วันเวลาปัจจุบัน 19 พ.ค. 2025, 01:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เราจะปล่อยวาง ชีวิต หรือ กายใจ หรือ นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ หรือในชื่ออื่นอีกได้นั้น เรา (ปัญญา) จะต้องรู้เห็นชีวิตหรือกายใจหรือนามรูปหรือขันธ์ ๕ คือธรรมชาตินี้ตามเป็นจริงก่อน คือ รู้ตามที่มันของมัน จิตใจจึงจะปล่อยวางได้อย่างจริงแท้
มิใช่เราไปคิดปล่อยวาง ไปคิดทำให้เป็นอย่างที่เรายึดเราอยาก อย่างนี้ไม่ใช่แล้ว วางแบบนี้ไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่เกิดจากปัญญาญาณ มีแต่เกิดผลเสียเกิดโทษ

หากยังนึกภาพไม่ออก อุปมาให้เห็นง่ายๆ เหมือนเราซื้อล๊อดเตอรี่มาใบหนึ่ง ตราบใดที่เขายังไม่ออกยังไม่ประกาศหมายเลขรางวัล เราก็ยังยึดถือว่าหมายเลขล๊อตเตอรี่ใบที่เราซื้อนั้น เก็บไว้อย่างดีกลัวหาย หวังลึกๆว่ามันต้องถูกรางวัลใดรางวัลหนึ่งน่า :b1:

ครั้นถึงวันที่เขาประกาศหมายเลขรางวัล เลขที่ออก (...) ตาเถนไม่ตรงกับใบที่เราซื้อเลย จิตใจเลิกหวังปล่อยวางเองโดยอัตโนมัติแบบไม่ต้องไปทำอะไรมัน

พอมองเห็นภาพมั้ยครับ :b1: :b12:

ตาเฒ่านี่มั่วไปเรื่อย คำว่าปล่อยวาง มันต้องปล่อยวางจากกิเลสที่บ่งการอยู่
ที่ลุงยกตัวอย่างมาน่ะ มันเป็นเรื่องของอกุศลจิตทั้งนั้น มันปล่อยวางซะที่ไหน
ซื้อล็อทเตอรี่มา เพราะจิตถูกกิเลสครอบง้ำ แล้วเกิดอาการ โลภะ อยากได้หลงคิดไปว่า
จะต้องถูกรางวัล พอไม่ถูกรางวัลจิตก็เกิดโทสะต่อล็อทเตอรีใบนั้น

กิเลสความอยากมันไม่ได้ไปไหนเลย ไม่ถูกงวดนี้งวดหน้าก็ซื้อใหม่
ถามลุงหน่อย มันปล่อยวางตรงไหน และอีกอย่างที่ลุงบอกว่า "จิตเลิกหวัง"
อาการของจิตที่บอกว่า"หวัง" มันไม่มีน่ะ ...
เขามีแต่"โลภะ" ในทางอกุศลมันตรงข้ามกับ"โทสะ" เลิกหวังก็คือโทสะ
การปล่อยวาง ก่อนจะซื้อล็อทเตอรีจิตมันต้องเป็นอาการที่เรียกว่า " อโลภะ"
คือไม่อยากในเงินรางวัล แล้วเราทำได้มั้ยซื้อล็อทเตอรี่โดยไม่อยากได้เงินรางวัลน่ะ


ลุงว่าแบบนี้ผมสอดแทรกธรรมหรือเปล่า

เอางี้ก่อนนายโฮฮิชิ มั่วยังงัย :b1: เอาประเด็นมั่ว่นะ
ดูลิงค์นี้

บอกแล้วไงที่อโคจรไม่เข้า อยากให้วิจารณ์ ก็ไปก็อบเนื้อหามาวางที่นี้ :b13:



เราก็อุตส่าห์เน้นไปแล้วไปแล้ว เอาประเด็นที่ว่ามั่ว มั่วยังไง ก็บอกมาดิมันมั่ว...
น่อย กลิ้งไปโน่น :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 20:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
คนเราเมื่อหลงยึดมานาน อยู่ดีๆ บอกให้ช่างมัน มันย่อมช่างไม่ได้
ปล่อยไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อมีไตรลักษณ์เป็นฐานรองรับในใจ
เมื่อทุกครั้งที่หลงไป ฐานข้อมูลนี้ จะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ เตือนจิต

การแจ้งในไตรลักษณ์ ไม่ใช่การรังเกียจในธรรมชาตินี้ หรือรังเกียจธาตุขันธ์นี้
ที่มันทุกข์ ไม่เที่ยง และยึดไม่อยู่ แต่หมายถึง การยอมรับในความเป็นจริง
ของธรรมชาติ ที่มันเป็นของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว อย่างไม่มีข้อแม้
ไม่มีข้อต่อรอง ไม่มีการลังเลในธรรมนี้อีก
แล้วทิฐิก็จะตรงตามธรรมไปเอง ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ
เมื่อแจ้งในไตรลักษณ์ข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะแจ้งตามได้หมดทุกข้อ

การช่างมันนั้น เบื้องต้นก็เป็นเพียง ให้จิตรู้นั้น ได้รู้จักคืนสู่สภาพเดิมแท้ของมันเอง
คือเดิมไม่หลง ไม่ติด ไม่ยึด แต่ตอนนี้มันหลง เพราะโมหะพาหลง
มันก็หลงยึด หลงติด หลงค้าง หลงแช่ ในจิตรู้เอง
และหลงยึดกับสิ่งต่าง เมื่อช่างมัน ก็คือการตัดความหลง ออกไปจากจิต
จิตรู้จะไม่หลงค้าง หลงแช่ หลงจมเหมือนดังเคยหลงมาทุกภพทุกชาติ
ทุกครั้งที่หลงเข้าไปรู้ ก็ช่างมัน และในขณะนั้นทำกิจอะไรอยู่
ก็ทำกิจนั้นต่อไป เมื่อหลงเข้าไปจับความรู้สึกใด ๆ อีก ก็ช่างมัน และทำงานต่อไป
จิตรู้นั้นก็จะขาดจาก ความหลงคาในสิ่งที่รู้นั้น

การช่างมันนั้น ไม่ได้เอาเจตนาไปช่าง เพราะถ้าเอาเจตนาไปช่าง
มันก็ไปตรงกับโมหะกรรมอีก แต่หมายเอาเมื่อรู้ตัว คือรู้ตัวเองเมื่อไหร่ ก็ช่างมัน
ในทุกอิริยาบถ ไมใช่เป็นการไปสร้างสถานการณ์เฉพาะขึ้นมาใหม่
หรือไปสร้างอิริยาบถขึ้นมาใหม่ แต่หมายถึง ในทุกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามา
ในการดำเนินชีวิตประจำวันที่มีเท่าไหร่ ก็เท่านั้น

การช่างมัน คือการตัดความหลงที่ซ้อนลงในจิตรู้ แต่เมื่อช่างมันแล้ว
ยังหลงเข้าไปรู้อีก รู้ตัวเมื่อไหร่ก็ช่างมันอีก
ไม่ว่าวันหนึ่งจะหลงซ้อนเข้าไปรู้ กี่ครั้ง รู้ตัวเมื่อไหร่ก็ช่างมันทุกครั้ง

การช่างมันนั้น ไม่ใช่การภาวนาว่า ช่างมัน อยู่ตลอดเวลา
ไม่ใช่การเข้าไปกด เข้าไปทับเอาไว้ จนเหมือนหัวตอ
ไม่ใช่การรวมเป็นหนึ่งเดียว และแช่นิ่งรู้ว่าง
ไม่ใช่การปฏิเสธ ต่อต้าน ครอบไว้ คลุมไว้
ไม่ใช่อยากให้สิ่งที่กระทบดับเร็ว ๆ หมดเร็ว ๆ ก็ไม่ใช่
ไม่ใช่การไหลตามไป

แต่หมายถึง ไม่สน แล้ว ๆ ไป ไม่ตาม ไม่ต่อ ไม่เติมอีก จะเป็นอะไรก็ช่าง
จะดีก็ช่าง ชั่วก็ช่าง รู้ก็ช่าง คิดก็ช่าง จำก็ช่าง รู้สึกก็ช่าง สัมผัสกายก็ช่าง
จะในก็ช่าง จะนอกก็ช่าง ช่างทุกการรู้ที่จิตหลงเข้าไปรู้

ไม่ว่า มันรู้เอง ก็ช่าง เพราะถ้าตามรู้ต่อ มันก็กลายเป็นเรารู้อีก
ไม่ว่าจะหลงไปแล้ว ค่อยมารู้ตัวว่าหลงไปแล้ว ก็ช่าง
ถ้าตามไปทวนอีก ก็หลงวนเข้าไปอีกรอบ เมื่อช่างแล้วสิ่งที่ถูกช่างจะยังอยู่
หรือไม่อยู่ ก็คือ ช่างมัน เหมือนเดิม

ทำไมถึงให้ช่างทุกความรู้สึกที่เรารู้ เพราะธรรมชาติของจิตรู้นั้น
คือรู้แล้ว แล้ว ๆ ไป ไม่ติด ไม่คา ผ่านตลอด ไม่มีแวะ แต่เมื่อเรารู้แล้วมันค้าง
มันคาอยู่กับรู้นั้น สัมผัสนั้น มันจึงกลายเป็นหลงรู้

เมื่อช่างมันทุกความรู้ที่หลงเข้าไปรู้ โมหะ ตัณหา อุปาทานที่มีอยู่
ก็ถูกคลายออก ทุกขันธ์ที่เคยถูกความกิเลสครอบคลุมอยู่ ก็ถูกคลายออก
ทำให้ทุกขันธ์เบาขึ้น ไม่หนัก ไม่มีภาระในการแบกแรงกดทับของกิเลส
มีความอิสระ เป็นขันธ์ที่ปราศจากกิเลสครอบงำ ของแต่ละครั้งที่ช่างมัน

มันจึงพร้อมต่อการทำกิจต่าง ๆ ได้ ที่เราเรียกกันว่า มหาสติ
มีความพร้อม พร้อมใช้ พร้อมวาง พร้อมด้วยตัวของมันเอง
ไม่ใช่มีเราไปทำให้มันพร้อม ไม่ใช่มีเราไปฝึกให้มันพร้อม
เมื่อคลายออก มันไม่เหนียวแน่กับสิ่งใด มันก็พร้อมของมันเอง
มันไม่ค้าง ไม่คา ไม่แช่กับสิ่งใด มันจึงพร้อมของมันเอง
เมื่อจะใช้ขันธ์ใดก็หยิบขึ้นมาใช้ สามารถหยิบขันธ์ใดมาใช้ก็ได้
อยู่ที่ว่าจะใช้หรือไม่ เมื่อจิตไม่หลงแล้ว จะหยิบขันธ์ไหนก็ไม่หลงในขันธ์นั้น
มันไม่หลงใช้ มันจะใช้เท่าทีมีเหตุให้ใช้
และก็ไม่เยิ่นเย่อในการใช้ขันธ์ ใช้เสร็จก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติดไม่ยึด

ขณะใดที่ไม่ได้ใช้ขันธ์ ขณะนั้นมันจะไม่ยึด ไม่เกาะกับสิงใด
ปล่อยทุกขันธ์ ปล่อยให้ขันธ์ทำหน้าที่ของมันเอง
อย่างอัตโนมัติของมันเอง ตามีหน้าที่เห็นก็ปล่อยให้เห็นไปของมันเอง
หูมีหน้าได้ยิน ก็ฟังไป จมูกได้กลิ่นก็ได้กลิ่นไป ลิ้นลิ้มรสก็รู้รสไป กายสัมผัส
ก็สัมผัสไป ใจรู้อารมณ์ ก็รู้ไป เมื่อจะใช้คิด มันก็จะหยิบคิดขึ้นมาคิด
คิดเสร็จก็แล้วไป ไม่หลงคิดเลอะเทอะ เมื่อจะใช้ความจำ มันก็หยิบเอาฐานข้อมูล
ขึ้นมาใช้ให้พอต่องานที่ทำนั้น

เมื่อมีอารมณ์เกิด ถ้าเป็นสิ่งที่มีผลต่อธาตุขันธ์ มันจะรู้จักสงเคราะห์
ธาตุขันธ์ไปเอง ทุกขันธ์จะทำหน้าของมันเอง อย่างไม่ยึด ไม่ติด
ไม่คา ไม่แช่ เสร็จแล้วก็แล้วไป ไม่ข้องกับงานนั้น การดำเนินชีวิตในประจำวัน
ก็จะเป็นแบบนี้ไปทั้งวัน คือผ่าน ๆ ไปตลอด ทำงานไปก็ผ่านไป อยู่ไปก็ผ่านไป

ถ้าหลงก็หลงไป รู้ตัวก็เลิกหลง และก็ผ่าน ๆ ไป ไม่คากับสิ่งใด
ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งใด ไม่ว่าธาตุหรือขันธ์ ทุกสิ่งคือผ่าน ๆ ไป
นี่คือความอัตโนมัติของธาตุขันธ์ ไม่ใช่มีเราไปฝึกให้ขันธ์อัตโนมัติ
แต่หมายถึง มันคลายออกเองแล้ว มันไม่ข้องกับสิ่งใด ไม่จมกับสิ่งใด
มันจึงอัตโนมัติของมันเอง แต่ถ้าเป็นความอัตโนมัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งของทางโลก
ต้องฝึกครับ ต้องมีเราเข้าไปฝึก มันจึงชำนาญและอัตโนมัติได้

จากเดิมที่โมหะซ้อนลงไปในจิตรู้ ทำให้จิตรู้นั้นถูกกดทับด้วยความหลง
กลายเป็นหลงรู้ แล้วเกิดการค้างรู้ ค้างเห็น และเมื่อความหลงรู้ตัวนี้
ไปหยิบขันธ์ใดมาใช้ต่อ ก็ไปกดทบขันธ์นั้นให้ค้างต่ออีก ไม่ยอมแล้ว ๆ ไป
มันจึงเป็นความหลงในการใช้ธาตุใช้ขันธ์ หลงยึด หลงใช้ หลงเข้าใจผิด
เมื่อหลงใช้มากก็กดทับขันธ์มาก เมื่อหลงไปเรื่อย ๆ ขันธ์มันก็ทนไม่ไหว
โรคภัยไข้เจ็บก็ถามหา จากเดิมที่ขันธ์นี้มันก็มี วัฏจักรในการเจ็บป่วยเป็นปกติอยู่แล้ว
เมื่อหลงใช้ขันธ์จนเกิดการกดทับธาตุขันธ์ไปอีก
จึงกลายเป็นยิ่งป่วยเร็ว เสื่อมเร็ว ป่วยนานเข้าไปอีก
หรือไม่ก็สะสมจนทะลักออกมาอย่างหนัก


ตอนเช้าหลังจากดิฉันได้อ่านบทความนี้ มีบางอย่างในตัวดิฉันได้คลายออกมาแต่ดิฉันไม่รู้ว่าคืออะไร...และสิ่งที่ดิฉันได้อีกอย่างคือ แผล บาดแผลจากการเดินทางธรรม ซึ่งเป็นแผลเก่าที่มีหนอง อยู่ๆได้ถูกเปิดออกมา มันเปิดออกมาเอง ดิฉันก็ได้แต่ดูมัน และได้รับทุกข์เวทนาอยู่มาก แต่ จิตรู้มันช่างๆมัน คือมันช่างมันเองดิฉันไม่ได้ทำอะไร มันเป็นของมันเองอัตโนมัติ มันเลยเหมือนว่า ได้รับทกข์เวทนา พร้อมๆได้รับการเยียวยาไปด้วย...มันเป็นแบบนี้จนเย็น มันเป็นของมันเอง ไม่ได้ทำอะไรนอกจากเข้าใจด้วยใจ ในบทความที่ท่านไม่มีอะไรได้เขียนไว้

พอถึงหัวค่ำก็ได้หยิบบทความนี้มาอ่านอีกครั้ง และได้เข้าใจและแจ้งแก่ใจมากขึ้น ถึงตอนนี้แผลเก่าที่เคยเปิดตอนเช้า ที่มีหนองนั้น ตอนนี้มันได้หายไปแล้ว ไม่มีแผลเกิดขึ้นในใจอีกแล้ว แผลนั้นเป็นเนื้อดีที่หายสนิทแล้ว ไม่มีอะไรค้างคาในใจอีกต่อไป...นึกย้อนไปในอดีตไม่รู้สึกอะไร ไม่ใช่จำไม่ได้ จำได้ทุกขั้นตอนของชีวิตทางธรรมแต่มันไม่ติดไว้ในใจ เมื่ออ่านจบเข้าใจได้มากขึ้น แผลเก่าก็ได้หายไปจากชีวิตแล้ว ดิฉันเลยพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไป...โดยการอ่านบทความที่เหลือ ซึ่งเป็นบทความสุดท้าย

เมื่อเช้าจนถึงเย็น ยังไม่อ่านเพราะไม่พร้อม..ตอนนี้พร้อมแล้วที่จะอ่านและเดินไปข้างหน้า โดยไม่มีอะไรเหลือติดอยูในใจ มันเป็นอิสระมากขึ้น ..ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร..แต่ที่เห็นได้ชัดคือ ทุกอย่างที่เคยเจ็บช้ำจากการโดนกระทบในเส้นทางนี้ มันได้หายออกไปจากใจแล้ว..ไม่ติดไว้ในใจ..ไม่ว่าเรื่องที่จะโดนด่าว่า หลง ว่าบ้า ว่าเพี้ยน ว่าปรุงขึ้นมาเอง ต่างๆนานาๆที่เคยติดอยู่ในใจ มันหายไป..ไม่เหลือค้างในใจอีก... อดีตมันไม่เหลือแล้ว..ใจไม่ติด เหมือนปมด้อยที่เราเคยมีนั้น มันได้หายออกไปจากใจ เราไม่มีปมด้อยนั้นไว้ในใจอีกแล้ว..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 20:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
การช่างมันนี้ คือมันช่างทีเดียว ปล่อยทั้งห้าขันธ์พร้อมกันหมด
ไม่ใช่ปล่อยขันธ์หนึ่ง แล้วไปจม แช่อยู่กับอีกขันธ์ ไม่ใช่เช่นนั้น

เดิมแท้ของตัวรู้ ไร้กิเลสครอบงำ แต่เมื่อโมหะ
ตัณหา อุปาทานซ้อนไปรู้มันจะค้าง
จะคากับสิ่งที่รู้นั้น ก็ช่างมัน มันก็จะตัดโมหะ ส่วนกิเลสที่เหลือนั้น
ก็ขาดตามกันหมด หัวไม่อยู่ หางก็ไม่เหลือ ในครั้งนั้นๆ

เหมือนเราจะดับไฟที่มีเป็นร้อย ๆ พัน ๆ ดวง ที่มันกระจัดกระจายอยู่
จะไปไล่ปิดทีดวง เรื่องมันก็ยาว ก็ปิดที่สวิทช์ตัดไฟตัวแม่
ทีเดียวมันก็ดับหมดทุกดวง กิเลสทั้งหลายก็เช่นกัน ให้ตัดที่ตัวหลงตัวเดียว
มันก็ดับหมดทุกตัว ไม่ใช่ไปตัดกิ่ง แต่งใบ ตามเหตุและปัจจัยไปเรื่อย
เพราะตัดตรงไหนไป แต่งตรงไหนไป มันก็ไปงอกที่ใหม่อีก
หรือไม่มันก็งอกใหม่ตรงที่เดิมอีกนั่นแหละ เพราะรากยังอยู่ หัวหน้ายังอยู่

ดังนั้น เมื่อช่างมันครั้งหนึ่ง มันจึงเป็นการตัดโมหะครั้งหนึ่ง
ทำให้โมหะไม่มีโอกาส ได้เกิดเป็นตัวเป็นตน
แล้วไปก่อร่างสร้างตัวเป็นครอบครัวใหญ่อีกต่อไป
เหตุและปัจจัยที่จะต่อจากโมหะ จนกลายเป็น
วังวนเหมือนวงล้อแห่งกิเลสกรรมทั้งหลาย ทีหมุนไปเรื่อย
จะขาดช่วงลง ช่างมันทุกครั้ง มันก็ขาดลงทุกครั้ง
ไม่เป็นการต่อวังวนให้กับกิเลสกรรม หรือสังสารวัฏอีกต่อไป
จบกิจในการค้น ในการหา และการชดใช้ ไปอีกครั้งหนึ่ง อย่างฉับพลัน
ไม่ยืดเยื้อให้เป็นกรรมเป็นกิจอีกต่อไป ช่างมันทุกครั้ง มันก็จบกิจ ทุกครั้ง

ทุกครั้งที่จิตรู้แล้วหลงตามรู้ และตามทำกิจต่อจนเสร็จนั้น
นั่นไม่ได้หมายถึงว่ากิจนั้นจบแล้ว
แต่หมายถึง ขณะหลงเอาเจตนาไปทำกิจนั้น
ได้สร้างกรรมใหม่ขึ้นอีก คือสร้างกิจใหม่ขึ้นมารอไว้แล้ว
หรือเรียกว่าสร้าง สังสารวัฏรอไว้แล้ว ซึ่งจะต้องไปรอรับและใช้กันต่อไป
เป็นการต่อสังสารวัฏให้หมุนต่อไป คือสร้างความเกิดรอไว้แล้ว

เมื่อจิตรู้ถูกคลายออกจากโมหะ ในแต่ละครั้ง
จึงมีความอิสระมากขึ้นในตัวมันเอง อาการที่ถูกโมหะครอบงำ
จนมองอะไรไม่เห็น เริ่มถูกคลายออก มันจึงเริ่มเห็นสิ่งต่าง ๆ ชัดเชนขึ้น
ดังนั้นทุกครั้งที่ช่างมัน ก็คือการกลั่นกรองธรรมในตัวทุกครั้ง

การดำเนินไปของธรรม การเกิดขึ้นและดับไปของกิเลส
ที่ดำเนินเป็นปกติอยู่แล้ว มันจะหลงเข้าไปเห็นเอง
ไม่ต้องเจตนาเข้าไปดู ให้เป็นกรรมซ้อนกรรมอีกรอบ
เพราะความหลงยังมีอยู่ อยากรู้อยากเห็นก็ยังมีอยู่
อย่างไร้เสียมันก็มีการแอบหลงเข้าไปดูเข้าไปเห็น
ทำให้เห็นความจริงของธรรม แล้วหายลังเลในธรรมเอง

การช่างมันครั้งหนึ่งโมหะก็หมดไปครั้งหนึ่ง เมื่อโมหะถูกคลายออก ๆ ๆ
จิตก็เริ่มกลับสู่สภาพเดิมแท้ของจิตเอง คือไม่ยึด ไม่ติด ไม่คา ไม่ค้าง
ในตัวมันเอง และไม่จมไม่แช่กับสิ่งที่มากระทบ
และไม่เข้าไปบังคับหรือกดทับขันธ์อื่นอีก ทุกขันธ์ก็ถูกคลายออกเช่นกัน
คือไม่ยึดในตัวมันเอง จากที่เคยช่างมัน ก็ไม่ต้องแล้ว มันจะช่างของมันเอง
คือมันจะไม่ยึดของมันเอง มันจะแล้ว ๆ ไปเอง
มันจะเป็นธรรมโดยธรรม ของมันเอง ตรงต่อไตรลักษณ์
ไม่ลังเลในธรรมอีกต่อไป

แม้จะยังมีหลงเข้าไปรู้ เป็นบางครั้ง บางเวลา
แต่จะไม่เหมือนเมื่อก่อนที่หลงตลอด
และไม่มีวันที่จะกลับไปหลงเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป
ด้วยเหตุแห่งกรรมอนุสัยความเคยชิน ในส่วนที่ยังเกี่ยวเนื่องกับโมหะ
ยังให้ผลอยู่ และโมหะที่ยังคลายออกไม่หมด จึงยังมีการหลงเข้าไปรู้
แต่เมื่อรู้ตัว มันจะคลายออกเองทันที ด้วยตัวมันเอง
โดยไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง และการหลงเข้าไปรู้ในแต่ละครั้งนั้น
จะสั้นลง สั้นลง ของมันเอง จบของมันเอง ของมันเอง ในแต่ละครั้ง


:b8: กราบขอบพระคุณคะ :b8:

ดิฉันอ่านเข้าใจในทุกวรรคมีไม่เข้าใจในวรรคเดียวคะ คือวรรคนี้

อ้างคำพูด:
ดังนั้น เมื่อช่างมันครั้งหนึ่ง มันจึงเป็นการตัดโมหะครั้งหนึ่ง
ทำให้โมหะไม่มีโอกาส ได้เกิดเป็นตัวเป็นตน
แล้วไปก่อร่างสร้างตัวเป็นครอบครัวใหญ่อีกต่อไป
เหตุและปัจจัยที่จะต่อจากโมหะ จนกลายเป็น
วังวนเหมือนวงล้อแห่งกิเลสกรรมทั้งหลาย ทีหมุนไปเรื่อย
จะขาดช่วงลง ช่างมันทุกครั้ง มันก็ขาดลงทุกครั้ง
ไม่เป็นการต่อวังวนให้กับกิเลสกรรม หรือสังสารวัฏอีกต่อไป
จบกิจในการค้น ในการหา และการชดใช้ ไปอีกครั้งหนึ่ง อย่างฉับพลัน
ไม่ยืดเยื้อให้เป็นกรรมเป็นกิจอีกต่อไป ช่างมันทุกครั้ง มันก็จบกิจ ทุกครั้ง


อาจเพราะปัญญาดิฉันยังไม่ถึง ดิฉันเลยไม่เข้าใจในทุกตัวอักษรทุกบรรทัด ในส่วนที่เหลือดิฉันเข้าใจทุกตัวอักษรและทุกบรรทัดคะ :b8: ....แต่ดิฉันไม่ได้รุ้สึกรีบร้อนอะไรที่จะต้องเข้าใจในทุกตัวอักษรที่เหลือ เพราะดิฉันทราบว่าทำไปเรื่อยๆมันก็จะเข้าใจไปเอง เดี๋ยวก็เข้าใจได้เอง..ขอให้ทำไปเรื่อยๆก็พอ

กราบขอบพระคุณในคำแนะนำทุกๆเรื่องคะ :b8: กราบขอบพระคุณสำหรับกำลังใจที่มีในบทความ :b8: ว่าทุกอย่างเป็นไปได้เสมอ..และมีแนวโน้มว่าจะทำได้ ถ้าเดินให้ถูกทาง มันเลยเป็นกำลังใจที่ดีที่สุดคะ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนก็ตาม...ดิฉันไม่รีบคะ.... เพราะดิฉันมั่นใจแล้วว่าอย่างไรตอนตายดิฉันก็ถึงแน่นอน..ถ้าเดินแบบนี้ไปเรื่อยๆ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 22:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอรวมตอบท่าน ฝึกจิต ท่านกรัชกาย และท่าน กบนอกกะลา

เรื่องการแจ้งตามความเป็นจริงนั้น
เนื้อแท้ของการปฏิบัติธรรม คือการปล่อยวาง
ขันธ์ห้าตามความเป็นจริงของมัน ที่ผ่านมาเห็นแต่ไม่แจ้ง จึงปล่อยวางไม่ได้
การที่จะให้จิตยอมปล่อยวางตามความจริงนั้น ก็คือสอนให้จิตรู้จักปล่อย
รู้จักวาง นั่นหมายถึงให้ปล่อย ให้วางไปเลย ช่างเลย มันคือการตัดการยึดติด
ที่เรียกว่าสมุจเฉท เด็ดขาด เมื่อนั้นจิตถึงจะแจ้งตามความจริงว่า
ปล่อยแล้ว วางแล้ว มันเป็นอย่างไร และสติปัญญาที่ถามหากันก็จะเกิดขึ้นตาม

จิตจะแจ้งตามจริงว่า ปล่อยแล้วเป็นเช่นนี้ ไม่ปล่อยแล้วเป็นเช่นไร
คือปัจจุบันนี้ มันไม่รู้ว่าปล่อยวางขันธ์ห้าพร้อมกันทีเดียวเป็นอย่างไร
เพราะยึดมานาน ๆ ๆ มากจนปล่อยไม่เป็น
รู้จักแต่ปล่อยสิ่งหนึ่ง แล้วไปเกาะอีกสิ่งหนึ่ง ปล่อยหมดทีเดียวไม่เป็น

เมื่อช่างมัน ไม่สน ไม่ต่อ ตัดเลย มันก็ปล่อยในสิ่งนั้น
จิตรู้นั้นจะกลั่นกรองธรรมไปด้วยในตัวมันเอง
จนมันแจ้งในการปล่อยว่าเป็นอย่างไร
มันจะแจ้งตามจริงไปเอง

มันเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความคิด
ไม่ใช่เอาคิดไปปล่อย เอาคิดไปกลั่นกรองให้เกิดธรรม และไม่ใช่เอารู้ไปปล่อยด้วย
แต่หมายถึงเมื่อแจ้งแล้วมันจะปล่อยเอง วางเอง ตามกฎของไตรลักษณ์ไปเอง
ที่มันแจ้งได้ก็เพราะ มันกล้าที่จะปล่อยจริง วางจริง เด็ดขาดจริงๆ
จึงได้เจอของจริง ว่าปล่อยเป็นอย่างไร

เมื่อกล้าที่จะสมุจเฉทเด็ดขาดในธรรม
ธรรมนั้นย่อมจะสมุจเฉทเด็ดขาด ให้เห็นในความเป็นจริงของธรรมเช่นกัน
จนกลายเป็น รู้เองตามความเป็นจริงของมันเอง ไม่ใช่มีโมหะเข้าไปรู้
หรือรู้โดยการคิด หรือมีโมหะเข้าไปสอน ไม่ใช่
เมื่อแจ้งแล้วมันก็จะไม่ยึดไปเอง เพราะยึดแล้วมันทุกข์
มันหนัก จะเห็นความต่างทันที่
มันก็ไม่ยึดเอง เมื่อไม่ไปยึด ก็ไม่มีการเข้าไปปล่อยอีก

นั่นหมายถึง ไม่มีการเข้าไปเกิดกับสิ่งต่าง ๆ จึงไม่มีการไปดับตามสิ่งต่าง ๆ เช่นกัน
ที่เรียกว่า นอกเหนือเกิด นอกเหนือ ดับ
การเกิด และการดับ ของเหตุและปัจจัยทั้งหลาย อันเป็นของเก่าที่สะสมกันมา
มันก็เกิดขึ้นและดับไปของมันอย่างนั้น ไร้ผู้ไปต่อให้มันอีก


ธรรมทั้งหลายจะดำเนินไป ด้วยตัวของมันเอง ไม่ต้องห่วงเรื่อง สติ ปัญญา
มันจะมีของมันเอง เมื่อจิตไม่หลงติด หลงยึด ไม่ค้างกับสิ่งใด
สติมันก็มีพร้อมของมัน เพราะมันไม่ไปหลงแช่อยู่กับสิ่งใดนาน
ไปไวมาไวตามวินัยของจิตนั้นแหละ ที่มันไม่นิ่งของมันเองอยู่แล้ว
เมื่อมันไม่ถูกกดทับไว้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไปมาอิสระ
มันก็มีสติพร้อมเป็น มหาสติ ของมันเอง

ส่วนปัญญานั้น ทุกครั้งที่ช่างมัน นั่นเป็นการกลั่นกรองธรรมด้วย
เมื่อมันเริ่มคลายออกจากความหลง ก็เริ่มเห็นอะไรชัดเจนขึ้น
ปัญญาตัด ก็มาจากตรงนี้ มันจะไม่เป็นปัญญาต่อ คือไม่เป็นปัญญาที่ต่อไปเรื่อย
หาไปเรื่อย คนไปเรื่อย ไม่รู้จักจบ
แต่จะเป็นปัญญาที่ตัดปัญญาแห่งการหลงค้น หลงหา
ให้ตรงตาม ให้วางตาม ปล่อยตาม ที่มันได้แจ้งจาก
การรู้จักปล่อยจริงๆนั่นแหละครับ

เมื่อแจ้งในไตรลักษณ์ และปล่อยวางขันธ์ห้าได้ มหาสติปฐาน 4 นั้นก็จบตาม
จบกาย มันไม่หลงยึดกาย จบเวทนา มันไม่ตามเวทนาอีก
จบจิต มันเลิกหลงเป็นจิตรู้อีกต่อไป
จบธรรม มันแจ้งในความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย
ว่าจริง ๆ แล้ว ไม่ว่าธาตุหรือขันธ์ หรือ 31 ภพภูมิ มันไม่มีอะไร
เราหลงไปเอง หลงไปคิดว่า
มันมีอะไร มันมีเรา มีเขา มีโน่น มีนี่ จึงหลงให้ความสำคัญกับมัน
เอาจริงเอาจังกับมัน แต่จริง ๆ มันแคชั่วคราวและจางหายไป
ไม่มีอะไรยึดอะไรได้ ถูกหลอกมาตลอด

ธรรมทั้งหลายนั้นจะเป็นเนื้อหาเดียวกัน ส่วนสักแต่ว่า รู้
สักแต่ว่าเห็น มันจะเกิดเอง แล้วมรรคญาณ หรือ มรรควิถี จะมารองรับ
การใช้ธาตุใช้ขันธ์ คือจะใช้ธาตุขันธ์ ตามองค์มรรคทั้งแปด
ไม่ได้ใช้เกินองค์มรรคที่มีอยู่

ธาตุขันธ์นี้ มันสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ สอนตรงมันก็ตรงตาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 22:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ ท่าน walaiporn
ที่ช่วยเสริมให้

ท่าน student ครับ
ตามที่ท่าน walaiporn ยกมาเลยครับ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 22:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
ขอรวมตอบท่าน ฝึกจิต ท่านกรัชกาย และท่าน กบนอกกะลา

เรื่องการแจ้งตามความเป็นจริงนั้น
เนื้อแท้ของการปฏิบัติธรรม คือการปล่อยวาง
ขันธ์ห้าตามความเป็นจริงของมัน ที่ผ่านมาเห็นแต่ไม่แจ้ง จึงปล่อยวางไม่ได้
การที่จะให้จิตยอมปล่อยวางตามความจริงนั้น ก็คือสอนให้จิตรู้จักปล่อย
รู้จักวาง นั่นหมายถึงให้ปล่อย ให้วางไปเลย ช่างเลย มันคือการตัดการยึดติด
ที่เรียกว่าสมุจเฉท เด็ดขาด เมื่อนั้นจิตถึงจะแจ้งตามความจริงว่า
ปล่อยแล้ว วางแล้ว มันเป็นอย่างไร และสติปัญญาที่ถามหากันก็จะเกิดขึ้นตาม

จิตจะแจ้งตามจริงว่า ปล่อยแล้วเป็นเช่นนี้ ไม่ปล่อยแล้วเป็นเช่นไร
คือปัจจุบันนี้ มันไม่รู้ว่าปล่อยวางขันธ์ห้าพร้อมกันทีเดียวเป็นอย่างไร
เพราะยึดมานาน ๆ ๆ มากจนปล่อยไม่เป็น
รู้จักแต่ปล่อยสิ่งหนึ่ง แล้วไปเกาะอีกสิ่งหนึ่ง ปล่อยหมดทีเดียวไม่เป็น

เมื่อช่างมัน ไม่สน ไม่ต่อ ตัดเลย มันก็ปล่อยในสิ่งนั้น
จิตรู้นั้นจะกลั่นกรองธรรมไปด้วยในตัวมันเอง
จนมันแจ้งในการปล่อยว่าเป็นอย่างไร
มันจะแจ้งตามจริงไปเอง

มันเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความคิด
ไม่ใช่เอาคิดไปปล่อย เอาคิดไปกลั่นกรองให้เกิดธรรม และไม่ใช่เอารู้ไปปล่อยด้วย
แต่หมายถึงเมื่อแจ้งแล้วมันจะปล่อยเอง วางเอง ตามกฎของไตรลักษณ์ไปเอง
ที่มันแจ้งได้ก็เพราะ มันกล้าที่จะปล่อยจริง วางจริง เด็ดขาดจริงๆ
จึงได้เจอของจริง ว่าปล่อยเป็นอย่างไร

เมื่อกล้าที่จะสมุจเฉทเด็ดขาดในธรรม
ธรรมนั้นย่อมจะสมุจเฉทเด็ดขาด ให้เห็นในความเป็นจริงของธรรมเช่นกัน
จนกลายเป็น รู้เองตามความเป็นจริงของมันเอง ไม่ใช่มีโมหะเข้าไปรู้
หรือรู้โดยการคิด หรือมีโมหะเข้าไปสอน ไม่ใช่
เมื่อแจ้งแล้วมันก็จะไม่ยึดไปเอง เพราะยึดแล้วมันทุกข์
มันหนัก จะเห็นความต่างทันที่
มันก็ไม่ยึดเอง เมื่อไม่ไปยึด ก็ไม่มีการเข้าไปปล่อยอีก

นั่นหมายถึง ไม่มีการเข้าไปเกิดกับสิ่งต่าง ๆ จึงไม่มีการไปดับตามสิ่งต่าง ๆ เช่นกัน
ที่เรียกว่า นอกเหนือเกิด นอกเหนือ ดับ
การเกิด และการดับ ของเหตุและปัจจัยทั้งหลาย อันเป็นของเก่าที่สะสมกันมา
มันก็เกิดขึ้นและดับไปของมันอย่างนั้น ไร้ผู้ไปต่อให้มันอีก


ธรรมทั้งหลายจะดำเนินไป ด้วยตัวของมันเอง ไม่ต้องห่วงเรื่อง สติ ปัญญา
มันจะมีของมันเอง เมื่อจิตไม่หลงติด หลงยึด ไม่ค้างกับสิ่งใด
สติมันก็มีพร้อมของมัน เพราะมันไม่ไปหลงแช่อยู่กับสิ่งใดนาน
ไปไวมาไวตามวินัยของจิตนั้นแหละ ที่มันไม่นิ่งของมันเองอยู่แล้ว
เมื่อมันไม่ถูกกดทับไว้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไปมาอิสระ
มันก็มีสติพร้อมเป็น มหาสติ ของมันเอง

ส่วนปัญญานั้น ทุกครั้งที่ช่างมัน นั่นเป็นการกลั่นกรองธรรมด้วย
เมื่อมันเริ่มคลายออกจากความหลง ก็เริ่มเห็นอะไรชัดเจนขึ้น
ปัญญาตัด ก็มาจากตรงนี้ มันจะไม่เป็นปัญญาต่อ คือไม่เป็นปัญญาที่ต่อไปเรื่อย
หาไปเรื่อย คนไปเรื่อย ไม่รู้จักจบ
แต่จะเป็นปัญญาที่ตัดปัญญาแห่งการหลงค้น หลงหา
ให้ตรงตาม ให้วางตาม ปล่อยตาม ที่มันได้แจ้งจาก
การรู้จักปล่อยจริงๆนั่นแหละครับ

เมื่อแจ้งในไตรลักษณ์ และปล่อยวางขันธ์ห้าได้ มหาสติปฐาน 4 นั้นก็จบตาม
จบกาย มันไม่หลงยึดกาย จบเวทนา มันไม่ตามเวทนาอีก
จบจิต มันเลิกหลงเป็นจิตรู้อีกต่อไป
จบธรรม มันแจ้งในความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย
ว่าจริง ๆ แล้ว ไม่ว่าธาตุหรือขันธ์ หรือ 31 ภพภูมิ มันไม่มีอะไร
เราหลงไปเอง หลงไปคิดว่า
มันมีอะไร มันมีเรา มีเขา มีโน่น มีนี่ จึงหลงให้ความสำคัญกับมัน
เอาจริงเอาจังกับมัน แต่จริง ๆ มันแคชั่วคราวและจางหายไป
ไม่มีอะไรยึดอะไรได้ ถูกหลอกมาตลอด

ธรรมทั้งหลายนั้นจะเป็นเนื้อหาเดียวกัน ส่วนสักแต่ว่า รู้
สักแต่ว่าเห็น มันจะเกิดเอง แล้วมรรคญาณ หรือ มรรควิถี จะมารองรับ
การใช้ธาตุใช้ขันธ์ คือจะใช้ธาตุขันธ์ ตามองค์มรรคทั้งแปด
ไม่ได้ใช้เกินองค์มรรคที่มีอยู่

ธาตุขันธ์นี้ มันสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ สอนตรงมันก็ตรงตาม


:b8: :b8: :b8: อย่าลืมนะครับ อันที่ท่านกล่าวมาก็ช่างมัน อย่ายึดมั่นนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 23:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ

เรื่องปล่อยแล้ว เคว้งคว้าง เป็นเรื่องธรรมดาครับ
ก็ยึดมานาน ผูกพันมานาน อยู่ ๆ ให้ปล่อยเลย มันก็เค้วงแน่
เพราะยังเสียดาย อาลัยอาวรณ์ มันเลยไม่กล้าปล่อยหมด
มันก็แค่อารมณ์ตัวหนึ่ง เหมือน เบื่อหน่าย หรือ นิ่งเฉย
มันครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไปไหนต่อก็ไม่ได้ คาอยู่อย่างนั้น
ก็ช่างมัน นั่นแหละ มันจะหลงเข้าไปคาอีก ก็ช่างมันอีก
เดี๋ยวมันก็ไม่สนไปเอง ไม่มีอะไร

อ่านแล้วเข้าใจ ก็ดีใจ พออ่านแล้วไม่เข้าใจก็อาจใจหายได้นะ
อ่านแล้วเข้าใจตอนนี้ พออ่านไปอ่านมาอาจไม่เข้าใจอีกก็ได้นะ
ความเข้าใจและไม่เข้าใจนั้น ยังแปรตามความรู้ ประสบการณ์
และกาลเวลา มันยังไม่ใช่ตัวยืนยันว่า แจ้งธรรม นะ
เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปอะไรกับมันมาก

เมื่อเข้าใจ ก็พิสูจน์ธรรม ธรรมว่าอย่างไร ก็ตรงตามนั้นไป
ทุกความรู้สึกก็ช่าง ตัวเอง ๆ นี่ก็ช่าง มันจะได้ไร้ตัวไร้ตน
เวลาจะใช้งานก็ใช้ไป เลิกใช้ ก็ช่าง
ช่างทุกอิริยบถที่รู้ตัว ช่างทุกสถานการณ์ ช่างมันในท่ามกลาง
ของปัจจุบันนี้แหละ ก็คือท่ามกลางความหลงนั่นแหละ
ท่ามกลางตัณหานั่นแหละ ท่ามกลางอุปาทานนั่นแหละ
แล้วมันจะตัดให้เอง ไม่ต้องมีใครไปตัด ธรรมจะตัดให้เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 23:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องหาวิหารธรรมอยู่ จิตสลัดคืน จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีวิหารธรรมอยู่ นิพพานก็ต้องโยนทิ้ง


เดาๆเอานะ :b8: สาธุ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 23:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียกว่า....จะให้ท่อง...ช่างมัน....ไปก่อน...ว่างั้นเถอะ

ช่างมัน....ตอนแรกเป็นสัญญา

ทำบ่อย ๆ...ปัญญาก็จะพัฒนาตาม....ว่างั้นเถอะ...

สุดท้าย...มันจะ...ช่างมันด้วยปัญญาที่เห็นจริง....ซินะ!!!

เอ้าว...ใครทำ..ใครปิ๊ง...ก็คนนั้นแหละได้...ละนะ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะครับ... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 02:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
ขอบคุณครับ ท่าน walaiporn
ที่ช่วยเสริมให้

ท่าน student ครับ
ตามที่ท่าน walaiporn ยกมาเลยครับ

ขอบคุณครับ


เพราะคุณ walaiporn พิจารณาจากการแสดงธรรมลงใน ปฏิจจสมุปบาท สายเกิดครับผม และเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย จึงสมบูรณ์ด้วยเหตุและผล( จะสังเกตุว่าไม่มีคำว่าจิตรู้ ในปฏิจจสมุปบาท) ดังนั้น คำว่าจิตรู้จึงเป็นคำที่ยังมีความหมายไม่สมบูรณ์ถ้าไม่ยกเหตุและผลประกอบ เพราะคนที่อ่านส่วนมากยังคาดเดาเอาอยู่

อ้างคำพูด:
จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ


คุณจะว่าผมเพ่งเล็งธรรมของคุณเกินเหตุผมก็ไม่ว่าอะไร ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้กัน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 07:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ไม่มีอะไร เขียน:
ขอบคุณครับ ท่าน walaiporn
ที่ช่วยเสริมให้

ท่าน student ครับ
ตามที่ท่าน walaiporn ยกมาเลยครับ

ขอบคุณครับ


เพราะคุณ walaiporn พิจารณาจากการแสดงธรรมลงใน ปฏิจจสมุปบาท สายเกิดครับผม และเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย จึงสมบูรณ์ด้วยเหตุและผล( จะสังเกตุว่าไม่มีคำว่าจิตรู้ ในปฏิจจสมุปบาท) ดังนั้น คำว่าจิตรู้จึงเป็นคำที่ยังมีความหมายไม่สมบูรณ์ถ้าไม่ยกเหตุและผลประกอบ เพราะคนที่อ่านส่วนมากยังคาดเดาเอาอยู่

อ้างคำพูด:
จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ


คุณจะว่าผมเพ่งเล็งธรรมของคุณเกินเหตุผมก็ไม่ว่าอะไร ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้กัน


อันนั้นแหละคือจุดที่ต้องเข้าให้ถึงกัน คือ ไม่มีผู้กระทำ ไม่มีเรา ให้มันว่างๆไม่หยังลงทิฏฐิ ใดๆ

ผมเข้าใจถูกมั้ยนี้ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 10:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
ท่าน จขกท ครับ

เรื่องปล่อยแล้ว เคว้งคว้าง เป็นเรื่องธรรมดาครับ
ก็ยึดมานาน ผูกพันมานาน อยู่ ๆ ให้ปล่อยเลย มันก็เค้วงแน่
เพราะยังเสียดาย อาลัยอาวรณ์ มันเลยไม่กล้าปล่อยหมด
มันก็แค่อารมณ์ตัวหนึ่ง เหมือน เบื่อหน่าย หรือ นิ่งเฉย
มันครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไปไหนต่อก็ไม่ได้ คาอยู่อย่างนั้น
ก็ช่างมัน นั่นแหละ มันจะหลงเข้าไปคาอีก ก็ช่างมันอีก
เดี๋ยวมันก็ไม่สนไปเอง ไม่มีอะไร

อ่านแล้วเข้าใจ ก็ดีใจ พออ่านแล้วไม่เข้าใจก็อาจใจหายได้นะ
อ่านแล้วเข้าใจตอนนี้ พออ่านไปอ่านมาอาจไม่เข้าใจอีกก็ได้นะ
ความเข้าใจและไม่เข้าใจนั้น ยังแปรตามความรู้ ประสบการณ์
และกาลเวลา มันยังไม่ใช่ตัวยืนยันว่า แจ้งธรรม นะ
เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปอะไรกับมันมาก

เมื่อเข้าใจ ก็พิสูจน์ธรรม ธรรมว่าอย่างไร ก็ตรงตามนั้นไป
ทุกความรู้สึกก็ช่าง ตัวเอง ๆ นี่ก็ช่าง มันจะได้ไร้ตัวไร้ตน
เวลาจะใช้งานก็ใช้ไป เลิกใช้ ก็ช่าง
ช่างทุกอิริยบถที่รู้ตัว ช่างทุกสถานการณ์ ช่างมันในท่ามกลาง
ของปัจจุบันนี้แหละ ก็คือท่ามกลางความหลงนั่นแหละ
ท่ามกลางตัณหานั่นแหละ ท่ามกลางอุปาทานนั่นแหละ
แล้วมันจะตัดให้เอง ไม่ต้องมีใครไปตัด ธรรมจะตัดให้เอง


:b8: กราบขอบพระคุณคะ ที่ได้แนะนำเพิ่มเติมให้ :b8:

ดิฉันทราบคะว่าตัวเอง ยังอ่อนด้อยและต้องฝึกฝนไปอีกมาก...ตอนนี้แค่ตั้งลำให้ตรงในการเดินเท่านั้นเองคะ..ยังต้องเดินไปอีกไกล ไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้รู้สึกท้ออะไรนะคะ เฉยๆ..เพราะมันรู้สึกว่าเป็นธรรมดาของชีวิตตัวเองไปแล้ว ขอแค่เข้าใจ เข้าใจในระดับปัญญาของตัวเอง ไม่ได้สูงส่งหรือเข้าใจได้มากอะไร แค่เข้าใจในระดับปัญญาที่ตัวเองมีอยู่..แล้วก็เดินต่อไป ถ้าหลงก็กลับมาอ่านใหม่ ทำความเข้าใจใหม่ และตั้งลำให้ตรงและเดินต่อไปใหม่อีกครั้งก็เท่านั้นเองคะ ไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องยากหรือเป็นเรื่องร้ายแรงอะไร

แต่ก่อนที่ทำก็ปฎิบัติตามแนวคำสอนในหนังสือ..อ่านเข้าใจก็ปฎิบัติไปเรื่อยๆ พอสงสัยก็ไปหาสอบถามจากคนโน้นคนนี้ที่เราคิดว่าช่วยเราได้ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆนะคะ...และตอนนี้คิดว่าเข้าใจและรู้แนวทางแล้ว จึงไม่รู้สึกว่า ชาตินี้เราจะถึงฝั่งหรือป่าว เพราะแต่ก่อนหนทางข้างหน้าเราของเรานั้นมันมองไม่เห็น ทุกอย่างต้องฝ่าฟัน หลงผิด ทำถูกมาด้วยตัวเองในทุกๆเรื่องทั้งสิ้น กว่าจะมาถึงวันนี้ได้

แต่สำหรับตอนนี้ คิดว่าพอมองเห็นทางเดินแล้ว (ใจมันก็เย็นลงและไม่ร้อนรนเหมือนก่อน มันไม่รีบร้อน เรื่อยๆ เย็นๆ เป็นไปตามครรลอง..มันเป็นของมันเองไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้คิดหรือตั้งท่าอะไร มันเป็นไปของมันเองนะคะ ) ต่อไปนี้เหลือแต่ตัวดิฉันเองที่จะเดินไปให้ถึง...ทุกอย่างอยู่ที่ตัวของดิฉัน...ตัวดิฉันเองเท่านั้นที่จะช่วยตัวดิฉันเองได้ กราบขอบพระคุณท่านอีกครั้งนะคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2012, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้อยู่ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง รู้อยู่ว่าทุกข์มีอยู่ รู้ว่าทุกอย่างอนัตตา
เพราะศึกษามา ปฏิบัติมา อ่านมา ฟังมา แต่ทำไมจึงยังปล่อยวางไม่ได้สักที
หลายคนบอกเพราะยังไม่แจ้งตามความเป็นจริง
แต่ความเป็นจริงนั้นสิ่งที่ทำมานั้น มันไม่ตรงต่อการวาง ไม่ตรงต่อการปล่อย
แต่มันตรงต่อการยึดติด มันจึงปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้

ก็ทุกอย่างอนิจจังอยู่แล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด ไม่มีอะไรยึดอะไรได้อยู่แล้ว
หลุดเองอยู่แล้ว วางเองอยู่แล้ว แล้วทำไมต้องมีเราเข้าไปเจริญอะไรกับธาตุขันธ์
เพื่อให้ทุกขันธ์นั้นเกิดการวางอีก ก็แค่ไม่ต้องมีเราซ้อนลงไปวางอะไรอีก
มันก็วางของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องเข้าไปทำอะไรกับธาตุขันธ์อีก
มันก็วางของมันเองอยู่แล้ว

ก็ทุกอย่างมันอนัตตาอยู่แล้ว ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ได้เป็นอะไรอยู่แล้ว ไม่มีตัวให้ยึดได้
แล้วเหตุไฉนจึงยังหลงสร้างอัตตาตัวตนเข้าไปปฏิบัติกับธาตุขันธ์อีก
ก็ไม่ต้องหลงมีเราอีก มันก็ตรงต่ออนัตตาอยู่เองแล้ว ไร้ตัวตนอยู่แล้ว

อวิชชาหลอกให้หลงมีเรา มีอัตตาตัวตนขึ้นมา บังความเป็นจริงของธรรม
ที่มันอนัตตาอยู่แล้ว จึงหลงคิดว่าทุกสิ่งมันเป็นอัตตา เป็นเราเป็นเขา ของเราของเขา
ต้องปฏิบัติ ต้องเจริญในธาตุขันธ์ เพื่อให้คลายอัตตาออก เป็นอนัตตา
หลอกให้เกิดการกำตัวเองขึ้น และหลอกให้ไปกำสิ่งรอบข้าง
แล้วก็หลอกให้ไปปล่อย ไปวางสิ่งรอบข้าง แต่ไม่ปล่อยการกำในตัวเอง
มันจึงวนมีเรา ไปกำไปปล่อย ๆ หลงวนอยู่อย่างนั้น

ทั้งที่เนื้อแท้แห่งธรรมนั้น ไร้เราอยู่แล้ว ไร้การปล่อย ไร้การวางอยู่แล้ว
เพราะทุกสิ่งมัน ไม่ยึดติดในตัวมันเอง คืออนิจจัง มันจึงไม่ต้องไปปล่อย
ไม่ต้องไปวางอะไรอีก มันก็ปล่อยและวางของมันเองอย่างนั้นอยู่แล้ว
แต่หมายถึงไม่ต้องไปกำอีก คือไม่ไปสร้างตัวเกิดอีก
ไม่ต้องหลงสร้างให้เกิดมีเราขึ้นอีก มันจะไม่มีอะไรต้องดับอีกต่อไป

ก็ช่างมันในเบื้องต้นนั่นแหละมันจะตัดเรา ตัดโมหะ ช่างไป มันก็ตัดไป
ช่างมันไป มันก็กลั่นกรองธรรมไป ช่างมันครั้งหนึ่ง มันก็ตัดอวิชชาให้ครั้งหนึ่ง
ช่างมันครั้งหนึ่ง มันก็หมดเราไปครั้งหนึ่ง ช่างมันไปครั้งหนึ่งมันก็ไร้ตัวไร้ตนไปครั้งหนึ่ง
ด้วยกำลังมหาบารมีแห่งธรรมทั้งหมด ในการสมุจเฉทเด็ดขาด ต่อการช่าง
ต่อการตัดในหนึ่งครั้ง เป็นการสละธาตุสละขันธ์อย่างแท้จริง
คือ สละกายสละใจออก สละทั้งหมดในทีเดียว
แบบไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้อแม้ใด ๆ เด็ดขาด ฉับพลัน
ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เป็นการตรงต่อการวาง
ของมันเอง ตรงต่อธรรมแห่งความเป็นจริง ไม่มีการต่อเหตุต่อเชื้อให้กับอะไรอีก

เนื้อหาแห่งธรรมของท่านนั้น ไม่ใช่ให้เราอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
หรือมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ใช่ หรือเจริญกรรมกุศล เพื่อเป็นการเลื่อนภูมิเลื่อนชั้น
ให้มีภพภูมิที่ดีขึ้น ก็ไม่ใช่ เพราะยิ่งเข้าไปเจริญในธาตุขันธ์ก็คือยิ่งเข้าไปต่อภพชาติ

ธรรมนั้น ไม่มีเนื้อหาแห่งการต่อภพต่อชาติ ต่อภูมิต่อชั้น แต่หมายถึงการตัดภพตัดชาติ
นอกเหนือภพภูมิทั้งหลาย จบภพจบภูมิ ไม่มีต่อให้กับอะไรอีก
ธรรมนั้น ไม่มีเนื้อหาแห่งการเลี้ยงสัตว์สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้เป็นสรรพสัตว์ต่ออีก แต่หมายถึงการชี้ให้
สัตว์สรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากความเป็นสัตว์ เป็นตัว เป็นบุคคล จบตัวตน

เป็นธรรมที่ฉับพลันและแหลมคม ด้วยเหตุนี้ผู้ฟังธรรมเทศนาในสมัยพุทธกาล
เมื่อฟังแล้วเสมือนถูกคมมีดวิ่งเข้าตัดขั้วหัวใจ ให้ขาดและตายจากความเป็นปุถุชน
แจ้งในธรรมทันที ส่วนจะแจ้งมากน้อยแค่ไหนก็ตามกิเลสที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล

ส่วนผู้ที่ไม่อาจแจ้งธรรมได้ทันที่ ก็ได้รับอนุภาพแห่งธรรมเช่นกัน
จะคลายออกจากความหลงยึดติดออกในขณะที่ฟัง ปลดเปลื้องพันธนาการที่ผูกมัดอยู่
ให้คลายออกในขณะที่ฟัง จึงลิ้มรสถึงความฉับพลันแห่งอนุภาพของพระธรรม
เมื่อกลับไปแล้วเกิดหลงอีก ก็จะระลึกถึงข้อสรุปธรรมของพระองค์ที่ได้ฟังมา
ก็เกิดการคลายออกจากความหลงนั้นอีก เมื่อทุกครั้งที่หลงจึงแค่ระลึกข้อสรุปธรรมนั้น
ก็คลายออกทุกครั้ง จนแจ้งในธรรมไปเอง

ธรรมนั้นเป็นสากล ไร้ขอบเขต เป็นธรรมที่ตรงต่อความเป็นจริงของธรรมชาตินี้
เป็นธรรมที่ตรงต่อทุกเพศทุกวัย ทุกชั้นวรรณะ ทุกชั้นภูมิ ที่สื่อสารรู้เรื่อง
ไม่ใช่จริตใครจริตมัน เพราะจริตคือกรรม คือผลสะสมของกรรม คือทายาทของกรรม
ธรรมนั้นไม่ได้มีไว้สืบสานต่อให้กับกรรมทั้งหลายอีก แต่หมายถึงการถอดถอนทุกจริต
ให้คลายออกจากจริตที่มีอยู่ นอกเหนือจากจริตที่เป็นอยู่

ไม่ใช่ทางใครทางมัน แต่หมายถึงจบให้ทุกเส้นทาง เพราะหนทางมีไว้ให้เดินนั้น
ผู้เดินคือโมหะ หลงสร้างตัวตนเข้าไปเดิน จึงหลงสร้างเส้นทางขึ้นมา
หลากหลายมากมายให้เดิน แต่เนื้อแท้นั้น ไร้ตัวไร้ตน ไร้ผู้เดิน
จึงไร้เส้นทางให้ใครไปเดินอีก คือจบเดี๋ยวนั้น ไม่มีต่อ ไม่มีผู้เดินและทางเดินอีก

ดังนั้นการแจ้งธรรมนั้น จึงไม่เยิ่นเย่อ ไม่ยืดเยื้อ ไม่ยาวนาน
อย่างที่เราคิด อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้
เพราะมันไม่ขึ้นกับขั้นตอน วิธีการ หรือกาลเวลา
แต่หมายถึงการตรงต่อเนื้อหาแห่งความเป็นจริงของธรรมชาตินี้
มันจึงฉับพลันต่อการแจ้งตามความเป็นจริงนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2012, 21:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ต้องหาวิหารธรรมอยู่ จิตสลัดคืน จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีวิหารธรรมอยู่ นิพพานก็ต้องโยนทิ้ง


เดาๆเอานะ :b8: สาธุ :b12:



ขยายความหน่อย ได้ไหมครัง ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2012, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
รู้อยู่ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง รู้อยู่ว่าทุกข์มีอยู่ รู้ว่าทุกอย่างอนัตตา
เพราะศึกษามา ปฏิบัติมา อ่านมา ฟังมา แต่ทำไมจึงยังปล่อยวางไม่ได้สักที
หลายคนบอกเพราะยังไม่แจ้งตามความเป็นจริง
แต่ความเป็นจริงนั้นสิ่งที่ทำมานั้น มันไม่ตรงต่อการวาง ไม่ตรงต่อการปล่อย
แต่มันตรงต่อการยึดติด มันจึงปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้

ก็ทุกอย่างอนิจจังอยู่แล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด ไม่มีอะไรยึดอะไรได้อยู่แล้ว
หลุดเองอยู่แล้ว วางเองอยู่แล้ว แล้วทำไมต้องมีเราเข้าไปเจริญอะไรกับธาตุขันธ์
เพื่อให้ทุกขันธ์นั้นเกิดการวางอีก ก็แค่ไม่ต้องมีเราซ้อนลงไปวางอะไรอีก
มันก็วางของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องเข้าไปทำอะไรกับธาตุขันธ์อีก
มันก็วางของมันเองอยู่แล้ว

ก็ทุกอย่างมันอนัตตาอยู่แล้ว ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ได้เป็นอะไรอยู่แล้ว ไม่มีตัวให้ยึดได้
แล้วเหตุไฉนจึงยังหลงสร้างอัตตาตัวตนเข้าไปปฏิบัติกับธาตุขันธ์อีก
ก็ไม่ต้องหลงมีเราอีก มันก็ตรงต่ออนัตตาอยู่เองแล้ว ไร้ตัวตนอยู่แล้ว

อวิชชาหลอกให้หลงมีเรา มีอัตตาตัวตนขึ้นมา บังความเป็นจริงของธรรม
ที่มันอนัตตาอยู่แล้ว จึงหลงคิดว่าทุกสิ่งมันเป็นอัตตา เป็นเราเป็นเขา ของเราของเขา
ต้องปฏิบัติ ต้องเจริญในธาตุขันธ์ เพื่อให้คลายอัตตาออก เป็นอนัตตา
หลอกให้เกิดการกำตัวเองขึ้น และหลอกให้ไปกำสิ่งรอบข้าง
แล้วก็หลอกให้ไปปล่อย ไปวางสิ่งรอบข้าง แต่ไม่ปล่อยการกำในตัวเอง
มันจึงวนมีเรา ไปกำไปปล่อย ๆ หลงวนอยู่อย่างนั้น

ทั้งที่เนื้อแท้แห่งธรรมนั้น ไร้เราอยู่แล้ว ไร้การปล่อย ไร้การวางอยู่แล้ว
เพราะทุกสิ่งมัน ไม่ยึดติดในตัวมันเอง คืออนิจจัง มันจึงไม่ต้องไปปล่อย
ไม่ต้องไปวางอะไรอีก มันก็ปล่อยและวางของมันเองอย่างนั้นอยู่แล้ว
แต่หมายถึงไม่ต้องไปกำอีก คือไม่ไปสร้างตัวเกิดอีก
ไม่ต้องหลงสร้างให้เกิดมีเราขึ้นอีก มันจะไม่มีอะไรต้องดับอีกต่อไป

ก็ช่างมันในเบื้องต้นนั่นแหละมันจะตัดเรา ตัดโมหะ ช่างไป มันก็ตัดไป
ช่างมันไป มันก็กลั่นกรองธรรมไป ช่างมันครั้งหนึ่ง มันก็ตัดอวิชชาให้ครั้งหนึ่ง
ช่างมันครั้งหนึ่ง มันก็หมดเราไปครั้งหนึ่ง ช่างมันไปครั้งหนึ่งมันก็ไร้ตัวไร้ตนไปครั้งหนึ่ง
ด้วยกำลังมหาบารมีแห่งธรรมทั้งหมด ในการสมุจเฉทเด็ดขาด ต่อการช่าง
ต่อการตัดในหนึ่งครั้ง เป็นการสละธาตุสละขันธ์อย่างแท้จริง
คือ สละกายสละใจออก สละทั้งหมดในทีเดียว
แบบไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้อแม้ใด ๆ เด็ดขาด ฉับพลัน
ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เป็นการตรงต่อการวาง
ของมันเอง ตรงต่อธรรมแห่งความเป็นจริง ไม่มีการต่อเหตุต่อเชื้อให้กับอะไรอีก

เนื้อหาแห่งธรรมของท่านนั้น ไม่ใช่ให้เราอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
หรือมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ใช่ หรือเจริญกรรมกุศล เพื่อเป็นการเลื่อนภูมิเลื่อนชั้น
ให้มีภพภูมิที่ดีขึ้น ก็ไม่ใช่ เพราะยิ่งเข้าไปเจริญในธาตุขันธ์ก็คือยิ่งเข้าไปต่อภพชาติ

ธรรมนั้น ไม่มีเนื้อหาแห่งการต่อภพต่อชาติ ต่อภูมิต่อชั้น แต่หมายถึงการตัดภพตัดชาติ
นอกเหนือภพภูมิทั้งหลาย จบภพจบภูมิ ไม่มีต่อให้กับอะไรอีก
ธรรมนั้น ไม่มีเนื้อหาแห่งการเลี้ยงสัตว์สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้เป็นสรรพสัตว์ต่ออีก แต่หมายถึงการชี้ให้
สัตว์สรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากความเป็นสัตว์ เป็นตัว เป็นบุคคล จบตัวตน

เป็นธรรมที่ฉับพลันและแหลมคม ด้วยเหตุนี้ผู้ฟังธรรมเทศนาในสมัยพุทธกาล
เมื่อฟังแล้วเสมือนถูกคมมีดวิ่งเข้าตัดขั้วหัวใจ ให้ขาดและตายจากความเป็นปุถุชน
แจ้งในธรรมทันที ส่วนจะแจ้งมากน้อยแค่ไหนก็ตามกิเลสที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล

ส่วนผู้ที่ไม่อาจแจ้งธรรมได้ทันที่ ก็ได้รับอนุภาพแห่งธรรมเช่นกัน
จะคลายออกจากความหลงยึดติดออกในขณะที่ฟัง ปลดเปลื้องพันธนาการที่ผูกมัดอยู่
ให้คลายออกในขณะที่ฟัง จึงลิ้มรสถึงความฉับพลันแห่งอนุภาพของพระธรรม
เมื่อกลับไปแล้วเกิดหลงอีก ก็จะระลึกถึงข้อสรุปธรรมของพระองค์ที่ได้ฟังมา
ก็เกิดการคลายออกจากความหลงนั้นอีก เมื่อทุกครั้งที่หลงจึงแค่ระลึกข้อสรุปธรรมนั้น
ก็คลายออกทุกครั้ง จนแจ้งในธรรมไปเอง

ธรรมนั้นเป็นสากล ไร้ขอบเขต เป็นธรรมที่ตรงต่อความเป็นจริงของธรรมชาตินี้
เป็นธรรมที่ตรงต่อทุกเพศทุกวัย ทุกชั้นวรรณะ ทุกชั้นภูมิ ที่สื่อสารรู้เรื่อง
ไม่ใช่จริตใครจริตมัน เพราะจริตคือกรรม คือผลสะสมของกรรม คือทายาทของกรรม
ธรรมนั้นไม่ได้มีไว้สืบสานต่อให้กับกรรมทั้งหลายอีก แต่หมายถึงการถอดถอนทุกจริต
ให้คลายออกจากจริตที่มีอยู่ นอกเหนือจากจริตที่เป็นอยู่

ไม่ใช่ทางใครทางมัน แต่หมายถึงจบให้ทุกเส้นทาง เพราะหนทางมีไว้ให้เดินนั้น
ผู้เดินคือโมหะ หลงสร้างตัวตนเข้าไปเดิน จึงหลงสร้างเส้นทางขึ้นมา
หลากหลายมากมายให้เดิน แต่เนื้อแท้นั้น ไร้ตัวไร้ตน ไร้ผู้เดิน
จึงไร้เส้นทางให้ใครไปเดินอีก คือจบเดี๋ยวนั้น ไม่มีต่อ ไม่มีผู้เดินและทางเดินอีก

ดังนั้นการแจ้งธรรมนั้น จึงไม่เยิ่นเย่อ ไม่ยืดเยื้อ ไม่ยาวนาน
อย่างที่เราคิด อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้
เพราะมันไม่ขึ้นกับขั้นตอน วิธีการ หรือกาลเวลา
แต่หมายถึงการตรงต่อเนื้อหาแห่งความเป็นจริงของธรรมชาตินี้
มันจึงฉับพลันต่อการแจ้งตามความเป็นจริงนั้น
ท่านเข้าใจอะไรผิดหรือดปล่าครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร