วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2012, 14:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2012, 22:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้ว..ฝึกจิต..คิดยังงัย...ละ...

หุหุ.. :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2012, 22:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


พวกที่....พูดเรื่องยาก...ได้แบบง่าย ๆ...

จะออกแนว...ปฏิสัมภิทา...

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 04:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านกบ

กบนอกกะลา เขียน:
แล้ว..ฝึกจิต..คิดยังงัย...ละ...

หุหุ.. :b12:



ก็ดีครับ อาจจะใช่ หรือ ไม่ใช่ ยังไงมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น

ส่วนตัวยัง แยก จิต กับ เจตสิก ออกจากกันไม่ได้ จึงไม่รู้ว่า การแยก จิตกับความคิด นั้น คือ การไม่เชื่อจนยึดมั่นความคิด ปล่อยวางความคิด หรือ ป่าว ตรงนี้ผมว่า เป็นจุดที่ ละ มานะ กระมังท่าน

ตอนนี้ เดินอานาปนสติ ให้มากที่สุด ให้เห็นอริยสัจจ4 เห็นไตรลักษณ์ ทุกกระแสปฏิจจ และ ให้จิต พบ และยอมรับ ความสงบเย็น ให้เป็น บรมสุข ในอานาปนสติ ไปเรื่อยๆ

ต้องรู้ไว้ว่า ความสงบจากสมาธิ ไม่ใช่ บรมสุข ต้องสงบจากปัญญา บรมสุข คือ เหนือสุข เหนือทุกข์ คือ การปล่อยวาง

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 10:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ....ครับ... :b8:

พูดอย่างที่เรารู้สึก..นั้นแหละ...ถูกแล้ว...

ถูก...คือ....ถูกต้องตามความเป็นจริงของเรา..ขณะนี้

หากเรายังเพียรอยู่...ก็เชื่อว่า..ที่สุดแล้ว...ก็จะถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรม..เอง

ผมคิดอย่างนี้ว่า.....จิตกับความคิด...ในความหมายของผู้บรรยาย...คือ...ความรู้สึก..กับความคิดปรุงแต่ง..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 11:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้สึก....ไม่ใช่..คิดไม่ได้นะ...คิดได้

แต่...ความคิดปรุงแต่ง...ชื่อก็บอกแล้วว่าปรุง...คือ..เอาสองอย่างมาปะติดปะต่อกัน

จุดประสงค์..คือ..เพื่อจะรู้ว่า...สิ่งนั้น...ดี..หรือ..ไม่ดี..

ปกติ....เรามีอวิชชาอยู่แล้วเน๊าะ....ดี..ไม่ดี....ก็เลยเป็นแต่เพื่ออวิชชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สาธุ....ครับ... :b8:

พูดอย่างที่เรารู้สึก..นั้นแหละ...ถูกแล้ว...

ถูก...คือ....ถูกต้องตามความเป็นจริงของเรา..ขณะนี้

หากเรายังเพียรอยู่...ก็เชื่อว่า..ที่สุดแล้ว...ก็จะถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรม..เอง

ผมคิดอย่างนี้ว่า.....จิตกับความคิด...ในความหมายของผู้บรรยาย...คือ...ความรู้สึก..กับความคิดปรุงแต่ง..


คุณกบเอาความคิดของตัวเองไปจับยัดใส่ความหมายของผู้บรรยายเสียแล้ว :b7:

จิต ก็คือจิต ไม่มีมา ไม่มีไป ไม่มีคิด ไม่มีปรุงแต่ง ไม่มีรู้สึก มีสภาพรู้อย่างเดียว
สิ่งที่รู้สึกนึกคิด เกิด ดับ ได้นั้นเป็นอาการของจิต เป็นจิตสังขาร

ความรู้สึกนั้นเป็นอาการของขันธ์๕ ไม่ใช่จิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำมาแปะไว้นะครับ rolleyes

ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา :

เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วย
ปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่าง
เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุ ท. !
เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้,
ปุพพันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ๒ ทั้งหลายย่อมไม่มี;
เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี;

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี,
จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ;
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่;
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง;
เมื่อไม่หวาดสะดุ้งย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว.


เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว,
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,
กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ขนฺธ. ส°. ๑๗/๕๗/๙๓.
__________________
๑. ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้นหรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต
๒. ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Quote Tipitaka:
ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย
ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากาย
สังขาร บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจาร
จึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 7%A2%D2%C3

[๑๐๒๓] สังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ชื่อว่า กายสังขาร วิตกและวิจาร ชื่อว่า วจีสังขาร สัญญา
และเวทนา ชื่อว่า จิตตสังขาร ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต แม้ทั้งหมด เว้นวิตกและวิจาร ชื่อว่า
จิตตสังขาร.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


สรุป จิตตสังขาร คือ เจตสิกอื่นๆ ทั้งหมด ยกเว้นอยู่สองคือ วิตก และวิจาร เท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น เวทนา เป็นจิตตสังขาร สัญญา เป็นจิตตสังขาร สติ เป็นจิตตสังขาร ปิติ เป็นจิตตสังขาร ตัณหา เป็นจิตตสังขาร เป็นต้น

Quote Tipitaka:
[๔] คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน เป็นคำกล่าวโดย
ส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าว
ไม่เป็นสองส่วน เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวไม่รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า
แน่นอนนี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน
ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ
ความเต็มใจ ที่ประกอบพร้อมเฉพาะด้วยกามคุณ ๕. คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย
บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่
ผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ. ใจนี้สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความอิ่มนี้
. คำว่า ย่อมเป็น
ผู้อิ่มใจ คือเป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจเบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=0&Z=486

[๗๐๖] คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดโดยทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วน
เหลือ. คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ
ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือ ตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มี
ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่ จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น.
ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน
มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ
แม้เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 7%A2%D2%C3


อ้างคำพูด:
เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
เกิดพร้อมกับจิต
ดับพร้อมกับจิต
มีอารมณ์เดียวกับจิต
อาศัยวัตถุเดียวกับจิต
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80% ... 4%E0%B8%81

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 15:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
......
ภิกษุ ท. !
เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้,
ปุพพันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ๒ ทั้งหลายย่อมไม่มี;
เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี;

.....

[๘๔๙] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภ

ส่วนอดีต เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ.

อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภ

ส่วนอนาคต เกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ.


จริง ๆ ช่วงต้น ๆ ที่ฟังบรรยาย ก็รู้สึกตะหงิด ๆ แล้ว รู้สึกว่าผู้บรรยายใช้คำพูดตื้นไป
บังเอิญคุณ ละครน้ำเน่า ก็มาโพสต์ พระสูตรนี้พอดี

ช่วงต้นที่บรรยาย นิพพานคืออะไร
แล้วเอาเรื่องการสอบมาใช้ในการเปรียบเทียบ
และเอาเรื่องการฉี่มาเปรียบเทียบ
ก็... :b6: ... ดูจะตะแคงแล้ว
เพราะ มันเป็นการหยิบตัวอย่าง
ที่เป็นลักษณะ จิต ปล่อยจากสิ่งหนึ่ง เข้าไป ตั้งอยู่ในอีกสิ่งหนึ่ง ... :b6:
ซึ่ง มันไม่ได้เฉียด มันเป็นการเปลี่ยนอารมณ์หนึ่ง ไปสู่อีกอารมณ์หนึ่ง

นี่ถ้าอาจารย์มี สมถะ ที่เชี่ยว คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปรียบเทียบออกมาเช่นนี้

คือ การจะกล่าวเปรียบเทียบนิพพานคืออะไร
คงต้องกลับเข้าไปตรวจสอบสิ่งที่หยิบยกมา
กับคำพระพุทธองค์ อย่างละเอียดละออ(ใจ)สักนิด

พอดียังฟังได้แค่นี้น่ะ
ถ้าฟังจบ เกรงจะเผลอหยิกอีกหลายจุด

ใครนะ ผู้บรรยาย ดูเหมือนจะเป็นคนดังซะด้วยนี่...

:b5: :b5:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 11 ส.ค. 2012, 14:37, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 15:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ตอนนี้ เดินอานาปนสติ ให้มากที่สุด ให้เห็นอริยสัจจ4 เห็นไตรลักษณ์ ทุกกระแสปฏิจจ และ ให้จิต พบ และยอมรับ ความสงบเย็น ให้เป็น บรมสุข ในอานาปนสติ ไปเรื่อยๆ

ต้องรู้ไว้ว่า ความสงบจากสมาธิ ไม่ใช่ บรมสุข ต้องสงบจากปัญญา บรมสุข คือ เหนือสุข เหนือทุกข์ คือ การปล่อยวาง

:b8:


พูดอย่างคุณ ยังดูมีแววว่าคุณจะมีความเข้าใจกว่า ผู้บรรยายที่คุณ link มาซะอีก

:b6:

:b6:

แต่จริง ๆ เขาอาจจะเข้าใจกว่าคุณ เพียงแต่ ด้วยความเข้าใจที่มาก ความปรุงแต่งก็ยังมากอยู่ด้วย ก็เป็นได้
เรยหยิบยกการเปรียบเทียบ น้อมเอียงไปในทางการปรุงแต่ง

ส่วนคนที่เข้าใจน้อย แต่ด้วยความปรุงแต่งที่น้อยด้วย
เวลาจะพูดอะไรก็เลยอาจจะกลายเป็นดูเข้าใจได้ลึกกว่าไป ก็เป็นได้

:b23: :b23: :b23:

ราวกับว่า ปรินิพพาน มีการ ปรุงแต่ง เป็น ปัจจัย .. :b10:

:b10: :b10: :b10:

:b9: :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 10 ส.ค. 2012, 17:38, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 16:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สาธุ....ครับ... :b8:

พูดอย่างที่เรารู้สึก..นั้นแหละ...ถูกแล้ว...

ถูก...คือ....ถูกต้องตามความเป็นจริงของเรา..ขณะนี้

หากเรายังเพียรอยู่...ก็เชื่อว่า..ที่สุดแล้ว...ก็จะถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรม..เอง

ผมคิดอย่างนี้ว่า.....จิตกับความคิด...ในความหมายของผู้บรรยาย...คือ...ความรู้สึก..กับความคิดปรุงแต่ง..


:b6:

ดูจะประมาณนั้น...

และยังเป็นการเปรียบเทียบที่เป็นไปในลักษณะ
จิตปล่อยจาก ความรู้สึกหนึ่ง/ความคิดปรุงแต่งหนึ่ง ไปอีก ความรู้สึกหนึ่ง/ความคิดปรุงแต่งหนึ่ง..น่ะ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 16:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
สรุป จิตตสังขาร คือ เจตสิกอื่นๆ ทั้งหมด ยกเว้นอยู่สองคือ วิตก และวิจาร เท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น เวทนา เป็นจิตตสังขาร สัญญา เป็นจิตตสังขาร สติ เป็นจิตตสังขาร ปิติ เป็นจิตตสังขาร ตัณหา เป็นจิตตสังขาร เป็นต้น



ตรงนี้ที่คุณกล่าว
ถ้าแจงออกมาได้ว่าเพราะอะไร วิตก วิจาร ไม่เป็นจิตตสังขาร
ก็น่าจะแจงนะ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ากับชื่อกระทู้ดี คลิปนี้ก็น่าฟังครับ

จิบน้ำชา วรภัทร์ ภู่เจริญ 2



http://www.youtube.com/watch?v=5YaUuAzP ... ure=relmfu

:b32: ตามลิ้งค์ไปแล้วกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ผมคิดอย่างนี้ว่า.....จิตกับความคิด...ในความหมายของผู้บรรยาย...คือ...ความรู้สึก..กับความคิดปรุงแต่ง..



คุณกบเอาความคิดของตัวเองไปจับยัดใส่ความหมายของผู้บรรยายเสียแล้ว :b7:

จิต ก็คือจิต ไม่มีมา ไม่มีไป ไม่มีคิด ไม่มีปรุงแต่ง ไม่มีรู้สึก มีสภาพรู้อย่างเดียวสิ่งที่รู้สึกนึกคิด เกิด ดับ ได้นั้นเป็นอาการของจิต เป็นจิตสังขาร

ความรู้สึกนั้นเป็นอาการของขันธ์๕ ไม่ใช่จิต


ใช่ครับ....เป็นความคิดของผม....แต่ไม่ได้ยัดว่าเป็นของคนบรรยาย..นะ

ผมว่า...ผมคิดอย่างนี้ว่า...

ผมก็ชั่งใจอยู่นาน...ว่าตนรู้สึกอย่างไร..กับคำว่า...จิต...ของผู้บรรยาย
ตอนแรก...จะใช้แค่คำว่า....รู้
แต่...มันก็ยังรู้สึกว่า....ไม่เพียงพอที่จะเป็นตัวแทนในภาพที่ผมรู้สึกได้

เพราะ...มันไม่ใช่..รู้..เฉย ๆ ...มันรู้ด้วยว่า..นี้กุศล....นี้อกุศล...เป็นต้น...

ผมถึงตัดใจใช้คำว่า...ความรู้สึก...แทน

ซึ่ง..แน่นอนว่า...มันจะต้องไปเฉียดกับความหมายของ...เวทนา...ที่ว่า..รู้สึกว่าสุข....รู้สึกว่าทุกข์

แต่...มันก็ไม่มีทางเลือก....สำหรับผม...หากต้องการจะสื่อสารออกไปแบบตรง ๆ...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร