วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 00:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 10:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
เห็น PM ไปถามผม ผมตอบให้หน้าบอร์ดนะครับ

ว่าคุณไปลอกสภาวะคนอื่นมาปะติดปะต่อกัน
สิ่งที่คุณเล่ามา มันขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง


ขอบคุณคะ.. :b8:

ดิฉันไม่เคยท่องเวปที่ไหน (ในเวปนี้อ่านบ้างกระทู้เท่านั้น ส่วนใหญ่ก็จะไม่อ่าน เพราะอ่านไม่เข้าใจ) ไม่ค่อยได้ไปอ่านบทความของใคร..สิ่งที่ดิฉันพูดดิฉันเห็น คือสิ่งที่ดิฉันเห็นด้วยตัวดิฉันเอง ถ้ามันผิดก็คือผิดคะ แต่ถ้าจะบอกว่า ไปลอกคนอื่นคงจะไม่ใช่..

ขัดแย็งก็คือขัดแย้ง กราบขอบพระคุณที่ชี้แนะ ดิฉันจะไปสำรวจตัวเองอีกทีคะ ว่าผิดตรงไหน จะไปเริ่มต้นไหม่ได้ที่ตรงไหน หลงตรงไหน จะสำรวจการกระทำของตัวเองไหม่คะ....ขอบพระคุณอีกครั้งนะคะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย สายลมที่พัดผ่านไป เมื่อ 02 ส.ค. 2012, 12:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.thaidhamma.net/เรียนจขกท ขอเสนอแนะแนวทางการปฎิบัติธรรมอย่างนี้นะครับ การศึกษาธรรมมะจะต้องวางความคิดของตนเองทั้งหมดก่อน แล้วเปิดใจศึกษาธรรมมะแบบเชิงปฎิบัติพร้อมกับการฟังธรรมมะให้มากๆๆขอย้ำมากๆ (อริยสัจ4)และก็หลายอาจารย์ เพราะไม่มีใครยืนยันได้ว่าสิ่งไหนใช่หรือไม่ใช่ เราจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเดินทางบนเส้นทางนี้เองเมื่อเราพร้อมทั้งองค์ความรู้ปริยัติและปฎิบัติ และผมเองนั้นได้เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างมากที่สุด10กว่าปีแล้วด้วยการเข้าอบรม ณ.สถานที่แห่งนี้ เพราะมีขั้นตอนการอบรมที่เข้มงวดมากที่สุดเท่าที่มีมาในประเทศไทย ลองเข้าไปศึกษาดูก่อนนะครับเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาธรรมมะครับ ด้วความปรารถถนาดีครับ หลังจากการอบรมเราจะเป็นอิสระเป็นนายของตัวเอง จะไปที่แห่งไหนก็ได้ จะดำเนินชีวิตอย่างไร เป็นสิทธิเสรีภาพของเรา สู้ๆครับ :b38: :b38: :b38:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 12:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
http://www.thaidhamma.net/เรียนจขกท ขอเสนอแนะแนวทางการปฎิบัติธรรมอย่างนี้นะครับ การศึกษาธรรมมะจะต้องวางความคิดของตนเองทั้งหมดก่อน แล้วเปิดใจศึกษาธรรมมะแบบเชิงปฎิบัติพร้อมกับการฟังธรรมมะให้มากๆๆขอย้ำมากๆ (อริยสัจ4)และก็หลายอาจารย์ เพราะไม่มีใครยืนยันได้ว่าสิ่งไหนใช่หรือไม่ใช่ เราจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเดินทางบนเส้นทางนี้เองเมื่อเราพร้อมทั้งองค์ความรู้ปริยัติและปฎิบัติ และผมเองนั้นได้เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างมากที่สุด10กว่าปีแล้วด้วยการเข้าอบรม ณ.สถานที่แห่งนี้ เพราะมีขั้นตอนการอบรมที่เข้มงวดมากที่สุดเท่าที่มีมาในประเทศไทย ลองเข้าไปศึกษาดูก่อนนะครับเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาธรรมมะครับ ด้วความปรารถถนาดีครับ หลังจากการอบรมเราจะเป็นอิสระเป็นนายของตัวเอง จะไปที่แห่งไหนก็ได้ จะดำเนินชีวิตอย่างไร เป็นสิทธิเสรีภาพของเรา สู้ๆครับ :b38: :b38: :b38:


:b8: ขอบคุณในคำแนะนำคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 13:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. ไม่ได้รู้มากมากนักนะ.. แต่ดีใจที่มีคนสนใจการศึกษาพระธรรม..

.. ว่ากันโดยเนื้อๆ แล้ว บุคคลผู้เข้ามาศึกษาพระธรรม ก็ใช่ว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการบรรลุธรรมทุกคน แบบเสมอกันหมดในคราวเดียวกัน หรือเพราะศึกษาจากพระคัมภีร์ต่างๆ จนเหมือนการทำข้อสอบ ที่ท่องมาจากหนังสือแล้วสามารถตอบได้เหมือนกันหมดทุกข้อ สอบผ่านได้ยกห้อง.. แต่อาศัยการสะสมผ่านภพ ผ่านชาติมากมาย .. (ลองอ่านประวัติของเหล่าพระอริยสาวกในครั้งพุทธกาล ก็จะเป็นกำลังใจในแง่ของการปฏิบัิติ และอาจได้กุศโลบายอื่นๆ อีก.. ฯลฯ ) อธิบายให้เข้าได้ง่ายๆ ก็เหมือนกับการที่เราเรียน ก ไก่ ข ไข่ ที่ผ่านการสะสมขึ้นมา จนสามารถอ่านออก เขียนได้ ใช้งานได้ และขั้นสุดท้ายคือ สามารถสอนได้ และการสั่งสมนี้ก็ผ่านการทรงจำสั่งสมเก็บเอาไว้เป็น "ปัญญา" ของแต่ละบุคคลที่เรารู้จักกันดี.. ว่า ศีล สมาธิ และปัญญา.. แตปัญญานี้มีหลายอย่าง หากสนใจศึกษา สามารถหาอ่านได้จากพระวิสุทธิมรรคในเรื่องของการอธิบายว่าปัญญานี้มีเ่ท่าใด อะไรเรียกว่า ปัญญา .. ดังนั้น จุดนี้ อาจสามารถพิจารณาได้ว่าเราได้ศึกษาสั่งสมปัญญาในพระพุทธศาสนามาอย่างไร และอะไรจะทำให้สนับสนุนให้ปัญญานั้นๆ ของตนเจริญขึ้น เพื่อจะได้ไปต่อยอดในอนาคต..

แต่.. การเข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสมถะ กรรมฐาน ด้วยวิธีใดก็ตาม พื้นฐานที่ต้องสมบูรณ์คือ ศีล ๕ ข้อ ซึ่งหมายถึง สามารถระลึกรู้ได้เสมอวา ละเมิดศีล ๕ ข้อ นี้บ้างหรือยัง ในขณะเดียวกัน การตามระลึกถึงศีลเพียง ๕ ข้อนี้ จัดเป็นผลทางอ้อมผลใหญ่ ของการได้มาซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ดังนั้น เมื่อศีล ๕ ข้อ ไม่บกพร่องแล้ว การปฏิบัติสมถะกรรมฐาน ก็ไม่ใช่เรื่องเกินบุญกุศลจะส่งผลถึงให้เข้าใจสิ่งใดๆ ได้ง่ายขึ้น แม้อาจต้องใช้เวลาขบคิดบ้าง แต่ก็ไม่เกิดความสงสัยมากมาย.. เพราะโดยอานิสงส์ของศีล ๕ ข้อนี้ มีประมาณมาก ไม่น้อยเลย..

รายละเอียดต่างๆ ของวิธีการเจริญสมถะโดยวิธีต่างๆ นั้น ถูกบัญญิติขึ้นมาเพื่อใช้ให้ถูกกับกิเลสของแต่ละคนที่มีแตกต่าง มาก น้อยอันเกิดจากการสั่งสมกิเลสเก็บไว้มานานนับชาติไม่ถ้วน การเจริญสมถะ ก็เหมือนกับการขัดสนิมของภาชนะที่พอกไว้ชั้นแล้ว ชั้นเล่าออก เพื่อให้ภาชนะนั้นเหมาะกับการใช้งาน การเจริญสมถะก็เช่นกัน ที่เกิดขึ้นก็เพื่อการทำให้อารมณ์ของผู้ปฏิบัติเป็นหนึ่ง ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน เพื่อเหมาะกับการงานคือ การเจริญวิปัสสนา ให้รู้จัก รู้แจ้งแทงตลอด ให้เข้าใจว่าสิ่งใดคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา .. ที่ต้องอาศัยสมาธิอันแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายในการพิจารณาเหตุ ปัจจัยต่างๆ ของการเกิด ดับของสรรพสิ่ง ตั้งแต่ความละเอียดของการตั้งสติไว้ที่ลมหายใจ เข้า ที่จะให้ หรือไม่ให้วิบากกรรมใดๆ และลมหายใจออก ที่จะให้ หรือไม่ให้วิบากกรรมใดๆ ดังนั้น การประคับ ประคองลมหายใจ เ้ข้า ออก หรือการระลึกถึง ยุบหนอ พองหนอ ก็เพื่อให้กรรมที่กำลังทำอยู่นั้น พ้นไปจากการเสวยกรรมใดๆ ที่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ณ ขณะนั้นๆ หรือทำให้จิตสะอาด ว่างเปล่า แม้เพียงชั่วขณะก็ตาม ดังนั้น ผู้ใดก็ตามหมั่นเจริญด้วยอาการอย่างนี้ ผลอย่างหนึ่งที่จะได้แน่นอนคือ การไม่ได้สร้างกรรมใหม่ด้วยการคิด การปรุงแต่ง ให้กิเลสรั่วเข้าไปสั่งสมในจิตเพื่อสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น กลายเป็นวิบาก ชาติ และภพให้ยาวนานไปอีก.. แต่จะเหลือเพียงกรรมเก่าที่กำลังตามมาให้เสวยเท่านั้น.. และกรรมบางอย่างหากตามมาไม่ทัน ก็หมดกำัลังลงนั่นเอง.. นี่เป็นคุณประโยชน์เบื้องต้นของการเจริญสมถะเท่านั้น เพราะแม้การ
กระทำอย่างนี้อย่างยาวนาน ก็ไม่สามารถตัดวัฏฏะสงสารไปได้ (ลองศึกษาเรื่องของพรหมต่างๆ จะช่วยให้เห็นกรณีตัวอย่างของการเจริญสมถะ จนได้ความเป็นพรหมบางประเภท..จะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เพราะพรหมบางประเภท มีอายุยืนยาวมาก) เพราะการตัดวัฏฏะสงสารนี้ ต้องอาศัยการเจริญวิปัสสนา เพื่อให้เห็นว่าอะไร คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเมื่อเห็นแล้ว ญานก็จะเกิดขึ้น เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ความสว่างก็เกิดขึ้น เมื่อความสว่างเกิดขึ้น อวิชชาก็ดับลง.. วัฏฏะสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิด.. ก็หมดเชิ้อ หมดปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นอีก.. หวังว่าแง่คิดเล็กๆ นี้ อาจพอเป็นเพื่อนให้ตั้งใจศึกษาปฏิบัติมากๆ ขึ้นไป..

ขอให้บันเทิงอยู่ในธรรมเถิด..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 14:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


JANDHRA เขียน:
.. ไม่ได้รู้มากมากนักนะ.. แต่ดีใจที่มีคนสนใจการศึกษาพระธรรม..

.. ว่ากันโดยเนื้อๆ แล้ว บุคคลผู้เข้ามาศึกษาพระธรรม ก็ใช่ว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการบรรลุธรรมทุกคน แบบเสมอกันหมดในคราวเดียวกัน หรือเพราะศึกษาจากพระคัมภีร์ต่างๆ จนเหมือนการทำข้อสอบ ที่ท่องมาจากหนังสือแล้วสามารถตอบได้เหมือนกันหมดทุกข้อ สอบผ่านได้ยกห้อง.. แต่อาศัยการสะสมผ่านภพ ผ่านชาติมากมาย .. (ลองอ่านประวัติของเหล่าพระอริยสาวกในครั้งพุทธกาล ก็จะเป็นกำลังใจในแง่ของการปฏิบัิติ และอาจได้กุศโลบายอื่นๆ อีก.. ฯลฯ ) อธิบายให้เข้าได้ง่ายๆ ก็เหมือนกับการที่เราเรียน ก ไก่ ข ไข่ ที่ผ่านการสะสมขึ้นมา จนสามารถอ่านออก เขียนได้ ใช้งานได้ และขั้นสุดท้ายคือ สามารถสอนได้ และการสั่งสมนี้ก็ผ่านการทรงจำสั่งสมเก็บเอาไว้เป็น "ปัญญา" ของแต่ละบุคคลที่เรารู้จักกันดี.. ว่า ศีล สมาธิ และปัญญา.. แตปัญญานี้มีหลายอย่าง หากสนใจศึกษา สามารถหาอ่านได้จากพระวิสุทธิมรรคในเรื่องของการอธิบายว่าปัญญานี้มีเ่ท่าใด อะไรเรียกว่า ปัญญา .. ดังนั้น จุดนี้ อาจสามารถพิจารณาได้ว่าเราได้ศึกษาสั่งสมปัญญาในพระพุทธศาสนามาอย่างไร และอะไรจะทำให้สนับสนุนให้ปัญญานั้นๆ ของตนเจริญขึ้น เพื่อจะได้ไปต่อยอดในอนาคต..

แต่.. การเข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสมถะ กรรมฐาน ด้วยวิธีใดก็ตาม พื้นฐานที่ต้องสมบูรณ์คือ ศีล ๕ ข้อ ซึ่งหมายถึง สามารถระลึกรู้ได้เสมอวา ละเมิดศีล ๕ ข้อ นี้บ้างหรือยัง ในขณะเดียวกัน การตามระลึกถึงศีลเพียง ๕ ข้อนี้ จัดเป็นผลทางอ้อมผลใหญ่ ของการได้มาซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ดังนั้น เมื่อศีล ๕ ข้อ ไม่บกพร่องแล้ว การปฏิบัติสมถะกรรมฐาน ก็ไม่ใช่เรื่องเกินบุญกุศลจะส่งผลถึงให้เข้าใจสิ่งใดๆ ได้ง่ายขึ้น แม้อาจต้องใช้เวลาขบคิดบ้าง แต่ก็ไม่เกิดความสงสัยมากมาย.. เพราะโดยอานิสงส์ของศีล ๕ ข้อนี้ มีประมาณมาก ไม่น้อยเลย..

รายละเอียดต่างๆ ของวิธีการเจริญสมถะโดยวิธีต่างๆ นั้น ถูกบัญญิติขึ้นมาเพื่อใช้ให้ถูกกับกิเลสของแต่ละคนที่มีแตกต่าง มาก น้อยอันเกิดจากการสั่งสมกิเลสเก็บไว้มานานนับชาติไม่ถ้วน การเจริญสมถะ ก็เหมือนกับการขัดสนิมของภาชนะที่พอกไว้ชั้นแล้ว ชั้นเล่าออก เพื่อให้ภาชนะนั้นเหมาะกับการใช้งาน การเจริญสมถะก็เช่นกัน ที่เกิดขึ้นก็เพื่อการทำให้อารมณ์ของผู้ปฏิบัติเป็นหนึ่ง ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน เพื่อเหมาะกับการงานคือ การเจริญวิปัสสนา ให้รู้จัก รู้แจ้งแทงตลอด ให้เข้าใจว่าสิ่งใดคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา .. ที่ต้องอาศัยสมาธิอันแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายในการพิจารณาเหตุ ปัจจัยต่างๆ ของการเกิด ดับของสรรพสิ่ง ตั้งแต่ความละเอียดของการตั้งสติไว้ที่ลมหายใจ เข้า ที่จะให้ หรือไม่ให้วิบากกรรมใดๆ และลมหายใจออก ที่จะให้ หรือไม่ให้วิบากกรรมใดๆ ดังนั้น การประคับ ประคองลมหายใจ เ้ข้า ออก หรือการระลึกถึง ยุบหนอ พองหนอ ก็เพื่อให้กรรมที่กำลังทำอยู่นั้น พ้นไปจากการเสวยกรรมใดๆ ที่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ณ ขณะนั้นๆ หรือทำให้จิตสะอาด ว่างเปล่า แม้เพียงชั่วขณะก็ตาม ดังนั้น ผู้ใดก็ตามหมั่นเจริญด้วยอาการอย่างนี้ ผลอย่างหนึ่งที่จะได้แน่นอนคือ การไม่ได้สร้างกรรมใหม่ด้วยการคิด การปรุงแต่ง ให้กิเลสรั่วเข้าไปสั่งสมในจิตเพื่อสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น กลายเป็นวิบาก ชาติ และภพให้ยาวนานไปอีก.. แต่จะเหลือเพียงกรรมเก่าที่กำลังตามมาให้เสวยเท่านั้น.. และกรรมบางอย่างหากตามมาไม่ทัน ก็หมดกำัลังลงนั่นเอง.. นี่เป็นคุณประโยชน์เบื้องต้นของการเจริญสมถะเท่านั้น เพราะแม้การ
กระทำอย่างนี้อย่างยาวนาน ก็ไม่สามารถตัดวัฏฏะสงสารไปได้ (ลองศึกษาเรื่องของพรหมต่างๆ จะช่วยให้เห็นกรณีตัวอย่างของการเจริญสมถะ จนได้ความเป็นพรหมบางประเภท..จะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เพราะพรหมบางประเภท มีอายุยืนยาวมาก) เพราะการตัดวัฏฏะสงสารนี้ ต้องอาศัยการเจริญวิปัสสนา เพื่อให้เห็นว่าอะไร คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเมื่อเห็นแล้ว ญานก็จะเกิดขึ้น เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ความสว่างก็เกิดขึ้น เมื่อความสว่างเกิดขึ้น อวิชชาก็ดับลง.. วัฏฏะสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิด.. ก็หมดเชิ้อ หมดปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นอีก.. หวังว่าแง่คิดเล็กๆ นี้ อาจพอเป็นเพื่อนให้ตั้งใจศึกษาปฏิบัติมากๆ ขึ้นไป..

ขอให้บันเทิงอยู่ในธรรมเถิด..


:b8: ขอบคุณนะคะ :b8:

อ่านแล้วรู้สึกว่า ทุกคนมีเส้นทางเป็นของตน ยิ่งอ่านที่ท่านผู้รู้มาแนะนำเรื่อยๆ ยิ่งเห็นถึงคำว่า ปัจจัตตัง มากขึ้น ทุกคำพูดที่ท่านๆแนะนำ นำกลับมาสำรวจใจตนเองเสมอ และยิ่งอ่าน ใจยิ่งกว้างออก ไม่ทราบจะบอกว่าอย่างไรดี ยิ่งอ่านใจยิ่งกว้างขึ้นเรื่อยๆ ยอมรับทุกๆสิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นและบ่งบอกอะไรมากมาย โดยไม่สามารถที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูดหรือจำกัดความได้..

ทุกอย่างเป็น ปัจจัตตัง ทุกคนมีแผนที่เหมือนกัน แผนที่อันเดียวกัน แต่คนแต่ละคนที่เดินไปหาจุดหมายนั้น ต่างคนต่างเดินเส้นทางใครเส้นทางมัน เห็นชัด เห็นด้วยใจ ทำให้ใจยิ่งกว้างออกไปอีกเรื่อยๆ นุ่มขึ้น ยอมรับทุกๆอย่างได้มากขึ้น....ถึงเส้นทางเดินจะมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน แต่ผลนั้นต้องตรงกันเสมอ

เส้นทางเดินของดิฉันอาจจะผิดแต่ดิฉันก็ได้อย่างอื่นมาทดแทนจากที่ได้พิมพ์ถามในลานธรรมนี้..เห็นใจตัวเองมากขึ้น ความหนักแน่นที่ตัวเองคิดว่าตัวเองไม่เคยที่จะมี เห็นการยอมรับในความคิดคนอื่นที่มากขึ้นกว่าเดิม แต่ก่อนคงเถียงยันตาย :b9: แต่คราวนี้น้อมรับด้วยใจทุกคำที่แนะนำออกมา และอยากพิสูจน์ตัวเองว่า เส้นทางที่ท่านๆว่าเดินผิดนั้นผิดอย่างไร..แก้ตรงไหนถึงจะถูก เพราะทุกอย่างในเส้นทางเดินนี้สามารถพิสูจน์ได้เสมอ..

:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 18:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มต้นด้วยการดู และจบลงด้วยการ ช่างมัน

การดูนั้น เป็นลักษณะของการวนขันธ์ เอาขันธ์รู้ ไปคอยดูธาตุและขันธ์อื่น ๆ
ซึ่งมันยังคงวนในขันธ์ห้านี้ ไม่อาจนอกเหนือขันธ์ไปได้ มันจึงยากที่จะหาที่จบได้

ส่วนการช่างมัน เป็นการตัด หรือเรียกว่า ยุติเหตุ อันเป็นวังวนของสังสารวัฏนี้
เมื่อช่างมันแล้ว นั่นหมายถึง ไม่เอา ช่างมัน ไม่ยึด ไม่เกาะ ในสิ่งเหล่านั้นอีก

ดังนั้นถ้าช่างมันจริง คำว่าเบากาย เบาจิต ก็ไม่เอาเช่นกัน
ถ้ายังมีก็แสดงว่ายัง ช่างมันไม่จริง ช่างมันแค่บางส่วน
เพราะฉะนั้นก็ปล่อยทั้งหมดนั่นแหละ ช่างมัน

กายและจิตนี้ เป็นเสมือนแค่เครื่องมือชิ้นหนึ่ง เมื่อจะใช้ก็หยิบมันขึ้นมาใช้
ใช้เสร็จก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คากับมันอีก
เมื่อยามไม่มีอะไรจะใช้มัน ก็ปล่อย หรือ ช่างมัน หรือ สักแต่ว่า

กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

ท่านให้ปล่อยขันธ์ห้า ไม่ใช่ให้เข้าไปแบก
เราต่างก็เข้าไปเจริญในขันธ์ห้า เพื่อจะปล่อย หรือเลิกยึดขันธ์ห้านี้
แต่กลับไม่ฉุกคิดกันเลยว่า มันเป็นการเข้าไปแบก เข้าไปยิ่งยึดติดมากยิ่งขึ้น
แม้จะปล่อยบางขันธ์ได้ แต่กลับต้องไปยึดในบางขันธ์มากขึ้นแทน

เราต่างถูกสอนให้ยึดในขันธ์ห้ามา ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้ว
จนไม่รู้ว่า การปล่อย นั้นเป็นเช่นไร มีแต่ปล่อยขันธ์หนึ่ง ก็ไปเกาะอีกขันธ์
ปล่อยกาย ก็ไปเกาะจิต ปล่อยจิตก็ไปเกาะกาย
ปล่อยโลกภายนอก ก็หนีเข้าไปเกาะในโลกภายใน
เมื่อโลกภายในไม่ไหวก็โดดออกมาสู่โลกภายโลกใหม่อีก
หมุ่นเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

หนีภาระทางโลกมาเจอภาระทางธรรมอีก มันก็ยังเป็นภาระเช่นเดิม
หนีความทุกข์ทางโลก มาเจอทุกข์แห่งการปฏิบัติธรรมอีก

ธรรม นี้ ไม่เป็นภาระกับสิ่งใดหรือผู้ใด
ธรรมของพระองค์เป็นการปลดเปลื่องภาระ ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้ตื่นจากความ หลง เพื่อยุติสังสารวัฏ นอกเหนือสุข นอกเหนือทุกข์

สิ่งที่นอกเหนือจากสังสารวัฎนั้น คือ นิพพาน
สิ่งที่นอกเหนือนิพพาน ก็คือ สารวัฎ
เมื่อไม่ตรงต่อพระนิพพาน นั่นย่อมหมายถึง ตรงต่อสังสารวัฎ
มันไม่มีอะไรมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 21:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
เริ่มต้นด้วยการดู และจบลงด้วยการ ช่างมัน

การดูนั้น เป็นลักษณะของการวนขันธ์ เอาขันธ์รู้ ไปคอยดูธาตุและขันธ์อื่น ๆ
ซึ่งมันยังคงวนในขันธ์ห้านี้ ไม่อาจนอกเหนือขันธ์ไปได้ มันจึงยากที่จะหาที่จบได้

ส่วนการช่างมัน เป็นการตัด หรือเรียกว่า ยุติเหตุ อันเป็นวังวนของสังสารวัฏนี้
เมื่อช่างมันแล้ว นั่นหมายถึง ไม่เอา ช่างมัน ไม่ยึด ไม่เกาะ ในสิ่งเหล่านั้นอีก

ดังนั้นถ้าช่างมันจริง คำว่าเบากาย เบาจิต ก็ไม่เอาเช่นกัน
ถ้ายังมีก็แสดงว่ายัง ช่างมันไม่จริง ช่างมันแค่บางส่วน
เพราะฉะนั้นก็ปล่อยทั้งหมดนั่นแหละ ช่างมัน

กายและจิตนี้ เป็นเสมือนแค่เครื่องมือชิ้นหนึ่ง เมื่อจะใช้ก็หยิบมันขึ้นมาใช้
ใช้เสร็จก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คากับมันอีก
เมื่อยามไม่มีอะไรจะใช้มัน ก็ปล่อย หรือ ช่างมัน หรือ สักแต่ว่า

กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

ท่านให้ปล่อยขันธ์ห้า ไม่ใช่ให้เข้าไปแบก
เราต่างก็เข้าไปเจริญในขันธ์ห้า เพื่อจะปล่อย หรือเลิกยึดขันธ์ห้านี้
แต่กลับไม่ฉุกคิดกันเลยว่า มันเป็นการเข้าไปแบก เข้าไปยิ่งยึดติดมากยิ่งขึ้น
แม้จะปล่อยบางขันธ์ได้ แต่กลับต้องไปยึดในบางขันธ์มากขึ้นแทน

เราต่างถูกสอนให้ยึดในขันธ์ห้ามา ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้ว
จนไม่รู้ว่า การปล่อย นั้นเป็นเช่นไร มีแต่ปล่อยขันธ์หนึ่ง ก็ไปเกาะอีกขันธ์
ปล่อยกาย ก็ไปเกาะจิต ปล่อยจิตก็ไปเกาะกาย
ปล่อยโลกภายนอก ก็หนีเข้าไปเกาะในโลกภายใน
เมื่อโลกภายในไม่ไหวก็โดดออกมาสู่โลกภายโลกใหม่อีก
หมุ่นเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

หนีภาระทางโลกมาเจอภาระทางธรรมอีก มันก็ยังเป็นภาระเช่นเดิม
หนีความทุกข์ทางโลก มาเจอทุกข์แห่งการปฏิบัติธรรมอีก

ธรรม นี้ ไม่เป็นภาระกับสิ่งใดหรือผู้ใด
ธรรมของพระองค์เป็นการปลดเปลื่องภาระ ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้ตื่นจากความ หลง เพื่อยุติสังสารวัฏ นอกเหนือสุข นอกเหนือทุกข์

สิ่งที่นอกเหนือจากสังสารวัฎนั้น คือ นิพพาน
สิ่งที่นอกเหนือนิพพาน ก็คือ สารวัฎ
เมื่อไม่ตรงต่อพระนิพพาน นั่นย่อมหมายถึง ตรงต่อสังสารวัฎ
มันไม่มีอะไรมาก


:b8: :b8: กราบขอบพระคุณคะที่ชี้ข้อบกพร่อง แนะเพิ่มเติมและยังยืนยันในสิ่งที่ไม่แน่ใจเพื่อความมั่นใจมากขึ้นนะคะ :b8: :b8:

อ้างคำพูด:
กายและจิตนี้ เป็นเสมือนแค่เครื่องมือชิ้นหนึ่ง เมื่อจะใช้ก็หยิบมันขึ้นมาใช้
ใช้เสร็จก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คากับมันอีก
เมื่อยามไม่มีอะไรจะใช้มัน ก็ปล่อย หรือ ช่างมัน หรือ สักแต่ว่า



ตรงนี้คือสิ่งที่ต้องการในคำยืนยันคะ ไม่แน่ใจเลยมาถามและต้องการผู้ที่สามารถแนะนำได้ กราบขอบพระคุณอีกครั้งนะค่ะ และขออนุญาติ ก๊อปเก็บไว้เป็นแนวทางเดินปฎิบัติส่วนตัวค่ะ :b8: :b8:

เพิ่งเข้าใจชัดๆก็วันนี้ ว่า กายและจิตนั้นไม่ต่างกับสมาธิที่ เป็นแค่เรือที่พาไปถึงฝั่ง เมื่อถึงแล้วก็ทิ้งมันไป ไม่เคยมีใครแนะนำชัดๆได้ตรงจุดเท่าวันนี้คะ

ปรกติจะเจอว่า ดิฉันมันบ้า คิดเองปรุงเอง ทุกอย่างนั้นคิดขึ้นเองทั้งหมด ถึงตอนนี้ก็คงมีคนคิดอย่างนั้น ทุกคำที่พูดและแนะนำ ดิฉันก็น้อมรับด้วยใจนะคะ ทุกคำที่ชี้แนะ ทุกคำที่ตักเตือน ดิฉันเอามาสำรวจตัวเองเสมอ ว่าเป็นจริงอย่างที่ทุกๆท่านแนะและตักเตือนไหม สิ่งไหนใช่ดิฉันก็กราบขอบพระคุณและน้อมนำไปปฎิบัติและแก้ไข สิ่งไหนตรวจสอบแล้วว่าไม่ใช่ ดิฉันก็มองและเข้าใจว่า ปัจจัตตัง ทุกอย่างเป็นเส้นทางเฉพาะตน เรื่องคำว่า บ้า หรือปรุงเองคิดเอง ดิฉันได้มาตั้งนานแล้วค่ะ ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดิฉันก็ได้คำนี้เป็นสมญานามอยู่เสมอ ดิฉันเลยคิดว่า เอาเถอะ..ถ้าจะบ้าก็ขอบ้าให้ได้ตลอด บ้าไปนิพพาน เราจะโดนด่าว่าบ้าไปจนตายเราก็ยอม ถ้าชาตินี้เราถึงนิพพาน ถือว่า เล็กน้อย คุ้มกันมากๆเลย :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
เริ่มต้นด้วยการดู และจบลงด้วยการ ช่างมัน

การดูนั้น เป็นลักษณะของการวนขันธ์ เอาขันธ์รู้ ไปคอยดูธาตุและขันธ์อื่น ๆ
ซึ่งมันยังคงวนในขันธ์ห้านี้ ไม่อาจนอกเหนือขันธ์ไปได้ มันจึงยากที่จะหาที่จบได้

ส่วนการช่างมัน เป็นการตัด หรือเรียกว่า ยุติเหตุ อันเป็นวังวนของสังสารวัฏนี้
เมื่อช่างมันแล้ว นั่นหมายถึง ไม่เอา ช่างมัน ไม่ยึด ไม่เกาะ ในสิ่งเหล่านั้นอีก

ดังนั้นถ้าช่างมันจริง คำว่าเบากาย เบาจิต ก็ไม่เอาเช่นกัน
ถ้ายังมีก็แสดงว่ายัง ช่างมันไม่จริง ช่างมันแค่บางส่วน
เพราะฉะนั้นก็ปล่อยทั้งหมดนั่นแหละ ช่างมัน

กายและจิตนี้ เป็นเสมือนแค่เครื่องมือชิ้นหนึ่ง เมื่อจะใช้ก็หยิบมันขึ้นมาใช้
ใช้เสร็จก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คากับมันอีก
เมื่อยามไม่มีอะไรจะใช้มัน ก็ปล่อย หรือ ช่างมัน หรือ สักแต่ว่า

กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

ท่านให้ปล่อยขันธ์ห้า ไม่ใช่ให้เข้าไปแบก
เราต่างก็เข้าไปเจริญในขันธ์ห้า เพื่อจะปล่อย หรือเลิกยึดขันธ์ห้านี้
แต่กลับไม่ฉุกคิดกันเลยว่า มันเป็นการเข้าไปแบก เข้าไปยิ่งยึดติดมากยิ่งขึ้น
แม้จะปล่อยบางขันธ์ได้ แต่กลับต้องไปยึดในบางขันธ์มากขึ้นแทน

เราต่างถูกสอนให้ยึดในขันธ์ห้ามา ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้ว
จนไม่รู้ว่า การปล่อย นั้นเป็นเช่นไร มีแต่ปล่อยขันธ์หนึ่ง ก็ไปเกาะอีกขันธ์
ปล่อยกาย ก็ไปเกาะจิต ปล่อยจิตก็ไปเกาะกาย
ปล่อยโลกภายนอก ก็หนีเข้าไปเกาะในโลกภายใน
เมื่อโลกภายในไม่ไหวก็โดดออกมาสู่โลกภายโลกใหม่อีก
หมุ่นเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

หนีภาระทางโลกมาเจอภาระทางธรรมอีก มันก็ยังเป็นภาระเช่นเดิม
หนีความทุกข์ทางโลก มาเจอทุกข์แห่งการปฏิบัติธรรมอีก

ธรรม นี้ ไม่เป็นภาระกับสิ่งใดหรือผู้ใด
ธรรมของพระองค์เป็นการปลดเปลื่องภาระ ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้ตื่นจากความ หลง เพื่อยุติสังสารวัฏ นอกเหนือสุข นอกเหนือทุกข์

สิ่งที่นอกเหนือจากสังสารวัฎนั้น คือ นิพพาน
สิ่งที่นอกเหนือนิพพาน ก็คือ สารวัฎ
เมื่อไม่ตรงต่อพระนิพพาน นั่นย่อมหมายถึง ตรงต่อสังสารวัฎ
มันไม่มีอะไรมาก



ตรงนี้อีก โดนคะโดน ตรงเป้า สาธุ สาธุ สาธุ :b8:

อ้างคำพูด:
ดังนั้นถ้าช่างมันจริง คำว่าเบากาย เบาจิต ก็ไม่เอาเช่นกัน
ถ้ายังมีก็แสดงว่ายัง ช่างมันไม่จริง ช่างมันแค่บางส่วน
เพราะฉะนั้นก็ปล่อยทั้งหมดนั่นแหละ ช่างมัน


:b8: กราบขอบพระคุณคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 22:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
เริ่มต้นด้วยการดู และจบลงด้วยการ ช่างมัน

การดูนั้น เป็นลักษณะของการวนขันธ์ เอาขันธ์รู้ ไปคอยดูธาตุและขันธ์อื่น ๆ
ซึ่งมันยังคงวนในขันธ์ห้านี้ ไม่อาจนอกเหนือขันธ์ไปได้ มันจึงยากที่จะหาที่จบได้

ส่วนการช่างมัน เป็นการตัด หรือเรียกว่า ยุติเหตุ อันเป็นวังวนของสังสารวัฏนี้
เมื่อช่างมันแล้ว นั่นหมายถึง ไม่เอา ช่างมัน ไม่ยึด ไม่เกาะ ในสิ่งเหล่านั้นอีก

ดังนั้นถ้าช่างมันจริง คำว่าเบากาย เบาจิต ก็ไม่เอาเช่นกัน
ถ้ายังมีก็แสดงว่ายัง ช่างมันไม่จริง ช่างมันแค่บางส่วน
เพราะฉะนั้นก็ปล่อยทั้งหมดนั่นแหละ ช่างมัน

กายและจิตนี้ เป็นเสมือนแค่เครื่องมือชิ้นหนึ่ง เมื่อจะใช้ก็หยิบมันขึ้นมาใช้
ใช้เสร็จก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คากับมันอีก
เมื่อยามไม่มีอะไรจะใช้มัน ก็ปล่อย หรือ ช่างมัน หรือ สักแต่ว่า

กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ

ท่านให้ปล่อยขันธ์ห้า ไม่ใช่ให้เข้าไปแบก
เราต่างก็เข้าไปเจริญในขันธ์ห้า เพื่อจะปล่อย หรือเลิกยึดขันธ์ห้านี้
แต่กลับไม่ฉุกคิดกันเลยว่า มันเป็นการเข้าไปแบก เข้าไปยิ่งยึดติดมากยิ่งขึ้น
แม้จะปล่อยบางขันธ์ได้ แต่กลับต้องไปยึดในบางขันธ์มากขึ้นแทน

เราต่างถูกสอนให้ยึดในขันธ์ห้ามา ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้ว
จนไม่รู้ว่า การปล่อย นั้นเป็นเช่นไร มีแต่ปล่อยขันธ์หนึ่ง ก็ไปเกาะอีกขันธ์
ปล่อยกาย ก็ไปเกาะจิต ปล่อยจิตก็ไปเกาะกาย
ปล่อยโลกภายนอก ก็หนีเข้าไปเกาะในโลกภายใน
เมื่อโลกภายในไม่ไหวก็โดดออกมาสู่โลกภายโลกใหม่อีก
หมุ่นเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

หนีภาระทางโลกมาเจอภาระทางธรรมอีก มันก็ยังเป็นภาระเช่นเดิม
หนีความทุกข์ทางโลก มาเจอทุกข์แห่งการปฏิบัติธรรมอีก

ธรรม นี้ ไม่เป็นภาระกับสิ่งใดหรือผู้ใด
ธรรมของพระองค์เป็นการปลดเปลื่องภาระ ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้ตื่นจากความ หลง เพื่อยุติสังสารวัฏ นอกเหนือสุข นอกเหนือทุกข์

สิ่งที่นอกเหนือจากสังสารวัฎนั้น คือ นิพพาน
สิ่งที่นอกเหนือนิพพาน ก็คือ สารวัฎ
เมื่อไม่ตรงต่อพระนิพพาน นั่นย่อมหมายถึง ตรงต่อสังสารวัฎ
มันไม่มีอะไรมาก


อ้างคำพูด:
กายและจิตนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าดู เข้าไปรู้ หรือ กำหนดมัน
เพราะยิ่งเข้าไป กำหนดมัน ทรงรู้มัน ก็ยิ่งติด มันไม่ใช่ปล่อย
แต่เป็นการเข้าไปแบก มันเป็นภาระที่ไม่มีวันจบ



ตรงนี้ก็ตรงอีก เมื่อวานสำรวจใจตอนที่ท่านผู้รู้ทุกท่านได้แนะนำ และมาสำรวจการปฎิบัติของตัวเองว่าผิดตรงไหน ต้องแก้อย่างไร ทำไมเราถึงถูกผู้รู้ทุกๆท่านชี้เป็นเสียงเดียวกันว่า ผิดหรือหลง มันเป็นที่ตรงไหน นั่งพิจารณาตั้งนาน ก็รู้ว่า สงสัยตรงนี้มั๊ง พอปล่อย และถอน ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ก่อนดูและใส่ใจกับจิตมากไป เลยกลับกลายเป็นว่า ไม่ใช่แค่ดูเฉยๆแล้ว แต่เราเพ่งโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้จุด ก็ถอนออกมาดูห่างๆ ไม่สนใจในจิตมัน ปล่อยๆมันซะบ้าง ช่างมัน ช่างแม่งมัน ช่างหัวมัน ไม่สนใจแล้วโวัย :b32: มันก็เหมือนๆกันนะแหละ ไม่ต่างกับกายหรอก อย่าสนใจมันมาก บอกตัวเองอย่างนี้

พอแค่ถอนจากการเพ่งมาเป็นการมอง อยู่ๆ สิ่งที่หนักๆในจิตก็เบา เบานุ่มที่ใจและมันก็ค่อยๆกระจายออกไปทั่วร่างกาย และมันก็อิ่มๆที่ใจ เลยเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่ถูกแล้วที่เราทำอย่างนี้...วันนี้ท่านก็ได้มายืนยันให้ในสิ่งที่ตัวเองได้กระทำในเมื่อวาน

กราบขอบพระคุณนะคะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 22:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ.... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b41: :b44:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2012, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เคล็ดวิชาศึกษาจิต :b40: :b40:

[u]หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ 4เอง[/u]

หลังจากนั้น ผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ ซึ่งรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆอย่างเป็นอิสระจากกิเลส และอารมณ์ต่างๆ ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด :b41:


ฉบับละเอียดตามนี้: :b39:
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B9%80 ... 52104.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 03:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พอแค่ถอนจากการเพ่งมาเป็นการมอง อยู่ๆ สิ่งที่หนักๆในจิตก็เบา เบานุ่มที่ใจและมันก็ค่อยๆกระจายออกไปทั่วร่างกาย และมันก็อิ่มๆที่ใจ เลยเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่ถูกแล้วที่เราทำอย่างนี้...วันนี้ท่านก็ได้มายืนยันให้ในสิ่งที่ตัวเองได้กระทำในเมื่อวาน


:b27:

อีกสักระยะหนึ่งเขาจะถอนจากการมอง ซึ่งยังมีเจตนาและผู้มอง ที่ซ่อนอยู่ลึกๆ .....ไปเป็น.....

"การรู้เห็นธรรม ตามที่มันเป็น"(ตถตา).......ซึ่งไม่มีตัวผู้ไปมองไปดูไปรู้.....มันคงเป็นเพียงสภาวธรรมที่เป็นไปอยู่ด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัย ตามหน้าที่ของธาตุ ขันธ์ อายตนะ.......เหตุ..ปัจจัย...กรรม ...อดีต...ส่งผลให้เกิดเป็นขันธ์ในปัจจุบัน ......เหตุ..ปัจจัย...กรรม ...ในปัจจุบัน...ส่งผลให้เกิดเป็นขันธ์ในอนาคต.....เชื่อมต่อกันเหมือนห่วงโซ่ที่ร้อยกันเป็นวงกลมที่ไม่รู้จบ"

:b16:

แล้วทุกอย่างก็จะกลับกลายไปเป็นเหมือนอย่างนามแฝงของคุณเจ้าของกระทู้นะครับ

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 09:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
เคล็ดวิชาศึกษาจิต :b40: :b40:

[u]หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ 4เอง[/u]

หลังจากนั้น ผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ ซึ่งรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆอย่างเป็นอิสระจากกิเลส และอารมณ์ต่างๆ ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด :b41:


ฉบับละเอียดตามนี้: :b39:
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B9%80 ... 52104.html


:b8: ขอบพระคุณคะ นะไปอ่านและศึกษานะคะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร