วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 02:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2012, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกครั้งที่เรามีความอยากไม่ว่าจะเป็นอะไร ถ้าเราไม่ตอบสนองมัน จิตมันก็ไม่ได้เสพ เมื่อมันไม่ได้เสพจิตมันก็จะค่อยๆหมดแรงไปทีละน้อย แต่ถ้าเราเสพจิตมันก็จะมีกำลังสะสมไปเรื่อยๆ ฉนั้นตรงนี้เองที่พระพุทธองค์ทรงให้เราละเว้นกิเลสตัณหาทุกประเภท ฉะนั้นถ้าเราเกิดความอยากขึ้นมาเราไปตอบสนองมันเท่ากับเราได้ให้อาหารแก่มัน ถ้าเราไม่ตอบสนองจิตมันก็จะต้องมีอาหารเหมือนกับร่างกายเหมือนกัน มันก็จะไปดึงอาหารเก่ากิเลสเก่าๆมาเป็นอาหารเหมือนร่างกายเรา ร่างกายเราที่ไม่กินอาหารก็อยู่ได้ เพราะร่างกายเราก็จะไปดึงอาหารเก่าหรือพลังงานเก่าที่สะสมมาใช้เช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้นจิตก็เหมือนร่างกายเรานี่แหละเมื่อมันไม่ได้เสพ มันก็จะไปดึงสังขารเก่าๆมาใช้ สังขารเก่าๆก็เริ่มหมด เมื่อเราไม่ตอบสนองมัน ไม่ได้เสพมันเรื่อยๆมันก็หมดแรงไป เหมือนร่างกายเรา ที่ขาดอาหารก็จะต้องตายลงเช่นเดียวกัน พอเข้าใจนะครับ ฉะนั้นที่พระพุทธองค์ทรงให้เราลดละเลิกเพื่ออะไร เมื่อวิญญาณมันไม่ได้เสพหรือรับรู้บ่อยๆ มันก็หมดแรงไปในที่สุด ฝากไว้เป็นข้อสังเกตุ อย่าตอบสนองมัน
:b34: จงมีสติอยู่ทุกเวลาอุเบกขาอยู่ทุกเมื่อ :b34:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ทุกครั้งที่เรามีความอยากไม่ว่าจะเป็นอะไร ถ้าเราไม่ตอบสนองมัน จิตมันก็ไม่ได้เสพ


ความอยากจำแนกออกได้ ๒ อย่าง คือ ความอยากที่เป็นกุศล ๑ ความอยากที่เป็นอกุศล ๑

อยากที่เป็นกุศล เรียกสั้นๆว่า ฉันทะ

อยากที่เป็นอกุศล เรียกสั้นๆว่า ตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความต้องการ หรือ ปรารถนานี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก
ขอยกพุทธพจน์มาตั้งเป็นหลัก พระองค์ตรัสว่า ฉนฺทมูลกา สพฺเพ ธมฺมา แปลว่า ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล

หมายความว่า เรื่องของมนุษย์ทุกสิ่งทุกอย่าง มีความต้องการเป็นมูล มีความอยาก เป็นต้นทาง

เพราะฉะนั้น

๑. เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่องความอยาก ความปรารถนา ความต้องการนี้ให้ชัดเจน

๒. ในเมื่อความสุขเป็นการได้สนองความต้องการ หรือได้สนองความปรารถนา มันก็บ่งชี้ว่า การที่จะพัฒนาความสุขได้นั้น ก็ต้องพัฒนาความอยาก พัฒนาความปรารถนา หรือพัฒนาความต้องการด้วย มิฉะนั้น การพัฒนาความสุข ก็จะไม่สำเร็จ

เป็นอันว่า ความต้องการนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา

ก็จึงมาทำความเข้าใจเรื่องความต้องการ หรือความอยากกันต่อไป ขอให้ถือหลักความต้องการนี้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ควรไปหลบไปเลี่ยงที่จะศึกษามัน

ความคลุมเครือพร่ามัวในหลักความอยากความต้องการนี้ ทำให้มองอะไรไม่ชัด พัฒนาไม่เดินหน้าแก้ปัญหาไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา จริยธรรม วิชาการ หรือกิจการอะไรก็ตาม ถ้าจับจุดนี้ไม่ได้ ก็เป็นอันว่า ไปไม่ถึงไหน ไม่ถึงเนื้อตัวไม่ถึงสาระของเรื่องนั้นๆ


ค่อยๆศึกษาต่อที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 7#msg15177

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:
ทุกครั้งที่เรามีความอยากไม่ว่าจะเป็นอะไร ถ้าเราไม่ตอบสนองมัน จิตมันก็ไม่ได้เสพ


ความอยากจำแนกออกได้ ๒ อย่าง คือ ความอยากที่เป็นกุศล ๑ ความอยากที่เป็นอกุศล ๑

อยากที่เป็นกุศล เรียกสั้นๆว่า ฉันทะ

อยากที่เป็นอกุศล เรียกสั้นๆว่า ตัณหา
อันนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยที่สุด ฉันทะนั้นเป็นธรรมที่เป็นกุศลเพราะฉันทะจะใช้กับการปรารถถนาเพื่อมุ่งสู่การปฎิบัติเพื่อสู่จุดหมาย อย่างเช่นเราปรารถนาพ้นทุกข์ ปรารถนานิพพาน บางท่านบอกว่าเป็นกิเลส แต่บางอย่างการเสพเมถุ การเสพอารมณ์ต่างๆเสพได้ให้เสพแบบไม่ยึด มันก็เลยงง เพราะความไม่เข้าใจกันนั้นเอง สรุปสิ่งไหนที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้นแหละครับที่เราควรเว้น แต่สิ่งไหนยังทำไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรงด แต่งดไม่ได้ก็ไม่ใช่ความผิดครับ ต้องแยกให้ออก ผิด กับ ควรงดเว้น มันต่างกันมาก และเสพได้ กับควรงดเว้นก็ต่างกันครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
อันนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยที่สุด ฉันทะนั้นเป็นธรรมที่เป็นกุศลเพราะฉันทะจะใช้กับการปรารถถนาเพื่อมุ่งสู่การปฎิบัติเพื่อสู่จุดหมาย

มั่วอีกแล้วบิกทู่ ใครบอกคุณล่ะว่า ฉันทะเป็นธรรมที่เป็นกุศล
ฉันทะมันเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล

ฉันทะเป็นธรรมหนึ่งส่วนของ อิทธิบาทสี่
อิทธิบาทสี่คือธรรมที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในเรื่องงาน

ถ้างานนั้นเป็นงานที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ฉันทะที่ว่าก็เป็นอกุศล
ถ้างานนั้นเป็นงานที่ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม ฉันทะก็เป็นกุศล
bigtoo เขียน:
อย่างเช่นเราปรารถนาพ้นทุกข์ ปรารถนานิพพาน บางท่านบอกว่าเป็นกิเลส แต่บางอย่างการเสพเมถุ
การเสพอารมณ์ต่างๆเสพได้ให้เสพแบบไม่ยึด มันก็เลยงง เพราะความไม่เข้าใจกันนั้นเอง

ที่งงก็เพราะไม่เข้าใจบัญญัติและปรมัตถ์ไง แถมเอาตัวเองเป็นที่ตั้งมันก็พาลไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่
"ไตรสิกขา" มันไม่ใช่รู้ธรรมงูๆปลา แล้วมาคุยฟุ้งเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรงน่ะ

bigtoo เขียน:
สรุปสิ่งไหนที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้นแหละครับที่เราควรเว้น แต่สิ่งไหนยังทำไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรงด แต่งดไม่ได้ก็ไม่ใช่ความผิดครับ ต้องแยกให้ออก ผิด กับ ควรงดเว้น มันต่างกันมาก และเสพได้ กับควรงดเว้นก็ต่างกันครับ

พระพุทธทรงบัญญัติ จำแนกแจกแจง กำหนดสถานะของบุคคล
บุคคลสถานะหนึ่งก็รู้อย่างหนึ่ง การปฏิบัติมันก็เป็นอย่างหนึ่ง
การไม่รู้สถานะของตัวเอง แล้วไปปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ใช่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานะตัวเอง
ย่อมทำให้สิ่งที่ตัวเองทำ มาบดบังธรรมอันควรรู้ตามสถานะปัจจุบันนั้น

ดูง่ายๆว่าบดบังอย่างไร ก็อย่างเช่น ฉันทะเป็นอาการของจิต
เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล บิกทู่ยังมองเป็นกุศลอย่างเดียว

แถมยังเข้าใจผิดว่า ฉันทะเป็นความอยากไปซะอีก
แท้จริงแล้ว ความอยากคือตัณหาเป็นกิเลสที่เป็นทั้งดีและชั่ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
bigtoo เขียน:
อันนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยที่สุด ฉันทะนั้นเป็นธรรมที่เป็นกุศลเพราะฉันทะจะใช้กับการปรารถถนาเพื่อมุ่งสู่การปฎิบัติเพื่อสู่จุดหมาย

มั่วอีกแล้วบิกทู่ ใครบอกคุณล่ะว่า ฉันทะเป็นธรรมที่เป็นกุศล
ฉันทะมันเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล

ฉันทะเป็นธรรมหนึ่งส่วนของ อิทธิบาทสี่
อิทธิบาทสี่คือธรรมที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในเรื่องงาน

ถ้างานนั้นเป็นงานที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ฉันทะที่ว่าก็เป็นอกุศล
ถ้างานนั้นเป็นงานที่ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม ฉันทะก็เป็นกุศล
bigtoo เขียน:
อย่างเช่นเราปรารถนาพ้นทุกข์ ปรารถนานิพพาน บางท่านบอกว่าเป็นกิเลส แต่บางอย่างการเสพเมถุ
การเสพอารมณ์ต่างๆเสพได้ให้เสพแบบไม่ยึด มันก็เลยงง เพราะความไม่เข้าใจกันนั้นเอง

ที่งงก็เพราะไม่เข้าใจบัญญัติและปรมัตถ์ไง แถมเอาตัวเองเป็นที่ตั้งมันก็พาลไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่
"ไตรสิกขา" มันไม่ใช่รู้ธรรมงูๆปลา แล้วมาคุยฟุ้งเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรงน่ะ

bigtoo เขียน:
สรุปสิ่งไหนที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้นแหละครับที่เราควรเว้น แต่สิ่งไหนยังทำไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรงด แต่งดไม่ได้ก็ไม่ใช่ความผิดครับ ต้องแยกให้ออก ผิด กับ ควรงดเว้น มันต่างกันมาก และเสพได้ กับควรงดเว้นก็ต่างกันครับ

พระพุทธทรงบัญญัติ จำแนกแจกแจง กำหนดสถานะของบุคคล
บุคคลสถานะหนึ่งก็รู้อย่างหนึ่ง การปฏิบัติมันก็เป็นอย่างหนึ่ง
การไม่รู้สถานะของตัวเอง แล้วไปปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ใช่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานะตัวเอง
ย่อมทำให้สิ่งที่ตัวเองทำ มาบดบังธรรมอันควรรู้ตามสถานะปัจจุบันนั้น

ดูง่ายๆว่าบดบังอย่างไร ก็อย่างเช่น ฉันทะเป็นอาการของจิต
เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล บิกทู่ยังมองเป็นกุศลอย่างเดียว

แถมยังเข้าใจผิดว่า ฉันทะเป็นความอยากไปซะอีก
แท้จริงแล้ว ความอยากคือตัณหาเป็นกิเลสที่เป็นทั้งดีและชั่ว
ก็บอกแล้วไงว่าคุณมันเข้าใจไปแบบนั้น ผมเข้าใจแบบนี้ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ฉันทะเป็นอิทธิบาทสี่เพื่อความบรรลุธรรม ไม่ใช่อิทธิบาท4เพื่อลงนรกไปทำบาป มันป็นเรื่องชองกุศล หรือกลางๆก็ได้ ถ้าเป็นไปเพื่อนรกเขาใช้ว่าความอยากหรือตัวสั่นเช้าใจมั้ย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
bigtoo เขียน:
bigtoo เขียน:
สรุปสิ่งไหนที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้นแหละครับที่เราควรเว้น แต่สิ่งไหนยังทำไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรงด แต่งดไม่ได้ก็ไม่ใช่ความผิดครับ ต้องแยกให้ออก ผิด กับ ควรงดเว้น มันต่างกันมาก และเสพได้ กับควรงดเว้นก็ต่างกันครับ

พระพุทธทรงบัญญัติ จำแนกแจกแจง กำหนดสถานะของบุคคล
บุคคลสถานะหนึ่งก็รู้อย่างหนึ่ง การปฏิบัติมันก็เป็นอย่างหนึ่ง
การไม่รู้สถานะของตัวเอง แล้วไปปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ใช่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานะตัวเอง
ย่อมทำให้สิ่งที่ตัวเองทำ มาบดบังธรรมอันควรรู้ตามสถานะปัจจุบันนั้น

ดูง่ายๆว่าบดบังอย่างไร ก็อย่างเช่น ฉันทะเป็นอาการของจิต
เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล บิกทู่ยังมองเป็นกุศลอย่างเดียว

แถมยังเข้าใจผิดว่า ฉันทะเป็นความอยากไปซะอีก
แท้จริงแล้ว ความอยากคือตัณหาเป็นกิเลสที่เป็นทั้งดีและชั่ว
พระองค์จะบวชทำไมท่านลองคิดดูสิครับ ถ้าการบวชมันไม่มีประโยชน์(จะบวชทำไมก็ไม่ต้องมาบวชสิ จะมาออกกฎทำไมมากมายเพื่ออะไร)เข้าใจแล้วก็ไปปฎิบัติเอา ก็บรรลุธรรมได้ง่ายๆขนาดนั้น และที่ท่านบัญญัติจำแนกตามสัตว์อย่างที่ท่านว่านะถูกแล้ว เพราะคนเรามันมีอินทรีย์แตกต่างกัน ฆารวาสก็ให้ค่อยๆทำไปใครมีอินทรีย์มากหน่อยก็ทำตามได้และก็เป็นสื่งดีที่สมควรทำ ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร ค่อยๆทำไป เพราะในที่สุดแล้วมันหนีไม่ได้ที่จำเป็นต้องเว้น กามสุขทั้งปวง มันก็เท่านี้ไม่เห็นมีอะไรมากเลย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


มาอีกแล้วเจื้อยแจ้ว ฉันทะเป็นอาการที่จิตพอใจที่จะกระทำนั้นก็คือการปฏิบัติ
ในที่นี้ก็คืออริยมรรคมีองค์แปด มรรคมีองค์แปดคือแนวทางปฏิบัติมันเป็นงาน(อิทธิบาท)
ที่คุณพูดมาแต่แรกเขาเรียกโลภะ มีเหตุมาจากตัณหา คืออยากได้ที่เป็นอาการของจิต
ที่ไม่เกี่ยวกับการงานหรือปฏิบัติ หรือที่จิ๊กโก๋บอกว่าเอาไว้ก่อนพ่อสอนไว้
ก็ที่ท่านเขียนไว้ว่าฉันทะเป็นงานในมรรคมีองค์แปดไง แล้วทำไมบอกว่า เป็นอกุศลได้ละ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 15:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะ ใช้กับทั้งกุศล และ อกุศล เช่น กามฉันทะ ฉันทะตัณหา ลองดูใน พุทธพจน์ได้
และฉันทะ ก็เป็นธรรม เบื้องต้น ในการขับเคลือน ธรรมอันเป็นกุศล ด้วย


แค่ความคิดเห็นนึง น่ะจ๊ะ

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ก็บอกแล้วไงว่าคุณมันเข้าใจไปแบบนั้น ผมเข้าใจแบบนี้ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ฉันทะเป็นอิทธิบาทสี่เพื่อความบรรลุธรรม ไม่ใช่อิทธิบาท4เพื่อลงนรกไปทำบาป มันป็นเรื่องชองกุศล หรือกลางๆก็ได้ ถ้าเป็นไปเพื่อนรกเขาใช้ว่าความอยากหรือตัวสั่นเช้าใจมั้ย

เอ! แล้วจะทำยังไงดี เอางี้ดีกว่า เห็นชอบโม้ว่าชอบทำบุญใส่บาตร
แบบนี้คงมีใจเลื่อมใส พระสงฆ์ ถ้าจะเชื่อแต่พระสงฆ์

ถ้าอย่างงั้นขออ้างพระสงฆ์หน่อย ที่จริงไม่อยากอ้างหรอกกลัวไปกระทบท่านเข้า
แต่เห็นเป็นบิกทู่ผู้ที่ชอบใส่บาตรเป็นชีวิตจิตใจ คงไม่กล่าไปปรามาสท่านกระมั้ง
ดูนะครับนี้เป็นความเห็นของหลวงพ่อ ประยุตฯ

2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง )
8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ )
9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ )
10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ )
11. วิริยะ (ความเพียร )
12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ )
13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ )
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
พระองค์จะบวชทำไมท่านลองคิดดูสิครับ ถ้าการบวชมันไม่มีประโยชน์(จะบวชทำไมก็ไม่ต้องมาบวชสิ จะมาออกกฎทำไมมากมายเพื่ออะไร)เข้าใจแล้วก็ไปปฎิบัติเอา ก็บรรลุธรรมได้ง่ายๆขนาดนั้น และที่ท่านบัญญัติจำแนกตามสัตว์อย่างที่ท่านว่านะถูกแล้ว เพราะคนเรามันมีอินทรีย์แตกต่างกัน ฆารวาสก็ให้ค่อยๆทำไปใครมีอินทรีย์มากหน่อยก็ทำตามได้และก็เป็นสื่งดีที่สมควรทำ ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร ค่อยๆทำไป เพราะในที่สุดแล้วมันหนีไม่ได้ที่จำเป็นต้องเว้น กามสุขทั้งปวง มันก็เท่านี้ไม่เห็นมีอะไรมากเลย

หลงกระทู้หรือเปล่าครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
มาอีกแล้วเจื้อยแจ้ว ฉันทะเป็นอาการที่จิตพอใจที่จะกระทำนั้นก็คือการปฏิบัติ
ในที่นี้ก็คืออริยมรรคมีองค์แปด มรรคมีองค์แปดคือแนวทางปฏิบัติมันเป็นงาน(อิทธิบาท)
ที่คุณพูดมาแต่แรกเขาเรียกโลภะ มีเหตุมาจากตัณหา คืออยากได้ที่เป็นอาการของจิต
ที่ไม่เกี่ยวกับการงานหรือปฏิบัติ หรือที่จิ๊กโก๋บอกว่าเอาไว้ก่อนพ่อสอนไว้
ก็ที่ท่านเขียนไว้ว่าฉันทะเป็นงานในมรรคมีองค์แปดไง แล้วทำไมบอกว่า เป็นอกุศลได้ละ

อ่านธรรมอ่านด้านเดียวมันก็มีผลด้านเดียว ถ้าอ่านธรรมคู่มันก็รู้คู่ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณนี่มันสมองน้อยจริงๆเลยพี่โฮฮับ การปฎิบัติเพื่อสู่การบรรลุเข้าใช้คำว่าฉันทะครับท่าน มีหรือครับฉันทะใช้ในการปฏิบัติไปทำชั่วนะ แต่ถ้าอาการของจิตที่เกิดอยากขึ้นมาเขาเรียกกามฉันทะก็ไม่ผิด คุณลองดูที่ผมเขียนซิครับว่าฉันทะเป็นธรรมกลางๆ คุณนี่มันมึนจริงๆเลยยกตัวอย่างพระมาอ้าง คุณนึกว่าผมกลัวอย่างนั้นเหรอครับ ศาสนาแห่งปัญญานะครับ ไม่ใช่ศาสนาแห่งความเชื่อ กามฉันทะใครๆ ไม่เคยได้ยินก็บ้าแล้วคุณนึกว่าผมเด็กน้อยหรือไงยกมาสุ่มสี่สุมห้า อิทธิบาทสี่มันเป็นโพธิปักขิยธรรมนะคุณ เป็นองค์ของมรรค ไม่ใช่ทางเดินโจร ฉันทะแปลว่าความพอใจ ถ้าตีง่ายอย่างนี้ก็ถูก แต่ไม่ใช่การปฏิบัติครับท่าน Onion_L Onion_L คุณเคยได้ยินเหรอครับโจรมันมีฉันทะมากเลย มันมีวิริยะ มันมีจิตตะ มันมีวิมังสา ถ้ามันมีมันจะโดนเขายิงตายเหรอ บ้าไปแล้ว

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
bigtoo เขียน:
ก็บอกแล้วไงว่าคุณมันเข้าใจไปแบบนั้น ผมเข้าใจแบบนี้ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ฉันทะเป็นอิทธิบาทสี่เพื่อความบรรลุธรรม ไม่ใช่อิทธิบาท4เพื่อลงนรกไปทำบาป มันป็นเรื่องชองกุศล หรือกลางๆก็ได้ ถ้าเป็นไปเพื่อนรกเขาใช้ว่าความอยากหรือตัวสั่นเช้าใจมั้ย

เอ! แล้วจะทำยังไงดี เอางี้ดีกว่า เห็นชอบโม้ว่าชอบทำบุญใส่บาตร
แบบนี้คงมีใจเลื่อมใส พระสงฆ์ ถ้าจะเชื่อแต่พระสงฆ์

ถ้าอย่างงั้นขออ้างพระสงฆ์หน่อย ที่จริงไม่อยากอ้างหรอกกลัวไปกระทบท่านเข้า
แต่เห็นเป็นบิกทู่ผู้ที่ชอบใส่บาตรเป็นชีวิตจิตใจ คงไม่กล่าไปปรามาสท่านกระมั้ง
ดูนะครับนี้เป็นความเห็นของหลวงพ่อ ประยุตฯ

2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง )
8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ )
9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ )
10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ )
11. วิริยะ (ความเพียร )
12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ )
13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ )
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355
พี่โฮตั้งสติดีๆๆทีผมบอกว่าปรารถนาเป็นฉันทะ คุณบอกว่าไม่ใช่ฉันทะเป็นอิทธิบาท4ข้อปฎิบัติในองค์มรรค ผมก็เลยหยุดต่เพราะผมรู้ว่าเป็นอย่างนั้น ที่ผมบอกว่าเป็นข้อปฎิบัติในองค์มรรคคุณก็ไปอีกแนวหนึ่งตกลงใครหลงกัน :b19: และที่ยกพระมาอ้างนะครับคุณศึกษาศาสนาเข้าใจลึกขนาดไหน ผมเคารพด้วยควาเป็นสรณะ ไม่ยึดติดตัวบุคคล พระบวชใหม่ยังไม่ได้อ่าธรรมมะสักบทผมก็กราบ พระดูดบุหรี่ผมก็กราบเพราะกราบเพราะเป็นสรณะครับไม่ยึดติดตัวบุคคล แต่ถ้ายึดติดตัวบุคคลแล้วจะหากราบใครดีกราบตัวเองไม่ดีกว่าเหรอครับ พอเข้าใจนะ คำที่คุณcopyมานั้นทำไม่ไม่เอามาเฉยๆล่ะยกพระมาเพื่ออะไร ที่ไหนมันก็มี
คุณกำลังคิดอะไรหรือ รู้นะคิดอะไรอยู่

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
คุณนี่มันสมองน้อยจริงๆเลยพี่โฮฮับ การปฎิบัติเพื่อสู่การบรรลุเข้าใช้คำว่าฉันทะครับท่าน มีหรือครับฉันทะใช้ในการปฏิบัติไปทำชั่วนะ แต่ถ้าอาการของจิตที่เกิดอยากขึ้นมาเขาเรียกกามฉันทะก็ไม่ผิด คุณลองดูที่ผมเขียนซิครับว่าฉันทะเป็นธรรมกลางๆ

สงสัยคุณชอบดูลิเกแน่ๆ เห็นเป็นศัพท์บาลีเข้าหน่อย ก็นึกว่าเป็นสวรรค์วิมาน
ที่บอกว่าฉัทะเป็นธรรมกลางๆนั้นน่ะ หมายความว่าเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล
มันขึ้นอยู่ว่า จิตที่เป็นประธานหรือจิตแรกปรารถณาอะไร อย่างเช่นเรื่องที่เราเคยคุยกัน
เด็กที่เรียนหมอ ถ้าจิตแรกหรือความตั้งใจเขาต้องการเรียนเพื่อรักษามนุษย์
การเรียนการทดลองต่างๆก็เป็นอิทธิบาทกุศล และฉันทะในอิทธิบาทก็เป็นกุศล
แต่ถ้าเด็กเรียนเพราะ คิดว่าหมอเป็นอาชีพที่มีรายได้มากรวยเร็ว
การเรียนการทดลองเป็นอิทธิบาทที่อกุศลและฉันทะจึงเป็นอกุศลด้วย

bigtoo เขียน:
คุณนี่มันมึนจริงๆเลยยกตัวอย่างพระมาอ้าง คุณนึกว่าผมกลัวอย่างนั้นเหรอครับ ศาสนาแห่งปัญญานะครับ ไม่ใช่ศาสนาแห่งความเชื่อ กามฉันทะใครๆ ไม่เคยได้ยินก็บ้าแล้วคุณนึกว่าผมเด็กน้อยหรือไงยกมาสุ่มสี่สุมห้า

ที่ผมเอาพระมาอ้าง เพราะผมรู้ไงว่าคุณมันเป็นพวก ชอบพูดเอาดีใส่ตัว
ถ้าสิ่งไหนพูดแล้วตัวเองไม่ดูดีก็จะปฏิเสธ แล้วอีกอย่างจะบอกให้ที่คุณบอกว่า
ศาสนาแห่งปัญญา ไม่ใช่ความเชื่อ แค่ธรรมะง่ายๆคุณยังสับสน แล้วการปฏิบัติจะไม่ผิดได้ไง

ศาสนาทุกศาสนาต้องมีความเชื่อครับ ไม่งั้นจะมานับถือทำไม
แต่พุทธศาสนาแตกต่างจากเขา เพราะพุทธศาสนาต้องเชื่อด้วยปัญญาครับ

ถ้าคุณไม่เชื่อแล้วใส่บาตรทำไมครับ แล้วบุคคลที่คุณใส่บาตรเป็นพระสงฆ์
พระสงฆ์มีหน้าที่ถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่เชื่อพระสงฆ์แล้วมา
นับถือศาสนาพุทธทำไม แล้วที่บอกว่าใส่บาตรก็ขี้โม้ละซิ :b32:
bigtoo เขียน:
อิทธิบาทสี่มันเป็นโพธิปักขิยธรรมนะคุณ เป็นองค์ของมรรค ไม่ใช่ทางเดินโจร ฉันทะแปลว่าความพอใจ ถ้าตีง่ายอย่างนี้ก็ถูก แต่ไม่ใช่การปฏิบัติครับท่าน Onion_L Onion_L คุณเคยได้ยินเหรอครับโจรมันมีฉันทะมากเลย มันมีวิริยะ มันมีจิตตะ มันมีวิมังสา ถ้ามันมีมันจะโดนเขายิงตายเหรอ บ้าไปแล้ว

ในโพธิปักขิยธรรมน่ะ ทำไมพระพุทธองค์ต้องเน้น ธรรมที่เป็นประธาน
และธรรมที่เป็นประธาน ก็คือ สัมมัปปธานสี่

เพราะว่าสัมมัปปธานเป็นธรรมที่เน้นใจให้เป็นกุศล เพื่อให้ธรรมที่ตามมา คืออิทธิบาทสี่
ก็เป็นกุศลด้วย
พวกโจรทำอิทธิบาทสี่ด้วยใจที่เป็นอกุศลนำ อิทธิบาทและฉันทะจึงเป็นอกุศลตามตัวนำ

ใจรมันมีฉันทะ วิริยะ จิตตะและวิมังสามากกว่าคนธรรมดาซะอีก เพราะมันกลัวถูกยิงตาย
แบบที่คุณประชดไง มันจะปล้นจะฆ่าใคร ต้องวางแผน ต้องระแวดระวังหาลู่ทาง
หลบหนีสารพัด ถ้าพลาดก็ติดคุกหรือไม่ก็ถูกวิสามัญ เข้าใจมั้ย
bigtoo เขียน:
พี่โฮตั้งสติดีๆๆทีผมบอกว่าปรารถนาเป็นฉันทะ คุณบอกว่าไม่ใช่ฉันทะเป็นอิทธิบาท4ข้อปฎิบัติในองค์มรรค ผมก็เลยหยุดต่เพราะผมรู้ว่าเป็นอย่างนั้น ที่ผมบอกว่าเป็นข้อปฎิบัติในองค์มรรคคุณก็ไปอีกแนวหนึ่งตกลงใครหลงกัน :b19: และที่ยกพระมาอ้างนะครับคุณศึกษาศาสนาเข้าใจลึกขนาดไหน ผมเคารพด้วยควาเป็นสรณะ ไม่ยึดติดตัวบุคคล พระบวชใหม่ยังไม่ได้อ่าธรรมมะสักบทผมก็กราบ พระดูดบุหรี่ผมก็กราบเพราะกราบเพราะเป็นสรณะครับไม่ยึดติดตัวบุคคล แต่ถ้ายึดติดตัวบุคคลแล้วจะหากราบใครดีกราบตัวเองไม่ดีกว่าเหรอครับ พอเข้าใจนะ คำที่คุณcopyมานั้นทำไม่ไม่เอามาเฉยๆล่ะยกพระมาเพื่ออะไร ที่ไหนมันก็มี
คุณกำลังคิดอะไรหรือ รู้นะคิดอะไรอยู่

ไอ้ทีคุณทำอยู่นั้นแหล่ะ เขาเรียกยึดตัวบุคคล แค่เห็นคนใส่ผ้าเหลืองก็กราบ
ไม่ดูตาม้าตาเรือ เป็นแบบนั้นผมว่า คุณไปนับถือผีแบบพวกคนป่าดีกว่ามั้ง
จะได้ไม่เปลืองข้าวใส่บาตร แต่ถ้าเป็นการใส่บาตรเพื่อสร้างภาพก็ตามใจคุณครับ

เราชาวพุทธนับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวครับ แต่พระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้ว
พระองต์บอกให้เอาธรรมะเป็นตัวแทนพระองค์ แล้วพระสงฆ์มีหน้าที่
ถ่ายทอดพระธรรมของพระพุทธเจ้า ที่เรานับพระสงฆ์ก็เพราะในส่วนนี้
ไม่ใช่ไปนับถือเพราะท่านใส่ผ้าเหลือง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร