วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 04:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 26, 27, 28, 29, 30, 31, 32 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2012, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะปรากฏความรู้ในองค์ธรรมต่างๆผุดเกิดขึ้นเองในจิตได้อย่างมากมาย ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านจากพระไตรปิฎกมาก่อน :b1: :b46: :b39:

ซึ่งตรงนี้ คือการเกิดขึ้นเองเป็นลำดับๆไปขององค์ธรรมต่างๆในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ต่อไปถึงวิชชาและวิมุติ ที่จะค่อยๆสมบูรณ์ขึ้นได้เอง (ซึ่งจะอธิบายในลำดับต่อไปเมื่อถึงช่วงที่เกี่ยวข้องนะครับ) หลังจากที่เจริญอินทรียสังวร, สุจริต ๓, และสติปัฏฐาน ๔ จนบริบูรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆแล้ว ตามคำของพระบรมครูในกุณฑลิยสูตร :b8: :b46: :b39:

เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ หรือ chain reaction เช่นนั้นทุกประการ :b1: :b46: :b39:

และเมื่อองค์ธรรมหรือองค์ปัญญา (ญาณะ, วิชชา) ต่างๆผุดเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจะเกิดจากการวิจัยธรรม (ธัมมวิจยะ) ในระดับขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือในฌานในอัปปนาสมาธิก็ตาม :b48: :b50: :b48:

เมื่อมาสอบทานหรือมาพบเจอในตำราทีหลังแล้ว ความรู้ทางธรรมนั้นๆจะไม่คลาดเคลื่อนไปจากพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก หรือตำราคำสอนของพระอริยสาวกรุ่นหลัง ผิดแต่ว่าอาจจะมีความละเอียดละออไม่เท่ากันเท่านั้น นะครับ :b1: :b42: :b44:

กรณีตัวอย่างนี้ก็มีปรากฏมาในพระสูตร ตอนที่ท่านพระอนุรุทธะ สมัยที่ท่านยังเป็นพระอนาคามี หลังจากได้รับกรรมฐานจากพระสารีบุตรแล้วหลีกเร้นไปภาวนาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน :b8: :b46: :b47:

เกิดความ "ปริวิตกทางใจ" ในมหาปุริสวิตก ๗ ข้อ ซึ่งเป็น "ธัมมวิจยะ" และ "วิชชา" ที่ผุดเกิดขึ้นของท่านเอง ซึ่งเป็นผลมาจากการภาวนาจนเกิด "ญาณะ" ขึ้นเองในความรู้ทางธรรมนั้นๆ แต่ก็ยังรู้ได้ไม่ถ้วนทั่ว จนพระพุทธองค์ทรงมาเพิ่มเติมให้จนครบ ๘ ข้อ :b46: :b44: :b39:

(หมายเหตุ มหาปุริสวิตก ๘ : ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก, เป็นธรรมของผู้สันโดษ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ, เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ, เป็นธรรมของผู้ปรารถนาความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน, เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของคนหลง, เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง, เป็นธรรมของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้ทรามปัญญา, เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า)

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4717&Z=4876 , http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=120


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายเหตุตรงนี้ไว้สักเล็กน้อยครับ ในพระสูตรนี้ที่มีการใช้คำว่า ท่านพระอนุรุทธะ .. "เกิดความปริวิตกทางใจ" :b46: :b47: :b46:

หรือบาลีว่า "เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ" :b46: :b47: :b46:

โดยคำว่า "ปริวิตก" นี้ มาจากคำว่า "ปริ -" หรือ "บริ -" ที่แปลว่า รวม หรือ โดยรอบ (เช่น ปริมณฑล ปรินิพพาน บริเวณ บริบท บริภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งในภาษาอังกฤษก็มีรากศัพท์ที่ใกล้เคียง คือคำว่า peri เช่น perimeter, peripheral, periscope, period, etc. ซึ่งแปลความหมายของรากศัพท์นี้ได้ว่า totally, thoroughly, surrounding) :b38: :b37: :b39:

บวกกับคำว่า "วิตก" ซึ่งในทางบาลี แปลว่า คิด นึก ตรึก ตรอง ซึ่งต่างจากภาษาไทยสมัยนี้ที่ความหมายกลายไปว่า เป็นความห่วง "วิตก" กังวล ซึ่งเป็นอาการตอบสนองต่อผัสสะที่อยู่ในปฏิฆะสังโยชน์ :b48: :b47: :b46:

ดังนั้น คำว่า "ปริวิตก" จึงแปลตามรูปศัพท์บาลีเดิมได้ว่า การคิด นึก ตรึก ตรอง แล้วโดยรอบ อย่างถ้วนถี่ ซึ่งไม่ใช่อาการทุกข์หนักใจ หรือห่วงใยเป็นกังวลด้วยปฏิฆะสังโยชน์ ตามภาษาไทยสมัยปัจจุบันที่มีความหมายคลาดเคลื่อนมา นะครับ :b1: :b46: :b47: :b46:

ลองดูความหมายในพจนานุกรมของท่านเจ้าคุณฯอาจารย์ประกอบไปด้วยก็ดีครับ :b1: :b46: :b39:

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C7%D4%B5%A1

ตรงนี้ตั้งไว้เป็นข้อสังเกตให้ศึกษาพิจารณาว่า เหตุการณ์ในพระสูตรช่วงนี้ ในระดับพระอนุรุทธะที่ท่านเป็นพระอนาคามีหมดสิ้นแล้วซึ่งปฏิฆะสังโยชน์ในขณะนั้น จะไม่มีอาการหนักใจห่วงใยกังวลขึ้นอีกแล้วเป็นแน่ :b38: :b37: :b39:

แต่เป็นอาการที่ว่า ระหว่างที่องค์พระอนุรุทธะท่านภาวนาอยู่นั้น เกิดธัมมวิจยะจากการคิด นึก ตรึก ตรอง แล้วโดยรอบ จนมีความรู้ในมหาปุริสวิตกผุดเกิด (อุทปาทิ) ขึ้นในจิต (เจตโส) :b46: :b47: :b46:

ซึ่งคำว่า อุทปาทิ นี้ เป็นคำเดียวกับที่ใช้ในบทธัมมจักรฯ คืออาการผุดเกิดขึ้นเอง รู้ได้ในจิต :b44: :b39:

หรือภาษาสมัยปัจจุบันก็คือ เกิดอาการ "ปิ๊ง" ปรากฏรู้ขึ้นเองในจิต เมื่อปัจจัยทุกอย่างถูกบ่มให้ถึงพร้อม :b51: :b46: :b47:

แต่ก็ยังไม่ถ้วนทั่ว จนพระบรมครูต้องมาเพิ่มเติมให้อีกข้อ จนครบ ๘ ข้อนั่นหล่ะครับ :b1: :b48: :b47: :b49:

(หมายเหตุไว้นิดนะครับ วิสุทธิปาละไม่ใช่นักนิรุกติศาสตร์ ผิดถูกจากหลักภาษาศาสตร์อย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ) :b8: :b46: :b47:

คราวนี้ มาต่อกันในส่วนคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธอีกสักช่วงครับ เพราะยังมีสิ่งที่น่าศึกษาเกี่ยวกับการฝึกสติ รู้ลงในตัวรู้ และในส่วนสัมมาสมาธิตามคำแนะนำขององค์ท่านอยู่อีกมาก :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเริ่มกันต่อครับ :b8: :b8: :b8:

5. ปรากฏการในขณะทำสมาธิ

ถ้าหากท่านจะบริกรรมภาวนา พุทโธๆ ๆ ก็ให้ตั้งจิตอธิษฐานภายในใจของตัวเองว่า บัดนี้ ฉันจะทำสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิ เพื่อจะให้รู้แจ้งแทงตลอดสภาวธรรมตามความเป็นจริง

แล้วก็นึกในใจของตัวเองว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ , พุทโธ ธัมโม สังโฆ , พุทโธ ธัมโม สังโฆ , แล้วก็น้อมใจเชื่อลงไปว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมก็อยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์ก็อยู่ที่ใจ

แล้วกำหนดลงที่ใจอย่างเดียวเท่านั้น

นึกบริกรรมภาวนา พุทโธๆ ๆ อยู่อย่างนั้น จนกว่าจิตจะมีอาการสงบลงไป

ให้พึงสังเกตจิตของตัวเองให้ดี

ถ้าจิตมีอาการเคลิ้มๆ ลงไป คล้ายกับจะง่วงนอน พึงให้รู้เถอะว่า จิตของเรากำลังจะเริ่มสงบแล้ว เพราะจิตที่จะสงบในเบื้องต้นนั้น ถ้าจะว่ากันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ อาการนอนหลับ

เพราะจิตเมื่อจะสงบก็มีอาการเคลิ้มๆ แล้วก็วูบลงไป พอวูบลงไป ก็หยุดวูบ แล้วจิตจะนิ่ง ในเมื่อจิตนิ่งแล้ว ถ้าหากจิตจะนอนหลับ มันก็หลับมืดไปเลย

ถ้าหากว่าจิตจะเป็นสมาธิ พอวูบลงไปนิ่งแล้ว จิตก็จะมีอาการสว่างขึ้นมา

ซึ่งทั้งนี้ มิใช่ว่าจะเป็นในลักษณะอย่างเดียวกันทั้งหมด บางท่านก็รู้สึกว่ามีกายเบา จิตก็เบา แล้วจิตก็ก้าวเข้าไปสู่ความสงบทีละน้อยๆ ไม่มีอาการวูบวาบ จนกระทั่งจิตสงบแน่นิ่งไปจนถึงขั้นอัปปนาสมาธิ

แต่ส่วนมากในช่วงนี้ ถ้าเกี่ยวกับเรื่องบริกรรมภาวนานั้น เมื่อจิตมีอาการเคลิ้มๆ สงบลงไป มีอาการสว่างขึ้นแล้ว คำบริกรรมภาวนาที่นึกอยู่นั้นจะหายไป


ในเมื่อคำบริกรรมภาวนาหายไปแล้ว เราก็ไม่ต้องไปนึกถึงคำบริกรรมภาวนาอีก

ในตอนนี้ให้ผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้อยู่ที่จิตของตัวเอง

ถ้าหากจิตมีอาการสงบนิ่งสว่างอยู่เฉยๆ ก็กำหนดรู้ลงที่นั้นอย่างเดียว

แต่ถ้าหากช่วงนั้น ถ้าลมหายใจปรากฏขึ้นในความรู้สึก ก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจ

เพียงแต่รู้เท่านั้น อย่าไปนึกคิดอะไรทั้งนั้น


ลมหายใจสั้นก็ไม่ต้องว่า ลมหายใจยาวก็ไม่ต้องว่า ลมออกสั้นก็ไม่ต้องว่า ลมออกยาวก็ไม่ต้องว่า ลมเข้าสั้นก็ไม่ต้องว่า ลมเข้ายาวก็ไม่ต้องว่า เป็นแต่เพียงกำหนดรู้ลมหายใจอยู่โดยธรรมชาติแล้ว อย่าไปแต่งลมหายใจเป็นอันขาด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในช่วงนี้เพียงแต่กำหนดรู้อยู่เท่านั้น ถ้าหากว่า เรากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ ถ้าหากลมหายใจแสดงไปในอาการต่างๆ เช่น ลมหายใจอาจจะแสดงอาการหายใจแรงขึ้น หรือหายใจแผ่วเบาลงไป หรือบางครั้งอาจจะมองเห็นลมหายใจสว่างเหมือนกับปุยนุ่น

ก็ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว

รวมความว่าอะไรเกิดขึ้น ลงไปภายในความรู้สึก ก็เพียงแต่กำหนดรู้เฉยอยู่ อย่าไปทำความเอะใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆ

ถ้าเราไปทำความเอะใจ หรือไปทักท้วงสิ่งที่เกิดขึ้น จิตจะถอนจากสมาธิทันที

เพราะฉะนั้นให้กำหนดรู้อยู่เฉยๆ

ในเมื่อจิตมีสิ่งที่รู้คือ ลมหายใจปรากฏอยู่ตลอดเวลา ตัวสติสัมปชัญญะจะต้องมีกำลังกล้าขึ้น สามารถควบคุมจิตให้อยู่ในสภาพสงบโดยอัตโนมัตินี้

ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจอย่างนี้ และถ้าหากจิตของผู้ภาวนานั้นไม่วิ่งเข้าไปยึดลมหายใจ ก็ย่อมจะส่งกระแสออกไปข้างนอก

ในช่วงที่จิตมีความสงบสว่างอยู่นั้น แล้วภาพนิมิตต่างๆ จะปรากฏขึ้น จะเป็นภาพอะไรก็ตาม เมื่อภาพต่างๆ ปรากฏขึ้นแล้ว

ก็ให้กำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น อย่าไปทำความเอะใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก


ถ้าหากเราสามารถประคองจิตของเราให้อยู่ในความสงบปกติ โดยไม่ไปเอะใจอยู่กับสิ่งทีเกิดขึ้นนั้น จิตก็จะสงบนิ่งเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป ถ้าหากเกิดเอะใจขึ้นมาเมื่อไรแล้ว สมาธิก็จะถอน ภาพนิมิตนั้นก็จะหายไป

ในตอนนี้มีความสำคัญมากสำหรับนักปฏิบัติ ถ้าหากเรามีความรู้สึกว่า ภาพนิมิตต่างๆ เป็นสิ่งอื่นมาแสดงให้เรารู้ เราเห็น บางทีเราอาจจะเข้าใจผิด เช่น อย่างเห็นภาพผีเปรต หรือเทวดา เป็นต้น

บางท่านอาจจะคิดว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเขามาขอส่วนบุญเรา แล้วเราก็ไปนึกแผ่ส่วนบุญกุศลให้เขา ในเมื่อนึกขึ้นมาอย่างนั้นจิตก็ถอนจากสมาธิ ภาพนิมิตทั้งหลายนั้นก็หายไป อันนี้ไม่ค่อยร้ายแรงเท่าไรนัก

แต่ถ้าหากบางท่าน อาจจะมีความรู้สึก หรือมีความเห็นนอกเหนือไปกว่านี้ โดยสำคัญว่าภาพนิมิตทั้งหลายเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เข้ามาเพื่อจะดลบันดาลจิตใจของเราให้เกิดความสงบ ให้เกิดความรู้ แล้วบางทีเราอาจจะเผลอๆ น้อมรับเอาสิ่งนั้น เข้ามาสิงสู่อยู่ในตัวของเรา

แล้วสภาพจิตของเราจะกลายเป็นในลักษณะที่ว่า สภาพผีสิง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี้ถ้าหากเราไปสำคัญว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตนเป็นตัวขึ้นมาก หรือเป็นสิ่งอื่นขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากไปมองเห็นภาพนิมิตของผู้ที่เราเข้าใจว่าเป็นผู้วิเศษ มาปรากฏกายให้เรามองเห็นแล้ว เราอาจจะน้อมเอาภาพนิมิตนั้นให้เข้ามาสู่ตัวของเรา หรือสู่จิตใจเรา เพราะความเข้าใจผิดว่า สิ่งที่มองเห็นนั้นเป็นสิ่งที่มาจากที่อื่น

ในเมื่อเราน้อมเข้ามาแล้ว จะมีอาการคล้ายๆ กับว่า มีสิ่งเข้ามาทรงอยู่ในจิต หลังจากนั้นเราก็จะกลายเป็นคนทรงไป

อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรจะระมัดระวังให้มากๆ การภาวนาหรือการทำจิตนี้เราไม่ได้มุ่งให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาช่วยดลบันดาลให้เราเป็นผู้รู้ ผู้เห็น เราต้องการจะทำให้จิตมีความสงบนิ่งเป็นสมาธิ โดยความเป็นอิสระของจิตเอง

ถ้าหากจิตจะเกิดความรู้ ความเห็นอะไรขึ้นมา ก็เป็นสมรรถภาพของจิตเอง ไม่ใช่สิ่งอื่นบันดาล

เพราะฉะนั้น ขอให้นักศึกษาธรรมะและนักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจ ในเรื่องนิมิตต่างๆ ถ้าหากว่า ท่านไม่ไปเอะใจ หรือไม่ไปสำคัญว่านิมิตต่างๆ ซึ่งไปปรากฏขึ้นนั้น เป็นสิ่งอื่นมาดลบันดาลให้เรารู้ เราเห็น ทำความรู้สึกว่าภาพนิมิตนั้น เกิดขึ้นจากจิตของเรา จิตของเรานั้นแหละเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมา

เพราะเรามีความสำคัญว่า เราอยากรู้ อยากเห็น ในเมื่อเราอยากรู้ อยากเห็น พอจิตสงบเคลิ้มลงไปอยู่ในระดับแห่งอุปจารสมาธิ ในตอนนี้จิตของเราจะฝันดีนัก ถ้าหากเรานึกถึงอะไรแล้วจะเกิดเป็นภาพนิมิตขึ้นมา

ถ้าหากเราสามารถกำหนดจดจ่อรู้ลงที่จิตอย่างเดียว โดยไม่สำคัญมั่นหมายในนิมิตนั้นๆ

ภาพนิมิตจะเป็นอุปกรณ์การปฏิบัติของท่านผู้มีสติปัญญา โดยกำหนดรู้อยู่ที่จิต แล้วภาพนิมิตที่มองเห็นนั้นจะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ถ้าจิตของท่านผู้ปฏิบัตินั้น มีสมาธิมั่นคงพอสมควรก็จะสามารถกำหนดเอานิมิตเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายแห่งความรู้ เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ


บางทีภาพนิมิตนั้นอาจจะแสดงเรื่องอสุภกรรมฐาน หรือธาตุกรรมฐาน ให้เรารู้เราเห็นก็ได้ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะสามารถทำสติสัมปชัญญะของเราดีขึ้น แล้วเมื่อสติสัมปชัญญะของเราดีขึ้นแล้ว จิตก็จะสงบ รวมตัวสู่ความเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อัปปนาสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องปัญหา อัปปนาสมาธินั้น บางท่านอาจจะเข้าใจว่า อัปปนาสมาธิ คือความเป็นหนึ่งของจิตหรือเอกัคคตาจิต ไม่สามารถที่จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นได้

จริงอยู่ผู้ปฏิบัติในขั้นต้น จะเป็นการบริกรรมภาวนาก็ตาม หรือจะเป็นการพิจารณาอะไรก็ตาม เมื่อจิตสงบลงไปนิ่งอยู่ในความเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า เอกัคคตา ในช่วงต้นๆ นี้ จิตอาจจะไม่สามารถบันดาลให้เกิดความรู้ ความเห็นขึ้นมาได้

แต่ถ้าหากว่าท่านผู้นั้น เคยพิจารณากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งจนชำนิชำนาญ ด้วยการน้อมนึกคิดแล้ว เมื่อจิตนิ่งไปเป็นอัปปนาสมาธิ

จิตก็จะสามารถบันดาลให้เกิดความรู้ ความเห็น ในภูมิจิตภูมิธรรมขึ้นมาได้

ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งขั้นของอัปปนาสมาธิได้ 2 ตอน

ตอนแรกจิตสงบนิ่งลงไปเป็นหนึ่งอยู่ในอัปปนาสมาธิ ถ้าอยู่เป็นสมาธิในขั้นฌาน จะไม่สามารถเกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นมา เพราะจิตอยู่ในฌานย่อมเพ่งอยู่ในจุดๆ เดียว

แต่ถ้าหากว่าจิตที่เคยพิจารณาวิปัสสนากรรมฐานมาแล้วก็ดี เคยพิจารณาธาตุกรรมฐานมาแล้วก็ดี เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปเป็นหนึ่งแล้วจะมีลักษณะคล้ายๆ กับจิตถอนตัวออกจากร่าง แล้วก็ส่งกระแสมารู้เรื่องของร่างกาย

จิตจะมองเห็นกายในลักษณะต่างๆ จะเป็นนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตก็จะสงบนิ่งเฉยสว่างอยู่ และกายที่มองเห็นอยู่ในความรู้สึกของจิตนั้น ก็จะแสดงกิริยาเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ

ถ้าหากว่าท่านผู้นั้นพิจารณาอสุภกรรมฐานมาจนชำนิชำนาญ ด้วยการน้อมนึก จิตก็จะสามารถรู้เรื่องอสุภกรรมฐานโดยอัตโนมัติ

โดยที่กายที่มองเห็นอยู่นั้นจะแสดงอาการขึ้นอืด แล้วก็มีน้ำเหลืองไหล เนื้อหนังหลุดออกไปเป็นชิ้นๆ แล้วยังเหลือแต่โครงกระดูก ในที่สุดโครงกระดูกก็จะแหลกละเอียดลงไป เป็นจุลไป แล้วก็หายไปในที่สุดเหลือแต่ความว่าง

ในเมื่อจิตว่าแล้ว จิตก็จะสามารถก่อตัว รู้เรื่องของโครงกระดูก ซึ่งจะมาประสานกันเป็นโครงกระดูก แล้วก็จะเกิดมีเนื้อมีหนัง กลับคืนมาอยู่ในสภาพเป็นร่างสมบูรณ์อยู่อย่างเก่า

จะมีอาการเป็นไป กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาจากสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และในขณะที่จิตรู้เห็นนั้น จะมีลักษณะคล้ายๆ กับว่า รู้เห็นด้วยทางจิตอย่างเดียว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประสาทส่วนกาย คือไม่ได้เกี่ยวข้องกับประสาทส่วนตา เป็นความรู้ ความเห็นของจิตล้วนๆ

แต่ถ้าหากท่านผู้เคยพิจารณาธาตุกรรมาฐาน ก็จะมองเห็นร่างกายนี้แหละละลายลงเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ อย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วก็จะหายไป กลายเป็นความว่าง

ถ้าหากท่านผู้เคยพิจารณาวิปัสสนากรรมฐาน เช่น พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว แล้วจิตก็จะมีนิมิตอะไรขึ้นมาซึ่งสุดแล้วแต่จิตจะปรุงขึ้นมา แต่ความปรุงแต่งในขั้นนี้ จิตกับสิ่งที่รู้เห็นนั้นคล้ายกับว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย

ในตอนนี้จิตกับสิ่งที่รู้แยกกันออกเป็นคนละส่วน สิ่งที่รู้นั้นก็แยกอยู่ส่วนหนึ่ง ตัวผู้รู้ก็คือจิตนั้นก็อยู่ส่วนหนึ่ง และส่วนความเปลี่ยนแปลงที่มันจะแสดงไปในลักษณะแห่งพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น ก็จะมีอันแสดงไปเอง

ถ้าหากท่านผู้ฟังอาจจะมีความสงสัยว่า การแสดงอย่างนั้นใครเป็นผู้แสดง ก็จิตนั้นแหละเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมา เป็นตัวปัญญาความรู้

ในเมื่อจิตปรุงแต่งขึ้นมาด้วยความรู้เท่าเอาทัน ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รู้ จิตก็รู้สึกว่า คล้ายๆ กับว่าสิ่งที่รู้อยู่อีกส่วนหนึ่ง และตัวผู้รู้คือจิตนั้นแยกเอกเทศเป็นส่วนหนึ่ง

ในตอนนี้เรียกว่า จิตกับอารมณ์สามารถแยกออกจากกันคนละส่วนก็ได้ อันนี้คือลักษณะปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น ภายในจิตของผู้ปฏิบัติ


เริ่มต้นแต่บริกรรมภาวนา หรือในขั้นพิจารณาอสุภกรรมฐาน ธาตุกรรมฐาน หรือพิจารณาพระไตรลักษณ์ในขั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่าขั้นวิปัสสนา

ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจดังที่กล่าวมาแล้วนี้

ถ้าหากสมมติว่า เราจะไม่พิจารณาอะไรละ เป็นเพียงแค่ว่าเราจะบริกรรมภาวนาให้จิตสงบอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจิตของเราสามารถที่จะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนาได้หรือไม่

อันนี้ขอตอบว่า สามารถที่จะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนาได้ โดยที่ผู้บริกรรมภาวนาทำจิตให้สงบนิ่งลงไป เริ่มต้นจากอุปจารสมาธิ จนกระทั่งถึงอัปปนาสมาธิๆ ในลักษณะที่จิตนิ่งอยู่ในจุดเดียว ไม่มีสิ่งที่รู้ปรากฏขึ้นในจิต มีการสงบนิ่ง มีลักษณะนิ่งและสว่างไสวอยู่ในความรู้สึกอย่างเดียว ความรู้อื่นๆ ไม่เกิดขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น วิปัสสนากรรมฐานเกิดขึ้นได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนากรรมฐานจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อจิตถอนออกจากความเป็นเช่นนั้นแล้ว มาเกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นมา

ผู้ปฏิบัติที่ฉลาดก็ฉวยโอกาสกำหนดความคิดนั้น จิตคิดอะไรขึ้นมาก็กำหนดรู้ คิดอะไรขึ้นมาก็กำหนดรู้ เพียงแต่รู้ว่าจิตมีความคิดอย่างเดียวเท่านั้น รู้แล้วก็ไม่ต้องไปช่วยจิตคิดอะไรเพิ่มเติม หรือวิพากษ์วิจารณ์

เป็นแต่เพียงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นก็รู้ๆ ๆ อยู่อย่างนั้น และสิ่งใดดับไปก็รู้


เกิดขึ้นแล้วมันก็เป็นทุกข์ เกิดมาแล้วก็เป็นอนัตตา อะไรทำนองนั้น ไม่ต้องไปนึกคิดในขณะนั้น ถ้าหากเรานึกคิดแล้ว สมาธิมันจะถอนขึ้นมาอีก เราจะไม่มีสมาธิควบคุมจิตของเราให้จดจ่อดูความคิดที่เกิดขึ้นนั้นได้

เพราะฉะนั้นตอนนี้ให้นักปฏิบัติพึงระวังให้ดี เมื่อออกจากสมาธิในขั้นบริกรรมภาวนา ถ้าจิตสงบนิ่งเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิ อย่าด่วนออกจากสมาธิทันทีทันใด

ให้ตามกำหนดรู้ความคิดของตัวเองเรื่อยไป จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร จึงค่อยเลิก หรือจึงค่อยออกจากที่นั่งสมาธิ


ในเมื่อออกจากที่นั่งสมาธิแล้ว มิใช่ว่าเราจะหยุดกำหนดรู้จิต หรือรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิตในทันทีทันใดก็หาไม่

เราจำเป็นจะต้องกำหนดรู้ความรู้สึกนึกคิดของเราอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เราก็ให้ตั้งสติ กำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวไปมาของ กาย วาจา และใจของเราอยู่ตลอดเวลา

การตามรู้ ตามเห็น ความเคลื่อนไหว กาย หรือการพูด การนึก การคิด ด้วยความมีสติสัมปชัญญะจดจ่ออยู่นั้นแหละ คือการปฏิบัติธรรม แบบที่เรียกว่า สามารถให้จิตเกิดความรู้ความฉลาดขึ้นมาได้


:b8: :b8: :b8:

มาต่อกันในคราวหน้าครับ :b46: :b45: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 13:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2012, 18:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
ดังนั้น คำว่า "ปริวิตก" จึงแปลตามรูปศัพท์บาลีเดิมได้ว่า การคิด นึก ตรึก ตรอง แล้วโดยรอบ อย่างถ้วนถี่ ซึ่งไม่ใช่อาการทุกข์หนักใจ หรือห่วงใยเป็นกังวลด้วยปฏิฆะสังโยชน์ ตามภาษาไทยสมัยปัจจุบันที่มีความหมายคลาดเคลื่อนมา นะครับ :b1: :b46: :b47: :b46:



:b8: ... จริง ๆ ก็เคยคิดอย่างนั้น ก็เคยเดาสุ่มไปอย่างนั้น

แต่เอกอนก็ไปเจอพระสูตรหนึ่ง

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 387&Z=6568

ซึ่งพระพุทธองค์ก็ใช้คำ "ปริวิตก" เช่นกัน

ซึ่งราวกับว่า แท้จริงนี้เป็นคำแสดงอาการอย่างกลาง ๆ คืออาการที่ คิด นึก ตรึก ตรอง
ซึ่งจะมีความนัยไปในแง่ใด คงต้องดูที่เนื้อหาที่ประกอบอยู่ ... :b1:

เราก็ไม่ค่อยเข้าใจบาลีกันน่ะเน๊อะ... :b9: :b9:
มันก็มีได้เผลอปล่อยไก่ ปล่อยเป็ดไปบาน ... :b32: :b9:

จริง ๆ อยากได้ความเห็นของผู้ที่มีความรู้ทางบาลีมาช่วยอธิบาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่เอกอนก็ไปเจอพระสูตรหนึ่ง

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 387&Z=6568

ซึ่งพระพุทธองค์ก็ใช้คำ "ปริวิตก" เช่นกัน

ซึ่งราวกับว่า แท้จริงนี้เป็นคำแสดงอาการอย่างกลาง ๆ คืออาการที่ คิด นึก ตรึก ตรอง
ซึ่งจะมีความนัยไปในแง่ใด คงต้องดูที่เนื้อหาที่ประกอบอยู่ ... :b1:
.
.
.
จริง ๆ อยากได้ความเห็นของผู้ที่มีความรู้ทางบาลีมาช่วยอธิบาย



เหมือนกับเราอ่าน text book ภาษาอังกฤษแล้วติดคำศัพท์ที่ไม่แน่ใจ หันซ้ายหันขวาก็หาไม่มีฝรั่งเจ้าของภาษา หรือใครที่สามารถแปลและอธิบายให้เราเข้าใจได้ซักคน :b5: :b5:

สิ่งที่เราจะทำเฉพาะหน้า ก็คงต้องคว้าเอา dictionary มาเปิดไปก่อนละครับ :b1: :b46: :b39:

...

สำหรับภาษาบาลี คำว่า "ปริวิตก" :b6:

เมื่อยังไม่มีผู้รู้บาลีมาช่วยอธิบาย วิสุทธิปาละก็ใช้วิธีเปิดพจนานุกรมของท่านเจ้าคุณอาจารย์มาประกอบ :b8:

ปริวิตก ความคิดนึก, คำนึง;
ไทยใช้หมายความว่านึกเป็นทุกข์หนักใจ, นึกห่วงใย


ซึ่งก็ได้ความหมายตามที่พยายามอธิบายไว้ก่อนหน้านั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อในส่วนสุดท้าย สำหรับคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสติและสัมมาสมาธิกันนะครับ :b1: :b46: :b44: :b39:

เช่นเดิมครับ ส่วนที่วิสุทธิปาละเห็นว่าเป็นส่วนสำคัญสำหรับการฝึกสติและสภาวะที่เกิดขึ้น ก็จะทำอักษรสีหรือเน้นตัวใหญ่ไว้ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งส่วนหนึ่งในคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อ ท่านได้กล่าวถึงการมีสติรู้ทันความคิด :b8: :b46: :b39:

ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการใช้สติเป็นตัวนำ ให้เราได้เกิดปัญญาจากการเรียนรู้การเกิดขึ้นของอาการต่างๆในจิต ได้แก่การแต่ง ปรุง ฟุ้ง คิด

:b6: :b7: :b23:

และอาการที่ต่อเนื่องจากการ แต่ง ปรุง ฟุ้ง คิด นั้นๆ ด้วย

:b16: :b27: :b17: :b4: :b20: :b10: :b14: :b5: :b3: :b19: :b9: :b32: :b2: :b7: :b11: :b13: :b15: :b21: :b22: :b33: :b34: :b28: :b30:

ซึ่งสำหรับปุถุชน :b31:

จะมีทั้งอาการ แต่ง ปรุง ฟุ้ง คิด ที่ผุดเกิดมาจากอวิชชา (จิตปรุงกิเลส หรือกิเลสปรุงจิต) :b46: :b47: :b46:

และที่ผุดเกิดมาจากปัญญา (จิตปรุงปัญญาที่เป็นโลกียสัมมาทิฏฐิ หรือปัญญาที่เป็นโลกียสัมมาทิฏฐิ ปรุงจิต) :b44: :b39: :b42:


แต่สำหรับสกทาคามีมรรคบุคคล :b8:

ก็จะมีอาการ แต่ง ปรุง ฟุ้ง คิด ทั้งที่ผุดเกิดมาจากอวิชชา (จิตปรุงกิเลสที่ยังเหลืออยู่ในระดับโสดาบัน หรือกิเลสที่ยังเหลืออยู่ในระดับโสดาบัน ปรุงจิต) :b46: :b47: :b46:

และที่ผุดเกิดมาจากปัญญา (จิตปรุงปัญญาจากโลกุตรสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในระดับโสดาบัน หรือโลกุตรสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในระดับโสดาบัน ปรุงจิต) :b44: :b39: :b42:



และเมื่อเข้าใจตรงนี้แจ่มแจ้งแล้ว เมื่อนั้น ก็จะเห็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทั้งสาย :b46: :b47: :b46:

และเมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทั้งสาย ก็จะเห็นสายดับทั้งสายพร้อมลงตามกันไปด้วย :b46: :b47: :b46:



ซึ่งจะรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจจ์ไปตามลำดับขั้นของอริยมรรคอริยผลที่เกิดขึ้น เหมือนดังที่องค์หลวงปู่ดูลย์กล่าวสรุปด้วยถ้อยคำของท่านเองในเรื่องอริยสัจแห่งจิต ที่ว่า :b8:

จิตส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย

ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์


จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค

ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ


...

มาลองศึกษาจากคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธกันต่อครับ :b1: :b46: :b39:


(ซึ่งหลังจากจบคำเทศน์ในส่วนนี้แล้ว วิสุทธิปาละจะได้เรียบเรียงต่อจากอธิศีลสิกขาในส่วนของอินทรียสังวรศีลและสติสัมปชัญญะ ไปที่อธิจิตตสิกขาในส่วนสมถะ และสิ้นสุดที่อธิปัญญาสิกขาในส่วนวิปัสสนาสติปัฏฐานที่ทำให้เกิดโลกุตรสัมมาทิฏฐิ ตามพุทธพจน์ในสามัญญผลสูตรและมหาตัณหาสังขยสูตร

โดยร้อยเชื่อมข้อปฏิบัติในการฝึกเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริง (ซึ่งเป็นรากศัพท์ของบาลีคำว่า "สิกขา" หรือที่ไทยเราเอาภาษาสันสกฤตมาใช้ในคำว่า "ศึกษา") หรือสิกขาทั้ง ๓ ซึ่งก็คือมรรคทั้ง ๘ นี้ เข้ากับพุทธพจน์ในกุณฑลิยสูตร ที่เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นสายโซ่จากอินทรียสังวรศีล ร้อยต่อไปที่สุจริต ๓, สติปัฏฐาน ๔, โพชฌงค์ ๗ จนถึงวิชชาและวิมุตติ

ซึ่งจะปรากฏการพัฒนาที่เนื่องขึ้นไปในวิสุทธิ ๗, วิปัสสนาญาณ ๙ (โสฬสญาณ ๑๖) ในการเห็นแจ้งซึ่งปฏิจจสมุปปันธรรม ๑๒ และอริยสัจจ์ ๔ ในระดับขั้นของสกทาคามี ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ตามกำลังสติปัญญา และเวลาที่พอจะมีในการเรียบเรียงนะครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


6. วิธีฝึกสมาธิในชีวิตประจำวัน

คนเราทุกคนนี้เป็นอยู่ด้วยการทำงาน เราจะทำงานทั้งเวลาหลับ ทั้งเวลาตื่น เวลาตื่นเราทำงานทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความตั้งใจ แต่เวลานอนหลับเราทำงานโดยอัตโนมัติ จิตของเราก็ยังต้องคิด หัวใจก็ยังเต้น ปอดก็ยังสูดลมหายใจ อันนี้คือการทำงาน

เพราะฉะนั้น ชีวิตก็คือการทำงาน งานก็คือชีวิต และสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าเรามาพูดถึงว่า สิ่งเหล่านั้นคือธรรม และเป็นธรรมได้อย่างไร

ในข้อที่ว่า ธรรมะ คือ ชีวิต ชีวิตก็คือธรรมะ อะไรทำนองนี้

ที่เรียกว่าธรรมะ ก็เพราะเหตุว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ มันเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ และเป็นพื้นฐานที่เป็นเหตุให้เรารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนี้ มันมีอยู่ มีความเปลี่ยนแปลงและแสดงความจริงให้ปรากฏตลอดเวลา

แม้แต่ลมหายใจของเรานี้มันก็แสดงความจริงให้ปรากฏอยู่ตลอดเวลา คือ การสูดลมออก สูดลมเข้า ความจริงมันก็ปรากฏคือ เราต้องมีชีวิตอยู่ ถ้าเราหยุดหายใจเมื่อไร หยุดสูดลมออก ลมเข้าเมื่อไร เมื่อนั้นก็หมายถึงความสิ้นสูญแห่งชีวิต คือ ตายนั่นเอง

เพราะฉะนั้นในคำตอบปัญหาข้อที่ว่า ธรรมะคืออะไร ธรรมะคือชีวิต นี้ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ผิดแน่นอน

อีกนัยหนึ่ง การที่เรามาศึกษาธรรมะนี้ ชื่อว่าศึกษาให้รู้ความจริงของชีวิต เราควรจะได้ทราบคำว่า สภาวธรรม สภาวธรรมคือ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในจักรวาลนี้ ตั้งแต่อณู ปรมาณู หรือมวลสารที่เกาะกุมกันเป็นก้อนใหญ่โตหาประมาณมิได้

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้คือ ธรรมะด้านสภาวธรรม ธรรมะด้านสภาวธรรมนี้ ก็ย่อมมีปรากฏการณ์แสดงความจริงให้เรารู้อยู่ตลอดเวลา

แต่ว่าเราสามารถกำหนดรู้ทันหรือเปล่า

เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีปรากฏการณ์ขึ้น ทรงตัวอยู่ แล้วก็สลายตัว อันนี้คือกฎธรรมชาติที่เราจะต้องศึกษาให้รู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภายในตัวของเรานี้ เราก็มีกายกับใจ

กายกับใจนี้ ในเมื่อมีความสัมพันธ์อยู่ตราบใด เราก็ยังมีชีวิตเป็นอยู่ตราบนั้น

เมื่อมีกาย มีใจแล้ว เราต้องมีส่วนประกอบคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ บางครั้ง พระพุทธเจ้าท่านก็ว่า อินทรีย์ 6 บางทีก็ว่า ประตู (ทวาร) ซึ่งสุดแล้วแต่โวหารของพระองค์ท่านจะรับสั่งมาเป็นประการใด

ทีนี้ถ้ามุ่งถึงความเป็นใหญ่ก็เรียกว่า อินทรีย์ 6 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ต่างมีความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของเขาแต่ละอย่างๆ จะก้าวก่ายกันไม่ได้ ไม่เหมือนมนุษย์เราธรรมดาๆ ซึ่งบางทีอาจจะก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกันได้

ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เขามีหน้าที่เฉพาะตัว ถ้าหูจะอุตริไปดูแทนตา เชิญเลย ไม่มีทาง ทีนี้ตาจะทำหน้าที่อุตริมาทำแทนหู ก็ไม่มีทางทำได้ เพราะอาศัยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงสมมติบัญญัติว่า อันนี้ อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่เฉพาะตัว ในบางครั้งท่านก็กล่าวว่ามันก็เป็นประตู

ในเมื่อสิ่งนั้นเป็นประตู ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่เรียกว่าประตู เพราะมีสิ่งผ่านออก ผ่านเข้า รูปผ่านเข้ามาทางตา เสียงผ่านเข้ามาทางหู กลิ่นผ่านเข้ามาทางจมูก รสผ่านเข้ามาทางลิ้น สัมผัสผ่านเข้ามาทางกาย ธรรมารมณ์ผ่านเข้ามาทางจิตใจ

สิ่งทั่งหลายที่ผ่านเข้ามานี้ ถ้าเรากำหนดให้มันดีๆ แล้ว ทีนี้เรารู้ว่ามันผ่านออก ผ่านเข้าอยู่นี้ ใครเป็นผู้รู้

ก็จิตใจของเรานั่นเองแหละเป็นผู้รู้

สิ่งที่รู้ทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็นสภาวธรรม กาย ใจ เป็นสภาวธรรม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็เป็นสภาวธรรม สิ่งที่ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็เป็นสภาวธรรม


ในที่สุดแม้ว่าใจผู้รู้ก็เป็นสภาวธรรมอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่เป็นสภาวธรรมนั้น หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ ดังที่ปรากฏให้เรารู้เห็นกันอยู่นี้

เมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรม สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ

นักปฏิบัติธรรม นักศึกษาธรรมเอาใจมารู้กับสิ่งเหล่านี้ ทำสติกับสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา เราก็ได้ชื่อว่ามีการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา


มาตอนนี้ มาพูดถึงเรื่องการปฏิบัติธรรม อยากจะขอตัดเรื่องราววิธีการปฏิบัติธรรม ซึ่งเราเคยได้ยินได้ฟังมามากต่อมากแล้ว เช่น บริกรรมภาวนาบ้าง หรือการพิจารณาอะไรซึ่งเกี่ยวกับร่างกาย สังขารบ้างซึ่งเป็นส่วนภายใน

อยากจะตีความหมายแห่งสภาวธรรมให้มันกว้างๆ ออกไป เพื่อที่เราจะได้มีทางปฏิบัติธรรมให้กว้างขวางออกไปยิ่งกว่าที่เราได้เคยได้ยิน ได้ฟังมา

เข้าใจว่าสิ่งใดที่เราสามารถรู้ด้วยจิต หรือสิ่งใดที่เราสัมผัสด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เข้าใจว่าจะเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติได้ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ควรจะนำเอาเป็นอารมณ์ปฏิบัติกรรมฐานได้

ถ้าอย่างสมมติว่า ใครสักท่านหนึ่งอาจจะถามขึ้นมาว่า ข้าพเจ้าเรียนมาทางหมอ มีความรู้ทางแพทย์ จะเอาวิชาทางแพทย์มาเป็นอารมณ์ภาวนากรรมฐานนี้ ไม่ต้องเอาพุทโธ หรือ ยุบหนอ พองหนอ จะใช้ได้ไหม

คำตอบก็คือ ได้

ทำไมจึงต้องได้ เพราะวิชาหมอ วิลชาแพทย์ที่เราเรียนมานั้น มันผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ในเมื่อความรู้อันใดที่ผานเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ กาย และใจ เป็นสภาวธรรม สิ่งที่กายรู้ ใจรู้ หรือสัมผัสรู้นั้น ก็เป็นสภาวธรรม มันเป็นสิ่งที่เราจะต้องวิตก เอามาเป็นอารมณ์ ปฏิบัติกรรมฐานได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 26, 27, 28, 29, 30, 31, 32 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร