วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 19:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b5:

นี่คงไม่ได้กะจะเอาใครมาเป็นโสดาปัตติมรรค มิจฉาสภาวะ ต่อนะ

:b6:

:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา

[๔๙]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว

ภิกษุทั้งหลายรับ พระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาต ไปถวายรูปเดียว.

[๕๐]
ครั้งนั้น พระผู้พระภาค ทรงออกจากที่ หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้ว

โดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.

จบ สูตรที่ ๒


นี่คือ ปัจจัยของการเกิด เวทนา ที่เกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นอยู่ (สัมมาสมาธิ)



แต่ปัจจัยของการเกิด เวทนา ในปฏิจจสมุปบาท มีเพียงสิ่งเดียว คือ ผัสสะ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ

เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ


ปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน และเหตุของการเกิดภพชาติ ในวัฏฏสงสาร

เมื่อมีผัสสะ เวทนา(ความรู้สึกยินดี ยินร้าย)เกิด เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าผัสสะที่เกิดขึ้น มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด

เมื่อผัสสะ เกิดขึ้นแล้ว ทำไม จึงก่อให้เกิด ความรู้สึกยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง เฉยๆบ้าง

เมื่อไม่รู้ชัด ในผัสสะที่เกิดขึ้น ย่อมสร้างเหตุออกไปทาง กายกรรมบ้าง วจีกรรมบ้าง ตามความรู้สึกยินดี ยินร้าย ที่เกิดขึ้น ภพชาติ ณ ปัจจุบัน ขณะ เกิดขึ้นเนืองๆ จนกว่าจะมรณะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 12:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley

อิอิ มาต่อ

ด้วยว่า....กระทู้นี้ อิอิ ขอเท้าความนิดนุง
เพราะ กระทู้ล่วงเลยมาหลายหน้าแล้ว เด๋วผู้ติดตามช่วงหลัง ๆ จะปะติดปะต่อไม่ถูก

ด้วย คุณวลัยพร ว่าอย่างนี้

walaiporn เขียน:
แรกเริ่มรู้ เหมือนกันหมด ไม่มีแตกต่าง คือ ติดอุปกิเลส

เมื่อเป็นเช่นนี้ แรกตรัสรู้ เป็นเหตุให้ ทรงรู้สึกแบบนี้


ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ



สภาวะที่นำมาแสดงนี้ เป็นเพียงสภาวะ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จึงยังไม่สามารถแยกสภาวะสัญญากับปัญญา ออกจากกันได้

หมายเหตุ

ที่นำสภาวะของพระผู้มีพระภาค มาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นว่า แรกรู้ แม้แต่พระองค์ ก็ทรงเจอสภาวะอุปกิลสหรือวิปัสสนูปกิเลส แล้วอย่างเราๆท่านๆทั้งหลาย จะไปเหลืออะไร


ส่วนเอรากอน มาแสดงความเห็นที่แตกต่าง เจ้าค่ะ

smiley smiley smiley

พอดีไปตอบที่กระทู้ viewtopic.php?f=1&t=42617

แต่ บังเอิ๊ญ บังเอิญ ที่เมื่อตอบเสร็จแล้ว
กลับเห็นว่าเนื้อความมันดูจะต่อเนื่องสอดคล้องกับกระทู้นี้ได้ด้วย
เข้ากันได้อย่างลงตั๊ว ลงตัว
ก็เลย ถือโอกาส cop มาแปะ

smiley smiley smiley

eragon_joe เขียน:
bigtoo เขียน:
... ส่วนที่ในพระสูตรนั้น คนที่ฟังส่วนใหญ่ที่บรรลุธรรมโดยง่ายนั้นสังเกตุว่า คนกลุ่มเหล่านั้นเป็นกลุ่มที่ศึกษาความเพรียร เพื่อความบรรลุธรรมทั้งนั้น เพียงแต่ยังไม่มีปัญญาตรงเท่านั้น ส่วนความเพียรอื่นๆลองรับไว้เกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศิล เรื่องสมาธิ เช่นพวกชฎิล 3พี่น้องเป็นต้น :b43: :b43: :b43:


:b6: ...ใช่ ใช่ ท่านปัญญจวัคคี พระสารีบุตร พระโมคคัลลา ก็บรรลุธรรมได้ไม่ยาก
ทำให้นึกถึงพระสูตรนี้ :b12:

Quote Tipitaka:
ปฏิจจสมุปปบาท


อนึ่ง พญาครุฑใหญ่ประมาณ ๑๕๐ โยชน์ ปีกขวาของพญาครุฑประมาณ ๕๐ โยชน์ ปีกซ้ายก็เหมือนกัน แผ่นหางประมาณ ๖๐ โยชน์ คอประมาณ ๓๐ โยชน์ ปาก ๙ โยชน์ เท้าทั้งสองประมาณ ๑๒ โยชน์ เมื่อพญาครุฑนั้นแสดงลมของพญาครุฑ ที่ ๗-๘ ร้อยโยชน์ไม่เพียงพอ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เขาทั้งหลายพูดกันว่า อากาศนี้ไม่มีที่สุด อากาศนี้ไม่มีที่สุด แต่ไหนแต่ไรมา พวกเราไม่ได้ แม้โอกาสที่จะกระพือปีก เพราะอากาศนั้นไม่มีที่สุด ในข้อนั้นพึงกล่าวว่า อากาศของพญาครุฑตัวเข้าไปถึงทั้งตัวนิดหน่อย ของนกเล็กๆ เหล่าอื่นไม่นิดหน่อย พึงกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทของพระเถระผู้เข้าถึงญาณนั่นแลตื้น แม้ของพวกอื่นไม่ตื้นอย่างนั้นเหมือนกัน.


อนึ่ง อสุรินทราหูจากเส้นผมถึงปลายเท้า ๔,๘๐๐ โยชน์ ระหว่างแขนทั้งสองข้างของอสุรินทราหู ๑,๒๐๐ โยชน์ โดยส่วนหนา ๖๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าโดยส่วนหนา ๒๐๐ โยชน์ จมูก ๓๐๐ โยชน์ ปากก็เหมือนกัน ข้อนิ้วมือข้อหนึ่งๆ ๕๐ โยชน์ ระหว่างคิ้วก็เหมือนกัน หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์ ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ เมื่ออสุรินทราหูนั้นหยั่งลงไปสู่มหาสมุทร น้ำลึกประมาณแค่เข่า เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า มหาสมุทรนี้ลึก ลึก แต่ไหนแต่ไรมา พวกเราไม่ได้น้ำแม้แค่ปิดเข่า เพราะมหาสมุทรนั้นลึกสำหรับราหูผู้ลงไปทั้งตัว ในมหาสมุทรนั้นตื้น สำหรับคนเหล่าอื่นไม่ตื้น พึงกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทของพระเถระผู้เข้าถึงญาณเป็นของง่าย แม้ของคนอื่นไม่ง่ายดังนี้


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวนั้น ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดังนี้ ทรงหมายถึงความนั้น.


จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาท แม้ลึกซึ้งปรากฏว่าเป็นของง่ายแก่พระเถระ ด้วยเหตุ ๔ ประการ

เหตุ ๔ ประการเป็นไฉน

ด้วยการถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในชาติก่อน
ด้วยการอยู่ในสำนักครู
ด้วยความเป็นพระโสดาบัน
ด้วยความเป็นพหูสูต


http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... 9%E0%B8%B2


smiley smiley smiley

ซึ่งที่พระองค์กล่าว ...

eragon_joe เขียน:

ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต

ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
ก็ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น
ก็อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก


ดังนั้น บัญฑิต ในที่นี้ก็คือ ผู้ซึ่ง

ด้วยการถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในชาติก่อน
ด้วยการอยู่ในสำนักครู
ด้วยความเป็นพระโสดาบัน
ด้วยความเป็นพหูสูต


ส่วน ผู้ที่มองปฏิจจสมุปบาทเป็นของง่ายอีกกรณีหนึ่ง คือ พระอานนท์ซึ่งพระองค์ก็ทรงชี้แจงให้เห็นว่าทำไม พระอานนท์จึงเห็นเป็นของง่าย

Quote Tipitaka:
อปสาทนาวณฺณนา
ในบทที่ท่านกล่าวว่า อปสาเทนฺโต นั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้ย่อมปรากฏแก่เราดุจเป็นของง่ายๆ ก็ผิว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ย่อมปรากฏแก่เธอดุจเป็นของง่ายๆ ไซร้ เพราะเหตุไร เธอจึงมิได้เป็นโสดาบันตามธรรมดาของตน เธอตั้งอยู่ในนัยที่เราให้แล้วจึงบรรลุโสดาปัตติมรรค


พระอานนท์เมื่อฟังปฎิจจสมุปบาท ก็ว่าเป็นของง่าย
แต่ที่เห็นเป็นของง่าย ก็ด้วยว่า เธอตั้งอยู่ในนัยที่เราให้แล้วจึงบรรลุโสดาปัตติมรรค

และท่อนต่อมา พระองค์ก็ยังแสดงธรรมจี้สอนไปที่สภาวะของ พระอานนท์ ในตอนนั้น
แต่ก็เป็นการสอนที่ทำให้เห็นภาพ ลำดับแห่ง อริยมรรค และ อริยผลลำดับต่าง ๆ
การบรรลุธรรม แบบสาวกปารมีญาณ ปัจจเจกโพธิญาณ
และ ปิดท้ายลงด้วย
สาวกเช่นเธอตั้งอยู่ในความรู้พื้นๆ... :b5: :b5: :b5:


Quote Tipitaka:
อปสาทนาวณฺณนา(ต่อ)
......
ดูก่อนอานนท์ นิพพานนี้เท่านั้นเป็นของลึกซึ้ง แต่ปัจจยาการเป็นของง่ายของท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอถอนกิเลส ๔ เหล่านี้คือ กามราคสังโยชน์ (การผูกจิตด้วยกามราคะ) ปฏิฆสังโยชน์ (การผูกจิตด้วยความแค้น) อย่างหยาบ กามราคานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ) ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ (กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือความแค้น) ได้แล้ว จึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เธอถอนกิเลส ๔ อันเกี่ยวเนื่องเหตุนั้น ได้แล้ว ไม่ทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เธอถอนกิเลส ๘ อย่างเหล่านี้คือ สังโยชน์ ๕ มีรูปราคะ (ความกำหนัดในรูป) เป็นต้น ภวราคานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ) มานานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคือมานะ) อวิชชานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา) ได้แล้ว ไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต
อนึ่ง เพราะเหตุไร เธอจึงไม่บรรลุสาวกปารมีญาณ ดุจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้บำเพ็ญบารมีตลอดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป และเธอไม่บรรลุปัจเจกโพธิญาณดุจพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมีตลอด ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็หรือผิว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นปรากฏเป็นของง่าย โดยประการทั้งปวงแก่เธอ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ดุจพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้วตลอด ๔ อสงไขย ๘ อสงไขยหรือ ๑๖ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เธอเป็นผู้ไม่มีประโยชน์อะไรด้วยการบรรลุคุณวิเศษเหล่านี้ เธอจงมองดูความผิดพลาดของเธอโดยตลอด

สาวกเช่นเธอตั้งอยู่ในความรู้พื้นๆ ย่อมพูดถึงปัจจยาการอันลึกซึ้งยิ่งนักว่าปรากฏเป็นของง่ายแก่เราดังนี้ คำพูดนี้ของเธอนั้นเป็นคำพูดตรงกันข้ามกับพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้อยคำอันภิกษุเช่นเธอจะพึงกล่าวตรงกันข้ามกับพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่สมควรดังนี้
ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราเพียรเพื่อบรรลุปัจจยาการนี้ล่วงไปถึง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็และชื่อว่าทานอันเราไม่ให้แล้วเพื่อบรรลุปัจจยาการไม่มี ชื่อว่าบารมีอันเราไม่บำเพ็ญแล้วไม่มี ก็และเมื่อเรากำจัดมารและเสนามาร ดุจไม่หายใจด้วยคิดว่า วันนี้เราจักบรรลุปัจจยาการ แผ่นดินผืนใหญ่นี้ ไม่หวั่นไหวแม้แค่ ๒ นิ้ว
เมื่อเราบรรลุบุพเพนิวาส (ขันธปัญจกที่อยู่อาศัยในชาติก่อน) ในปฐมยาม บรรลุทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็เหมือนกัน แต่ในปัจฉิมยามตอนใกล้รุ่ง พอเราเห็นว่าอวิชชาเป็นปัจจัยของสังขารทั้งหลายโดยอาการ ๙ อย่างดังนี้เท่านั้น หมื่นโลกธาตุเปล่งเสียงร้องก้องกังวานเป็นพันๆ เสียง ดุจกังสดาลถูกเคาะด้วยท่อนเหล็ก หวั่นไหวดุจหยาดน้ำที่ใบบัวเมื่อต้องลมฉะนั้น


ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นของลึกซึ้งถึงอย่างนี้และปรากฏว่าเป็นของลึกซึ้ง ดูก่อนอานนท์ การไม่รู้ตาม ไม่บรรลุธรรมนี้ ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ดังนี้.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 0&i=57&p=1


:b8:

พระองค์สอนโดยถือ สัจจะ เป็นหลัก ไม่ได้ไว้หน้าพระอานนท์เลยนะนี่

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 12:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วยขยายให้เห็นชัด ๆ เข้าไปอีก :b4:

Quote Tipitaka:
อปสาทนาวณฺณนา
.....
ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราเพียรเพื่อบรรลุปัจจยาการนี้ล่วงไปถึง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็และชื่อว่าทานอันเราไม่ให้แล้วเพื่อบรรลุปัจจยาการไม่มี ชื่อว่าบารมีอันเราไม่บำเพ็ญแล้วไม่มี ก็และเมื่อเรากำจัดมารและเสนามาร ดุจไม่หายใจด้วยคิดว่า วันนี้เราจักบรรลุปัจจยาการ แผ่นดินผืนใหญ่นี้ ไม่หวั่นไหวแม้แค่ ๒ นิ้ว เมื่อเราบรรลุบุพเพนิวาส (ขันธปัญจกที่อยู่อาศัยในชาติก่อน) ในปฐมยาม บรรลุทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็เหมือนกัน แต่ในปัจฉิมยามตอนใกล้รุ่ง พอเราเห็นว่าอวิชชาเป็นปัจจัยของสังขารทั้งหลายโดยอาการ ๙ อย่างดังนี้เท่านั้น หมื่นโลกธาตุเปล่งเสียงร้องก้องกังวานเป็นพันๆ เสียง ดุจกังสดาลถูกเคาะด้วยท่อนเหล็ก หวั่นไหวดุจหยาดน้ำที่ใบบัวเมื่อต้องลมฉะนั้น



:b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 13:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ช่วยขยายให้เห็นชัด ๆ เข้าไปอีก :b4:

Quote Tipitaka:
อปสาทนาวณฺณนา
.....
ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราเพียรเพื่อบรรลุปัจจยาการนี้ล่วงไปถึง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็และชื่อว่าทานอันเราไม่ให้แล้วเพื่อบรรลุปัจจยาการไม่มี ชื่อว่าบารมีอันเราไม่บำเพ็ญแล้วไม่มี ก็และเมื่อเรากำจัดมารและเสนามาร ดุจไม่หายใจด้วยคิดว่า วันนี้เราจักบรรลุปัจจยาการ แผ่นดินผืนใหญ่นี้ ไม่หวั่นไหวแม้แค่ ๒ นิ้ว เมื่อเราบรรลุบุพเพนิวาส (ขันธปัญจกที่อยู่อาศัยในชาติก่อน) ในปฐมยาม บรรลุทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็เหมือนกัน แต่ในปัจฉิมยามตอนใกล้รุ่ง พอเราเห็นว่าอวิชชาเป็นปัจจัยของสังขารทั้งหลาย[color=#FF0000]โดยอาการ ๙ อย่าง ดังนี้เท่านั้น หมื่นโลกธาตุเปล่งเสียงร้องก้องกังวานเป็นพันๆ เสียง ดุจกังสดาลถูกเคาะด้วยท่อนเหล็ก หวั่นไหวดุจหยาดน้ำที่ใบบัวเมื่อต้องลมฉะนั้น[/color]



:b48: :b48:


ท่านทั้งหลาย โดยอาการ ๙ อย่าง นั้นคือสิ่งใดเล่า .....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 13:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดว่า คำถามประมาณนี้ ท่านอโศกะน่าจะตอบได้นะ

:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คิดว่า คำถามประมาณนี้ ท่านอโศกะน่าจะตอบได้นะ

:b4: :b4: :b4:


มันก็ ปฏิจจสมุปบาท นั้นแหละครับ แต่.............


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 14:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
eragon_joe เขียน:
คิดว่า คำถามประมาณนี้ ท่านอโศกะน่าจะตอบได้นะ

:b4: :b4: :b4:


มันก็ ปฏิจจสมุปบาท นั้นแหละครับ แต่.............


:b6: ...

ถ้าท่านรู้แล้ว เห็นแง่แล้ว ก็ว่ามาเลยเถอะ
ไม่ต้องรอท่านอโศกะ ... หรอก

เพราะ เวลาที่อยากให้แก่มา แก่มักไม่ค่อยมา
แต่เวลาที่หมดอยากแล้ว แก่มักจะมา... :b32: :b32:


:b43: :b43: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 20:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โครงการ walaiporn เฟส 1
walaiporn เขียน:
แรกเริ่มรู้ เหมือนกันหมด ไม่มีแตกต่าง คือ ติดอุปกิเลสเหตุ
ครั้งนั้น พระผู้พระภาค ทรงออกจากที่ หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้ว

โดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า

เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.

พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม สภาวะที่พระองค์ ทรงเคยติดข้องอยู่ ว่าเหตุนั้น เกิดจากอะไร (เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้น/สภาวะ)


ดูจากประโยคนี้

เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.


ยังมีอายูหนา คือ มีความพยายามทำ เพื่อให้สภาวะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ไม่แตกต่างจากพระเจ้าพิมพิสาร


อริยมรรค มีองค์ ๘ ไม่มี มิจฉา มีแต่สัมมา

ผล จึงเป็นเช่นนี้


ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ

สภาวะที่นำมาแสดงนี้ เป็นเพียงสภาวะ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จึงยังไม่สามารถแยกสภาวะสัญญากับปัญญา ออกจากกันได้


หมายเหตุ

ที่นำสภาวะของพระผู้มีพระภาค มาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นว่า แรกรู้ แม้แต่พระองค์ ก็ทรงเจอสภาวะอุปกิลสหรือวิปัสสนูปกิเลส แล้วอย่างเราๆท่านๆทั้งหลาย จะไปเหลืออะไร



โครงการ walaiporn เฟส 2

walaiporn เขียน:
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา

[๔๙]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว

ภิกษุทั้งหลายรับ พระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาต ไปถวายรูปเดียว.

[๕๐]
ครั้งนั้น พระผู้พระภาค ทรงออกจากที่ หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้ว

โดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.

จบ สูตรที่ ๒

นี่คือ ปัจจัยของการเกิด เวทนา ที่เกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นอยู่ (สัมมาสมาธิ)


ผู้บริหารโครงการทั้งสอง อนิจจา วต สังขารา


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 23 ก.ค. 2012, 17:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึก นึกคิดอะไร ยังไง เขียนออกมาให้หมด เพราะ สิ่งๆนั้น ล้วนเป็นเหตุที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่
ตามเหตุปัจจัย ของผู้ใด ก็ของผู้นั้น :b38:


ไม่ได้พูดประชด แต่พูดตามความเป็นจริง เพราะ เข้าใจความรู้สึก จึงบอกว่า เขียนออกมาให้หมด ถ้ายังไม่หมด เขียนได้เรื่อยๆ ตามสะดวก ตามถนัด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 22:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
กำลังคิดว่า....เหตุใหม่....นั้นมีได้เพราะอะไร?...

ทุกการกระทำ....เป็นการสร้างเหตุใหม่เสมอหรือ?

แล้ว....หากเป็นกลางละ....จะเป็นเหตุใหม่มั้ยหนอ?

วันนี้ได้ยินพระสวด.....กุศลาธัมมา...อกุศลาธัมมา...อัพยากตาธัมมา

ท่านใดพอจะรู้....ช่วยอธิบายให้หน่อยก็ดีนะครับ :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2012, 07:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
eragon_joe เขียน:
คิดว่า คำถามประมาณนี้ ท่านอโศกะน่าจะตอบได้นะ

:b4: :b4: :b4:


มันก็ ปฏิจจสมุปบาท นั้นแหละครับ แต่.............


:b6: ...

ถ้าท่านรู้แล้ว เห็นแง่แล้ว ก็ว่ามาเลยเถอะ
ไม่ต้องรอท่านอโศกะ ... หรอก

เพราะ เวลาที่อยากให้แก่มา แก่มักไม่ค่อยมา
แต่เวลาที่หมดอยากแล้ว แก่มักจะมา... :b32: :b32:


:b43: :b43: :b43:




เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ

เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ

เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ

นี้แล 9 อาการ หลังจากน้น พระพุทธองค์จึงวิฉัยเพิ่ม ขยาย จนสุดที่ 11 อาการ หรือ 12 หรือ 13 อาการ ก็ได้ ถ้า เอา อาสวะ มาด้วย

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2012, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านพระไตรปิฎก ที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามยุค ตามสมัย ของแต่ละอรรถกถาจารย์ ซึ่งก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละบุคคล คือ ยุคนั้น สมัยนั้น

เท่าที่สังเกตุ จะมีหลายเวอร์ชั่น แต่เนื้อหาโดยมาก จะค่อนข้าง คล้ายคลึงกัน ในบางส่วน ไม่เหมือนกันทั้งหมด


ลองอ่านอีกแบบ เข้าท่านะ แบบฉบับ หลวงพ่อพุทธทาส ที่ท่านได้รวบรวมไว้

เป็นสภาวะของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่แรกปฎิบัติ จนกระทั่งตรัสรู้ เหมือนได้อ่าน พระไตรปิฎกฉบับย่อ

http://www.buddhadasa.org/html/life-wor ... -full.html

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2012, 17:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สภาวะที่นำมาแสดงนี้ เป็นเพียงสภาวะ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จึงยังไม่สามารถแยกสภาวะสัญญากับปัญญา ออกจากกันได้


แล้ว เฟส 1 กะ เฟส 2
:b6: เป็นการแสดง ปัญญา หรือ สัญญา

:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2012, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
สภาวะที่นำมาแสดงนี้ เป็นเพียงสภาวะ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จึงยังไม่สามารถแยกสภาวะสัญญากับปัญญา ออกจากกันได้


แล้ว เฟส 1 กะ เฟส 2
:b6: เป็นการแสดง ปัญญา หรือ สัญญา

:b16:





เวลาจิต เป็นสมาธิ คุณสามารถรู้ชัด(มีความรู้สึกตัว)ในสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใน กายและจิตได้ไหม?

สมาธิที่เกิด ตั้งมั่น อยู่ได้นานกี่ชั่วโมง? เกิดแบบปกติ คือ เกิดขึ้นเนืองๆ(ยืน เดิน นั่ง นอน) โดยไม่ต้องเจตนา ทำให้เกิดขึ้น หรือ ต้องตั้งใจทำให้เกิดขึ้น หรือ นานๆเกิดที?

สามารถรู้ชัด ในอาการที่เกิดขึ้น ของสมาธิ ขณะจิตเป็นสมาธิ แต่ละขณะได้ไหม?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร