วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 18:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 10:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
อ้างคำพูด:
พอแค่ถอนจากการเพ่งมาเป็นการมอง อยู่ๆ สิ่งที่หนักๆในจิตก็เบา เบานุ่มที่ใจและมันก็ค่อยๆกระจายออกไปทั่วร่างกาย และมันก็อิ่มๆที่ใจ เลยเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่ถูกแล้วที่เราทำอย่างนี้...วันนี้ท่านก็ได้มายืนยันให้ในสิ่งที่ตัวเองได้กระทำในเมื่อวาน


:b27:

อีกสักระยะหนึ่งเขาจะถอนจากการมอง ซึ่งยังมีเจตนาและผู้มอง ที่ซ่อนอยู่ลึกๆ .....ไปเป็น.....

"การรู้เห็นธรรม ตามที่มันเป็น"(ตถตา).......ซึ่งไม่มีตัวผู้ไปมองไปดูไปรู้.....มันคงเป็นเพียงสภาวธรรมที่เป็นไปอยู่ด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัย ตามหน้าที่ของธาตุ ขันธ์ อายตนะ.......เหตุ..ปัจจัย...กรรม ...อดีต...ส่งผลให้เกิดเป็นขันธ์ในปัจจุบัน ......เหตุ..ปัจจัย...กรรม ...ในปัจจุบัน...ส่งผลให้เกิดเป็นขันธ์ในอนาคต.....เชื่อมต่อกันเหมือนห่วงโซ่ที่ร้อยกันเป็นวงกลมที่ไม่รู้จบ"

:b16:

แล้วทุกอย่างก็จะกลับกลายไปเป็นเหมือนอย่างนามแฝงของคุณเจ้าของกระทู้นะครับ

tongue


:b8: กราบขอบพระคุณคะ :b8: ถึงแม้ดิฉันจะไม่ค่อยเข้าใจใน ข้อธรรมที่ท่านนำมาให้อ่าน แต่ดิฉันเข้าใจในสิ่งที่ท่านเขียนคะ :b12: เพราะมันเปลี่ยนไปแล้ว ...ไม่ได้สนใจที่จะมองแต่เห็น..เห็นแบบไม่แยแส..เล่าไม่ถูก รู้แต่มันเปลี่ยนไป...ไม่มองแต่เห็น...ไม่สนใจแต่รู้...

หลังจากได้ อ่าน ท่านไม่มีอะไรโพส ทุกอย่างในร่างกายเหมือนถูกปลดล๊อค ทั้งๆที่ตัวเองไม่รู้ว่าถูกปลดล๊อคจากอะไร แต่หลังจากนั้นมันมีความไม่สนใจและไม่ใส่ใจเกิดขึ้น..เหมือนที่เราไม่สนใจกายแต่เราเห็น เห็นก็เห็นไปไม่แยแส เห็นสภาพความเป็นไปตลอดเวลา เมื่อเห็นก็รู้ แต่ไม่รู้ว่ารู้ถูกหรือรู้ผิด เพราะมีหน้าที่แค่เห็น...เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็คิดได้ว่า ทุกอย่างเราต้องเรียนรู้ รู้ในสิ่งที่ผิด และต่อไปเราก็จะรู้ในสิ่งที่ถูก..ทุกอย่างต้องใช้เวลาในการเป็นไป ในการเรียนรู้..เมื่่อเดินต่อๆไป เมื่อปัญญาถึงเราก็รู้ถูกได้เอง ขอเพียงไม่หยุดเดิน :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
เริ่มต้นด้วยการดู และจบลงด้วยการ ช่างมัน

การดูนั้น เป็นลักษณะของการวนขันธ์ เอาขันธ์รู้ ไปคอยดูธาตุและขันธ์อื่น ๆ
ซึ่งมันยังคงวนในขันธ์ห้านี้ ไม่อาจนอกเหนือขันธ์ไปได้ มันจึงยากที่จะหาที่จบได้

ส่วนการช่างมัน เป็นการตัด หรือเรียกว่า ยุติเหตุ อันเป็นวังวนของสังสารวัฏนี้
เมื่อช่างมันแล้ว นั่นหมายถึง ไม่เอา ช่างมัน ไม่ยึด ไม่เกาะ ในสิ่งเหล่านั้นอีก

ดังนั้นถ้าช่างมันจริง คำว่าเบากาย เบาจิต ก็ไม่เอาเช่นกัน
ถ้ายังมีก็แสดงว่ายัง ช่างมันไม่จริง ช่างมันแค่บางส่วน
เพราะฉะนั้นก็ปล่อยทั้งหมดนั่นแหละ ช่างมัน

กายและจิตนี้ เป็นเสมือนแค่เครื่องมือชิ้นหนึ่ง เมื่อจะใช้ก็หยิบมันขึ้นมาใช้
ใช้เสร็จก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คากับมันอีก
เมื่อยามไม่มีอะไรจะใช้มัน ก็ปล่อย หรือ ช่างมัน หรือ สักแต่ว่า

กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

ท่านให้ปล่อยขันธ์ห้า ไม่ใช่ให้เข้าไปแบก
เราต่างก็เข้าไปเจริญในขันธ์ห้า เพื่อจะปล่อย หรือเลิกยึดขันธ์ห้านี้
แต่กลับไม่ฉุกคิดกันเลยว่า มันเป็นการเข้าไปแบก เข้าไปยิ่งยึดติดมากยิ่งขึ้น
แม้จะปล่อยบางขันธ์ได้ แต่กลับต้องไปยึดในบางขันธ์มากขึ้นแทน

เราต่างถูกสอนให้ยึดในขันธ์ห้ามา ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้ว
จนไม่รู้ว่า การปล่อย นั้นเป็นเช่นไร มีแต่ปล่อยขันธ์หนึ่ง ก็ไปเกาะอีกขันธ์
ปล่อยกาย ก็ไปเกาะจิต ปล่อยจิตก็ไปเกาะกาย
ปล่อยโลกภายนอก ก็หนีเข้าไปเกาะในโลกภายใน
เมื่อโลกภายในไม่ไหวก็โดดออกมาสู่โลกภายโลกใหม่อีก
หมุ่นเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

หนีภาระทางโลกมาเจอภาระทางธรรมอีก มันก็ยังเป็นภาระเช่นเดิม
หนีความทุกข์ทางโลก มาเจอทุกข์แห่งการปฏิบัติธรรมอีก

ธรรม นี้ ไม่เป็นภาระกับสิ่งใดหรือผู้ใด
ธรรมของพระองค์เป็นการปลดเปลื่องภาระ ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้ตื่นจากความ หลง เพื่อยุติสังสารวัฏ นอกเหนือสุข นอกเหนือทุกข์

สิ่งที่นอกเหนือจากสังสารวัฎนั้น คือ นิพพาน
สิ่งที่นอกเหนือนิพพาน ก็คือ สารวัฎ
เมื่อไม่ตรงต่อพระนิพพาน นั่นย่อมหมายถึง ตรงต่อสังสารวัฎ
มันไม่มีอะไรมาก


วิปัสสนา หัวตอ :b19:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่มีอะไร เขียน
กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ


ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าไปดู ไปรู้ กำหนด เพราะเห็นเหตุของธรรม และผลที่ได้คือน้อมลงสู่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาครับ ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุ เช่น หากตาบอดหรือหลับตาลง จะมองเห็นอะไรครับ แล้วเราจะเข้าใจธรรมนี้ว่าอย่างไร หากขาดสติ เราจะกำหนดรู้ได้ชัดแค่ไหน เหมือนเหล็กที่ต้องการแปรรูป วางไว้เฉยๆ นอกจากจะไร้ประโยชน์ แล้วยังเป็นสนิมอีกด้วย เพราะไม่ต้องไปแบกไปทำอะไรมัน แต่หากเอาเหล็กไปเผาไฟ กว่าเหล็กจะร้อนแดงมันก็ต้องเหนื่อยหน่่อย เสียแรงกายไปเยอะ แล้วไหนต้องมันดัดมาทุบเหล็กเพื่อขึ้นรูปอีก แต่เหนื่อยแล้วงานก็เสร็จสำเร็จลง ดังนั้น วกเข้าในเรื่องกำหนดรู้ธรรมเพราะรู้ว่าเหตุเกิดของธรรมนั้นเพราะอาศัยอะไร เพราะผลของการเข้าไปรู้ จึงเห็น นั่นคือมีความเพียร

จะจำแนกแค่กายกับจิตก็ดูเหมือนขาดความสมบูรณ์ครับ เพราะขันธ์5 จำแนกเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต้องละเอียดลงมาครับว่ากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ จะพูดเรื่องรูปก็ต้องบอกว่ารูป จะพูดเรื่องกายวิญญาณก็ต้องบอกว่าผัสสะที่เิกิดจากกายวิญญาณ จะพูดเรื่องธาตุรู้ก็ต้องบอกเรื่องธาตุรู้ครับ กายกับจิตจึงเป็นคำพูดที่พิจารณาไม่ได้ว่ากำลงพูดเรื่องอะไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 15:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ้างคำพูด:
ไม่มีอะไร เขียน
กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ


ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าไปดู ไปรู้ กำหนด เพราะเห็นเหตุของธรรม และผลที่ได้คือน้อมลงสู่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาครับ ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุ เช่น หากตาบอดหรือหลับตาลง จะมองเห็นอะไรครับ แล้วเราจะเข้าใจธรรมนี้ว่าอย่างไร หากขาดสติ เราจะกำหนดรู้ได้ชัดแค่ไหน เหมือนเหล็กที่ต้องการแปรรูป วางไว้เฉยๆ นอกจากจะไร้ประโยชน์ แล้วยังเป็นสนิมอีกด้วย เพราะไม่ต้องไปแบกไปทำอะไรมัน แต่หากเอาเหล็กไปเผาไฟ กว่าเหล็กจะร้อนแดงมันก็ต้องเหนื่อยหน่่อย เสียแรงกายไปเยอะ แล้วไหนต้องมันดัดมาทุบเหล็กเพื่อขึ้นรูปอีก แต่เหนื่อยแล้วงานก็เสร็จสำเร็จลง ดังนั้น วกเข้าในเรื่องกำหนดรู้ธรรมเพราะรู้ว่าเหตุเกิดของธรรมนั้นเพราะอาศัยอะไร เพราะผลของการเข้าไปรู้ จึงเห็น นั่นคือมีความเพียร

จะจำแนกแค่กายกับจิตก็ดูเหมือนขาดความสมบูรณ์ครับ เพราะขันธ์5 จำแนกเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต้องละเอียดลงมาครับว่ากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ จะพูดเรื่องรูปก็ต้องบอกว่ารูป จะพูดเรื่องกายวิญญาณก็ต้องบอกว่าผัสสะที่เิกิดจากกายวิญญาณ จะพูดเรื่องธาตุรู้ก็ต้องบอกเรื่องธาตุรู้ครับ กายกับจิตจึงเป็นคำพูดที่พิจารณาไม่ได้ว่ากำลงพูดเรื่องอะไร


ดิฉันเป็นคนที่ไม่มีความรู้อะไรมากมาย และอ่านข้อธรรมลักษณะที่ท่านๆคุยกันเป็นปกติไม่รู้เรื่อง แต่ในหัวข้อนี้ ดิฉันเข้าใจว่า

กาย หมายถึง รูป(ธาตุๅ4)

จิต หมายถึง จิตที่เสวยอารมณ์(เวทนา จิตตา ธรรมา) หรือ นาม คะ :b8:

รูป(ธาตุ4)และจิตที่เสวยอารมณ์นี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู(เพ่ง) เข้าไปรู้(จากการเพ่ง) หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

เมื่อดิฉันอ่าน ดิฉันเข้าใจอย่างนี้ และคิดว่า ที่ ท่านไม่มีอะไรโพสแบบนั้น เพื่อให้คนโง่อย่างดิฉันเข้าใจโดยการยืมคำที่ดิฉันใช้ มาบอกต่อดิฉันอีกทีเพื่อให้ดิฉันได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะคะ :b8:

มันอาจจะผิดจุดประสงค์ของ ท่าน ไม่มีอะไร ในการเขียน ยังไงให้ท่านไม่มีอะไรมาชี้แจงเองดีกว่าคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 18:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
วิปัสสนา หัวตอ :b19:


หมายฟามว่างั้ย..!..นี้.
:b13: :b13: .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 18:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เข้าไปแบก...มันจึงสงบ...
มันเป็นสมาธิ...ธรรมดานี้แหละ....เป็นสัมมาสมาธิ....

จะวิปัสสนา...ให้เกิดปัญญาถอดถอน...ได้....ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์...แล้วจะไปเบื่อหน่ายกับอะไร..

ถ้าไม่ดู..กาย..เวทนา..จิต...ธรรม....แล้วจะไปเห็นไตรลักษณ์จากที่ไหน?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 22:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา หัวตอ
จริง ๆ มันยิ่งกว่า หัวต่อ เพราะมันไร้ตอ
ไร้ตัวไร้ตน

การช่างมันนั้น เป็นการตัด หยุด การเข้าการออกของจิตรู้ ช่างมัน
ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดโมหะครั้งหนึ่ง
เพราะหยุดก่อตัวตนขึ้นคืออัตตาเข้าไปสานต่อกับผัสสะนั้นอีก

ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดตัณหาครั้งหนึ่ง
เพราะตัดการต่อของผัสสะนั้นจนเกิดความอยากและไม่อยาก

ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดอุปาทานครัังหนึ่ง
เพราะตัดการยึดมั่นถือมั่นในผัสสะนั้น
หรือต่อเรื่องราวต่าง ๆที่จะต่อออกไปจากผัสสะนั้น

ช่างมันครั้งหนึ่งก็เป็นการนอกเหนือกรรมเก่าครั้งหนึ่ง
เพราะไม่เข้าไปเสวยผลในผัสสะน้้น กรรมเก่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่สามารถนอกเหนือมันได้

ช่างมันครั้งหนึ่งก็เป็นการหยุดสร้างกรรมครั้งหนึ่ง
เพราะการเข้าไปรับรู้ผัสสะนั้น ก็คือการเข้าไปสู่วงเวียนของวัฎฎะ

เอารู้ไปรู้ผัสสะ ไปยกสัญญาขึ้นมาเป็นฐาน
หยิบเอาความคิดมาใช้พิจารณา เมื่อมีผัสสะเวทนาย่อมเกิด
เริ่มจากผัสสะหนึ่งครั้ง แล้วตามไป ไหลไปตาม จนเกิดผัสสะขึ้นอีกกี่ครั้ง
แล้วเวทนาจะเกิดตามผัสสะที่เพิ่มขึ้น จนมโนไม่ไหว ออกมาทางวจี และกายต่อไปอีก
แล้วกรรมที่เกิดจากเจตนาที่เข้าไปตั้งแต่ผัสสะแรก จนถึงจบ อันมีมโนกรรม วจีกรรม
และกายกรรมอีก โดยฉะเพราะมโนกรรมนี่ สร้างมากจนไม่รู้ตัวกัน
อย่าเห็นว่ามโนกรรมที่เป็นนามธรรมนี่ไม่สำคัญ

เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของกรรมทั้งหลาย ที่พาให้เรา ๆ ท่าน ๆ วนอยู่ในวัฎฎะนี้
กรรมนี้ไม่ว่าจะ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม มันก็ต้องเข้าไปรับ และเข้าไปใช้
และเมื่อเข้าไปรับหรือใช้กรรมแล้ว ย่อมก่อเกิดกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยเหตุแห่ง
เวทนาในกรรมเหล่านั้น มันจึงเป็นการต่อกรรมที่ไม่มีวันจบ

การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ หยุดวัฏฏะครั้งหนึ่ง
การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ การคลายออกจากกิเลสกรรมทั้งหลายครั้งหนึ่ง
การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ การตรงต่ออนิจจังครั้งหนึ่ง
ทำไมถึงตรงต่ออนิจจัง เพราะเนื้อแท้ของอนิจจังนั้น
คือ สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย
หรือพูดง่าย ๆ คือ ทุกอย่างเป็นแค่ ของชั่วคราว เกิด ดับ ๆ อยู่ตลอด
ยึดไม่ได้ ถึงยึดก็ยึดไม่อยู่ แค่ชั่วคราว

ทุกผัสสะที่ผ่านมาทั้งชีวิต มันก็จางหายไป ผ่านไปทุกผัสสะ
อารมณ์คิดมากี่ร้อยอารมณ์ มันก็ผ่านไปทุกร้อยอารมณ์ ด้วยอนิจจัง
ก็ลองมองดูซิ กายนี้มันก็เปลี่ยนไปตลอด ด้วยตามกฏของอนิจจัง
นามขันธ์ทั้งสี่ วัน ๆ มันเกิดดับ ไม่รู้เท่าไหร่ เห็นบ้างไหม
มีอะไรที่ยึดได้บ้าง มีอะไรที่มันคงอยู่ได้

เหล็กที่ว่าแข็งแกร่งก็ยังพุกร่อน หินผาอันยิ่งใหญ่ก็ยังพังและแตกในตัวมันเอง
มีอะไรที่นอกเหนืออนิจจังได้หรือ ไม่เลย
ในวัฏฏะนีไม่มีอะไรอยู่เหนืออนิจจังได้เลย
ขันธ์ห้านี้ อนิจจัง กิเลสก็อนิจจัง กรรมก็อนัจจัง

เราไม่มีการคงรู้ไว้กับสิ่งหนึ่งตลอด ไม่คิดเรื่องหนึ่งตลอด
ไม่จำแต่เรื่องหนึ่งตลอด และไม่รู้สึกกับสิ่งหนึ่งได้ตลอด
เช่นกัน เราไม่ได้หลงสิ่งหนึ่งตลอด ตัณหาในสิ่งหนึ่งตลอด หรือยึดอะไรสักอย่างหนึ่งตลอด
กรรมก็ไม่ได้ให้ผลสิ่งหนึ่งตลอด ทุกอย่างมันผันแปรเปลี่ยนไปเรื่อย ตามเหตุและปัจจัย
แต่ก็ไม่อาจนอกเหนืออนิจจังได้

นั่งก็นั่งทิ้งทุกวัน เดินก็เดินทิ้งทุกก้าว นอนก็นอนทิ้งทุกคืนวัน
ทำก็ทำทิ้งมาทั้งชีวิต
แม้อนาคตที่ยังมาไม่ถึง เมื่อมาถึงมันก็ต้องผ่านไป
แล้วจะไปอยู่ตรงไหนของกาลเวลา มันอนิจจังตลอด
เพราะธรรมนี้ อนัตตา มันจึงไร้การเป็นการอยู่
นอกเหนือความเป็นอยู่ มันจึงนอกเหนือกาลเวลา

เมื่อทุกสิ่งอนิจจัง มันจึง จายหายไปของมันเอง
จบเอง ดับเอง หลุดเอง คลายออกเอง วางเอง
ไม่ยึดในตัวมันเอง ดูดี ๆ นะครับ ทุกอย่างไม่ยึดในตัวมันเองอยู่แล้ว

เพราะมันอนิจจังตลอด มันจึงไม่ยึดในตัวมันเอง
แต่ที่ทุกวันนี้ เรา ๆ ท่าน ๆ ยังหลงยึด ก็ด้วยเหตุแห่งความหลงที่เข้าไปยึด
มันจึงหลงเข้าไปปล่อยอีก เป็นเหตุเป็นปัจจัยไปเรื่อย

ไม่ต้องมีเราเข้าไปทำอะไรมันอีก
เพราะสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นธรรมของมันเองอยู่แล้ว
เป็นธรรมโดยธรรมของมันเองอย่างนั้นอยู่แล้ว

ทุกความเกิด ในวัฏฏะนี้
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดเอง หรือเราทำให้เกิด
ไม่ว่าจะมีเราเข้าไปทำให้สรรพสิ่งนั้นคงอยู่ หรือ สรรพสิ่งนั้นคงอยู่เอง
แต่ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่อาจนอกเหนืออนิจจังได้ เพียงแต่แค่ช้าหรือเร็วเท่านั้น

เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น ไม่ว่าภายในหรือภายนอกกายนี้
มันอนิจจังเร็ว ก็อยากให้มันช้า เมื่อมันอนิจจังช้าก็อยากให้มันเร็ว
หรือยิ่งไปกว่า มันไม่ได้เกิดแต่อยากให้เกิด
มันจึงเข้าทางตัณหา

เราไม่มีหน้าที่ไปทำให้อะไรเกิดหรืออะไรดับ ในมายาภพนี้
เพราะทุกอย่างเป็นธรรมโดยธรรมของมันเองอยู่แล้ว
มันเกิดด้วยเหตุของมัน และดับของมันเอง
ส่วนกายและจิตหรือนามขันธ์ทั้งสี่นี้ มันก็อยู่โดยกรรมเป็นผู้อุปถัมภ์อยู่แล้ว
แล้วจะหลงเข้าไปเสวยกรรมและสร้างกรรมอยู่อย่างนั้นทำไม

31ภพภูมินี้ ล้วนเป็นที่ใช้กรรม
เป็นเพียงเปลี่ยนที่ใช้กรรม เปลี่ยนร่างใช้เวร
เป็นเพียง ธาตุแปรธาตุ ขันธ์กระทบขันธ์
ไม่มีอะไรยึดอะไรได้ ไม่มีอะไรเป็นของใคร
ผ่านมาก็ผ่านไป แล้ว ๆ ไปตลอดสาย
ก็แค่ ของชั่วคราว ที่ไม่ใช่เราเขาที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของได้
และไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือได้ ก็ด้วยเหตุที่เป็นของชั่วคราว
ไม่คงอยู่ เดี๋ยวมา เดี๋ยวก็ไป จึงไร้ตัวไร้ตน ที่จะไปยึดมันได้
เสมือนภาพมายาที่ ดูเหมือนมี แต่สุดท้ายก็เอาอะไรไม่ได้เลย

อย่าบอกนะว่าได้กุศลและอกุศล
ทั้งสองสิ่งนี้ยัง เป็น เนื้อหาของสังสารวัฎ 31 ภพภูมินั่นแหละ
เพราะนิพพานนั้น นอกเหนือ กุศลและอกุศล
กุศลและอกุศลนั้นยังเนื่องด้วย ขันธ์
แต่นิพพานนั้น นอกเหนือขันธ์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องไปตีความในนิพพาน
หรือแสวงหานิพพาน ด้วยขันธ์ห้านี้
เมื่อนอกเหนือขันธ์ห้า ก็เมื่อนั้น

สักแต่ว่า คำนี้ บางคนฟังไม่เข้าใจ ก็เอาง่าย ๆ
คือเริ่มต้นด้วย ช่างมัน นี่แหละ แล้วมันจะต่อด้วย สักแต่ว่าเอง


แค่นี้ก่อน ไว้มาเล่าให้ฟังใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 00:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
วิปัสสนา หัวตอ
จริง ๆ มันยิ่งกว่า หัวต่อ เพราะมันไร้ตอ
ไร้ตัวไร้ตน

การช่างมันนั้น เป็นการตัด หยุด การเข้าการออกของจิตรู้ ช่างมัน
ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดโมหะครั้งหนึ่ง
เพราะหยุดก่อตัวตนขึ้นคืออัตตาเข้าไปสานต่อกับผัสสะนั้นอีก

ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดตัณหาครั้งหนึ่ง
เพราะตัดการต่อของผัสสะนั้นจนเกิดความอยากและไม่อยาก

ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดอุปาทานครัังหนึ่ง
เพราะตัดการยึดมั่นถือมั่นในผัสสะนั้น
หรือต่อเรื่องราวต่าง ๆที่จะต่อออกไปจากผัสสะนั้น

ช่างมันครั้งหนึ่งก็เป็นการนอกเหนือกรรมเก่าครั้งหนึ่ง
เพราะไม่เข้าไปเสวยผลในผัสสะน้้น กรรมเก่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่สามารถนอกเหนือมันได้

ช่างมันครั้งหนึ่งก็เป็นการหยุดสร้างกรรมครั้งหนึ่ง
เพราะการเข้าไปรับรู้ผัสสะนั้น ก็คือการเข้าไปสู่วงเวียนของวัฎฎะ

เอารู้ไปรู้ผัสสะ ไปยกสัญญาขึ้นมาเป็นฐาน
หยิบเอาความคิดมาใช้พิจารณา เมื่อมีผัสสะเวทนาย่อมเกิด
เริ่มจากผัสสะหนึ่งครั้ง แล้วตามไป ไหลไปตาม จนเกิดผัสสะขึ้นอีกกี่ครั้ง
แล้วเวทนาจะเกิดตามผัสสะที่เพิ่มขึ้น จนมโนไม่ไหว ออกมาทางวจี และกายต่อไปอีก
แล้วกรรมที่เกิดจากเจตนาที่เข้าไปตั้งแต่ผัสสะแรก จนถึงจบ อันมีมโนกรรม วจีกรรม
และกายกรรมอีก โดยฉะเพราะมโนกรรมนี่ สร้างมากจนไม่รู้ตัวกัน
อย่าเห็นว่ามโนกรรมที่เป็นนามธรรมนี่ไม่สำคัญ

เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของกรรมทั้งหลาย ที่พาให้เรา ๆ ท่าน ๆ วนอยู่ในวัฎฎะนี้
กรรมนี้ไม่ว่าจะ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม มันก็ต้องเข้าไปรับ และเข้าไปใช้
และเมื่อเข้าไปรับหรือใช้กรรมแล้ว ย่อมก่อเกิดกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยเหตุแห่ง
เวทนาในกรรมเหล่านั้น มันจึงเป็นการต่อกรรมที่ไม่มีวันจบ

การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ หยุดวัฏฏะครั้งหนึ่ง
การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ การคลายออกจากกิเลสกรรมทั้งหลายครั้งหนึ่ง
การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ การตรงต่ออนิจจังครั้งหนึ่ง
ทำไมถึงตรงต่ออนิจจัง เพราะเนื้อแท้ของอนิจจังนั้น
คือ สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย
หรือพูดง่าย ๆ คือ ทุกอย่างเป็นแค่ ของชั่วคราว เกิด ดับ ๆ อยู่ตลอด
ยึดไม่ได้ ถึงยึดก็ยึดไม่อยู่ แค่ชั่วคราว

ทุกผัสสะที่ผ่านมาทั้งชีวิต มันก็จางหายไป ผ่านไปทุกผัสสะ
อารมณ์คิดมากี่ร้อยอารมณ์ มันก็ผ่านไปทุกร้อยอารมณ์ ด้วยอนิจจัง
ก็ลองมองดูซิ กายนี้มันก็เปลี่ยนไปตลอด ด้วยตามกฏของอนิจจัง
นามขันธ์ทั้งสี่ วัน ๆ มันเกิดดับ ไม่รู้เท่าไหร่ เห็นบ้างไหม
มีอะไรที่ยึดได้บ้าง มีอะไรที่มันคงอยู่ได้

เหล็กที่ว่าแข็งแกร่งก็ยังพุกร่อน หินผาอันยิ่งใหญ่ก็ยังพังและแตกในตัวมันเอง
มีอะไรที่นอกเหนืออนิจจังได้หรือ ไม่เลย
ในวัฏฏะนีไม่มีอะไรอยู่เหนืออนิจจังได้เลย
ขันธ์ห้านี้ อนิจจัง กิเลสก็อนิจจัง กรรมก็อนัจจัง

เราไม่มีการคงรู้ไว้กับสิ่งหนึ่งตลอด ไม่คิดเรื่องหนึ่งตลอด
ไม่จำแต่เรื่องหนึ่งตลอด และไม่รู้สึกกับสิ่งหนึ่งได้ตลอด
เช่นกัน เราไม่ได้หลงสิ่งหนึ่งตลอด ตัณหาในสิ่งหนึ่งตลอด หรือยึดอะไรสักอย่างหนึ่งตลอด
กรรมก็ไม่ได้ให้ผลสิ่งหนึ่งตลอด ทุกอย่างมันผันแปรเปลี่ยนไปเรื่อย ตามเหตุและปัจจัย
แต่ก็ไม่อาจนอกเหนืออนิจจังได้

นั่งก็นั่งทิ้งทุกวัน เดินก็เดินทิ้งทุกก้าว นอนก็นอนทิ้งทุกคืนวัน
ทำก็ทำทิ้งมาทั้งชีวิต
แม้อนาคตที่ยังมาไม่ถึง เมื่อมาถึงมันก็ต้องผ่านไป
แล้วจะไปอยู่ตรงไหนของกาลเวลา มันอนิจจังตลอด
เพราะธรรมนี้ อนัตตา มันจึงไร้การเป็นการอยู่
นอกเหนือความเป็นอยู่ มันจึงนอกเหนือกาลเวลา

เมื่อทุกสิ่งอนิจจัง มันจึง จายหายไปของมันเอง
จบเอง ดับเอง หลุดเอง คลายออกเอง วางเอง
ไม่ยึดในตัวมันเอง ดูดี ๆ นะครับ ทุกอย่างไม่ยึดในตัวมันเองอยู่แล้ว

เพราะมันอนิจจังตลอด มันจึงไม่ยึดในตัวมันเอง
แต่ที่ทุกวันนี้ เรา ๆ ท่าน ๆ ยังหลงยึด ก็ด้วยเหตุแห่งความหลงที่เข้าไปยึด
มันจึงหลงเข้าไปปล่อยอีก เป็นเหตุเป็นปัจจัยไปเรื่อย

ไม่ต้องมีเราเข้าไปทำอะไรมันอีก
เพราะสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นธรรมของมันเองอยู่แล้ว
เป็นธรรมโดยธรรมของมันเองอย่างนั้นอยู่แล้ว

ทุกความเกิด ในวัฏฏะนี้
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดเอง หรือเราทำให้เกิด
ไม่ว่าจะมีเราเข้าไปทำให้สรรพสิ่งนั้นคงอยู่ หรือ สรรพสิ่งนั้นคงอยู่เอง
แต่ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่อาจนอกเหนืออนิจจังได้ เพียงแต่แค่ช้าหรือเร็วเท่านั้น

เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น ไม่ว่าภายในหรือภายนอกกายนี้
มันอนิจจังเร็ว ก็อยากให้มันช้า เมื่อมันอนิจจังช้าก็อยากให้มันเร็ว
หรือยิ่งไปกว่า มันไม่ได้เกิดแต่อยากให้เกิด
มันจึงเข้าทางตัณหา

เราไม่มีหน้าที่ไปทำให้อะไรเกิดหรืออะไรดับ ในมายาภพนี้
เพราะทุกอย่างเป็นธรรมโดยธรรมของมันเองอยู่แล้ว
มันเกิดด้วยเหตุของมัน และดับของมันเอง
ส่วนกายและจิตหรือนามขันธ์ทั้งสี่นี้ มันก็อยู่โดยกรรมเป็นผู้อุปถัมภ์อยู่แล้ว
แล้วจะหลงเข้าไปเสวยกรรมและสร้างกรรมอยู่อย่างนั้นทำไม

31ภพภูมินี้ ล้วนเป็นที่ใช้กรรม
เป็นเพียงเปลี่ยนที่ใช้กรรม เปลี่ยนร่างใช้เวร
เป็นเพียง ธาตุแปรธาตุ ขันธ์กระทบขันธ์
ไม่มีอะไรยึดอะไรได้ ไม่มีอะไรเป็นของใคร
ผ่านมาก็ผ่านไป แล้ว ๆ ไปตลอดสาย
ก็แค่ ของชั่วคราว ที่ไม่ใช่เราเขาที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของได้
และไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือได้ ก็ด้วยเหตุที่เป็นของชั่วคราว
ไม่คงอยู่ เดี๋ยวมา เดี๋ยวก็ไป จึงไร้ตัวไร้ตน ที่จะไปยึดมันได้
เสมือนภาพมายาที่ ดูเหมือนมี แต่สุดท้ายก็เอาอะไรไม่ได้เลย

อย่าบอกนะว่าได้กุศลและอกุศล
ทั้งสองสิ่งนี้ยัง เป็น เนื้อหาของสังสารวัฎ 31 ภพภูมินั่นแหละ
เพราะนิพพานนั้น นอกเหนือ กุศลและอกุศล
กุศลและอกุศลนั้นยังเนื่องด้วย ขันธ์
แต่นิพพานนั้น นอกเหนือขันธ์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องไปตีความในนิพพาน
หรือแสวงหานิพพาน ด้วยขันธ์ห้านี้
เมื่อนอกเหนือขันธ์ห้า ก็เมื่อนั้น

สักแต่ว่า คำนี้ บางคนฟังไม่เข้าใจ ก็เอาง่าย ๆ
คือเริ่มต้นด้วย ช่างมัน นี่แหละ แล้วมันจะต่อด้วย สักแต่ว่าเอง


แค่นี้ก่อน ไว้มาเล่าให้ฟังใหม่


:b8: :b8: สาธุคะ มาเล่าให้ฟังบ่อยนะคะ เพราะเป็นครั้งแรกที่อ่านเข้าใจทั้งหมดของเนื้อความ ปกตินะโง่นะค่ะ อ่านของท่านอื่นๆไม่เข้าใจ :b9: ...อ่านข้อความของท่านไม่มีอะไรแล้ว มันนึกถึงคำว่า สัจจธรรมได้นะคะ เอ..ดิฉันไม่เก่งในข้อธรรมหรือศัทพ์ธรรมซะด้วยซิ แต่ดิฉันอ่านแล้ว รู้สึกด้วยจิตโง่ๆของตัวเองว่า ทุกอย่างที่อ่านแล้ว เป็นความจริงที่เถียงไม่ได้ และเป็นความจริงที่เข้าใจได้ง่ายมากด้วยนะค่ะ

กราบขอบพระคุณ ที่มาให้ความรู้นะค่ะ :b8: และก็กราบขอบพระคุณท่านเช่นนั้นที่มาโพส ทำให้ ท่านไม่มีอะไร มาตอบให้ความรู้เพิ่มเติมให้นะคะ :b8: :b8: โมทนากับท่านทั้งสองท่านด้วยนะคะ สาธุ สาธุ สาธุคะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
วิปัสสนา หัวตอ
จริง ๆ มันยิ่งกว่า หัวต่อ เพราะมันไร้ตอ
ไร้ตัวไร้ตน

การช่างมันนั้น เป็นการตัด หยุด การเข้าการออกของจิตรู้ ช่างมัน
ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดโมหะครั้งหนึ่ง
เพราะหยุดก่อตัวตนขึ้นคืออัตตาเข้าไปสานต่อกับผัสสะนั้นอีก

ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดตัณหาครั้งหนึ่ง
เพราะตัดการต่อของผัสสะนั้นจนเกิดความอยากและไม่อยาก

ช่างมันครั้งหนึ่งก็ตัดอุปาทานครัังหนึ่ง
เพราะตัดการยึดมั่นถือมั่นในผัสสะนั้น
หรือต่อเรื่องราวต่าง ๆที่จะต่อออกไปจากผัสสะนั้น

ช่างมันครั้งหนึ่งก็เป็นการนอกเหนือกรรมเก่าครั้งหนึ่ง
เพราะไม่เข้าไปเสวยผลในผัสสะน้้น กรรมเก่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่สามารถนอกเหนือมันได้

ช่างมันครั้งหนึ่งก็เป็นการหยุดสร้างกรรมครั้งหนึ่ง
เพราะการเข้าไปรับรู้ผัสสะนั้น ก็คือการเข้าไปสู่วงเวียนของวัฎฎะ

เอารู้ไปรู้ผัสสะ ไปยกสัญญาขึ้นมาเป็นฐาน
หยิบเอาความคิดมาใช้พิจารณา เมื่อมีผัสสะเวทนาย่อมเกิด
เริ่มจากผัสสะหนึ่งครั้ง แล้วตามไป ไหลไปตาม จนเกิดผัสสะขึ้นอีกกี่ครั้ง
แล้วเวทนาจะเกิดตามผัสสะที่เพิ่มขึ้น จนมโนไม่ไหว ออกมาทางวจี และกายต่อไปอีก
แล้วกรรมที่เกิดจากเจตนาที่เข้าไปตั้งแต่ผัสสะแรก จนถึงจบ อันมีมโนกรรม วจีกรรม
และกายกรรมอีก โดยฉะเพราะมโนกรรมนี่ สร้างมากจนไม่รู้ตัวกัน
อย่าเห็นว่ามโนกรรมที่เป็นนามธรรมนี่ไม่สำคัญ

เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของกรรมทั้งหลาย ที่พาให้เรา ๆ ท่าน ๆ วนอยู่ในวัฎฎะนี้
กรรมนี้ไม่ว่าจะ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม มันก็ต้องเข้าไปรับ และเข้าไปใช้
และเมื่อเข้าไปรับหรือใช้กรรมแล้ว ย่อมก่อเกิดกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยเหตุแห่ง
เวทนาในกรรมเหล่านั้น มันจึงเป็นการต่อกรรมที่ไม่มีวันจบ

การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ หยุดวัฏฏะครั้งหนึ่ง
การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ การคลายออกจากกิเลสกรรมทั้งหลายครั้งหนึ่ง
การช่างมันครั้งหนึ่ง ก็คือ การตรงต่ออนิจจังครั้งหนึ่ง
ทำไมถึงตรงต่ออนิจจัง เพราะเนื้อแท้ของอนิจจังนั้น
คือ สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย
หรือพูดง่าย ๆ คือ ทุกอย่างเป็นแค่ ของชั่วคราว เกิด ดับ ๆ อยู่ตลอด
ยึดไม่ได้ ถึงยึดก็ยึดไม่อยู่ แค่ชั่วคราว

ทุกผัสสะที่ผ่านมาทั้งชีวิต มันก็จางหายไป ผ่านไปทุกผัสสะ
อารมณ์คิดมากี่ร้อยอารมณ์ มันก็ผ่านไปทุกร้อยอารมณ์ ด้วยอนิจจัง
ก็ลองมองดูซิ กายนี้มันก็เปลี่ยนไปตลอด ด้วยตามกฏของอนิจจัง
นามขันธ์ทั้งสี่ วัน ๆ มันเกิดดับ ไม่รู้เท่าไหร่ เห็นบ้างไหม
มีอะไรที่ยึดได้บ้าง มีอะไรที่มันคงอยู่ได้

เหล็กที่ว่าแข็งแกร่งก็ยังพุกร่อน หินผาอันยิ่งใหญ่ก็ยังพังและแตกในตัวมันเอง
มีอะไรที่นอกเหนืออนิจจังได้หรือ ไม่เลย
ในวัฏฏะนีไม่มีอะไรอยู่เหนืออนิจจังได้เลย
ขันธ์ห้านี้ อนิจจัง กิเลสก็อนิจจัง กรรมก็อนัจจัง

เราไม่มีการคงรู้ไว้กับสิ่งหนึ่งตลอด ไม่คิดเรื่องหนึ่งตลอด
ไม่จำแต่เรื่องหนึ่งตลอด และไม่รู้สึกกับสิ่งหนึ่งได้ตลอด
เช่นกัน เราไม่ได้หลงสิ่งหนึ่งตลอด ตัณหาในสิ่งหนึ่งตลอด หรือยึดอะไรสักอย่างหนึ่งตลอด
กรรมก็ไม่ได้ให้ผลสิ่งหนึ่งตลอด ทุกอย่างมันผันแปรเปลี่ยนไปเรื่อย ตามเหตุและปัจจัย
แต่ก็ไม่อาจนอกเหนืออนิจจังได้

นั่งก็นั่งทิ้งทุกวัน เดินก็เดินทิ้งทุกก้าว นอนก็นอนทิ้งทุกคืนวัน
ทำก็ทำทิ้งมาทั้งชีวิต
แม้อนาคตที่ยังมาไม่ถึง เมื่อมาถึงมันก็ต้องผ่านไป
แล้วจะไปอยู่ตรงไหนของกาลเวลา มันอนิจจังตลอด
เพราะธรรมนี้ อนัตตา มันจึงไร้การเป็นการอยู่
นอกเหนือความเป็นอยู่ มันจึงนอกเหนือกาลเวลา

เมื่อทุกสิ่งอนิจจัง มันจึง จายหายไปของมันเอง
จบเอง ดับเอง หลุดเอง คลายออกเอง วางเอง
ไม่ยึดในตัวมันเอง ดูดี ๆ นะครับ ทุกอย่างไม่ยึดในตัวมันเองอยู่แล้ว

เพราะมันอนิจจังตลอด มันจึงไม่ยึดในตัวมันเอง
แต่ที่ทุกวันนี้ เรา ๆ ท่าน ๆ ยังหลงยึด ก็ด้วยเหตุแห่งความหลงที่เข้าไปยึด
มันจึงหลงเข้าไปปล่อยอีก เป็นเหตุเป็นปัจจัยไปเรื่อย

ไม่ต้องมีเราเข้าไปทำอะไรมันอีก
เพราะสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นธรรมของมันเองอยู่แล้ว
เป็นธรรมโดยธรรมของมันเองอย่างนั้นอยู่แล้ว

ทุกความเกิด ในวัฏฏะนี้
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดเอง หรือเราทำให้เกิด
ไม่ว่าจะมีเราเข้าไปทำให้สรรพสิ่งนั้นคงอยู่ หรือ สรรพสิ่งนั้นคงอยู่เอง
แต่ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่อาจนอกเหนืออนิจจังได้ เพียงแต่แค่ช้าหรือเร็วเท่านั้น

เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น ไม่ว่าภายในหรือภายนอกกายนี้
มันอนิจจังเร็ว ก็อยากให้มันช้า เมื่อมันอนิจจังช้าก็อยากให้มันเร็ว
หรือยิ่งไปกว่า มันไม่ได้เกิดแต่อยากให้เกิด
มันจึงเข้าทางตัณหา

เราไม่มีหน้าที่ไปทำให้อะไรเกิดหรืออะไรดับ ในมายาภพนี้
เพราะทุกอย่างเป็นธรรมโดยธรรมของมันเองอยู่แล้ว
มันเกิดด้วยเหตุของมัน และดับของมันเอง
ส่วนกายและจิตหรือนามขันธ์ทั้งสี่นี้ มันก็อยู่โดยกรรมเป็นผู้อุปถัมภ์อยู่แล้ว
แล้วจะหลงเข้าไปเสวยกรรมและสร้างกรรมอยู่อย่างนั้นทำไม

31ภพภูมินี้ ล้วนเป็นที่ใช้กรรม
เป็นเพียงเปลี่ยนที่ใช้กรรม เปลี่ยนร่างใช้เวร
เป็นเพียง ธาตุแปรธาตุ ขันธ์กระทบขันธ์
ไม่มีอะไรยึดอะไรได้ ไม่มีอะไรเป็นของใคร
ผ่านมาก็ผ่านไป แล้ว ๆ ไปตลอดสาย
ก็แค่ ของชั่วคราว ที่ไม่ใช่เราเขาที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของได้
และไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือได้ ก็ด้วยเหตุที่เป็นของชั่วคราว
ไม่คงอยู่ เดี๋ยวมา เดี๋ยวก็ไป จึงไร้ตัวไร้ตน ที่จะไปยึดมันได้
เสมือนภาพมายาที่ ดูเหมือนมี แต่สุดท้ายก็เอาอะไรไม่ได้เลย

อย่าบอกนะว่าได้กุศลและอกุศล
ทั้งสองสิ่งนี้ยัง เป็น เนื้อหาของสังสารวัฎ 31 ภพภูมินั่นแหละ
เพราะนิพพานนั้น นอกเหนือ กุศลและอกุศล
กุศลและอกุศลนั้นยังเนื่องด้วย ขันธ์
แต่นิพพานนั้น นอกเหนือขันธ์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องไปตีความในนิพพาน
หรือแสวงหานิพพาน ด้วยขันธ์ห้านี้
เมื่อนอกเหนือขันธ์ห้า ก็เมื่อนั้น

สักแต่ว่า คำนี้ บางคนฟังไม่เข้าใจ ก็เอาง่าย ๆ
คือเริ่มต้นด้วย ช่างมัน นี่แหละ แล้วมันจะต่อด้วย สักแต่ว่าเอง


แค่นี้ก่อน ไว้มาเล่าให้ฟังใหม่



พูดแบบนี้ค่อยเป็นไปตามภาษาธรรมดีขึ้นมาหน่อยครับ จำแนกออกมาครับ ว่าจะว่าเหตุก็ยกเหตุ จะว่าผลก็ยกผล เข้าใจครับว่าการปฏิบัตินั้น ไม่ต้องจำเอาทฤษฏีไปปฏิบัติ แต่พอจะเอามาอธิบายเป็นธรรมขั้นปัญญา ต้องมีปฏิยัติมาพูดด้วยครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
student เขียน:
อ้างคำพูด:
ไม่มีอะไร เขียน
กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ


ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าไปดู ไปรู้ กำหนด เพราะเห็นเหตุของธรรม และผลที่ได้คือน้อมลงสู่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาครับ ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุ เช่น หากตาบอดหรือหลับตาลง จะมองเห็นอะไรครับ แล้วเราจะเข้าใจธรรมนี้ว่าอย่างไร หากขาดสติ เราจะกำหนดรู้ได้ชัดแค่ไหน เหมือนเหล็กที่ต้องการแปรรูป วางไว้เฉยๆ นอกจากจะไร้ประโยชน์ แล้วยังเป็นสนิมอีกด้วย เพราะไม่ต้องไปแบกไปทำอะไรมัน แต่หากเอาเหล็กไปเผาไฟ กว่าเหล็กจะร้อนแดงมันก็ต้องเหนื่อยหน่่อย เสียแรงกายไปเยอะ แล้วไหนต้องมันดัดมาทุบเหล็กเพื่อขึ้นรูปอีก แต่เหนื่อยแล้วงานก็เสร็จสำเร็จลง ดังนั้น วกเข้าในเรื่องกำหนดรู้ธรรมเพราะรู้ว่าเหตุเกิดของธรรมนั้นเพราะอาศัยอะไร เพราะผลของการเข้าไปรู้ จึงเห็น นั่นคือมีความเพียร

จะจำแนกแค่กายกับจิตก็ดูเหมือนขาดความสมบูรณ์ครับ เพราะขันธ์5 จำแนกเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต้องละเอียดลงมาครับว่ากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ จะพูดเรื่องรูปก็ต้องบอกว่ารูป จะพูดเรื่องกายวิญญาณก็ต้องบอกว่าผัสสะที่เิกิดจากกายวิญญาณ จะพูดเรื่องธาตุรู้ก็ต้องบอกเรื่องธาตุรู้ครับ กายกับจิตจึงเป็นคำพูดที่พิจารณาไม่ได้ว่ากำลงพูดเรื่องอะไร


ดิฉันเป็นคนที่ไม่มีความรู้อะไรมากมาย และอ่านข้อธรรมลักษณะที่ท่านๆคุยกันเป็นปกติไม่รู้เรื่อง แต่ในหัวข้อนี้ ดิฉันเข้าใจว่า

กาย หมายถึง รูป(ธาตุๅ4)

จิต หมายถึง จิตที่เสวยอารมณ์(เวทนา จิตตา ธรรมา) หรือ นาม คะ :b8:

รูป(ธาตุ4)และจิตที่เสวยอารมณ์นี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู(เพ่ง) เข้าไปรู้(จากการเพ่ง) หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

เมื่อดิฉันอ่าน ดิฉันเข้าใจอย่างนี้ และคิดว่า ที่ ท่านไม่มีอะไรโพสแบบนั้น เพื่อให้คนโง่อย่างดิฉันเข้าใจโดยการยืมคำที่ดิฉันใช้ มาบอกต่อดิฉันอีกทีเพื่อให้ดิฉันได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะคะ :b8:

มันอาจจะผิดจุดประสงค์ของ ท่าน ไม่มีอะไร ในการเขียน ยังไงให้ท่านไม่มีอะไรมาชี้แจงเองดีกว่าคะ :b8:



เข้าใจครับว่าต้องการสื่อถึงการปฏิบัติ แต่เมื่อต้องการจะสื่อแล้วอย่างน้อย เราควรจะรู้ความหมายของอภิธรรมด้วย เพราะว่าเรามีเจตจำนงให้คนอื่นรู้ ความหมายของอภิธรรมนั้น ไม่ใช่จะเอาแต่กายจิต ยกมาพูด อย่างน้อยเราควรจะมีกายศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม กิเลสคืออะไร ผัสสะคืออะไร ขันธ์5คืออะไร เป็นต้น จะบอกว่าความรู้น้อยไม่ได้ เพราะลักษณะการเขียนบ่งบอกว่าคุณก็อ่านออกเขียนได้ดีมาก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 10:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
student เขียน:
อ้างคำพูด:
ไม่มีอะไร เขียน
กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ


ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าไปดู ไปรู้ กำหนด เพราะเห็นเหตุของธรรม และผลที่ได้คือน้อมลงสู่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาครับ ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุ เช่น หากตาบอดหรือหลับตาลง จะมองเห็นอะไรครับ แล้วเราจะเข้าใจธรรมนี้ว่าอย่างไร หากขาดสติ เราจะกำหนดรู้ได้ชัดแค่ไหน เหมือนเหล็กที่ต้องการแปรรูป วางไว้เฉยๆ นอกจากจะไร้ประโยชน์ แล้วยังเป็นสนิมอีกด้วย เพราะไม่ต้องไปแบกไปทำอะไรมัน แต่หากเอาเหล็กไปเผาไฟ กว่าเหล็กจะร้อนแดงมันก็ต้องเหนื่อยหน่่อย เสียแรงกายไปเยอะ แล้วไหนต้องมันดัดมาทุบเหล็กเพื่อขึ้นรูปอีก แต่เหนื่อยแล้วงานก็เสร็จสำเร็จลง ดังนั้น วกเข้าในเรื่องกำหนดรู้ธรรมเพราะรู้ว่าเหตุเกิดของธรรมนั้นเพราะอาศัยอะไร เพราะผลของการเข้าไปรู้ จึงเห็น นั่นคือมีความเพียร

จะจำแนกแค่กายกับจิตก็ดูเหมือนขาดความสมบูรณ์ครับ เพราะขันธ์5 จำแนกเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต้องละเอียดลงมาครับว่ากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ จะพูดเรื่องรูปก็ต้องบอกว่ารูป จะพูดเรื่องกายวิญญาณก็ต้องบอกว่าผัสสะที่เิกิดจากกายวิญญาณ จะพูดเรื่องธาตุรู้ก็ต้องบอกเรื่องธาตุรู้ครับ กายกับจิตจึงเป็นคำพูดที่พิจารณาไม่ได้ว่ากำลงพูดเรื่องอะไร


ดิฉันเป็นคนที่ไม่มีความรู้อะไรมากมาย และอ่านข้อธรรมลักษณะที่ท่านๆคุยกันเป็นปกติไม่รู้เรื่อง แต่ในหัวข้อนี้ ดิฉันเข้าใจว่า

กาย หมายถึง รูป(ธาตุๅ4)

จิต หมายถึง จิตที่เสวยอารมณ์(เวทนา จิตตา ธรรมา) หรือ นาม คะ :b8:

รูป(ธาตุ4)และจิตที่เสวยอารมณ์นี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู(เพ่ง) เข้าไปรู้(จากการเพ่ง) หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

เมื่อดิฉันอ่าน ดิฉันเข้าใจอย่างนี้ และคิดว่า ที่ ท่านไม่มีอะไรโพสแบบนั้น เพื่อให้คนโง่อย่างดิฉันเข้าใจโดยการยืมคำที่ดิฉันใช้ มาบอกต่อดิฉันอีกทีเพื่อให้ดิฉันได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะคะ :b8:

มันอาจจะผิดจุดประสงค์ของ ท่าน ไม่มีอะไร ในการเขียน ยังไงให้ท่านไม่มีอะไรมาชี้แจงเองดีกว่าคะ :b8:



เข้าใจครับว่าต้องการสื่อถึงการปฏิบัติ แต่เมื่อต้องการจะสื่อแล้วอย่างน้อย เราควรจะรู้ความหมายของอภิธรรมด้วย เพราะว่าเรามีเจตจำนงให้คนอื่นรู้ ความหมายของอภิธรรมนั้น ไม่ใช่จะเอาแต่กายจิต ยกมาพูด อย่างน้อยเราควรจะมีกายศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม กิเลสคืออะไร ผัสสะคืออะไร ขันธ์5คืออะไร เป็นต้น จะบอกว่าความรู้น้อยไม่ได้ เพราะลักษณะการเขียนบ่งบอกว่าคุณก็อ่านออกเขียนได้ดีมาก


:b32: :b32: :b12: อ่านแล้วขำคะ :b12: ที่คุณ student บอกว่า ลักษณะการเขียนบ่งบอกว่าคุณก็อ่านออกเขียนได้ดี

:b12: :b12: นี่ยิ้มไม่หุบเลยนะ อารมณ์ดีนะคะ :b12: คือดิฉันพออ่านออกเขียนได้ก๊อกๆแก๊กๆนะคะ 555 แต่อภิธรรมเป็นข้อด้อยของตัวเอง คนเราจะรู้จุดด้อยของตัวเองเสมอ ดิฉันมีปัญหาเรื่องแปลข้อความอภิธรรมให้เป็นคำที่อ่านออกและเข้าใจนั้น ทำได้ยากมาก ดิฉันจะมีปัญหาลักษณะนี้เสมอ.. :b12:

555 และดิฉันก็พออ่านออกเขียนได้ ตำราที่ดิฉันอ่านเพื่อปฎิบัติ ก็ไม่ว่า กรรมฐาน 40 หรือ มหาสติปัฎฐานสี่ ก็เขียนด้วยสำนวนชาวบ้านดิฉันเลยพออ่านออกและเข้าใจได้ง่าย จึงสามารถเรียนรู้และปฎิบัติแบบชาวบ้านๆได้ :b12:

เค้าเรียกว่าอะไรนะคะ :b12: คนเราต่างภูมิ ต่างจริต ต่างปัญญาบารมี ดิฉันเลยไม่สามารถที่จะเรียนรู้ในลักษณะคำพูดของอภิธรรมได้ ซึ่งดิฉันบอกอยู่เสมอว่า ดิฉันอ่านไม่เข้าใจ ก็เพราะปัญญาของดิฉันมีน้อยนั่นเอง.. :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2012, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ถามมาทั้งหมดและสิ่งที่อธิบายมาทั้งหมด สิ่งที่เห็นได้ชัดในการปฎิบัติของคุณสายลมที่พัดผ่านไปก็คือ เป็นการปฎิบัติที่สมาธิล้ำหน้าองค์ธรรมอื่นๆ และคุณยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะพัฒนาการปฎิบัติในขั้นต่อไปให้ไปถึงจุดหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้การปล่อยไปหรือช่างมัน ยังไม่ใช่วิธีการที่องค์คถาคตได้ทรงตรัสสอนไว้ค่ะ คุณเคยได้ยินคำว่า “...เห็นด้วยปัญญาอันชอบ...” หรือรู้เห็นด้วยปัญญาหรือเพ่งด้วยปัญญาบ้างไหมคะ ในทางปฎิบัติสำหรับผู้ที่วิปัสสนายังอ่อน คุณคงต้องเปิดใจที่จะต้องเรียนรู้และน้อมนำวิปัสสนามาใช้ควบคู่กับการปฎิบัติให้มากขึ้นเพื่อความสิ้นอาสวะเพื่อถึงซึ่งธรรมของพระพุทธองค์ดังที่คุณตั้งใจ จริงๆ แล้วด้วยศีลและสมาธิที่ถึงของคุณสายลมที่พัดผ่านไปนี้การเติมด้วยปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้อีกนิดเดียวก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ยากอะไรนัก เราจะค่อยๆ เรียนรู้ควบคู่กันไปก็แล้วกันนะคะ จริงๆ แล้วคำถามของคุณทั้งหมดดิฉันได้ตอบเอาไว้เรียบร้อยแล้วแต่ดิฉันจะค่อยๆ โพสคุยกับคุณไปเรื่อยๆ ดิฉันอยากรู้ความคิดเห็นของคุณในแต่ละเรื่องไปด้วยเพื่อว่าคุณจะได้นำไปใช้ปฎิบัติจริงได้เมื่อเจอสภาวะธรรมในแต่ละอย่างนะค่ะ ดิฉันขอเป็นเพื่อนกับคุณก็แล้วกันนะคะ คุณจะเรียกดิฉันว่าวรรณหรือน้องก็ได้ส่วนมากเพื่อนๆ จะเรียกอย่างนั้น



คำถามประเด็นแรกที่คุณ ถาม
ปัญหามีอยู่ว่า...

เมื่อเราพิจารณาขันธ์ห้า ด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม ตอนแรกเมื่อพิจารณา เมื่อเราดูขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้ารู้สึกหรือแสดงอาการอย่างไร เราจะรู้สึกไปด้วย...เมื่อปฎิบัติไปเรื่อยๆแล้วจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ห้าแสดงอาการอย่างไร หรือเสวยอารมณ์แสดงออกอย่างไร จิตร้อนไปด้วย (เราไม่รู้สึกไปด้วยแล้ว เราเป็เพียงผู้ดู ดูและเห็นว่า เมื่อขันธ์เร่าร้อน จิตก็เร่าร้อนไปด้วย)....เมื่อปฎิบัติต่อไปอีก..จะเห็นว่า เมื่อขันธ์แสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่รู้สึกอะไร จิตจะลอยเป็นอิสระเหนือขันธ์ห้า...

เช่นว่า

เมื่อขันธ์ทุกข์ แรกๆ เราก็จะทุกข์ไปกับขันธ์ด้วย...เมื่อปฎิบัติต่อไปอีกจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์ เราจะรู้สึกว่า จิตเร้าร้อนไปกับขันธ์(เราเป็นคนยืนมอง ขันธ์ทุกข์และจิตเร่าร้อน)..เมื่อปฎิบัติคือดูขันธ์และจิตไปเรื่อยๆจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก(ดิฉันพยายามอธิบายได้แค่นี้นะคะ)



คำตอบ สำหรับนักสมถ ที่ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า หรือเจริญทั้งสมถและวิปัสสนาควบคู่กันไป
สมาธิสำหรับนักปฎิบัติแล้วจะพบว่ามันมีพลังอย่างมาก ตัวดิฉันก็เคยทดลองในเรื่องเวทนาดังกล่าวนี้เช่นกัน มีอยู่ครั้งหนึ่งทำมีดเฉือนปลายนิ้วที่เป็นที่รวมของประสาทสัมผัสออกไปต้องเย็บถึงสามเข็ม พอกลับมาบ้านก็คิดว่าเราจะไม่ทานยาแก้ปวด เพราะเคยอ่านพระอริยะเจ้าหลายรูปรักษาโรคด้วยสมาธิได้ จึงลองกำหนดจิตลงไปที่แขนข้างที่บาดเจ็บนั้นว่าแขนนั้นนั่นไม่ใช่เราเป็นเพียงขันธ์ 5 เท่านั้น กำหนดแค่ประมาณครู่เดียวไม่น่าจะเกิน2-3 นาที ปรากฎว่ารู้สึกชาไปตั้งแต่ข้อศอกลงไปถึงปลายนิ้วเป็นอยู่อย่างนั้น ประมาณ 3 ชั่วโมงกายก็ไม่เจ็บจิตก็ไม่เจ็บรู้สึกเพียงชาๆเท่านั้น แต่หลังจากนั้นแล้วก็กลับมาปวดเหมือนเดิม ไม่กำหนดจิตต่อเพราะรู้แล้วว่าเวทนานี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และก็ดับไป(นี่คือตัวอย่างของการพิจารณาการเกิดดับที่คุณถามคุณstudentนี่เป็นตัวอย่างการพิจารณาการเกิดดับของเวทนา)

อีกทั้งเพราะเวทนากายกับเวทนาจิตจะไม่กระทบกันอยู่แล้ว กายเจ็บแต่จิตกลับเฉยๆ จะมีอาการเหมือนที่คุณเล่ามา คือ “...เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก...” สิ่งที่ปรากฏขึ้นกับคุณ ก็คือลักษณะที่ผู้ปฎิบัติสามารถแยกความรู้สึกเวทนาขันธ์กับเวทนาจิตได้ก็เท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับคนที่ไม่ปฎิบัติคือผู้ไม่ปฎิบัติเมื่อเกิดทุกข์ทั้งทางกายหรือทางใจ ก็ตามเขาก็จะรับเวทนาทั้งทางกายและทางใจ แต่สำหรับผู้ปฎิบัติที่เวทนาทางกายไม่กระทบกับเวทนาจิตก็จะรับเวทนาเพียงทางเดียวคือเวทนากายเท่านั้น จิตจะเฉยๆไม่เกิดเวทนาร่วมกับกายแต่อย่างใด ทำไมคุณสายลมที่พัดผ่านไปทำเพียงเพ่งดูหรือรู้อย่างเดียวทำไมคุณไม่นำวิปัสสนามาใช้คุณก็เห็นนี่คะเวทนาที่เกิดขึ้นกับคุณทั้งทางกายและทางจิตมันดับไปมันแสดงสภาวะของการเกิดดับของเวทนาให้คุณเห็นอยู่แล้วนี่คะเพียงแต่คุณต้องพิจารณาให้เห็นชัดเพิ่มขึ้นไป ทบทวนดูว่าเวทนากายมันเคยเกิดอย่างไรมันคงทนถาวรมั้ยที่สุดมันได้ดับไปไหม เวทนาจิตก็เช่นกันก่อนนั้นคุณเคยรับรู้เวทนาทั้งทางกายและทางจิตแต่ในปัจจุบันนี้เวทนาจิตมันดับไปให้คุณเห็นอย่างไรดังที่คุณรู้สึก
รวมทั้งนิมิตกายที่คุณเพิกมันไปได้ทั้งหมดนั้นด้วยว่าในส่วนของรูปที่เคยเห็นมันเกิดขึ้นมาอย่างไรและดับไปได้อย่างไรในที่สุด

วันนี้ดิฉันฝากพระสูตร อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๒ ให้คุณอ่านดูเพื่อเสริมความรู้เพิ่มอีกนิดนะคะและลองนำไปใช้วิปัสสนาเมื่อเจอสภาวะธรรมใดๆ เกี่ยวกับขันธ์ทั้ง ๕ ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นสภาวธรรมที่เกิดจากนิมิตจากสมถหรืออารมณ์ความรับรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อใช้วิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ในครั้งนี้คุณลองตอบดิฉันเกี่ยวกับความเกิดดับของรูปและเวทนาที่เกิดกับตัวคุณอย่างไรเห็นเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร ลองอธิบายตอบมานะคะ ครั้งต่อไปเรามาคุยกันในเรื่องนิมิตจิตสีแดงๆ ที่เกิดกับคุณว่าครูบาอาจารย์ท่านเคยกล่าวถึงอย่างไรและพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร เอาไว้คุยกันครั้งต่อไปนะคะ
ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง
“... ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร? ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ...
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสังขารว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา วิญญาณของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็น
อย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2012, 15:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
........



คุณศรี เอกอนดีใจที่ได้พบคุณอีกครั้ง ... :b27: :b16: :b17: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2012, 16:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
มาได้ถูกเวลา....ดีนะครับ..คุณศรีวรรณ....

:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2012, 16:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
ที่ถามมาทั้งหมดและสิ่งที่อธิบายมาทั้งหมด สิ่งที่เห็นได้ชัดในการปฎิบัติของคุณสายลมที่พัดผ่านไปก็คือ เป็นการปฎิบัติที่สมาธิล้ำหน้าองค์ธรรมอื่นๆ และคุณยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะพัฒนาการปฎิบัติในขั้นต่อไปให้ไปถึงจุดหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้การปล่อยไปหรือช่างมัน ยังไม่ใช่วิธีการที่องค์คถาคตได้ทรงตรัสสอนไว้ค่ะ คุณเคยได้ยินคำว่า “...เห็นด้วยปัญญาอันชอบ...” หรือรู้เห็นด้วยปัญญาหรือเพ่งด้วยปัญญาบ้างไหมคะ ในทางปฎิบัติสำหรับผู้ที่วิปัสสนายังอ่อน คุณคงต้องเปิดใจที่จะต้องเรียนรู้และน้อมนำวิปัสสนามาใช้ควบคู่กับการปฎิบัติให้มากขึ้นเพื่อความสิ้นอาสวะเพื่อถึงซึ่งธรรมของพระพุทธองค์ดังที่คุณตั้งใจ จริงๆ แล้วด้วยศีลและสมาธิที่ถึงของคุณสายลมที่พัดผ่านไปนี้การเติมด้วยปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้อีกนิดเดียวก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ยากอะไรนัก เราจะค่อยๆ เรียนรู้ควบคู่กันไปก็แล้วกันนะคะ จริงๆ แล้วคำถามของคุณทั้งหมดดิฉันได้ตอบเอาไว้เรียบร้อยแล้วแต่ดิฉันจะค่อยๆ โพสคุยกับคุณไปเรื่อยๆ ดิฉันอยากรู้ความคิดเห็นของคุณในแต่ละเรื่องไปด้วยเพื่อว่าคุณจะได้นำไปใช้ปฎิบัติจริงได้เมื่อเจอสภาวะธรรมในแต่ละอย่างนะค่ะ ดิฉันขอเป็นเพื่อนกับคุณก็แล้วกันนะคะ คุณจะเรียกดิฉันว่าวรรณหรือน้องก็ได้ส่วนมากเพื่อนๆ จะเรียกอย่างนั้น



คำถามประเด็นแรกที่คุณ ถาม
ปัญหามีอยู่ว่า...

เมื่อเราพิจารณาขันธ์ห้า ด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม ตอนแรกเมื่อพิจารณา เมื่อเราดูขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้ารู้สึกหรือแสดงอาการอย่างไร เราจะรู้สึกไปด้วย...เมื่อปฎิบัติไปเรื่อยๆแล้วจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ห้าแสดงอาการอย่างไร หรือเสวยอารมณ์แสดงออกอย่างไร จิตร้อนไปด้วย (เราไม่รู้สึกไปด้วยแล้ว เราเป็เพียงผู้ดู ดูและเห็นว่า เมื่อขันธ์เร่าร้อน จิตก็เร่าร้อนไปด้วย)....เมื่อปฎิบัติต่อไปอีก..จะเห็นว่า เมื่อขันธ์แสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่รู้สึกอะไร จิตจะลอยเป็นอิสระเหนือขันธ์ห้า...

เช่นว่า

เมื่อขันธ์ทุกข์ แรกๆ เราก็จะทุกข์ไปกับขันธ์ด้วย...เมื่อปฎิบัติต่อไปอีกจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์ เราจะรู้สึกว่า จิตเร้าร้อนไปกับขันธ์(เราเป็นคนยืนมอง ขันธ์ทุกข์และจิตเร่าร้อน)..เมื่อปฎิบัติคือดูขันธ์และจิตไปเรื่อยๆจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก(ดิฉันพยายามอธิบายได้แค่นี้นะคะ)



คำตอบ สำหรับนักสมถ ที่ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า หรือเจริญทั้งสมถและวิปัสสนาควบคู่กันไป
สมาธิสำหรับนักปฎิบัติแล้วจะพบว่ามันมีพลังอย่างมาก ตัวดิฉันก็เคยทดลองในเรื่องเวทนาดังกล่าวนี้เช่นกัน มีอยู่ครั้งหนึ่งทำมีดเฉือนปลายนิ้วที่เป็นที่รวมของประสาทสัมผัสออกไปต้องเย็บถึงสามเข็ม พอกลับมาบ้านก็คิดว่าเราจะไม่ทานยาแก้ปวด เพราะเคยอ่านพระอริยะเจ้าหลายรูปรักษาโรคด้วยสมาธิได้ จึงลองกำหนดจิตลงไปที่แขนข้างที่บาดเจ็บนั้นว่าแขนนั้นนั่นไม่ใช่เราเป็นเพียงขันธ์ 5 เท่านั้น กำหนดแค่ประมาณครู่เดียวไม่น่าจะเกิน2-3 นาที ปรากฎว่ารู้สึกชาไปตั้งแต่ข้อศอกลงไปถึงปลายนิ้วเป็นอยู่อย่างนั้น ประมาณ 3 ชั่วโมงกายก็ไม่เจ็บจิตก็ไม่เจ็บรู้สึกเพียงชาๆเท่านั้น แต่หลังจากนั้นแล้วก็กลับมาปวดเหมือนเดิม ไม่กำหนดจิตต่อเพราะรู้แล้วว่าเวทนานี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และก็ดับไป(นี่คือตัวอย่างของการพิจารณาการเกิดดับที่คุณถามคุณstudentนี่เป็นตัวอย่างการพิจารณาการเกิดดับของเวทนา)

อีกทั้งเพราะเวทนากายกับเวทนาจิตจะไม่กระทบกันอยู่แล้ว กายเจ็บแต่จิตกลับเฉยๆ จะมีอาการเหมือนที่คุณเล่ามา คือ “...เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก...” สิ่งที่ปรากฏขึ้นกับคุณ ก็คือลักษณะที่ผู้ปฎิบัติสามารถแยกความรู้สึกเวทนาขันธ์กับเวทนาจิตได้ก็เท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับคนที่ไม่ปฎิบัติคือผู้ไม่ปฎิบัติเมื่อเกิดทุกข์ทั้งทางกายหรือทางใจ ก็ตามเขาก็จะรับเวทนาทั้งทางกายและทางใจ แต่สำหรับผู้ปฎิบัติที่เวทนาทางกายไม่กระทบกับเวทนาจิตก็จะรับเวทนาเพียงทางเดียวคือเวทนากายเท่านั้น จิตจะเฉยๆไม่เกิดเวทนาร่วมกับกายแต่อย่างใด ทำไมคุณสายลมที่พัดผ่านไปทำเพียงเพ่งดูหรือรู้อย่างเดียวทำไมคุณไม่นำวิปัสสนามาใช้คุณก็เห็นนี่คะเวทนาที่เกิดขึ้นกับคุณทั้งทางกายและทางจิตมันดับไปมันแสดงสภาวะของการเกิดดับของเวทนาให้คุณเห็นอยู่แล้วนี่คะเพียงแต่คุณต้องพิจารณาให้เห็นชัดเพิ่มขึ้นไป ทบทวนดูว่าเวทนากายมันเคยเกิดอย่างไรมันคงทนถาวรมั้ยที่สุดมันได้ดับไปไหม เวทนาจิตก็เช่นกันก่อนนั้นคุณเคยรับรู้เวทนาทั้งทางกายและทางจิตแต่ในปัจจุบันนี้เวทนาจิตมันดับไปให้คุณเห็นอย่างไรดังที่คุณรู้สึก
รวมทั้งนิมิตกายที่คุณเพิกมันไปได้ทั้งหมดนั้นด้วยว่าในส่วนของรูปที่เคยเห็นมันเกิดขึ้นมาอย่างไรและดับไปได้อย่างไรในที่สุด

วันนี้ดิฉันฝากพระสูตร อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๒ ให้คุณอ่านดูเพื่อเสริมความรู้เพิ่มอีกนิดนะคะและลองนำไปใช้วิปัสสนาเมื่อเจอสภาวะธรรมใดๆ เกี่ยวกับขันธ์ทั้ง ๕ ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นสภาวธรรมที่เกิดจากนิมิตจากสมถหรืออารมณ์ความรับรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อใช้วิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ในครั้งนี้คุณลองตอบดิฉันเกี่ยวกับความเกิดดับของรูปและเวทนาที่เกิดกับตัวคุณอย่างไรเห็นเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร ลองอธิบายตอบมานะคะ ครั้งต่อไปเรามาคุยกันในเรื่องนิมิตจิตสีแดงๆ ที่เกิดกับคุณว่าครูบาอาจารย์ท่านเคยกล่าวถึงอย่างไรและพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร เอาไว้คุยกันครั้งต่อไปนะคะ
ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง
“... ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร? ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ...
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสังขารว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา วิญญาณของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็น
อย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0



:b8: ขอบคุณคะ และยินดีเสมอ ดีใจที่ได้เพื่อนนะคะ :b12:

แต่ขอทำใจนิดนึงก่อน :b15: คือยังไม่ได้อ่านข้อความทั้งหมดนะคะ ด้วยความที่มันยาว :b15: ดิฉันเป็นพวกแพ้ตัวหนังสือยาวๆนะค่ะ :b3: :b3: ให้ดิฉันได้ทำใจสักพักก่อน แล้วดิฉันจะมาคุยด้วยไหม่นะคะ .... :b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร