงหนังโรงลิเกมาตั้งหน้าบ้าน



รับรู้ได้มั้ยละในขณะนี้นะที่ติ่งหูนะ อันพิศดารนั้นมันเฉพาะตนมันเล่ากันฟังมันก็มีแต่งงไม่รู้จะคุยไปทำไม เอาแค่ทุกคนสัมผัสได้จริงๆตรงนี้ดีกว่านะป้า ถ้าอย่างอื่นก้ว่าคุยอีก



โฮะๆๆๆๆๆ ตาทู่เอ๊ยตาทู่ อย่างฮาจริงๆ ติ่งหู ทำเป็นเวอร์ชั่นคันหู ภาคพิศดารไปได้

เอาเป็นว่า ตาทู่มีเหตุอันใด สภาวะเป็นอันใด นั่นเหตุปัจจัยของตาทู่

ฉานก็แค่เข้ามาพักผ่อนอิริยาบท เท่านั้นเอง ไม่ได้มีเจตนา เข้ามาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ เหมือนลิเก ต้องออกแขก อะไรประมาณนั้น

ถ้าจะให้โฆษณา ตอนนี้ โฆษณาเฉพาะธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ คือ เรื่อง โยนิโสมนสิการ เพราะทำได้จริง เห็นผลทันตา จึงมาบอกเล่าสู่กันฟัง ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ มิได้นำพา เพราะเหตุของแต่ละคน เหตุของใครก็ของคนนั้น

ส่วนสภาวะอื่นๆน่ะ สักแต่จะเรียกชื่อกันไป ตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน

ตราบใดที่ยังมีกิเลส ไม่ว่าดี/ชั่ว ทุกคนมีหมด แต่วลัยพรไม่นำพา เพราะเหตุของใคร เป็นของคนนั้น คนอื่นๆรับแทนกันไม่ได้หรอก

ในมุมองของวลัยพร ไม่มีใครดีกว่าใคร หรือเลวไปกว่าใคร แต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่ต่อกันต่างหาก ที่ทำให้มีความรู้สึกนึกคิดเช่นนั้น
ป้าโยนิโสนะใครๆเขาก็ทำกันทั้งนั้นแหละ แต่ไอ้ที่จริงนะมันโยนิโสถึงหรือเปล่าไม่ใช่อยู่กับพื้นผิวของจิต มันต้องลงลึกถึงสภาวะที่จิตเข้าไปรับรู้ส่วนที่ละเอียดและลึกที่สุดของร่างกาย มันถึงจะขุดเง้าของกิเลสได้ ไอ้แค่ความคิดนั้นมันแค่ประเทืองปัญญา แต่มันอดอะไรไม่ค่อยได้จ๊ะป้า ขอข้าวผัดเจ1จานซิ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เคยบ้างไหมล่ะ เหมือนมีกระแสไฟฟ้า วิ่งผ่านไปทั่วร่างกาย รูขุมขนไหน รู้ชัดหมด นี่ก็เรื่องปกติ ของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่

คุนน้องว่าจะถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดพอดี คุนน้องเคยเจริญวิปัสนาในท่านอนแล้วตกภวังค์ค่ะ คือคุนน้องรู้สึกเหมือนมีประจุไฟฟ้าไหลมากองรวมกันที่หน้าอกแล้วมันสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง คุนน้องก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรแต่ตอนนั้นคุนน้องขยับตัวไม่ได้ทำไรไม่ได้ แต่คุนน้องปล่อยเลยค่ะไม่ได้ฝืน คือมันอย่างสั่นก็สั่นไป หลังจากนั้นก็จำไรไม่ได้จนตื่น แล้วก็มีตอนนั่งสมาธิรับรู้ถึงผัสสะมากระทบรูขุมขนตามแขนและใบหน้า โอ้วแม่เจ้า ขนลุกเลยเจ้าค่ะ(จิตกระเพื่อมๆ หลอนดีแฮะ :b14: )
นี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่คุนน้องไม่เอาจริงเอาจังกับการนั่งสมาธิ ถ้าจะต้องมารับรู้เรื่องที่วิจิตพิศดารคุนน้องไม่พร้อมตอนนี้ ไว้ลูกโตก่อนคุนน้องถึงจะเอาจริงเอาจังกับการนั่งสมาธิ :b31:


แก้ไขล่าสุดโดย nongkong เมื่อ 20 ส.ค. 2012, 21:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 21:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ ติดขัดตรงไหนก็โทรคุยกันได้นะ
มันน่าจะสะดวกกว่ามานั่งพิมพ์อย่างนี้
081-573-7469


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 22:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
ท่าน จขกท ครับ ติดขัดตรงไหนก็โทรคุยกันได้นะ
มันน่าจะสะดวกกว่ามานั่งพิมพ์อย่างนี้
081-573-7469


:b8: :b8: กราบขอบพระคุณคะ :b8: :b8:

ดิฉันจะพยายามช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดก่อนคะ :b8: ถ้าหมดแรง ถึงทางตันจริงๆ ดิฉันจะไปกราบขอความเมตตาจากท่านคะ...กราบขอบพระคุณนะคะที่ให้เป็นที่พึ่งในทางธรรมคะ :b8: :b8:

...ดิฉันเกรงใจนะคะ เลยพยายามช่วยตัวเองให้ได้มากที่สุดก่อน..ถ้าดิฉัน หมดแรง ปีกหัก สะบักสะบอม เดินไม่ไหว ดิฉันจะไปกราบขอความช่วยเหลือจากท่านคะ เพราะจริงๆแล้วดิฉันนิสัยไม่ดี ชอบทำอะไรทางลัดเร็วๆ ไม่ชอบพึ่งตัวเอง แต่ประสบการณ์ที่ผ่านๆมาสอนตัวเองว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าเราไม่ช่วยตัวของเราเองแล้วใครจะมาช่วยเราได้ และถ้าเราช่วยเหลือตัวเองเต็มที่แล้ว เมื่อเราไปขอความช่วยเหลือจากใครๆ ท่านนั้นๆก็จะยินดีที่จะช่วยเหลือเราอย่างเต็มที่เพราะท่านๆเหล่านั้นเห็นถึงความพยายามของเราที่ได้ทำไปแล้วในทั้งหมด :b8:

ดิฉันโง่ไปไหม...เหมือนปิดทางเดินของตัวเองไว้ แต่จะพูดอย่างไรดีคะ...อยากเรียนรู้แต่ไม่กล้าไปรบกวน คงจะใช้คำนี้ได้เหมาะเป็นที่สุด กลัวจะไปรบกวนเวลาของท่านนะคะ (แต่ดิฉันได้บันทึกเบอร์ท่านไว้แล้วนะคะ :b12: )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 00:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


: :b32:

บิกทู....เจอ..ป้า...ถึงกับแต๋วแตก..เลยหรอ...

อิอิ....น่าชงฉาน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
: :b32:

บิกทู....เจอ..ป้า...ถึงกับแต๋วแตก..เลยหรอ...

อิอิ....น่าชงฉาน...
ผมไม่เข้าใจ :b12:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:


รู้ไหม อานาปนสติ ต้องใช้ไปจนวันตาย ส่วนคำเรียกของแนวทางปฏิบัติต่างๆ ล้วนมาจากสภาวะนั้นๆ แต่ยังไงก็ไม่พ้น อานาปนสติ คนที่ไม่หายใจ มีแต่คนตายเท่านั้นแหละ

แม้กระทั่ง การกำหนดรูปนาม ก็ต้องหายใจ ไม่หายใจ ก็ตายน่ะสิ เพียงแต่ใช้ชื่อสมมุติว่า รูปนาม เท่านั้นเอง

และโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึกนึกคิด แต่หมายถึงการปฏิบัติด้วย ปฏิบัติทั้งนอกและใน ทั้งการใช้ชีวิตประจำวันและ ขณะทำสมาธิ


ไหนตอบมาสักข้อสิว่า ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตาทู่รู้อะไรได้บ้าง



จะบอกอะไรให้ เรื่องการสั่นสะเทือนไปหมดแล้วทั่วร่างกาย เป็นเรื่องปกติ ของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่ หรือ มีสมาธิเกิดขึ้นอยู่

เคยบ้างไหมล่ะ เหมือนมีกระแสไฟฟ้า วิ่งผ่านไปทั่วร่างกาย รูขุมขนไหน รู้ชัดหมด นี่ก็เรื่องปกติ ของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่

สภาวะที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ มีความพิศดารมากมาย พระผู้มีพระภาค จงทรงวางหลักโยนิโสมนสิการไว้ให้ จะได้ผ่านอุปกิเลสไปได้ ไม่ยึดติดหรือติดแค่สภาวะพิศดาร ตลอดจนรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นมามากมาย

ที่ถามไปน่ะ ตอบมาสิ ว่ารู้ชัดอย่างไรบ้าง
ป้าๆ โยนิโสอย่างไรเกี่ยวกับอาหารเจบอกหน่อยซิ อยากรู้ๆ :b22: เห็นเปิดร้านเจไว้ตั้งนานแล้ว เรื่องอื่นค่อยคุยกัน

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
walaiporn เขียน:
เคยบ้างไหมล่ะ เหมือนมีกระแสไฟฟ้า วิ่งผ่านไปทั่วร่างกาย รูขุมขนไหน รู้ชัดหมด นี่ก็เรื่องปกติ ของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่

คุนน้องว่าจะถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดพอดี คุนน้องเคยเจริญวิปัสนาในท่านอนแล้วตกภวังค์ค่ะ คือคุนน้องรู้สึกเหมือนมีประจุไฟฟ้าไหลมากองรวมกันที่หน้าอกแล้วมันสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง คุนน้องก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรแต่ตอนนั้นคุนน้องขยับตัวไม่ได้ทำไรไม่ได้ แต่คุนน้องปล่อยเลยค่ะไม่ได้ฝืน คือมันอย่างสั่นก็สั่นไป หลังจากนั้นก็จำไรไม่ได้จนตื่น แล้วก็มีตอนนั่งสมาธิรับรู้ถึงผัสสะมากระทบรูขุมขนตามแขนและใบหน้า โอ้วแม่เจ้า ขนลุกเลยเจ้าค่ะ(จิตกระเพื่อมๆ หลอนดีแฮะ :b14: )
นี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่คุนน้องไม่เอาจริงเอาจังกับการนั่งสมาธิ ถ้าจะต้องมารับรู้เรื่องที่วิจิตพิศดารคุนน้องไม่พร้อมตอนนี้ ไว้ลูกโตก่อนคุนน้องถึงจะเอาจริงเอาจังกับการนั่งสมาธิ :b31:




สมาธิ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปกังวล หรือคาดเดา ความหลงต่งหาก ที่น่ากลัว หลงสภาวะ หลงให้ค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้น ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุ

สภาวะใดเกิดขึ้น แค่รู้ไป นั่นแหละ ทางสายกลาง ถ้าไปฝืน ต้องถามว่า ฝืนเพื่ออะไร คำตอบที่ตอบกลับมา คือ ตัวตัณหาความทะยานอยาก ที่มีอยู่และเป็นอยู่


สภาวะที่คุณเล่ามานั้น เป็นเรื่องปกติของจิต ถ้ามีเวลา ควรเดินก่อนนั่งทุกครั้ง สมาธิมากเกิน สติไม่ทัน จึงขยับตัวไม่ได้ ถ้าสติสมดุลย์กับสมาธิ จะขยับตัวได้ปกติ อาการที่เกิดขึ้น ยังคงเกิดอยู่ และสามารถรับรู้ได้ปกติค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
nongkong เขียน:
walaiporn เขียน:
เคยบ้างไหมล่ะ เหมือนมีกระแสไฟฟ้า วิ่งผ่านไปทั่วร่างกาย รูขุมขนไหน รู้ชัดหมด นี่ก็เรื่องปกติ ของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่

คุนน้องว่าจะถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดพอดี คุนน้องเคยเจริญวิปัสนาในท่านอนแล้วตกภวังค์ค่ะ คือคุนน้องรู้สึกเหมือนมีประจุไฟฟ้าไหลมากองรวมกันที่หน้าอกแล้วมันสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง คุนน้องก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรแต่ตอนนั้นคุนน้องขยับตัวไม่ได้ทำไรไม่ได้ แต่คุนน้องปล่อยเลยค่ะไม่ได้ฝืน คือมันอย่างสั่นก็สั่นไป หลังจากนั้นก็จำไรไม่ได้จนตื่น แล้วก็มีตอนนั่งสมาธิรับรู้ถึงผัสสะมากระทบรูขุมขนตามแขนและใบหน้า โอ้วแม่เจ้า ขนลุกเลยเจ้าค่ะ(จิตกระเพื่อมๆ หลอนดีแฮะ :b14: )
นี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่คุนน้องไม่เอาจริงเอาจังกับการนั่งสมาธิ ถ้าจะต้องมารับรู้เรื่องที่วิจิตพิศดารคุนน้องไม่พร้อมตอนนี้ ไว้ลูกโตก่อนคุนน้องถึงจะเอาจริงเอาจังกับการนั่งสมาธิ :b31:




สมาธิ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปกังวล หรือคาดเดา ความหลงต่งหาก ที่น่ากลัว หลงสภาวะ หลงให้ค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้น ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุ

สภาวะใดเกิดขึ้น แค่รู้ไป นั่นแหละ ทางสายกลาง ถ้าไปฝืน ต้องถามว่า ฝืนเพื่ออะไร คำตอบที่ตอบกลับมา คือ ตัวตัณหาความทะยานอยาก ที่มีอยู่และเป็นอยู่


สภาวะที่คุณเล่ามานั้น เป็นเรื่องปกติของจิต ถ้ามีเวลา ควรเดินก่อนนั่งทุกครั้ง สมาธิมากเกิน สติไม่ทัน จึงขยับตัวไม่ได้ ถ้าสติสมดุลย์กับสมาธิ จะขยับตัวได้ปกติ อาการที่เกิดขึ้น ยังคงเกิดอยู่ และสามารถรับรู้ได้ปกติค่ะ
กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านทุกรูขุมขน อิๆๆเจอมาสิบกว่าปีแล้วมั้งอาการนี้ 555 สงสัยปิดร้านแล้ว อดกินเจเลยว่าจะหัดกินเจสักหน่อยเขาจะได้ว่าเคร่งดีอิๆๆ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กราบสาธุ สาธุ สาธุ
และกราบผู้รู้ทุกๆ ท่าน

เผอิญอ่านพระสูตรต่างๆ มา ขอนำพระสูตรที่เกี่ยวกับเวทนามาวางให้ทุกท่านศึกษาเพิ่มเติมนะคะ


มีอรรถกถาที่อธิบายถึงการได้รับทุกข์และเพลิดเพลินในทุกข์ไว้ดังนี้
“... ทุกขเวทนามีความเพลิดเพลินยินดี เป็นอย่างไร?
ตอบว่า บุคคลประสบทุกข์แล้วย่อมปรารถนาสุข ซึ่งก็คือปรารถนาทุกข์นั่นเอง เพราะทุกข์มาถึงเพราะสุขแปรปรวนไป ...พึงทราบความเพลิดเพลินยินดีในทุกข์อย่างนี้…”
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=17&i=222


บุคคลผู้สั่งสมทุกข์ห่างไกลนิพพาน
“...สติหลงไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็น
นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติ
หลงไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็น
นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
สั่งสมทุกข์อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลง
ไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิต
ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น
และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์
อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว
เพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรสเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิต
กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่
มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน
อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะ
ถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิต
ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึง
ธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์
เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสา
เข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า
ห่างไกลนิพพาน ฯ




บุคคลผู้ไม่สั่งสมทุกข์อยู่ใกล้นิพพาน
“... บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต
กล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่
กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้
ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ…”

โดยสั้นๆ บุคคลสั่งสมทุกข์อยู่ไกลนิพพาน
“…สติหลงไปเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิต
ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และ
มีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ...”http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=1788&Z=1931&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความทุกข์ก็คือเวทนา เมื่อเราจะกล่าวถึงเวทนาจริงๆ แล้วเราควรพิจารณาให้ครบทั้ง ทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาด้วย ทั้งนี้เพราะในฐานะนักปฎิบัติเราจะปฎิบัติได้ถูกต้องและผ่านเวทนานั้นๆ ไปได้เร็วไม่จมแช่อยู่กับเวทนานั้นๆ นานเกินไปนัก เช่นการเพลิดเพลินทุกข์ การเพลิดเพลินสุข หรือการพอใจเพลิดเพลินกับอทุกขมสุขเวทนา เป็นต้น


เมื่อเราเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเราจะได้มีวิธีคิดที่ถูกต้อง

เพื่อระบบคิดที่เกี่ยวกับเวทนาทั้งหมดที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน เมื่อเสวยเวทนาทั้งหมดไว้ย่อสั้นๆ ดังนี้

“...ไม่ว่าจะเป็นทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ได้เสวยเวทนาใดๆ ก็ทราบชัดว่า เวทนานั้นๆไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้า หากว่า เสวยเวทนาใดๆ ก็ให้ปราศจากความยินดียินร้าย ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0อัสสชิสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา




อีกพระสูตรที่ทรงแสดงให้เห็นถึงเวทนาว่าไม่เทื่ยง เมื่อเราได้รับเวทนาทางใดๆ ก็ตามก็ให้พิจารณาว่าเวทนาที่ได้รับนั้นมันไม่เทื่ยงย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาที่สัมผัส เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ

เวทนาสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=6488&Z=6500&pagebreak=0

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนให้เห็นถึงเวทนาว่าไม่เทื่ยง เมื่อเราได้รับเวทนาทางใดๆ ก็ตามก็ให้พิจารณาว่าเวทนาที่ได้รับนั้นมันไม่เทื่ยงย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาที่สัมผัส เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ

“... ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ฯhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=1920&Z=1949&pagebreak=0







ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
“...จักขุสัมผัสสชาเวทนา ไม่เที่ยง มีอัน
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา ไม่เที่ยง มีอัน
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้
อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
. เวทนาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

“…พึงเห็นด้วยสัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณคือขันธ์๕ เป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
และพึงทำให้เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ...”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
ทุกขเหตุสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=529&Z=538&pagebreak=0 พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับแห่งทุกข์ไว้อย่างชัดเจนใน
ทุกขนิโรธสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=1920&Z=1949&pagebreak=0

ทุกขสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=1738&Z=1755&pagebreak=0


“… รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นทุกข์ ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย...” http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... &pagebreak


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อสำรอกตัณหาออกไปหมด อุปทานดับทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นเพียงของว่างเปล่า รู้จะเป็นเพียงสักแต่ว่ารู้
เห็นจะเป็นเพียงสักแต่ว่าเห็น... เท่านั้น ไม่ต้องมากำหนดอะไรด้วยถ้อยคำใดๆ เลย ว่างก็คือว่าง ไม่มีก็คือไม่มี
ไร้ซึ่งตัณหาก็คือไร้ซึ่งตัณหา ผัสสะในทุกๆ ทางได้ดับไปก็คือดับไปสนิทโดยไม่เหลือเชื้อ มีเพียงสิ่งที่ต้องกระทำ
ตามเหตุปัจจัยหรือตามโอกาสอันควรในแต่ละวันไปก็เท่านั้น

ขอแสดงความคิดเห็น การช่างมัน โดยคำพูดหรือความคิด โดย ไม่สามารถดับตัณหา
คือ ราคะ โทสะ โมหะ ออกไปจากจิตจนหมดสิ้นได้จึงไม่ใช่วิธีการที่จะสามารถดับอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้อย่างที่คิด
การท่องคำว่าช่างมันหรือคิดทุกสิ่งทุกอย่างที่ประสบก็ให้ช่างมันนั้น ยังไม่ใช่การที่จิตจะเข้าสู่วิปัสสนาฌานเพื่อถอดถอน
กิเลสได้
สมมุติวันนี้เราปวดหัวเราก็คิดว่าช่างมัน ช่างมัน นั่นแสดงว่าเราปวดหัวก็ช่างมันปล่อยมันปวดไป
นั่นจะไม่แสดงให้เห็นหรือว่าเรากำลังเพลิดเพลินอยู่ในทุกขเวทนา หรือ สมมุติวันนี้เรามีความสุขมากเราก็ช่างมัน มีความสุขเช่นนี้ก็ช่างมันปล่อยให้มันเป็นสุขไป อย่างนี้หรือคะ ถ้าอย่างนั้นไม่แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเพลิดเพลินอยู่ใน
สุขเวทนาอยู่หรือคะ หรือถ้าวันนี้มีคนมาว่าเราและเราเฉย ก็ช่างมันปล่อยมันเฉยๆ ไป ถ้าอย่างนี้ไม่แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเพลิดเพลินอยู่ในความเฉย หรือไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนานั้นอยู่หรือคะ แล้วโมหะจะได้ดับไป ดับไปอย่างไร
มองไม่ออกจริงๆ ว่าการท่องหรือคิดแต่คำว่าช่างมันจะสามารถ ดับตัณหาหรือ ละอาสวะกิเลสได้ คิดได้แต่เพียงว่า ท่านกำลังเพลิดเพลินเวทนาอยู่ก็เท่านั้น

หรือถ้าจะท่องคำหนึ่งคำใด และปฎิบัติไปอย่างนั้นจริงๆ ก่อน เปลี่ยนมาท่องคำนี้ไม่ดีกว่าหรือคะ
เพราะเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ปรากฏอยู่หลายที่ คือ
“...ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา...”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

“...บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่
อย่างไร อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้
เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การถนัดในการท่องหรือตรึกคิดเฉพาะคำคำเดียวนั้น พระพุทธองค์ก็เคยทรงตรัสสอนท่านพระจุฬปันถกเถระบริกรรมก็ตาม แต่สุดท้ายท่านพระจุฬปันถกก็เจริญวิปัสสนา เมื่อจิตของพระจุฬปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้วพระศาสดาทรงตรัสสอนให้กำจัด ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ภายในจงนำมันออกเสียเป็นต้น

พระจูฬปันถกเจริญภาวนาบรรลุพระอรหัต
ฝ่ายพระจูฬปันถกนั่งแลดูพระอาทิตย์ พลางลูบผ้าท่อนนั้น บริกรรมว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ” เมื่อท่านลูบท่อนผ้านั้นอยู่, ท่อนผ้าได้เศร้าหมองแล้ว. ลำดับนั้น จึงคิดว่า “ท่อนผ้านี้สะอาดแท้ๆ แต่อาศัยอัตภาพนี้จึงละปกติเดิมเสีย กลายเป็นของเศร้าหมองอย่างนี้ไปได้, สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ? (ครั้นแล้ว) เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อม เจริญวิปัสสนา.
พระศาสดาทรงทราบว่า “จิตของพระจูฬปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว” จึงตรัสว่า “จูฬปันถก เธออย่าทำความหมายเฉพาะท่อนผ้านั้นว่า ‘เศร้าหมองแล้ว ติดธุลี’, ก็ธุลีทั้งหลาย มีธุลีคือราคะเป็นต้น มีอยู่ในภายในของเธอ, เธอจงนำ (คือกำจัด) มันออกเสีย” ดังนี้แล้ว ทรงเปล่งพระรัศมี เป็นผู้มีพระรูปปรากฏ ดุจประทับนั่งตรงหน้า ได้ทรงภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า
“ราคะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า (ธุลี) ไม่, คำว่า ธุลี นั่นเป็นชื่อของราคะ,
ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว อยู่ในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.
โทสะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า (ธุลี) ไม่, คำว่า ธุลี นั่นเป็นชื่อของโทสะ,
ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว อยู่ในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.”
โมหะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า (ธุลี) ไม่; คำว่า ธุลี นั่นเป็นชื่อของโมหะ,
ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว อยู่ในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.”
ในกาลจบคาถา พระจูฬปันถกบรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ปิฎก ๓ มาถึงแก่ท่านพร้อมกับปฏิสัมภิทาทีเดียว.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... =330&Z=365






พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนให้ละความพอใจในสิ่งที่เป็นทุกข์คือขันธ์ ๕
การละฉันทะ การละราคะ การละฉันทราคะ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ การละฉันทราคะในขันธ์ ๕ ดังพระสูตรต่างๆ ด้านล่างนี้



ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์
[๓๓๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์
เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย.
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณ
นั้นเสีย
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์
รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้นเสีย
ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่
เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้นเสีย.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

ฉันทราคสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


วิชชาสูตร

“...พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในโลกนี้ รู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัด
ซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสังขาร ฯลฯ
รู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความ
ดับวิญญาณ...”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในชีวิตถ้าเจอกับทุกข์มากๆ การสำรวมอินทรีย์ก็น่าจะเป็นหลักธรรมที่ควรจะนำมาใช้ปฎิบัติเมื่อเจอสภาวะธรรมในขั้นเวทนานี้
เมื่ออายตนะภายนอกกระทบกับอายตนะภายในย่อมเกิดความชอบใจก็เป็นสุขเวทนา เกิดความไม่ชอบใจก็เป็นทุกขเวทนา
เกิดความรู้สึกเฉยๆ ก็เป็นไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา การจะดับเวทนาเหล่านี้จะดับได้
เมื่อดับผัสสะ(คือนิโรธ) แต่ถ้าเรายังปฎิบัติไม่ถึงนิโรธที่จะดับผัสสะได้ ดับเวทนาได้นั้น
เมื่อเกิดเวทนา๓ นี้ การสำรวมอินทรีย์ ไม่ให้มีความยินดียินร้ายในเวทนาที่ได้รับนั้นๆ ทั้งหมดทั้งทุกข์เวทนา
สุขเวทนา หรือเฉยๆ นั้น เป็นสิ่งที่ต้องกระทำ

ลองพิมพ์คำว่า “อินทรีย์สังวร” และอ่านดู และปฎิบัติตามคำสอนเหล่านั้นเท่าที่จะปฎิบัติได้ด้วยตัวของตัวเองดู
จะเป็นการศึกษาและปฎิบัติด้วยตัวของตัวเองอย่างแท้จริง จะทำให้ข้ามผ่านขันธ์ในส่วน รูป และ เวทนา นี้ไปได้
ซึ่งถ้าผ่าน ณ. จุดนี้ไปได้ ก็จะเป็นการก้าวเข้าไปรับรู้ขันธ์ในส่วนของ สัญญา สังขาร และวิญญาณ ต่อๆ ไป
จนกระทั่งรู้ชัดในขันธ์ทั้ง ๕ จึงจะสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ ก็จะถึงซึ่งนิพพานที่มุ่งหวังไว้



พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้

อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

สุจริต๓อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์




กุณฑลิยสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

รวบรวมพระสูตรต่างๆ นี้มาเพื่อมีท่านใดสนใจ ลองอ่านดูหวังเพียงว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ ด้วยความรอบรู้อันน้อยนิดของผู้เขียนถ้าวิเคราะห์สิ่งใดผิดพลาดไปยินดีรับฟังความคิดเห็นทั้งหมดค่ะ
วรรณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. ฉันทปหีนสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละความพอใจในขันธ์ ๕

[๒๙๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ(ฉันทะ) ความกำหนัด(ราคะ) ความเพลิดเพลิน(นันทิ) ความทะยานอยาก(ตัณหา) ความเข้าถึง(อุบาย)และความยึดมั่น(อุปาทาน) อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ประจำและที่อาศัยแห่งจิต ในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้น จักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึงและ
ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ประจำและที่อาศัยแห่งจิต ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ใน
วิญญาณเสีย ฯลฯ ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาด
แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉะนี้แล.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร