วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 01:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
walaiporn เขียน:
เป็นเรื่องของ โยนิโสมนสิการ คนละเรื่องกันกับอรูปพรหม

โยนิโสมนสิการ ผลที่เกิด คือ มรรค มีองค์ ๘



ถ้ามันผ่านจาก..โยนิโส..มาแล้ว...ก็ไม่ว่าอะไร...

ที่เห็น..ก็มีแต่พูดเฉพาะ..ส่วนที่ได้มนสิการ..ใว้แล้ว...ซึ่งคนอื่นจะมาใช้ร่วมตรง ๆ เลยไม่ได้

มันต้องผ่านทางโยนิโส...มาทุกคน...ซึ่งตอนจะเก็บใว้ในใจคือมนสิการ...คำนั้นอาจแตกต่างกันไปบ้าง..

อย่าลืม..ว่า...เหตุเราสร้างมาไม่มีทางเหมือนกัน...อย่างที่วลัยพรว่า...

ดังนั้น...คำที่มันโดนใจ..มันจะเหมือนกันหรือ?

คิดเล่น..ๆ...นะ..อิอิ..



โยนิโสมนสิการ ในความคิดของคุณ คือ แบบนี้ ใช่ไหมคะ?

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82% ... 2%E0%B8%A3


แต่โยนิโสมนสิการ ที่วลัยพรใช้ประจำ คือ ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาค ไม่ใช่จากอรรถกถาจารย์หรือที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ค่ะ คือ ทำตรงตัว ตามสภาวะเป๊ะ


ความในพระสูตรนี้มีว่า ครั้งหนึ่งปริพพาชกผู้หนึ่งชื่อกุณฑลิยะ เข้าไปเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้กล่าวปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เกิดความยินดีพอสมควรแล้ว จึงกราบทูลว่า

ข้าพระองค์นั้นหลังจากบริโภคอาหารแล้ว ก็ออกจากอารามของตนไปสู่อารามอื่น และออกจากอารามอื่นไปสู่อารามอื่นอีก ข้อนี้เป็นเหมือนอาหารว่างของข้าพระองค์

เพราะเหตุที่ข้าพระองค์ออกจากอารามไปสู่อารามอื่น และออกจากอารามอื่นไปสู่อารามอื่นอีกนี้ ข้าพระองค์จึงได้พบ ได้เห็น ได้ยิน สมณะทั้งหลายในอารามนั้น ๆ จับกลุ่มสนทนากัน ปรึกษาหารือกัน

เพื่อเฟ้นหาถ้อยคำสำหรับข่มขี่ถ้อยคำของผู้อื่น เพื่อยกย่องเชิดชูถ้อยคำของตนให้สูงเด่น ข้าพระองค์ได้รู้ ได้เห็นสมณะทั้งหลายในอารามนั้น ๆ อยู่ด้วยวิหารธรรมอย่างนี้


เมื่อกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ส่วนพระองค์อยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “ตถาคตอยู่ด้วยวิชชาและวิมุติ”

กุณฑลิยปริพพาชก จึงทูลถามว่า “อะไรเป็นเหตุแห่งวิชชาและวิมุติ”

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุแห่งวิชชาและวิมุติ”

กุณฑลิยปริพพาชก จึงทูลถามอีกว่า “อะไรเป็นเหตุแห่งโพชฌงค์ ๗ “

พระองค์ตรัสตอบว่า “สติปัฎฐาน ๔ เป็นเหตุแห่งโพชฌงค์ ๗ “

กุณฑลิยปริพพาชก จึงทูลถามอีกว่า “อะไรเป็นเหตุแห่งสติปัฏฐาน ๔ “

พระองค์ตรัสตอบว่า “สุจริต ๓ เป็นเหตุแห่งสติปัฎฐาน ๔ “

กุณฑลิยปริพพาชก จึงทูลถามอีกว่า “ อะไรเป็นเหตุแห่งสุจริต ๓”

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “อินทรียสังวรเป็นเหตุแห่งสุจริต ๓”


เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว พระองค์ทรงแสดง อินทรียสังวร ว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้” เมื่อ :

เห็นรูปด้วยอาศัยตา ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
ได้ยินเสียงด้วยอาศัยหู ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
รู้กลิ่นด้วยอาศัยจมูก ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
รู้รสด้วยอาศัยลิ้น ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
รู้สิ่งถูกต้องกาย มีเย็นร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้น ด้วยอาศัยกาย ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่

ครั้นกุณฑลิยปริพพาชกได้ฟังอย่างนี้แล้ว จึงแสดงอาการชื่นชมยินดีแล้วก็ลาจากไป



โยนิโสมนสิการ


คำ "โยนิโสมนสิการ" นั้นประกอบด้วยคำสองคำ คือ

โยนิ แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง
มนสิการ หมายถึง การทำ(อารมณ์)ในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา


โยนิโสมนสิการ มาจาก ยถา + ตถา + มน + กร

ยถา ศัพท์ แปลว่า ใด
ตถา ศัพท์ แปลว่า นั้น
มน ศัพท์ แปลว่า ใจ
กร ธาตุ แปลว่า ทำ


มน แปลว่า ใจ

มนสิ แปลว่า นึก

การะ แปลว่า กระทำ



มนสิการ/รู้สึกอย่างไร กระทำไว้ในใจ ยอมรับไปตามนั้น



ดูตามความเป็นจริง ดูสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (ผัสสะ)

รู้ตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต (กิเลส)


สภาวะโดยรวมของโยนิโสมนสการ ได้แก่ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดีหรือยินร้าย (ชอบ/ชัง)หรือเฉยๆ ก็ตาม ให้รู้ไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุ(กายกรรม วจีกรรม) ออกไป ตามความรู้สึกยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น

ในเมื่อยังมีกิเลส อนุสัยกิเลสยังไม่ถูกทำลายไปหมดสิ้น ความคิดย่อมเกิด ความรู้สึกยินดี ยินร้ายย่อมเกิดขึ้นได้ ห้ามความคิดหรือความรู้สึกไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่สามารถอาศัยการโยนิโสมนสิการเป็นหลัก ในแนวทางการปฏิบัติ


แนวทางการปฏิบัติ

ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามความเป็นจริง แต่ไม่กระทำสิ่งใดลงไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น


สรุปโดยย่อ

โยนิโสมนสิการ

ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามความเป็นจริง แต่ไม่กระทำสิ่งใดลงไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น


สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับลงไปเป็นธรรมดา

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย คือ เหตุที่ยังมีอยู่
เมื่อโยนิโสมนสิการบ่อยๆ การสำรวม สังวรระวังอายตนะย่อมเกิดมากขึ้น เป็นเหตุให้สภาวะของศิลปรมัตถ์ปรากฏ สมาธิย่อมเกิดตามเหตุ ปัญญาที่เกิดจากภาวนามยปัญญาย่อมเกิด


สภาวะโยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องของจิต ได้แก่ การกำหนดรู้ลงที่จิต เป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น เรียกว่า จิตเป็นประธานในการสร้างสมาธิให้เกิด ได้แก่ จิตสมาธิ




"รูปํ ภิกฺขเว โยนิโส มนสิกโรถ รูปานิจฺจญฺจ ยถาภูตํ สมนุปสฺสถ"

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ ตั้งสติกำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว รูปนั้นนั้น อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนอย่างแน่นอน



โยนิโสมนสิการ

ดูตามความเป็นจริง ดูสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (ผัสสะ)

รู้ตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต (กิเลส)


สัมมาสติ

ย่อมเห็นสภาวะของสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (รู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม)


ไตรลักษณ์

อนิจจัง ไม่เที่ยง เพราะ สิ่งที่เกิดขึ้นแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่

ทุกข์ เพราะ อุปทาน

อนัตตา เพราะ ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของสิ่งใด ปราศจากเรา เขา ตัวตน คน สัตว์ เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ

เห็นอนิจจัง ย่อมเห็นทุกขัง ย่อมเห็นอนัตตา

เห็นทุกขัง ย่อมเห็นอนิจจัง ย่อมเห็นอนัตตา

เห็นอนัตตา ย่อมเห็นอนิจจัง

คือ เห็นสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ย่อมเห็นสภาวะทั้งหมด


สัมมาทิฏฐิ

สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา


ศิล

ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น


นิพพาน

นิพพาน คือ ความดับภพ ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน



ชีวิตประจำวัน

เหตุเกิด มรรค มีองค์ ๘

ลักษณะ/สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การดูสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดความรู้สึกนึกคิดยังไง รู้ไปตามนั้น ยอมรับไปตามนั้น แต่ไม่สร้างเหตุ(การกระทำ) ออกมาตามแรงผลักดันของกิเลส(ความรู้สึกต่างๆ) ที่เกิดขึ้น

กล่าวโดยย่อ คือ เมื่อผัสสะเกิด(ภายนอก) ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น(เหตุ ) รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามความเป็นจริง แต่ไม่กระทำสิ่งใดลงไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

คือ แค่รู้ ยอมรับ ไม่สร้างเหตุ นี่แหละ มรรค มีองค์ ๘ เกิดพร้อมกัน ในชั่วขณะจิต


สัมมาสมาธิ

เหตุเกิด มรรค มีองค์ ๘

ขณะจิตเป็นสมาธิ จิตคิดพิจรณาใดๆหรือมีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ ใช้หลักโยนิโสมนสิการ คือ แค่รู้ไปตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น นี่แหละ มรรค มีองค์ ๘ เกิดพร้อมกัน ในชั่วขณะจิต


อิมินา โข เอตํ อานนฺท ปริยาเยน เวทิตพฺพํ ยถา อิมสฺเสเวตํ อริยสฺส
อฏฺฐงฺคิกสฺส มคฺคสฺส อธิวจนํ พฺรหฺมยานํ อิติปิ ธมฺมยานํ อิติปิ อนุตฺตโร
สงฺคามวิชโย อิติปีติ ฯ อิทมโวจ ภควา อิทํ วตฺวาน สุคโต อถาปรํ เอตทโวจ สตฺถา
[๒๔]
ยสฺส สทฺธา จ ปญฺญา จ ธมฺมา ยุคฺคา 1 สทฺธา ธุรํ
หิริ อีสา มโน โยตฺตํ สติ อารกฺขสารถิ ฯ
รโถ สีลปริกฺขาโร ฌานกฺโข จกฺกวีริโย
อุเปกฺขา ธุรสมาธิ อนิจฺฉา ปริวารณํ ฯ
อพฺยาปาโท อวิหึสา วิเวโก ยสฺส อาวุธํ
ตีติกฺขา ธมฺมสนฺนาโห 2 โยคกฺเขมาย วตฺตติ ฯ
เอตทตฺตนิ 3 สมฺภูตํ พฺรหฺมยานํ อนุตฺตรํ
นิยฺยนฺติ ธีรา โลกมฺหา อญฺญทตฺถุ ชยํ ชยนฺติ ฯ

[๒๓]
ดูกรอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้างนั้น
พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๒๔]
อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธากับปัญญาเป็นแอก มีศรัทธาเป็นทูบ
มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุม
รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
มีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้เป็นประทุน
กุทบุตร 1 ใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ
มีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ
พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
ย่อมออกไปจากโลก โดยความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.
จบ สูตรที่ ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์


โยนิโสมนสิการ

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค(มรรคมีองค์ ๘) แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มากซึ่งอริยอัษฏางคิกมรรค”

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทอง เป็นบุพนิมิตมาก่อน ฉันใด โยนิโสมนสิการก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗

เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีความเจริญเต็มบริบูรณ์

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ (องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้) ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้นหรือให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย

"เมื่อโยนิโสมนสิการ นิวรณ์ ๕ ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ โพชฌงค์ ๗ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์”

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตาม ที่เป็นกุศลอยู่ ในภาคกุศล อยู่ในฝ่ายกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีโยนิโสมนสิการเป็นมูลรากประชุมลงในโยนิโสมนสิการ, โยนิโสมนสิการ เรียกว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้วกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น
และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป”


“เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือให้สัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น สัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น”


เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนโยนิโสมนสิการเลย โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย


สำหรับภิกษุผู้เสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอย่างอื่น แม้สักอย่าง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ภิกษุผู้ใช้โยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น

เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย


เมื่อโยนิโสมนสิการอสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ราคะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ เมื่อโยนิโสมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ โทสะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น โทสะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ เมื่อโยนิโสมนสิการ (โดยทั่วไป) โมหะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้


ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม ๙ อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล

กล่าวคือ เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด

เมื่อมีใจปีติ กายย่อมผ่อนคลายสงบ (ปัสสัทธิ) เมื่อกายผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข

ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง เมื่อนิพพิทา ก็วิราคะ เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 12:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 12:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมือผัสสะ...รู้...และยอมรับ..มันตามความเป็นจริง...

แล้ว..ทำไมเราต้องยอมรับ...มันละ...??

เพราะอะไร...เราถึง..action กับมันไม่ได้..???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เมือผัสสะ...รู้...และยอมรับ..มันตามความเป็นจริง...

แล้ว..ทำไมเราต้องยอมรับ...มันละ...??

เพราะอะไร...เราถึง..action กับมันไม่ได้..???



ถ้าตอบว่า เป็นเรื่องของเหตุที่กระทำ และผลที่ได้รับ ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ คุณอาจจะมีคำถามต่อมาอีก

ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทำมาร่วมกันน่ะคุณกบ บางคนพูดครั้งเดียว ทำเอง รู้เอง บางคนพูดหลายครั้ง ถามแล้วถามอีก ก็ยังสงสัยตลอด บางคนฟังแล้ว รู้สึกเฉยๆ

แม้กระทั่งพระพุทธเจ้า ยังไม่สามารถพูดให้คนทุกๆคน สามารถรู้และยอมเชื่อได้หมด ขนาดโยคี ฟังแล้ว ยังเดินส่ายหน้าหนีไป

ลองอ่านดู

ชีวิตนี้ ชั่งน่าเบื่อจริงหนอ มีแต่เหตุของการเกิด จริงหนอ

ตามใจตัวเองมาก ก็เกิดมาก หักห้ามใจ รักษาใจของตนเอง รู้ใจตนเอง รู้เท่า รู้ทัน รู้จักกัน รู้จักแก้ มากเท่าใด เหตุใหม่ทั้งหลาย ก็ยิ่งลดน้อยลงไป

แค่วิบากเก่า ทั้งกาย วาจา ใจ ก็มากมายอยู่แล้ว ยังจะหาทุกข์มาให้ตนเองอีกหรือต้น รักตัวเองดีที่สุดแล้ว วางซะก็สบาย มันเย็นมันโล่ง แต่มันเย็นข้างในบอกไม่ถูกจริงๆพี่น้ำ

รู้ซึ้งแล้ว ว่าการแนะนำ และหลงตัวตนเองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแบบทดสอบแห่งทุกข์มาให้ทดสอบมากเท่านั้น บางบทหนักจนจะทนไม่ไหว น้ำตาตกใน

ถ้าเรา กำลังยังไม่พอที่จะรับมือ อย่าเลยดีกว่า อย่าหาเหตุให้ตนเองจะดีกว่านะต้น พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย ไม่พูดไม่เสียจริงๆ สิ่งทั้งหลายล้วนหมุนไปตามกระแส แห่งการกระทำ ของตนเอง ใช่สิ่งอิ่นใดเขามาทำร้ายเรา นอกจากเราทำร้ายตัวเราเอง

ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนต้องรู้จัก ประสบ พบเจอด้วยตนเอง รู้เอง เข้าใจเอง ทุกข์เอง เข็ดเอง จำเอง เปลี่ยนปัญหาเป็นปัญญา ลด ละ เลิก ละเหตุแห่งทุกข์ซะ หยุดซะ แล้วก็ หยุดที่อจะอยากอีกต่อไป คงจะดีหนอ

ถ้าไม่หยุดก็ วกวน ยิ่งดิ้นยิ่งแน่นไม่รู้จักจะจบจะสิ้น เจ็บแล้วต้องจำ ปัจจัตตัง ความดีที่แท้ก็คือละความชั่ว แต่กว่าจะหยุดนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว โดนแล้วโดนอีก โง่แล้วโง่อีก เศร้าแล้วเศร้าอีก สุดๆไปเลย

เรียนเพื่อรู้ เรียนเพื่อละ จากสิ่งสมมุติทั้งหลาย ที่มันหลอกล่อเรา ให้ทุกข์อยู่ในแดนเกิดๆ ตายๆ ความคิดเป็นตัวนำ การกระทำเป็นตัวตาม จะตามเรือไม่ตาม ไม่ใช่ใคร ก็คือใจของเรา ที่มีเบรก คือสติ และสัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่คุ้มรองรักษาเราให้อยู่รอดปลอดภัยจากกิเลสทั้งหลาย โลกนี้โครต มันน่าเบื่อจริงหนอ


***ถ้าเธอเข้าใจเรื่องเหตุและผล เธอจะไม่สนใจในสิ่งนอกตัวเลย ตราบใดที่ยังสร้างเหตุนอกตัว ล้วนเป็นบ่อเกิด ของเหตุการเกิดขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น***

–ขอบคุณพี่น้ำ ครับ เพราะไม่รู้จะไปแก้ตรงไหนแล้ว คงแก้ได้ที่ใจเราเองให้แข็งแกร่ง และยอมรับตามความเป็นจริง มองอะไร ก็แค่นั้น แค่ความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลาย ทีไร้แก่นสารในความว่างเปล่า ที่จะไร้จับเงาในความสุขและทุกข์ที่วกวนอยู่ตลอดเวลา บางทีรู้สึกเหมือนจะใช่แต่ก็ไม่ใช่ จะดีก็เหมือนจะไม่ดีขึ้น มีแต่วกวนอยู่กับสาเหตุเดิมๆ แต่ที่ผม มั่นใจลึกๆก็ไม่รู้ว่าทำไม ว่าถึงได้เชื่อและศรัทธาในตัวพี่น้ำ ว่าอะไรเป็นเหตุ และผล มันวนกันอยู่อย่างนี้ สัญญามากมายนั้น จะมีประโยชน์อะไรถ้า ไม่เป็นไปเพื่อ รู้เท่าทันในเหตุทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความสงบ ระงับและดับเหตุ ทั้งหลาย ก็เหมือนดาบสองคม ความจำจะเป็นความจริงที่มันแจ้งแก่ใจตนเองขึ้นได้นั้น คงต้องอาศัย ประสบการณ์ในเหตุนั้นๆด้วยตนเอง ในความรู้ความเข้าใจในอารมณ์นั้นๆ คงจะไม่มีใครที่จะรู้และเข้าใจ ความรู้สึกเราเท่าตัวเราเอง ว่าเรารู้สึกอย่างไหร่ ที่ หลวงพ่อชาท่านว่า คนจะทำบุญให้ถูกบุญนั้นก็ยาก คนจะละบาปถ้าไม่รู้จักก็ละไม่ได้ บุญ จึง ประกอบด้วย ความเชื่อ แต่ กุศล นั้น ต้องประกอบไปด้วยความรู้และเข้าใจ ในการกระทำนั้นๆ





Copy จาก blog ครับพี่น้ำ สิ่งทั้งหลายล้วนมีคุณค่า ในการที่ได้เรียนรู้

สิ่งต่างๆภายนอกมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เราจะไปห้ามไม่ให้มันเกิดไม่ได้ แต่เราต้องห้ามใจตัวเราเอง ด้วยการเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ได้ แล้วแต่จะบัญญัติคำ ฝึกเพื่อให้มีสติ สัมปชัญญะรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต

ถ้าไม่แจ้งในเรื่องเหตุ คงหลงสร้างเหตุไปตามการคาดเดา เป็นเหตุให้เกิดเหตุที่เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้างตามการให้ค่าเนืองๆ อยู่กับสภาวะจริงๆได้ยาก หลงไปตามกระแสของวิบากจากเหตุที่ทำลงไปตามความคิดที่คิดว่าถูก คิดว่าผิด นี่แหละความหลง

สิ่งที่เกิดขึ้น

ไม่ว่าสิ่งดีหรือไม่ดีที่เกิดขึ้นในชีวิต จงรู้ไว้เถอะว่า นั่นคือผลพลอยได้จากการกระทำที่ตัวเราเองนี่แหละที่สร้างมันขึ้นมาด้วยมือของเราเอง ที่หลงสร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้ เอาความถูก,ผิดในความคิดที่มีอยู่เป็นตัวให้เกิดการกระทำ

ยิ่งโทษนอกตัวมากเท่าไหร่ ยิ่งมีแต่เหตุไม่รู้จบ เพราะยังไม่มีสติเป็นที่พึ่ง ชีวิตจึงเวียนว่ายไม่รู้จบ ระลึกไม่ได้เลย ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีแต่กระทำตามกิเลสที่เกิดขึ้น

เหตุที่ทำแล้วทุกข์ ทุกข์เพราะความไม่รู้ หากปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงทิ้งไว้ให้ สภาวะจะเป็นไปตามสะดวกสบาย ตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน อย่างน้อยไม่ต้องมาทุกข์มากมายจากความไม่รู้ แล้วหลงสร้างเหตุใหม่ด้วยความไม่รู้

ทุกข์เพราะรู้บัญญัติ ยึดติดในบัญญัติต้องเป็นนั่น เป็นนี่ถึงจะพ้นทุกข์ หลุมพรางของกิเลสทั้งนั้น แต่ไม่รู้ เป็นเหตุให้ทำไปทุกข์ไป วางบัญญัติลงไปได้ สบาย

เพียงทำความเพียรต่อเนื่อง รู้ชัดอยู่ใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ไม่ต้องไปคิดพิจรณาอะไร ปกติความคิดเกิดขึ้นเองอยู่แล้ว และแค่รู้ แค่ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในเท่านั้นเอง

กรรมก็เป็นธรรมะ

สภาวะก็เป็นธรรมะ

ธรรมะก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นเอง มีอยู่แล้ว เพียงแต่จะมองเห็นตามความเป็นจริงได้หรือยัง

ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า ธรรมะ,กรรมหรือสภาวะก็ตาม ทุกสิ่งล้วนเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เกิดจากผลของกรรมหรือการกระทำที่ได้ทำลงไปตามเหตุ คือ กิเลสที่มีอยู่ในจิตนี่เอง กิเลสที่เกิดขึ้นยามมีผัสสะเกิดขึ้นหรือไม่มีก็ตาม

เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นจะเป็นครูสอนตลอดเวลา มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีความผิดพลาดก่อนที่จะรู้เท่าทัน เพราะทุกๆเรื่องราวล้วนเป็นเรื่องเดิมๆซ้ำๆ หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย เพียงแต่ เราจะดูออกหรือรู้หรือยังเท่านั้นเอง

เรื่องเดิมๆซ้ำๆ เปลี่ยนแค่ฉาก ตัวบุคคล หมุนเวียนมาเล่นละครเป็นแค่ภาพมายาซ้อนๆๆๆๆๆๆลงไป ลึกลงไป ยิ่งลึกมากเท่าไหร่ ยิ่งมีแต่ภาพที่หลอกลวงยากจะดูออก

เราจะเดินย่ำสภาวะเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา แต่มองไม่ออกเลย บางครั้งมีสัญญาเก่าผุดขึ้นมา เรื่องนี้เคยทำแล้ว เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทั้งๆที่เพิ่งเกิดขึ้นแท้ๆ แต่ทำไมมีความรู้สึก

บางครั้งมีภาพผุดขึ้นมาในจิต ทำแบบนี้ พูดแบบนี้ กับคนๆนี้ เคยทำมาแล้ว เพียงแต่ฉากที่เป็นองค์ประกอบเปลี่ยนไป แต่ตัวบุคคลไม่เปลี่ยน คำพูดไม่เปลี่ยน

นี่แหละภพชาติ เราหลงเวียนวน เหมือนเดินวนอยู่ในเขาวงกต หาทางออกแต่ยังหาไม่เจอ เจอประตูคิดว่าเป็นทางออก กลับกลายเป็นทางเดิม แต่เปลี่ยนองค์ประกอบหรือฉากเท่านั้นเอง

เหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ได้เจอ เป็นการตอกย้ำว่า จงแค่ดู แค่รู้ไป ไม่ต้องไปมีความปรารถนาดีกับใครๆ เพราะนั่นคือเหตุที่เขาสร้างขึ้นมาเอง ต่างคนต่างต้องรับผลไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่

นับว่ายุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นยุคไอที มีเทคโนโลยี่หลายแบบที่เป็นอุปกรณ์ช่วยในการดูจิต เพื่อขัดเกลากิเลสของตัวเอง เพียงแต่จะใช้ไปในทางที่ดับที่เหตุหรือสร้างเหตุของการเกิดเท่านั้นเอง

การเผชิญหน้ากับการกระทำในโลกปัจจุบันโดยตรงกับโลกไอทีแตกต่างกัน ทางไอทียังมีโอกาสถอยออกมาจากสิ่งที่กำลังกระทบอยู่ได้ เรียกว่าสามารถตั้งสติได้ทัน ยังมีโอกาสยับยั้งเหตุของการสร้างเหตุของการเกิดได้ทันบ้าง

ส่วนทางโลกปัจจุบัน เมื่อมีการกระทบโดยตรง หากสติไม่ทัน มีการตอบโต้ไป เสร็จทันที เสียทีกิเลส หลงสร้างเหตุของการเกิดได้ทันตาเห็น ทุกๆสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นบทเรียน

บ่วงของพญามารมีหลายรูปแบบ ซึ่งแรกๆจะรู้ได้ยาก ต้องมีการทำผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกว่าจะเข็ดและหลาบจำ จนกระทั่งกลายเป็นความเบื่อหน่าย เกิดสภาวะปล่อยวางโดยตัวของจิตเอง โดยที่เรานั้นไม่ต้องไปพยายามปล่อยวาง

ยิ่งวางลงไปได้มากเท่าไหร่ สติรู้เท่าทันต่อกิเลสที่เกิดขึ้นในใจมากขึ้น หยุดตัวเองในการสร้างเหตุของการเกิดได้ทันมากขึ้น

นี่เห็นไหม ต้องโง่มาก่อนนะ ไม่ใช่โง่กับใครหรืออะไรเลย โง่กับกิเลสของตัวเรานี่แหละ โง่ให้กับความที่ยังมีตัวเรา,ของเราอยู่ ต้องโง่ก่อนที่จะรู้

โง่อย่างไร ความผิดพลาดไง หลงสร้างเหตุไปด้วยความที่สติยังไม่ทัน รู้แล้วแต่ไม่ทันกิเลส

ความมีอัตตาตัวตน ตัวกู ของกูมันชอบแสดง มันยังยอมไม่ได้เวลาที่สติไม่ทัน แต่ยอมได้หมดจิตหมดใจ ยามสติทัน ต่อให้ต้องตายก็ยอม ไม่คิดต่อกรใดๆกับกิเลสเลย เพราะรู้แล้วว่า มันมีแต่เหตุแล้วก็เหตุ เมื่อยังมีเหตุ ย่อมมีผลอย่างแน่นอน

นิพพาน คือ ความดับ

ไม่มีเหตุ ไม่มีผล คือ ดับเหตุทั้งปวง ต้นเหตุของการสร้างเหตุทั้งปวง คือ กิเลส

การกระทำให้ถึงพระนิพพานคือ ดับกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ซึ่งมีตั้งแต่หยาบๆ จนกระทั่งละเอียด ที่เกิดจากผัสสะจนกระทั่งเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีผัสสะเป็นเหตุปัจจัย

ตราบใดที่ยังมีการสร้างเหตุของการเกิด ยังไม่ใช่ผู้ที่เห็นนิพพาน เห็นแล้วจะมุ่งดับเหตุทั้งปวงที่ตัวเอง ส่วนจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน แล้วแต่เหตุที่ทำมา และเหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย

จิตมุ่งพระนิพพาน มุ่งสร้างเหตุของการดับเหตุทั้งปวงอย่างเดียว คือ กิเลสที่มีอยู่ในจิต

สติ สัมปชัญญะและสมาธิ เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะพาทุกคนไปถึงแก่นแท้ของพระนิพพานได้

เพราะความไม่รู้ตัวเดียวแท้ๆ เราจึงมองเรื่องพระนิพพานเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆที่อยู่ใกล้ตัว ติดตัวเราตลอดเวลา กิเลสบดบังดวงตาให้มืดบอด จิตย่อมไม่กระจ่างแจ้ง

เมื่อยังไม่เห็นตามความเป็นจริง นิพพานเลยกลายเป็นเรื่องที่นึกภาพไม่ออก คิดเท่าไหร่ๆก็ไม่ออก ต้องลงมือเจริญสติ จึงจะรู้ได้แบบหยาบๆก่อน จนกระทั่งละเอียด จึงจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

ผู้ที่ตกอยู่ในความประมาท ประมาทในกิเลส หลงกับดักกิเลสแต่ไม่รู้ว่าหลง

การเกิดแต่ละครั้ง ต้องโง่มาก่อนที่จะรู้ เรียกว่าโง่มาตั้งแต่เกิดเลยก็ว่าได้ แล้วคิดเหรอว่า จะสามารถระลึกได้ทั้งหมดในสิ่งที่ทำๆมา ขนาดเอาแค่ปัจจุบันชาติ จำได้หมดไมว่าทำอะไรไว้บ้าง

แม้กระทั่งเรื่องในอดีตชาติ จำได้ไหมว่าทำอะไรไว้บ้าง ปฏิบัติไว้แค่ไหน จนมาถึงปัจจุบันสภาวะถึงได้เป็นแบบนี้ คาดเดาไม่ได้เลย ถึงบอกไงนั่นคือ โง่ แค่คิดอยากจะเกิดอีกน่ะโง่มากๆ เอาชีวิตไปเสี่ยงกับกิเลสที่มองไม่เห็น

ต้องรู้ด้วยจิต แล้วต้องฝึก ต้องทำอีกนานเท่าไหร่ถึงจะเข้าใจและลึกซึ้งในกิเลสที่มีอยู่ในจิต

เราน่ะผ่านมาหมดแล้ว เคยหลงกิเลสแต่ไม่รู้ว่าหลง ทั้งๆที่ไม่ได้ยึดติดกับสิ่งที่รู้ ที่เห็น ยังโดนกิเลสเล่นงานเอา เลยหลงสร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้

ถึงบอกไงว่า คนที่เที่ยวมาพูดว่า ตัวเองปฏิบัติแล้วได้อะไร เป็นอะไร เรียกว่าอะไรน่ะ นั่นยังโง่อยู่นะ โง่กับกิเลสของตัวเองแต่มองไม่เห็น โง่กับกิเลสส่วนลึก ความอยากมี อยากได้ อยากเป็นที่แฝงอยู่ แต่เพราะกิเลสบดบังจนมืดมิด เลยมองไม่เห็น

หลงคิดว่า สบายแล้ว พ้นแล้ว อยากบอก อยากสอนคนอื่นๆ ที่ไหนได้ ยิ่งบอกว่าได้อะไร เป็นอะไร แล้วพยายามยัดเยียด พยามสอนคนอื่นๆ นั่นแหละคือตัวสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นด้วยความโง่ของกิเลส

ผลย่อมมีอย่างแน่นอน แล้วจะมาพูดว่ามุ่งพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างไร

มีแต่การสร้างเหตุตามใจกิเลส ความอยากมี อยากได้ อยากเป็นตามบัญญัติที่คิดว่าใช่ ถ้ามุ่งสร้างเหตุให้ถึงพระนิพพาน ต้องมุ่งดับเหตุ ไม่ใช่สร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นเนืองๆ การกล่าวโทษนอกตัวนี่ ไม่มีอีกแล้ว

เพราะเคยโง่มาก่อน จึงเข้าใจในสภาวะเหล่านี้ดี ยิ่งสภาวะเปลี่ยนไปมากเท่าไหร่ กิเลสยิ่งเนียนมากขึ้นเท่านั้น ขนาดทำผิดศิล ยังคิดเข้าข้างตัวเองเล๊ยว่า ให้ดูที่เจตนา

ศิล

เรื่องของศิล คำว่า ” ให้ดูที่เจตนา ” หมายถึง ผลที่ได้รับ เจตนาตั้งใจทำมากเท่าไหร่ ผลย่อมได้รับตามที่เจตนา ไม่ใช่ยึดว่า ทำผิดศิลหรือไม่ ให้ดูที่เจตนา

คำว่า ” ให้ดูที่เจตนา ” เป็นอุบายในการสอน เพื่อให้ระมัดระวังในการกระทำ การระมัดระวัง เป็นการสร้างสติ ให้เกิดขึ้นก่อนที่จะลงมือทำ จนกว่าตัวสัมปชัญญะจะเกิดน่ะแหละ ศิลจะสะอาดมากขึ้นเรื่อยๆโดยไม่ต้องระวัง

ข้ออ้างของคนที่โกหกแม้กระทั่งตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าโกหก

ชอบกินเหล้า ก็อ้างว่า กินเหล้าไม่ผิดศิล เพราะมีสติรู้ว่าควรกินแค่ไหน เอาอะไรมาวัดล่ะ สติชั่งกิโลได้เหรอ วัดได้เหรอ โกหกตัวเองยังไม่รู้ว่าโกหก

วุ่นวายกับเมียชาวบ้าน อ้างว่าไม่ผิดศิล เพราะไม่ได้มีอะไรกัน แค่มีความสุขเล็กๆน้อยๆยามที่ได้พูดคุยกัน

ฯลฯ

มีแต่กิเลสตามใจตัวเองทั้งนั้น ศิลไม่ต้องนำมาอ้างกันหรอก นี่ขนาดแค่ศิลแบบหยาบๆ ยังมีการเลี่ยงคำภีร์ตลอด แล้วถ้าศิลขั้นละเอียดจะขนาดไหน

ใครๆที่ชอบประกาศตน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ที่มาบอกว่าได้อะไร เป็นอะไร นั่นน่ะหลักฐานยืนยันว่าตกหลุมพรางกิเลสแต่ยังไม่รู้ แค่นี้ก็รู้แล้วว่า แค่กิเลสของตัวเองยังไม่รู้

นับประสาอะไรกับคำบัญญัติที่นำมาเรียกๆตามความอยากที่มีอยู่ จะไปรู้ได้อย่างไรว่า สภาวะที่แท้จริงของคำเรียกเหล่านั้น เป็นอย่างไร

เราปฏิบัติเพื่อดับเหตุทั้งปวงที่เกิดจากตัวเราเอง ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อได้อะไรเป็นอะไร ตราบใดที่คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร ล้วนเป็นเหตุของการสร้างเหตุให้เกิดขึ้นของการเกิดทั้งสิ้น

เพราะมีแต่การยึดติด มีแต่การให้ค่าจากการคิดว่าได้อะไร เป็นอะไร จึงมองว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นๆ มานะตัวนี้ร้าย มีแต่อคติว่าต้องแบบนั้นดี แบบนี้ดี แบบนั้นไม่ดี แบบนี้ไม่ดี คนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ย่อมมีอย่างแน่นอน

เพราะไม่สามารถอธิบายข้อโต้แย้งได้ว่า ทำไมจึงบอกว่าดี บอกว่าใช่ บอกว่าไม่ดี บอกว่าไม่ใช่ มันจึงเป็นการสร้างเหตุวิวาทะเกิดขึ้น เพราะรู้ต่างกัน เข้าใจต่างกัน เหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

ส่วนการไปบอกว่า ใครใช่หรือไม่ใช่ เป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไรนั้น ล้วนเป็นการสร้างเหตุทั้งนั้น มีแต่กิเลส เมื่อมองไม่เห็น จึงมีการกล่าวว่าใช่หรือไม่ใช่

ใครจะใช่หรือไม่ใช่ เป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไร นั่นเป็นเหตุของคนอื่นๆเขา ไม่ใช่หน้าที่ที่จะไปบอกว่าใครใช่หรือไม่ใช่ เหตุใหม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่รู้ว่ากำลังทำให้เกิดขึ้น ผลที่ได้รับย่อมมีอย่างแน่นอน

กิเลสเนียนมากๆ สภาวะยิ่งละเอียดมากเท่าไหร่ กิเลสยิ่งละเอียดมากขึ้นเท่านั้น ดูทัน เหตุย่อมจบได้ไว ดูไม่ทัน จมกับกองกิเลสต่อไป

หากยอมรับได้จริง ย่อมยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือคิดจะแก้ตัวหรือไปแก้ไขอะไรเลย มีหน้าที่เพียงเจริญสติ ทำให้ต่อเนื่อง แล้วแผ่เมตตาให้กับทุกรูปทุกนามเท่านั้นเอง

ผลของการเจริญสติ จะทำให้รู้ชัดทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นในจิตของตัวเอง นั่นคือ กิเลส ไม่ใช่ไปรู้อะไรเลย รู้นอกตัว ล้วนเป็นการปรุงแต่งทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากการคาดเดา จากการอ่าน ฟัง หาใช่รู้แจ้งจากจิตไม่

หากรู้แจ้งจากจิต จะเห็นแต่กิเลสแล้วก็กิเลส เป็นเหตุให้ มีสติรู้เท่าทันต่อกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตของตัวเอง ไม่ใช่ไปรู้เรื่องของคนอิ่นๆ หรือไปรู้ในบัญญัติต่างๆ

บัญญัติต่างๆล้วนเป็นหลุมพรางของกิเลสชั้นดี สำหรับคนที่ทำเพื่อความอยากมี อยากได้ อยากเป็น อยากสอน เรียกว่า ตัณหาความทะยานอยากต่างๆนั่นเอง เพียงแต่จะดูออกไหม รู้เท่าทันไหมเท่านั้นเอง

แม้แต่กระทั่งเรื่องราวของสังโยชน์ต่างๆก็ตาม ล้วนเป็นหลุมพรางของกิเลสทั้งสิ้น หากยังหลงสร้างเหตุอยู่ นั่นคือ สังโยชน์นั้นๆที่บอกว่าละได้ ล้วนเกิดจากความอยากทั้งสิ้น หาใช่ตามความเป็นจริงไม่

หากละได้จริง ละสังโยชน์ ก็คือ กิเลส หากละได้จริง จะไม่กล่าวโทษใดๆนอกตัวเลย ไม่ว่าจะเรื่อง ผีสาง เทวดา หรือกล่าวโทษสิ่งต่างๆนอกตัว ไม่มีเลย ไม่มีกล่าวโทษ แม้แต่วิธีการ รูปแบบใดๆก็ไม่กล่าวโทษ

ที่ยังกล่าวโทษอยู่ว่าเพราะเกิดจากสิ่งนั้น สิ่งนี้ ล้วนเกิดจากกิเลสที่มีอุปทานแล้วให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามความคิดของตัวเอง ถ้ายังมีการกล่าวโทษอยู่ นั่นคือ ยังมีวิจิกิจฉาอยู่เต็มๆ ยังละวิจิกิจฉายังไม่ได้

ที่เป็นเช่นนี้ เกิดเนื่องจาก ยังมองไม่เห็นตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นจริงๆในจิตของตัวเอง คือ ความอยาก ความอยากที่เป็นกุศล อยากเป็นในสิ่งที่เรียกว่า กุศล มีสภาวะที่ละเอียดยิ่งนัก ต้องมีสติ สัมปชัญญะในระดับหนึ่ง จึงจะรู้เท่าทันได้

เดิมๆซ้ำๆ



by walailoo in การถ่ายถอนอุปทาน, การเจริญสติ, การเห็นตามความเป็นจริง, ขอบคุณความผิดพลาด

หลวงพ่อจรัญเทศน์เสมอๆว่า ต้องโง่มาก่อน ถึงจะรู้ อันนี้เป็นเรื่องจริงเลยนะ คำว่า โง่ นี่ ไม่ใช่ไปโง่อะไรกับใครที่ไหนเลย ต้องทำแล้วถึงจะรู้ จะเข้าใจสภาวะ

เมื่อก่อนคิดว่าโง่กับคน หรือโง่แบบทางโลกๆ เรียนรู้สภาวะมากๆ ทำให้รู้ว่า คำว่า โง่ ที่ท่านพูดมาน่ะ หมายถึงว่า โง่กับกิเลส ไม่ใช่ไปโง่อะไรกับใครที่ไหนเลย โง่กับกิเลสในจิตของตัวเองนี่แหละ

อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก อยากทำถูก ถามเด็กเลี้ยงควาย

ท่านนำสำนวนทางโลกๆมาใช้กับตัวสภาวะนะ คือ ให้ทำเดิมๆซ้ำๆ เหมือนหญิงทอหูก หรือหญิงทอผ้านี่แหละ ทำเดิมๆซ้ำๆ

สิ่งแรกที่จะเห็นก่อนคือ ทำผิดพลาด ที่เรามักจะเรียกว่า โง่ จะเห็นความโง่ของตัวเอง เห็นความโง่ของตัวเอง ตามสภาวะหมายถึง โง่กับกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตของตัวเอง ไม่ใช่หมายถึงโง่แบบโลกๆที่พูดกันว่า นี่โง่ นี่ฉลาด

การพูดแบบนั้น เป็นการให้ค่าตามความคิดของแต่ละคน หรือตามอุปทานหรือตามแต่กิเลสของแต่ละคนที่มีอยู่ มีกิเลสมากเท่าใด การให้ค่าย่อมมีมากตามสภาวะนั้นๆ

เมื่อเราเห็นตัวโง่ ตามสภาวะ คือ โง่หรือกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตดวงนี้นี่เอง เห็นตัวโง่ตัวนี้เมื่อไหร่ จะเข้าใจสภาวะมากขึ้น เพราะรู้จักกิเลสแล้ว รู้แล้วยอมรับได้ไหม หากยังยอมรับไม่ได้ เหตุย่อมมีอย่างแน่นอน

เพราะให้ค่าแล้ว ยับยั้งใจไม่ได้ ย่อมก่อให้เกิดการกระทำออกไป แต่หากยอมรับได้ ย่อมยับยั้งใจไว้ได้ ย่อมก่อให้เกิดการกระทำน้อยลง

เมื่อเรียนรู้มากๆ เห็นความโง่ของตัวเองมากๆ คือ กิเลสที่เกิดขึ้นในจิตนี่แหละ และยอมรับได้ในทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น การให้ค่าจะลดน้อยลงไป จนในที่สุด มันจะไม่ให้ค่าไปเอง จะเหลือแค่รู้

แล้วสุดท้าย แค่ดู ไม่ไปโง่กับกิเลสอีก เพราะสติมันรู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต แล้วจะไปโง่อีกไหม ที่ยังมีโง่อยู่ ยังมีให้ค่ากับสภาวะหรือสิ่งที่มากระทบอยู่ เพราะสติมันยังไม่ทัน มันมีเหตุ มีแค่นี้เอง

เดินทางเดียว ไม่เหยียบซ้ำรอยกัน เมื่อก่อนเข้าใจว่าเป็นการเดินจงกรม มาถึงวันนี้ถึงบางอ้อเลย ที่แท้เป็นเรื่องของสภาวะการปฏิบัติ ถึงแม้จะไปทางเดียวกัน แต่ปฏิบัติแตกต่างกันไป เนื่องจากเหตุที่ทำมาของแต่ละคน

นี่แหละ เขาถึงบอกว่า สภาวะมีแค่ไหน จะรู้ได้แค่ตามสภาวะของตัวเอง จะไปรู้มากกว่านั้นไม่ได้เลย ได้แต่คาดเดา อาศัยความรู้ที่มีอยู่ในการตีความสภาวะว่า ต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ มันจะรู้ตั้งแต่หยาบๆก่อนจะรู้ถึงสภาวะที่ละเอียด เราเองก็เป็นเช่นนั้น

เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า คนเราต้องโง่มาก่อนถึงจะรู้ ทุกๆคำปริศนาจะมีตัวสภาวะของสภาวะนั้นๆแฝงอยู่ จะรู้ได้ต่อมา ต้องย่ำสภาวะนั้นจนชำนาญ เหมือนคนที่หลับตาเดินขอบเหว โดยไม่ตกเหว มันต้องแบบนั้น

กิเลสมันไว อยู่ที่ว่าเราจะรู้เท่าทันได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง ถ้าเราอยู่กับปัจจุบันได้ทัน เราจะได้คำตอบเองโดยตัวของสภาวะเอง ไม่ใช่เพราะสัปปายะเป็นองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว

การปฏิบัติ สภาวะแต่ละสภาวะเราต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง แค่อยู่กับปัจจุบันให้ทัน แล้วจะได้คำตอบจากตัวสภาวะเอง ขอเพียงจงอดทน อย่าใจร้อน ต้องรู้เท่าทันกิเลสความอยากที่เกิดขึ้น

สภาวะความอยากที่เป็นกุศลจะละเอียด อาจจะดูทันบ้าง ไม่ทันบ้างไม่เป็นไร ทำบ่อยๆ รู้ลงไปในสภาวะบ่อยๆ จะดูออกเอง อ้อ … กิเลสความอยากที่เป็นกุศลนี่เองที่เป็นคลื่นแทรก เป็นเหตุให้เรากลับมาอยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้นเรื่อยๆ

บ้านเรามี เราเป็นฆราวาส งานที่ต้องรับผิดชอบนั้นมีรออยู่ เราควรทำในสิ่งที่ควรทำ เราตั้งคำถามให้กับตัวเองเสมอๆในการกระทำว่า ทำเพื่ออะไร ทำไม อย่างไร
จากสภาวะครั้งนี้ พอลองทำแล้ว เรารู้คำตอบด้วยตัวสภาวะเอง

นี่คือคลื่นแทรกอีกหนึ่งความอยาก อยากแต่ไม่รู้ว่าอยาก เราไม่ต้องไปค้นหาสิ่งนอกตัวเลย แค่รู้อยู่ในกายและจิตให้ทันก็พอแล้ว ทำแค่นี้เอง

ทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะสภาวะใดๆก็ตาม ทุกๆคำตอบที่ได้รับกลับมาคือ ให้รู้อยู่ในกายและจิตก็พอแล้ว ไม่ต้องไปหาเหตุผลว่า อะไร ทำไม อย่างไร
หาคำตอบหาไปเถอะ หาเท่าไหร่ๆ มีแต่คำตอบที่เกิดจากการคาดเดาเท่านั้นเอง หาใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะไม่

เมื่อมีคนมาขอคำแนะนำ เราถึงบอกว่า คุณอยากลองทำแบบไหน ทำไปเลย จะได้รู้คำตอบด้วยตัวเอง ทุกคนต้องเรียนรู้สภาวะด้วยตัวเอง เพราะสุดท้าย คำตอบที่ได้รับ ไม่พ้นจากการรู้อยู่ใกายและจิตนี้นี่เอง

รู้อยู่ในกายและจิตได้มากเท่าไหร่ ย่อมอยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมมีสติรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต เมื่อรู้เท่าทันได้ การปรุงแต่งย่อมดับไวหรือหายไปไวมากขึ้น ไม่ต้องไปอยากให้หายหรืออยากทำแต่อย่างใดเลย

ยิ่งอยาก ยิ่งห่างไกล ถ้าไม่อยากก็ไม่รู้อีก เพราะสภาวะความอยากมีตั้งแต่หยาบๆจนกระทั่งละเอียด เพียงแต่เราดูทันไหมเท่านั้นเอง ดูทัน สภาวะมันก็จบ ดูไม่ทัน ก็ค้นหาคำตอบไปเรื่อยๆ



ยาวหน่อยนะ เป็นสภาวะของน้องที่เขาส่งมาให้อ่าน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 14:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ถาม....ก็อยากให้เป็น :b1: วิทยาทาน..นะครับ

คนอื่น..จะได้เข้าใจด้วย...ว่าเพราะอะไร....มีเหตุความเป็นมาอย่างไร

และ..มันจะได้เห็นว่า...มันเป็นทางแยกไม่เข้าพรหม..ตรงไหน??...อย่างที่ผมตั้งท่าคิดอยู่

เพราะอะไร...มันถึงไม่เข้าพรหม....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งเถอะมันถึงรู้ลึก แค่คิดนะมันไม่พอหรอก เล่นเชาว์ปัญญาคุยกันมันเฉยๆ สภาวะจริงมันลึกกว่านั้นมันปรากฎแล้วจะร้องอ๋อ ปัญญาที่ท่านกล่าวมาแค่สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญาเท่านั้น

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 15:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามผมหรา....

อิอิ... :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ป้า!พระสูตรใหญ่อย่างอานาปานสติเอาไปไว้ไหน อานาปานสติอธิบายได้ถึงวิมุติเอาไปไว้ไหนล่ะ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ที่ถาม....ก็อยากให้เป็น :b1: วิทยาทาน..นะครับ

คนอื่น..จะได้เข้าใจด้วย...ว่าเพราะอะไร....มีเหตุความเป็นมาอย่างไร

และ..มันจะได้เห็นว่า...มันเป็นทางแยกไม่เข้าพรหม..ตรงไหน??...อย่างที่ผมตั้งท่าคิดอยู่

เพราะอะไร...มันถึงไม่เข้าพรหม....




คุณกบ ไม่ใช่ไม่เข้าใจ ในสิ่งที่คุณถามมา

สิ่งที่คุณสงสัยและต้องการรู้ มีคำอธิบายอยู่ ไม่ใช่ไม่มี รออ่านในปฏิจจสมุปบาท อาจจะทำให้คุณเข้าใจอะไรๆ มากขึ้นก็ได้

จิตก่อนจุติ ขณะที่กำลังจะตายน่ะ สภาวะคนขณะกำลังจะขาดใจตาย จิตยึดเหนี่ยวแน่น อยู่ตรงไหน จะไปตามนั้น ที่มาของภพภูมิ ๓๑ ภูมิ อยู่ตรงนี้แหละ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ป้า!พระสูตรใหญ่อย่างอานาปานสติเอาไปไว้ไหน อานาปานสติอธิบายได้ถึงวิมุติเอาไปไว้ไหนล่ะ




ตาทู่เอ๊ยตาทู่

เมื่อเจริญอานาปนสติ ผลที่ได้ คือ สมาธิ ยังไงๆก็ต้องปรับอินทรีย์

ถ้าไม่ปรับอินทรีย์ สมาธิที่เกิด มีแต่สมาธิ แต่ขาดความรู้สึกตัว


ตาทู่น่ะ ทำสมาธิวันละกี่รอบๆละกี่ชม.

ขณะจิต กำลังจะเป็นสมาธิ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิกำลังเกิดอยู่ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิ กำลังจะคลายตัวลง รู้ชัดไหม

ขณะ จิต สมาธิหายไปหมด รู้ชัดไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของกายได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในความรู้สึกนึกคิดได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในกิเลส ที่เกิดขึ้นได้ไหมฯลฯ


รู้ไหม อานาปนสติ ต้องใช้ไปจนวันตาย ส่วนคำเรียกของแนวทางปฏิบัติต่างๆ ล้วนมาจากสภาวะนั้นๆ แต่ยังไงก็ไม่พ้น อานาปนสติ คนที่ไม่หายใจ มีแต่คนตายเท่านั้นแหละ

แม้กระทั่ง การกำหนดรูปนาม ก็ต้องหายใจ ไม่หายใจ ก็ตายน่ะสิ เพียงแต่ใช้ชื่อสมมุติว่า รูปนาม เท่านั้นเอง

และโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึกนึกคิด แต่หมายถึงการปฏิบัติด้วย ปฏิบัติทั้งนอกและใน ทั้งการใช้ชีวิตประจำวันและ ขณะทำสมาธิ


ไหนตอบมาสักข้อสิว่า ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตาทู่รู้อะไรได้บ้าง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 ส.ค. 2012, 17:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
ป้า!พระสูตรใหญ่อย่างอานาปานสติเอาไปไว้ไหน อานาปานสติอธิบายได้ถึงวิมุติเอาไปไว้ไหนล่ะ




ตาทู่เอ๊ยตาทู่

เมื่อเจริญอานาปนสติ ผลที่ได้ คือ สมาธิ ยังไงๆก็ต้องปรับอินทรีย์

ถ้าไม่ปรับอินทรีย์ สมาธิที่เกิด มีแต่สมาธิ แต่ขาดความรู้สึกตัว


ตาทู่น่ะ ทำสมาธิวันละกี่รอบๆละกี่ชม.

ขณะจิต กำลังจะเป็นสมาธิ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิกำลังเกิดอยู่ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิ กำลังจะคลายตัวลง รู้ชัดไหม

ขณะ จิต สมาธิหายไปหมด รู้ชัดไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของกายได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในความรู้สึกนึกคิดได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในกิเลส ที่เกิดขึ้นได้ไหมฯลฯ


ไหนตอบมาสักข้อสิว่า ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตาทู่รู้อะไรได้บ้าง
ป้ารู้จักท่านโกเอ็นก้ามั้ย ผมนะลูกศิษย์ท่านคนหนึ่งเลย ผมฝึกจนถึงร่างกายเป็นพลังงานสั่นสะเทือนไปหมดแล้วทั่วร่างกาย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
ป้า!พระสูตรใหญ่อย่างอานาปานสติเอาไปไว้ไหน อานาปานสติอธิบายได้ถึงวิมุติเอาไปไว้ไหนล่ะ




ตาทู่เอ๊ยตาทู่

เมื่อเจริญอานาปนสติ ผลที่ได้ คือ สมาธิ ยังไงๆก็ต้องปรับอินทรีย์

ถ้าไม่ปรับอินทรีย์ สมาธิที่เกิด มีแต่สมาธิ แต่ขาดความรู้สึกตัว


ตาทู่น่ะ ทำสมาธิวันละกี่รอบๆละกี่ชม.

ขณะจิต กำลังจะเป็นสมาธิ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิกำลังเกิดอยู่ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิ กำลังจะคลายตัวลง รู้ชัดไหม

ขณะ จิต สมาธิหายไปหมด รู้ชัดไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของกายได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในความรู้สึกนึกคิดได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในกิเลส ที่เกิดขึ้นได้ไหมฯลฯ


ไหนตอบมาสักข้อสิว่า ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตาทู่รู้อะไรได้บ้าง


ป้ารู้จักท่านโกเอ็นก้ามั้ย ผมนะลูกศิษย์ท่านคนหนึ่งเลย ผมฝึกจนถึงร่างกายเป็นพลังงานสั่นสะเทือนไปหมดแล้วทั่วร่างกาย



แค่นี้น่ะ แค่นจะมาคุย กะอีแค่ สั่นสะเทือน แต่ปัญญาไม่เกิด

จะบอกอะไรให้ เรื่องการสั่นสะเทือนไปหมดแล้วทั่วร่างกาย เป็นเรื่องปกติ ของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่ หรือ มีสมาธิเกิดขึ้นอยู่

เคยบ้างไหมล่ะ เหมือนมีกระแสไฟฟ้า วิ่งผ่านไปทั่วร่างกาย รูขุมขนไหน รู้ชัดหมด นี่ก็เรื่องปกติ ของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่

สภาวะที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ มีความพิศดารมากมาย พระผู้มีพระภาค จงทรงวางหลักโยนิโสมนสิการไว้ให้ จะได้ผ่านอุปกิเลสไปได้ ไม่ยึดติดหรือติดแค่สภาวะพิศดาร ตลอดจนรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นมามากมาย

ที่ถามไปน่ะ ตอบมาสิ ว่ารู้ชัดอย่างไรบ้าง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 ส.ค. 2012, 17:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
ป้า!พระสูตรใหญ่อย่างอานาปานสติเอาไปไว้ไหน อานาปานสติอธิบายได้ถึงวิมุติเอาไปไว้ไหนล่ะ




ตาทู่เอ๊ยตาทู่

เมื่อเจริญอานาปนสติ ผลที่ได้ คือ สมาธิ ยังไงๆก็ต้องปรับอินทรีย์

ถ้าไม่ปรับอินทรีย์ สมาธิที่เกิด มีแต่สมาธิ แต่ขาดความรู้สึกตัว


ตาทู่น่ะ ทำสมาธิวันละกี่รอบๆละกี่ชม.

ขณะจิต กำลังจะเป็นสมาธิ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิกำลังเกิดอยู่ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิ กำลังจะคลายตัวลง รู้ชัดไหม

ขณะ จิต สมาธิหายไปหมด รู้ชัดไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของกายได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในความรู้สึกนึกคิดได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในกิเลส ที่เกิดขึ้นได้ไหมฯลฯ


ไหนตอบมาสักข้อสิว่า ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตาทู่รู้อะไรได้บ้าง


ป้ารู้จักท่านโกเอ็นก้ามั้ย ผมนะลูกศิษย์ท่านคนหนึ่งเลย ผมฝึกจนถึงร่างกายเป็นพลังงานสั่นสะเทือนไปหมดแล้วทั่วร่างกาย



แค่นี้น่ะ แค่นจะมาคุย กะอีแค่ สั่นสะเทือน แต่ปัญญาไม่เกิด
ปัญญาไม่เกิดจะถือศิลแปดได้สบายเหรอครับป้า ป้าเวลาคิดถึงติ่งหูหรือปลายนิ้วเท้ารู้มั้ยอะไรเกิดที่นั้นรับรู้ได้มั้ย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
ป้า!พระสูตรใหญ่อย่างอานาปานสติเอาไปไว้ไหน อานาปานสติอธิบายได้ถึงวิมุติเอาไปไว้ไหนล่ะ




ตาทู่เอ๊ยตาทู่

เมื่อเจริญอานาปนสติ ผลที่ได้ คือ สมาธิ ยังไงๆก็ต้องปรับอินทรีย์

ถ้าไม่ปรับอินทรีย์ สมาธิที่เกิด มีแต่สมาธิ แต่ขาดความรู้สึกตัว


ตาทู่น่ะ ทำสมาธิวันละกี่รอบๆละกี่ชม.

ขณะจิต กำลังจะเป็นสมาธิ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิกำลังเกิดอยู่ รู้ชัดไหม

ขณะ สมาธิ กำลังจะคลายตัวลง รู้ชัดไหม

ขณะ จิต สมาธิหายไปหมด รู้ชัดไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของกายได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในความรู้สึกนึกคิดได้ไหม

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ สามารถรู้ชัดในกิเลส ที่เกิดขึ้นได้ไหมฯลฯ


ไหนตอบมาสักข้อสิว่า ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตาทู่รู้อะไรได้บ้าง


ป้ารู้จักท่านโกเอ็นก้ามั้ย ผมนะลูกศิษย์ท่านคนหนึ่งเลย ผมฝึกจนถึงร่างกายเป็นพลังงานสั่นสะเทือนไปหมดแล้วทั่วร่างกาย



แค่นี้น่ะ แค่นจะมาคุย กะอีแค่ สั่นสะเทือน แต่ปัญญาไม่เกิด


ปัญญาไม่เกิดจะถือศิลแปดได้สบายเหรอครับป้า ป้าเวลาคิดถึงติ่งหูหรือปลายนิ้วเท้ารู้มั้ยอะไรเกิดที่นั้นรับรู้ได้มั้ย



การถือศิลแปด มันเป็นเหตุของตาทู่ เข้าใจป่ะ

คำว่า ปัญญา หมายถึง การหยุดสร้างเหตุของการเกิด เข้าใจป่ะ

ถามอย่าง ตอบมาอีกอย่าง คนละเรื่อง

ถามเรื่องสมาธิ กลับไม่ตอบ นั่งวันละกี่รอบ แล้วเป็นยังไงบ้างที่ถามไป ไม่เห็นตอบ

ตอบมาแค่ กายสั่นสะเทือน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร